วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 09:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


suwichai เขียน:
พระศาสดาตรัสว่า

“อย่ากล่าวอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้แหละ หมู่สัตว์จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง ขมวดเหมือนกลุ่มด้ายที่ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ผ่านพ้น อบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปไม่ได้”

(สํ. นิ. ๑๖/๑๑๐-๑๑๑ ข้อ ๒๒๔-๕)

ในปฏิจจสมุปบาท ถ้าเราไม่เข้าใจคำว่า "วิญญาณ" อย่างถูกต้องแล้ว เราก็ย่อมไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นธรรมลึกซึ้งด้วย

ผมได้กล่าวว่า คำว่า "วิญญาณ" นั้นมี 2 อย่าง

1. วิญญาณธาตุ

2. วิญญาณขันธ์

และกล่าวว่า ในปฏิจจสมุปบาท:

อวิชชา เป็นเหตุให้เกิด สังขาร
สังขาร เป็นเหตุให้เกิด วิญญาณ (วิญญาณตัวนี้คือ วิญญาณธาตุ) เพราะตัวต่อมา
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

ในตัวนามรูปก็มีวิญญาณอยู่ด้วย วิญญาณในนามรูปตัวนั้นคือ วิญญาณขันธ์ ดังนั้นจึงพิสูจน์ได้ว่า วิญญาณ(ธาตุ)เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณขันธ์ ผมยังกล่าวด้วยว่า เมื่อคุณตาย วิญญาณขันธ์ ของคุณก็ตาย ตายแหงแก๋เลย แต่ไอ้ตัววิญญาณธาตุ มันไม่ได้ตายไปด้วย มันยังคงสืบกรรมของเราต่อไปเรื่อยๆ


1. คราวนี้เรามาเจาะลึกเรื่อง: วิญญาณธาตุ และวิญญาณขันธ์

คัดจาก http://www.whatami.8m.com/sci/sci19.html
ธาตุพื้นฐานโลก

ธาตุที่เป็นพื้นฐานนี้จริงๆก็จะมีอยู่เพียง ๖ ธาตุเท่านั้น อันได้แก่
๑. ธาตุดิน คุณสมบัติที่ค่อนแข็ง(ของแข็ง)
๒. ธาตุน้ำ คุณสมบัติที่เหลว, เอิบอาบ, รวมตัว(ของเหลว)
๓. ธาตุไฟ คุณสมบัติที่ร้อน, ทำลาย (อุณหภูมิ)
๔. ธาตุลม คุณสมบัติที่เบาบาง, แผ่กระจาย(ก๊าซ)
๕. ธาตุว่าง คุณสมบัติที่ว่าง ไม่มีอะไรเลย(สุญญากาศ)
๖. ธาตุรู้ คุณสมบัติที่สามารถรับรู้ได้ (ธาตุวิญญาณ)

.....คำว่า วิญญาณในความหมายของพุทธศาสนาจะหมายถึงการรับรู้ เมื่อเกิดการรับรู้ขึ้นมาที่ใดและเมื่อใด ก็ชื่อว่าเกิดวิญญาณขึ้นที่นั้นและเมื่อนั้น เมื่อไม่มีการรับรู้ วิญญาณก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งวิญญาณนี้เป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งก็เหมือนกับธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม

2. คำตรัสของพระพุทธเจ้าสอนราหุล คัดจาก : ๖.๙ ปฐวีธาตุเป็นต้นไม่เที่ยง

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?" เมื่อพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า" จึงตรัสว่า "อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในปฐวีธาตุ ทั้งในอาโปธาตุ ทั้งในเตโชธาตุ ทั้งในวาโยธาตุ ทั้งในอากาสธาตุ ทั้งในวิญญาณธาตุ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด" (สัง. ๑๖/ธาตุสูตร/๖๑๖-๖๑๗/๒๔๖-๒๔๗)


ส่วน ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์ และนามขันธ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นามขันธ์นี้เป็นนามหรือจิตใจของเรา

จะเห็นได้ว่า คำว่า "วิญญาณ" ที่เกิดจากอวิชชาและสังขาร ควรจะเป็นวิญญาณธาตุ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 ธาตุนั่นเอง และเป็นคนละตัวกับวิญญาณที่อยู่ในนามรูป เพราะวิญญาณที่อยู่ในนามรูปนั้น เป็นวิญญาณขันธ์


3. คราวนี้เรามาดูคำตรัสของพระพุทธเจ้าในเรื่องวิญญาณขันธ์และวิญญาณธาตุกันบ้าง


คัดจาก : 065 วิธีพิสูจน์พระอรหันต์ จากพุทธศาสนาจากพระโอษฏ์

.... คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์...... ก็จิตของท่านผู้มีอายุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ?

..... ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้

(พระพุทธองค์ตรัสแยกวิญญาณขันธ์จากวิญญาณธาตุในพระสูตรนี้ด้วย)

.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ธาตุอันพระผู้มีพระภาคนั้น.... ตรัสไว้ชอบมี ๖ ประการ.... คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้

สรุป

จะเห็นได้ชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าแยกคำว่า วิญญาณขันธ์ วิญญาณุปาทานขันธ์ ออกจากคำว่า วิญญาณธาตุ เราต้องหลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ และต้องหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ด้วย จึงจะเรียกว่า "พระอรหันต์"




*****คำอธิบายค้านที่คุณ *8q* นำมาลง*****

อ้างอิง...

ในปฏิจจสมุปบาท วิญญาณธาตุ เป็นเหตุให้เกิดนามรูป หรือขันธ์ 5 (ซึ่งมีรูปขันธ์ เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) ด้วยเหตุนี้ วิญญาณธาตุจึงเป็นคนละตัวกับวิญญาณขันธ์


**************************************************

อธิบาย...

วิญญาณธาตุ ก็คือจิต
ซึ่งเมื่อประมวลลงในจิต 89 ดวง
วิญญาณธาตุ ก็แบ่งออกได้ 7 ประเภท คือ...

ปัญจวิญญาณธาตุ ได้แก่
จักขุวิญญาณจิต 2 ดวง
โสตวิญญาณจิต 2 ดวง
ฆานวิญญาณจิต 2 ดวง
ชิวหาวิญญาณจิต 2 ดวง
กายวิญญาณจิต 2 ดวง

มโนธาตุ ได้แก่
ปัญจทวาราวัชชนจิต 1 ดวง
สัมปฏิจฉันนจิต 2 ดวง

และ มโนวิญญาณธาตุ
ได้แก่จิตอื่นๆ ที่เหลืออีก 76 ดวง

ดังนั้น วิญญาณธาตุ ทั้งหมดก็คือ วิญญาณขันธ์ นั่นเองอ่ะคับ

ส่วนที่ว่า วิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ นามรูป
วิญญาณ ในที่นี้หมายเอา วิปากวิญญาณ และ กัมมวิญญาณ
ส่วนนามรูป ในที่นี้หมายถึง เจตสิก และ รูป

ดังนั้น วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป ก็คือ...

กัมมวิญญาณ
อันได้แก่ อกุศลจิต 11 ดวง มหากุศลจิต 8 ดวง
และ รูปาวจรกุศลจิต 5 ดวง รวม 24 ดวง ที่สหรคตด้วยเจตนาในอดีตภพ
เป็นปัจจัยให้เกิด ปฏิสนธินาม และ ปฏิสนธิรูป ในปัญจโวการภูมิ 24 ขณะปฏิสนธิกาล
คือเป็นปัจจัยให้เกิด ปฏิสนธินาม อันได้แก่ เจตสิก 35 ดวง
และเป็นปัจจัยให้เกิด ปฏิสนธิรูป อันได้แก่ กัมมชรูป ที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต

ส่วน วิปากวิญญาณ
อันได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ 15 ดวง ในปัจจุบันภพ
เป็นปัจจัยแก่ ปฏิสนธินาม คือ เจตสิก 35 และ กัมมชรูป ที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตนั้น
ในปัญจโวการภูมิ 26 ขณะปฏิสนธิกาล

และ วิปากวิญญาณ อันได้แก่ ภวังคจิต 15 ดวง
เป็นปัจจัยแก่ ปวัตตินาม คือ เจตสิก 35 และ ปวัตติรูป (จิตตชรูป)
ในปัญจโวการภูมิ 26 ขณะปวัตติกาล

และ วิปากวิญญาณ อันได้แก่ สัมปฏิจฉันนจิต 2 ดวง และ โสมนัสสันตีรณจิต 1 ดวง
เป็นปัจจัยแก่ ปวัตตินาม คือ อัญญสมานาเจตสิก 11 และ ปวัตติรูป (จิตตชรูป)
ในปัญจโวการภูมิ 26 ขณะปวัตติกาล

และ วิปากวิญญาณ อันได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ 10 ดวง
เป็นปัจจัยแก่ ปวัตตินาม คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 ดวง
ในปัญจโวการภูมิ 26 ขณะปวัตติกาล

สรุปก็คือ วิญญาณธาตุ ได้แก่ วิญญาณธาตุ นั่นเองคับ

และ วิญญาณ ป็นปัจจัยแก่ นามรูป

นามรูป ในที่นี้ ไม่ได้หมายรวมขันธ์ 5 ทั้งหมด
แต่หมายถึง รูปขันธ์ และ นามขันธ์เฉพาะส่วนที่เป็นเจตสิก คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เท่านั้น
สำหรับ วิญญาณขันธ์ นั้นแยกแสดงออกมาต่างหากแล้ว
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นปัจจัยแก่กัน ว่าวิญญาณขันธ์นั้นเป็นปัจจัยแก่ นามรูป นั่นเองอ่ะคับ


ขอบคุนจารย์เดฟวัดเกาะที่เอื้อเฟื้อคำตอบครับสาธุ



*****ผมค้านว่า *****


จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป ส่วนลัทธิแก้ไขไปบอกว่า ส่วนที่ว่า วิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ นามรูป พระพุทธองค์ แสดงชัดเจนว่า วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเป็นผล การมีอยู่ของสิ่งหนึ่ง (วิญญาณ)เป็นปัจจัยให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง(นามรูป) วิญญาณที่เป็นเหตุ(วิญญาณธาตุ)จึงเป็นคนละตัวกับนามรูป ที่มีวิญญาณขันธ์ เป็นผล

ย้ำ!!! วิญญาณที่เป็นเหตุ(วิญญาณธาตุ)จึงเป็นคนละตัวกับนามรูป ที่มีวิญญาณขันธ์ เป็นผล


แก้ไขล่าสุดโดย suwichai เมื่อ 05 ก.ค. 2009, 11:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


พ่อแม่ เป็นปัจจัยให้เกิด ลูก = พ่อแม่เป็นคนละคนกับลูก

วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป (ซึ่งมีวิญญาณขันธ์อยู่ด้วย) = วิญญาณ(พ่อแม่)เป็นคนละคนกับวิญญาณขันธ์(ลูก)

พ่อแม่เป็นปัจจัยแก่ลูก อาจจะตีความเป็นอะไรก็ให้ เช่นให้ลูกกิน ให้เงินลูกใช้ และอาจจะหลงผิดไปว่า พ่อแม่เป็นคนเดียวกับลูก

วิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ นามรูป อาจจะตีความเป็นอะไรก็ให้ และอาจจะหลงผิดไปว่า วิญญาณ(พ่อแม่)เป็นคนเดียวกับลูก(วิญญาณขันธ์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีบรรทัดฐานง่ายๆเกี่ยวกับการจะดูว่าใครเป็นอรหันต์แท้ เป็นอรหันต์เทียม
ก่อนที่ผมจะสนใจไป เชื่อในสิ่งที่เขาสอน คือ


ดูการพูดถึงนิพพาน หากเป็นหนังสือ ผมก็จะเปิดไปหน้าสุดท้ายก่อน
ว่าเขาพูดถึงนิพพานไว้อย่างไร

ถ้าหากว่า เขาอธิบายว่า พระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว ปรินิพพานแล้ว
แต่ยังเหลือ ส่วนที่เป็นจิตบ้าง เหลือตัวรู้บ้าง เหลืออะไรอยู่แม้สักอย่างตามเขาจะเรียก
ถึงแม้เขาจะใช้คำโก้หรู ให้ดูพิศดารพันลึกอย่างไรก็ตาม การแสดงถึงภาวะที่ยังคงเหลืออยู่
เป็นอยู่ของพระอรหันต์ผู้ปรินิพพานไปแล้ว..............ก็คือความเห็นผิด และเขาผู้เชื่ออย่างนั้น
เข้าใจอย่างนั้น เขาก็ไม่ใช่พระอรหันต์แท้

เพราะว่าไม่ว่าอะไรที่ยังคงเหลืออยู่ นั่นก็คือขันธิ์5 ซึ่งยังคั่งค้าง
และไม่ดับสนิท

การที่เชื่อว่าชีวิตของพระอรหันต์ภายหลังแต่ปรินิพพานแล้ว ยังคงความเป็นของตัวตน
ของตัวเอง ที่บริสุทธิ์สะอาด โดยไม่ดับสนิทลงไปพร้อมกับขันธ์5 ก็คือการหลงผิด


พระท่านนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้โด่งดังแค่ไหน เป็นคนดีแค่ไหน เขาก็มีบั้นปลายที่เห็นผิด
และเขาก็ยังไม่ใช่พระอรหันต์

โดยส่วนตัวผม ถ้าศึกษาดูว่าตัวสุดท้ายที่เขาพูดถึง ยังมีจิตเป็นตัวเขา
หรืออาจจะใช้คำเรียกชื่อจิตอันเป็นส่วนที่เหลือว่าอย่างอื่น จะเรียกว่าใจแท้บ้าง
จะเรียกว่า สิ่งที่ไม่มีคำเรียกบ้าง ถึงจะเรียกยังไงแต่ถ้าแสดงถึงการคงอยู่
และเหลืออยู่ของตัวเอง เหลืออยู่ของพระอรหันต์ เหลืออยู่ของพระพุทธเจ้า
นั่นก็คือความเห็นผิด และหลงโดยแน่นอน


พอทราบว่าสภาวะสุดท้ายที่เขากล่าวถึงนิพพาน ถ้ามันไม่ถูกตรงตามหลักการ
และยังมีอะไรคั่งค้างคงอยู่ ผมก็จะรู้ทันทีว่าเขาไม่ใช่อรหันต์
และผมก็ไม่มาเสียเวลามานั่งอ่าน ตั้งแต่หน้าแรกของเขาอีก

ตอนผมเป็นเด็กน้อยไม่รู้เดียงสาในทางธรรม ผมก็เชื่อว่า
การจะดูว่าใครเป็นอรหันต์ คือดูจากกระดูกที่เป็นพระธาตุบ้าง
ดูจากประวัติ ที่พิศดารบ้าง อิทธิฤทธิ์ปฏิหาริย์บ้าง โดยไม่ได้สนใจที่ตัวธรรมะ
อันเป็นสภาวะแท้ซึ่งจะเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้ทราบตัวตนแท้ของเขาได้


แต่เดี๋ยวนี้ผมไม่เคยสนใจ และแยแสเรื่องกระดูก หรือปาฏิหาริย์ใดเพื่อเอามาเป็น
บรรทัดฐาน และเครื่องวัดคุณธรรมของ พระอริยเจ้าชั้นสูงอีก

เพราะกระดูกทุกวันนี้หากต้องการเอาของใครไปทำให้ใส
ก็สามารถทำได้ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แม้แต่กระดูกสุนัขก็ยังใสได้
และมีวิธีอีกมากมายที่จะทำให้กระดูกมันกลายสภาพ

โลกทุกวันนี้เป็นโลกของการเอากระดูกมาอ้าง เอากระดูกมาหากินกันซะเยอะ
มาดูที่เนื้อความของธรรมะจริงๆก็แทบจะไม่มีอะไร มีแต่ธรรมะพื้นๆประดับด้วยปาฏิหาริย์
ผสมเรื่องราวผจญภัย สลับกับการคุยโอ้อวด เติมสีเติมรส สร้างศัพท์ใหม่ๆ
สร้างบัญญัติใหม่ๆเพื่อเน้น ให้สภาวะธรรมดาๆ แสนจะพื้นๆของตนเองให้มันดูใหญ่โตอลังการ
และไม่ธรรมดาซะยังงั้น ..........และต่อมาก็กลายเป็นแฟชั่นที่พวกหัวอ่อนมักจะหยิบยกมา
กล่าวอ้างแทนที่คำกล่าวของพระพุทธเจ้า เพราะคิดเอาว่า คำพูดที่มันนอกกรอบ
แหกออกจากตำรา คือสิ่งที่ถอดจากสภาวะปฏิบัติจึงน่าเชื่อกว่าตำราหรือไตรปิฎก


พวกเขาอาจลืมไปว่า ทุกถ้อยคำตรัสของพระพุทธเจ้าก็ล้วนเป็นสิ่งที่ออกมาจากการปฏิบัติ
ออกจากสภาวะแท้ๆของพระองค์ แต่พวกหัวอ่อนกลับคิดซะว่า คำตรัสในพระไตรปิฎก
เป็นแค่ความรู้ทางตำรา เป็นแค่ปริยัติ ส่วนคำสอนที่ออกจากเหล่าครูอาจารย์ทั้งหลาย
คือสภาวะจากการปฏิบัติ ไม่ใช่ตำรา จึงน่าเชื่อถือกว่าพระไตรปิฎก

เขาจึงพากันหมายมั่นในคำกล่าวของครูอาจารย์แม้บางเรื่องที่ขัดกับคำตรัสของพระพุทธเจ้าตรงๆ
เขาก็ยังจะเลือกเชื่อครูอาจารย์เหล่านั้น มากกว่าพระพุทธเจ้า


ครูอาจารย์ในโลกนี้ แบ่งเป็น สี่ประเภท

กลุ่มที่1......สอนผิด ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และบั้นปลาย
กลุ่มที่2.......สอนถูกเบื้องต้น ผิดท่ามกลาง ผิดบั้นปลาย
กลุ่มที่3.......สอนถูกเบื้องต้น ถูกท่ามกลาง ผิดบั้นปลาย
กลุ่มที่4.......สอนถูกทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และบั้นปลาย

เบื้องต้นคือตัวศีลธรรม ข้อวัตร ระเบียบวินัย
ท่ามกลางคือขอบเขตของ สมาธิ การสร้างสมาธิ
บั้นปลายคือ ส่วนแห่งการสร้างปัญญา ญาณ มรรคผล นิพพาน


การปฏิบัติเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และลาดลึกประณีตไปตามลำดับ
เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการหลงทาง และหลงผิด
เพราะทุกขณะของการปฏิบัติ ไม่ว่าจะปฏิบัติถูกต้องตามทาง ตามวิธี
หรือปฏิบัติผิด ไปจากทาง ผิดไปจากวิธีที่แท้ การปฏิบัติทั้งปวงนั้น
ก็จะเกิดสภาวะธรรมปรากฏขึ้นให้ผู้ปฏิบัติสัมผัสได้ และเผลอใจไปเชื่อมั่น

เพราะสภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติที่ผิด ก็ืคือสภาวะที่เขาได้เข้าไปถึงด้วยการปฏิบัติ

ปฏิบัติถูก ก็มีสภาวะ
ปฏิบัติผิด ก็มีสภาวะ

ต่างฝ่ายต่างก็มีสภาวะ เจอสภาวะด้วยตนเองจากการปฏิบัติด้วยกันทั้งคู่
เพียงแต่บุคคลหนึ่งไปเจอของแท้ อีกคนหนึ่งไปเจอของเทียม

ต่างฝ่ายก็ปฏิบัติจริงด้วยกันทั้งคู่ ประสบต่อสภาวะด้วยตนเองด้วยกันทั้งคู่
รู้เฉพาะตนด้วยกันทั้งคู่ แต่เป็นการรู้ในสิ่งที่เป็นคนละสิ่งกัน
เป็นคนละสิ่งที่ใช้ชื่อเดียวกัน ใช้สมมุติบัญญัติตัวเดียวกัน

ผู้เชื่อตามวิธีของคนที่ปฏิบัติถูก หากปฏิบัติตามก็เจอสภาวะตรงตามที่เขาสอน
ผู้เชื่อตามคนปฏิบัติผิด หากปฏิบัติตาม ก็ต้องเจอสภาวะที่เขาสอนด้วยเหมือนกัน

และเมื่อผู้ปฏิบัติตามแล้วประสบเจอตามที่เขาสอน ไม่ว่าผิด หรือถูก
ความเชื่อมั่น ศรัทธาของเหล่าสาวกลูกศิษย์ก็ยิ่งมีแต่จะมั่นคงยิ่งขึ้น
ทีนี้เขาพูดอะไร ก็อาจจะถูกหมด หรือคิดบวกไปหมดจนไม่เห็นตัวตนแท้จริงของผู้พูด


ทั้งหมดนี้คือ ความคิดส่วนตัวของผม ความเชื่อส่วนตัวของผม
มันจะผิด หรือจะถูกมันก็เป็นกรรมของผม และผมจะได้รับผลจากกรรมนี้เอง
ด้วยความยินยอมพร้อมใจ


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


นายบังสกุลคนนี้ เขาถามเรื่องหนึ่งไปตอบอีกเรื่อง แล้วคำตอบที่ตอบก็แสดงถึงว่า ยังเต็มไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ แต่ผมไม่ต้องการเข้าไปในประเด็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิของเขาในกระทู้นี้

ปล่อยไปก่อน วันพระไม่ได้มีหนเดียว ใจเย็นๆ ผมจะต้องค่อยๆชี้แนะนายบังสกุลคนนี้ให้เป็นนายบัวศกลให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณที่จะเตือนผม และดึงผมออกจากมิจฉาทิฏฐิ ตามที่คุณเข้าใจ

แต่ก่อนที่คุณจะดึงผมออกจากมิจฉาทิฏฐิ คุณช่วยดึงผมออกจากความสงสัยหน่อยเถอะครับ

ผมสงสัยว่า..........กายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขาร
เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณทางอายตนะทั้ง6 ได้ยังไง

วิญาญาณรู้ทางอายตนทั้ง6 เป็นปัจจัยให้มีนามรูป
ซึ่งนามก็ได้แก่ สัญญาเวทนาเจตนาผัสสะมนสิการ รูปคือกายที่ถึงพร้อมด้วยประสาท
และอุปาทายรูป วิญญาณรู้ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เป็นปัจจัยให้มีนามรูปได้ยังไง
ระบบมันเป็นยังไง ช่วยอธิบายด้วยครับ

และเพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณขันธ์ นั้นเป็นยังไง
เพราะพระพุทธองค์แสดงไว้ชัดเจนเรื่องขันธ์5ว่า

สัญญาขันธ์เกิดจาก ผัสสะ

เวทนาขันธ์เกิดจาก ผัสสะ

สังขารขันธ์เกิดจาก ผัสสะ

วิญญาณขันธ์เกิดจาก นามรูป ช่วยอธิบายหน่อยว่านามรูปทำให้เกิดวิญญาณขันธ์
ได้ยังไง

และพระองค์ก็ทรงแสดงไว้มากมายว่า ขันธ์5 ไม่ใช่เรา ไม่มีเราอยู่ในขันธ์5
การปรินิพพาน คือการดับไม่เหลือดับโดยสนิทของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เมื่อขันธ์ทั้ง5 ดับสนิท แล้วยังจะมีอะไรเหลืออีก

คำว่าดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ ย่อมหมายถึงว่าต้องดับสนิทแล้วไม่มีส่วนเหลือจริงๆ
ถ้ายังมีส่วนเหลือก็แสดงว่า ยังดับไม่สนิท

เช่นพระอนาคามี ที่ยังตกค้างอยู่ยังสุทธาวาท เพราะว่ายังดับไม่สนิท

ผมขอถามแค่เบาๆเท่านี้ก่อน ก็ในเมื่อคุณยืนยันความเป็นสัมมาทิฏฐิ
และยืนยันว่ารู้แจ้ง นิพพาน รู้แจ้งวิญญาณ

คุณช่วยตอบให้ชัดหน่อยเถอะว่า พระอรหันผู้ปรินิพพานแล้ว
ขันธ์5 ดับสนิทรึเปล่า หากดับสนิทแล้วคุณคิดว่ายังมีอะไรเหลืออยู่รึเปล่า
และถ้าเหลืออยู่ไอ้สิ่งที่เหลืออยู่นั้นคืออะไร ถ้าไม่ใช่ขันธ์ใดในขันธ์5

กรุณาตอบให้ครบทุกข้อด้วยนะครับ ไม่ต้องรีบร้อนตอบ
ค่อยๆตอบทีละข้อก็ได้ เผื่อท่านอื่นๆเขาจะได้ตาสว่างด้วย
และได้ประโยชน์ด้วย

แต่ถ้าคุณตอบไม่ได้ กรุณาอย่าข้างๆคูๆ ตอบแบบเอาตัวรอด
หรือแสดงอาการที่จะหาเหตุผล เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องตอบ

ขอบคุณครับ

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




f54802676.gif
f54802676.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 3202 ครั้ง ]
suwichai เขียน:
นายบังสกุลคนนี้ เขาถามเรื่องหนึ่งไปตอบอีกเรื่อง แล้วคำตอบที่ตอบก็แสดงถึงว่า ยังเต็มไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ แต่ผมไม่ต้องการเข้าไปในประเด็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิของเขาในกระทู้นี้

ปล่อยไปก่อน วันพระไม่ได้มีหนเดียว ใจเย็นๆ ผมจะต้องค่อยๆชี้แนะนายบังสกุลคนนี้ให้เป็นนายบัวศกลให้ได้





ปล่อยไปก่อน วันพระไม่ได้มีหนเดียว ใจเย็นๆ ผมจะต้องค่อยๆชี้แนะนายบังสกุลคนนี้ให้เป็นนายบัวศกลให้ได้


“วันพระไม่ได้มีหนเดียว”

http://radio.sanook.com/music/player/%E ... 8%A7/4151/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตนำคำสอนของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)ปฏิจจสมุปบาท
แปลพอได้ความหมายในเบื้องต้นว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายโดยอาศัยกัน
การที่สิ่วทั้งหลายอาศัยกันๆ จึงเกิดมีขึ้น
หรือการที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมา

ปฏิจจสมุปบาท
เป็นหลักธรรมอีกหมวดหนึ่ง
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ
หรือหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา ไม่เกี่ยวกับการอุบัติของพระศาสดาทั้งหลาย

ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท จะเห็นได้จากพุทธพจน์ว่า
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร