วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2008, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้ธรรมที่เป็นส่วนวิชาการทั้งหมดกรัชกายนำมาจากหนังสือพุทธธรรม โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์

(ป.อ. ประยุทธ์ ปยุตฺโต) และหัวข้อนี้ก็นำมาจากหนังสือนั้น เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาใหม่

จะได้มีพื้นฐานทางความคิดกว้างๆ เผื่อไว้แยกแยะสิ่งที่ปนๆ ปลอมๆ ได้เองบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.พ. 2012, 20:24, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2008, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แยกประเด็นสำคัญออกจากหัวข้อใหญ่มาให้พิจารณาก่อน


เมื่อสิ้นยุคขององค์พระศาสดาแล้ว เวลาล่วงไป และคำสอนแผ่ไปในถิ่นต่างๆ

ความเข้าใจในพุทธธรรมก็แปรไปจากเดิม และ แตกต่างกันไปได้หลายอย่าง เพราะผู้ถ่ายทอด

สืบต่อ มีพื้นความรู้ การศึกษาอบรมสติปัญญาแตกต่างกัน

ตีความหมายพุทธธรรมแผกกันไปบ้าง นำเอาความรู้ ความเชื่อถือเดิมจากลัทธิศาสนาอื่น

เข้ามาผสมแทรกแซงบ้าง

อิทธิพลศาสนา และวัฒนธรรม ในท้องถิ่นเข้าผสมผสานบ้าง

คำสอนบางแง่เด่นขึ้น

บางแง่เลือนลง เพราะการย้ำ และเลี่ยงความสนใจ ตามความโน้มเอียง

และความถนัดของผู้รักษาคำสอนบ้าง


ทำให้เกิดความแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ เช่น ที่แยกเป็นมหายานกับเถรวาท ตลอดจนนิกายย่อยๆ

ในสองนิกายใหญ่นั้น

สำหรับเถรวาทนั้น

แม้จะได้ชื่อว่า เป็นนิกายที่รักษาแบบแผนและคำสอนดั้งเดิมไว้ได้แม่นยำ ก็มิใช่จะพ้นไปจากความ

แปรเปลี่ยนได้โดยสิ้นเชิง

คำสอนบางส่วน แม้ที่อยู่ในคัมภีร์เอง ก็ยังเป็นปัญหาที่คนรุ่นปัจจุบัน ต้องนำมาถกเถียงคิดค้น

หาหลักฐานยืนยัน หรือปฏิเสธความเป็นของแท้แต่ดั้งเดิม ยิ่งความรู้ความเข้าใจที่ประชาชนเชื่อถือ

และปฏิบัติอยู่ด้วยแล้ว ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมีได้มากและชัดเจนยิ่งขึ้น

บางกรณีกับเสมือนเป็นของตรงข้ามกับคำสอนเดิม หรือเกือบจะกลายไปเป็นลัทธิอื่น ที่คำสอนเดิม

คัดค้านแล้วก็มี


ยกตัวอย่างในประเทศไทยนี้ เมื่อพูดถึงคำว่า “กรรม” ความเข้าใจของคนทั่วไป

ก็จะเพ่งไปยังกาละส่วนอดีต เจาะจงเอาการกระทำในชาติที่ล่วงแล้ว หรือชาติก่อนๆ บ้าง

เพ่งไปยังปรากฏการณ์ส่วนผล คือ นึกถึงผลที่ปรากฏในปัจจุบันของการกระทำในอดีตบ้าง

เพ่งไปยังแง่ที่เสียหาย เลวร้าย คือ การกระทำชั่วฝ่ายเดียวบ้าง

เพ่ง ไปยังอำนาจแสดงผลร้ายของการกระทำความชั่วในชาติก่อนบ้าง

และโดยมาก เป็นความเข้าใจตามแง่ต่างๆ เหล่านี้รวมๆกันไปทั้งหมด ซึ่งเมื่อพิจารณาตัดสิน

ตามหลักกรรมที่แท้จริงในพุทธธรรมแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า เป็นความเข้าใจที่ห่างไกลจากความหมาย

ที่แท้จริงเป็นอันมาก


แม้ข้อธรรมอื่นๆ ตลอดจนคำบัญญัติทางธรรมแต่ละคำๆ เช่น อารมณ์ วิญญาณ บารมี

สันโดษ อุเบกขา อธิษฐาน บริกรรม ภาวนา สมถะ วิปัสสนา กาม โลกีย์ โลกุตระ

บุญ อิจฉา... ก็ล้วนมีความหมายพิเศษ ในความเข้าใจของประชาชน ซึ่งผิดแปลกไป

จากความหมายดั้งเดิมในพุทธธรรมโดยตัวความหมายเองบ้าง

โดยขอบเขตความหมายบ้าง มากน้อยต่างกันไปในแต่ละคำนั้นๆ

ฯลฯ

หลักการ หรือ คำสอนใดก็ตาม ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริง เพื่อสนอง

ความต้องการทางปัญญา โดยมิได้มุ่งหมายและมิได้แสดงแนวทางสำหรับประพฤติปฏิบัติ

ในชีวิตจริง อันนั้น ให้ถือว่า ไม่ใช่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างที่ถือว่า เป็นคำสอนเดิมแท้

ของพระพุทธเจ้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 พ.ค. 2010, 08:12, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2008, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มแต่ คห.นี้ไป

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

พระพุทธศาสนานั้น เมื่อมองในทัศนะของคนสมัยใหม่ มักเกิดปัญหาขึ้นบ่อยๆ ว่า

เป็นศาสนา (religion)

หรือ เป็นปรัชญา (philosophy)

หรือว่า เป็นเพียงวิธีครองชีวิตแบบหนึ่ง (a way of life)

เมื่อปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นเหตุให้ต้องถกเถียงหรือแสดงเหตุผล ทำให้เรื่องยืดยาวออกไป

อีกทั้งมติในเรื่องนี้ ก็แตกต่างไม่ลงเป็นแบบเดียวกัน ทำให้เป็นเรื่องฟั่นเฝือ ไม่มีที่สิ้นสุด


ในที่นี้จะมุ่งแสดงแต่ในขอบเขตว่า พุทธธรรมสอนว่า อย่างไร มีเนื้อหาอย่างไรเท่านั้น

ส่วนที่ว่า พุทธธรรมจะเป็นปรัชญาหรือไม่ ให้เป็นเรื่องของปรัชญาเองที่จะมีขอบเขต ครอบคลุม

หรือสามารถตีความให้ครอบคลุมถึงพุทธธรรมได้หรือไม่ โดยที่ว่า

พุทธธรรม ก็คือ พุทธธรรม และยังคงเป็นพุทธธรรมอยู่นั่นเอง

มีข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวว่า หลักการหรือคำสอนใดก็ตาม ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผล

ในเรื่องความจริง เพื่อสนองความต้องการทางปัญญา โดยมิได้มุ่งหมาย และมิได้แสดงแนวทาง

สำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง

อันนั้น ให้ถือว่า ไม่ใช่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างที่ถือว่า เป็นคำสอนเดิมแท้


ของพระพุทธเจ้า ซึ่งในที่นี้เรียกว่า พุทธธรรม

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


การจะประมวลคำสอนแล้วสรุปลงว่า พุทธธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน และทรงมุ่งหมายแท้จริง

เป็นอย่างไรนั้นเป็นเรื่องยาก

แม้จะยกข้อความในคัมภีร์ ซึ่งถือกันว่าเป็นพุทธพจน์มาอ้าง เพราะคำสอนในคัมภีร์มีปริมาณ

มากมาย มีแง่ ด้านระดับความลึกซึ้งต่างๆ กัน และขึ้นต่อการตีความของบุคคล

โดยใช้สติปัญญาและความสุจริตใจหรือไม่เพียงไรด้วย

ในบางกรณี ผู้ถือความเห็นต่างกันสองฝ่าย อาจยกข้อความในคัมภีร์มาสนับสนุนความคิดเห็น

ของตนได้ด้วยกันทั้งคู่

การวินิจฉัยความจริง ขึ้นต่อความแม่นยำในการจับสาระสำคัญ และความกลมกลืนสอดคล้อง

แห่งหลักการและหลักฐานที่แสดงทั้งหมดโดยหน่วยรวมเป็นข้อสำคัญ

แม้กระนั้น เรื่องที่แสดงและหลักฐานต่างๆ ก็มักไม่กว้างขวางครอบคลุมพอ จึงหนีไม่พ้นจาก

อิทธิพลความเห็นและความเข้าใจพื้นฐานต่อพุทธธรรมของบุคคลผู้แสดงนั้น



ในเรื่องนี้ เห็นว่า ยังมีองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่ง ที่ควรนำมาเป็นเครื่องวินิจฉัยด้วย คือความเป็นไปใน

พระชนม์ชีพ และพระปฏิปทาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา ผู้เป็นแหล่งหรือที่มาของคำสอน

เอง บุคลิกและสิ่งที่ผู้สอนได้กระทำ อาจช่วยแสดงความประสงค์ที่แท้จริงของผู้สอนได้ดีกว่า

คำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์ หรืออย่างน้อยก็เป็นเครื่องประกอบความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น



หากจะมีผู้แย้งติงว่า องค์ประกอบข้อนี้ ก็ได้จากคัมภีร์ต่างๆ เช่นเดียวกับคำสอนและขึ้นต่อการ

ตีความได้เหมือนกัน แม้กระนั้น ก็ยังต้องยอมรับอยู่นั่นเองว่า เป็นเครื่องประกอบการพิจารณา

ที่มีประโยชน์มาก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค. 2010, 18:41, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2008, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากหลักฐานต่างๆทางฝ่ายคัมภีร์และประวัติศาสตร์ พอจะวาดภาพเหตุการณ์ และสภาพสังคม

ครั้งพุทธกาล ได้คร่าวๆ ดังนี้


-พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในชมพูทวีป เมื่อประมาณ 2,600 ปีล่วงแล้ว ทรงประสูติในวรรณะ

กษัตริย์ พระนามเดิมว่าเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองแคว้นศากยะ

ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ของชมพูทวีป ติดเชิงเขาหิมาลัย


ในฐานะโอรสกษัตริย์และเป็นความหวังของราชตระกูล พระองค์จึงได้รับการปรนปรือด้วยโลกียะสุข

ต่างๆ อย่างเพียบพร้อม และได้ทรงเสวยความสุขอยู่เช่นนี้เป็นเวลานานถึง 29 ปี

ทรงมีทั้งพระชายาและพระโอรส


ความเป็นไปในทางการเมือง


-ครั้งนั้น ในทางการเมือง รัฐบางรัฐที่ปกครองแบบราชาธิปไตยกำลังเรืองอำนาจขึ้น และกำลังพยายาม

ทำสงครามแผ่ขยายอำนาจและอาณาเขตออกไป รัฐหลายรัฐ โดยเฉพาะที่ปกครองแบบสามัคคี

ธรรม (หรือแบบสาธารณรัฐ) กำลังเสื่อมอำนาจลงไปเรื่อยๆ

บางรัฐ ก็ถูกปราบรวมเข้าในรัฐอื่นแล้ว

บางรัฐ ที่ยังเข้มแข็งก็อยู่ในสภาพตึงเครียด สงครามอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้

แม้รัฐใหญ่ที่เรืองอำนาจ ก็มีการขัดแย้งรบพุ่งกันบ่อยๆ


ทางเศรษฐกิจ

-ในทางเศรษฐกิจ การค้าขายกำลังขยายตัวกว้างขวางขึ้น เกิดมีคนประเภทหนึ่ง

มีอิทธิพลมากขึ้นในสังคม คือ พวกเศรษฐี ซึ่งมีสิทธิมีเกียรติยศ และอิทธิพลมากขึ้นแม้ในราชสำนัก


ทางสังคม

-ในทางสังคม คนแบ่งออกเป็น 4 วรรณะ ตามหลักคำสอนของพราหมณ์ มีสิทธิเกียรติฐานะ

ทางสังคมและอาชีพการงาน แตกต่างกันไปตามวรรณะของตนๆ

แม้นักประวัติศาสตร์ฝ่ายฮินดูจะว่า การถือวรรณะในยุคนั้น ยังไม่เคร่งครัดนัก แต่อย่างน้อย

คนวรรณะศูทร ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟัง หรือกล่าวความในพระเวทอันเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์

ได้

ทั้งมีกำหนดโทษไว้อย่างรุนแรงถึงผ่าร่างกายเป็น 2 ซีกด้วย และ คนจัณฑาล หรือ พวกนอกวรรณะ

ก็ไม่มีสิทธิได้รับการศึกษาเลย

การกำหนดวรรณะก็ใช้ชาติกำเนิดเป็นเครื่องแบ่งแยก

โดยเฉพาะพวกพราหมณ์ กำลังพยายามยกตนขึ้น ถือตนว่าเป็นวรรณะสูงสุด


ทางศาสนา

-ส่วนในทางศาสนา พวกพราหมณ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้รักษาศาสนาพราหมณ์สืบต่อกันมา

ก็ได้พัฒนาคำสอนในด้านลัทธิพิธีกรรมต่างๆ ให้ลึกลับซับซ้อนใหญ่โตโอ่อ่าขึ้น

พร้อมกับที่ไร้เหตุผลลงโดยลำดับ

การที่ทำดังนี้ มิใช่เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนาเท่านั้น แต่มุ่งสนองความต้องการ

ของผู้มีอำนาจที่จะแสดงเกียรติยศ ความยิ่งใหญ่ของตนประการหนึ่ง

และ ด้วยมุ่งหวังผลประโยชน์ตอบแทน ที่จะได้จากผู้มีอำนาจเหล่านั้นอย่างหนึ่ง

พิธีกรรมเหล่านี้ ล้วนชักจูงให้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเองมากขึ้น เพราะหวังผลตอบแทน

เป็นทรัพย์สมบัติและกามสุขต่างๆ พร้อมกันนี้ ก็ก่อความเดือดร้อนแก่คนชั้นต่ำ

พวกทาสกรรมกรที่ต้องทำงานหนัก และการทารุณต่อสัตว์ด้วยการฆ่าบูชายัญครั้งละเป็นจำนวนมากๆ

(ดูวาเสฏฐสูตร และ พราหมณ์ธัมมิกสูตร)

ในเวลาเดียวกัน พราหมณ์จำนวนหนึ่งได้คิดว่าพิธีกรรมต่างๆ ไม่สามารถให้ตน

ประสบชีวิตนิรันดรได้ จึงได้เริ่มคิดเอาจริงเอาจังกับปัญหาเรื่องชีวิตนิรันดร และหนทางที่จะนำ

ไปสู่ภาวะเช่นนั้น ถึงกับยอมปลีกตัวออกจากสังคม ไปคิดค้นแสวงคำตอบอาศัยความวิเวกอยู่ในป่า

และคำสอนของศาสนาพราหมณ์ในยุคนี้ ซึ่งเรียกว่า ยุคอุปนิษัท ก็มีความขัดแย้งกันเองมาก

บางส่วนอธิบายเพิ่มเติมเรื่องพิธีกรรมต่างๆ

บางส่วนกลับประณามพิธีกรรมเหล่านั้น

และในเรื่องชีวิตนิรันดรก็มีความเห็นต่างๆกัน มีคำสอนเรื่องอาตมัน (= อัตตาในภาษาบาลี)

แบบต่างๆ ที่ขัดกัน จนถึงขั้นสุดท้ายที่ว่า อาตมัน คือ พรหมัน ที่เป็นมาและแทรกซึมอยู่ในทุกสิ่ง

ทุกอย่าง มีภาวะที่อธิบายไม่ได้อย่างที่เรียกว่า “เนติ เนติ” (ไม่ใช่นั่น ไม่ใช่นั่น)

เป็นจุดหมายสูงสุดของการบำเพ็ญเพียรทางศาสนา และพยายามแสดงความหมายโต้ตอบ

ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสภาพของภาวะเช่นนี้ พร้อมกับที่หวงแหนความรู้เหล่านี้ไว้ ในหมู่ของพวกตน


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:


พร้อมกันนั้น นักบวชอีกพวกหนึ่ง ซึ่งเบื่อหน่ายต่อความไร้สาระแห่งชีวิตในโลกนี้

ก็ได้ไปบำเพ็ญเพียรแบบต่างๆ ตามวิธีการของพวกตนๆ ด้วยหวังว่าจะได้พบชีวิตอมตะ

หรือผลสำเร็จอันวิเศษอัศจรรย์ต่างๆ ที่ตนหวังบ้าง ก็บำเพ็ญตบะทรมานตนด้วยประการต่างๆ

ตั้งต้นแต่อดอาหาร ไปจนถึงการทรมานร่างกายแบบแปลกๆ ที่คนธรรมดาคิดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้

บ้างก็บำเพ็ญสมาธิ จนถึงกล่าวว่าทำปาฏิหาริย์ได้ต่างๆ

บ้างก็สามารถบำเพ็ญฌานจนได้ถึงรูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ


-อีกด้านหนึ่ง นักบวชประเภทที่เรียกว่าสมณะ อีกหลายหมู่หลายพวก ซึ่งได้สละเหย้าเรือนออกบวช

แสวงหาจุดหมายชีวิตเช่นเดียวกัน

ก็ได้เร่ร่อนท่องเที่ยวไปในบ้านเมืองต่างๆ ถกเถียงถามปัญหากันบ้าง

ตั้งตนเป็นศาสดาแสดงทัศนะของตนต่างๆ กัน หลายแบบหลายอย่างจนปรากฏว่า เกิดมีลัทธิต่างๆขึ้น

เป็นอันมาก* เฉพาะที่เด่นๆ ซึ่งปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา ถึง 6 ลัทธิ

(* ที.สี. 9/27-90/16-59 ตามหลักฐานในคัมภีร์ ว่า ลัทธิทั้งฝ่ายสมณะ และฝ่ายพราหมณ์

แยกเป็นทิฐิ หรือ ทฤษฎีได้ถึง 62 อย่าง )


สภาพเช่นนี้ สรุปสั้นๆ คงได้ความว่า ยุคนั้น คนพวกหนึ่ง กำลังรุ่งเรืองขึ้นด้วยอำนาจวาสนา

และ กำลังเพลิดเพลินมัวเมา แสวงหาทรัพย์สมบัติ และ ความสุขทางวัตถุต่างๆ

พร้อมกับที่คนหลายพวก กำลังมีฐานะ และ ความเป็นอยู่ด้อยลงๆ ทุกที ไม่ค่อยได้รับความเหลียวแล

ส่วนคนอีกพวกหนึ่ง ก็ปลีกตัวออกไปเสียจากสังคมทีเดียว ไปมุ่งมั่นค้นหาความจริง

ในทางปรัชญา โดยมิได้ใส่ใจสภาพสังคมเช่นเดียวกัน


:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ม.ค. 2013, 10:21, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2008, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงได้รับความปรนปรือด้วยโลกียะสุขอยู่เป็นเวลานานถึง 29 ปี

และ มิใช่เพียงปรนปรือเอาใจเท่านั้น ยังได้ทรงถูกปิดกั้นไม่ให้พบเห็น สภาพความเป็นอยู่

ที่ระคนด้วยความทุกข์ของสามัญชนทั้งหลายด้วย

แต่สภาพเช่นนี้ ไม่สามารถถูกปิดบังจากพระองค์ได้เรื่อยไป

ปัญหาเรื่องความทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆ ของมนุษย์อันรวมเด่นอยู่ที่ความแก่ เจ็บ และตาย

เป็นสิ่งที่ทำให้พระองค์ต้องครุ่นคิดแก้ไข


ปัญหานี้ คิดสะท้อนออกไปในวงกว้างให้เห็นสภาพสังคม ที่คนพวกหนึ่ง ได้เปรียบกว่า ก็แสวงหา

แต่โอกาสที่จะหาความสมบูรณ์พูนสุขใส่ตน แข่งขันแย่งชิง เบียดเบียนกัน หมกมุ่นมัวเมา

อยู่ในความสุข เหล่านั้น ไม่ต้องคิดถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของใครๆ

ดำรงชีวิตอยู่อย่างทาสของวัตถุ

ยามสุขก็ละเมอมัวเมาอยู่

ในความคับแคบของจิตใจ ถึงคราวถูกความทุกข์เข้าครอบงำ ก็ลุ่มหลงไร้สติเหี่ยวแห้งคับแค้น

เกินสมควร แล้วก็แก่เจ็บตายไปอย่างไร้สาระ


ฝ่ายคนที่เสียเปรียบ ไม่มีโอกาส ถูกบีบคั้นกดขี่ อยู่อย่างคับแค้น แล้วก็แก่เจ็บตายไป

โดยไร้ความหมาย

เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงมองเห็นสภาพเช่นนี้แล้ว

ทรงเบื่อหน่ายในสภาพความเป็นอยู่ของพระองค์

มองเห็นความสุข ความปรนปรือเหล่านั้น เป็นของไร้สาระ

ทรงคิดหาทางแก้ไขจะให้มีความสุขที่มั่นคง เป็นแก่นสาร

ทรงคิดแก้ปัญหานี้ไม่ตก และ สภาพความเป็นอยู่ของพระองค์ ท่ามกลางความเย้ายวน สับสน

วุ่นวายเช่นนั้น ไม่อำนายแก่การใช้ความคิดที่ได้ผล


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


ในที่สุด ทรงมองเห็นภาพพวกสมณะ ซึ่งเป็นผู้ได้ปลีกตัวจากสังคม ไปค้นคว้าหาความจริงต่างๆ

โดยมีความเป็นอยู่ง่ายๆ ปราศจากกังวล และสะดวกในการแสวงหาความรู้ และ คิดหาเหตุผล

สภาพความเป็นอยู่แบบนี้ น่าจะช่วยพระองค์ให้แก้ปัญหานี้ได้ และบางทีสมณะพวกนั้น ที่ไปคิดค้น

หาความจริงกันต่างๆ บางคนอาจมีอะไรบางอย่าง ที่พระองค์จะเรียนรู้ได้บ้าง

เมื่อถึงขั้นนี้ เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จออกบรรพชา อย่างพวกสมณะที่มีอยู่แล้วในสมัยนั้น


พระองค์ ได้เสด็จไปศึกษาหาความรู้เท่าที่พวกนักบวชสมัยนั้น จะรู้และปฏิบัติกัน

ทรงศึกษาทั้งวิธีการแบบโยคะ

ทรงบำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานสมาบัติ ถึงอรูปสมาบัติชั้นสูงสุด ทรงแสดงอิทธิปฏิหาริย์ได้

ตามวิธีการของโยคะนั้น

ทรงบำเพ็ญตบะทรมานพระองค์

ในที่สุด ก็ทรงตัดสินได้ว่า วิธีการของพวกนักบวชเหล่านี้ทั้งหมด ไม่สามารถแก้ปัญหา

ดังที่พระองค์ทรงประสงค์ได้ เมื่อเทียบกับชีวิตของพระองค์ ก่อนเสด็จออกบรรพชาแล้ว

ก็นับว่าเป็นการดำรงชีวิตอย่างเอียงสุดทั้งสองฝ่าย



พระองค์ จึงทรงหันมาดำเนินการคิดค้นของพระองค์เองต่อมา จนในที่สุดได้ตรัสรู้ธรรม

ที่พระองค์ทรงค้นพบนี้

ต่อมาเมื่อทรงนำไปแสดงให้ผู้อื่นฟัง ทรงเรียกว่า “มัชเฌนธรรม” หรือ หลักธรรม

สายกลาง

และทรงเรียกข้อปฏิบัติ อันเป็นระบบที่พระองค์ทรงบัญญัติขึ้นว่า “มัชฌิมาปฏิปทา”

หรือทางสายกลาง

จากความท่อนนี้ จะมองเห็นทัศนะตามแนวพุทธธรรมว่า

การดำรงชีวิตอยู่ในสังคม อย่างลุ่มหลงหมกมุ่น

ปล่อยตัวไปเป็นทาสตามกระแสกิเลสก็ดี

การหลีกหนีออกไปโดยสิ้นเชิง ไม่เกี่ยวข้องรับผิดชอบอย่างใดต่อสังคม อยู่อย่างทรมานตนก็ดี

นับว่า เป็นข้อปฏิบัติที่ผิด เอียงสุดด้วยกันทั้งสองอย่าง

ไม่สามารถให้มนุษย์ดำรงชีวิตอย่างมีความหมายแท้จริงได้


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

เมื่อตรัสรู้แล้วเช่นนี้ พระองค์ จึงเสด็จกลับคืนมา

ทรงเริ่มต้นงานสั่งสอนพุทธธรรม เพื่อประโยชน์แก่สังคมของชาวโลกอย่างหนักแน่นจริงจัง

และ ทรงดำเนินงานนี้จนตลอด 45 ปี แห่งพระชนม์ชีพระยะหลัง


แม้ไม่พิจาณาเหตุผลด้านอื่น มองเฉพาะในแง่สังคมอย่างเดียว ก็จะเห็นว่า พุทธกิจที่พระพุทธเจ้า

ทรงบำเพ็ญ เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมสมัยนั้น จะสำเร็จผลดีที่สุด ก็ด้วยการทำงานในบรรพชิตเพศ

เท่านั้น

พระองค์ จึงได้ทรงชักจูงคนชั้นสูงจำนวนมาก ให้ละความมั่งมีศรีสุข ออกบวชศึกษา

เข้าถึงธรรมของพระองค์แล้ว ร่วมทำงานอย่างเสียสละอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

ด้วยการจาริกไปเข้าถึงคนทุกชั้นวรรณะ และทุกถิ่นที่จะไปถึงได้ ทำให้บำเพ็ญประโยชน์ได้กว้างขวาง



อีกประการหนึ่ง คณะสงฆ์ ก็เป็นแหล่งแก้ปัญหาสังคมได้อย่างสำคัญ เช่น ในข้อว่า

ทุกคนไม่ว่าจะเกิดในวรรณะใด เข้าบวชแล้วก็มีสิทธิเสมอกันทั้งสิ้น

ส่วนเศรษฐี คฤหบดี ผู้ยังไม่พร้อมที่จะเสียสละได้เต็มที่ ก็ให้คงครองเรือนอยู่เป็นอุบาสก

คอยช่วยให้กำลังแก่คณะสงฆ์ ในการบำเพ็ญกรณียกิจของท่าน และ นำทรัพย์สมบัติของตน

ออกบำเพ็ญประโยชน์สงเคราะห์ประชาชนไปด้วยพร้อมกัน


การบำเพ็ญกรณียกิจ ทั้งของพระพุทธเจ้า และ ของพระสาวก มีวัตถุประสงค์และขอบเขตกว้างขวาง

เพียงใด จะเห็นได้จากพุทธพจน์ ตั้งแต่ครั้งแรก ที่ส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขของชนเป็นอันมาก

เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย”




พุทธธรรมนั้น มีขอบเขตในทางสังคมที่จะให้ใช้ได้ และเป็นประโยชน์แก่บุคคลประเภทใดบ้าง

พึงเห็นได้จากพุทธพจน์ในปาสาทิกสูตร ซึ่งสรุปความได้ว่า

พรหมจรรย์ (คือพระศาสนา) จะชื่อว่าสำเร็จผลแพร่หลายกว้างขวาง เป็นประโยชน์แก่ชน

เป็นอันมาก เป็นปึกแผ่น ถึงขั้นที่ว่า เทวดาและมนุษย์ประกาศไว้ดีแล้ว


ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่อไปนี้ครบถ้วน คือ

1. องค์พระศาสดา เป็นเถระ รัตตัญญู ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ

2. มีภิกษุสาวกที่เป็นเถระ มีความรู้เชียวชาญ ได้รับการฝึกฝนอบรมอย่างดี แกล้วกล้า อาจหาญ

บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ สามารถแสดงธรรมให้เห็นผลจริงจัง

กำราบปรัปวาท (ลัทธิที่ขัดแย้ง หรือวาทะฝ่ายตรงข้าม) ที่เกิดขึ้นให้สำเร็จเรียบร้อย

โดยถูกต้องตามหลักธรรม และมีภิกษุสาวกชั้นกลาง และชั้นนวกะ ที่มีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น

3. มีภิกษุณีสาวิกา ชั้นเถรี ชั้นปูนกลาง และชั้นนวกะ ที่มีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น

4. มีอุบาสกทั้งประเภทพรหมจารี และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข ซึ่งมีความสามารถเช่นเดียว

กันนั้น

5. มีอุบาสิกา ทั้งประเภทพรหมจาริณี และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข ซึ่งมีความสามารถเช่นเดียว

กันนั้น

เพียงแต่ขาดอุบาสิกาประเภทครองเรือนเสียอย่างเดียว พรหมจรรย์ ก็ยังไม่ชื่อว่าเจริญบริบูรณ์

เป็นปึกแผ่นดี

(ดู ปาสารทิกสูตร ที.ปา. 11/104/135)


ความตอนนี้แสดงว่า พุทธธรรมเป็นคำสอนที่มุ่งสำหรับคนทุกประเภท ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์

คือ ครอบคลุมสังคมทั้งหมด


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค. 2010, 18:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2008, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรม



ลักษณะทั่วไปของพุทธธรรมนั้น สรุปได้ 2 อย่าง คือ

1. แสดงหลักความจริงสายกลาง ที่เรียกว่า "มัชเฌนธรรม”หรือ เรียกเต็มว่า “มัชเฌนธรรม

เทศนา”
ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ ตามกระบวนการของธรรมชาติ

นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น

ไม่ส่งเสริมความพยายามที่จะเข้าถึงสัจธรรม ด้วยวิธีถกเถียงสร้างทฤษฎีต่างๆ ขึ้น แล้วยึดมั่นปกป้อง

ทฤษฎีนั้น ๆ ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา


2. แสดงข้อปฏิบัติสายกลาง ที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” อันเป็นหลักการครองชีวิต

ของผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย มุ่งผลสำเร็จ คือ ความสุข สะอาด สว่าง

สงบ เป็นอิสระ ที่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตนี้

ในทางปฏิบัติ ความเป็นสายกลางนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สภาพชีวิต

ของบรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค. 2010, 18:44, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2008, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




7g9kl.gif
7g9kl.gif [ 4.27 KiB | เปิดดู 8337 ครั้ง ]
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งการกระทำ (กรรมวาท และ กิริยวาท)

เป็นศาสนา แห่งความเพียรพยายาม (วิริยวาท)

ไม่ใช่ศาสนา แห่งการอ้อนวอนปรารถนา หรือ ศาสนาแห่งความห่วงหวังกังวล

การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้า ทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติ ให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่จริงๆ

ในโลกนี้ และเริ่มแต่บัดนี้

ความรู้ในหลักที่ว่า มัชเฌนธรรมเทศนา ก็ดี

การประพฤติตามมรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ก็ดี

เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสภาพและระดับชีวิตอย่างใด สามารถเข้าใจและนำมาใช้ให้

เป็นประโยชน์ได้ตามสมควร แก่สภาพและระดับชีวิตนั้นๆ


ถ้าความห่วงใย ในเรื่องชีวิตหลังจากโลกนี้มีอยู่ ก็จงทำชีวิตดีงามอย่างที่ต้องการนั้นให้เกิดมีเป็นจริง

เป็นจังขึ้นมาด้วยการประพฤติปฏิบัติแต่บัดนี้ จนมั่นใจตนเองว่าจะไปดี โดยไม่ต้องกังวล

หรือหวาดหวั่น ต่อโลกหน้านั้นเลย


ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ ที่จะเข้าถึงผลสำเร็จเหล่านี้ แม้ว่าความสามารถจะต่างกัน

ทุกคนจึงควรได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะสร้างผลสำเร็จนั้น ตามความสามารถของตน

และความสามารถนั้น ก็เป็นสิ่งดัดแปลงเพิ่มพูนได้ จึงควรให้ทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนา

ความสามารถของตนอย่างดีที่สุด

และแม้ว่าผลสำเร็จที่แท้จริง ทุกคนจะต้องทำด้วยตนเอง โดยตระหนักในความรับผิดชอบ

ของตนอย่างเต็มที่

แต่ทุกคนก็เป็นอุปกรณ์ในการช่วยตนเองของคนอื่นได้

ดังนั้น หลักอัปปมาทธรรม และหลักความมีกัลยาณมิตร จึงเป็นหลักธรรมที่เด่น และเป็นข้อที่เน้น

หนักทั้งสองอย่าง ในฐานะความรับผิดชอบต่อตนเอง

ฝ่ายหนึ่ง กับปัจจัยภายนอกที่จะช่วยเสริมอีกฝ่ายหนึ่ง

หากจะยกเอาผลงาน และ พระจริยาของพระพุทธเจ้าขึ้นมาเป็นหลักพิจารณา จะมองเห็นแนวทาง

การบำเพ็ญพุทธกิจ ที่สำคัญหลายอย่าง เช่น ทรงพยายามล้มล้างความเชื่อถืองมงาย

ในเรื่องพิธีกรรมอันเหลวไหลต่างๆ

โดยเฉพาะการบูชายัญ ด้วยการสอนย้ำถึงผลเสียหายและความไร้ผลพิธีกรรมเหล่านั้น

ทั้งนี้ เพราะยัญพิธีเหล่านั้น ทำให้คนมัวแต่คิดหวังพึ่งเหตุปัจจัยในภายนอก อย่างหนึ่ง

ทำให้คนกระหายทะยาน และ คิดหมกมุ่นในผลประโยชน์ทางวัตถุเพิ่มพูนความเห็นแก่ตน ไม่คำนึ่งถึง

ความทุกข์ยากเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์และสัตว์ อย่างหนึ่ง

ทำให้คนคิดหวังแต่เรื่องอนาคต จนไม่คิดปรับปรุงปัจจุบันอย่างหนึ่ง

แล้วกลับทรงสอนย้ำหลักการให้ทาน ให้เสียสละแบ่งปันและสงเคราะห์กันในสังคม

สิ่งต่อไปที่ทรงพยามสอนหักล้าง คือระบบความเชื่อเรื่องวรรณะ ที่นำเอาชาติกำเนิดเป็นขีดขั้นจำกัด

สิทธิและโอกาส ทั้งในทางสังคม และ ทางจิตใจของมนุษย์

ทรงตั้งคณะสงฆ์ที่เปิดรับคนจากทุกวรรณะ ให้เข้าสู่ความเสมอภาคกัน

เหมือนทะเล ที่รับน้ำจากแม่น้ำทุกสาย กลมกลืนเข้าเป็นอันเดียวกัน

ทำให้เกิดสถาบันวัด ซึ่งต่อมาได้ กลายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่วัฒนธรรม และการศึกษาที่สำคัญยิ่ง

จนศาสนาฮินดูต้องนำไปจัดตั้งขึ้นบ้าง ในศาสนาของตน เมื่อหลังพุทธกาลราว 1,400

หรือ 1,700 ปี

ทรงให้สิทธิแก่สตรีที่จะได้รับประโยชน์จากพุทธธรรม เข้าถึงจุดหมายสูงสุด

ที่พุทธธรรมจะให้เข้าถึงได้ เช่น เดียวกับบุรุษ แม้ว่าการให้สิทธินี้ จะต้องทรงกระทำ

ด้วยความหนักพระทัย และด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะเตรียมการวางรูป ให้สภาพการณ์

ได้สิทธิของสตรีนี้ดำรงอยู่ด้วยดี ในสภาพสังคมสมัยนั้น เพราะสิทธิของสตรีในการศึกษาอบรม

ทางจิตใจ ได้ถูกศาสนาพระเวทค่อยๆ จำกัดแคบเข้ามาจนปิดตายแล้วในสมัยนั้น


:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 มิ.ย. 2010, 08:40, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2008, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประการต่อไป

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ทรงสั่งสอนพุทธธรรม ด้วยภาษาสามัญที่ประชาชนใช้ เพื่อให้คนทุกชั้น ทุกระดับการศึกษาได้รับ

ประโยชน์จากธรรมนี้ทั่วถึง
ตรงข้ามกับศาสนาพราหมณ์ ที่ยึดความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท

และจำกัดความรู้ชั้นสูงไว้ในวงแคบของพวกตนด้วยวิธีการต่างๆ

โดยเฉพาะ คือ ด้วยการใช้ภาษาเดิมของสันสกฤต ซึ่งรู้จำกัดในหมู่พวกตนเป็นสื่อถ่ายทอด

และรักษาคัมภีร์ แม้ต่อมา จะมีผู้ขออนุญาตพระพุทธเจ้า ให้ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ภาษาพระเวท

พระองค์ก็ไม่ทรงอนุญาต ทรงยืนยันให้ใช้ภาษาของประชาชนตามเดิม


(ดูวินัย.7/181/70.)


ประการต่อไป

ทรงปฏิเสธโดยสิ้นเชิง ที่จะทำเวลาให้สูญเสียไปกับการถกเถียงปัญหา ที่เกี่ยวกับการเก็งความจริง

ทางปรัชญา ซึ่งไม่อาจนำมาพิสูจน์ให้เห็นได้ด้วยวิธีแสดงเหตุผล ทางคำพูด

ถ้าใครถามปัญหาเช่นนี้

พระองค์จะทรงยับยั้งเสีย แล้วดึงผู้นั้นกลับมาสู่ปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง ที่เขาจะต้องเกี่ยวข้อง

และปฏิบัติได้ในชีวิตจริงโดยทันที-

(ดู อง.ทสก. 24/95-96/206-212)



สิ่งที่จะพึงรู้ได้ด้วยคำพูด ทรงแนะนำด้วยคำพูด

สิ่งที่จะพึงรู้ด้วยการเห็น ทรงให้เขาดู

มิใช่ให้ดูสิ่งที่จะต้องเห็นด้วยคำพูด
และทรงสอนพุทธธรรม โดยปริยายต่างๆ เป็นอันมาก

มีคำสอนหลายระดับ ทั้งสำหรับผู้ครองเรือน ผู้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ผู้สละเรือนแล้ว ทั้งคำสอน

เพื่อประโยชน์ทางวัตถุ และเพื่อประโยชน์ลึกซึ้งทางจิตใจ
เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากพุทธธรรม

ทั่วถึงกัน พุทธกิจที่กล่าวมานี้ เป็นเครื่องยืนยันข้อสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธธรรมที่พูดมาแล้วข้างต้น


ประกาศศาสนาท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมที่ต่างกัน

การที่ต้องทรงสอนพุทธธรรมท่ามกลางวัฒนธรรมแบบพราหมณ์ และ ความเชื่อถือตามลัทธิต่างๆ

ของพวกสมณะสมัยนั้น ทำให้พระพุทธเจ้า ต้องทรงเกี่ยวข้องกับถ้อยคำทางศาสนา

ในลัทธิความเชื่อถือเหล่านั้น ทั้งโดยการได้รับฟัง และการพูดพาดพิงถึง และโดยที่พระองค์

มีพระประสงค์ให้พุทธธรรมเผยแพร่ไป เป็นที่เข้าใจและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง

ในเวลาอันรวดเร็ว จึงปรากฏว่า พระองค์มีวิธีการปฏิบัติต่อถ้อยคำทางศาสนาเหล่านี้

เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ ไม่ทรงนิยมหักล้างความเชื่อถือเดิมในรูปถ้อยคำที่ใช้

ทรงหักล้างเฉพาะแต่ตัวความเชื่อถือ ที่แฝงอยู่เป็นความหมายของถ้อยคำเหล่านั้นเท่านั้น

กล่าวคือ ไม่ทรงปฏิเสธหรือขัดแย้งด้วยวิธีรุนแรง ทรงนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบไม่รู้สึกตัว

หรือแบบโอนอ่อนผ่อนตามมากกว่า


โดยนัยนี้ พระองค์จึงทรงนำคำบัญญัติ ที่ใช้กันอยู่ในศาสนาเดิม มาใช้ในความหมายใหม่

ตามแนวของพุทธธรรมโดยเฉพาะบ้าง

ทรงสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ถ้อยคำที่ใช้อยู่เดิมบ้าง เช่น ใช้ “พรหม” เป็นชื่อของสัตว์โลก

ที่เกิดตายประเภทหนึ่งบ้าง

หมายถึง บิดามารดาบ้าง

ทรงเปลี่ยนความเชื่อถือ เรื่องกราบไหว้ทิศ 6 ตามธรรมชาติ มาเป็นการปฏิบัติหน้าที่

และรักษาความสัมพันธ์รูปต่างๆ ในสังคม

เปลี่ยนความหมายของการบูชาไฟศักดิ์สิทธิ์ สำหรับยัญพิธี 3 อย่างของพราหมณ์

มาเป็นความรับผิดชอบทางสังคมต่อบุคคล 3 ประเภท


เปลี่ยนการตัดสินความเป็นพราหมณ์และอารยะโดยชาติกำเนิด มาเป็นตัดสินด้วยการประพฤติปฏิบัติ

บางครั้ง ทรงสอนให้ดึงความหมายบางส่วน ในคำสอนของศาสนาเดิมมาใช้แต่ในทางที่ดีงาม

และเป็นประโยชน์

คำใดในศาสนาเดิม ถูกต้องดีงาม ก็ทรงรับรอง โดยถือความถูกต้องดีงามเป็นของสากล

โดยธรรมชาติ

ในกรณีที่หลักความประพฤติปฏิบัติในศาสนาเดิม มีความหมายหลายอย่าง ทรงชี้แจงว่าแง่ใดถูก

แง่ใดผิด

ทรงยอมรับและให้ประพฤติปฏิบัติแต่ในแง่ที่ดีงามถูกต้อง

บางครั้ง ทรงสอนว่าความประพฤติปฏิบัติที่ผิดพลาดเสียหายบางอย่างของศาสนาเดิมในสมัยนั้น

เป็นความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นในศาสนานั้นเอง

ซึ่งในครั้งดั้งเดิมทีเดียว คำสอนของศาสนานั้น ก็ดีงามถูกต้อง และทรงสอนให้รู้ว่า

คำสอนเดิมที่ดีของศาสนานั้นเป็นอย่างไร

ตัวอย่างในข้อนี้ มีเรื่อง ตบะ การบูชายัญ หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง

และเรื่องพราหมณ์ธรรม...เป็นต้น


ข้อความที่กล่าวมานี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นความใจกว้างของพุทธธรรม และ การที่พระพุทธเจ้า

ทรงตั้งพระทัยสอนแต่ความจริง และ ความดีงามถูกต้องที่เป็นกลางๆ แล้ว

ยังเป็นเรื่องสำหรับเตือน ให้รู้จักแยกความหมายคำบัญญัติทางศาสนาที่ใช้ในพุทธธรรม

กับที่ใช้ในศาสนาอื่นๆด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค. 2010, 18:46, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2008, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




thai-gift019.gif
thai-gift019.gif [ 19.65 KiB | เปิดดู 8334 ครั้ง ]
อนึ่ง เมื่อสิ้นยุคขององค์พระศาสดาแล้ว เวลาล่วงไป และคำสอนแผ่ไปในถิ่นต่างๆ

ความเข้าใจในพุทธธรรมก็แปรไปจากเดิม และ แตกต่างกันไปได้หลายอย่าง เพราะผู้ถ่ายทอด

สืบต่อ มีพื้นความรู้การศึกษาอบรมสติปัญญาแตกต่างกัน ตีความหมายพุทธธรรมแผกกันไปบ้าง

นำเอาความรู้ ความเชื่อถือเดิมจากลัทธิศาสนาอื่น เข้ามาผสมแทรกแซงบ้าง

อิทธิพลศาสนา และวัฒนธรรม ในท้องถิ่นเข้าผสมผสานบ้าง

คำสอนบางแง่เด่นขึ้น

บางแง่เลือนลง เพราะการย้ำ และ เลี่ยงความสนใจ ตามความโน้มเอียง

และความถนัดของผู้รักษาคำสอนบ้าง

ทำให้เกิดความแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ เช่น ที่แยกเป็นมหายานกับเถรวาท

ตลอดจนนิกายย่อยๆ ในสองนิกายใหญ่นั้น

สำหรับเถรวาทนั้น แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนิกายที่รักษาแบบแผนและคำสอนดั้งเดิมไว้ได้แม่นยำ

ก็มิใช่จะพ้นไปจากความแปรเปลี่ยนได้โดยสิ้นเชิง

คำสอนบางส่วน แม้ที่อยู่ในคัมภีร์เอง ก็ยังเป็นปัญหาที่คนรุ่นปัจจุบันต้องนำมาถกเถียงคิดค้นหาหลักฐาน

ยืนยัน หรือปฏิเสธความเป็นของแท้แต่ดั้งเดิม

ยิ่งความรู้ความเข้าใจ ที่ประชาชนเชื่อถือและปฏิบัติอยู่ด้วยแล้ว ความคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมีได้มาก

และชัดเจนยิ่งขึ้น

บางกรณีกับเสมือนเป็นของตรงข้ามกับคำสอนเดิม หรือเกือบจะกลายไปเป็นลัทธิอื่น

ที่คำสอนเดิมคัดค้านแล้วก็มี ยกตัวอย่างในประเทศไทยนี้ เมื่อพูดถึงคำว่า “กรรม” ความเข้าใจ

ของคนทั่วไป ก็จะเพ่งไปยังกาละส่วนอดีตเจาะจงเอาการกระทำในชาติที่ล่วงแล้ว หรือชาติก่อนๆ

บ้าง

เพ่งไปยังปรากฏการณ์ส่วนผล คือนึกถึงผลที่ปรากฏในปัจจุบันของการกระทำในอดีตบ้าง

เพ่งไปยังแง่ที่เสียหาย เลวร้าย คือ การกระทำชั่วฝ่ายเดียวบ้าง

เพ่ง ไปยังอำนาจแสดงผลร้ายของการกระทำความชั่วในชาติก่อนบ้าง

และโดยมาก เป็นความเข้าใจตามแง่ต่างๆ เหล่านี้รวมๆกันไปทั้งหมด ซึ่งเมื่อพิจารณาตัดสิน

ตามหลักกรรมที่แท้จริงในพุทธธรรมแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า เป็นความเข้าใจที่ห่างไกล

จากความหมายที่แท้จริงเป็นอันมาก

แม้ข้อธรรมอื่นๆ ตลอดจนคำบัญญัติทางธรรมแต่ละคำๆ เช่น อารมณ์ วิญญาณ บารมี

สันโดษ อุเบกขา อธิษฐาน บริกรรม ภาวนา สมถะ สมาธิ วิปัสสนา กาม โลกีย์

โลกุตระ บุญ อิจฉา ฯลฯ ก็ล้วนมีความหมายพิเศษ ในความเข้าใจของประชาชน ซึ่งผิดแปลก

ไปจากความหมายดั้งเดิมในพุทธธรรมโดยตัวความหมายเองบ้าง

โดยขอบเขตความหมายบ้าง มากน้อยต่างกันไปในแต่ละคำนั้นๆ

ในการศึกษาพุทธธรรม จำเป็นต้องแยกความหมายในความเข้าใจของประชาชน

ส่วนที่คลาดเคลื่อนนี้ออกไปต่างหาก จึงจะสามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริงได้


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

ลิงค์ว่าด้วยกฏแห่งกรรมทางพระพุทธศาสนา

viewtopic.php?f=4&t=19058

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ต.ค. 2009, 18:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรมแยกออกเป็น ๒ ส่วน


พุทธธรรมแยกออกเป็น ๒ ส่วน คือ สัจธรรมส่วนหนึ่ง กับ จริยธรรมส่วนหนึ่ง

สัจธรรมเป็นส่วนแสดงสภาวะ หรือรูปลักษณะตัวจริง และจริยธรรมเป็นฝ่ายข้อประพฤติปฏิบัติ

ทั้งหมด

ก็จะเห็นว่าสัจธรรมในพุทธศาสนา ย่อมหมายถึงคำสอนเกี่ยวกับสภาวะของสิ่งทั้งหลาย

หรือธรรมชาติ และความเป็นไปโดยธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย หรือกฎธรรมชาตินั่นเอง

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

ส่วนจริยธรรม ก็หมายถึงการถือเอาประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจในสภาพและความเป็นไป

ของสิ่งทั้งหลาย หรือการรู้กฏธรรมชาติแล้วนำมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์


อีกนัยหนึ่ง สัจธรรมคือธรรมชาติและกฏธรรมดา

จริยธรรมคือความรู้ในการประยุกต์สัจธรรม

หลักการทั้งหมดนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับตัวการนอกเหนือธรรมชาติ เช่น พระผู้สร้าง เป็นต้น

แต่ประการใดเลย คือแสดงหลักคำสอนในแง่สภาวะ ที่เรียกว่า มัชเฌนธรรมเทศนา

เมื่อผู้ศึกษารู้เข้าใจเกี่ยวกับสภาวะและตัวกฎนั้น นำไปใช้ประโยชน์ในการประพฤติปฏิบัติ

หรือดำเนินชีวิตจริง เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค. 2010, 18:48, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2008, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานั้น มีจุดหมายที่แน่นอน คือ ความดับทุกข์

หรือ ภาวะหลุดพ้นเป็นอิสระไร้ปัญหา

มรรค คือ ระบบความคิดและการกระทำ หรือ การดำเนินชีวิตที่ตรงจุดพอเหมาะพอดี

ให้ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมาย คือ ความดับทุกข์นี้จึงเป็นทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา


ทางดำเนินชีวิตที่เป็นสายกลางนั้น นอกจากไม่เอียงสุดทางวัตถุจนเป็นทาสของวัตถุ

หรือขึ้นต่อวัตถุสิ้นเชิงแล้ว ก็ไม่เอียงสุดทางจิตด้วย

คือมิได้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นต่อการบำเพ็ญเพียรและผลสำเร็จทางจิตฝ่ายเดียว

จนปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่สภาพทางวัตถุและร่างกาย กลายเป็นการประกอบความลำบาก

เดือดร้อนแก่ตนเอง

ทางดำเนินชีวิตนี้ มีลักษณะไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นไปด้วยการรู้เข้าใจสภาพที่เป็นอยู่

ตามที่เป็นจริง ทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ แล้วปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทัน พอสมแก่เหตุปัจจัย

และสอดคล้อง พอเหมาะพอดี ที่จะให้ได้ผลตามจุดหมาย

มิใช่ทำพอสักว่าได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อยของอามิส หรือ สักว่าถือตามๆกันมา

โดยสำคัญมั่นหมาย ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้โดยงมงาย

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ธ.ค. 2010, 18:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาบุญที่กรุณาเผยแพร่บทความนี้ด้วยนะค่ะ

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: สาธุค่ะ ขอให้เจริญในธรรม :b8:
:b41: :b41: :b41: :b42: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: :b8: :b8: สา.....ธุ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น่าเคารพและนับถือครับสำหรับความดี แต่ก็เถอะครับสิ่งที่เราเรียนอยู่นี่ก็ไม่รู้ว่าถูกหรือผิดสองพันกว่าปีแล้วคำสอนที่บันทึกตัวธรรมะนั้นย่อมคงสภาพเดิมเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป แต่คำสอนนี้อาจถูกบิดเบือนขนาดไหนใครจะรู้แต่ ย่อมบิดเบือนแน่นอนเพราะอยู่ในกฎแห่งความเปลี่ยนแปลง(ความเห็นครับ)แต่อย่างไรก็ทำความดีต่อไปให้ถึงที่สุดจนกว่าจะตาย

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร