วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 19:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2009, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m207409.jpg
m207409.jpg [ 95.3 KiB | เปิดดู 1328 ครั้ง ]
ในการปฏิบัติต่อจิตของตนที่เป็นไปต่างๆ ท่านก็ให้นำโพชฌงค์มาใช้ด้วย และหลักการในเรื่องนี้

สามารถนำมาใช้ในการประคับประคองจิตที่ยังใหม่ต่อสมาธิให้มีสมาธิกล้าแข็งยิ่งขึ้น (วิสุทธิ.1/169)

ขอยกพุทธพจน์มาเพื่อพิจารณา ดังนี้


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:



“ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มีใช่กาลสำหรับเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...

สมาธิสัมโพชฌงค์...อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะว่าจิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ฟื้นขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น

เปรียบเหมือนว่า บุรุษต้องการจะโหมไฟกองเล็กให้ลุกโพลง

เขาใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สดลงไป สาดน้ำเข้าไป และโรยฝุ่นลงไปในไฟนั้น

บุรุษนั้นจะสามารถโหมไฟกองเล็กให้ลุกโพลงขึ้นได้ หรือไม่ ? (ตอบ ไม่ได้ เลย)

สมัยที่จิตหดหู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน...



“สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลสำหรับเจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์...วิริยสัมโพชฌงค์...

ปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะว่า จิตที่หดหู่นั้น ปลุกให้ฟื้นขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น

เปรียบเหมือนว่า บุรุษต้องการจะโหมไฟกองเล็กให้ลุกโพลง เขาใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง

ลงไป เป่าลมเข้า และไม่โรยฝุ่นลงในไฟนั้น

บุรุษนั้น จะสามารถโหมไฟกองเล็ก ให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือไม่

(ตอบ ... ได้อย่างนั้น )

สมัยที่จิตหดหู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน...

“ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลสำหรับเจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์...

วิริยสัมโพชฌงค์...ปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะว่า จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น

เปรียบเหมือนว่า บุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง

ลงไป เป่าลมเข้า และไม่โรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับไฟกองใหญ่ได้หรือไม่ ?

(ตอบ ... ไม่ได้เลย)

สมัยที่จิตฟุ้งซ่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน...


“สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลสำหรับเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...สมาธิสัมโพชฌงค์...

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะว่า จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้โดยง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น

เปรียบเหมือนว่า บุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สดลงไป

สาดน้ำเข้าไป และโรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับไฟกองใหญ่ได้หรือไม่ ?

(ตอบ ... ได้อย่างนั้น)

สมัยที่จิตฟุ้งซ่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน...


“ส่วนสติ เรากล่าวว่ามีประโยชน์ในทุกกรณี”


(สํ.ม. 19/569-572/156-8)


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

โพชฌงค์ ๗ ในบาลีท่านแสดงเป็นความหมายของภาวนาปธาน คือ

ความเพียรในการทำให้เกิดกุศลธรรม (ที.ปา.11/238/238 ฯลฯ)

และเป็นยอดของปธานทั้งหลาย - (ที.ปา.11/81/115)

เป็นภาวนาพละ- (องฺ.ติก.20/258/67)

เป็นวิธีกำจัดอาสวะด้วยภาวนา -(ม.มู.12/18/19ฯลฯ)

เป็นกรรมชนิดไม่ดำไม่ขาว ซึ่งเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม -(องฺ.จตุกฺก.21/238/322)

เป็นอปริหานิยธรรม คือธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญถ่ายเดียว ไม่มีเสื่อมเลย (ที.ม.10/78/93ฯลฯ)

และเป็นมรรคให้ถึงอสังขตะ คือ นิพพาน เช่นเดียวกับโพธิปักขิยธรรมอย่างอื่นๆ*

(สํ.สฬ.18/715/449)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

* พึงสังเกตว่า เฉพาะธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ ท่านถือเป็นความหมายหนึ่งของสัมมาทิฐิ

ที่เป็นโลกุตระ

(ม.อุ.14/258/181) และเป็นโพธิ (ขุ.ม.29/691/558)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 16:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

:b47: ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ
ศิษย์พยายามอ่านและทำความเข้าใจ เพราะว่า
ค่อนข้างละเอียด เข้าใจว่าการอ่านผ่านตัวหนัง
สือจะไม่เกิดปัญญา ต้องพิจารณาโดยแยบคาย
แต่ศิษย์รู้สึกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์สังวรศีล นี่เป็น
สิ่งที่สำคัญ ที่ควรเจริญและอบรมให้มาก ๆ

:b47: ช่วงนี้ศิษย์รู้สึกว่าจิต หดหู่บ่อยมาก
เหมือนว่าเดี๋ยวหาย เดี๋ยวเป็น ไม่ทราบเป็น
เพราะอะไร แต่ก็ใช้วิธีเจริญสติรู้อาการของจิต
อยู่ค่ะ บางครั้งไม่ทันก็ไหลไปเลย และก็สังเกตุ
เห็นว่ามันรักษาให้จิตดีไม่ได้ เหมือนว่าเป็นขณะๆ


:b8: กราบขอบคุณมาด้วยความเคารพยิ่ง

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ช่วงนี้ศิษย์รู้สึกว่าจิต หดหู่บ่อยมาก
เหมือนว่าเดี๋ยวหาย เดี๋ยวเป็น ไม่ทราบเป็น
เพราะอะไร



รู้สึกหดหู่เป็นลักษณะของนิวรณ์ธรรม
ว่าเดี๋ยวหาย เดี๋ยวเป็น นั่นล่ะคือการเกิดๆดับๆของมัน

หากความรู้สึกนั้นเกิดแล้วไม่ดับ จิตก็จะหดหู่ทั้งปีทั้งชาติ หรือหากจิตไม่เคยหดหู่เลย เราก็จะไม่รู้จัก
ความหดหู่ ไม่รู้จักกิเลส เมื่อไม่รู้จักกิเลส คือความหดหู่ท้อแท้แล้ว เราก็ไม่รู้จักความไร้กิเลส

เปลี่ยนความคิดใหม่ว่า ความรู้สึกนึกคิดทั้งดีไม่ดี พอใจ ไม่พอใจ ว่าคือสิ่งหรือธรรมชาติที่เราควรรู้จัก
รู้นั่นแหละคือวิชชา หากไม่รู้ก็เป็นอวิชชา กำหนดรู้ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งสุขทั้งทุกข์ นั่นคือวิชชา หากเรื่อยๆเฉยๆ นั่นลักษณะของอวิชชาครับ


อ้างคำพูด:
แต่ก็ใช้วิธีเจริญสติรู้อาการของจิต
อยู่ค่ะ บางครั้งไม่ทันก็ไหลไปเลย และก็สังเกต
เห็นว่า มันรักษาให้จิตดีไม่ได้ เหมือนว่าเป็นขณะๆ



ดังกล่าวข้างบน น่าปรารถนาไม่น่าปรารถนา กำหนดรู้ตามที่มันเป็น ธรรมชาติเป็นอย่างไรก็อย่างนั้น ไม่ฝืน ทุกข์ก็ทุกข์สุขก็สุข ฝืนเมื่อไหร่ทุกข์ทันที

เคยแนะวิธีให้ว่า เมื่อเกิดความคิด กำหนดตามอาการกระแสความคิดจะเปลี่ยน นึกออกไหมครับ
ระยะนี้คุณดูเฉยๆเรื่อยๆ ยังไม่เหมาะ เพราะอะไร ? เพราะกำลังของกุศลไม่แรงพอ ก็จึงไหลไปตามกิเลส

ระยะเริ่มต้นควรบริกรรมความคิดตามความรู้สึกด้วย รู้สึกอย่างไรบริกรรมอย่างนั้น จับความคิดนั้นกรรมฐาน ทำให้เป็นที่เจริญสติสัมปชัญญะเสีย (กาย เวทนา จิต ธรรม= สติปัฏฐาน ที่ตั้งแห่งติ หรือเป็นกรรมฐาน คือเป็นที่ทำงานของจิต)
ปฏิบัติทำนองนั้นแหละบ่อยๆ เนื่องๆ ไว้วันหนึ่ง แลเห็นชอบใจไม่ชอบใจทั้งมวล มีค่าเท่ากันคือเกิดดับ ๆ
จิตจะคลายการยึดมั่นเองตามเหตุปัจจัยของมัน

ทำความเข้าใจสติปัฏฐานอีกครั้งครับ ค่อยๆอ่าน

viewtopic.php?f=2&t=21861

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2009, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

:b47: ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ ศิษย์พอจะ
เข้าใจแล้วค่ะ จิตที่หดหู่เป็นเพียงสภาวะธรรมอันหนึ่ง
ที่เป็นอยู่นี่แสดงว่าศิษย์ไม่ยอมรับ และก็เป็นทุกข์อยู่
เพราะอาการของใจไม่เป็นกลาง มองไม่เห็นความจริง
โดนมายากิเลสหลอกอีก เพราะการมีตัวตนไปรองรับ

:b47: จำได้ค่ะที่อาจารย์ได้อธิบายไว้ให้ แต่พอถึงเวลา
เอาเข้าจริง บางครั้งปัญญามันดับค่ะ ช่วยไม่ได้จริง ๆ
ไม่ทัน กิเลสยึดครองพื้นที่รวดเร็ว มาแบบเป็นกองทัพ
แสดงว่าการปฏิบัติย่อหย่อนอย่างที่อาจารย์บอกจริง ๆ
แรงของกุศลไม่พอ ศิษย์จะค่อย ๆ อ่านทบทวนและ
ทำความเข้าใจอีกครั้ง เรื่องสติปัฏฐานสี่

:b8: :b8: :b8:
:b47: กราบเรียนมาด้วยความเคารพยิ่ง

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร