วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 11:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้ารู้อะไร พิจารณาดูกันเอง



อริยสัจกับปฏิจจสมุปบาท


ทั้งอริยสัจ และ ปฏิจจสมุปบาท ต่างก็เป็นหลักธรรมสำคัญ

เมื่อมีผู้ถามว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?

อาจตอบว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือ อาจตอบว่า ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทก็ได้



คำตอบทั้งสองนั้น ต่างก็มีพุทธพจน์เป็นที่อ้างยืนยันได้

ข้อควรทราบก็ คือ

คำตอบทั้งสองอย่างนั้น ตามที่จริงแล้วก็ถูกด้วยกัน และมีความหมายลงกันได้

เป็นอันหนึ่งอันเดียว กล่าว คือ ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นเนื้อหาสำคัญของอริยสัจ

และอริยสัจก็มีความหมายครอบคลุมปฏิจจสมุปบาท



คัมภีร์วินัยปิฎก (วินย.4/1-7/1-8) เล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

เริ่มต้นเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ กำลังทรงเสวยวิมุตติสุขและพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท

ทั้งโดยอนุโลม (กระบวนการเกิดทุกข์) และโดยปฏิโลม (กระบวนการดับทุกข์)

ตลอดเวลา ๑ สัปดาห์

ครั้นสิ้นระยะเสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์แล้ว เมื่อปรารภการที่จะทรงประกาศธรรมแก่ผู้อื่นต่อไป

ทรงพระดำริว่า

“ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ฯลฯ

สำหรับหมู่ประชา ผู้เริงรมย์รื่นเริงอยู่ในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ

หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท แม้ฐานะนี้ก็เห็นได้ยาก กล่าวคือ ...นิพพาน”


(วินย.4/1-7/1-8)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ส่วนในพระสูตร (ม.ม.12/317-326/317-333 ฯลฯ) เมื่อปรากฏข้อความเกี่ยวกับ

พุทธประวัติตอนนี้ ก็จะเล่าความแนวเดียวกัน

เริ่มแต่พุทธดำริที่เป็นเหตุให้เสด็จออกผนวช

การเสด็จออกผนวช การศึกษาในสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส

การบำเพ็ญและการละเลิกทุกรกิริยา

การทรงกลับเสวยพระกระยาหาร แล้วบรรลุฌานและตรัสรู้ วิชชา ๓

ในตอนตรัสรู้ จะมีข้อความที่ตรัสเล่าว่า


“ครั้นเราบริโภคอาหาร มีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

บรรลุปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข...มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริบูรณ์อยู่”



“เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากสิ่งมั่วหมอง

นุ่มนวล ควรแก่งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้

ได้น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก (วิชชาที่หนึ่ง)...

ได้น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ ก็มองเห็นหมู่สัตว์ที่จุติอุบัติอยู่ (วิชชาที่สอง)...

ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ (วิชชาที่ ๓)“



ต่อจากนี้ ก็จะมีคำบรรยายพุทธดำริ ในการที่จะทรงประกาศธรรม ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกับ

ในวินัยปิฎก ที่ยกมาอ้างไว้แล้วข้างต้นนั้น


จะเห็นว่า วินัยปิฎกเล่าเหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ

ระยะเสวยวิมุตติสุข เริ่มแต่พิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท

จึงทรงดำริที่จะไม่ประกาศธรรม เพราะความยากของปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน

ที่ได้ตรัสรู้


ส่วนพระสูตร เล่าเหตุการณ์ก่อนตรัสรู้เป็นลำดับมาจนถึงตรัสรู้วิชชา ๓

แล้วข้ามระยะเสวยวิมุตติสุขทั้งหมดไป

มาลงที่พุทธดำริที่จะไม่ประกาศธรรม เพราะความยากของปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน

เช่นเดียวกัน


ผู้ถือเอาความตอน ทรงพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท ในวินัยปิฎก และพุทธดำริปรารภ

การประกาศธรรม ทั้งในวินัยปิฎก และในพระสูตร

ย่อมกล่าวได้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท

ส่วนผู้พิจารณาในพระสูตร เฉพาะเหตุการณ์ตอนตรัสรู้วิชชา ๓ และจับเฉพาะวิชชาที่ ๓

อันเป็นตัวการตรัสรู้แท้ๆ (เฉพาะวิชชา ๒ อย่างแรกยังนับไม่ได้ว่าเป็นการตรัสรู้ และไม่จำเป็น

สำหรับนิพพาน) ก็ได้ความหมายว่า ตรัสรู้อริยสัจสี่ จึงหลุดพ้นจากอาสวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 15:59, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ช่วยอธิบาย ปฏิจจสมุปบาท ส่วนต้นและส่วนปลายให้หน่อยครับ :b4:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี คำตอบทั้งสองนั้น แม้จะถูกต้องทั้งคู่

แต่ก็มีความหมายบางอย่างที่เป็นพิเศษกว่ากันและขอบเขตบางแง่ที่กว้างขวางกว่ากัน ซึ่งควร

จะทำความเข้าใจ เพื่อมองเห็นเหตุผล ในการแยกแสดงเป็นคนละหลัก


แง่ที่ปฏิจจสมุปบาทกับอริยสัจ พิเศษหรือแปลกจากกัน พอสรุปได้ดังนี้

๑. หลักธรรมทั้งสอง เป็นการแสดงความจริงในรูปแบบที่ต่างกัน ด้วยวัตถุประสงค์คนละอย่าง

ปฏิจจสมุปบาท แสดงความจริงตามกระบวนการของมันเอง ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติล้วนๆ

ส่วนอริยสัจ เป็นหลักความจริงในรูปแบบที่เสนอตัวต่อปัญญามนุษย์ ในการที่จะสืบสวนค้นคว้า

และทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

โดยนัยนี้ อริยสัจ จึงเป็นหลักธรรมที่แสดงโดยสอดคล้องกับประวัติ การแสวงหาสัจธรรมของพระพุทธเจ้า

เริ่มแต่การเผชิญความทุกข์ที่ปรากฏเป็นปัญหา แล้วสืบสาวหาสาเหตุ พบว่ามีทางแก้ไม่หมดหวัง

จึงกำหนดรายละเอียด หรือ จุดที่ต้องแก้ไขและกำหนดเป้าหมายให้ชัด แล้วดำเนินการแก้ไขตามวิธีการ

จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการนั้น

และโดยนัยเดียวกัน จึงเป็นหลักธรรมที่ยกขึ้นมาใช้ในการสั่งสอนเพื่อให้ผู้รับคำสอนทำความเข้าใจ

อย่างมีระเบียบ มุ่งให้เกิดผลสำเร็จทั้งการสั่งสอนของผู้สอนและการประพฤติปฏิบัติของผู้รับคำสอน


ส่วนปฏิจจสมุปบาท เป็นตัวกระบวนธรรมแกนกลางของอริยสัจ และ เป็นเนื้อหาทางฝ่ายวิชาการ

ที่จะต้องศึกษา

ในเมื่อต้องการเข้าใจอริยสัจให้ชัดเจนถึงที่สุด จึงเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาทบทวนหลังจาก

ตรัสรู้ใหม่ๆ


๒. ข้อที่แปลกหรือพิเศษกว่ากันอย่างสำคัญ อยู่ที่ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ซึ่งตรงกับอริยสัจ

ข้อที่ ๓ และ ๔ (นิโรธ และ มรรค ) กล่าวคือ

ก. เมื่อเทียบกับอริยสัจข้อ ๓ (นิโรธ) จะเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร กล่าวถึงนิโรธด้วยก็จริง

แต่มุ่งแสดงเพียงกระบวนการเข้าถึงนิโรธ ไม่ได้มุ่งแสดงสภาวะของตัวนิโรธ หรือนิพพานเอง

ด้วยเหตุนี้ในพุทธดำริ เมื่อจะทรงประกาศธรรม จึงแยกธรรมที่ทรงพิจารณาเป็น ๒ ตอน คือ

ตอนแรก กล่าวถึงปฏิจจสมุปบาท (ข้างเกิดและข้างดับ)

ต่อจากนั้น มีพุทธดำริต่อไปอีกว่า “แม้ฐานะนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ ความสงบ

แห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน”

นี้แสดงว่า ทรงประสงค์ตรัสแยกธรรมที่ตรัสรู้เป็น ๒ อย่าง คือ ปฏิจจสมุปบาทกับนิโรธ (=นิพพาน)

ส่วนอริยสัจข้อที่ ๓ คือ นิโรธ มุ่งแสดงตัวสภาวะของนิโรธเป็นสำคัญ แต่มีความหมายเล็งไปถึง

กระบวนการเข้าถึงนิโรธแฝงอยู่ด้วย


ข.แม้ว่าปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร จะกินความรวมถึงอริยสัจข้อ ๔ คือ มรรค ด้วย แต่ก็ยังไม่ให้ผล

ในทางปฏิบัติชัดเจน เพราะปฏิจจสมุปบาท แสดงแต่ตัวกระบวนการล้วนๆ ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติ

เท่านั้น มิได้ระบุลงไปให้ชัดเจนว่า สิ่งที่จะต้องทำมีรายละเอียดอะไรบ้าง จะต้องทำอย่างไร

กระบวนการอย่างนั้นจึงจะเกิดขึ้น มีลำดับขั้นการปฏิบัติอย่างไร โดยเฉพาะกลวิธีต่างๆในการกระทำคือไม่ได้

จัดวางระบบวิธีการไว้โดยเฉพาะเพื่อการปฏิบัติอย่างได้ผล เหมือนแพทย์รู้วิธีแก้ไขโรค แต่ไม่ได้สั่งยาและวิธี

ปฏิบัติในการรักษาไว้ให้

ส่วนในอริยสัจ มีหลักข้อที่ ๔ คือ มรรค ซึ่งกำหนดขึ้นไว้เพื่อวัตถุประสงค์นี้โดยเฉพาะ ให้เป็นสัจจะ

ข้อหนึ่งต่างหาก ในฐานะข้อปฏิบัติที่พิสูจน์แล้ว ยืนยันได้ว่านำไปสู่จุดหมายได้แน่นอน


อริยสัจข้อที่ ๔ คือ มรรค นี้ แสดงหลักความประพฤติปฏิบัติไว้อย่างละเอียดกว้างขวางพิสดาร ถือว่า

เป็นคำสอนในภาคปฏิบัติ หรือระบบจริยธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

คือ ทางสายกลาง หรือข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ

เมื่อเทียบหลักอริยสัจ กับปฏิจจสมุปบาท ถือว่าปฏิจจสมุปบาท เป็นมัชเฌนธรรมเทศนา

คือ หลักธรรมที่แสดงเป็นกลางๆ หรือหลักธรรมสายกลาง ส่วนมรรคอันเป็นอริยสัจข้อที่ ๔

เป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือข้อปฏิบัติหรือทางสายกลาง มีเนื้อหาที่เป็นลักษณะพิเศษต่างออกไป จึงควรแยกไว้

เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากโดยเฉพาะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2010, 08:41, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความว่า ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ได้ตรัสแสดงไว้ที่เป็นหลักใหญ่มี ๒ นัย คือ

ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน กับอริยสัจ ๔

ทั้งสองนัยว่าโดยสาระแล้ว เป็นอันเดียวกัน แต่พิจารณาต่างแง่กัน คือ


๑.ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน ตรัสในคราวปรารภที่จะทรงเริ่มประกาศธรรมว่า สิ่งที่ตรัสรู้ ลึกซึ้ง ยากยิ่งนัก

ที่สัตว์ทั้งหลายจะเข้าใจ

การตรัสในแง่นี้ หมายความว่า ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เป็นส่วนเนื้อหาสาระของการตรัสรู้

หรือพูดให้สัมพันธ์กับนัยที่สองว่า เป็นส่วนแก่นแท้ของอริยสัจ เป็นตัวแท้ๆล้วนๆ ของธรรมซึ่งเข้าใจ

ได้ยากอย่างยิ่ง

๒.อริยสัจ ๔ ตรัสในคราวทรงเล่าลำดับแห่งการปฏิบัติจนตรัสรู้ของพระองค์เอง และในคราวทรงแสดงธรรม

สั่งสอนผู้อื่น เริ่มแต่ในปฐมเทศนา

การตรัสในแง่นี้หมายความว่า อริยสัจ ๔ คือธรรมที่ได้ตรัสรู้ทั้งหมด ซึ่งปรากฏในรูปลักษณะ ที่จัดเข้าลำดับ

เป็นกระบวนการขั้นตอน โดยคำนึงถึงความสามารถที่จะเข้าใจและการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เพื่อมุ่งให้สอน

เข้าใจง่ายและปฏิบัติได้ผล

พูดอีกอย่างหนึ่ง ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เป็นตัวธรรมล้วนๆ ตามธรรมชาติ

ส่วนอริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมในรูปที่มนุษย์จะเข้าไปเกี่ยวข้อง

และพูดได้ว่า อริยสัจ ๔ คือ ธรรมทั้งหมด มีจุดซึ่งเป็นแก่นแท้เข้าใจยากที่สุดอยู่ที่ปฏิจจสมุปบาท

และนิพพานเท่านั้น ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาท และนิพพานแล้ว ก็เป็นอันเข้าใจพุทธธรรมทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2010, 08:45, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2009, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิจในอริยสัจ


สิ่งสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งเกี่ยวกับอริยสัจ คือการรู้ และ ทำหน้าที่ต่ออริยสัจแต่ละข้อให้ถูกต้อง

ในการแสดงอริยสัจก็ดี

ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจก็ดี จะต้องให้อริยสัจแต่ละข้อสัมพันธ์ตรงกันกับหน้าที่หรือกิจ

ต่ออริยสัจข้อนั้น จึงจะชื่อว่าเป็นการแสดงอริยสัจและเป็นการปฏิบัติธรรมโดยชอบ มิฉะนั้น

จะทำให้เกิดความผิดพลาด ทั้งในความเข้าใจและการประพฤติปฏิบัติ


แม้แต่ความเข้าใจผิดบางอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น เห็นว่าพระพุทธศาสนาสอนให้มองโลก

ในแง่ร้าย เป็นต้น ก็เกิดจากการไม่เข้าใจเรื่องกิจในอริยสัจนี้ด้วย


กิจในอริยสัจ คือ หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง หรือ หน้าที่ต่ออริยสัจข้อนั้นๆ

มี ๔ อย่าง ตามบาลีว่า (ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร )

๑. ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ - ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้

๒. ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ - ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละ

๓. ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ - ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง

๔. ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ - ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรเจริญ


จับมาเรียงให้ดูง่าย ดังนี้

๑. ปริญญา การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ หมายถึงการศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจสภาวะที่เป็นทุกข์

ตามที่มันเป็นของมันจริงๆ

พูดง่ายๆว่า การทำความเข้าใจปัญหาและกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน

จัดเป็นขั้นเริ่มต้นที่จะช่วยให้การดำเนินการขั้นต่อๆไปเป็นไปได้และตรงปัญหา


๒. ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย หมายถึงการกำจัดเหตุแห่งทุกข์ ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์

ให้หมดสิ้นไป

พูดง่ายๆว่า การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา


๓. สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ หมายถึงการประจักษ์แจ้ง หรือ บรรลุถึงภาวะดับทุกข์

พูดง่ายๆว่า การเข้าถึงภาวะที่แก้ไขปัญหาได้เสร็จสิ้น ภาวะหมดปัญหา หรือภาวะปราศจากปัญหา

บรรลุจุดหมายที่ต้องการ


๔.ภาวนา การเจริญ เป็นกิจในมรรค แปลตามตัวอักษรว่า การทำให้มีให้เป็นขึ้น คือ ทำให้เกิดขึ้น

และเจริญเพิ่มพูนขึ้น หมายถึง การฝึกอบรมตามข้อปฏิบัติของมรรค การลงมือปฏิบัติตามมรรควิธีที่จะ

กำจัดเหตุแห่งทุกข์

พูดง่ายๆว่า การกระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย หรือ การกำหนดวางรายละเอียดวิธีปฏิบัติ

แล้วลงมือแก้ไขปัญหา


กิจทั้ง ๔ นี้ เป็นข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างให้ตรงข้อกัน

ในการปฏิบัติจริงนั้น การจะทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ต้องอาศัยความรู้ หรือ ญาณ

การรู้กิจในอริยสัจเรียกว่า กิจญาณ (บาลี-กิจฺจญาณ)

เมื่อเอาญาณมาเชื่อมโยงอริยสัจแต่ละข้อเข้ากับกิจของมัน ก็จะเห็นเป็นลำดับขั้นตอน

ของการปฏิบัติ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นวิธีการสำหรับแก้ปัญหาได้ทุกระดับ ดังนี้


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


๑. ทุกข์ * หมายถึง รู้สภาวะที่เป็นทุกข์ ซึ่งจะต้องกำหนดรู้ตามสภาพที่แท้จริงของมัน

(คือ ไม่ใช่รู้ตามที่เราอยากให้มันเป็น หรือ ตามที่เราเกลียดชังมันเป็นต้น)

ถ้าจัดเป็นขั้น ได้แก่ ขั้นแถลง หรือ สำรวจปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจและรู้ขอบเขต


๒. สมุทัย หมายถึง รู้สิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งจะต้องกำจัดเสีย

ถ้าจัดเป็นขั้น ได้แก่ ขั้นสืบค้น วิเคราะห์ และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัด

ให้หมดสิ้นไป


๓. นิโรธ หมายถึง รู้ภาวะดับทุกข์ ซึ่งจะต้องกระทำให้ประจักษ์แจ้ง

ถ้าจัดเป็นขั้น ได้แก่ ขั้นเล็งรู้ภาวะหมดปัญหาที่เอาเป็นจุดหมาย ให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหา

เป็นสิ่งเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึง ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จ พร้อมทั้งรู้ว่า

การเข้าถึงจุดหมายนั้น จะสำเร็จหรือเป็นไปได้อย่างไร


๔. มรรค หมายถึง รู้มรรคา หรือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งจะต้องฝึกฝนปฏิบัติ

ถ้าจัดเป็นขั้น ได้แก่ ขั้นกำหนดวางหรือรับทราบวิธีการ ขั้นตอน และรายละเอียดทั้งหลาย

ในการแก้ไข กำจัดสาเหตุของปัญหานั้น ซึ่งจะต้องลงมือปฏิบัติหรือดำเนินการต่อไป


พูดให้ง่าย คือ รู้ว่า ทุกข์หรือปัญหาของเราคืออะไร

ทุกข์นั้นเกิดจากอะไร

เราต้องการหรือพึงต้องการอะไร และจะเป็นไปได้อย่างไร เราจะต้องทำอะไรบ้าง



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

* ทั้ง ๔ ข้อ เขียนเต็มว่า กิจญาณในทุกข์ กิจญาณในสมุทัย กิจญาณในนิโรธ

กิจญาณในมรรค

ในที่นี้เขียนไว้แต่หัวข้อของอริสัจ เพื่อให้ดูง่าย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ธ.ค. 2010, 20:35, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2009, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิจญาณนี้เป็นอย่างหนึ่งในบรรดาญาณ ๓ ที่เกี่ยวกับอริยสัจ ๔ ซึ่งท่านใช้เป็นหลักเกณฑ์

สำหรับวัดความตรัสรู้ กล่าวคือ เมื่อใดรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างด้วยญาณครบทั้งสาม

(รวมทั้งหมด ๑๒ รายการ) แล้ว

เมื่อนั้น จึงจะชื่อว่า รู้อริยสัจหรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว


ญาณ ๓ นั้นเรียกเต็มว่า ญาณทัสสนะ อันมีปริวัฏฏ์ ๓ หรือปริวัฏ ๓ แห่งญาณทัศนะ

หมายถึงการหยั่งรู้ หยั่งเห็นครบ ๓ รอบ (ญาณ ๓ นี้ มาในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)

กล่าว คือ

๑. สัจญาณ หยั่งรู้สัจจะ คือความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือว่า

ทุกข์คืออย่างนี้ๆ

เหตุแห่งทุกข์คืออย่างนี้ๆ

ภาวะดับทุกข์อย่างนี้ๆ

ทางแก้ไขดับทุกข์คืออย่างนี้ๆ


๒. กิจญาณ หยั่งรู้กิจ คือความหยั่งรู้หน้าที่ ที่จะต้องทำต่อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า

ทุกข์ควรกำหนดรู้

สมุทัยควรละเสีย เป็นต้น ดังได้อธิบายแล้ว


๓. กตญาณ หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ ความหยั่งรู้ว่า กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔

แต่ละอย่างนั้น ได้ทำเสร็จแล้ว คือรู้ว่า

ทุกข์ควรกำหนดรู้ ก็ได้กำหนดรู้แล้ว

สมุทัยควรละ ก็ได้ละแล้ว

นิโรธควรทำให้แจ้ง ก็ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว

มรรคควรปฏิบัติ ก็ได้ปฏิบัติแล้ว



ปริวัฏ หรือวนรอบ ๓ นี้ เป็นไปในอริยสัจ ๔ ครบทุกข้อ

จึงรวมเป็น ๑๒ ญาณทัศนะ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า มีอาการ ๑๒ คือ ๑๒ รายการนั่นเอง

พระพุทธเจ้า ทรงมีญาณทัศนะตามเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ครบปริวัฏ ๓ มีอาการ ๑๒ คือ

ได้ความรู้แจ้งครบ ๑๒ รายการแล้ว

จึงปฏิญาณพระองค์ได้ว่า ทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว


หลักญาณทัศนะมีอาการ ๑๒ หรือ ความรู้ครบ ๑๒ รายการนี้ ใช้เป็นเกณฑ์ตรวจสอบ

ความสำเร็จในการปฏิบัติ การแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง


เขียนออกมาเป็นความรู้ดังต่อไปนี้

๑. ทุกข์ คือ ดังนี้ ทุกข์นี้ควรกำหนดรู้ ทุกข์นี้ได้กำหนดรู้แล้ว

๒. สมุทัย คือ ดังนี้ สมุทัยนี้ควรละเสีย สมุทัยนี้ได้ละแล้ว

๓. นิโรธ คือ ดังนี้ นิโรธนี้ควรทำให้แจ้ง นิโรธนี้ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว

๔. มรรค คือ ดังนี้ มรรคนี้ควรปฏิบัติ มรรคนี้ได้ปฏิบัติแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2010, 09:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2009, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อที่ควรทราบเพิ่มเติมให้เห็นภาพกว้างออกไปดังนี้


๑. ทุกข์ คู่กับกิจ คือ ปริญญา หมายความว่า เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้

ดังนั้น ทุกข์และธรรมทั้งหลาย ที่อยู่ในจำพวกปัญหาหรือที่ตั้งแห่งปัญหา

จึงรวมเรียกว่า ปริญเญยยธรรม (ธรรมที่ควรกำหนดรู้)


๒. สมุทัย คู่กับกิจ คือ ปหานะ หมายความว่า เป็นสิ่งที่ควรละหรือกำจัด

ดังนั้น ตัณหาและธรรมจำพวกทำให้เกิดปัญหาเป็นสาเหตุของทุกข์ เช่น อวิชชา โลภะ โทสะ

อุปาทาน เป็นต้น

จึงรวมเรียกว่า ปหาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรละ)


๓. นิโรธ คู่กับกิจ คือ สัจฉิกิริยา หมายความว่า เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้งหรือควรบรรลุ

ดังนั้น นิพพานและธรรมจำพวกที่เป็นจุดหมายหรือเป็นที่แก้แห่งปัญหา

จึงรวมเรียกว่า สัจฉิกาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง)


๔. มรรค คู่กับกิจ คือ ภาวนา หมายความว่า เป็นสิ่งที่ควรเจริญคือดำเนินการ

ดังนั้น มรรคามีองค์ ๘ และธรรมทั้งหลาย ที่เป็นพวกข้อปฏิบัติเป็นวิธีการเพื่อเข้าถึงจุดหมาย

จึงรวมเรียกว่า ภาเวตัพพธรรม (ธรรมที่ควรเจริญ)


ธรรมทั้งหมด หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี

ย่อมจัดรวมเข้าในประเภทใดประเภทหนึ่งแห่งธรรม ๔ จำพวกนี้ ไม่มีเหลือ


ในมรรคาแห่งความดับทุกข์ หรือ ปฏิบัติการแก้ปัญหาทั้งหลาย ตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด

ตั้งแต่ภายนอก จนถึงลึกซึ้งในภายใน

ผู้ศึกษาที่สนใจ อาจคอยกำหนดจับธรรมที่ตนเกี่ยวข้องจัดเข้าในธรรม ๔

ประเภทนี้ได้เสมอ เช่น ในการปฏิบัติขั้นถึงแก่น เอาแต่สาระ

พระพุทธจ้าเคยทรงแสดงธรรม ๔ ประเภทไว้ดังนี้*

๑. (ทุกข์) ปริญเญยยธรรม ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕

๒. (สมุทัย) ปหาตัพพธรรม ได้แก่ อวิชชาและภวตัณหา

๓. (นิโรธ) สัจฉิกาตัพพธรรม ได้แก่ วิชชาและวิมุตติ

๔. (มรรค) ภาเวตัพพธรรม ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


* ม.อุ. 14/831/526 องฺ.จตุกฺก.21/254/333 ในบาลี ท่านเรียง ภาเวตัพพธรรม คือ

สมถะและวิปัสสนาไว้ก่อนสัจฉิกาตัพพธรรม คือ วิชชาและวิมุตติ

แต่ในที่นี้ จัดเรียงสับตรงข้ามเพื่อให้เข้าลำดับของอริยสัจ ๔

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2010, 09:45, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2009, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวอธิบายอริยสัจโดยสังเขป

คัมภีร์วิสุทธิมรรค สัมโมหวิโนทนี และสัทธัมมปกาสินี ได้ชี้แจงเหตุผลไว้อย่างน่าฟังว่า

เหตุใด พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอริยสัจ ๔ ไว้โดยเรียงลำดับข้ออย่างที่เรียนรู้กันอยู่นี้

ข้อความที่ท่านกล่าวไว้แม้จะสั้น แต่มีสาระหนักแน่น จึงขอนำมาเป็นเค้าความสำหรับกล่าวถึงอริยสัจ ๔

โดยสังเขปต่อไปนี้


๑.ทุกข์ คือ ปัญหาต่างๆของมนุษย์ เป็นเรื่องบีบคั้นชีวิตจิตใจ มีอยู่ทั่วไปแก่สัตว์มนุษย์ทุกคน

เกิดขึ้นแก่ใครเมื่อใด ก็เป็นจุดสนใจ เป็นของเด่นชัดแก่ผู้นั้นเมื่อนั้น

แต่ว่าที่จริงมองกว้างๆ ชีวิตมีปัญหาและเป็นปัญหากันอยู่เรื่อยๆ เป็นธรรมดา

ดังนั้น ทุกข์จึงเป็นจุดสนใจปรากฏเด่นชัดอยู่ในชีวิตของทุกๆคน เรียกได้ว่า เป็นของรู้ง่ายเห็นง่าย

จี้ความสนใจ เหมาะที่จะยกขึ้นเป็นข้อปรารภ คือ เป็นจุดเริ่มต้นในการแสดงธรรม

ยิ่งกว่านั้น ทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว และน่าตกใจสำหรับคนจำนวนมากคอยหลีกเลี่ยง

ไม่อยากได้ยิน แม้แต่คนที่กำลังเพลิดเพลินลุ่มหลงมัวเมา ไม่ตระหนักรู้ว่า ตนเองกำลังมีปัญหา

และกำลังก่อปัญหา

เมื่อมีผู้มาชี้ปัญหาให้ ก็จะกระทบใจทำให้สะดุ้งสะเทือนและมีความไหวหวั่น

สำหรับคนที่อยู่ในภาวะเช่นนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนปรารภเรื่องทุกข์เพื่อกระตุ้นเตือนให้เขาฉุกใจได้คิด

เป็นทางที่จะเริ่มต้นพิจารณาแก้ปัญหาดับความทุกข์กันได้ต่อไป


เมื่อแสดงอริยสัจ โดยตั้งต้นที่ทุกข์ ก็เป็นการสอนที่เริ่มจากปัญหา เริ่มจากสิ่งที่เห็นง่ายเข้าใจง่าย

เริ่มจากเรื่องที่น่าสนใจ และโดยเฉพาะเป็นการสอนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย

ไม่ใช่เรื่องคิดเพ้อฝัน หรือสักว่าพูดตีฝีปากันไป เมื่อพูดกับใครก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคนนั้น

เมื่อพูดเป็นกลางๆ ก็เกี่ยวข้องกับทุกคน


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดับทุกข์

เพราะทรงรู้ว่า ทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ดับได้

มิใช่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอนจะต้องคงอยู่ตลอดไป

ชีวิตนี้ที่ยังคับข้อง ก็เพราะมีทุกข์มีปัญหาคอยรบกวนอยู่

ถ้าดับทุกข์แก้ปัญหาแล้ว หรือได้สร้างความสามารถในการดับทุกข์แก้ปัญหาไว้พร้อมแล้ว

ชีวิตก็จะปลอดโปร่งโล่งเบา พบสุขแท้จริง


แต่การดับทุกข์ หรือ แก้ไขปัญหานั้น มิใช่ทำได้ด้วยการหลบเลี่ยงปัญหาหรือปิดตาไม่มองทุกข์

ตรงข้าม ต้องใช้วิธีรับรู้สู้หน้าเข้าเผชิญดูมัน

การรับรู้สู้หน้า มิใช่หมายความว่า

จะเข้าไปแบกทุกข์ไว้ หรือ จะให้ตนเป็นทุกข์ แต่เพื่อรู้เท่าทัน จะได้แก้ไขกำจัดมันได้

การรู้เท่าทันนี้ คือ การทำหน้าที่ต่อทุกข์ให้ถูกต้อง ได้แก่ ทำปริญญา คือ

กำหนดรู้ ทำความเข้าใจสภาวะของทุกข์ หรือ ปัญหานั้น ให้รู้ว่า ทุกข์หรือปัญหาของเรานั้น

คือ อะไรกันแน่
อยู่ที่ไหน - ( บางที คนชอบหลบเลี่ยงทุกข์หนีปัญหา และทั้งที่รู้ว่า มีปัญหา

แต่จะจับให้ชัดก็ไม่รู้ว่า ปัญหาของตนนั้นคืออะไร ได้แต่เห็นคลุมๆ เครือๆ หรือพร่าสับสน)

มีขอบเขตแค่ใด

เมื่อกำหนดจับทุกข์ได้อย่างนี้ เหมือนแพทย์ตรวจอาการจนรู้โรครู้จุดที่เป็นโรคแล้ว

ก็เป็นอันเสร็จหน้าที่ต่อทุกข์

เราไม่มีหน้ากำจัดทุกข์หรือละเว้น เพราะทุกข์จะละที่ตัวมันเองไม่ได้ ต้องละที่เหตุของมัน

ถ้าจะละทุกข์ที่ตัวทุกข์ ก็เหมือนรักษาโรคที่อาการ เช่น ให้ยาระงับอาการไว้ แก้ไขโรคไม่ได้จริง

พึงดำเนินการค้นหาสาเหตุต่อไป


แพทย์เรียนรู้เกี่ยวกับโรค และต้องเรียนรู้เรื่องร่างกายอันเป็นที่ตั้งแห่งโรคด้วย ฉันใด

ผู้จะดับทุกข์ เมื่อเรียนรู้ทุกข์ ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์

รวมถึงสภาวะแห่งสังขารโลกที่เกี่ยวข้องด้วย ฉันนั้น


สาระสำคัญของอริยสัจข้อที่ ๑ คือ ยอมรับความจริงเกี่ยวกับทุกข์ตามที่มันเป็นอยู่

แล้วมองดูรู้จักชีวิต และโลกตามที่มันเป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ส.ค. 2010, 17:48, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2009, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ หรือ สาเหตุของปัญหา

การดับทุกข์นั้น ทำได้ด้วยการกำจัดสาเหตุของมัน ดังนั้น เมื่อกำหนดจับได้แล้วว่า

ทุกข์หรือปัญหาของตนคืออะไร เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนแล้ว ก็สืบสาวหาสาเหตุต่อไป

เพื่อจะได้ทำกิจแห่งปหานะ คือละหรือกำจัดเสีย


อย่างไรก็ตาม เมื่อค้นหาสาเหตุ

คนก็มักเลี่ยงหนีความจริง ชอบมองออกไปข้างนอก หรือมองให้ไกลตัว จากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

จึงมักมองหาตัวการข้างนอกที่จะซัดทอดโทษให้ หรือ ถ้าจะเกี่ยวกับตนเอง

ก็ให้เป็นเรื่องไกลออกไป จนรู้สึกว่าพ้นจากความรับผิดชอบของตน


สิ่งที่มักถูกซัดทอดให้เป็นสาเหตุนั้น ปรากฏออกมาเป็นลัทธิ (ความเชื่อ) ที่ผิดพลาด ๓

ประเภท คือ

๑. ปุพเพกตวาท ลัทธิกรรมเก่า ถือว่า สุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้ เป็นเพราะกรรมเก่า

ที่ทำไว้ในปางก่อน


๒. อิศวรนิรมิตวาท ลัทธิพระเป็นเจ้า ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้

เป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่


๓. อเหตุวาท ลัทธิคอยโชค ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้ เป็นไปเอง

แล้วแต่โชคชะตาที่เลื่อนลอย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


องฺ. ติก.20/501/222 อภิ.วิ.35/940/496 ม.อุ. 14/2-11/1-13

ขุ.ชา. 28/52-65/23-30; 771/260-5 ชา.อ. 8/67-73

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ก.พ. 2010, 17:07, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2009, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




208791.jpg
208791.jpg [ 51.16 KiB | เปิดดู 4883 ครั้ง ]
อิศวรนิรมิตวาท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิสสรนิมมานวาท

หรือ อิสสรกุตติวาท

โดยเฉพาะ ปุดเพกตวาท พึงระวัง แยกจากหลักกรรมของพุทธศาสนาให้ดี

ขอย้ำว่า เรื่องนี้น่าศึกษามาก

ดูเหมือนชาวพุทธจำนวนมากจะพยายามหลบเลี่ยงไม่ยอมมองดูหลักพุทธศาสนาข้อนี้

การที่ท่านย้ำไว้ในคัมภีร์ตั้งหลายแห่ง น่าจะเป็นข้อสำคัญ ซึ่งหากศึกษากันให้ดี

อาจช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับหลักกรรมในพุทธศาสนาได้อีกมาก

ไม่น่าจะมัวเลี่ยงหลบกันไปมา


วิภงฺค.อ.652-3 ว่าวาทะที่ ๑ เป็นลัทธินิครนถ์

ที่ ๒ เป็นลัทธิพราหมณ์

ที่ ๓ เป็นลัทธิอาชีวก

อนึ่ง ขุ.ชา. 28/61-64/25-26 จัดอุจเฉทวาทเข้าชุดมิจฉาวาทะ เหล่านี้รวมเป็น ๔ วาทะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 17:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางธรรมปฏิเสธลัทธิเหล่านี้ เพราะขัดต่อธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย แล้วท่านให้มองสาเหตุ

ของทุกข์ตามธรรมดาที่ว่านั้น โดยมองเหตุปัจจัยเริ่มตั้งแต่ภายในที่ตัวคน และที่ในตนเอง

ได้แก่กรรมคือการกระทำ การพูด การคิด ที่ดีหรือชั่ว ซึ่งได้ประกอบแล้วและกำลังประกอบอยู่

และที่ได้สั่งสมไว้เป็นลักษณะนิสัย ตลอดจน

การตั้งจิตวางใจต่อสิ่งทั้งหลาย และการมีความสัมพันธ์อย่างถูกต้องหรือผิดพลาดกับเหตุปัจจัย

ในสภาพแวดล้อมทั้งหลาย


ในขั้นพื้นฐาน

ท่านกล่าวลึกลงไปอีกว่า ตัณหา ความทะยานอยาก ที่ทำให้วางใจ ปฏิบัติตนแสดงออก

สัมพันธ์ และการะทำต่อชีวิตและโลกอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไม่เป็นไปด้วยความรู้ตามเป็นเป็นจริง

แต่เป็นไป

ด้วยความยินดี ยินร้าย ชอบชังเป็นต้น

ตลอดจนกิเลสปกป้องตัวตนทั้งหลาย เช่น ความกลัว ความริษยา ความหวาดระแวง ฯลฯ

ที่สืบเนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ คือ ที่มาแห่งปัญหาความทุกข์ของมนุษย์



ตัณหามี ๓ อย่างคือ กามตัณหา อยากกาม ได้แก่ อยากได้อยากเอาอยากเสพเสวยอย่างหนึ่ง

ภวตัณหา อยากภพ (ภว) ได้แก่ อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป อยากมีชีวิตนิรันดรอย่างหนึ่ง

วิภวตัณหา อยากสิ้นภพ ได้แก่ ปรารถนาภาวะสิ้นสูญอย่างหนึ่ง

และลึกลงไปกว่านั้น

ท่านแสดงกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาท อันมีอวิชชา เป็นมูลของตัณหา ว่าเป็นที่ไหลเนืองมา

แห่งปัญหาความทุกข์นั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 17:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2009, 23:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์... ในอริยะสัจสี่..เป็นทุกข์ที่ต้องค้นหา..มิใช่ทุกข์ในตำรา.สักแต่ว่า..เกิด เป็นทุกข์..แก่ เป็นทุกข์..เจ็บเป็นทุกข์..เสียใจเป็นทุกข์..ไม่ใช่ทุกข์ของผู้อื่น แต่เป็นทุกข์ของตัวเอง..ทุกข์ที่ทำให้ตัวของตัวเอง..เบื่อหน่าย..กลัว..ไม่อยากเจออีก..ทุกข์ตัวนี้จึงเป็นทุกข์ในอริยะสัจสี่..ของตัวท่านเอง

เมื่อใครถามท่านว่า.ท่านมาศึกษาธรรมะทำไม?
หากท่านตอบได้อย่างแน่ใจว่า..เพราะไม่อยากเจอทุกข์ (ของท่านเอง) อีก

ผมแน่ใจว่า ท่านถึงแล้วซึ่งทุกข์ และ จะถึงในอริยะสัจที่เหลือ ในไม่ช้า..

ขอทุกท่านเจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2009, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ทุกข์... ในอริยะสัจสี่..เป็นทุกข์ที่ต้องค้นหา..มิใช่ทุกข์ในตำรา.สักแต่ว่า..เกิด เป็นทุกข์..แก่ เป็นทุกข์..เจ็บเป็นทุกข์..เสียใจเป็นทุกข์..ไม่ใช่ทุกข์ของผู้อื่น แต่เป็นทุกข์ของตัวเอง..ทุกข์ที่ทำให้ตัวของตัวเอง..เบื่อหน่าย..กลัว..ไม่อยากเจออีก..ทุกข์ตัวนี้จึงเป็นทุกข์ในอริยะสัจสี่..ของตัวท่านเอง

เมื่อใครถามท่านว่า.ท่านมาศึกษาธรรมะทำไม?
หากท่านตอบได้อย่างแน่ใจว่า..เพราะไม่อยากเจอทุกข์ (ของท่านเอง) อีก

ผมแน่ใจว่า ท่านถึงแล้วซึ่งทุกข์ และ จะถึงในอริยะสัจที่เหลือ ในไม่ช้า..

ขอทุกท่านเจริญในธรรม

............

ก็ตัณหาไงครับ คือสาเหตุแห่งทุกข์ ท่านก็บอกอยู่แล้วนี่ หรือไม่ใช่ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

เมื่อใด กำจัดอวิชชาตัณหาที่เป็นต้นตอของปัญหา ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ได้แล้ว

มนุษย์ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกิเลสปกป้องตัวตนทั้งหลาย

เมื่อนั้น เขาก็จะสามารถปฏิบัติต่อชีวิตและสัมพันธ์กับโลกทั้งส่วนมนุษย์ สัตว์อื่น และธรรมชาติ

ด้วยปัญญาที่เข้าใจสภาวะและรู้เหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ซึ่งทำให้แก้ปัญหาได้จริง

อย่างเต็มความสามารถและสติปัญญาของมนุษย์

แม้ความทุกข์จะมีเหลืออยู่ ก็เป็นเพียงทุกข์ตามสภาวะธรรมดา และก็ไม่มีอิทธิพลครอบงำจิตใจ

ของเขาได้

ในเมื่อไม่มีของอิทธิพลครอบงำอยู่ภายใน

ภารกิจของเขาจะมีเหลืออยู่เพียงการคอยใช้ปัญญาศึกษาพิจารณา

สถานการณ์และเรื่องราวทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้รู้เข้าใจสภาวะและเหตุปัจจัยตามเป็นจริง

แล้วจัดการด้วยปัญญานั้นให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข

แต่ตราบใด กิเลสที่บิดเบือน ครอบงำ และที่ทำให้เอนเอียงทั้งหลาย

ยังบีบคั้นบังคับมนุษย์ให้เป็นทาสของมันได้

ตราบนั้น มนุษย์จะไม่สามารถแก้ปัญหาขจัดทุกข์ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายนอก

หรือทุกข์ภายใน

โดยมากเมื่อจะแก้ปัญหา เขามักจะกลับทำปัญหาให้ขยายตัวออกไปมากขึ้น ในรูปเดิมบ้าง

ในรูปของปัญหาใหม่ๆ อื่นๆ บ้าง

เมื่อถูกทุกข์บีบคั้นในภายใน แทนที่จะดับหรือสามารถลดทอนปริมาณแห่งทุกข์ให้เบาบางลงได้

ด้วยปัญญา

ก็กลับถูกตัณหา บีบกดให้ชดเชยออกไป ด้วยเติมทุกข์ที่ใหญ่กว่าเข้ามา หรือระบายทุกข์นั้น

ออกไปให้เป็นโทษภัยแก่คนอื่นและแก่สังคม

ความทุกข์ และ ปัญหาของมนุษย์ได้เป็นมาและเป็นอยู่อย่างนี้

ตามอำนาจบงการของตัณหาที่มีอวิชชาคอยหนุนอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 17:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2009, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุคุณกรัชกาย คุณกบนอกกะลา
อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นวิธีฝึกสติ คือ อาศัยลมหายใจเป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ
สติ -ความระลึกได้,ไม่เผลอ หมายถึง การคุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือ การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ
สัมปชัญญะ - ความรู้สึกตัว, หมายถึง รู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือ รู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำในขณะนั้นๆ

คุณกรัชกายอยากพบกับเรื่องสนุกๆและมีประโยชน์จาก อานาปานสติ ไหมครับ ถ้าอยากก็เพียงแต่เพิ่มคำว่า "ภาวนา" ลงไปตามท้าย อานาปานสติ เป็นอานาปานสติภาวนา ซึ่งจะมีความหมายว่า
อานาปานสติ = การกำหนดรู้ลมหายใจ
ภาวนา = เจริญ เจริญอะไร เจริญในที่นี้คือเจริญปัญญา สัมมาสังกัปปะ คือปัญญาที่เข้าไปสังเกต พิจารณาลมหายใจ ที่เข้าออก ๆ ตามธรรมชาตินั้น

หากเจริญอานาปานสติภาวนาแล้ว จะเกิดปัญญาวิปัสสนาขึ้นมาทันทีเลยครับ ลองทดสอบด้วยตัวเองดูก่อนแล้วค่อยมาอ่านต่อก็ได้นะครับจะเข้าใจสภาวธรรมที่เป็นปรมัตถ์ยิ่งขึ้น
เมื่อสังเกตเห็นลมหายใจที่กำลัง เข้า - ออก เข้า - ออก ให้ดีๆ ที่สุดจะได้รู้ว่า ลมหายใจกำลังแสดงอนิจจะลักขณะ
เมื่อสังเกตโดยใส่เจตนาลงไปช่วยนิดหน่อย คือ หายใจเข้าแล้วกลั้นไว้ สักครู่เดียว จะได้เห็น รู้ ถึงความเป็นทุกขัง ทนไม่ได้ขึ้นมาทันที
ถ้าอยากจะเห็น ทุกข์เวทนาที่กาย ทุกขเวทนาที่จิต เห็นอัตตา อนัตตา นิโรธ หรือนิพพาน ตัวอย่าง ก็ให้ลองเอาความเป็นกูเป็นเรา มาบังคับลมหายใจที่เข้าออกตามธรรมชาติไว้ เมื่อเริ่มต้นบังคับแล้ว ก็ให้เอาปัญญาสัมมาทิฐิมาเฝ้าดู ปัญญาสัมมาสังกัปปะเข้ามาเฝ้า สังเกต พิจารณาเข้าไปในกายและจิต
สังเกตให้ดี เก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด ว่าที่กาย มีอะไรเกิดขึ้น ที่จิต มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อถึงที่สุดของการกลั้นลมหายใจ มีอะไรเกิดขึ้น หลังจากปล่อยลมหายใจแล้วมีอะไรเกิดขึ้น แล้วสรุึปผลการเฝ้าดูเฝ้าสังเกตพิจารณา (Observing or Observation)ปรากฏการที่เกิดจากการทดลองบังคับลมหายใจนี้ ก็จะได้วิปัสสนาปัญญา จากภาวนาอันนี้ มาเป็นตัวอย่างสำคัญที่จะเป็นผลให้เข้าใจกระบวนการของการทำวิปัสสนาภาวนา และผลของวิปัสสนาภาวนา ทั้งหมด เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการภาวนากับสภาวธรรมจริงๆ อันอื่นๆ อารมณ์อื่นๆ ต่อไป

ทดลองกันดูนะครับ เพิ่มภาวนา ตามหลังอานาปานสติกันดูนะครับ มีเรื่องดีๆ สนุกๆ และเป็นประโยชน์ท้าทายให้ทุกท่านลองพิวสูจน์ และรับผล เป็นปฏิเวทอ่อนๆ อีกเยอะเลยที่เดียวครับ สาธุ :b19:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร