วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมอ่านดูแล้วไม่น่าจะใช่ การตำหนิสมาธิแบบเหมารวม

การฝึกสมาธินั้นไม่มีใครตำหนิดอกครับ บางครั้งบางท่านบอกว่า การฝึกสมาธิต้องมีครูบาอาจารย์

เจ้าของกระทู้น่าเพียงจะชี้ให้เห็นว่า การติดสมาธินั้นมีโทษ ผู้ที่ติดสมาธิหากเกิดอุปกิเลส ๑๐ ประการ
จะเป็นคนที่มีอัตตาสูง เชื่อมั่นในตัวเองมาก ผู้ที่จะดึงออกจากสมาธิเพื่อให้มาใช้ปัญญานั้น คงมีแต่
พระพุทธเจ้ากับผู้ที่เป็นครูอาจารย์กันมาก่อนเท่านั้น

อย่างที่ท่านเจ้าของกระทู้ยกตัวอย่างมา ระหว่างหลวงปู่มั่นกับหลวงตาฯ คุยกันเรื่องติดสมาธิ
ภายหลังหลวงตาจึงเห็นว่า การติดสมาธินั้นเป็นสมุทัยทั้งแท่งตามที่หลวงปู่มั่นว่า เมื่อถูกดึงออกจากสมาธิแล้วนั้น ท่านจึงเห็นคุณของปัญญา

สติ สมาธิและปัญญาเป็นของคู่กัน แยกกันไม่ออกหรอกครับ
หากคิดว่า การแสดงความเห็นเรื่องนี้แล้วเหมาว่า เป็นการตำหนิสมาธิแบบเหมารวมนั้น
ผมว่า ไม่เป็นธรรมกับเจ้าของกระทู้นะครับ

เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


อาจารย์ที่ให้ธรรมะและผู้ลงบทความไม่มีจิตอคติเกี่ยวกับการทำสมาธิ เพราะทุกวันนี้เราก็ต้องมีสมาธิขั้นต้นกันอยู่แล้ว คือขณิกสมาธิ ซึ่งจะใช้ในการงานต่างๆได้ และใช้ในการฝึกสติด้วย แต่การฝึกสติเขาไม่เน้นเรื่องสมาธิขั้นสูง ใช้สมาธิขั้นต้นๆนี่ก็พอใช้งานได้แล้ว

การทำสมาธิใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แต่ที่เขาว่าถ้าทำแต่สมาธิอย่างเดียวโดดๆจะทำให้จิตนิ่งทื่อใช้งานการอันควรไม่ได้เท่านั้น (อันควรในที่นี้คืออันควรในการเจริญทางปัญญา) แต่ไม่มีอคติอะไรกับการทำสมาธิ เราต้องแยกแยะประโยชน์ของการทำสมาธิ จะฝึกสมาธิแล้วต่อยอดเป็นวิปัสสนาต่อก็ใช้แค่อุปจารสมาธิพอ เพราะถ้าสมาธิระดับสูงมากจะทำให้จิตนิ่งแช่ใช้การเจริญปัญญาไม่ได้จะต้องถอยสมาธิลงมาพอที่จะเจริญปัญญาได้

แต่เราส่วนใหญ่จะติดสุขในสมาธิจึงไม่เจริญปัญญากัน พระและครูบาอาจารย์ท่านจึงมาสอนบอกเตือนทางเดินที่จะไปทางพ้นทุกข์ให้นั่นเอง ซึ่งการทำสติก็เป็นทางหนึ่งที่เป็นทางสายเอกที่จะทำให้เราไม่ติดสุขในสมาธิได้ ก็จะเป็นทางตรงที่ไม่อ้อมค้อมไปติดสุขหรือติดฤทธิ์ทางใจอยู่นั่นเอง

ถ้าเราเข้าใจการสอนของท่าน ท่านมีเจตตนาดี มีเมตตาทั้งครูผู้รู้ และพระผู้ปฏิบัติดีทั้งหลาย หลวงตาท่านก็สอนถูก หลวงปู่ชาท่านก็สอนถูก อาจารย์สุภีร์ท่านก็สอนถูก เพียงแต่เราผู้อ่านผู้ฟังต้องทำความเข้าใจเรื่องที่ท่านสอนเน้นอะไร ต้องการให้เข้าใจเรื่องอะไร ด้วยใจที่เป็นกลาง เราก็จะได้ความรู้

จะฝึกสติดูกายดูใจ จะฝึกสมาธิอย่างเดียวก็ดี เป็นกุศลทางใจทั้งนั้นพอที่จะต่อยอดเพื่อการพ้นทุกข์ต่อไป ดีกว่าไม่ฝึกใจเลย

ครูบาอาจารย์เขาแค่บอกเส้นทางให้เราเดินเท่านั้น เขาไม่ได้บังคับให้เราต้องเดินในทางที่เขาบอก เราแค่รับรู้แล้วจะทำตามคำบอกคำสอนนั้นหรือไม่ก็เรื่องของเราแต่ละคน เราถูกจริตกับการทำสติก็ทำ แต่ถ้าเราถูกจริตกับการทำสมาธิก็ทำ เขาเพียงบอกทางเดินเท่านั้นว่าทางนี้ก้มี เช่นเรากินข้าวเขาบอกว่าใช้ช้อนส้อมก็กินได้ ใช้ตะเกียบก็ได้ ใช้มือหยิบปั้นข้าวแบบสมัยก่อนก็ได้ เป็นต้น

แล้วแต่เราจะถนัด ครูบาอาจารย์เขาแค่บอกให้รู้เท่านั้นแต่เขาไม่ได้บอกว่าต้องทำตาม ไม่ได้ว่าทางนั้นดีทางนี้ไม่ดีแต่ให้เหตุผลในสิ่งนั้นไว้แล้วเราก็พิจารณาเองว่าเราถนัดทำตามหรือไม่ เช่นเราอาจไม่ถนัดกินข้าวด้วยตะเกียบแต่คนจีนเขาถนัดกินด้วยตะเกียบ เป็นต้น เพียงแต่ผู้แนะนำเขาบอกว่านี่ก็ใช่ได้มีประโยชน์

ถ้าเราทำแต่สมาธิอย่างเดียวเราก็หลงอยู่ในสมาธิได้คือติดสมาธิอย่างหลวงตาว่า หรือเกิดมีอิทธิฤทธิ์ทางใจขึ้นมาก็หลงตัวว่าเป็นผู้วิเศษเหนือใครได้ จนลืมว่าเรายังมีกิเลสอยู่ อาจารย์ผู้สอนเขาแค่บอกเท่านั้นเราคิดแล้วเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็เรื่องส่วนตัว แต่เชื่อว่าอาจารย์ผู้สอนเขาสอนบอกดีแล้วค่ะ

การทำสมาธิถ้าใช้ถูกทางก็เป็นประโยชน์เป็นสัมมาสมาธิ แต่เอาไปใช้ไม่ถูกทางก็เป็นมิจฉาสมาธิ ครูบาอาจารย์บอกให้รู้จะได้เดินถูกทาง ไม่รู้ก็จะหลงทางได้

เจริญในธรรมนะคะทั้งผู้อ่านและผู้ที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นทุกๆท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อ เรื่องที่ หลวงปู่มั่น ท่านสอนเตือนไม่ให้หลวงตามหาบัวติดตันอยู่เพียงแค่สุขจากสมาธิ ต่อน่ะครับ



จากที่ หลวงตามหาบัวท่านกล่าวไว้

หลวงปู่มั่น : “ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ” ฟังซิ ทีนี้ขึ้นละนะ พลิกเปลี่ยนไปหมดสีหน้าสีตาอะไร จะเอาเต็มที่ละจะเขกเต็มที่ละ “ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ” ท่านว่า “ท่านรู้ไหมสุขในสมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม สมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟันนั้นแหละมันสุขขนาดไหน เนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหมๆ”

นี้เราไม่ลืมนะ จากนั้นมาหลวงปู่มั่นท่านว่า “ท่านรู้ไหมว่าสมาธิทั้งแท่งนั้นล่ะคือตัวสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหมๆ” ตรงนี้มันก็ต่อยกับท่านอีก ดูซิ (ต่อยในที่นี้หมายถึงทางความคิดเห็นและทางวาจา ไม่ใช่การชกต่อย)

หลวงตาบัว : “ถ้าหากว่าสมาธิเป็นสมุทัยแล้ว สัมมาสมาธิจะให้เดินที่ไหน” นั่นเอาซิโต้ท่าน
หลวงปู่มั่น : “มันก็ไม่ใช่สมาธิตายนอนตายอยู่อย่างนี้ซิ สมาธิของพระพุทธเจ้าคือ สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่”

นั่นเห็นไหมท่านใส่เข้าไป แล้วว่า “สมาธินอนตายอยู่นี้เหรอเป็นสัมมาสมาธิน่ะ เอ้า ! พูดออกมาซิ” มันก็ยอมล่ะซิ

พอออกทางด้านปัญญาเท่านั้นมันก็รู้เรื่องรู้ราว ฆ่ากิเลสตัวนั้นได้ตัดกิเลสตัวนี้ได้โดยลำดับๆ เกิดความตื่นเนื้อตื่นตัวขึ้นมา โธ่ ! เราอยู่ในสมาธิเรานอนตายอยู่เฉยๆ มากี่ปีกี่เดือนแล้วไม่เห็นได้เรื่องได้ราวอะไร แต่ให้มีสมาธิพอดีๆ ไว้เป็นที่พักจิตตอนเจริญปัญญานะ


สมาธินั้นไม่ใช่ธรรมแก้กิเลส เป็นเพียงว่าธรรมเพื่อทำกิเลสให้สงบด้วยสมาธิ จิตที่ปรุงต่างๆ จึงไม่ค่อยมีสำหรับผู้มีสมาธิ นั้นแหละจิตอิ่มตัว ให้เอาจิตอิ่มตัวนี้ออกพิจารณาเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ เข้าไปถึงอาการสามสิบสอง ทุกสัดทุกส่วน เดินกรรมฐานอยู่ในร่างกายของเรานี้ขึ้นๆ ลงๆ หลายครั้งหลายหน จนมีความชำนาญ เมื่อพิจารณาร่างกายนี้จนมีความชำนาญแล้ว มันจะรู้อย่างรวดเร็ว มองดูอะไรนี่ทะลุไปหมด

มีสติเป็นสำคัญมาก ทุกๆ ท่านจำให้ดีคำว่าสตินี้เป็นพื้นฐานแห่งการบำเพ็ญธรรมทุกขั้นทุกภูมิ ตั้งแต่พื้นๆที่ฝึกหัดดัดแปลงล้มลุกคลุกคลานนี้จนกระทั่งถึงวิมุติหลุดพ้น จะนอกเหนือไปจากสตินี้ไปไม่ได้เลย เวลาล้มลุกคลุกคลานก็มีสติควบคุมไว้ตลอด จนได้หลักได้เกณฑ์ จิตเข้าสู่ความสงบร่มเย็นด้วยจิตภาวนา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุมเสมอ



คำสอนนี้ มีผู้นำมากล่าวกันมากในขณะนี้....

ไปเว็บไหนๆ ก็เจอยกคำสอนนี้มาลง

โดย มักจะนำมาลงในกระทู้ที่debate เกี่ยวกับ สมถะ-วิปัสสนา...
ผู้ที่นำมาลง มักจะเป็นผู้ที่กำลังเดินแนวทางเจริญวิปัสสนาโดยตรงอยู่!!!. :b6:
และ มักจะกล่าวถึง การเจริญสมถะ ในแง่มุมที่ว่า

เจริญยาก
ติดสุขง่าย-แก้ติดสุขยาก
หลงง่าย-แก้หลงยาก


และ ๆลๆ


โดยอาจจะลืมความจริงไปว่า
ที่หลวงปู่มั่นท่านกำลังสอนหลวงตามหาบัวนี้ ท่านกำลังเตือนลูกศิษย์ของท่านที่เชี่ยวชาญในสมาธิมากๆ และ กำลังติดสุขจากสมาธิภาวนาอยู่

หาใช่ว่า ท่านมาเตือนพวกคนเมืองที่เจริญสมาธิภาวนาไม่ค่อยสงบ แต่อย่างใด



คำเตือนของพระสุปฏิปันโน ที่เตือนต่อศิษย์ผู้ที่กำลังติดสุขจากสมาธิภาวนา(และ เชี่ยวชาญในสมาธิมาก).... กำลังถูกนำมาใช้เป็นเหตุผลในการdebate สมถะ-วิปัสสนา(ที่กำลังเข้มข้นตามเว็บต่างๆ) โดยผู้ที่นิยมเจริญวิปัสสนาโดยตรง!!!

จาก"สิ่งที่พึงระวังในการเจริญสมาธิภาวนา" ฟังดูเหมือนจะกลายเป็น "เหตุที่ไม่พึงเจริญสมาธิภาวนา"




อนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสอนสมาธิภาวนา ไปในทิศทางเดียวกับที่ปรากฏในพระไตรปิฎกแน่นอน

พระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นมัคคัญญู(ตรัสรู้มรรค)ทรงแสดงธรรม เรื่อง สมถะ-สมาธิภาวนา เอาไว้ในพระสูตรต่างๆ ครอบคลุมทุกแง่มุม
ซึ่งอาจจะพอประมวลได้เป็น
1.สมถะ ที่ประกอบกับ วิปัสสนา เป็นองค์แห่งอริยมรรค(ไม่ใช่ สมถะที่เป็นมิจฉาสมาธิแน่นอน)
2.อานิสงส์แห่งสมาธิภาวนา
3.วิธีการเจริญสมาธิภาวนา
4.ข้อพึงระวังสังวรในการเจริญสมาธิภาวนา เช่น ไม่ให้ติดตันอยู่เพียงสุขจากสมาธิภาวนา ๆลๆ
5.มีพระสูตรที่แสดงว่า บางจริตนิสัย(เช่น ปัญญาจริต) สามารถเจริญวิปัสสนาโดยตรงได้เลย(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื่องหน้า คนล่ะอย่างกับ การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ)

หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ผู้เป็นมัคคานุคา(เดินตามมรรค) ท่านก็กล่าวแสดงเรื่อง สมถะ-สมาธิภาวนา ไปในทิศทางเดียวกับที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้เช่นกัน

ดังเห็นได้ชัดเจน จากบทธรรมในกระทู้นี้

viewtopic.php?f=2&t=19823


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จาก"สิ่งที่พึงระวังในการเจริญสมาธิภาวนา" ฟังดูเหมือนจะกลายเป็น "เหตุที่ไม่พึงเจริญสมาธิภาวนา"


การแสดงความเห็น ไม่ใช่การเอาชนะคะคานกัน
แล้วกล่าวโจทย์อีกฝ่าย ที่ไม่เห็นด้วยกับตน

เมื่อตั้งสมมุติฐานผิด การมองคนอื่นก็มองผิด
การแสดงความเห็นก็มุ่งที่จะเอาแพ้เอาชนะ

เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่เราส่วนใหญ่จะติดสุขในสมาธิจึงไม่เจริญปัญญากัน พระและครูบาอาจารย์ท่านจึงมาสอนบอกเตือนทางเดินที่จะไปทางพ้นทุกข์ให้นั่นเอง


การเตือนไม่ให้ติดสุขจากสมาธิภาวนานั้น ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐานที่ท่านสอนสมาธิภาวนา ท่านก็เตือนลูกศิษย์กันอยู่แล้ว....ถ้า มันถึงเวลาที่สมควรเตือน.

ไม่ใช่ เตือนกันตั้งแต่ยังไม่เคยเจริญสมาธิภาวนาจนจิตสงบเลย

ผู้ที่เจริญวิปัสสนาโดยตรง(ไม่ได้เจริญสมาธิภาวนา) จะเตือนผู้อื่น โดยยกคำสอนของหลวงปู่มั่นมา ก็คงไม่น่าจะเหมาะสม...
โดยเฉพาะ ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่กำลังมีการdebateเรื่อง สมถะ-วิปัสสนา กันอย่างมาก

ท่านผู้ที่เจริญวิปัสสนาโดยตรงเอง ก็ ใช่ว่าจะทราบ สภาวะ ความตื้นลึกหนาบาง ในเรื่อง สมาธิภาวนาที่ตนเองไม่ได้ปฏิบัติโดยตรงมากมายอะไรนัก



อ้างคำพูด:
ซึ่งการทำสติก็เป็นทางหนึ่งที่เป็นทางสายเอกที่จะทำให้เราไม่ติดสุขในสมาธิได้ ก็จะเป็นทางตรงที่ไม่อ้อมค้อมไปติดสุขหรือติดฤทธิ์ทางใจอยู่นั่นเอง


การที่จะเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างเดียวโดยไม่เจริญสมาธิภาวนา ก็เป็น สิทธิ ที่แต่ล่ะบุคคลจะพึงกระทำได้... ตามเหตุผลของแต่ละคน

และ การทำเช่นนี้ ก็เป็นที่แน่นอนว่า ปิดประตูที่จะติดสุขจากสมทาธิภาวนาได้จริง

แต่....

พระพุทธเจ้าท่านสอนให้กลัวการติดสุขจากสมาธิภาวนา(จนไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา)ถึงขนาดนั้นเลย หรือเปล่า?




มีพระพุทธพจน์ตรัสว่า อย่ากลัวสุขจากสมาธิ

(ปล....ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ท่านกำลังสอนสำหรับบุคคลทั่วไปที่ยังเสพกามสุขอยู่....ไม่ใช่ลักษณะ กรณีที่หลวงปู่มั่นเตือนหลวงตามหาบัว.

ตรงนี้สำคัญมาก อย่าสับสน

อย่านำคำเตือนของหลวงปู่มั่นที่เตือนหลวงตามหาบัวให้ละการติดสุขจากสมาธิ มาสอนผู้ที่ยังเสพกามสุขอยู่.... ผิดลำดับขั้น ไม่เหมาะสม

บุคคลที่ยังเสพกามสุขอยู่ พระพุทธเจ้าท่านจะสอนให้ออกจากกามสุข มายัง สุขที่เว้นจากกามก่อน ....

เมื่อ มายังสุขที่เว้นจากกามแล้ว ท่านก็สอนให้ออกจากสุขที่อาศัยเวทนาเสวยอยู่ มาสู่ สุขที่ไม่อาศัยเวทนาเสวย อันเป็นบรมสุข คือ พระนิพพาน)


เสนออ่าน จาก

ลฑุกิโกปมสูตร

[๑๘๓] ดูกรอุทายี

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ฌานทั้งสี่นี้เรากล่าวว่า ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุข เกิดแต่ความสงัด ความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก

ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.



และจาก

สคารวสูตร


http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=906254

[๗๕๒] ดูกรภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ถึงเช่นนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุญาณทัศนะอันวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้
จะพึงมีทางอื่นเพื่อความตรัสรู้กระมังหนอ.
เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดาเรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.
เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.

เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ?
จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.




ผมมีความเห็นว่า

การระมัดระวัง ไม่ให้มัวเพลินติดตันในสุขจากสมาธิ เป็นแนวคิดที่มีเหตุผล

แต่ ถ้าเลยเถิด กลายเป็น"กลัวสุขจากสมาธิ" ซึ่งเป็นสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ....จน "ห้ามไม่ให้ทำให้จิตสงบ"เลย ก็คงไม่ถูก




อ้างคำพูด:
จะฝึกสติดูกายดูใจ จะฝึกสมาธิอย่างเดียวก็ดี เป็นกุศลทางใจทั้งนั้นพอที่จะต่อยอดเพื่อการพ้นทุกข์ต่อไป ดีกว่าไม่ฝึกใจเลย


วกกลับมาเรื่อง ฝึกสมาธิอย่างเดียวอีกแล้ว!!!

ก็บอกแล้วไงครับ ว่า ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐาน ท่านไม่ได้สอนให้เจริญสมาธิอย่างเดียว
ที่สอนให้เจริญสมาธิอย่างเดียวนั้น คือ อาฬารดาบส-อุทกดาบส

ส่วน เรื่อง การฝึกสติดูกายดูใจ นั้น...ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐาน ท่านก็สอนน่ะ ไม่ใช่ว่าท่านไม่สอน
ท่านสอนดีเสียด้วย....

หาใช่ว่า เฉพาะคนเมืองเท่านั้น ที่จะรู้จักการเจริญสติในชีวิตประจำวัน :b8:



อ้างคำพูด:
ถ้าเราทำแต่สมาธิอย่างเดียวเราก็หลงอยู่ในสมาธิได้คือติดสมาธิอย่างหลวงตาว่า หรือเกิดมีอิทธิฤทธิ์ทางใจขึ้นมาก็หลงตัวว่าเป็นผู้วิเศษเหนือใครได้ จนลืมว่าเรายังมีกิเลสอยู่


เรื่องหลงตัวจากการภาวนา ไม่จำกัดเฉพาะสมถะหรอก

แม้นแต่การเจริญวิปัสสนา ก็เกิดวิปัสสนูปนกิเลสได้ครับ(ขนาดชื่อบอกว่า เป็นวิปัสสนูปนกิเลส ยังมีคนอุตส่าห์ยกให้เป็นโทษของสมถะ ก็มีน่ะ... อะไรที่ไม่ดีๆ ต้องเท่ากับ เพราะสมถะ?)

หรือ ถึงแม้นอาจจะยังไม่ถึงขั้นวิปัสสนูปนกิเลส ก็ ปรากฏให้เห็นความสำคัญตน จาก คำว่า"วิปัสสนา"กันมาก
เดี๋ยวนี้ สังเกตุเห็นว่า ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง ไม่ค่อยจะจะกล่าวคำว่า เจริญสมถะ-วิปัสสนา กันแล้ว.... จะกล่าวคำว่า เจริญวิปัสสนา (แล้ว เอา อนาสวะสัมมาวาจา อนาสวะสัมมาอาชีวะ อนาสวะสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ที่ จัดว่าเป็นส่วนสมถะ ไปไว้ไหน?)

พอพูดถึง สมาธิภาวนา ก็มักจะลงเอยด้วย คำกล่าวในลักษณะนี้

"ค่ำนี้สงบ พรุ่งนี้ฟุ้งซ่าน"(ความจริง ก็ยังดีกว่า ฟุ้งซ่านทั้งค่ำนี้ ทั้งพรุ่งนี้ น่ะ...และ ฟุ้งซ่าน ก็ให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน มันก็เป็นภาวนานี่)

"เลิกสมาธิแล้ว ก็เหมือนเดิม "(ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐาน ท่านก็สอนให้เจริญสติให้สืบเนื่องอยู่แล้วนี่ครับ ใครจะทำได้หรือไม่ มันเป็นที่การใส่ใจของแต่ล่ะบุคคล ไม่ใช่ปัญหาอยู่ที่สมาธิภาวนาหรอก ต้องแยกให้ออก)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มาวิเคราะห์กันต่อ

ใน บทธรรมของวิปัสสนาจารย์ ตามหัวข้อกระทู้ น่ะครับ



อ้างคำพูด:
ถ้าฝึกฝนปฏิบัติธรรมแล้วยังไม่เห็นตัวตนที่แท้จริงได้ ( คือบุคคลที่มีความหนาแน่นไปด้วยกิเลส ) แสดงว่าไม่ใช่ตัวจริงยังปลอมอยู่ ยังรักษาหน้า ยังทำตัวเป็นคนดี เป็นการรักษาภาพฝ่ายดีอยู่ ตามปกติคนเรานี้จะทำดีและทำไม่ดีตามเหตุปัจจัย เช่นเหตุให้ทำดีมาจากความเมตตา กรุณา เป็นต้น เหตุที่ทำไม่ดีมาจากกิเลส โลภ โกรธ หลง เป็นต้น


ในโอวาทปาติโมกข์ พระพุทธองค์ทรงสอนให้
1.ละเว้นการทำความชั่วทั้งปวง
2.ทำความดีให้ถึงพร้อม
3.ยังจิตของตนให้ขาวรอบ

การละเว้นความชั่ว แล้ว ทำความดีนั้น
ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ"การรักษาหน้าตา ทำตัวเป็นคนดีเลย"...อย่าเข้าใจผิดครับ!!!


ที่ท่านสอนให้ละเว้นความชั่ว(น่าจะตรงกับ อินทรีย์สังวร ในพระสูตรที่แสดงเส้นทางสู่วิมุติ) ก็เพราะ ศีล(อนาสวะสัมมาวาจา อนาสวะสัมมาอาชีวะ อนาสวะสัมมากัมมันตะ)นั้น เป็นเหตุให้สติปัฏฐาน(สัมมาวายามะ สัมมาสติ)บริบูรณ์

ส่วนที่ ท่านสอนให้ทำความดีนั้น ก็เพราะถ้าไม่ทำความดีบ่อยๆ จิตปุถุชนจะเผลอไปทำชั่วได้ง่าย

การละเว้นความชั่ว(ข้อ1) การทำความดี(ข้อ2) จึงมีผลสนับสนุนโดยตรงต่อการพ้นทุกข์(ข้อ3)

ไม่ใช่การรักษาหน้าตาอะไรหรอก



อ้างคำพูด:
ความจริงคนเรามีกิเลสทุกคน การฝึกวิปัสสนาจะทำให้เราเห็นกิเลสในตนเอง แต่การฝึกสมถะจะเป็นการหนีกิเลสในตัวเองทำให้มองไม่เห็นกิเลส เพราะจิตที่สงบมาบังกิเลสไว้ แต่ถ้าเห็นว่าตัวเรานั้นหนาไปด้วยกิเลส เห็นว่าเราทำ พูด คิดไปตามกิเลส กิเลสมันสั่งให้เรา ทำ พูด คิด


สมถะที่ทำให้มองไม่เห็นกิเลสนั้น คือ มิจฉาสมาธิ ครับ!!!

สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ ที่ทรงแสดงเป็นธรรมคู่กับวิปัสสนาในส่วนแห่งวิชชา ไม่ใช่ลักษณะสิ่งที่จะมาปิดบังการเห็นกิเลสครับ
แต่ เป็นการไม่ไหลไปตามอารมณ์กิเลส คือ เป็นกำลังของจิต ที่จะปฏิเสธการสำออยของกิเลส สามารถยืนดูยืนรู้สภาวธรรมได้....

ตรงนี้เป็นจุดสำคัญมาก
ตามเว็บต่างๆ ตอนนี้ เวลา มีการเปรียบเทียบ สมถะ กับ วิปัสสนา(ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ) ว่า สมถะมีข้อเสียเช่นนั้นๆ วิปัสสนามีข้อดีเช่นนี้ๆ... เขาจะนำเอา สมถะที่เป็นมิจฉาสมาธิ มาเปรียบเทียบกับ วิปัสสนา... แล้ว ก็มักจะชี้นำไปทางที่ว่า สมถะไม่ดี วิปัสสนาดี!!!

ซึ่ง เป็นการเปรียบเทียบผิดฝาผิดตัว


ถ้าจะนำ สมถะ มาวางคู่ กับวิปัสสนา เพื่อศึกษา(ไม่ใช่ เปรียบเทียบเพื่อแสดงอัตตาแห่งแนวทาง)...ต้อง นำสมถะที่บ่ายหน้าไปสู่สัมมาสมาธิ หรือ สัมมาสมาธิ(ข้อ3 และ ข้อ4 ในสมาธิภาวนา4ประเภท พระบาลัโรหิตตัสวรรค) มาวางครับ!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ร่วมเสวนาท่านใด จะเสนอประเด็นใดเพิ่ม ....ยินดีพูดคุยน่ะครับ

แต่ วันนี้ อินเตอร์เน็ตที่บ้านมีปัญหา ผมไม่แน่ใจว่า คืนนี้ จะสามารถสนทนาได้ไหม

(ตอนนี้ ใช้อินเตอร์เน็ตที่ทำงาน กำลังจะกลับบ้าน)

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ร่วมเสวนาด้วยแล้วล่ะ แล้วแต่ความคิดเห็นและความเข้าใจอธิบายมากก็ยิ่งมากเรื่อง กลายเป็นการต่อล้อต่อเถียงกันไปไม่ยอมจบสิ้น เหมือนจะเอาชนะกันซะอย่างนั้น :b25: ไปทำกิจอื่นๆที่ต้องทำต่อดีกว่า :b31: :b21: บายดีกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 01:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้แบบนี้แหละที่เหมาะกับหมวด สมาธิ และสติ ไม่ใช่ไปเปิดประเด็นเรื่อง หมู หมา กา ไก่ ผี เทวดา ฯลฯ
ผมขอเพิ่มความเห็นจากที่สนทนากันหน่อยนะครับ ไม่ว่าท่านจะทำวิปัสสนาหรือสมถะ ท่านต้องใช้สติเสมอ ซึ่งเมื่อสติเกิดสมาธิก็เกิด และเมื่อสมาธิเกิด สติก็จะเพิ่มขึ้น สนับสนุนกันไปเรื่อยๆ จนถึงระดับหนึ่งที่จะทำให้สมาธินำหน้าสติจนสติเบาบาง ซึ่งจะอยู่ในระดับฌาณ ดังนั้นผู้ที่เจริญวิปัสสนาท่านจึงให้พึงระวังอย่าเผลอไปเข้าฌาณเพราะจะทำให้สติอ่อนไป แต่ถ้าเข้าฌาณได้ก็ให้ออกมาซะแล้วค่อยยกขึ้นวิปัสสนา ในทางกลับกันการที่วิปัสสนาญาณจะเกิดได้นั้นจะต้องอาศัยสมาธิที่สูงเพียงพอเหตุผลเพราะว่าถ้าสมาธิสูง เช่น ระดับที่ว่าเพิ่งออกมาจากอัปปมาสมาธิ มาอยู่ที่ระดับอุปจาระสมาธินั้นจะทำให้ปัญญาเฉียบคมมาก ดังนั้นทั้งสองสิ่งนี้จึงจำเป็นทั้งคู่ ดังที่ระบุไว้ในมรรค 8 คือถ้าสติดีอย่างเีดียวไม่มีสมาธิ(ซึ่งเป็นไปได้ค่อนข้างยากในทางปฏิบัติ) ก็ไม่มีทางบรรลุธรรมได้ หรือสมาธิดีอย่างเดียวสติอ่อนก็ไม่มีทางบรรลุธรรมได้ ดังนั้นทั้งสติและสมาธิจึงจำเป็นทั้งคู่ และจะต้องอยู่ที่ความสมดุลของสมาธิด้วย แต่สำหรับสติแล้วยิ่งมากเท่าไรยิ่งดี ไม่มีผลเสียอะไร ถ้าอย่างนั้นท่านอาจจะมีคำถามขึ้นมาว่าสติต้องดีขนาดไหนถึงเรียกว่าสติดี ผมก็ขอตอบว่าดีขนาดเป็นมหาสตินั่นก็คือ ในช่วงที่ปฏิบัติธรรมนั้นถึงแม้ช่วงที่พักผ่อนนอนหลับก็ยังคงได้ยินเสียงแต่จิตไม่ไปเกี่ยวข้องด้วย หรือขณะที่นอนหลับเวลากลางคืนอยู่นั้นเวลาจะพลิกตัวก็รู้ เวลาจะยกแขนจากหน้าอกไปวางข้างลำตัวก็รู้ หรือเวลาจะยกแขนจากข้างลำตัวมาไว้ที่หน้าอกก็รู้ ซึ่งถ้ามาพิจารณาแล้วจะเห็นว่าช่วงที่หลับนั้นสติจะอ่อนมาก แต่ยังรู้ถึงเพียงนี้ แล้วถ้าช่วงที่เดินจงกรม นั่งสมาธิละ สติจะมากขนาดไหน มากขนานไหนนั้นผมเลยประมาณว่ามากขนาดมหาสตินะครับ ความเห็นผมก็เป็นฉะนี้แหละครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างนะครับ


ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสุขกายสุขใจนะครับ
(ถ้าบางท่านหลังจากโพสก์กระทู้แล้วรู้สึกจิตหดหู่ เศร้าหมอง ผมแนะนำให้เจริญเมตตาภาวนาหรือเจริญสติ ซัก 20 นาที นะครับ ไม่อย่างนั้นมันจะฝังเรื้อรังอยู่ในจิตของเราคับ ของพวกนี้เก็บไว้มากๆ ไม่ค่อยดีเท่าไร )


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าจะ :b21: แล้วนะ แต่ขอเอี่ยวอีกนิด เนื่องจากการฝึกดูจิตนั้นในขณะที่มีจิตหดหู่ศร้าหมอง ก็ให้รู้ว่าจิตหดหู่เศร้าหมอง เป็นต้นไม่ต้องหนีไม่ต้องปฎิเสทอาการของจิต หนีไปเจริญเมตตาภาวนาหรอก ให้รู้เท่าทันเท่านั้นพอ เป็นการฝึกสติดูจิตโดยตรง

แต่ผู้อื่นจะรู้จิตของอีกคนได้อย่างไรว่าเขาหดหู่เศร้าหมองอยู่ (คิดเองหรือฝึกจนหยั่งรู้ได้ล่ะ) เขาอาจจะมีสุขใจอยู่กับเรื่องอื่นอยู่ก็ได้ แล้วผู้สอนให้ผู้อื่นฝึกเมตตาแล้วตนฝึกบ้างหรือเปล่าล่ะ? :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"เนื่องจากการฝึกดูจิตนั้นในขณะที่มีจิตหดหู่ศร้าหมอง ก็ให้รู้ว่าจิตหดหู่เศร้าหมอง เป็นต้นไม่ต้องหนีไม่ต้องปฎิเสทอาการของจิต หนีไปเจริญเมตตาภาวนาหรอก ให้รู้เท่าทันเท่านั้นพอ เป็นการฝึกสติดูจิตโดยตรง"

ดีครับที่ถามมาแบบนี้ ถ้าท่าน poivang อ่่านให้ละเอียดผมได้เขียนว่า "เจริญเมตตาภาวนาหรือเจริญสติ" คำที่ว่า เจริญสตินี่แหละคับมันครอบคลุม การดูจิตไปแล้ว เพราะว่าประกอบด้วย กาย เวทนา จิต และ ธรรม
คราวนี้มาเรื่องเมตตามภาวนาที่ท่านบอกว่าหนีนั้นมันค่อนข้างจะดูรุนแรง แล้วก็ดูเหมือนไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของเมตตาภาวนา ทำไมผมถึงแนะนำให้บางท่านเจริญเมตตาภาวนาไม่เจริญสติเลยทันทีทันใด เหตุผลเพราะว่าถ้าจิตเราหดหู่ หรือเศร้าหมองมาก แสดงว่าช่วงนั้นเราขาดสติแบบรุนแรง จิตมีความไม่ราบเรียบสูง ถ้าช่วงนี้เราจะไปเจริญสติเลยทันทีทันใด หรือท่านจะบอกว่าไปดูจิตก็แล้วแต่ มันจะยากมาก(ไม่เชื่อก็ลองสังเกตุดูก็ได้ ถ้าในช่วงระหว่างวันท่านไม่ได้เจริญสติเลย พอกลับถึงบ้านท่านดูจิตเลย ตอนแรกมันจะดูยากมาก) ดังนั้นถ้าเราหันมาเจริญเมตตาภาวนาืก่อน มันจะเป็นการปรับให้จิตค่อยๆ ราบเรียบขึ้น พอถึงจุดหนึ่ง( 10-15 นาที) ก็เข้าสู่ทางสายเอกคือเจริญสติต่อไปครับ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งเมตตาภาวนา (หรืออาจจะใช้กรรมฐานกองอื่นๆ ก็ได้) เป็นการเตรียมจิตให้เหมาะที่จะเจริญสติต่อไป เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีเวลาปฏิบัติธรรมทั้งวันทั้งคืน

"แต่ผู้อื่นจะรู้จิตของอีกคนได้อย่างไร ว่าเขาหดหู่เศร้าหมองอยู่ (คิดเองหรือฝึกจนหยั่งรู้ได้ล่ะ) เขาอาจจะมีสุขใจอยู่กับเรื่องอื่นอยู่ก็ได้ "
เราไม่มีความจำเป็นต้องไปรู้จิตผู้อื่นครับ จำเป็นเพียงแค่รู้จิตเราก็เพียงพอแล้ว แต่จากข้อความที่ถกเถียงกันนั้นถ้าท่านอ่านจะสังเกตุได้ว่ามันมีโอกาสสูงที่ผู้อ่านหรือผู้แสดงความคิดเห็นจะเกิดความเศร้าหมองของจิตขึ้นมา เช่นข้อความนี้คับ "ไม่ร่วมเสวนาด้วยแล้วล่ะ แล้วแต่ความคิดเห็นและความเข้าใจอธิบายมากก็ยิ่งมากเรื่อง กลายเป็นการต่อล้อต่อเถียงกันไปไม่ยอมจบสิ้น เหมือนจะเอาชนะกันซะอย่างนั้น :b25: ไปทำกิจอื่นๆที่ต้องทำต่อดีกว่า บายดีกว่า" มันก็เท่านั้นเองคับ

"แล้วผู้สอนให้ผู้อื่นฝึกเมตตาแล้วตนฝึกบ้างหรือเปล่าล่ะ"
ผมเจริญเมตตาควบคู่ไปกับการเจริญสติคับก็เลยมาแบ่งปันประสบการณ์ แต่อย่างไรก็ตามขณะที่ท่าน poivang พิมพ์ข้อความนี้อยู่จิตท่านกำลังเศร้าหมอง สังเกตุเห็นหรือไม่คับ


ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่านทั้งหลายคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ก่อนพวกปริยัติ ชอบมารุกรานพวกปฏิบัติ แต่ยุคนี้พวกวิปัสสนา (จริงๆ ไม่ใช่หรอก) ชอบมารุกรานพวกสมถะ :b32:
บางทีเห็นคนที่คิดว่า ตัวทำวิปัสสนา แล้วมารุกรานสมถะนั้น เราก็นึกถึงคนที่เถียงกันว่า x-men กับแบทแมน ใครเก่งกว่ากัน คือพูดในสิ่งที่ล้วนแล้วแต่ ห่างไกลจากตัวมาก และมั่นใจได้เลยว่า ผู้ที่รุกรานนั้น ไม่เคย พบอาการอะไรๆ ที่ว่ามานั้นเลย

วิปัสสนาญาณมีหลายอย่าง ก็ไม่รู้ว่า ท่านผู้เปิดประเด็นเหล่านั้นมีญาณอะไรกันบ้าง ติดสุขในสมาธิ ? อาการเป็นอย่างไร เคยประสบไหม หลงในฤทธิ์ ? ใครหลงในฤทธิ์ เขาใช้ฤทธิ์กันอย่างไร (บอกเลยว่า ไม่เหมือนในตำราหรอก ซึ่งก็ไม่รู้ว่าใครเขียน) จิตแน่วแน่เป็นอย่างไร ทำไมแน่วแน่แล้วจึงติด ? แล้วจริงหรือที่ติด
เคยเข้าภวังค์ไหม เคยเจออาการดับไหม เคยเห็นแสงสว่างจากสมถะหรือเปล่า ที่เขาว่ามันจ้าแต่ไม่แสบตานั้น มันเป็นยังไง
ถ้ายังไม่เคยเจออาการเหล่านี้ แล้วรีบตีขลุมไปว่า สมถะไม่ดี ลองตามดูอารมณ์ตนเองดูซิ ว่าสมถะไม่ดี หรือเรายังปฏิบัติได้ไม่ถึงขั้น
นี่ยังไม่ได้เอ่ยถึงวิปัสสนาญาณเลยนะ...

ยังไงก็ยืนยันว่า วิปัสสนาญาณทั้งหลายนั้น ต้องอิงกับสมถะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าจะเสนอการฝึกสติให้กับคนทั้งหลาย ก็เป็นเรื่องดี แต่อย่าให้ความรู้ผิดๆ ในเรื่องสมถะ ตราบใดที่เจ้าตัวเอง ยังไม่เคยผ่านฌาณทั้งหลายมาก่อน

อีกอย่าง มันเหมือนเอาเรื่องระดับ advance มาพูดกับ beginner เช่นบอกว่า อย่าติดสุขในสมาธินะ อย่าติด โดยที่คนทั้งห้องยังเพิ่ง พุทโธๆ กันอยู่เลย กว่าจะเริ่มติดสุข คงต้องพุทโธไปอีกเป็นปี บางคนนั่งสมาธิมาทั้งชีวิต ยังไม่เคยติดสุขกับเขาเลย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 15:21
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณท่านผู้รู้ทุกท่านที่พากันให้ความรู้เกี่ยวกับจิตทำให้เข้าขึ้นมาอีกมากเลยค่ะ
:b8: :b8: :b8: :b16: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่ก่อนพวกปริยัติ ชอบมารุกรานพวกปฏิบัติ แต่ยุคนี้พวกวิปัสสนา (จริงๆ ไม่ใช่หรอก) ชอบมารุกรานพวกสมถะ
:b32: :b32: :b32:

ใช้คำว่า " รุกราน " จะดูแรงไปไม๊เน๊าะ
เปลี่ยนเป็นว่า "วิปัสสนา" , "ดูจิต" intrend กว่าสมถะ
หากใครไม่มาแนวนี้ก็ถือล้าสมัย ดึกดำบรรพ์
เปรียบเหมือนโทรศัพท์รุ่น 3G ออกใหม่
ใครๆ ก็ไปเข้าแถวรอซื้อกัน ถ้าไม่ไปถือว่าตกรุ่นอย่างแรง :b9:

เอาเป็นว่า เป็นคนหนึ่งที่เคยถูกครูบาอาจารย์เตือนเรื่องติดสุขในระดับต้นๆ
ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว หรือเป็นเรื่องร้ายแรงอะไรเลย
ครั้งหนึ่ง เมื่อขึ้นไปปฏิบัติธรรมบนเขา
ในบางวันที่เดินจงกรมแล้วเกิดความสงบ ก็จะเกิดสุขจากความสงบ ก็จะติดใจโดยไม่รู้ตัว
ผลที่ตามมาคือจะเดินจงกรมอย่างต่อเนื่อง 2-3 ชั่วโมงก็แล้ว ยังไม่อยากเลิกเดิน
ครูบาอาจารย์ท่านเห็นก็กระแอมว่า เดินมากไปแล้ว
ก็ได้แต่อมยิ้มในใจ ว่าวันนี้เผลอไปจนได้ ก็เปลี่ยนอิริยาบท

เห็นจริงอย่างยิ่งกับที่หลายๆ ท่านกล่าวว่า สมาธิต้องคู่กับวิปัสสนา
และสมาธิมีพัฒนาการ ที่เกื้อกูลต่อปัญญาในแต่ละระดับๆ ไป

เมื่อสมาธิยังอ่อนด้อย วิปัสสนาก็ยังไม่รู้จัก
เคยถามครูบาอาจารย์ว่า
"ก็ทำสมาธิอยู่ ตามลมหายใจอยู่ และฟังธรรมอยู่ แต่เผลอโกรธได้เมื่อฟังคำพูดบางประโยคที่ไม่ถูกหู ไม่ถูกใจ คือกว่าจะรู้ตัวก็โกรธไปมากแล้ว ออกอาการไปมากแล้ว ทำไมนะ"
ท่านตอบว่า "เหมือนผู้รักษายืนเฝ้าอยู่เสาด้านซ้าย บอลมาเสาด้านขวา เลยรับไม่ทัน อารมณ์โกรธ จึงเกิดได้"
คือ เรายังอ่อนด้อยในเรื่องของผัสสะ เรื่อง เวทนา จิต ธรรม เราเพิ่งจะเริ่มต้นเฝ้าดูกาย แต่ยังไม่ทันต่อเรื่องอื่นๆ

เมื่อมีพัฒนาการ จึงเริ่มทันต่อการกระทบ รู้ว่าเกิดอารมณ์โกรธ เห็นว่ามีอยู่
ก็ถามครูบาอาจารย์ว่า "รู้ว่าเกิด เห็นอยู่ว่าเกิด แม้ไม่ออกอาการโกรธทางกาย แต่ทำไมโกรธยังค้างคาอยู่ในใจ แม้จะพิจารณาเหตุผลประกอบอย่างไร ก็ยังไม่หาย"
ท่านตอบว่าใจเรายังเหมือนฝาผนัง เมื่อใครเอาดินโคลนมาปา ดินส่วนใหญ่หล่นลงไป แต่มีบางส่วนที่ยังติดอยู่ เป็นรอยเปื้อน ท่านให้ปฏิบัติต่อไปจนกว่าใจเราจะมีสารเคลือบพิเศษแบบที่ดินโคลนไม่เกาะติด

ถามว่าวันนี้ ใจเรายังมีโคลนติดไหม แน่นอนว่ายังคงมีโคลนพอกหนาเหมือนเดิม
แต่อยากบอกว่า ในบางคราวที่สมาธิ-สติ มั่นคง โคลนก็ไม่ติดใจได้ในคราวนั้น
ยันว่า สมาธิ-วิปัสสนา เป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวเนื่องและพัฒนาการไปด้วยกันเป็นลำดับ

ทั้งหลายทั้งปวงนั้น เชื่อว่าการทำที่สุดแห่งกองทุกข์นั้น ต้องเนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ประกอบกัน
มิใช่เพียงแต่ สมาธิ สติ หรือ วิปัสสนา ตามกระทู้ถกเถียงยอดนิยมในปัจจุบัน
ลองอ่านบทพระอภิธรรมที่พระสวดในงานศพดู(ฉบับแปลความ) จะพบว่าปัจจะโย มีตั้งหลายปัจจะโย

อย่ารีบด่วน ตัดช่องทางใด สิ่งหนึ่งสิ่งใดออกไปเลย
เพราะทางเดินขึ้นเขานั้นมีหลายทาง ตามกำลัง ตามจริต ตามปัญญาของแต่ละท่าน

หากข้อความนี้ทำให้เกิดความไม่สบายใจแก่ท่านใด ขออโหสิกรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ ลงท้ายได้ดี นึกว่าจะลงว่า
หากข้อความนี้ทำให้เกิดความไม่สบายใจแก่ท่านใด ขอให้เห็นว่า เป็นกรรมเก่า :b32: :b32: :b32:

ก็ใช่ คือพูดจนเวอร์ ติดสุขก็เหมือนติดใจ เท่านั้นแหล่ะ...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร