วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 08:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เผื่อว่าใครยังไม่เคยอ่าน พระพุทธพจน์ ที่ผมกล่าวถึงเหล่านี้



อ้างคำพูด:
ในพระสูตรที่ตรัสแสดง ว่า การเจริญอรยมรรคย่อมเจริญทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง นั้น..... พระดาบสทั้งสองรู้จัก สมถะ ที่เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง(อธิปัญญา)จริงหรือ???....พระดาบสทั้งสองมี อธิปัญญา คือ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ จริงหรือ???


เสนออ่าน พระพุทธพจน์

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า

มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรม ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



............................................


สมถะที่เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งนี้ พระดาบสทั้งสอง รู้จักจริงหรือ???

พระพุทธองค์ทรงไปนำเอาสมถะที่เป็นของนอกพระศาสนา มาใช้จริงหรือ???


ต้องไม่ลืมว่า อริยะสัมมาสมาธิ ที่ตรัสแสดงใน ปริกขารสูตรนั้น หมายเอา เอกัคคตาแห่งจิตที่มีอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม

หรือ อาจจะกล่าวว่า อริยะสัมมาสมาธิ นั้น เป็นที่ประชุมรวมลงแห่งอริยมรรคทั้งหมดแล้ว จึงบังเกิดอริยผล คือ สัมมาญาณะ (เพราะมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะ)

หากเอกัคคตาแห่งจิตนั้นไม่ถูกกำหนดทิศทาง แต่เบื้องต้น(ดังที่แสดงในมหาจัตตารีสกสูตร แสดง อนาสวะสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน)ว่า เป็นไปเพื่อความจางคลายแห่งทุกข์ เป็นไปเพื่อความดับไม่เหลือ หาใช่เพื่อบรรลุอาตมันหรือปรมาตมันใดๆ และ ไม่มีสัมมาสติ(การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน)เป็นเหตุนำใกล้ ....เอกัคคตาแห่งจิตนั้น ย่อมมิใช่อริยะสัมมาสมาธิ



สรุป...ดาบสทั้งสองอดีตอาจารย์พระพุทธองค์ ถึงแม้นสามารถบรรลุสมาบัติขั้นอรูปฌาน แต่ เนื่องจากปราศจากอนาสวะสัมมาทิฏฐิ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ เป็นตัวกำหนดทิศทางแต่เบื้องต้น และ ไม่ได้เจริญภาวนาตามหลักการแห่งสติปัฏฐาน.... สมาธินั้นๆ จึงไม่นับเนื่องว่า เป็น สมถะในองค์แห่งอริยมรรค

สมถะ(อริยะสัมมาสมาธิ) ซึ่งแสดงใน สัจจบรรพ แห่งมหาสติปัฏฐานสูตร ว่าเป็นรูปฌาน๑-๔ จึงเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะในอริยมรรคนี้ .....และ พระพุทธองค์ไม่ได้ไปนำของนอกพระศาสนามาใช้แต่ประการใดเลย!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


นำพระพุทธพจน์ดั้งเดิมที่กล่าวถึง บทธรรมนี้
มาลงต่อครับ


อ้างคำพูด:
ในพระสูตรที่ตรัสแสดงถึง ธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชาสองอย่างคือ สมถะ(ที่เป็นเหตุละราคะ) และ วิปัสสนา(ที่เป็นเหตุละอวิชชา) แสดงว่า พระพุทธองค์ทรงไปนำสมถะที่เป็นของนอกพระศาสนามาเป็นส่วนแห่งวิชชา จริงหรือ???



“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็น ธรรมมีส่วนแหงวิชชา

ธรรม ๒ อย่าง คืออะไร คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้วก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมละราคะได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิปัสสนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญาที่อบรมแล้ว ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ? ย่อมละอวิชชาได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชาย่อมไม่เจริญ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล ความสิ้นราคะ ชื่อเจโตวิมุติ ความสิ้นอวิชชา จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ.....”

ป. ทุก. อํ. (๒๗๕-๒๗๖)
ตบ. ๒๐ : ๗๗-๗๘ ตท. ๒๐ : ๖๙-๗๐
ตอ. G.S. ๑ : ๕๕-๕๖



......................................


คำว่า ธรรมมีส่วนแห่งวิชชา หรือ บางสำนวนแปลใช้คำว่า ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา มาจากพระบาลีว่า "วิชชาภาคิยะ"
คือ ธรรมทั้งสองเป็นภาคประกอบกัน นำไปสู่การตรัสรู้ชอบ

พระพุทธพจน์ดั้งเดิมจะสอน สมถะคู่กับวิปัสสนาเสมอ
สักแต่ว่า จะใช้สิ่งใดนำ-สิ่งใดตาม หรือ เจริญไปพร้อมๆกัน.... แต่ต้องประกอบกันทั้งสองส่วน และ บริบูรณ์พร้อมทั้งสองส่วน จึงจะเห็นธรรมได้

และ สมถะในองค์แห่งอริยมรรคที่เรียกว่า อริยะสัมมาสมาธิ(หรือ สมาธินทรีย์ หรือ สมาธิสัมโพชฌงค์)นั้น ฤาษีนอกพระศาสนาไม่รู้จักหรอก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "สมถะ" นั้น หมายถึง วิธีการปฏิบัติทางจิตอย่างใดอย่างหนึ่งอันมีผลทำให้ใจสงบ
คำว่าใจสงบมุ่งเน้นที่จะสงบจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ พบคำนี้ในพระพุทธศาสนามากก็จริง แต่วิธีการ
ทำสมถะนั้นได้มีมาก่อนการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า แม้จะไม่ชัดเจนในภาษาที่ใช้เรียกวิธีการนั้น แต่ก็
โดยความหมายแล้วเป็นสมถะเช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย
ประการแรก เจ้าชายสิทธัตถะทรงเจริญฌานตั้งแต่ปฐมถึงจตุตถะบังคับเงาต้นหว้าเมื่อพระชนมายุ ๗
พรรษา ในครั้งเสด็จออกแรกนาขวัญกับพระราชบิดา
ประการที่ ๒ กาฬเทวินดาบสที่เข้าเยี่ยมพระกุมาร ตามประวัติเป็นผู้ได้ถึงอรูปฌาน
ประการที่ ๓ อาราฬดาบส อุทกดาบส อาจารย์ของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อละโลกแล้วอุบัติในพรหมโลก
ผู้ที่อุบัติในพรหมโลกอย่างน้อยต้องปฐมฌานขึ้นไป เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้อรูปฌานที่สำนักนี้

ทั้ง ๓ ตัวอย่างนี้บ่งบอกว่า มีการปฏิบัติทางจิตชนิดหนึ่งที่มีผลทำให้ใจสงบปราศจากนิวรณ์ธรรมได้
เหมือนกัน แต่จะเรียกอย่างไรไม่ทราบกันแน่ชัด และวิธีการก็คงไม่เป็นหลักตายตัว ไม่เป็นหมวดหมู่
สอน บอก กันในหมู่คณะเท่านั้น ต่างกับคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเรียกว่าสมถะ และ
ทรงตรัสวิธีการไว้มากมาย รวบรวมได้ ๔๐ อย่าง แต่โดยนัยแล้ว ก็เป็นวิธีการที่มีผลเสมอกัน ต่างเพียง
วิธีการที่ใช้เรียกและวิธีปฏิบัติเท่านั้น

ตรงประเด็น เขียน:
เผื่อว่าใครยังไม่เคยอ่าน พระพุทธพจน์ ที่ผมกล่าวถึงเหล่านี้
อ้างคำพูด:
ในพระสูตรที่ตรัสแสดง ว่า การเจริญอรยมรรคย่อมเจริญทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง นั้น..... พระดาบสทั้งสองรู้จัก สมถะ ที่เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง(อธิปัญญา)จริงหรือ???....พระดาบสทั้งสองมี อธิปัญญา คือ อนาสวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ จริงหรือ???

เสนออ่าน พระพุทธพจน์
[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า

มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์
บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป
เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรม ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



............................................
สมถะที่เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งนี้ พระดาบสทั้งสอง รู้จักจริงหรือ???



ในพระสูตรที่ทรงแสดงนั้น ทรงตรัสว่า "เจริญอัฏฐังคิกมรรค" ฉนั้นจึงตัดไปได้เลยว่าดาบสทั้งหลายก่อน
การตรัสรู้ของเจ้าชายสิทธัตถะ ไม่รู้จักสมถะที่เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งแน่ และคำว่า อัฏฐังคิกมรรคนั้น
หมายถึงมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ก็คือมรรค ๘ นั่นเอง ก่อนการตรัสรู้ ไม่มีใครรู้จักวิธีการนี้

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าดาบสทั้งหลายจะไม่รู้จักสมถะในความหมายของการทำใจให้สงบ เพราะสมถะไม่ไช่ปัญญาอันยิ่งเสมอไป
สมถะนั้น เป็นองค์หนึ่งในสัมมาสมาธิ ในสัมมาสมาธินั้นหมายเอาสมาธิที่เป็นฌานซึ่ง
บริสุทธิ์จริงๆ ปราศจากนิวรณ์ธรรมและพร้อมที่จะปฏิบัติในเรื่องอื่นๆต่อไป ถ้าบุคคลผู้ทำฌานนั้นไม่ประ
กอบด้วยมรรคองค์อื่นแล้ว เมื่อพ้นจากฌานนั้นก็อาจเป็นผู้เห็นผิดได้ พึงดูตัวอย่างจากพระเทวทัตเป็น
ต้น

คำว่า เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ หมายความว่าต้องเป็น
ผู้เจริญมรรคทั้ง ๘ ไม่ไช่เจริญเพียงฌาน(สัมมาสมาธิ)อย่างเดียว แต่หมายถึงทั้ง ๘ องค์ประกอบ
สมาธิที่เป็นสมถะในชั้นนี้จึงเรียกว่า อธิปัญญา

ฉนั้น คำว่าสมถะที่มีผู้บอกว่ามีมาก่อนการตรัสรู้นั้น คงหมายถึงสมถะธรรมดา หมายถึงการทำฌานของ
ดาบส ฤาษี ฯลฯ แน่นอน คงไม่ได้หมายถึงฌานหรือสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยมรรค ๘ จึงสรุปได้ว่า
ถ้าเป็นสมถะแบบทำฌานธรรมดา มีมานานแล้วก่อนการตรัสรู้ แต่ถ้าสมถะแบบหลุดพ้นหรือประกอบด้วย
มรรค ๘ นั้น มีหลังการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น


ในตอนท้ายพระพุทธพจน์นั้น ที่ว่า ชื่อว่ามีสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันเป็นไป ก็สมจริงตามนั้นเพราะ
สัมมาสมาธิเป็นสมถะอยู่แล้วและสติปัฏฐานเป็นองค์ของวิปัสสนาโดยแท้

ตรงประเด็น เขียน:
พระพุทธองค์ทรงไปนำเอาสมถะที่เป็นของนอกพระศาสนา มาใช้จริงหรือ???[/quot]

พระพุทธองค์ทรงแนะวิธีปฏิบัติทางจิต ไม่ได้นำสมถะที่ป็นของนอกพระศาสนามาใช้ แต่ทรงวางหลัก
และวิธีการที่เป็นแบบฉบับของศาสนาของพระองค์เอง โดยทรงเพิ่มองค์ประกอบต่างๆอีก เช่น มรรค
หรือ สติปัฏฐานเข้าไป เพื่อเป็นเหตุกำจัดกิเลสได้ เพราะลำพังสมถะไม่สามารถกำจัดได้สิ้นเชิง คงได้
เช่นเดียวกับหินทับหญ้าเท่านั้น แต่เมื่อว่าโดยสภาวะของฌานแล้ว นอกหรือในศาสนาก็มีลักษณะเดียว
กัน เมื่อละสังขารก็อุบัติที่พรหมเช่นกัน(เฉพาะสมถะที่เป็นฌานล้วนๆไม่รวมถึงประกอบด้วยคุณอื่นๆ เช่น
มรรค ๘ หรือ สติปัฏฐาน ๔)

ตรงประเด็น เขียน:
ต้องไม่ลืมว่า อริยะสัมมาสมาธิ ที่ตรัสแสดงใน ปริกขารสูตรนั้น หมายเอา เอกัคคตาแห่งจิตที่มีอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม ฯลฯ เอกัคคตาแห่งจิตนั้น
ย่อมมิใช่อริยะสัมมาสมาธิ


เท่าที่ตามอ่านดู เหมือนว่าผู้ที่พูดว่าสมถะมีมาก่อนพระพุทธเจ้านั้น หมายเอาสมถะ(ฌาน)ธรรมดาเท่า
นั้น คงไม่หมายความลึกลงไปถึงคำสอนที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส

ตรงประเด็น เขียน:
สรุป...ดาบสทั้งสองอดีตอาจารย์พระพุทธองค์ ถึงแม้นสามารถบรรลุสมาบัติขั้นอรูปฌาน แต่ เนื่องจากปราศจากอนาสวะสัมมาทิฏฐิ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ เป็นตัวกำหนดทิศทางแต่เบื้องต้น และ ไม่ได้เจริญภาวนาตามหลักการแห่งสติปัฏฐาน.... สมาธินั้นๆ จึงไม่นับเนื่องว่า เป็น สมถะในองค์แห่งอริยมรรค
สมถะ(อริยะสัมมาสมาธิ) ซึ่งแสดงใน สัจจบรรพ แห่งมหาสติปัฏฐานสูตร ว่าเป็นรูปฌาน๑-๔ จึงเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะในอริยมรรคนี้ .....และ พระพุทธองค์ไม่ได้ไปนำของนอกพระศาสนามาใช้แต่ประการใดเลย!!!


ถูกตามนี้เลยครับ แต่ตรงนี้ก็บอกได้ว่า สมถะ(ฌาน)มีมาก่อนการตรัสรู้ และคงเป็นคำตอบได้สำหรับ
คนที่ยังสงสัยว่าสมถะมีมาก่อนการตรัสรู้หรือเปล่า แต่ถ้าความหมายหรือพระพุทธประสงค์แล้ว คำว่า
สมถะจะมีความหมายตามที่คุณตรงประเด็นอธิบายมาครับ ชอบแล้วครับ สาธุ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน
ทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน
ความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อ
เสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า
สัมมาวาจา ฯ
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ
เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมา
กัมมันตะ ฯ
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด
เสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่
เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม
แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ
สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา-
*สมาธิ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภาย
นอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
เสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ
ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ ฯ
จบสัจจบรรพ
จบธัมมานุปัสสนา

อ่านพระพุทธพจน์กันเถิด :b42:

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้มาดูสูตรที่ท่านกล่าวอ้างมาเถิด กล่าวถึงแต่อนาสวะ แต่ไม่กล่าวถึงอาสวะ มาดูพระพุทธพจน์กันเถิด

[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ
ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมา-
*สมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-
*สมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ
[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายาม
ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่า
มิจฉาสังกัปปะ รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ ความรู้ของเธอนั้น เป็น
สัมมาทิฐิ ฯ
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน คือ ความดำริ
ในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน นี้มิจฉาสังกัปปะ ฯ
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็น
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่
พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก
ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติ
ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมา-
*สติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ
[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉา-
*วาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน คือพูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ นี้ มิจฉาวาจา ฯ
[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาวาจาเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูด
ส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ นี้ สัมมาวาจา
ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจา
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่ ความ
พยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น ฯ
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉากัมมันตะว่า มิจฉากัมมันตะ
รู้จักสัมมากัมมันตะว่า สัมมากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้ มิจฉากัมมันตะ ฯ
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็น
สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมากัมมันตะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้น
จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด
ความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมากัมมันตะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่ สติ-
*ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้น ฯ
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่า
มิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเธอนั้น เป็น
สัมมาทิฐิ ฯ
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกง
การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ
นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละ
มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่
ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
เจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความ
พยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของ
เธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา
สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึง
พอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ
[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น
อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็น
ปัจจัย ฯ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...
ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามก
เป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติ
สลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมา-
*วิมุตติเป็นปัจจัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่าย
อกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะ
หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก
จะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ
[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญ
ที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึง
ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชา
สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้อง
บูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมา-
*อาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียน
สัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มี
วิมุตติผิด ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะ
ติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึง
ฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ
ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่
จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะ
กลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


sanooktou เขียน:
คราวนี้มาดูสูตรที่ท่านกล่าวอ้างมาเถิด กล่าวถึงแต่อนาสวะ แต่ไม่กล่าวถึงอาสวะ มาดูพระพุทธพจน์กันเถิด

[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ
ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

>>>>>>>>>>>>>

จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗




คุณ sanooktouครับ

จาก มหาจัตตารีสกสูตร

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 724&Z=3923

ที่ผมกล่าวระบุถึงองค์แห่งอริยมรรค โดยระบุถึง "อนาสวะ" โดยตรงเลยนั้น
เป็นเพราะ ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงถึง

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ"

และ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ"


กล่าวคือ สัมมาสมาธิ ที่แสดงในมหาจัตตารีสกสูตรนี้ เป็น "สัมมาสมาธิของพระอริยะ" ซึ่งก็คือ อริยะสัมมาสมาธิ นั่นเอง

(ในปริกขารสูตร จะใช้คำว่า อริยสมาธิ

ปริกขารสูตร

[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
องค์แห่งสมาธิ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เอกัคคตาจิตประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้ เรียกว่าอริยสมาธิ ที่เป็นไปกับด้วยอุปนิสัยก็มี ที่เป็นไปกับด้วยบริขารก็มี ฯ
)




และ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ที่เป็นองค์ประกอบของ อริยะสัมมาสมาธิ ในพระสูตรนี้ ก็นับเอาส่วนที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เช่นกัน
แต่ ทั้งนี้ มิได้หมายถึงว่า ผมปฏิเสธความสำคัญของสาสวะสัมมาทิฏฐิน่ะครับ เพราะ อนาสวะสัมมาสทิฏฐินั้นก็ยืนอยู่บนพื้นฐานของสาสวะสัมมาทิฏฐิแน่นอน....


อยากให้สังเกตุว่า

ในมหาจัตตารีสกสูตรนั้น

องค์แห่งอริยมรรค5ข้อแรก คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ๆลๆ ไปจนถึงสัมมากัมมันตะ ....ทรงแสดงแยกเป็นสองส่วน คือ สาสวะ และ อนาสวะ.

โดยที่ในส่วนอนาสวะนั้นจะมีการระบุว่า

"[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ"

ๆลๆ

[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็น
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ


ไปจนถึงสัมมาอาชีวะ ที่ทรงแสดงแยกเป็น ระดับสาสวะ และ อนาสวะ(ที่เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค)


ดังนั้น สัมมาทิฏฐิ ที่ผมระบุหมายเอาระดับอนาสวะเลย เพราะ นับเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค โดยตรง ....หาใช่การปฏิเสธความสำคัญของ สาสวะสัมมาทิฏฐิแต่อย่างใด

ซึ่งในความจริงแล้ว ผู้ที่จะมีอนาสวะสัมมาทิฏฐิได้นั้น ก็ต้องละมิจฉาทิฏฐิมาสู่สาสวะสัมมาทิฏฐิอยู่แล้ว(ดังที่แสดงไว้ในมหาจัตตารีสกสูตร)นั่นเอง


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 02 ก.ค. 2009, 06:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ sanooktou


อีกประการหนึ่ง ที่ผมต้องระบุเอา อนาสวะสัมมาทิฏฐิ(และ ๆลๆ) เป็นเหตุ-เป็นองค์ประกอบแห่งอริยะสัมมาสมาธิ โดยตรงเลยนั้น

เพราะ เคยเสวนากับท่านอื่นๆในเว็บอื่น ท่านอื่นๆมีความเห็นว่า ดาบสอดีตอาจารย์พระพุทธทั้งสอง ก็ไม่เห็นว่าจะมีมิจฉาทิฏฐิตรงไหน(ซึ่งก็ถูกของเขา)....
ดังนั้น เขาจึงเห็นว่าท่านทั้งสองก็ต้องมีสัมมาทิฏฐิด้วย(แต่ในความจริงยังคงเป็นเพียงมีสัมมาทิฏฐิระดับสาสวะเท่านั้น)
และ เขาเห็นต่อไปอีกว่า สมาธิของท่านดาบสทั้งสองนั้น ก็ต้องนับว่าเป็น "สัมมาสมาธิ เช่นเดียวกับที่แสดงในมหาจัตตารีสกสูตร"นี้!!! (ซึ่งตรงนี้ผิดเลย เพราะในมหาจัตตารีสกสูตร พระพุทธองค์ทรงระบุเอา สัมมาสมาธิระดับที่เป็นอนาสวะเลย)

ในความจริงแล้ว
เป็นที่แน่นอนว่า ดาบสอดีตอาจารย์พระพุทธองค์ทั้งสองนั้น ท่านไม่มีอนาสวะสัมมาทิฏฐิ(หรือ ตรงกับธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ในพระสูตรนี้ก็กล่าวถึง)แน่นอน...ท่านจึงไม่มีอนาสวะสัมมาทิฏฐิ
เพราะ ในขณะที่ดาบสอดีตอาจารย์พระพุทธองค์ทั้งสองเจริญสมาธิกันอยู่นั้น พระพุทธองค์ยังไม่ทรงตรัสรู้และยังไม่สั่งสอนอริยมรรคเลย คือ ในขณะนั้น โลกทั้งโลกยังไม่มีใครรู้จักอริยมรรคเลย

ผมจึงระบุถึง อนาสวะสัมมาทิฏฐิ โดยตรงเลย เพื่อไม่ต้องการให้สับสน

แต่ ก็อย่างที่แสดงไว้ว่า เมื่อกล่าวอนาสวะสัมมาทิฏฐินั้น ก็ย่อมต้องครอบคลุมถึงสาสวะสัมมาทิฏฐิอยู่ในตัวแล้ว
(เพราะ ต้องละมิจฉาทิฏฐิเป็นเบื้องแรกก่อนจึงมีสาสวะสัมมาทิฎฐิ และ เมื่อเจริญอริยมรรคจึงเข้สู่เขตแห่งอนาสวะสัมมาทิฏฐิ)


สรุป

สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค(อริยะสัมมาสมาธิ)นั้น ไม่ใช่สมถะที่พระพุทธเจ้าไปนำของพระฤาษีที่ไหนมาใช้หรอก

เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เท่านั้น!!




(ปล... ท่านใช้คำว่า "สาสวะ" ไม่ใช่ "อาสวะ" ครับ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่เรายกพระพุทธพจน์มาเพื่อให้เห็นว่า
สูตรที่เธอตีความว่า สมาธิของพระอริยะนั้น ท่านทรงอธิบายว่าห้อมล้อมด้วย มรรคอีก7 อันเป็นอนาสวะ

ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับสิ่งที่เรากล่าวว่า สมถมีมานอกพระพุทธศาสนาเลย
เพราะผู้สำเร็จสมถะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยมรรค8 จึงยังไม่สำเร็จอรหันต์
ครั้งแรกที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ก็ยังคิดจะแสดงธรรมแก่ อุทกดาบสและอาฬาลดาบส เป็นกลุ่มแรก
ถ้าไม่เสียชีวิตเสียก่อน ก็คงได้เป็นอรหันต์แล้ว

ผู้ที่บรรลุเจโตวิมุตติ คือบรรลุโดยการปฏิบัติสมถะควบคู่วิปัสสนา
ผู้ที่บรรลุปัญญาวิมุตติ คือบรรลุโดยวิปัสสนาล้วน

แต่ปฏิบัติสมถะอย่างเดียวหาได้บรรลุไม่ คงสำเร็จแต่ฌาณ ซึ่งพระพุทธองค์ก็สำเร็จขั้นสูงสุดอยู่แล้ว

ผมไม่ได้แย้งว่า ดาบสทั้งสองรู้จักอริยมรรค
เพียงแต่บอกว่า ท่านทั้งสองสามารถปฏิบัติสมถะภาวนา ได้ถึงขั้นสูงสุด แต่ยังไม่บรรลุเพราะประพฤติ
อริยมรรคได้ไม่ครบ ไม่สมบูรณ์

ลองอ่านพระพุทธพจน์ให้ดี พระองค์จะทรงอธิบายว่า มรรคนี้เป็นหนทางแห่งการตรัสรู้
มิใช่กล่าวว่า มรรคนี้เป็นหนทางแห่งฌาณ
เพราะโดยหลักแล้ว ผู้ที่อยู่ในสมถะ จะไม่สามารถปฏิบัติวิปัสสนาได้
เพราะวิปัสสนาคือหลักการพิจารณา อารมณ์จึงไม่ได้นิ่งเป็นจุดเดียวเหมือนสมถะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ
ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมา-
*สมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-
*สมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ
อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ


ดูที่ตัวอักษรใหญ่ จะเห็นว่าต้องประกอบด้วยมรรคอันเป็นอริยะ ทั้ง๗ แต่ในหลักอภิธรรมจะหมายถึง
จิตของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยกิเลส
เพื่อเป็นการยืนยันคำพูดข้างบน เรามาพิจารณา พระพุทธพจน์กันต่อ
ยกตัวอย่าง ที่เห็นชัดที่สุด

[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูด
ส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ นี้ สัมมาวาจา
ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจา
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

เห็นชัดหรือยัง ตรงคำว่า ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ ก็คือพระอรหันต์
เพราะนอกนั้นล้วยังมีอาสวะสิ้น

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแห่งเหตุผล ศาสนาแห่งสัจจะ
สิ่งที่ศาสนาพุทธมี คือการหลุดพ้นจากกิเลส หาใช่เพื่อพรหม เพื่ออิทธิไม่
แม้สมถจะมีมานอกพระพุทธศาสนา แต่เมื่อประกอบด้วยประโยชน์ เราก็ไม่จำเป็นต้องปฏิเสธ

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


sanooktou เขียน:

การปฏิบัติสมาธิ มีมานอกศาสนาพุทธ
พระพุทธองค์ ทรงเรียนเอาในลัทธิของ อาฬาลดาบส และอุทกดาบส



คำว่า สมถะที่มีมานอกพระศาสนา??? (ที่คุณบอกว่า พระพุทธองค์ไปเรียนมาจาก ดาบสทั้งสอง)
นี่ ไม่ใช่ สมถะ ที่เป็นธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชาคู่กับวิปัสสนาน่ะครับ

สมถะที่เป็นธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชาคู่กับวิปัสสนา(ตามพระสูตรที่ยกมา) อันประกอบด้วย อนาสวะสัมมาวาจา อนาสวะสัมมาอาชีวะ อนาสวะสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ อริยสัมมาสมาธิ(จาก หนังสือพุทธธรรม แสดงองค์แห่งอริยมรรค6ข้อนี้ รวมกันเรียกว่า สมถะในองค์แห่งอริยมรรค) เป็นของในพระศาสนานี้.... พระพุทธองค์ไม่ได้นำมาจากนอกพระศาสนาน่ะครับ

สมถะในองค์แห่งอริยมรรคนี้ ฤาษีอื่นๆซึ่งไม่รู้จักอริยมรรคจะไม่รู้จักกันครับ

สมถะของพระฤาษีที่ไม่รู้จักอริยมรรค ย่อมปราศจากอนาสวะสัมมาทิฏฐิเป็นตัวกำหนดทิศทางแต่เบื้องต้น การปฏิบัติจึงไม่ได้เป็นไปเพื่อความดับไม่เหลือ(แต่ เป็นไปเพื่อ ปรมาตมัน อาตมันอันสูงสุด ตัวตนอันติมะ ตัวกูผู้ผ่องใส)... เมื่อเข็มทิศกำหนดทิศทางแต่เบื้องต้นไม่มี การปฏิบัตินั้นๆจึงไม่อยู่ในแนวทางแห่งอริยมรรค ตั้งแต่เบื้องต้น

อนึ่ง ถ้าผู้ใดเห็นว่า ท่านดาบสอดีตอาจารย์ของพระพุทธองค์ทั้งสอง ก็มีอนาสวะสัมมาทิฏฐิ ด้วย... โปรดแสดง หลักฐานให้ผมดูเป็นวิทยาทานด้วยครับ ผมต้องการศึกษาครับ



อ้างคำพูด:
ที่เรายกพระพุทธพจน์มาเพื่อให้เห็นว่า
สูตรที่เธอตีความว่า สมาธิของพระอริยะนั้น ท่านทรงอธิบายว่าห้อมล้อมด้วย มรรคอีก7 อันเป็นอนาสวะ

ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับสิ่งที่เรากล่าวว่า สมถมีมานอกพระพุทธศาสนาเลย


เกี่ยวสิครับ:b1:

เพราะ สัมมาสมาธิของพระอริยะ คือ เอกัคคตาจิตที่แวดล้อมด้วยอีกเจ็ดอริยมรรค นั้น....พระฤาษีองค์ไหนๆ ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็ไม่มีครับ

คุณใช้คำพูดแบบวิปัสสนาจารย์บางท่านใช้กันครับ คือ ท่านเชื่อว่า สมถะในองค์แห่งอริยมรรคเป็นของมีมาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่แล้ว ฤาษีต่างๆก็รู้จักสมถะในองค์แห่งอริยมรรคกันอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าไปนำของเขามาใช้.....จึงใช้คำว่า "มีมานอกพระศาสนา"
คำว่า "มีมานอกพระศาสนา"นี้ บ่งไปทางนั้นครับ

ดังนั้น จึงต้องกล่าวให้ชัดเจนไปเลยว่า
สมถะของพระฤาษีที่มีมาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ไม่ใช่สมถะอย่างเดียวกับ สมถะในองค์แห่งอริยมรรค (ดังที่ทรงแสดง สัมมาสมาธิของพระอริยะ ในมหาจัตตารีสกสูตร)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


sanooktou เขียน:

ผู้ที่บรรลุเจโตวิมุตติ คือบรรลุโดยการปฏิบัติสมถะควบคู่วิปัสสนา
ผู้ที่บรรลุปัญญาวิมุตติ คือบรรลุโดยวิปัสสนาล้วน






ขอทราบเป็นวิทยาทานครับ

การบรรลุโดย "วิปัสสนาล้วน"นี้
อยู่ในข้อไหน ใน4แนวทางสู่อรหัตตผล ที่ท่านพระอานนท์สรุปประมวลไว้ ใน ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา...ครับ???


๑) สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (เรียกเต็มว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)

๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)

๓) ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (เรียกเต็มว่า สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)

๔) ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือ ความฟุ้งซ่านธรรม หรือ ตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน)

จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา




ขอบคุณครับ

บ่ายๆจะแวะเข้ามาใหม่ ไปทำงานก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


เราว่าเราอธิบายกระจ่างแจ้งมากแล้วน่ะ

พระพุทธพจน์ที่เธอยกมา เป็นมรรคของพระอริย คือพระอรหันต์

[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูด
ส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ นี้ สัมมาวาจา
ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจา
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

ตรงที่เน้นตัวใหญ่นั่นล่ะ คือคำตอบ และมีอยู่ทุกหมวด ทุกมรรคที่พระพุทธองค์ตรัส
ถ้ายังไม่บรรลุ จัดเป็นอาสวะ ถ้าบรรลุแล้ว จัดเป็นอนาสวะ

ส่วนตัว เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เรายกมาจากหลักอภิธรรม

ส่วนนี้คือพระพุทธพจน์ตรัสเกี่ยวกับ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุุตติ

แสดงสมถะและวิปัสสนา เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคายก็จะเห็นจุดประสงค์ของการปฏิบัติทั้ง ๒ กล่าวคือ เจริญสมถะเพื่อเจโตวิมุตติ เพื่อการอบรมจิตให้ระงับในกิเลสราคะ เพื่อยังประโยชน์ กล่าวคือ นำจิตที่ตั้งมั่น เนื่องจากสภาวะไร้นิวรณ์ และราคะ(กามฉันท์ ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕)มารบกวนจากการสอดส่ายฟุ้งซ่านไปปรุงแต่ง หรือสภาพที่ถูกยึดมั่นไว้ด้วยอุปาทาน จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนปัญญาในการคิดพิจารณาธรรมให้เห็นเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง กล่าวคือ พึงยังให้เกิดปัญญาวิมุตติขึ้นนั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้ละอวิชชาเป็นที่สุด.

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา

ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต

จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้

วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา

ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น

หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ

เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ

จบพาลวรรคที่ ๓

เห็นหรือไม่ว่า จุดสูงสุดของสมถะ คือเจโตวิมุตติ
ส่วนจุดสูงสุด ของวิปัสสนา คือ ปัญญาวิมุตติ
หากเราจะหลุดพ้นได้ต้องกำจัดอวิชชา เพราะเหตุนั้น สมถะทำให้ละราคะได้
เมื่อละราคะได้ จิตเราย่อมผ่องใสจากกิเลส จึงทำใ้ห้ง่ายต่อการเจริญวิปัสสนา เพื่อละอวิชชา
เพื่อบรรลุอรหันต์ เพื่อเข้าสู่นิพพานต่อไป

อย่าเน้นอ่านแต่ที่ตัวเองชอบใจ จงใช้ปัญญาไตร่ตรอง แล้วเธอจะเห็นสิ่งที่เป็นจริง :b42:

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ sanooktou ครับ


ที่คุณกล่าว เกี่ยวกับ อริยมรรค ในมหาจัตตารีสกสูตร

อ้างคำพูด:
พระพุทธพจน์ที่เธอยกมา เป็นมรรคของพระอริย คือพระอรหันต์


อริยมรรค ที่บรรยายในมหาจัตตารีสกสูตร นั้น....ไม่ใช่ทางเดินที่จำกัดเฉพาะพระอริยะ หรือ พระอรหันต์ หรอกครับ

ปุถุชนที่เป็นเวไนยสัตว์ ปราถนาความพ้นทุกข์ ก็ต้องเพียรที่จะเดินในทางนี้กันทุกคน

เสนออ่านจาก พุทธธรรม ฉบับขยายความ หน้า 570

มัชฌิมาปฏิปทา นี้ มีชื่อเรียกอย่างง่ายๆว่า มรรค ซึ่งแปลว่า ทาง

ทางนี้มีส่วนประกอบ8อย่าง และ ทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นอารยชน
จึงเรียกชื่อเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือ อารยอัษฎางคิกมรรค

พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรคาที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทานี้ เป็นทางเก่าที่เคยมีท่านผู้เดินถูกต้องไปถึงจุดหมายเคยเดินกันมาในกาลก่อนแล้ว พระองค์เพียงแต่ทรงค้นพบแล้วทรงเปิดเผย แก่มวลมนุษย์
ทรงทำหน้าที่แนะนำบอกทางนี้ให้แก่เวไนยชน



คำว่า อริยมรรค เราจะไปจำกัดเฉพาะเป็นทางเดินของพระอริยะ หรือ พระอรหันต์ คงไม่ถูก
จริงอยู่ ผู้ที่เดินถึงที่สุด และ เดินไม่ผิดทางแล้วแน่นอน ก็คือ พระอรหันต์... แต่ พระอรหันต์ท่านจบกิจแล้ว ท่านไม่ต้องเดินอีกแล้ว
และ พระอรหันต์ท่านก็ไม่เคยหวงทางนี้เอาไว้หรอก มีแต่จะกวักมือเรียกเรา-ท่าน ให้เร่งเดินตามท่าน... ปัญหา ก็คือ เรา-ท่าน ไม่ค่อยจะยอมเดินตามท่านไป ก็เท่านั้นเอง


จะอย่างไรก็ตาม
การที่คุณกล่าวว่าอริยมรรคเป็นทางเดินเฉพาะของพระอริยะ หรือ พระอรหันต์ ผมก็ยังไม่เห็นว่ามันจะไปเกี่ยวข้องอะไรกับ คำกล่าวที่คุณกล่าวว่า

อ้างคำพูด:
ส่วนการปฏิบัติที่เรากล่าวว่า มานอกศาสนานั้น พระพุทธองค์ ย่อมเรียกว่า สมถ



เพราะ สมถะในองค์แห่งอริยมรรค ก็ไม่ได้มาจากนอกศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ sanooktou ครับ


ขออภัยน่ะครับ
คุณอาจจะอ่านผ่าน คำถามที่ผมขอทราบ ความเห็นของคุณไป ใน คห.ก่อนหน้านี้

เกี่ยวกับที่คุณกล่าว "การเจริญวิปัสสนาล้วน" :b6:

sanooktou เขียน:

ผู้ที่บรรลุเจโตวิมุตติ คือบรรลุโดยการปฏิบัติสมถะควบคู่วิปัสสนา
ผู้ที่บรรลุปัญญาวิมุตติ คือบรรลุโดยวิปัสสนาล้วน



ขอทราบเป็นวิทยาทานครับ

การบรรลุโดย "วิปัสสนาล้วน"นี้
อยู่ในข้อไหน ใน4แนวทางสู่อรหัตตผล ที่ท่านพระอานนท์สรุปประมวลไว้ ใน ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา...ครับ???


๑) สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (เรียกเต็มว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)

๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)

๓) ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (เรียกเต็มว่า สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)

๔) ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือ ความฟุ้งซ่านธรรม หรือ ตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน)

จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา



ขอทราบเหตุผลประกอบด้วยน่ะครับ

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณความเห็น ท่าน กามโภคีครับ :b8:

ขออภัยด้วย ที่ตอบช้า เพราะงานภาระมาก


อ้างคำพูด:
คำว่า "สมถะ" นั้น หมายถึง วิธีการปฏิบัติทางจิตอย่างใดอย่างหนึ่งอันมีผลทำให้ใจสงบ
คำว่าใจสงบมุ่งเน้นที่จะสงบจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ พบคำนี้ในพระพุทธศาสนามากก็จริง แต่วิธีการ
ทำสมถะนั้นได้มีมาก่อนการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า


เห็นตรงกันครับ ว่า พระฤาษีท่านก็เจริญสมถะ-สมาธิ กันอยู่แล้ว...ในแบบที่สติปัญญาของท่านเข้าใจ (ไม่ใช่สมถะแบบที่มีอนาสวะสัมมาทิฏฐิ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ เป็นตัวกำหนดทิศทางแต่เบื้องต้น ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงใน มหาจัตตารีสกสูตร)

แต่ ผมไม่เห็นด้วยที่มีผู้กล่าวว่า สมถะในองค์อริยมรรคนั้น มาจากนอกศาสนา

ตามที่ผมแสดงค้านแล้ว ในข้างต้น



อ้างคำพูด:
ประการแรก เจ้าชายสิทธัตถะทรงเจริญฌานตั้งแต่ปฐมถึงจตุตถะบังคับเงาต้นหว้าเมื่อพระชนมายุ ๗ พรรษา ในครั้งเสด็จออกแรกนาขวัญกับพระราชบิดา


ตรงจุดนี้ ผมขอเสนอดังนี้ครับ

สคารวสูตร

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=906254

[๗๕๒] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงเช่นนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุญาณทัศนะอันวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้
จะพึงมีทางอื่นเพื่อความตรัสรู้กระมังหนอ.

เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดาเรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้. เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.

เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ? จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.



พระสูตรนี้ เป็นการตรัสเล่าถึง การแสวงหาโมกขธรรมของพระพุทธองค์
เริ่มตั้งแต่ต้น จนตรัสรู้....

มีที่น่าสนใจ คือ พระองค์เองเคยไปฝึกบำเพ็ญอรูปสมาบัติ
คือ อากิญจัญญายตน กับ ท่านอาฬารดาบส
และ เนวสัญญานาสัญญายตน กับ อุทกดาบสมาแล้ว
แต่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ไม่ใช่ทางตรสรู้ จึงหลีกออกมา
และ ไปบำเพ็ญทุกรกิริยา จนเกือบสิ้นพระชนม์.... แต่ ก็ไม่บรรลุพระโพธิญาณ

จึงทรงหวลระลึก ถึงรูปฌานที่๑ ที่พระพุทธองค์เคยบำเพ็ญได้ตอนยังเป็นเจ้าชายสิตทัตถะ

และ ในคืนวันตรัสรู้

พระองค์ก็ทรงเจริญอานาปานสติ ที่พระองค์ทรงเคยบำเพ็ญได้ ตอนยังทรงพระเยาว์ เป็นบาทแห่งวิปัสสนา....
หาได้ใช้อรูปฌาน ที่อดีตอาจารย์ทั้งสองสอนมาแต่อย่างใด!!!



ปล...

จาก อรรถกถา ระบุไว้ ในคราวที่เจ้าชายสิถทัตถะ บรรลุปฐมฌาน ในคราวยังทรงพระเยาว์ว่า

ณ ที่นั้น พระราชาทรงถือคันไถทอง พวกอำมาตย์ถือคันไถเงิน ๘๐๐ หย่อนหนึ่ง ชาวนาถือคันไถที่เหลือ. เขาเหล่านั้นถือคันไถเหล่านั้นไถไปทางโน้นทางนี้. ส่วนพระราชาเสด็จจากข้างนี้ไปข้างโน้น หรือจากข้างโน้นมาสู่ข้างนี้. ในที่นี้เป็นมหาสมบัติ พระพี่เลี้ยงนั่งล้อมพระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักเห็นสมบัติของพระราชา จึงพากันออกไปนอกม่าน.

พระโพธิสัตว์ทรงแลดูข้างโน้นข้างนี้ ไม่เห็นใครๆ จึงรีบลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออก ยังปฐมฌานให้เกิด. พระพี่เลี้ยงมัวเที่ยวไปในระหว่างโรงอาหารช้าไปหน่อยหนึ่ง เงาของต้นไม้อื่นก็คล้อยไป แต่เงาของต้นไม้นั้นยังตั้งเป็นปริมณฑลอยู่. พระพี่เลี้ยงคิดว่า พระราชบุตรอยู่ลำพังพระองค์เดียว รีบยกม่านขึ้นเข้าไปภายในเห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิบนที่บรรทม และเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว จึงไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ พระกุมารประทับอย่างนี้ เงาของต้นไม้อื่นคล้อยไป เงาต้นหว้าเป็นปริมณฑลอยู่.


http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=405



อ้างคำพูด:
ต่างกับคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเรียกว่าสมถะ และ
ทรงตรัสวิธีการไว้มากมาย รวบรวมได้ ๔๐ อย่าง แต่โดยนัยแล้ว ก็เป็นวิธีการที่มีผลเสมอกัน ต่างเพียง
วิธีการที่ใช้เรียกและวิธีปฏิบัติเท่านั้น


ตรงจุดนี้ ในบรรดาสมาธิภาวนาวิธีทั้งหลาย
พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญอานาปานสติที่สุด ดังนี้ครับ

"ภิกษุทั้งหลาย...เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะก็ได้ ว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่ของพรหมก็ได้ ว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่ของตถาคตก็ได้, ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาภาวะปลอดโปร่งโล่งในโยคเกษม อันยอดเยี่ยม, อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว...อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสุขสบายในปัจจุบันและเพื่อสติ สัมปชัญญะ"

"ภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ก่อนเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็อยู่ด้วยวิหารธรรมคืออานาปานสติสมาธินี้ โดยมาก, เมื่อเรานั้นเป็นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายก็ไม่เมื่อยตาก็ไม่เหนื่อย และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ด้วยไม่ถือมั่น เราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายหากภิกษุหวังว่า กายของเราไม่พึงเมื่อย ตาก็ไม่พึงเหนื่อย และจิตของเราก็พึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายด้วยไม่ถือมั่น, ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้มาก"


และ ข้อดีของอานาปานสติ อีกประการคือ

มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา เบ็ดเสร็จในตัว
มี สติปัฏฐานสมบูรณ์ทั้งสี่ฐาน



อ้างคำพูด:
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าดาบสทั้งหลายจะไม่รู้จักสมถะในความหมายของการทำใจให้สงบ เพราะสมถะไม่ไช่ปัญญาอันยิ่งเสมอไป


สมถะที่ไม่ได้มีปัญญาอันยิ่ง(อธิปัญญา)นำทิศทางแต่ต้น เช่น สมถะของท่านดาบสทั้งสอง ก็ไม่ใช่สมถะที่นำไปสู่ อริยะสัมมาสมาธิ...คือ ไม่ใช่สมถะในองค์อริยมรรคนั่นเอง

ผมถึงใช้คำว่า"ในองค์อริยมรรค"กำกับตามหลัง คำว่า"สมถะ" เพื่อให้แยกออกจากกันได้ชัดเจน



อ้างคำพูด:
สมถะนั้น เป็นองค์หนึ่งในสัมมาสมาธิ ในสัมมาสมาธินั้นหมายเอาสมาธิที่เป็นฌานซึ่ง
บริสุทธิ์จริงๆ ปราศจากนิวรณ์ธรรมและพร้อมที่จะปฏิบัติในเรื่องอื่นๆต่อไป ถ้าบุคคลผู้ทำฌานนั้นไม่ประ
กอบด้วยมรรคองค์อื่นแล้ว เมื่อพ้นจากฌานนั้นก็อาจเป็นผู้เห็นผิดได้ พึงดูตัวอย่างจากพระเทวทัตเป็น
ต้น


จาก มหาจัตตารีสกสูตร
อริยะสัมมาสมาธิ(สัมมาสมาธิของพระอริยะ) คือ เอกัคคตาจิตซึ่งเป็นองค์ธรรมที่ประชุมรวม-ห้อมล้อมด้วยองค์ของอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างข้างต้น....

คำว่า อริยะสัมมาสมาธิ จึงมีทั้ง อธิปัญญา(อนาสวะสัมมาทิฏฐิ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ) และ อธิศีล(สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ)และ สัมมาวายามะ สัมมาสติ พร้อมอยู่ในนั้น



อ้างคำพูด:
ฉนั้น คำว่าสมถะที่มีผู้บอกว่ามีมาก่อนการตรัสรู้นั้น คงหมายถึงสมถะธรรมดา หมายถึงการทำฌานของดาบส ฤาษี ฯลฯ แน่นอน คงไม่ได้หมายถึงฌานหรือสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยมรรค ๘
จึงสรุปได้ว่า
ถ้าเป็นสมถะแบบทำฌานธรรมดา มีมานานแล้วก่อนการตรัสรู้ แต่ถ้าสมถะแบบหลุดพ้นหรือประกอบด้วย
มรรค ๘ นั้น มีหลังการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น


เห็นตรงกันครับ


ขอบคุณมากครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


เธอนี่ยกพระพุทธพจน์มาขนาดนี้ เราพิจารณาอย่างไร ก็เพียงพอแล้วด้วยตัวอย่างประมาณนี้
ยังไม่เข้าใจอีกหรือ อย่าให้ความต้องการชนะมันบังตาได้สิ

เช่นนั้นเราจักยกตัวอย่างที่เธออ้างมา
[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรค
หนึ่ง ฯ


ตัวที่๔ เธอแปลผิดไปน่ะ เราเลยยกมาทั้งหมดจะได้เข้าใจ
คราวนี้เรามาดูคำขยายตัวที่๔ กันเถิด

๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี
อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึก
ถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ
ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดย
ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิต
ที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ
ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร)
อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุ
นึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความ
ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความ
เป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
เป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม
ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้ง
มั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิด
อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส
ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความ
เป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึก
ถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ
[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อ
ภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส
ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบ
อยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อม
เกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อม
สิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ
จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก
ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ
๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ
นึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึง
ความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจาก
จิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป
จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่
ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย
ฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด
แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ
ฉะนี้แล ฯ

การมนสิการไว้ในใจ การพิจารณาว่าสังขารนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ จัดอยู่ในหลักวิปัสสนา
และในหมวดที่๔ นี้ ไม่ได้กล่าวถึงสมถะแม้แต่น้อย ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ย่อบรรลุได้
แต่ไร้อิทธิ พระอรหันต์เหล่านี้เลยได้ชื่อว่า สุกฺกวิปสฺสโก ยกตัวอย่างเช่นพระจักขุบาลเป็นต้น

เพิ่งอ่านเจอ เธออ้างเหตุที่เธอตีความหมายผิดมาเองให้พอดี


"ภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ก่อนเมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็อยู่ด้วยวิหารธรรมคืออานาปานสติสมาธินี้ โดยมาก,เมื่อเรานั้นเป็นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายก็ไม่เมื่อยตาก็ไม่เหนื่อย และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ด้วยไม่ถือมั่น เราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายหากภิกษุหวังว่า กายของเราไม่พึงเมื่อย ตาก็ไม่พึงเหนื่อย และจิตของเราก็พึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายด้วยไม่ถือมั่น, ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้มาก"

ส่วนเรื่องอริยมรรค๘ จริงๆแล้วเรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อยู่ในหมวดอริยสัจ ๔
โดยปกติ มรรค๘ สำหรับผู้ปฏิบัติ ยังไม่บรรลุอรหันต์จัดเป็น อาสวะ ตามนัยสูตรที่เรายกไปแล้วนั้น
ส่วนมรรค๘ ของพระอริยะ (พระอรหันต์) จัดเป็นอนาสวะ เพราะท่านเหล่านั้นไม่ต้องปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นแล้ว แต่ปฏิบัติด้วยความเป็นเครื่องอยู่จึงจัดเป็น อนาสวะ

ดังพระพุทธพจน์ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ
ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมา-
*สมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-
*สมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ

นี้พระพุทธองค์จะทรงอธิบาย สัมมาสมาธิของพระอริยะ มิใช่สัมมาสมาธิอันเป็นอาสวะ

ดูอันนี้ต่อ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

และอันนี้ยกมาเฉพาะบทที่สั้นเข้าใจง่ายมาให้ (รอบที่เท่าไหร่แล้ว ที่เราต้องยกบทนี้มาให้)
[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูด
ส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ นี้ สัมมาวาจา
ที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจา
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

ชัดหรือยัง ถ้ายังไม่เป็นอรหันต์ จัดเป็นอาสวะ ถ้าเป็นอรหันต์แล้วจัดเป็นอนาสวะ แต่หลักปฏิบัติเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่มีจิตที่ยังมีกิเลส กับไม่มีกิเลส
ส่วนในเรื่องอริยมรรค เราว่าเราไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมดอก เธอจงไปอ่านโดยใจอยากรู้
อย่าอ่านโดยใจอยากชนะ

เราถามเธอ ถ้าเธอต้องการกระจ่างแจ้ง เราจักตอบ ถ้าเธอต้องการเอาชนะ เราขอยอมแพ้ :b42:

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร