วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 03:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
boom_manman เขียน:
แล้วมันแปลว่าอะไรหล่ะ :b28:


ไม่เข้าใจครับ อะไรแปลว่าอะไร ถามอะไรครับ :b1:

ก็คำนี้ไงหล่ะ โสตาปัตติยังคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


boom_manman เขียน:
กรัชกาย เขียน:
boom_manman เขียน:
แล้วมันแปลว่าอะไรหล่ะ :b28:


ไม่เข้าใจครับ อะไรแปลว่าอะไร ถามอะไรครับ :b1:

ก็คำนี้ไงหล่ะ โสตาปัตติยังคะ


อ้อ..
นึกว่าถามเกี่ยวกับการเมือง :b1:
นี้กระทู้ที่สองแล้ว คุณเริ่มอ่านตั้งแต่กระทู้แรกมาสิครับ จะเห็นคำแปล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค แสดงอกุศลธรรม ฝ่ายตรงข้ามที่อินทรีย์ 5

จะกำจัด เป็นคู่ๆ ดังนี้ (ขุ.ปฏิ.31/425/302 ; 452/332)



1. ศรัทธา เป็นใหญ่ในหน้าที่น้อมใจดิ่งหรือมุ่งไปเด็ดเดี่ยว กำจัดอกุศล คือ ความไม่เชื่อถือ

2. วิริยะ เป็นใหญ่ในหน้าที่ประคองหรือคอยยกจิตไว้ กำจัดอกุศล คือความเกียจคร้าน

3. สติ เป็นใหญ่ในหน้าที่คอยคุ้มหรือดูแลจิต กำจัดอกุศลคือความประมาท

4. สมาธิ เป็นใหญ่ในหน้าที่ทำจิตไม่ให้ซ่านส่าย กำจัดอกุศลคืออุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

5. ปัญญา เป็นใหญ่ในหน้าที่ดูเห็นตามสภาวะ กำจัดอกุศลคืออวิชชา


คัมภีร์วิสุทธิมรรค (1/164-5) กล่าวถึงความสำคัญของการปรับอินทรีย์ทั้งหลายให้เสมอกัน

โดยย้ำว่า ถ้าอินทรีย์อย่างหนึ่งอย่างใดแรงกล้าเกินไป และ อินทรีย์อื่นอ่อนอยู่ อินทรีย์อื่นเหล่านั้น

ก็จะเสีย

ความสามารถในการทำหน้าที่ของตน เช่น

ถ้าศรัทธาแรงไป วิริยะก็ทำหน้าที่ยกจิตไม่ได้ สติก็ไม่สามารถดูแลจิต

สมาธิก็ไม่สามารถทำจิตให้แน่ว ปัญญาก็ไม่สามารถเห็นตามเป็นจริง

ตามหลักทั่วไป ท่านให้ปรับอินทรีย์เสมอกันเป็นคู่ๆ คือ

ให้ศรัทธาสม หรือเสมอกับปัญญา

และ

ให้สมาธิสม หรือ เสมอกับวิริยะ (สมาธิ+วิริยะ)

ถ้าศรัทธากล้า ปัญญาอ่อน ก็อาจเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่น่าเลื่อมใส

ถ้าปัญญากล้า ศรัทธาอ่อน ก็จะเอียงไปข้างอวดดีเป็นคนแก้ไขไม่ได้เหมือนโรคเกิดจากยาเสียเอง

ถ้าสมาธิกล้าวิริยะอ่อน ความเกียจคร้านก็เข้าครอบงำ เพราะสมาธิเข้าพวกกันได้กับโกสัชชะ

(ความเกียจคร้าน)

แต่ถ้าวิริยะแรง สมาธิอ่อน ก็เกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ เพราะวิริยะเข้าพวกกันได้กับอุทธัจจะ

เมื่ออินทรีย์ 2 คู่นี้ เสมอกันดี การปฏิบัติธรรมก็เดินหน้าได้ผลดี

ส่วนสติ เป็นข้อยกเว้น ท่านว่ายิ่งสติมีกำลังก็ยิ่งดี มีแต่จะช่วยองค์ธรรมข้ออื่นๆได้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษา

จิตไม่ให้ตกไปทั้งข้างอุทธัจจะและข้างโกสัชชะ

การยกจิต ข่มจิต ต้องอาศัยสติทั้งนั้น ท่านอ้างพุทธพจน์ที่ว่า สติมีประโยชน์ต้องใช้ทุกที่ทุกกรณี-

(พุทธพจน์นี้อยู่ในตอนว่า ด้วยโพชฌงค์ สํ.ม.19/572/158) และ สติเป็นที่พึ่งที่อาศัยของใจ

(สํ.ม. 19/969/289)


เมื่ออินทรีย์บางอย่างแรงไป บางอย่างอ่อนไป ตามปกติต้องแก้ด้วยการเจริญโพชฌงค์

ข้อที่ตรงเรื่องกัน เช่น วิริยะแรงไป แก้ให้ลดลงด้วยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น

จักกล่าวตอนว่า ด้วยโพชฌงค์ *


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


* เรื่องการปรับอินทรีย์ให้เสมอกันนี้ ท่านตั้งเค้าจากพุทธพจน์ว่า ให้ตระหนักชัดถึงความเสมอกัน

แห่งอินทรีย์ที่ วินย.5/2/7; องฺ.ฉกฺก.22/326/320)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 11:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




avatar1957vd8.gif
avatar1957vd8.gif [ 40.21 KiB | เปิดดู 2798 ครั้ง ]
ตามหลักทั่วไปที่กล่าวแล้วนั้น บุคคลต้องฝึกอบรมอินทรีย์ครบทั้ง ๕ จึงจะปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้[

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 11:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m209111.jpg
m209111.jpg [ 91.17 KiB | เปิดดู 2797 ครั้ง ]
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีกรณียกเว้น ซึ่งไม่ต้องฝึกอบรมอินทรีย์ครบทั้งหมด

จะฝึกอบรมเฉพาะอินทรีย์ที่จำเป็นหรือจำเป็นที่สุด กรณีเช่นนี้เป็นไปได้

ดังมีพุทธพจน์ยืนยันอยู่ เฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติเพื่อหยั่งรู้สัจธรรม

อันเป็นจุดหมายสูงสุด การฝึกอบรมอินทรีย์เพียง ๔ อย่างเป็นไปได้ และในกรณีนั้น

ศรัทธาเป็นอินทรีย์ที่อาจเว้นเสีย ไม่ฝึกอบรมมาอีกก็ได้

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งอินทรีย์ ๔ อย่าง

ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้...อินทรีย์ ๔ อย่างไหน ?

ได้แก่ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์”


(สํ.ม.19/996-8/295)


อินทรีย์ต่อไปที่อาจขาดได้ในการฝึกอบรมคือ วิริยะ ดังนี้



“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งอินทรีย์ ๓ อย่าง

ภิกษุชื่อปิณโฑลภารัทวาช ได้พยากรณ์อรหัตผลแล้ว...อินทรีย์ ๓ อย่างไหน ?

ได้แก่ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์”


(สํ.ม.19/1003-9/296-7)



ถ้าจำเป็นต้องลดลงอีก ข้อที่ลดหายไปไม่ต้องอบรมคือ สติ ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งอินทรีย์ ๒ อย่าง

ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ ...อินทรีย์ ๒ อย่างไหน ?

ได้แก่ อริยปัญญา และอริยวิมุตติ

อริยปัญญาของภิกษุนั้นนั่นแหละ เป็นปัญญินทรีย์ของเธอ อริยวิมุตติของภิกษุนั้นนั่นแหละ

เป็นสมาธินทรีย์ของเธอ”


(สํ.ม.19/991-5/294)

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ข้อสุดท้าย อินทรีย์ที่จำเป็นที่สุด ซึ่งไม่อาจเว้นการฝึกอบรมได้เลย และแม้มีอย่างเดียว

แต่ถ้ามีคุณภาพพอ ก็ให้บรรลุผลที่หมายของพุทธศาสนาได้ อินทรีย์นี้ คือ ปัญญา

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ซึ่งอินทรีย์ ๑ เดียว

ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้...อินทรีย์ ๑ เดียว อย่างไหน ?

ได้แก่ ปัญญินทรีย์”


(สํ.ม.19/987-9/293)


ที่ว่า ฝึกอบรมเฉพาะอินทรีย์ที่จำเป็นเพียง ๔ หรือ ๓ หรือ ๒ หรือ ๑ นี้

มิได้หมายความว่า ไม่ต้องมีอินทรีย์ ที่ไม่มีชื่ออยู่ด้วยเสียเลยทีเดียว

ความจริง ก็ยังมีและใช้อินทรีย์ครบทั้งหมด แต่อินทรีย์เหล่านั้น

เป็นเพียงตัวแอบอิง พลอยเกิดตามเจริญตามอินทรีย์ตัวยืนที่จำเป็น และมีอยู่พอเท่าที่

จะต้องใช้ประโยชน์ ไม่ต้องตั้งใจฝึกอบรมให้เด่นขึ้นมา


ดังตัวอย่างพุทธพจน์ตรัสถึงปัญญาว่า

“สำหรับอริยสาวกผู้มีปัญญา ศรัทธาอันเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้

วิริยะ อันเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้

สติ อันเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้

สมาธิ อันเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้

(สํ.ม.19/987-9/293)


กรณียกเว้นเช่นนี้ ย่อมสมควรเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ที่มีความสามารถพิเศษบางคน

สำหรับคนทั่วไป ย่อมสมควรปฏิบัติตามหลักทั่วไปข้างต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 11:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธพจน์แสดงความสำคัญของปัญญินทรีย์ ซึ่งควรยกมาอ้างไว้อีกเป็นตัวอย่าง

เพื่อย้ำฐานะของปัญญา

ในพระพุทธศาสนา หรือให้เห็นท่าทีของพุทธศาสนาต่อปัญญา


“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าหนึ่งเหล่าใดก็ตามบรรดามี พญาสีหมฤคราช

ชาวโลกกล่าวว่าเป็นยอดแห่งสัตว์เหล่านั้น โดยความแข็งแรง โดยความรวดเร็ว

โดยความกล้าหาญ ฉันใด

โพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เข้าข้างหรือช่วยอุดหนุนการตรัสรู้) เหล่าหนึ่งเหล่าใดก็ตามบรรดามี

ปัญญินทรีย์ก็เรียกว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ในข้อที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ (โพธะ) ฉันนั้น” *

(สํ.ม.19/1024/301)


“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกุฎาคาร (เรือนชั้นมียอด) เมื่อเขายังมิได้ยกยอดขึ้นเพียงใด

กลอนเรือนก็ยังไม่ตั้งได้ที่ ยังไม่มั่นลงได้เพียงนั้น

เมื่อใดเขายกยอดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น กลอนเรือนจึงจะตั้งได้ที่ จึงจะมั่นลงได้ ฉันใด

อริยญาณ ยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งได้ที่ ยังไม่มั่นลงได้เพียงนั้น

เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ จึงจะตั้งได้ที่ จึงจะมั่นลงได้ ฉันนั้น

เหมือนกัน

อินทรีย์ ๔ อย่างไหน ?

ได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ และสมาธินทรีย์

สำหรับสาวกผู้มีปัญญา ศรัทธา...วิริยะ...สติ...สมาธิ ซึ่งเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น

ย่อมทรงตัวได้ที่”


(สํ.ม.19/1028-9/302)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 11:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208749.gif
m208749.gif [ 23.74 KiB | เปิดดู 2795 ครั้ง ]
(หน้านี้ขยายความ คห.ข้างบนที่มีเครื่องหมาย *)

* โพธิปักขิยธรรมในที่นี้ หมายถึงอินทรีย์ ๕ .....ยังมีข้ออุปมาอื่นๆอีกทำนองนี้หลายอย่าง

เช่น เปรียบเหมือนรอยเท้าช้างเป็นยอดของรอยเท้าสัตว์บก,

เหมือนจันทร์แดง เป็นยอดของไม้แก่นหอม, เหมือนต้นหว้า, ต้นปริฉัตตก์, ต้นแคฝอย,

ต้นโกฏิสิมพลี - ดู สํ.ม. 19/1038-1043/305-6 ; 1070-1081/313-5

คัมภีร์รุ่นหลังแห่งหนึ่ง กล่าวความสำคัญของปัญญาไว้อย่างไพเราะว่า

แท้จริงในบรรดาธรรมทั้งหลายที่ช่วยให้บรรลุนิพพาน ปัญญานี่แหละประเสริฐสุด

ธรรมที่เหลือย่อมเป็นบริวารของปัญญานั้น

(มงฺคล.1/152)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 11:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕ กล่าวแล้ว
ต่อไปโพชฌงค์ ๗ เช่น


สนามปฏิบัติการทางปัญญา


คำว่า สนามปฏิบัติการทางปัญญาในที่นี้ หมายถึงหลักธรรมชุดที่เรียกว่า โพชฌงค์

โพชฌงค์ เป็นทั้งธรรมเกื้อหนุนในการเจริญสมาธิ และเป็นที่ใช้สมาธิเพื่อประโยชน์ที่สูงขึ้นไป

จนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ วิชชา และ วิมุตติ

โพชฌงค์ มี ๗ ข้อ คือ สติ ธรรมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา

มีพุทธพจน์จำกัดความหมายของโพชฌงค์ ไว้สั้นๆ ว่า

“เพราะเป็นไปเพื่อโพธะ (ความตรัสรู้) ฉะนั้นจึงเรียกว่า โพชฌงค์”


(สํ.ม.19/390/104; 435/120)


ว่าโดยหลักการ โพชฌงค์เป็นธรรมฝ่ายตรงข้ามกับนิวรณ์ ๕ จะเห็นได้ว่า

พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องโพชฌงค์ไว้ควบคู่ไปด้วยกันกับนิวรณ์เป็นส่วนมาก

โดยฐานทำหน้าที่ตรงข้ามกัน -(ดู สํ.ม.19/463-640/129-178 ฯลฯ)

นิวรณ์เป็นสิ่งที่ทำลายคุณภาพจิต หรือทำให้จิตเสียคุณภาพ

ส่วนโพชฌงค์ ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามก็เป็นธรรมที่ส่งเสริมคุณภาพจิต และช่วยให้มีสุขภาพจิตดี

เป็นเครื่องบำรุงและวัดสุขภาพจิต

ในคำบรรยายคุณลักษณะต่างๆ ของโพชฌงค์ ก็เป็นข้อความตรงข้ามกับคำบรรยายลักษณะ

ของนิวรณ์นั่นเอง เช่น

“ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องปิดกั้น ไม่เป็นนิวรณ์

ไม่เป็นอุปกิเลสแห่งจิต เมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล

คือ วิชชา และ วิมุตติ”


(สํ.ม.19/478/131 ฯลฯ)


“ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ

ส่งเสริมความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นข้างความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน”


(สํ.ม.19/502/137)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 15:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพชฌงค์ ๗ มีความหมายรายละเอียดรายข้อดังนี้



๑. สติ ความระลึกได้ หมายถึง ความสามารถทวนระลึกนึกถึง หรือ คุมจิตไว้กับสิ่ง

ที่จะพึงเกี่ยวข้อง หรือ ต้องใช้ต้องทำในเวลานั้น


ในโพชฌงค์นี้ สติมีความหมายคลุม ตั้งแต่การมีสติกำกับตัว

ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังกำหนดพิจารณาเฉพาะหน้า- (ได้แก่ สติในการเจริญสติปัฏฐานทั่วๆ ไป -

ดู ม.อุ.14/290/198;สํ.ม.19/1387/420)

จนถึงการหวนระลึกรวบรวมเอาธรรมที่ได้สดับเล่าเรียนแล้ว หรือ สิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องต้องใช้ต้องทำ

มานำเสนอต่อปัญญาที่ตรวจตรองพิจารณา

(สํ.ม. 19/374/99)


๒.ธรรมวิจัย ความเฟ้นธรรม หมายถึง การใช้ปัญญาสอบสวนพิจารณาสิ่งที่สติกำหนดไว้

หรือ ธรรมที่สติระลึกรวมมานำเสนอนั้น ตามสภาวะ เช่น

ไตร่ตรองให้เข้าใจความหมาย จับสาระของสิ่งที่พิจารณานั้นได้ตรวจตราเลือกเฟ้นเอาธรรม

หรือสิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ หรือสิ่งที่ใช้ได้เหมาะดีที่สุดในกรณีนั้นๆ หรือ มองเห็นอาการที่สิ่ง

ที่พิจารณานั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เข้าใจตามสภาวะที่เป็นไตรลักษณ์

ตลอดจนปัญญาที่มองเห็นอริยสัจ

(ม.อ.3/552 และ สํ.อ.3/385)


๓. วิริยะ ความเพียร หมายถึงความแกล้วกล้า เข้มแข็ง กระตือรือร้นในธรรมหรือสิ่งที่

ปัญญาเฟ้นได้ อาจหาญในความดี มีกำลังใจ สู้กิจ บากบั่น รุดไปข้างหน้า

ยกจิตไว้ได้ไม่ให้หดหู่ ถดถอยหรือท้อแท้


๔. ปีติ ความอิ่มใจ หมายถึงความเอิบอิ่ม ปลาบปลื้ม ปรีย์เปรม ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง แช่มชื่น

ซาบซ่านฟูใจ


๕. ปัสสัทธิ ความสงบกายใจ หมายถึงความผ่อนคลายกายใจ สงบระงับ เรียบเย็น

ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย เบาสบาย


๖. สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น หมายถึงความมีอารมณ์หนึ่งเดียว จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด

ทรงตัวสม่ำเสมอ เดินเรียบ อยู่กับกิจ ไม่วอกแวก ไม่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน


๗. อุเบกขา ความวางทีเฉยดู หมายถึงความมีใจเป็นกลาง

สามารถวางทีเฉยเรียบนิ่งดูไป ในเมื่อจิตแน่วแน่อยู่กับงานแล้ว และสิ่งต่างๆดำเนินไปด้วยดี

ตามแนวทางที่จัดวางไว้หรือที่มันควรจะเป็น ไม่สอดแส่ ไม่แทรกแซง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 15:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2009, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m209058.jpg
m209058.jpg [ 109.48 KiB | เปิดดู 2790 ครั้ง ]
ท่านกล่าวถึงอาหารและอนาหารของโพชฌงค์


อาหาร คือ เครื่องหล่อเลี้ยงกระตุ้นเสริม ซึ่งทำให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น

ที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญไพบูลย์


อนาหาร ได้แก่ สิ่งที่ไม่หล่อเลี้ยง ไม่กระตุ้นเสริม


อาหารของโพชฌงค์ ได้แก่ โยนิโสมนสิการ

อนาหารได้แก่การขาดมนสิการ

อาหารและอนาหารของโพชฌงค์ ๗ มีดังนี้

๑. สติ มีอาหาร คือ โยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ

๒. ธรรมวิจัย มีอาหาร คือ โยนิโสมนสิการในธรรมที่เป็นกุศลอกุศล มีโทษไม่มีโทษ

๓. วิริยะ มีอาหาร คือ โยนิโสมนสิการในความริเริ่ม ความก้าวหน้า บากบั่น

๔. ปีติ มีอาหาร คือ โยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งปีติ

๕. ปัสสัทธิ มีอาหาร คือ โยนิโสมนสิการในกายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิ

๖. สมาธิ มีอาหาร คือ โยนิโสมนสิการในสมาธินิมิต ในสิ่งที่ไม่ทำให้ใจพร่าสับสน

๗. อุเบกขา มีอาหาร คือ โยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา


อนาหาของโพชฌงค์ ก็ คือ การขาดมนสิการในสิ่งที่จะทำให้เกิดโพชฌงค์ข้อนั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 15:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2009, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




3927.jpg
3927.jpg [ 31.42 KiB | เปิดดู 2789 ครั้ง ]
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ ก็คือธรรมที่เป็นอารมณ์ของสติ อรรถกถาแห่งนึ่งว่า ได้แก่

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และโลกุตรธรรม ๙ (สํ.อ.3/223)

แต่ถ้ามองอย่างกว้างๆ ก็คือ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง


คัมภีร์วิสุทธิมรรคและสัมโมหวิโนทนี (1/166-171; วิภงฺค.อ.360-374)

แสดงธรรมที่ช่วยให้เกิดสติ อีก ๔ อย่าง คือ สติสัมปชัญญะ หลีกเว้นคนสติเลอะเลือน

คบหาคนที่มีสติกำกับตัวดี และทำใจให้น้อมไปในสติสัมโพชฌงค์


ธรรมที่ช่วยให้เกิดธรรมวิจัย ท่านแสดงไว้อีก ๗ อย่างคือ

ความเป็นนักไต่ถามสอบค้น

การทำสิ่งต่างๆให้หมดจดสดใส*

การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน

การหลีกเว้นคนปัญญาทราม

การเสวนาคนมีปัญญา

การพิจารณาเรื่องที่ต้องใช้ปรีชาลึกซึ้ง

ความน้อมใจไปในการวิจัยธรรม


(* ทำสิ่งต่างๆให้สดใส หรือให้หมดจดสละสลวย เช่น ผม ขน เล็บ ตัดให้เรียบร้อย

ร่างกายอาบน้ำให้สะอาด ผ้านุ่งห่มซักให้สะอาดไม่เหม็นสาบเปรอะเปื้อน ที่อยู่ไม่ให้รกรุงรัง

เป็นต้น)



ธรรมที่ช่วยให้เกิดวิริยะ ท่านแสดงไว้อีก ๑๑ อย่างคือ

การพิจารณาเห็นภัยต่างๆ เช่นภัยอบาย เป็นต้น (คอยปลุกใจว่า ถ้าไม่พยายาม จะประสบภัย

อันตรายอย่างนั้นอย่างนี้)

การมองเห็นอานสิสงส์ว่า เพียรพยายามไปแล้วจะได้ประสบผลวิเศษที่เป็นโลกิยะและโลกุตระอย่าง

นั้นๆ

การพิจารณาวิถีแห่งกรปฏิบัติว่า เป็นทางดำเนินของบุคคลยิ่งใหญ่อย่างพระพุทธเจ้าและมหาสาวก

เป็นต้น เมื่อเราจะดำเนินทางนั้น มัวเกียจคร้านอยู่ไปไม่สำเร็จแน่

ความเคารพในอาหารบิณฑบาตว่า เราจะทำให้เกิดผลมากแก่ทายกทั้งหลาย

การพิจารณาความยิ่งใหญ่ของพระศาสดาว่า พระองค์สรรเสริญความเพียร เราควรบูชาอุปการ

ของพระองค์ด้วยปฏิบัติบูชา

การพิจารณาภาวะที่ตนควรทำตัวให้สมกับการที่จะได้รับมรดกคือสัทธรรมอันยิ่งใหญ่

การบรรเทาถีนมิทธะด้วยวิธีต่างๆ เช่น เปลี่ยนอิริยาบถ และทำอาโลกสัญญาเป็นต้น

หลีกเว้นคนเกียจคร้าน คบหาคนขยัน พิจารณาสัมมัปปธาน และทำใจให้น้อมไปในวิริยะ



ธรรมที่ช่วยให้เกิดปีติ ท่านแสดงไว้อีก ๑๑ อย่างคือ

ระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

ระลึกถึงศีล ศีล คือ ความประพฤติดีงามของตน

การพิจารณาหรือเสียสละที่ตนได้ทำ ระลึกถึงเทวดาและเทวธรรม ระลึกถึงภาวะสงบคือนิพพาน

หลีกเว้นคนมัวซัวหมองเศร้า เสวนาคนแจ่มใส พิจารณาพระสูตรที่ชวนเลื่อมใส

และทำใจให้น้อมไปในปีติ


ธรรมที่ช่วยให้เกิดปัสสัทธิ ท่านแสดงไว้อีก ๗ อย่างคือ

เสพโภชนะอันประณีต เสพบรรยากาศที่สุขสบาย เสพอิริยาบถที่สุขสบาย

ประกอบความเพียรพอปานกลาง หลีกเว้นคนลักษณะเครียดกระสับกระส่าย

เสวนาคนลักษณะผ่อนคลายสงบ ทำใจให้น้อมไปในปัสสัทธิ


ธรรมที่ช่วยให้เกิดสมาธิ ท่านแสดงไว้อีก ๑๑ อย่างคือ

ทำสิ่งต่างๆให้หมดจดสดใส ฉลาดในนิมิต

ปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน

ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม

ยกจิตในเวลาที่ควรยก เมื่อใจไม่สุขสดชื่นก็ทำให้ร่าเริงด้วยศรัทธาและสังเวช *

เมื่อจิตดำเนินไปถูกต้องดีแล้ว ก็วางทีเฉยคอยดู (อุเบกขา)

หลีกเว้นคนใจไม่เป็นสมาธิ

เสวนาคนมีใจเป็นสมาธิ

พิจารณาฌานวิโมกข์

ทำใจให้น้อมไปในสมาธิ


(* คำว่า สังเวช ไม่พึงเข้าใจว่าสลดหดหู่ แต่หมายถึงการกลับได้คิด หรือเกิดแรงดลใจ

ที่จะเร่งทำสิ่งดีงาม (ตรงกับคำว่า สมุตเตชนะ ซึ่งแปลว่า เร้าให้กล้า

ตรงข้ามกับคำว่าหงอยก๋อย เช่น วิสุทธิ.3/299)



ธรรมที่ช่วยให้เกิดอุเบกขา ท่านแสดงไว้อีก ๕ อย่างคือ

วางใจเป็นกลางในสัตว์ (ทั้งพระทั้งชาวบ้าน)

วางใจเป็นกลางในสังขาร (ทั้งอวัยวะในตัวและข้าวของ)

หลีกเว้นบุคคลที่ห่วงหวงสัตว์และสังขาร

คบหาคนที่มีใจเป็นกลางในสัตว์และสังขาร

ทำใจให้น้อมไปในอุเบกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 16:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2009, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพชฌงค์ ๗ ข้อนั้น ส่งผลต่อเนื่อง ดังตัวอย่างการปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้-

(สํ.ม.19/373-380/98-100 ... อรรถกถาว่า โพชฌงค์ ๗ ข้อในกรณีนี้ เป็นไปในขณะจิตเดียว

กัน--วิภงฺค.อ.408)




สรุปเป็นแนวความได้ว่า ภิกษุได้เล่าเรียนสดับธรรม หรือ คำสอนของท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณแล้ว

ปลีกกาย ปลีกใจ ได้โอกาสเหมาะ

๑. ยกเอาธรรมที่ได้สดับ หรือ สิ่งที่ได้ล่าเรียนนั้น ขึ้นมานึกทบทวน หวนระลึก จับเอามานึกคิด

เป็นอันได้เจริญสติสัมโพชฌงค์

๒. เมื่อมีสติระลึกนึกคิดอยู่อย่างนั้น ก็ใช้ปัญญาเลือกเฟ้น ไตร่ตรอง สอบสวนพิจารณาไปด้วย

เป็นอันได้เจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์

๓. เมื่อใช้ปัญญาเลือกเฟ้น ไตร่ตรอง สอบสวนพิจารณา ก็เป็นอันได้ใช้ความเพียร ยิ่งเลือกเฟ้น

เห็นความเข้าใจ ได้สาระคืบหน้าไป ก็ยิ่งมีกำลังใจ กระตือรือร้นแข็งขัน เพียรพยายาม

ไม่ย่นย่อ

เป็นอันได้เจริญวิริยสัมโพชฌงค์

๔. พร้อมกับที่ระดมความเพียร เอาจริงเอาจัง มีกำลังใจเข้มแข็งรุดหน้า ก็เกิดปีติที่เป็นนิรามิส

เป็นอันได้เจริญปีติสัมโพชฌงค์

๕. เมื่อได้ปีติ ทั้งกายทั้งใจย่อมผ่อนคลายสงบ เกิดกายปัสสัทธิ และจิตตปัสสัทธิ

เป็นอันได้เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. เมื่อกายผ่อนคลายสงบ มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ)

เป็นอันได้เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์

๗. เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่กับงานของมัน หรือทำกิจของมันได้ดีแล้ว ใจก็เรียบเข้าที่

เพียงแต่วางทีเฉยดูไปหรือนิ่งดูไปให้ดี เมื่อปฏิบัติเช่นนี้

ก็เป็นอันได้เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


บางทีพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักว่า สติปัฏฐาน ๔ เมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

โพชฌงค์ ๗ เมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์-

( ตามปกติ ตรัสต่อจากการเจริญอานาปาสนติสมาธิ ดู ม.อุ.14/287/193 ฯลฯ)




วิธีเจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ ยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ก็คือ

เมื่อมีกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา หรือธรรมนุปัสสนาอยู่ก็ดี ในเวลานั้น

บุคคลนั้นจะมีสติกำกับอยู่ไม่เลือนหลง

เมื่อมีสติอยู่อย่างนั้น ก็ใช้ปัญญาสอบสวน สืบค้นเลือกเฟ้นธรรม

ตามหลักของธรรมวิจัย

ต่อจากนั้น การปฏิบัติตามโพชฌงค์ข้ออื่นๆ ก็จะดำเนินไปตามลำดับอย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น

ช่วยนำไปสู่วิชชาและวิมุตติในที่สุด


แม้แต่ในเวลาฟังธรรม ถ้าตั้งจิต มนสิการ ทุ่มเทให้อย่างหมดใจ เงี่ยโสตลงสดับ

ในเวลานั้น นิวรณ์ ๕ ก็ไม่มี และโพชฌงค์ ๗ ก็เจริญเต็มบริบูรณ์ได้

(สํ.ม. 19/492-5/134-5)

โพชฌงค์ ๗ นี้ จะเจริญคือปฏิบัติพร้อมไปกับข้อปฏิบัติอื่นๆ ทั้งหลายก็ได้ เช่น

ปฏิบัติพร้อมไปกับอานาปานสติ พร้อมไปกับอัปปมัญญา หรือพรหมวิหาร ๔ และสัญญาต่างๆ

เช่น อนิจจสัญญา อสุภสัญญา วิราคสัญญา และนิโรธสัญญา เป็นต้น

และจะช่วยให้ข้อปฏิบัติเหล่านั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เพื่อความโปร่งปลอดรอดภัย

อย่างมาก เพื่อความสังเวช คือ ปลุกเร้าใจให้กระตือรือร้นในกุศลธรรมเป็นอย่างมาก

เพื่อผาสุวิหาร คือความผาสุกเป็นอย่างมาก

(สํ.ม.19/643-667/180-3)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 16:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2009, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรัทธาที่จะปฏิบัติสมาธิอย่างจริงจังเมื่อเห็น บุคคลพึงเจริญจนได้อถิญญา
วิริยะ ที่จะปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทุกๆวัน ไม่เว้น ทั้ง ยืน เดิน นั่ง นอน
สติมีตัว รู้ทั่วพร้อมทุกเมื่อไม่เพลอ ตั้งจิต ไว้ที่ฐานกลางใจตลอดเวลาไม่เพลอ
สมาธิ มีทุกๆอิริยาบถ ทั้งตอนปฏิบัติ และออกจากฌาน เจริญให้แก่กล้าๆๆขึ้นไปๆๆ
ปัญญา พิจารณากาย วาจา ใจ การ กะ ทำว่าเป็นไปเพือละกิเลส ให้ถึง มรรคผล ไม๊
ดังนี้ ถ้าทำได้ แก่กล้า ชื่อ ว่า ลุถึง อริยะ โสดา ปฏิมรรค แล :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2009, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ยังติดตามอ่านอยู่ค่ะอาจารย์ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
จะติดตามอ่านไปเรื่อย ๆค่ะ :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2009, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์ 5

อินทรีย์ 5 เป็นองค์ธรรม 5 อย่าง ที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องทำให้มีกำลังมากพอ จึงจะสามารถเอาชนะกิเลสถึงขั้นบรรลุมรรคผลได้ ในการปฏิบัติธรรมช่วงแรก ๆ ของผมนั้นได้ใช้วิปัสสนาญาณ 16 ในการตรวจสอบความก้าวหน้า ปรากฏว่าแทนที่จะช่วยให้ได้ผลเร็วขึ้น กลับเป็นอุปสรรคเสียอีก เพราะมัวแต่สำรวจตนเองอยู่เสมอว่าเราถึงญาณขั้นไหนแล้ว มีสติสัมปชัญญะเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ก็มัวตรวจสอบครั้งหนึ่ง เสียเวลาไปนาน เมื่อปฏิบัติธรรมต่อ มีสติสัมปชัญญะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ก็มาเสียเวลาตรวจสอบอีก ทำให้การปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ภายหลังผมใช้อินทรีย์ 5 ในการตรวจสอบ ปรากฏว่าได้ผลก้าวหน้าเร็วขึ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการสำรวจตนเองด้วยอินทรีย์ 5 จะทำให้เรารู้จุดอ่อน จุดบกพร่องต่าง ๆ ของตัวเรา เมื่อรู้ข้อบกพร่องแล้ว เราก็สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ถูกต้อง อุปสรรคในการปฏิบัติธรรมก็หมดไป องค์ธรรมทั้ง 5 ในอินทรีย์ 5 ก็ได้แก่

ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความเลื่อมใส
วิริยะ คือ ความเพียร
สติ คือ การระลึกได้
สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต
ปัญญา คือ การรู้ตามความเป็นจริง

การที่บุคคลบรรลุมรรคผลได้ จะต้องมีอินทรีย์ 5 ที่แก่กล้าหรือมีกำลังมากพอ ถ้าหย่อนในอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะยังไม่สามารถบรรลุมรรคผล หน้าที่ของผู้ปฏิบัติก็คือตรวจสอบดูว่า องค์ธรรมข้อใดบกพร่องหรืออ่อนกำลัง เมื่อทราบแล้วก็พยายามหาวิธีทำให้องค์ธรรมข้อนั้นมีกำลังมากขึ้น ถ้าองค์ธรรมทั้ง 5 มีกำลังสมบูรณ์ การปฏิบัติธรรมจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยปรกติองค์ธรรมทั้ง 5 จะเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เช่น ถ้าศรัทธามีกำลังมาก ก็จะเป็นเหตุให้ความเพียรมีกำลังมากขึ้นด้วย ถ้าปัญญามีกำลังมากก็จะทำให้ศรัทธามีกำลังมากขึ้นด้วย ต่อไปจะกล่าวถึงรายละเอียดขององค์ธรรมทั้ง 5 ข้อ ดังนี้

1). ศรัทธา
ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อ คือเชื่อว่ามรรคผลนิพพานมีจริง ปฏิบัติให้บรรลุได้จริง เชื่อว่าการปฏิบัติธรรมเป็นของดี มีประโยชน์ ศรัทธาในขั้นต้นก่อนลงมือปฏิบัติธรรมมักจะเกิดจากการได้ฟังธรรมจากผู้รู้ธรรม อาจจะเป็นการไปนั่งฟังธรรมที่บรรยายตามสำนักต่าง ๆ การดูรายการธรรมะทางโทรทัศน์ หรือการอ่านหนังสือธรรมะทั่วไป ถ้าผู้บรรยายธรรมพูดเก่ง พูดดีมีเหตุผล เราก็จะมีศรัทธามาก แต่ศรัทธาในขั้นต้นนี้ก็ยังอ่อนกำลัง เพราะเป็นการเชื่อจากการฟังไม่ได้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ต่อเมื่อปฏิบัติธรรมได้ผล ได้รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงด้วยตนเองแล้ว ศรัทธาจึงจะแก่กล้าหรือมีกำลังมากขึ้น
ลักษณะที่ศรัทธาอ่อนกำลังในขณะปฏิบัติธรรมก็คือ เราจะรู้สึกว่าไม่อยากปฏิบัติธรรม เพราะเห็นว่าไปทำกิจอย่างอื่นดีกว่า เห็นว่าการปฏิบัติธรรมแล้วไม่ได้ผลดีอะไรขึ้นมา สาเหตุที่ศรัทธาอ่อนกำลังอาจจะเกิดจากการปฏิบัติที่ผิดวิธีทำให้ไม่ได้ผล เมื่อตั้งใจทำแล้วไม่ได้ผลก็เกิดความท้อใจเกิดความเบื่อหน่าย วิธีแก้ไขให้ศรัทธามีกำลังมากขึ้นมาก็คือ ต้องศึกษาหาวิธีปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง หมั่นสนทนาธรรมกับผู้รู้ธรรม หรือผู้ที่ปฏิบัติธรรมได้ผลแล้ว เพื่อให้ตนเองมีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น เมื่อปฏิบัติธรรมได้ผลแล้ว ศรัทธาก็จะมีกำลังเพิ่มมากขึ้น ไม่มีใครในโลกนี้ที่เชื่อคนอื่นมากกว่าตนเอง เมื่อเราปฏิบัติจนได้เห็นธรรมด้วยตนเอง ย่อมไม่มีความลังเลสงสัย ย่อมมีความเชื่ออย่างสนิทใจได้ชื่อว่ามีศรัทธาอย่างแท้จริง

2). วิริยะ
วิริยะ หมายถึง ความเพียร ซึ่งก็คือความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมนั่นเอง ลักษณะที่วิริยะหรือความเพียรอ่อนกำลังก็คือ การไม่ตั้งใจปฏิบัติ ให้เวลากับการปฏิบัติธรรมน้อยลง ความเพียรย่อมเกิดจากศรัทธา ถ้าศรัทธามีกำลัง ความเพียรก็ย่อมมีกำลังด้วย ถ้าศรัทธาย่อหย่อน ความเพียรก็ย่อหย่อนด้วย เช่น เมื่อเห็นว่าปฏิบัติธรรมแล้วไม่ได้อะไรดีขึ้นมา ความตั้งใจ ความเอาใจใส่ในการปฏิบัติก็ย่อมลดลง
นอกจากนี้สภาพแวดล้อมก็มีผลให้ความเพียรย่อหย่อนได้ เช่น อากาศร้อนเกินไป มีเสียงดังหนวกหู กินอาหารอิ่มเกินไป ง่วงนอน ก็จะทำให้ความเพียรย่อหย่อนได้ มีกิจการงานมากความเพียรก็ย่อหย่อนได้ ถ้าสติและสมาธิอ่อนกำลัง ความเพียรก็ย่อหย่อนได้ ในการแก้ปัญหา เราจะต้องหาสาเหตุที่ถูกต้องแล้วแก้ไข เช่น ถ้าอากาศร้อนเกินไป ปฏิบัติธรรมไม่ได้ ก็อาจจะเปลี่ยนสถานที่ไปหาที่เย็นสบายกว่า หรือไปอาบน้ำล้างหน้าให้สบายใจเสียก่อน แล้วจึงมาปฏิบัติธรรมต่อ ถ้าวิริยะหรือความเพียรมีกำลัง เราจะรู้สึกว่ามีความขยัน มีความเอาใจใส่ มีความตั้งใจในการปฏิบัติธรรม

3). สติ
สติ หมายถึง การระลึกได้ สตินับว่ามีความสำคัญมากในการปฏิบัติธรรม เพราะเป็นตัวที่ฝึกได้ง่าย สามารถกั้นกิเลสไม่ให้ครอบงำจิตได้ สามารถทำจิตที่หดหู่เศร้าหมองให้กลับเป็นจิตที่สดชื่นเบิกบานได้โดยรวดเร็ว เราจึงควรฝึกฝนสติให้มาก ลักษณะที่สติอ่อนกำลังก็คือ ความรู้สึกในการรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ไม่ชัดเจนแจ่มใส รู้สึกซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า วิธีแก้ไขทำได้โดยการฝึกสมาธิให้มาก ๆ เพราะการฝึกสมาธิจะทำให้ทั้งสติและสมาธิมีกำลัง เวลาทำอะไรก็พยายามตั้งใจทำให้มาก ๆ เช่น เวลามองก็ตั้งใจมองให้มาก ๆ ให้รู้ชัดเจนว่ามองอะไร เวลาฟังเสียก็ตั้งใจฟังให้มาก ๆ เวลาพูดก็ให้ตั้งใจพูด เวลาคิดก็ให้ตั้งใจคิดให้เป็นเรื่องเป็นราว ให้รู้ชัดในเรื่องราวนั้น ๆ การฝึกเช่นนี้จะทำให้สติมีกำลังมากขึ้น ถ้าสติมีกำลังเราจะรู้ชัดในอารมณ์ต่าง ๆ เช่น เวลามองก็จะเห็นภาพชัดเจน จิตใจรู้สึกปลอดโปร่งแจ่มใส มีความกระปรี้กระเปร่า รู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

4). สมาธิ
สมาธิ หมายถึง ลักษณะที่จิตสงบ ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน ปรกติแล้วสติกับสมาธิเกื้อหนุนกันอยู่เสมอ คือ ถ้าสติมีกำลังก็จะฝึกสมาธิได้ง่าย ถ้าสมาธิมีกำลังก็จะฝึกสติได้ง่าย ลักษณะที่สมาธิอ่อนกำลังก็คือ มีความคิดฟุ้งซ่าน เผลอง่าย ใจรวนเร สับสน หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย วิธีแก้ไขก็คือ ต้องฝึกสมาธิให้มาก ๆ ซึ่งวิธีฝึกก็ได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ผ่าน ๆ มา การหัดทำอะไรที่จำเจเหมือนเดิมเป็นเวลานาน ๆ เช่น การเคาะจังหวะ การตีกลอง การเดาะลูกตะกร้อหรือลูกบอล การนับลูกประคำ ก็เป็นการฝึกสมาธิที่ดีวิธีหนึ่ง เราอาจจะฝึกสมาธิด้วยการหัดทำอะไรอย่างเดียวตลอดเวลานาน ๆ ก็ได้ เช่น เอาแก้วน้ำมาวางไว้ข้างหน้า แล้วตั้งใจมอง มองให้นาน ๆ ให้ใจอยู่ที่แก้วน้ำนั้นตลอด ไม่ให้ไปรับรู้อารมณ์อื่นเลย ถ้าเผลอไปแล้วนึกขึ้นมาได้ ก็ให้ตั้งใจดูที่แก้วน้ำใหม่ ให้ใจอยู่แต่ที่แก้วน้ำเท่านั้น พยายามทำให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ถ้าสมาธิของเรามีกำลัง เราก็จะรู้สึกว่าจิตสงบตั้งมั่นอยู่กับเรื่องราวที่สนใจ ไม่ฟุ้งซ่าน จิตใจสบาย มีความสุข จะนึกอะไรคิดอะไร ก็เป็นเรื่องเป็นราวไม่สับสน

5). ปัญญา
ปัญญา หมายถึง การรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งก็คือการมีสติอยู่กับปรมัตถธรรมนั่นเอง ลักษณะที่ปัญญาอ่อนกำลังก็คือ การบังคับให้สติอยู่กับปรมัตถ์ ทำได้ยาก สติคอยแต่จะอยู่กับสมมุติร่ำไป สาเหตุที่ปัญญาอ่อนกำลังก็เพราะมีตัณหามาก มีใจเพลิดเพลินอยู่กับเรื่องราวต่าง ๆ ในสมมุติ ติดอยู่ในสมมุติ ไม่อาจจะละความรู้สึกที่เป็นสมมุติต่าง ๆ ได้ วิธีแก้ไขก็ต้องพิจารณาธรรมให้มาก ๆ เช่น พิจารณาถึงความแก่ ความตาย เพื่อให้จิตคลายกำหนัดจากเรื่องราวต่าง ๆ ในสมมุติ เมื่อไม่ติดใจในสมมุติแล้ว ก็สามารถที่จะเอาสติไปอยู่กับปรมัตถ์ได้ง่าย เรียกว่าปัญญามีกำลังมากขึ้น
ส่วนการที่เรามีสติอยู่กับสมมุติ แต่ไม่ยินดียินร้ายในสมมุติ ก็ได้ชื่อว่ามีปัญญาเช่นกัน เพราะเรารู้สมมุติตามความเป็นจริง ไม่ติดในสมมุติเหมือนกัน
อินทรีย์ 5 นี้ เมื่อทำให้แก่กล้า คือ มีกำลังมากขึ้นแล้ว เรียกชื่อใหม่ว่า พละ 5 ในการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติจะต้องคอยตรวจสอบอยู่เสมอว่า ตนย่อหย่อนในข้อใด แล้วหาทางแก้ไขให้ถูกดต้อง ถ้าเรานำอินทรีย์ 5 มาใช้ในการตรวจสอบหาข้อบกพร่องของการปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ ก็จะทำให้เราสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ ลองปฏิบัติหลายๆทางดูครับ







มาถึงตรงนี้ เรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมก็จบบริบูรณ์ ผมเป็นเพียงผู้ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องให้แก่ท่านเท่านั้น บัดนี้ก็หมดหน้าที่ของผมแล้ว ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องลงมือปฏิบัติ เพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของตัวท่านเอง ไม่มีใครที่จะทำแทนท่านได้ ท่านเท่านั้นที่ต้องลงมือปฏิบัติ ท่านเท่านั้นที่เป็นผู้บรรลุธรรม ไม่ใช่ใครอื่นเลย

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร