วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 00:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


ในมิลินทปัญหา พระนาคเสนได้กล่าวถึงลักษณะของปัญญา ๒ ประการ คือ
๑. ปัญญามีการตัดเป็นลักษณะ ข้อนี้มีอุปมาว่า ในการเกี่ยวข้าว ชาวนาจะจับกอข้าวด้วยมือข้างหนึ่ง จับเคียวด้วยมืออีกข้าง แล้วตัดให้ขาดด้วยเคียวที่ถือไว้ ฉันใด ในการเจริญภาวนา ผู้บำเพ็ญเพียรควบคุมใจไว้ด้วยโยนิโสมนสิการ แล้วตัดกิเลสด้วยปัญญา
๒. ปัญญามีการทำให้สว่างเป็นลักษณะ ข้อนี้มีอุปมาว่า เมื่อบุคคลส่องประทีปเข้าไปในที่มืด แสงประทีปย่อมกำจัดความมืด ทำให้เกิดแสงสว่าง รูปทั้งหลายย่อมปรากฏชัด ฉันใด เมื่อปัญญาเกิดขึ้น ก็กำจัดความมืด คืออวิชชา ทำให้เกิดแสงสว่าง คือวิชชา ทำให้เกิดแสงสว่าง คือญาณ ทำอริยสัจทั้งหลายให้ปรากฏขึ้น ฉันนั้น
ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิเทศ กล่าวถึงปัญญา ๒ คือ
๑. โลกิยปัญญา ปัญญาของปุถุชนซึ่งยังวนอยู่ในโลก
๒. โลกุตตรปัญญา ปัญญาของพระอริยบุคคลผู้ข้ามพ้นจากโลก
ในสังคีติสูตร (บาลีเล่ม ๑๑ ข้อ ๒๒๘ ย่อว่า ๑๑/๒๒๘) กล่าวถึง ปัญญา ๓ คือ

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด (เองไม่ได้ฟังมาจากคนอื่น)
๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง (การอ่าน หรือการศึกษาเล่าเรียน)
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการอบรมจิตใจ (ละกิเลสได้ด้วยปัญญาชนิดนี้)
ในสังคีติสูตร กล่าวถึงปัญญา ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ
๑. อายโกศล รอบรู้ในความเจริญ (รู้เหตุที่ทำให้อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ)
๒. อปายโกศล รอบรู้ในความเสื่อม (รู้เหตุที่ทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ)
๓. อุปายโกศล รอบรู้ในความเจริญและความเสื่อม
ในอวกุชชิตสูตร (๒๐/๔๖๙) กล่าวถึงบุคคล ๓ จำพวก คือ
๑. ผู้มีปัญญาดังหม้อคว่ำ ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วก็ไม่เข้าใจ เปรียบเหมือนหม้อคว่ำซึ่งไม่อาจรองรับน้ำที่เทลงมาได้เลย
๒. ผู้มีปัญญาดังหน้าตัก ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วพอเข้าใจได้ แต่หลังจากนั้นก็ลืมหมด เปรียบเหมือนผู้ที่กำลังนั่งเคี้ยวกินขนมต่างๆ ซึ่งวางอยู่บนหน้าตัก แต่เมื่อเขาเผลอตัวลุกขึ้น ขนมก็หล่นลงพื้นหมด
๓. ผู้มีปัญญามาก ได้แก่ ผู้ที่รับฟังหรือเรียนอะไรแล้วเข้าใจและจำได้ไม่ลืม เปรียบเหมือนหม้อหงายซึ่งรองรับน้ำที่เทลงมาได้หมด
ในสังคีติสูตร กล่าวถึงปัญญา ๔ คือ
๑. ทุกขญาณ ความรู้ในทุกข์
๒. ทุกขสมุทยญาณ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด
๓. ทุกขนิโรธญาณ ความรู้ในความดับทุกข์
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ความรู้ในการปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมบท (๒๕/๓๐) ว่า ปัญญาย่อมเกิดจากการประกอบความเพียร (ไม่ใช่เกิดเองโดยบังเอิญ) ปัญญาที่เกิดจากการประกอบความเพียรเรียกว่า โยคปัญญา แม้เชาวน์ หรือไหวพริบที่มีติดตัวมาแต่กำเนิดซึ่งเรียกว่า สชาติกปัญญา ก็คือปัญญาบารมีที่เกิดจากการอบรมในชาติก่อน
หลักธรรมสำหรับอบรมปัญญาให้เจริญขึ้น เรียกว่า ปัญญาวุฒิธรรม (๒๑/๒๔๘) มี ๔ คือ
๑. คบสัตบุรุษ คือ หาแหล่งวิชาหรือครูที่มีความรู้และคุณธรรมดี
๒. ฟังสัทธรรม คือ ใส่ใจเล่าเรียนโดยฟังจากครูหรืออ่านจากตำรา
๓. คิดให้แยบคาย คือ พิจารณาให้ทราบถึงเหตุและผล คุณและโทษ ของสิ่งที่เรียนรู้
๔. นำสิ่งที่ได้ไตร่ตรองแล้วมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามความมุ่งหมาย
ปัญญาหรือความรอบรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากราวกับแก้วสารพัดนึกประจำชีวิต เพราะเมื่อมีอุปสรรคหรือปัญหาเกิดขึ้น ผู้มีปัญญาย่อมวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำว่า สาเหตุเกิดจากอะไร เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังเรื่องราวต่างๆ ที่นำมา สาธก ดังต่อไปนี้

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 16:10
โพสต์: 298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะค่ะ
ได้รับประโยชน์มากมาย :b20: :b20:

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การแสวงหามีอยู่สองอย่าง คือ การแสวงหาสิ่งที่ไม่ประเสริฐอย่างหนึ่ง การแสวงหาสิ่งที่ประเสริฐอย่างหนึ่ง การแสวงหาสิ่งที่ไม่ประเสริฐ คือ สิ่งที่มีชาติ ชรา มรณะและความโศกเศร้า เป็นธรรมดา ส่วนผู้รู้ผู้มีปัญญาทั้งหลาย จะแสวงหาพระนิพพานอันเป็นอมตะ ที่ไม่มีการเกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ที่หาความโศกไม่ได้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีความบริสุทธิ์ หมดจดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวง ได้เข้าถึงฝั่งแห่งนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ที่ความทุกข์ใดๆไม่อาจเข้าไปถึง จึงมีแต่ความสงบเย็น เป็นสุขล้วนๆ ไม่มีทุกข์เจือปนเลย ดังที่พระองค์ได้กล่าวไว้ว่า "นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง"

แต่กว่าที่พระพุทธองค์จะบรรลุเป้าหมายสูงสุดนี้ได้ ก็ต้องสั่งสมบุญบารมีมายาวนานนับภพนับชาติไม่ถ้วน เราซึ่งเป็นชาวพุทธ ก็ต้องเจริญรอยตามพระพุทธองค์ ตั้งใจสั่งสมความดีให้เต็มที่ สร้างบุญบารมีกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปให้ถึงฝั่งแห่งนิพพาน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปาสราสิสูตร ว่า

"การแสวงหามีอยู่สองอย่าง คือ การแสวงหาสิ่งที่ไม่ประเสริฐอย่างหนึ่ง การแสวงหาสิ่งที่ประเสริฐอย่างหนึ่ง การแสวงหาสิ่งที่ไม่ประเสริฐ คือ สิ่งที่มีชาติ ชรา มรณะและความโศกเศร้า เป็นธรรมดา ส่วนผู้รู้ผู้มีปัญญาทั้งหลาย จะแสวงหาพระนิพพานอันเป็นอมตะ ที่ไม่มีการเกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ที่หาความโศกไม่ได้"

เราเกิดมาภพชาติหนึ่ง ก็เพื่อชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ให้หลุดพ้นจากความเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามาร มุ่งสั่งสมบุญบารมีเพื่อไปสู่อายตนนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น พระนิพพานเป็นโลกุตรธรรมที่อยู่นอกภพทั้งสาม เป็นสภาวธรรมที่มีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆเป็นสุขล้วนๆ อยู่นอกเหนือกฎของไตรลักษณ์ เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป พระพุทธองค์มักใช้คำว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นเอกันตบรมสุข ที่ไม่มีทุกข์เจือปนเลย

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร