วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2009, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


คนไร้สาระ เขียน:
:b8: :b8: :b8:

:b48: อนุโมทนาสาธุค่ะ... อาจารย์ ศิษย์ยังตามอ่านและ
พิจารณาตามมาตลอด และยังบอกตัวเองว่าต้องเพียรมาก
กว่านี้เหมือนที่อาจารย์ว่า กำลังของสติยังไม่พอ ถึงคราว
เอาเข้าจริง ๆ แฟ๊บเลยค่ะ ติดแง๊ก ก็ได้กำลังความเพียร
ให้ได้สติก็ อาศัยการอ่านและคำแนะนำของอาจารย์ ช่วยได้
มากทีเดียว อาการหดหู่ก็ค่อย ๆ จางลง แต่ยังมีซึม ๆ อยู่ค่ะ

:b8: :b8: :b8:
กราบเรียนมาด้วยความเคารพยิ่ง


จริงของคนไร้สาระครับ
ท่านใดที่นำกระทู้ที่มีสาระและประโยชน์มาลง
อย่ากังวลไปเลยครับ
อย่างน้อยก็มีผมคนหนึ่งละครับ ที่อ่านกระทู้ของท่าน
สาธุด้วยครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความในแง่นี้ โยนิโสมนสิการ คือ ความคิดที่สกัดอวิชชาตัณหา

อวิชชาและตัณหานั้นมาด้วยกันเสมอ

แต่บางครั้งอวิชชาแสดงบทบาทเด่น ตัณหาเป็นตัวแฝง

บางครั้ง ตัณหาแสดงบทบาทเด่น อวิชชาเป็นตัวแฝง -

(ม.อ.1/89 ฯลฯ)

เมื่อเข้าใจความจริงอย่างนี้แล้ว เราอาจแบ่งความหมายของ โยนิโสมนสิการออกไปเป็น ๒ อย่าง

ตามบทบาท ของอวิชชาและตัณหานั้นว่าโยนิโสมนสิการ คือ ความคิดที่สกัดอวิชชาและความคิด

ที่สกัดตัณหา และพึงทราบลักษณะความคิดตามอวิชชาตัณหา ดังนี้


๑. เมื่ออวิชชาเป็นตัวเด่น ความคิดมีลักษณะติดตันวกวนอยู่ที่แง่หนึ่งตอนหนึ่งอย่างพร่ามัว

ขาดความสัมพันธ์ ไม่รู้ทางไป หรือไม่ก็ฟุ้งสับสน ไม่เป็นระเบียบ ปรุงแต่งอย่างไร้เหตุผล

เช่นภาพในความคิดของคนหวาดกลัว

๒. ตัณหาเป็นตัวเด่น ความคิดมีลักษณะโน้มเอียงไปตามความยินดียินร้าย

ความชอบใจไม่ชอบใจ หรือความติดใจขัดใจ ติดพันครุ่นอยู่กับสิ่งที่ชอบหรือชังนั้น

และปรุงแต่งความคิดไปตามความชอบความชัง



อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดลึกลงไปอีกในด้านสภาวะ อวิชชาเป็นฐานก่อตัวของตัณหา

และตัณหาเป็นตัวเสริมกำลังให้แก่อวิชชา

ดังนั้น ถ้าจะกำจัดความชั่วร้ายให้สิ้นเชิง ก็จะต้องกำจัดให้ถึงอวิชชา



:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 พ.ย. 2009, 20:50, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2009, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




kapook_42977.gif
kapook_42977.gif [ 6.69 KiB | เปิดดู 2032 ครั้ง ]
วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ


วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ก็คือการนำเอาโยนิโสมนสิการมาใช้ในทางปฏิบัติ

หรือ โยนิโสมนสิการที่เป็นภาคปฏิบัติการ

วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ หรือ เรียกสั้นๆว่า วิธีโยนิโสมนสิการนี้ แม้จะมีหลายอย่างหลายวิธี

แต่เมื่อว่า

โดยหลักการ ก็มี ๒ แบบ คือ

โยนิโสมนสิการที่มุ่งสกัดหรือกำจัดอวิชชาโดยตรง

และ

โยนิโสมนสิการที่มุ่งเพื่อสกัดหรือบรรเทาตัณหา

โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรง ตามปกติเป็นแบบที่ต้องใช้ในการปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุด

เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรัสรู้


ส่วนโยนิโสมนสิการที่มุ่งเพื่อสกัดหรือบรรเทาตัณหา มักใช้เป็นข้อปฏิบัติขั้นต้นๆ ซึ่งมุ่งเตรียมพื้น

ฐานหรือพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรมให้เป็นผู้พร้อมสำหรับการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไป เพราะเป็นเพียงขั้น

ขัดเกลากิเลส

แต่โยนิโสมนสิการหลายวิธีใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองอย่าง คือ ทั้งกำจัดอวิชชา และบรรเทาตัณหา

ไปพร้อมกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 11:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2009, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีคิด หรือ โยนิโสมนสิการ ที่พบในบาลีพอประมวลเป็นแบบใหญ่ๆ ได้ 10 นี้

1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา
4. วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือ คิดแบบแก้ปัญหา
5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์
6. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก
7. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม
8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม
9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาทะ

ใน ๑๐ แบบดังกล่าว ลงไว้แล้ว ๕ แบบแล้ว คือ แบบที่ ๑-๔, ๘ ที่ ๓ ลิงค์นี้

แบบที่ ๑-๒ :b41: :b41:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19048

แบบที่ ๓-๔ :b41: :b41:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19034

แบบที่ ๘ :b41: :b41:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=18984

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2009, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:03
โพสต์: 111


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ :b8: ขออนุโมทนาด้วยคน

ตอนแรกอ่านยังงงๆอยู่ ต้องค่อยๆตามอ่านมาช้าๆเรื่อยๆ

จริงอย่างทีว่า กัลยานมิตรไม่สามารถทำให้เกิดโยนิโสมนสิการได้
ต้องเกิดจากการคิดพิจารณากันเอง กัลยานมิตรทำได้แค่เพียงชี้ช่องทาง แนะนำ

ถ้าจะเอาตามภาษาที่ใช้กันบ่อยๆช่วงนี้ โยนิโสมนสิการ จะหมายถึง คิดบวก จะได้มั้ยคะ
แบบจะลองหาคำให้เข้าใจง่ายขึ้นมาอีกหน่อย แต่มันต้องเป็นไปตามความเป็นจริงด้วย ตรงนี้แหละยากจัง :b23:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร