วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 00:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สตรีเข้าถึงจุดสูงสุดทางพุทธรรมได้หรือไม่?
เหมือนทะเลที่รับนำจากแม่นำทุกสายกลมกลืนเข้าเป็นอันเดียวกัน
พระพุทธเจ้า ทรงให้สิทธิแก่สตรี ที่จะได้รับประโยชน์จากพุทธรรม เข้าถึงจุดหมายสูงสุดที่พุทธรรมจะเข้าถึงได้ เช่นเดียวกับบุรุษ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 16:10
โพสต์: 298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมจริงแท้ นั่นไม่มี เพศวัย
บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่เป็นสอง
เป็นหนึ่งเดียว ทั้งหมด เชิญทดลอง
ปัจจัตตัง ต้องเห็นจริง ทุกสิ่งอัน
ไม่มีหญิง มีชาย มีแก่เด็ก
ไม่แบ่งชั้น ใหญ่เล็ก ให้โลภหลง
ใครทำ ใครได้ อย่างวยงง
อย่าใหลหลง แบกเพศวัย กันอีกเลย :b12: :b12: :b12:

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

ผมขอยกบทความ (บางส่วน) โดยคุณพิพัฒน์ บุญยง จากนิตยสารธรรมจักษุ เรื่อง สถานภาพของสตรีในพุทธศาสนา มาสนับสนุน คุณ damjao ครับ :b12: :b16:

:b43: :b43: :b43:

.........ผู้หญิงมีความสามารถเท่าเทียมกับผู้ชาย ในอันที่จะพัฒนาจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ และบรรลุถึงความสุขแห่งพระนิพพานเช่นเดียวกับผู้ชาย ความจริงข้อนี้สามารถพิสูจน์ให้เห็นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ว่า สตรีในพระพุทธศาสนามีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับบุรุษ โดยพยานหลักฐานชัดเจน จากชีวประวัติของพระเถรี (ภิกษุณี) หลายรูปในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงดำรงพระชนม์อยู่

สตรีทั้งหลาย สามารถดำเนินชีวิตโดยมีสิทธิและเสรีภาพตามวิถีทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ ในความหมายของพระพุทธศาสนา อิสรภาพหรือเสรีภาพที่แท้จริง หมายถึง อิสระ หรือเสรีจากการเป็นทาส หรือการผูกมัดของกิเลสตัณหา อุปทานซึ่งสามารถจะหลุดพ้นได้ด้วยการชำระใจให้บริสุทธิ์เพียงด้วยการพัฒนาจิต ให้ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง ที่หมักหมมอยู่ในสันดานของเวนัยชน คือความโลภ ความโกรธ และความหลง หรือโลภะ โทสะ ราคะ โมหะ และอวิชชา กิเลสหรือเครื่องดองจิตเหล่านี้ ท่านสามารถชำระให้หมดไปจากใจได้ โดยใช้ความเพียร ละกิเลสด้วยความไม่ประมาท (อปมาทะ) และโดยการบำเพ็ญสมาธิโดยสม่ำเสมอ ตามที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว

ในการที่พระองค์ได้ส่งเสริมสถานภาพของสตรีในสังคม สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลแรกที่ปลดปล่อยสตรี และเป็นผู้ส่งเสริมประชาธิปไตยในวิถีชีวิตแบบพุทธ ตามคัลลองแห่งพุทธธรรมเท่านั้นที่สตรีไม่ถูกดูถูกเหยียดหยาม แต่ตรงกันข้ามกลับได้รับการยกย่องให้มีสถานภาพเท่าเทียมกับบุรุษ ในด้านความเพียรทางจิตวิญญาณเพื่อบรรลุถึงปัญญาการหยั่งรู้ และความหลุดพ้นในจากกิเลสเข้าสู่บรมสุข คือพระนิพาน ในเบื้องปลายของชีวิต .........


:b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8:

:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


ได้งับ แต่ว่าด้านฌานสมาบัติจะด้อยกว่าผู้ชายเล็กน้อยนะงับ

ที่ผมเห็น ปัจจุบันนี้ ฆารวาสผู้หญิงยังเป็นพระอนาคามีได้เลย

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร