วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 09:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2009, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์

วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือ คิดตามหลักการและความมุ่งหมาย คือ พิจารณาให้เข้าใจความ

สัมพันธ์ระหว่าง ธรรม กับ อรรถ หรือหลักการ กับ ความมุ่งหมาย เป็นความ

คิดที่มีความสำคัญมาก ในเมื่อจะลงมือปฏิบัติธรรมหรือทำการตามหลักการอย่างใดอย่างหนึ่ง

เพื่อให้ได้ผลตรงตามความมุ่งหมาย ไม่กลายเป็นการกระทำที่เคลื่อนคลาด เลื่อนลอย

หรืองมงาย



คำว่า ธรรม แปลว่า หลัก หรือ หลักการ คือ หลักความจริง หลักความดีงาม หลักการปฏิบัติ

หรือ หลักที่จะเอาไปใช้ปฏิบัติ

รวมทั้งหลักคำสอนที่จะให้ประพฤติปฏิบัติและกระทำการได้ถูกต้อง


คำว่า อรรถ แปลว่า ความหมาย ความมุ่งหมาย จุดหมาย ประโยชน์ที่ต้องการ หรือ

สาระที่พึงประสงค์


ในการปฏิบัติธรรม หรือ กระทำการตามหลักการใดๆก็ตาม จะต้องเข้าใจความหมายและความ

มุ่งหมายของธรรมหรือหลักการนั้นๆว่า ปฏิบัติหรือทำไปเพื่ออะไร

ธรรมหรือหลักการนั้นกำหนดวางไว้เพื่ออะไร จะนำไปสู่ผลหรือที่หมายใดบ้าง ทั้งจุดหมายสุด

ท้ายปลายทาง และเป้าหมายท่ามกลางในระหว่างที่จะส่งทอดต่อไปยังธรรมหรือหลักการข้ออื่นๆ

ความเข้าใจถูกต้องในเรื่องหลักการและความมุ่งหมายนี้ นำไปสู่การปฏิบัติถูกต้องที่เรียกว่า

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ


ธรรมานุธรรมปฏิบัติ แปลอย่างสืบๆ กันมาว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

แปล ตามความหมายว่า ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ หรือ ปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อย

ตามหลักใหญ่


แปลง่ายๆว่า ปฏิบัติธรรมถูกหลัก คือ ทำให้ข้อปฏิบัติย่อยเข้ากันได้ สอดคล้องกัน

และส่งผลแก่หลักการใหญ่ เป็นไปเพื่อจุดหมายที่ต้องการ


ธรรมานุธรรมปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวตัดสินว่า

การปฏิบัติธรรม หรือ การกระทำนั้นๆ จะสำเร็จผลบรรลุจุดมุ่งหมายได้หรือไม่

ถ้าไม่มีธรรมานุธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมหรือดำเนินตามหลักการก็คลาดเคลื่อน ผิดพลาด

เลื่อนลอย ว่างเปล่า งมงาย ไร้ผล หนำซ้ำอาจมีผลในทางตรงข้ามคือเกิดโทษขึ้นได้



ธรรมทุกข้อมีอรรถ หลักการทุกอย่างมีความมุ่งหมาย

ธรรมเพื่ออรรถ หลักการเพื่อจุดหมาย

จะทำอะไรจะต้องต้องถามได้ตอบได้ ว่าเพื่ออะไร

ในทางธรรม ท่านเน้นความสำคัญของการมีความคิด มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มาก

ทั้งในแง่เป็นคุณสมบัติของบุคคล และในแง่ลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 พ.ค. 2012, 18:55, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2009, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Alligator.gif
Alligator.gif [ 46.53 KiB | เปิดดู 16385 ครั้ง ]
ธรรมะไม่ง่ายนักที่จะเข้าใจ

อ่านแล้วยังงงงง โดยเฉพาะความหมายคำว่า “อรรถ” กับ “ธรรม” ในที่นี้ ว่ามีความสัมพันธ์กัน

อย่างไร

พิจารณาพุทธพจน์ที่เคยยกมาก่อนหน้าเป็นตัวอย่าง :b1:


“ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการมาก ได้แก่ ธรรม ๙ อย่าง ซึ่งมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล

กล่าวคือ เมื่อโยนิโสมนสิการ ปราโมทย์ย่อมเกิด

เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด

เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบระงับ

เมื่อกายสงบระงับ ย่อมได้เสวยสุข

ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ

ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง

เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ย่อมนิพพิทาเอง

เมื่อนิพพิทา ก็วิราคะ

เพราะวิราคะ ก็วิมุตติ



-โยนิโสมนสิการ => ปราโมทย์ => ปีติ => ปัสสัทธิ => สุข =>สมาธิ =>ยถาภูตญาณทัสสนะ

=> นิพพิทา =>วิราคะ => วิมุตติ (= อรรถธรรมสัมพันธ์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 10:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2009, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังเห็นไม่ชัดว่า ธรรม กับ อรรถ สัมพันธ์กันอย่างไร

ธรรม มี อรรถ อย่างไร

ก็มีบาลีแสดง อรรถ แห่ง ธรรม หรือ ความมุ่งหมายของหลักธรรมต่างๆ ไว้หลายแห่ง

พอยกมาให้พิจารณาเป็นแนวได้ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย พึงทราบ อธรรม และ ธรรม พึงทราบ อนรรถ และ อรรถ

ครั้นทราบ อนรรถ และ อรรถ แล้ว พึงปฏิบัติตามที่เป็นธรรมและอรรถ

อะไร คือ อธรรม อะไรคือธรรม อะไรคืออนรรถ อะไรคืออรรถ ?

มิจฉาทิฏฐิ...มิจฉาสังกัปปะ...มิจฉาวาจา...มิจฉากัมมันตะ...มิจฉาอาชีวะ...มิจฉาวายามะ...

มิจฉาสติ...มิจฉาสมาธิ...มิจฉาญาณ...มิจฉาวิมุตติ คือ อธรรม

สัมมาทิฏฐิ...สัมมาสังกัปปะ...สัมมาวาจา...สัมมากัมมันตะ...สัมมาอาชีวะ...สัมมาวายามะ...

สัมมาสติ...สัมมาสมาธิ...สัมมาญาณ...สัมมาวิมุตติ คือ ธรรม

อกุศลธรรมชั่วร้ายทั้งหลายเป็นอเนกที่เกิดมีขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้

คือ อนรรถ

กุศลธรรมทั้งหลายเป็นอเนกที่ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์เพราะสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย

นี้ คือ อรรถ”


(องฺ..ทสก.24/113-6/238-249)

ใน องฺ..ทสก.24/160-2/273-282-1/297 แสดงอกุศลกรรมบถ 10 เป็นอธรรม

และ กุศลกรรมบถ 10 เป็นธรรม

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

“วินัยเพื่ออรรถคือสังวร สังวรเพื่ออรรถคือความไม่มีวิปฏิสาร ความไม่มีวิปฏิสารเพื่ออรรถคือ

ปราโมทย์

ปราโมทย์เพื่ออรรถคือปัสสัทธิ ปัสสัทธิเพื่ออรรถคือสุข สุขเพื่ออรรถคือสมาธิ

สมาธิเพื่ออรรถคือยถาภูตญาณทัสสนะ ยถาภูตญาณทัสสนะเพื่ออรรถคือนิพพิทา

นิพพิทาเพื่ออรรถคือวิราคะ วิราคะเพื่ออรรถคือวิมุตติ

วิมุตติเพื่ออรรถคือวิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติญาณทัสสนะเพื่ออรรถคืออนุปาทาปรินิพพาน”

(วินย. 8/1084/406)



“กุศลศีลมีความไม่มีวิปฏิสารเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ ความไม่มีวิปฏิสารมีปราโมทย์เป็นอรรถ

เป็นอานิสงส์

ปราโมทย์มีปีติเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิมีสุขเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

สมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอรรถเป็นอานิสงส์

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลสู่ธรรมทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการไปจากภาวะอันมิใช่ฝั่งสู่ภาวะที่เป็นฝั่ง

โดยประการดังนี้แล”

(องฺ.เอกาทสก.24/209/337/ ฯลฯ)


“สัมมาทัสสนะมีนิพพิทาเป็นอรรถ นิพพิทามีวิราคะเป็นอรรถ

วิราคะมีวิมุตติเป็นอรรถ วิมุตติมีนิพพานเป็นอรรถ”

(สํ.ข.17/366/232)


“สีลวิสุทธิเพียงแค่มีจิตตวิสุทธิเป็นอรรถ จิตตวิสุทธิเพียงแค่มีทิฏฐิวิสุทธิเป็นอรรถ

ทิฏฐิวิสุทธิเพียงแค่มีกังขาวิตรณวิสุทธิเป็นอรรถ

กังขาวิตรณวิสุทธิเพียงแค่มีมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิเป็นอรรถ

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิเพียงแค่มีปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นอรรถ

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเพียงแค่มีญาณทัสสนวิสุทธิเป็นอรรถ

ญาณทัสสนวิสุทธิเพียงแค่มีอนุปาทาปรินิพพานเป็นอรรถ”


(ม.มฺ.12/298/295)

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 พ.ค. 2012, 18:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2009, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในทางธรรม น่าจะได้เน้นความสำคัญของความคิดความเข้าใจแบบนี้ไว้เสมอๆ จะเห็นได้ว่า

แม้แต่ความเป็นกลางของทางสายกลาง

หรือความเป็นมัชฌิมาของมัชฌิมาปฏิปทา ก็กำหนดด้วยความรู้ความเข้าใจตระหนักจุดหมาย

ของการปฏิบัติ

แม้หลักธรรมต่างๆ ที่แบ่งย่อยออกมาหรือเป็นองค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทานั้น

แต่ละอย่างๆก็มีเป้าหมายเฉพาะและจุดหมายรวมซึ่งจะต้องเข้าใจและตระหนักไว้

เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง เพื่อให้ข้อธรรมเหล่านั้นเข้าสัมพันธ์กลมกลืนและรับช่วงสืบทอดกัน

นำไปสู่ผลที่มุ่งหมาย

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

พูดอีกนัยหนึ่งว่า ความรู้เข้าใจตระหนักในจุดหมายและขอบเขตแห่งคุณค่าของหลักธรรมต่างๆ

เป็นเครื่องกำหนดความถูกต้องพอเหมาะพอดีแห่งการปฏิบัติหลักธรรมนั้นๆ

ซึ่งทำให้เกิดธรรมานุธรรมปฏิบัติ


เมื่อมองในแง่ปรมัตถ์- (มิใช่แง่ทิฏฐธัมมิกัตถ์ สัมปรายิกัตถ์ ปรัตถะ หรือ ในแง่

สังคม) ศีล สมาธิ และปัญญา ต่างก็มีจุดหมายสุดท้ายเพื่อนิพพานเหมือนกัน



แต่เมื่อมองจำกัดเฉพาะตัวแต่ละอย่าง มีขีดขั้นขอบเขตของตนที่จะต้องไปเชื่อมต่อกับอย่างอื่น

จึงจะให้บรรลุจุดหมายสุดท้ายได้

ลำพังอย่างหนึ่งอย่างเดียวหาสำเร็จผลล่วงตลอดไม่ แต่จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใด

เสียทีเดียว ก็ไม่ได้

จึงมีหลักว่า ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

ถ้าปฏิบัติศีลขาดเป้าหมาย ก็อาจกลายเป็นสีลัพพตปรามาส ช่วยส่งเสริมอัตตกิลมถานุโยค

ถ้าบำเพ็ญสมาธิโดยไม่คำนึงอรรถ ก็อาจหมกติดอยู่ในฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ส่งเสริมมิจฉาทิฏฐิบางอย่าง

หรือส่งเสริมดิรัจฉานวิชาบางประเภท



ถ้าเจริญปัญญาชนิดที่ไม่เป็นไปเพื่อวิมุตติ ก็เป็นอันคลาดออกนอกมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ไปสู่จุดหมาย

ของพุทธศาสนา อาจหลงอยู่ข้างๆระหว่างทาง หรือติดค้างในมิจฉาทิฏฐิแบบใดแบบหนึ่ง



โดยนัยนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมที่ขาดโยนิโสมนสิการ จึงอาจปฏิบัติผิดพลาดไขว้เขวได้ทุกขั้นตอน เช่น

ในขั้นต้นคือระดับศีลมีหลักทั่วไปอยู่ว่า

การรักษาศีลเคร่งครัดบริสุทธิ์ตามบทบัญญัติเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ปฏิบัติ

ผู้ปฏิบัติพึงตระหนักอยู่เสมอว่า จะต้องให้ความสำคัญอย่างมากแก่ศีล

อย่างไรก็ตาม ทั้งที่เป็นผู้เคร่งครัดในศีล และ ให้ความสำคัญแก่ศีลเป็นอย่างมากนี่แหละ

ถ้าขาดความตระหนักในด้านอรรถ ธรรม สัมพันธ์ ขึ้นมาเมื่อใด คือ ลืมนึกถึงความหมาย

และ ความมุ่งหมายของศีลที่เป็นเครื่องชี้บอกขอบเขตคุณค่า และ ตำแหน่งเชื่อมโยง

กับหลักธรรมอื่นๆ ความเผลอพลาด ในการปฏิบัติก็เกิดขึ้นได้ทันที

ผู้ปฏิบัติ อาจมองศีลเป็นสภาวะสมบูรณ์ในตัว ซึ่งตั้งอยู่โดดๆ ลอยๆ ไม่เป็น

ส่วนหนึ่งในกระบวนการปฏิบัติธรรม หรือ ไม่อีกอย่างหนึ่ง

ความไม่คอยคำนึงถึงความหมาย และ ความมุ่งหมายของศีลนั้น ก็นำไปสู่ความยึดติดถือมั่น

ในรูปแบบ ทำให้เกิดการกระทำที่สักว่า ปฏิบัติสืบๆกันไป โดยไม่เข้าใจเหตุผล

ไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร ไม่มองศีลในฐานะข้อปฏิบัติเพื่อฝึกอบรมตน



:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 10:22, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2009, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gnat09.gif
gnat09.gif [ 4.91 KiB | เปิดดู 16375 ครั้ง ]
(ต่อ)


บางพวกถือเพลินโดยไม่รู้สึกตัวถลำเลยไปเหมือนว่า ความเคร่งครัดเข้มงวดเป็นความดีเสร็จสิ้น

ในตัวเอง

เมื่อทำได้อย่างนั้นๆ แล้วก็จะดีเองจะสำเร็จเอง หรือว่าจะสำเร็จได้เพียงด้วยการปฏิบัติเคร่งครัด

เข้มงวด ในเรื่องศีลวัตร กลายเป็นให้ศีลวัตรเป็นที่จบสิ้น มิใช่มีศีลเพื่อจุดหมาย

หรือรู้สึกเหมือนว่ามีเพียงศีลก็พอให้บรรลุจุดหมาย

บ้างก็ถือเพลินต่อไปอีกว่า ยิ่งเคร่งครัดเข้มงวดเท่าใดก็ยิ่งดี พอถึงขั้นนี้ก็เป็นอันขาดจากความ

ตระหนักในความมุ่งหมายของศีลโดยสิ้นเชิง

ผู้ปฏิบัติพยายามปรุงแต่งข้อปฏิบัติคือวัตรที่เคร่งครัดเข้มงวดขึ้นมาใช้ปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นไป



ฝ่ายผู้มองการปฏิบัติที่ขาดโยนิโสมนสิการในด้านนี้ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเห็นการปฏิบัติเคร่งครัด

เข้มงวด ทำยากเกินปกติธรรมดามากเท่าใด ก็ยิ่งมีความโน้มเอียงที่จะเลื่อมใสยิ่งขึ้นเท่านั้น

ภาวะเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่นำไปสู่ความประพฤติปฏิบัติเข้มงวดบีบรัดตนเองผิดวิสัย

ธรรมดา ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า ปฏิปทาเ หี้ ยมเกรียม ของพวกนักบวชชีเปลือย

ซึ่งเป็นสีลัพพตปรามาส และเป็นข้อปฏิบัติเอียงสุดฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค เช่น

ถือกินแต่ผักดอง ถือกินแต่ข้าวฟ่าง ถือกินแต่กากข้าว ถือกินหญ้าเป็นอาหาร ถือกินแต่ผลไม้

หล่น ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ถือห่มผ้าคากรอง ถือถอนผมถอนหนวด ถือนอนบนหนาม เป็นต้น

และที่รุนแรงผิดธรรมดากว่านี้อีกเป็นอันมาก *


ส่วนผู้ถือศีล โดยเข้าใจความมุ่งหมาย ก็ย่อมมองความเคร่งครัดมีระเบียบเรียบร้อยเป็นเบื้องแรก

เหมือนกัน แต่จะคำนึง หรือ ถึงกับถามต่อไปด้วยว่า เพื่ออะไร สัมพันธ์กับส่วนอื่นในกระบวน

การปฏิบัติธรรมอย่างไร หรือไม่ รู้จักแยก เช่นว่า นี้เป็นศีล (ระเบียบกลาง)

นี้เป็นวัตรหรือพรต (ข้อปฏิบัติเสริม)

ท่านผู้นี้ถือวัตรซึ่งเคร่งครัดเข้มงวดมากข้อนี้ด้วยเหตุผลดังนี้ ๆ

ท่านผู้นี้ ไม่ควรถือวัตรข้อนี้ด้วยเหตุผลดังนี้

ข้อปฏิบัติอย่างนี้ ให้ถือบังคับเสมอเหมือนกันเพราะเหตุหรือเพื่อผลดังนี้

ข้อปฏิบัติอย่างนี้ ให้บุคคลสมัครใจเลือกได้ เพราะเหตุหรือเพื่อผลเกี่ยวด้วยความแตกต่าง

ระหว่างบุคคลดังนี้ๆ

ผู้นี้ปฏิบัติเคร่งครัดเข้มงวดและได้บรรลุผลสำเร็จด้วยดี

ท่านผู้นี้ปฏิบัติเคร่งครัดเข้มงวดแต่ไม่สำเร็จผลดี นี่เพราะอะไร

ผู้นี้เคร่งครัดน้อยกว่าและไม่เข้มงวด เหตุใดจึงก้าวหน้าในการปฏิบัติดีกว่าผู้โน้นที่เคร่งครัดเข้มงวด

ดังนี้เป็นต้น


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


* นิชฌามปฏิปทา ใน องฺ.ติก.20/596/380 ข้อปฏิบัติบางอย่างของปฏิปทานี้

ท่านยอมรับเข้ามา ในพุทธศาสนา อนุญาตให้ภิกษุถือได้ เช่น การถือผ้าบังสุกุล (ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว)

แต่เป็นไปโดยเหตุผล เพราะเข้ากับลักษณะเป็นอยู่ง่าย ไม่วุ่นวาย หาง่าย ไม่มีโทษ

และก่อนจะใช้ต้องนำมาซัก ต้ม เย็บ ย้อม ให้เรียบร้อยได้กำหนดตามระเบียบ

และให้ถือเป็นวัตร คือเป็นข้อปฏิบ้ติพิเศษตามสมัครใจไม่บังคับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 10:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2009, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




pic_top3_b.gif
pic_top3_b.gif [ 26.52 KiB | เปิดดู 16602 ครั้ง ]
ในทางปฏิบัติ ดูเหมือนว่าวิธีคิดแบบนี้จะลดความสำคัญลงบ้าง ในกรณีที่มีกัลยาณมิตร

คอยเป็นพี่เลี้ยงใกล้ชิด เพราะดำเนินปฏิปทาด้วยศรัทธา

ไว้วางใจต่อปัญญาของกัลยาณมิตรนั้น และหวังว่าค่อยๆ ทำ ค่อยๆ รู้ไป

กัลยาณมิตรคงไม่นำไปผิด

แต่ในพระบาลีเดิม ยังไม่พบข้อยกเว้น เพราะ[b]หน้าที่อย่างหนึ่งของกัลยาณมิตรก็คือการชี้แจงให้

เขารู้อรรถ รู้ธรรม หรือ ชี้ช่องให้เขาเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 10:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 04:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุ..ค่ะ ขอบพระุคุณอาจารย์ ที่นำเอา
เนื้อหาธรรมะที่เป็นประโยชน์ มาให้ชาวลานธรรมจักร
ได้ศึกษา คนไร้สาระยกย่องอาจารย์ เป็นกัลยาณมิตรสำหรับ
ศิษย์และเพื่อน ๆในลานธรรมจักรแห่งนี้ค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบันลานธรรมจักรมี (สมาชิกทั้งหมด 10264 | สมาชิกล่าสุด บัว 4 เหล่า)
หนึ่งในจำนวนนั้นมีผู้ใช้นามว่า “คนไร้สาระ” ได้ติดตามอ่านหลักธรรมที่กรัชกายนำมาจากหนังสือพุทธธรรมโดยท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตฺโต (พระพรหมคุณาภรณ์) จึงน่าจะมีวาสนาบารมีทางนี้พอสมควร เพราะพุทธธรรมผู้เขียนกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

“หนังสือนี้จะหนักไปทางวิชาการ หรืออาจพูดได้ว่ามุ่งแสดงหลักวิชาทางพระพุทธศาสนาโดยตรง คำนึงถึงการอธิบายหลักธรรมมากกว่าจะคำนึงถึงพื้นฐานของผู้อ่าน
ดังนั้น หนังสือพุทธธรรมนี้ จึงเป็นหนังสือสำหรับผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว หรือ สำหรับผู้ต้องการศึกษาอย่างจริงจัง มุ่งหาความรู้อย่างไม่กลัวความยาก ใจสู้ จะเอาชนะทำความเข้าใจให้จงได้ ไม่ใช่หนังสือสำหรับชวนให้ศึกษา หรือเข้าไปหาผู้อ่านเพื่อชักจูงให้มาสนใจ คือ ถือเอาหลักวิชาเป็นที่ตั้ง
มิใช่ถือเอาผู้อ่านเป็นที่ตั้ง แต่กระนั้นก็มิใช่จะยากเกินกำลังของผู้อ่านทั่วไปที่มีความใฝ่รู้และตั้งใจจริงจะเข้าใจ
ได้

ในเมื่อเป็นหนังสือแสดงหลักวิชา ก็ย่อมเป็นคำศัพท์วิชาการทางพระพุทธศาสนา คือ ถ้อยคำทางธรรมที่มาจากภาษาบาลีเป็นจำนวนมาก ข้อนี้ก็เป็นเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้หนังสือนี้ยากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ไม่คุ้นเคย
กับศัพท์ธรรม หรือ คำที่มาจากบาลี แต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง ในเมื่อต้องการจะรู้หลักกันจริงๆ”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 พ.ค. 2009, 07:55, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


คนไร้สาระ เขียน:
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุ..ค่ะ ขอบพระุคุณอาจารย์ ที่นำเอา
เนื้อหาธรรมะที่เป็นประโยชน์ มาให้ชาวลานธรรมจักร
ได้ศึกษา คนไร้สาระยกย่องอาจารย์ เป็นกัลยาณมิตรสำหรับ
ศิษย์และเพื่อน ๆในลานธรรมจักรแห่งนี้ค่ะ

:b8: :b8: :b8:

:b1: :b1: คุณกรัชกรายคะ เราก็ตามอ่านโพสต์ของคุณนะคะ อ่านไป :b6: :b23: ไปแต่พยายาม
อ่านบ่อยๆก็จะเข้าใจบ้าง.....ไม่เข้าใจบ้าง ค่ะ :b13: แต่จะพยายาม :b4: :b4: :b4: นะคะ
:b35: :b35: ขอบพระคุณ อาจารย์
ครั้งนี้อ่านไม่ผิดแล้วค่ะเพราะ ใส่แว่น ด้วยคะ :b32: :b32: :b32: แหย่เล่น :b9: :b9: นะคะ คนไร้สาระ
เห็นด้วยกับเราไม๊คะ ขอรูป ที่มีหิมะตก ได้ไม๊คะ ตอนนี้รู้สึกที่ลานนี้มีอะไร ร้อนๆ เผื่อได้ดูรูป หิมะเย็นๆ
อุณหภูมิความร้อนจะได้.....เย็นลงน่ะค่ะ :b48: :b9: :b9: :b9:
คุณกรัชกราย ติดเราอยู่เพลงหนึ่งนะคะ จำได้ไม๊.....น้...:b29: :b29: :b29:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m209017.jpg
m209017.jpg [ 53.49 KiB | เปิดดู 16357 ครั้ง ]
กรัชกายตั้งใจจะนำ วิธีคิดหรือวิธีโยนิโสมนสิการแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน หรือ วิธีคิดแบบ

มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ (แบบที่ ๙) มาลงต่อจากนี้

วิธีนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติกรรมฐานแนวสติปัฏฐานมากๆ ถึงกับบ่งบอกได้ว่าการปฏิบัติ

ของเขาเป็นมิจฉาปฏิปทาหรือมัชฌิมาปฏิปทา

โดยเฉพาะคำว่า “ปัจจุบัน” (กาล) “ขณะปัจจุบัน” “มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์”

คือว่า ความเข้าใจระหว่างเราชาวพุทธ กับ ทางธรรมเมื่อว่าถึงการปฏิบัติทางจิตไม่ตรงกัน

ว่าแค่ไหนถึงไหนเรียกว่า ปัจจุบัน


ในทางธรรมเมื่อพูดถึงการปฏิบัติทางจิตแล้ว “ปัจจุบัน” หมายถึงขณะเดียวที่กำลังเกิดขึ้นเป็นอยู่

“เป็นอยู่ในปัจจุบัน” หมายถึง มีสติตามทันสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้อง หรือ ต้องทำอยู่ในเวลานั้นๆ

แต่ละขณะทุกๆขณะ


เมื่อทางธรรมพูดอย่างนี้บ่อยๆเข้า ก็มีผู้เข้าใจผิดอีก โดยเห็นไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้คิด

ถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า กำลังเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น

ไม่ให้คิดพิจารณา เกี่ยวกับอดีตหรือนาคตตลอดจนไม่ให้คิดเตรียมการหรือวางแผนงานเพื่อกาล

ภายหน้า เมื่อเข้าใจผิดเสียแล้ว

ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมก็เลยปฏิบัติผิดจากหลักพระพุทธศาสนา

ถ้าเป็นบุคคลภายนอกมองเข้ามา ก็เลยเพ่งว่าถึงผลร้ายต่างๆที่พระพุทธศาสนาจะนำมาให้แก่หมู่ชน

ผู้ปฏิบัติ ฯลฯ

ดังนั้นกรัชกายจึงยกประเด็นที่เห็นแย้งมาก่อน คุณพอเข้าใจ ปัจจุบัน ในความหมาย

การปฏิบัติธรรมทางจิตนี้ไหมครับ

ส่วน ขณะปัจจุบัน ปัจจจุบันอารมณ์ น่าจะพอมองออกหลังจากนั้น

กรัชกายเกรงว่าจะเข้าใจไปคนเดียว แต่ไม่เป็นประโยชน์กับผู้อื่น จึงขอแรงคุณช่วยวิจารณ์ให้

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 10:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

:b47: กราบขอบพระคุณ อาจารย์มากค่ะ

:b47: ด้วยปฐมเหตุึแห่งการใฝ่ศึกษาด้านนี้มาก ศิษย์ค้นคว้า
ได้ฟังได้อ่านของ ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตฺโต (พระพรหมคุณาภรณ์)
มาบ้างเล็กน้อย ยอมรับว่า ท่านจะกล่าวในแง่วิชาการตามหลักเสียส่วนใหญ่
ซึ่งอ่านยากและเข้าใจค่อนข้างยากจะต้องใช้ปัญญาและเวลาทำความเข้าใจ
ค่อนข้างมาก จึงเคยบอกอาจารย์ว่าอ่านไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง แต่ไม่เคยยอมถอยค่ะ

:b47: บางคำอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็อาศัยคำสอนที่อาจารย์บอกว่า
ใช้โยนิโสมนสิการ เมื่อก่อนคนไร้สาระมีคำถามใน
ใจมากค่ะ ก่อนที่จะเจออาจารย์ แต่บางครั้งเหมือน ๆ อาจารย์จะรู้ว่าจะ
ถามอะไร ก็นำมาโพสต์ให้ก่อน จึงเป็นสิ่งที่คนไร้สาระรู้สึกประหลาด
ใจมาก ๆ แต่ไม่เคยบอก

:b47: ในระยะหลัง ๆ ไม่ค่อยมีคำถาม แต่ใช้คำสอนที่อาจารย์
มาเอาโพสต์พิจารณาตาม ด้วยความดีอันนี้ศิษย์จึงยกย่องอาจารย์
ด้วยใจจริง ว่าเป็นกัลยาณมิตรที่แท้้จริง บุญคุณครั้งนี้ไม่อาจตอบแทน
ได้ คนไร้สาระขอตอบแทนด้วยการ ปฏิบัติบูชาค่ะ ให้แรงที่อาจารย์
ได้นำข้อความมาโพสต์ได้ก่อประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะทำได้


:b8: :b8: :b8:
กราบเรียนมาด้วยความเคารพยิ่ง

:b47: ขออภัยอาจารย์ค่ะ ฝากข่าวให้ คุณo.wan ถ้าอยากได้รูปหิมะตกไปที่บอร์ดดูสบายตา...อ่านแล้วสบายใจค่ะคนไร้สาระจัดให้แล้ว :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ตัวอักษร ตั้งแต่เริ่มชื่อกท.จนถึงตัวสุดท้าย...ทำให้เกิดกุศลจิตแก่จิตข้าพเจ้ามากมายนัก

นี่คือความสัมพันธ์ฉันท์กัลยามิตรทางธรรมโดยแท้

คำเสวนาของบัณฑิตย่อมเจริญตาเจริญใจแก่ผู้พบเห็น ก่อเกิดกุศลฉะนี้.

อนุโมทนา่กับท่านทั้งหลายด้วยค่ะ

:b44: :b44: :b44:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร