วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค 8 จะเกิดขึ้นได้ในกาลที่มี ....การวิ่งถึงรอบการพิจารณาแต่ละครั้งสำเร็จ
ไม่เกิดขึ้นทีเดียวทั้งหมดและไม่เกิดทั้ง 8องค์เพราะเราๆๆๆท่าน มีจริต
ชวนะปัญญาไม่สูงทุกๆคนจึงไม่ครบองค8เสมอไป ไม่เชื่อเวลาถึงรอบจะรู้เอง
ว่าไม่ได้ทั้งหมดเสมอไป. :b6:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม
การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นการแสดงให้เห็น ความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจจ์ข้อที่สอง (สมุทัยสัจจ์) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาทที่แสดงแบบนี้เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท

(ดังแสดงสองตัวอย่างที่ผ่านไป เป็น อนุโลมเทศนา และ ปฏิโลมเทศนา ของอนุโลมปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับ)

การแสดงตรงกันข้ามกับข้างต้นนี้ เรียกว่า นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจจ์ข้อที่สาม (นิโรธสัจจ์) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย สืบทอดกันไป เช่น

เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติ ดับชรามรณะ (จึงดับ) ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ

ดังนี้เรียกว่า อนุโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท

ส่วนปฏิโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรามรณะเป็นต้น ดับเพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ....ดังนั้นเมื่อรูปดับได้แน่ปฏิสมุจบาทอื่นๆๆก็จะถูกทำลายลงด้วยอุปฆาตกรรมฝ่ายญาณ

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์พระโสดาบัน
ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับคืนนี้ก็มาเริ่มปฏิบัติเนื่องในโสดาปัตติผล หรือว่า ปฏิบัติเพื่อพระโสดาปัตติมรรค การเจริญพระกรรมฐานนี่ พระพุทธเจ้ามีความต้องการให้ผู้ปฏิบัติทุกท่านเข้าถึงพระอริยมรรค พระอริยผล ถ้าเราจะปฏิบัติกันอย่างเลื่อนลอยก็มีความสุขเหมือนกัน แต่มีความสุขไม่จริง ที่จะปฏิบัติให้มีความสุขจริงๆ ก็จะต้องมีจุดใดจุดหนึ่งเป็นเครื่องเข้าถึงจึงจะใช้ได้
ในอันดับแรกนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงต้องการผลอันดับต้น คือได้พระโสดาปัตติมรรคหรือพระโสดาปัตติผล หรือการที่เราเรียกกันว่า พระโสดาบัน
ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะศึกษาอย่างอื่น ก็โปรดทราบว่า สำหรับพระโสดาบันนี้ละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ:-
๑. สักกายทิฏฐิ ตัวนี้มีปัญญาเพียงเล็กน้อย เพียงแค่มีความรู้สึกว่าเราจะต้องตายเท่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต คิดอยู่เสมอว่าความตายเป็นธรรมดาของชีวิต เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความตายให้พ้นได้ และความตายนี้ จะปรากฏกับเราเมื่อไรก็ไม่แน่นอนนัก และเชื่อว่า ตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายกลางวัน อย่างนี้ไม่มีความแน่นอน
เพราะว่าความตายไม่มีนิมิต ความตายไม่มีเครื่องหมาย แต่ถึงอย่างไรก็ดี เราก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความตายไปได้ นี่สำหรับข้อแรกสักกายทิฏฐิ ที่เห็นว่าร่างกายก็คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เรานิยมเรียกกันว่า ร่างกาย
พระโสดาบันมีความรู้สึกว่ามีปัญญาเพียงเล็กน้อย รู้แค่ตายเท่านั้น ยังไม่สามารถจะจำแนกร่างกายว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราได้ ความรู้สึกของพระโสดาบัน ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา ทรัพย์สินทั้งหลายยังเป็นเรา เป็นของเรา
แต่ทว่ามีความรู้สึกว่า สิ่งทั้งหลายที่เป็นของเรานี้ทั้งหมด เมื่อเราตายแล้วเราก็ไม่มีสิทธ์ที่จะเข้ามาครอบครอง หรือถ้าว่าเรายังไม่ตาย สักวันหนึ่งข้างหน้ามันก็ต้องสลายตัวไป เนื่องในข้อว่า สักกายทิฏฐิ พระโสดาบันคิดได้เพียงเท่านี้ ยังไม่สามารถจะแยกกาย ทิ้งไปได้ทันทีทันใด องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงกล่าวว่า พระโสดาบันมีปัญญาเล็กน้อย
ในข้อที่ ๒ วิจิกิจฉา พระโสดาบันไม่สงสัยในคำสั่ง และคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำว่า คำสั่ง ก็ได้แก่ ศีล
คำสอน ก็ได้แก่ จริยาอันหนึ่งที่เราเรียกกันว่า ธรรมะ เป็นความประพฤติดีประพฤติชอบ
ศีล พระพุทธเจ้าสั่งให้ละ หมายความว่า ละตามสิกขาบทที่กำหนดให้ไว้ คำสอนทรงแนะนำว่า จงทำอย่างนี้จะมีความสุขอีกทั้งคำสั่งก็ดี ทั้งคำสอนก็ดี พระโสดาบันก็มีความเชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัย คือ เชื่อพระพุทธเจ้า ในการเชื่อก็ใช้ปัญญาพิจารณาก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่าเชื่อ
นี่สำหรับสังโยชน์ข้อที่ ๓ สีลัพพตปรามาส เพราะอาศัยที่พระโสดาบันมีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะนำบรรดาพระสงฆ์ว่า จงนำธรรมะนี้ไปสอน พระสงฆ์ก็ไปสอน พระโสดาบันใช้ปัญญาเพียงเล็กน้อยมีความเข้าใจดี ยินยอมรับนับถือคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระชินสีห์ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสมา แล้วพระสงฆ์นำมาแสดง อาศัยที่ศรัทธาในพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการนี้ พระโสดาบันจึงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
เป็นอันว่าพระโสดาบัน ถ้าเราจะไปพิจารณาจริงๆ ก็ไม่เห็นมีอะไรสำคัญ มีสภาวะเหมือนชาวบ้านชั้นดีนั่นเอง ทีนี้เราจะกล่าวถึง องค์ของพระโสดาบัน ท่านที่เป็นพระโสดาบันจริงๆ นั้น มีอารมณ์ใจ
คำว่า " องค์ " นี่หมายความว่า อารมณ์ที่ฝังอยู่ในใจ อารมณ์ใจของพระโสดาบันจริงๆ ก็คือ
๑. มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
๒. มีความเคารพในพระธรรม
๓. มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. มี ศีล ๕ บริสุทธ์
อันนี้ก็ตรงกับพระบาลี ที่องค์พระชินสีห์ตรัสว่า พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้มีอธิศีล
สำหรับกิเลสส่วนอื่นจะเห็นได้ว่า พระโสดาบันยังมีกิเลสทุกอย่าง ตามที่เรากล่าวกันคือ:-
โลภะ ความโลภ
ราคะ ความรัก
โทสะ ความโกรธ
โมหะ ความหลง
จะว่ารักก็รัก อยากรวยก็อยากรวย โกรธก็โกรธ หลงก็หลง แต่ไม่ลืมความตาย คำที่ว่าหลงก็เพราะว่า พระโสดาบันยังต้องการความร่ำรวยด้วยสัมมาอาชีวะ พระโสดาบันยังต้องการความสวยสดงดงาม ต้องการมีคู่ครอง
อย่าง นางวิสาขามหาอุบาสิกา ก็ดี ภรรยาของพรานกุกกุฏมิตร ก็ดี ทั้งสองท่านนี้เป็นพระโสดาบัน ตั้งแต่อายุ ๗ ปี แต่ในที่สุด ท่านก็แต่งงานมีเครื่องประดับประดาสวยงาม เป็นอันว่ากิเลสที่เราต้องการกัน เนื่องจากการครองคู่ระหว่างเพศ พระโสดาบันยังมี และก็ยังมีครบถ้วน เพราะว่าอยู่ในขอบเขตของศีล
ไม่ทำ กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ละเมิดความรักของบุคคลอื่น ไม่ทำให้ผิดประเพณีหรือกฎหมายของบ้านเมือง และเป็นไปตามศีลทุกอย่าง คือรักอยู่ในคู่ผัวเมียตามปกติ
นี่ขอบเขตของพระโสดาบันมีเท่านี้ มีความต้องการรวยด้วยสัมมาอาชีวะ พระโสดาบันยังประกอบอาชีพ แต่ไม่คดไม่โกง ไม่ยื้อไม่แย่งใครเท่านั้น หามาได้แม้จะร่ำรวยแสนจะร่ำรวยก็ได้มาด้วยความบริสุทธ์ ไม่คดไม่โกงเขา พระโสดาบันยังมีความโกรธ ไอ้โกรธน่ะโกรธได้ แต่ว่าพระโสดาบันยังไม่ฆ่าใคร เกรงว่าศีลจะขาด
พระโสดาบันยังมีความหลง แต่หลงไม่เลยความตาย ยังมีความรู้สึกอยู่ว่าต้องการชีวิต ชีวิตของเรามีอยู่ ต้องการทำประโยชน์ให้เกิดขึ้น ยังไงๆ เราก็ตายแน่ การที่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความตายไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
เป็นอันว่าถ้าเราพิจารณากันจริงๆ ความเป็นพระโสดาบันนี่รู้สึกว่าไม่ยากเลย สำหรับในวันนี้ก็จะขอแนะนำบรรดาท่านพุทธบริษัท ให้พยายามใคร่ครวญถึงความตายเป็นสำคัญ เรื่องความตายนี่ก็ดี การควบคุมอารมณ์จิตให้ปราศจากความฟุ้งซ่านก็ดี ควรจะทำให้เป็นปกติ ถ้าวันใดถ้าเราเผลอจากการควบคุมอารมณ์จิต ให้ระงับจากความฟุ้งซ่านก็ดี ควรจะทำให้เป็นปกติ ถ้าวันใดเราเผลอจากการควบคุมอารมณ์จิต ให้ระงับจากความฟุ้งซ่านก็ดี วันใดถ้าเราเผลอไปลืมนึกถึงความตายก็ดี ก็จงประณามตนเองว่าเรานี้เลวเต็มทีแล้ว
เพราะว่าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอนตามความเป็นจริงทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านทั้งหลายจะพิจารณาเห็นได้ว่า คนและสัตว์ทุกอย่าง ทั้งคนและสัตว์ที่เกิดมาตายให้เราดูเป็นตัวอย่างและในเรื่องความตายนี้ไม่จำเป็นต้องศึกษาละเอียด เห็นกันอยู่แล้วทุกคน เพราะว่าคนส่วนใหญ่ลืมคิดไปว่าตัวเองจะตาย เคยไปในงานศพชาวบ้าน แต่ไม่ได้เคยคิดว่าเราจะเป็นศพอย่างชาวบ้านที่เขาตายกัน
นี่เราประมาทกันอย่างนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้แนะนำว่า "จงนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อย่าประมาทในชีวิต คิดว่าเราจะไม่ตาย"
นี่เป็นความคิดผิด เรื่องนึกถึงความตายเป็นอารมณ์นี่เป็นความดี เป็นปัจจัยสำคัญให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบันได้ง่าย จะยกตัวอย่างบุคคลที่มีความเคารพในองค์สมเด็จพระจอมไตร แล้วก็มีความเคารพในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจอมไตรหรือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน นั่นก็คือเปสการีธิดา เปสการีธิดานี่เคยอยู่เมืองอาฬวี
วันหนึ่ง องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงเสด็จประทับสำราญอิริยาบถ อยู่ในพระคันธกุฎีมหาวิหาร ในตอนเช้าองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงเสด็จไปแต่พระองค์เดียว ไม่มีใครติดตาม เข้าสู่เขตเมืองอาฬวี องค์สมเด็จพระชินสีห์ถือตอไม้เป็นธรรมาสน์ที่ประทับ ประทับยับยั้งอยู่ตรงนั้น ชาวบ้านได้ฟังข่าวเข้าก็มาเฝ้าพระพุทธเจ้า นำภัตตาหารมาถวาย ขณะนั้นเปสการีธิดาคือลูกสาวนายช่างหูก (เปสการี แปลว่า ช่างหูก ธิดา แปลว่า ลูกสาว) ทราบข่าวก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากับเขาเหมือนกัน เมื่อเข้าไปแล้วถวายอาหารแก่องค์สมเด็จพระภควันต์เสร็จ
หลังจากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเทศน์ ทรงเทศน์แบบสั้นๆ ว่า
" ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต เพราะว่าชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ว่าความตายเป็นของเที่ยง ขอทุกท่านจงคิดไว้เสมอว่า อย่างไรก็ดีเราต้องตายแน่ สำหรับเวลากำหนดการตายของเราไม่มีแน่นอน เพราะความตายไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ท่านทั้งหลายจงประกอบแต่ความดีเข้าไว้…
ถ้าใครสร้างความชั่ว ตายแล้วจะไปอบายภูมิมีนรกเป็นต้น เกิดมาเป็นคนก็จะมีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความลำบาก แต่ถ้าคนใดสร้างความดี คิดถึงความตายไม่ประมาทในชีวิต คิดไว้เสมอว่าเราต้องตายแน่ จงอย่าคิดว่า วันพรุ่งนี้ หรือเดือนหน้า ปีหน้า เดือนโน้น เราจึงจะตาย คิดไว้เสมอว่าวันนี้เราอาจจะตาย แล้วก็สร้างความดีเข้าไว้ ความดีจะส่งผลให้ท่านมีความสุข ทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพ…"
และเมื่อองค์สมเด็จพระนราสภพูดเท่านี้ องค์สมเด็จพระมหามุนี ก็เสด็จกลับ เมื่อพระพุทธเจ้าไปแล้ว เทศน์ที่พระพุทธเจ้าสอนก็ตามพระพุทธเจ้าไปด้วย คือไม่ตามชาวบ้านไปที่บ้าน ตามพระพุทธเจ้ากลับวิหาร คือชาวบ้านไม่สนใจ
ทว่าสาวน้อยกลอยใจหรือเปสการีธิดา เธอสนใจในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ ทุกวันทุกคืน เธอนึกถึงวงหน้าขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ ว่ามีดวงหน้าสวยงามคล้ายดวงจันทร์ และพระสุรเสียงขององค์สมเด็จพระภควันต์ก็แจ่มใสไพเราะ ลีลาแห่งการแสดงพระธรรมเทศนาก็น่าฟังเป็นที่ชื่นใจ เธอจำไว้ได้เสมอว่าองค์สมเด็จพระบรมศาสดา
พระองค์ทรงสอนว่า… ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต จงคิดแต่สร้างความดีไว้เสมอ…
แล้วเธอก็ทำความดีทุกอย่าง ตามที่บิดามารดาและองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ การแนะนำในคราวนั้น ก็มีศีลห้าเป็นสำคัญ
เธอนึกถึงพระพุทธเจ้าทุกวัน จัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน แบบที่เราภาวนาว่า พุทโธ
เธอนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ จัดเป็น มรณานุสสติกรรมฐาน
เธอไม่ประมาทในการประกอบกรรมทำกุศล สร้างสิ่งที่เป็นมงคลไว้ตลอดชีวิต ที่ว่ามีสิทธ์เข้าถึงธรรม ไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่ออารมณ์จิตของเธอดีอย่างนี้ มีอารมณ์ผ่องใส วันทั้งวันนึกถึงความตาย แต่ก็ไม่เศร้าหมอง คิดว่าเวลานี้แม่ของเราก็ตายไปแล้วเหลือแต่พ่อ สักวันหนึ่งพ่อก็ดี เราก็ดีจะต้องตาย
แต่ก่อนที่เราจะตาย เราเป็นคนก็ควรจะเป็นคนดี เวลาเป็นผีควรจะเป็นผีดี คือผีที่มีความสุข ไม่ใช่ผีในอบายภูมิ เธอคิดอย่างนี้จนเป็นเอกัคคตารมณ์
ทุกวันนึกถึงความตาย ทุกวันนึกถึงวงพักตร์ขององค์สมเด็จพระจอมไตร ทุกวันคิดถึงพระสุรเสียงขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ขึ้นใจจับใจจนเป็นเอกัคคตารมณ์
เวลานั้นวันที่พระพุทธเจ้าเทศน์ครั้งแรก เธอมีอายุได้ ๑๖ ปี ต่อมาเมื่อเธออายุย่างเข้า ๑๙ ปี องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงตรวจอุปนิสัยของสัตว์ในเวลาเช้ามืด เห็นนางตกในข่ายของญาณ ก็ตกใจว่านี่เรื่องอะไร ก็ทรงทราบด้วยอำนาจของญาณว่า
ในสายวันนี้ กุลสตรีคนนี้ก็จะถึงแก่ความตายด้วยอุบัติเหตุ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงได้พิจารณาว่า ถ้าเราไม่ช่วยเธอ เธอจะมีคติที่แน่นอนไหม องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงทราบว่า ถ้าเราไม่ช่วยเธอ เธอมีคติไม่แน่นอน
คำว่า " คติ " แปลว่า การไป
แน่นอนหรือไม่แน่นอน ก็หมายความว่า ถ้าแน่นอนก็ไม่ไปทุคติ ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก ไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ต้องเกิดเป็นคน หรือเป็นเทวดา หรือเป็นพรหม ไปนิพพานอย่างนี้ ชื่อว่ามีคติแน่นอน
องค์สมเด็จพระชินวรจึงมาคิดว่า ถ้าเราจะช่วยเธอ เธอจะมีคติที่แน่นอนไหม ก็ทรงทราบว่าถ้าทรงช่วยจะมีคติแน่นอน และพิจารณาต่อไปว่าช่วยเธอยังไงจึงจะมีคติที่แน่นอน
องค์สมเด็จพระชินวรก็ทรงทราบว่าถ้าเราถามปัญหาเธอ ๔ ข้อ เธอตอบเราให้สาธุการรับรอง พอจบคาถา ๔ ข้อ เธอก็จะได้บรรลุพระโสดาบัน การตายคราวนั้นของเธอก็จะไปสู่สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นที่อยู่อันบรมสุข
ฉะนั้นในตอนเช้า องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ชวนใคร ไปองค์เดียวไปนั่งอยู่ในที่เดิม หลังจากนั้นแล้วคนมาเฝ้า (ขอเล่าลัดๆ) ลูกสาวของนายช่างทำหูกทำงานเสร็จ ตัดสินใจมาเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อน องค์สมเด็จพระชินวรจึงได้ทรงมองดูหน้าเธอ เมื่อสบตากัน เธอก็ทราบว่าองค์สมเด็จพระภควันต์ต้องการให้เข้าไปใกล้ เธอเข้าไปแล้ว
องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ถามปัญหา ๔ ข้อว่า
" เธอมาจากไหน…? "
เธอตอบว่า " ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
พระองค์ทรงถามว่า "เธอจะไปไหน…?"
เธอตอบว่า "ทราบพระเจ้าข้า" พระองค์ทรงถามว่า "เธอทราบหรือ…?"
เธอก็ตอบว่า "ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
ปัญหา ๔ ข้อนี้ คือ:-
ข้อที่หนึ่ง ทรงถามว่า "เธอมาจากไหน…?" เธอตอบว่า "อาศัยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรถามว่า เมื่อก่อนจะเกิดมาแต่ไหน เธอไม่ทราบ"
ข้อที่สอง ทรงถามว่า "เธอจะไปไหน…?" เธอตอบว่า "ตายแล้วไปไหน หม่อมฉันไม่ทราบ"
ข้อที่สาม ท่านถามว่า "ไม่ทราบหรือ…?" เธอตอบว่า "ทราบว่ายังไงๆ ก็ตายแน่ พระเจ้าข้า"
ข้อที่สี่ แล้วองค์พระพุทธเจ้าทรงถามว่า "เธอทราบหรือ…?" เธอก็ตอบว่า "ไม่ทราบ ก็เพราะว่าจะตาย เวลาเช้า เวลาสาย เวลาบ่าย เวลาเที่ยง ก็ไม่ทราบพระเจ้าข้า และไม่ทราบอาการตาย ยังไงๆ ก็ตายแน่"
พระพุทธเจ้าก็รับรองด้วยสาธุการ จึงถามเพียงเท่านี้ ความมั่นใจของเธอทำให้เธอเป็นพระโสดาบัน แต่ความจริงในตอนต้นนั้น เธอเข้าถึงพระโสดาปัตติมรรคอยู่แล้ว คือหนึ่งนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ไม่ประมาทในชีวิต ในข้อว่า สักกายทิฏฐิ เธอเข้าถึงแล้วในเบื้องต้น
ข้อที่ ๒ เธอนึกถึงองค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ทุกวัน จัดว่าเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน
ข้อที่ ๓ นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระชินวรทรงสอนไว้เสมอว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง เธอทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต
ข้อที่ ๔ ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระธรรมสามิสร มีศีล ๕ เป็นต้น ที่องค์สมเด็จพระทศพลทรงสอนไว้ เธอจำได้ทุกอย่าง และปฏิบัติทุกอย่าง อย่างนี้ถ้าจะกล่าวกันไป ก็ชื่อว่าเธอเป็นโสดาปัตติมรรคแล้ว แต่ว่าอารมณ์จิตยังไม่มั่นคง
ต่อมา เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จมาสนับสนุนอีกวาระหนึ่ง เธอมีความมั่นคงในความรู้สึก จิตมีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย มั่นในความตาย คิดว่าเมื่อไหร่ก็เชิญ มันตายแน่ มั่นในศีลที่เธอรักษา แล้วก็มีศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในพระธรรมคำสั่งสอน
อย่างนี้แหละบรรดาท่านทั้งหลาย องค์สมเด็จพระชินวรกล่าวว่า ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน
เป็นอันว่าท่านพุทธบริษัททุกท่าน กาลเวลาที่เราจะแนะนำกันวันนี้ ก็รู้สึกว่าจะหมดเวลาเสียแล้ว เท่าที่พูดมาแล้วนี้ทั้งหมด เป็นปฏิปทาที่เราจะปฏิบัติให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ท่านทั้งหลายมีความรู้สึกว่ายากไหม ถ้ายากก็ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำไป
ดูตัวอย่าง เปสการีธิดา เป็นตัวอย่าง ว่าเขามีความรู้สึกอย่างไร ท่านจึงกล่าวว่าเธอเป็นพระโสดาบัน ย้อนหลังไปนิด เธอนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ไม่ประมาทในชีวิต แล้วกาลต่อไปเธอนึกถึงวงพักตร์ของพระจอมไตรบรมศาสดา คือ มีความเคารพในพระพุทธเจ้า นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นธรรมดา เป็นเอกัคคตารมณ์ อารมณ์ทรงตัว
แล้วเธอก็ปฏิบัติตามกระแสพระสัทธรรมเทศนา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน มีปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัดเป็นต้น อย่างนี้องค์สมเด็จพระทศพลยอมรับนับถือว่าเธอเป็นพระโสดาบัน เข้าใจว่าท่านทั้งหลายผู้รับฟังคำสอนคงจะเห็นว่า คำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรในตอนนี้เป็นของไม่หนัก แล้วก็เป็นของไม่ยากสำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท
สำหรับวันนี้ก็หมดเวลาเสียแล้ว ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทพยายามทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ จะนั่งก็ได้ จะยืนก็ได้ จะเดินก็ได้ จะนอนก็ได้ ให้จิตใจทรงอารมณ์ตามคำสั่งและคำสอน ที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้นจนอวสาน ชอบใจตรงไหนทำตรงนั้นให้ทรงตัวและผลที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้ นั่นก็คือ ความเป็นพระโสดาบัน

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านโยคาวจรทั้งหลาย สำหรับคืนนี้ก็มาซักซ้อมกันเรื่องของ พระโสดาบัน ต่อไป คือการที่จะปฏิบัติเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันนั้น ก็ได้กล่าวมาแล้วว่า ถ้าหากว่าเป็นวิสัยของท่านพุทธจริต อันนี้เป็นของไม่ยาก เพราะเป็นความเข้าใจง่ายๆ เป็นแต่เพียงเพราะว่า
ท่านจงมีความพอใจเคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ด้วยเหตุผล ไม่ใช่สักแต่ว่าจะยอมรับนับถือด้วยอธิโมกขศรัทธา ใครเขาบอกว่าดีก็ดีตามเขา ไม่ได้ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา แบบนี้ใช้ไม่ได้
แล้วเขาบอกว่าถ้าพระพุทธเจ้าดี ดียังไง เรามานั่งพิจารณาความดีของท่านดู มันดีจริงตามนั้นไหม ถ้าดีจริงตามนั้น เราก็ยอมรับนับถือ สำหรับพระธรรม สำหรับพระสงฆ์ ศีล ก็เช่นเดียวกัน ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
สำหรับท่านที่มีพุทธจริต จิตประกอบไปด้วยความเฉลียวฉลาด ท่านผู้นี้ไม่ต้องอธิบายมาก นี่สำหรับท่านที่มีจริตอื่น เราก็ต้องคุยกันมากสักหน่อย แต่ว่าทั้งนี้ไม่ได้โทษว่าท่านทั้งหลายจะเป็นคนโง่ ความจริงถ้าหากว่าท่านทั้งหลายโง่จริงๆ ท่านก็ไม่ยอมเข้ามาปฏิบัติพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความจริงพวกท่านก็เป็นคนฉลาดอยู่แล้ว แต่ทว่าอาจจะฉลาดไม่ละเอียดพอก็ได้ ที่ต้องพูดมากอย่างนี้ก็กันเข้าไว้ ไม่ใช่แค่คิดว่าพอพูดให้ฟัง ท่านทั้งหลายไม่เข้าใจ ที่พูดอย่างนี้เป็นแต่เพียงกันไว้เผื่อว่า ท่านจะไม่เข้าใจ
แต่ว่าท่านทั้งหลายผู้รับฟังเข้าใจกันแล้ว ก็ต้องขออภัยด้วย คิดว่าเป็นการช่วยสงเคราะห์บุคคลที่ยังไม่เข้าใจ ต่อนี้มาในด้านการปฏิบัติถึงความดีของจิต เพื่อจะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ก็มีจุดหนึ่งที่เรียกว่า มรรค ๘
มรรค แปลว่า หนทาง
มรรค ท่านบอกว่ามีองค์ ๘ คือ องค์เป็นเครื่องตรัสรู้ เข้าถึงความดี หรือทางที่เป็นการเข้าถึงความดี มี ๘ อย่าง ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ คำว่า เห็นชอบ ในที่นี้เรียกว่าเห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ เห็นว่าการเกิดมันเป็นทุกข์ แล้วสิ่งที่จะทำให้เราเป็นทุกข์ ก็ได้แก่
ตัณหา คือ ความทะยานอยาก
ถ้าเราจะดับทุกข์เสียได้ เราก็ต้องดับตัณหา เมื่อดับทุกข์ได้แล้ว กิริยาที่พึงเข้าดับทุกข์ให้ได้ ก็ได้แก่ มรรค ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ท่านว่าไว้อย่างนี้ รู้สึกว่าจะสูงเกินไปสำหรับท่านที่ปฏิบัติเพื่อพระโสดาปัตติมรรค และโสดาปัตติผล
สำหรับพระโสดาปัตติผล ผมมีความเข้าใจว่าสัมมาทิฏฐิ ตัวนี้จะเป็นปัญญา ที่เรียกว่าปัญญาเห็นชอบ ก็หมายความว่า ใช้ปัญญาพิจารณาคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ พิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า พิจารณาความดีของพระธรรม พิจารณาความดีของพระอริยะสงฆ์ว่าท่านดีจริงไหม แล้วก็มาพิจารณาคำสอนตอนหนึ่งที่เรียกกันว่า สักกายทิฏฐิ ที่พระโสดาบันเข้าถึงจุดก่อน
แล้วก็นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ คิดไว้ว่าที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
"ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง"
อันนี้จริงไหม สักมาทิฏฐิ ใช้ตัวปัญญาตัวนี้เข้าพิจารณา แล้วก็เห็นว่าความตายมันเป็นของเที่ยงจริงๆ ชีวิตของคนไม่เที่ยง เพราะมันมีความเสื่อม แล้วก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ถ้าชีวิตมันเที่ยง ความตายมันก็ต้องไม่เที่ยง แล้วคนเกิดมาแล้วไม่รู้จักตายเสียอย่างเดียว จะเอาความตายมาจากไหน
แต่ทว่าที่พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า
"คนและสัตว์เกิดเท่าไร ตายหมดเท่านั้น"
เราก็จะเห็นได้ว่า คนที่เกิดมาก่อนหน้าเราเท่าไร ตายไปไม่เหลือแล้ว ปู่ ย่า ตา ทวด ญาติผู้ใหญ่ของเรา และบุคคลที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เราได้ยินกันแต่ชื่อ แล้วก็มีส่วนใหญ่แม้แต่ชื่อก็ไม่ปรากฏ เป็นอันว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้นตายหมด ตายแม้แต่ร่างกายก็ตาย ชื่อก็ตาย
นี่ถ้าเราใช้ปัญญาตัวนี้ เราก็จะเห็นว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวจริง เราก็มีความไม่ประมาทในชีวิต มีจิตคิดเพียงว่า ถ้าเราจะตายก็ต้องตายอย่างคนดี เมื่ออยู่ อยู่อย่างคนดี คือคนมีศีล มีธรรม เป็นคนมีพรหมวิหาร ๔ ย่อมเป็นที่รักของบุคคลและสัตว์ทั่วไป
เมื่อเวลาเราอยู่เราก็มีความสบายใจ เพราะเรามีมิตรมาก มีเพื่อนมาก เมื่อความสุขใจในสมัยที่มีชีวิตมีอยู่ ตายไปแล้ว เราก็มีความสุข เพราะจิตใจเมื่อเป็นมนุษย์มันเป็นความสุข ไปไหนมีแต่คนรัก คนเมตตา คนสงสาร มีแต่เพื่อน หาศัตรูไม่ได้ จิตใจก็มีความสุข แต่นี่เมื่อถ้าหากว่าตายไปแล้ว ไอ้ใจดวงนี้มันไปสู่ภพสู่ชาติ ถ้ามันสุขไปจากโลกนี้ ตายไปแล้วไปอยู่ที่ไหนมันก็สุข มันก็แบบความสุขไปด้วย
นี่ สัมมาทิฏฐิ ตัวนี้ จึงมีปัญญาเข้าประหัตประหาร โลภะความโลภ เห็นว่าความโลภ การยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น เป็นปัจจัยให้เกิดโทษ คือมีศัตรู ละตัวนี้เสีย หันหน้ามาให้ทานแทน ให้ทานการสงเคราะห์เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข คือมีเพื่อนมาก มีคนรักมาก และเราก็เห็นโทษของความโกรธ ความพยาบาท ว่ามันเป็นของไม่ดี สู้เราเจริญพรหมวิหาร ๔ จิตใจชุ่มชื่นไม่ได้ เรามีความสุขและเราก็ไม่เมาในชีวิต
โดยที่เราจะคิดว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งหมดที่มันมีอยู่ มันจะต้องอยู่กับเราตลอดกาลตลอดสมัย ไม่เป็นเช่นนั้น ความจริงเรากับมันต้องพลัดพรากจากกันแน่ ถ้ามันไม่พลัดกับเราในสมัยที่มีชีวิตอยู่ มันก็พลัดกับเราในสมัยที่เราตายไปแล้ว ยังไงๆ มันกับเราก็ต้องตายจากกัน ต้องพลัดพรากจากกัน
นี่จัดว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ ตัวต้น ที่องค์สมเด็จพระทศพลกล่าวว่า ท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบันได้ ต้องทรงอารมณ์นี้เป็นอันดับแรกหนึ่ง
ประการที่ ๒ สัมมาสังกัปปะ ท่านกล่าวว่า ดำริชอบ คือ ท่านอธิบายไว้ว่า
- ดำริจะออกจากกามคุณ ๑
- ดำริในอันที่จะไม่พยาบาท ๑
- ดำริในอันที่จะไม่เบียดเบียน ๑
อันนี้ตรงชัด คำว่า "ดำริ" หมายถึง ความคิด
เราคิดไว้เสมอว่ากามคุณเป็นโทษ คำว่า "กามคุณ" นี้ไม่ได้หมายถึงว่า การเสพกามในฐานะระหว่างสตรีกับผู้ชาย บุรุษกับสตรีเสมอไป
คำว่า กาม แปลว่า ความใคร่ อยากจะได้โน่น อยากจะได้นี่ อยากจะได้นั่น อยากจะมีสามี อยากจะมีภรรยา อยากจะมีบุตร ไอ้ตัวอยากๆ แบบนี้นี่มันสร้างความทุกข์ อยากมากเท่าไร เหนื่อยมากเท่านั้น เพราะจะต้องตะเกียกตะกายหาสิ่งที่เราอยากมาให้ได้ ท่านก็เลยคิดว่า ถ้าเราปล่อยให้มันอยากแบบนี้ตลอดไป เราก็จะมีแต่ความทุกข์ เราก็ลดความอยาก คืออยากจำกัด อยากหามาได้ด้วยอาชีวะ หรือตามกำลัง ไม่ทะเยอทะยานก้าวไกลเกินไป
มีทุนอยู่ ๑๐๐ บาท เอาไปเริ่มดำริกิจการงานแสนบาท มันก็หนักอยู่ เราก็พิจารณาก่อนว่าสิ่งใดถ้ามันไม่เกินวิสัยของเรา ไม่ทำใจของเราให้ลำบาก ไม่ตะเกียกตะกายมากเกินไป เราปฏิบัติตามนั้น ได้น้อยใช้น้อย แต่ก็มีความสุขใจ ไม่ต้องไปห่วงใยว่า เจ้าหนี้จะมาทวงมาถาม จะถูกฟ้องร้องล้มละลาย ใจก็เป็นสุข
อีกอันหนึ่งท่านบอกว่า ดำริในอันที่จะไม่พยาบาท คือไม่จองล้างจองผลาญ คิดว่าการพยาบาท การจองล้างจองผลาญ มันเป็นภัยสร้างความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่จิต เพราะอะไร เพราะคนที่เราคิดจะฆ่าจะทำร้ายเขา เขายังไม่ทันจะรู้ตัว เมื่อขณะที่เราคิดอยากจะฆ่าเขา อยากจะทำร้ายเขา ใจเริ่มไม่สบายแล้ว
บางทีก็กินไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ เพราะความโกรธ ความพยาบาทมันเผาใจ คิดว่าเราจะวางแผนแบบไหนจึงจะทำร้ายเขาได้ หรือกลั่นแกล้งให้เขาพินาศไปได้ ใจมันไม่เป็นสุข กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
แต่ความจริงบุคคลที่เขากำลังถูกเราคิดว่าจะทำร้าย เขายังไม่รู้ เขายังมีความอุ่นหนาฝาคั่ง เขายังมีความสุขกายสุขใจ รื่นเริงบันเทิงใจ แต่เราเองกลับเกิดความไม่สบายใจ เกิดความร้อนใจ ไม่สบายใจขึ้นมา ความเร่าร้อนมันก็เผาใจ ถ้าหากว่าเราไปทำร้ายเขาได้จริงๆ เราจะปลอดภัยหรือ มันก็ไม่แน่ เมื่อบุคคลนั้นเขาถูกฆ่าตาย ญาติของเขายังมี เพื่อนของเขายังมี เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายยังมี คงจะไม่ปล่อยให้เราลอยนวลไปอย่างมีความสุข
นี่เป็นอันว่า ความโกรธความพยาบาทเป็นปัจจัยให้เกิดศัตรู เป็นแนวทางนำมาซึ่งความเร่าร้อน เราไม่ต้องการ เมื่อเราไม่ต้องการเราก็หันเข้าไปใช้พรหมวิหาร ๔ แทน เป็นการบรรเทาความพยาบาท
นี่ข้อต่อไปท่านบอกว่า ดำริในอันที่จะไม่เบียดเบียน เราคิดไว้เสมอว่าขึ้นชื่อว่าการเบียดเบียนเขามันเป็นของไม่ดี สู้เรามาคิดการช่วยสงเคราะห์ดีกว่า เบียดเบียนเขาเป็นการสร้างศัตรู สร้างความเร่าร้อน ถ้าเราสงเคราะห์เขา เราก็มีความสุข เราเป็นที่รักของบุคคลผู้รับการสงเคราะห์ เราก็มีความสบายกายสบายใจ จะไปที่ไหนก็มีความสุข มีเพื่อนมากหาศัตรูมิได้ นี่เป็นอันว่า ความดีอันนี้เราต้องทำ
ข้อที่ ๓ ท่านกล่าวว่า สัมมาวาจา เจรจาชอบ เว้นจากวจีทุจริต ๔ ประการ คือ :-
๑. คือไม่กล่าวคำมุสาวาท ได้แก่ วาจาที่ไม่จริง
๒. ไม่ใช้วาจาส่อเสียดยุยง ส่งเสริมให้เขาแตกร้าวกัน
๓. ไม่ใช้วาจาหยาบคายที่เป็นเครื่องสะเทือนใจ
๔. ไม่ใช้วาจาที่ไร้ประโยชน์ คือ พูดแล้วไม่มีประโยชน์ ที่เรียกว่าเพ้อเจ้อเหลวไหล
อันนี้ถ้าเราทำได้ก็เป็นปัจจัยของความสุขใจ เพราะย่อมเป็นที่รักของบุคคลผู้สดับ
ข้อที่ ๔ ท่านกล่าวว่า สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือเว้นจากการทุจริต ได้แก่ การทุจริต ได้แก่ การทุจริตทางกายว่าโกงงานเขา เขาใช้ให้ทำงาน ๑ วัน ให้ใช้แรงงานว่าเธอต้องทำวันละ ๓ ก.ก. ทำน้ำหนักให้ได้ เราก็โกงแรงงาน หรือทำไม่ถึงบ้าง คือทุจริตทางกาย แต่ก่อนที่กายจะทุจริต ใจมันก็ทุจริตก่อนเพราะใจมันสั่ง และก็ไม่กล่าววาจาที่ไร้ความจริง คือทุจริตทางวาจา
ถ้าจะพูดกันจริงๆ ก็เรียกว่าการงานที่เราทำทุกอย่าง จงเป็นการงานที่ไม่มีโทษ
ถ้าเป็นลูกจ้างเขาก็ทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง นายจ้างสั่งให้ทำงานอย่างไหน ถ้าไม่เกินความสามารถ เราทำตามนั้น ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเงินเดือนที่เราจะรับเขาให้เต็ม งานเราก็ทำงานของเราให้เต็ม ก็ต้องถือว่างานชิ้นนั้นเป็นงานของเรา ไม่ใช่งานของนายจ้าง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราจะได้เงินค่าจ้าง เพราะการทำงาน
และอีกประการหนึ่ง การงานที่ชอบก็หมายความว่า กิจการงานทุกอย่างที่เราจะสร้างมันขึ้น ก็ต้องทำประเภทที่เรียกว่าไม่เป็นการเบียดเบียนตน และเบียดเบียนบุคคลอื่น การเบียดเบียนตนมองยาก เอาเบียดเบียนคนอื่นก็แล้วกัน คืออย่ารุกที่ อย่ารุกทาง อย่าโกงเงินอย่าโกงทองเขา อย่าทำการทุจริตคิดมิชอบ การงานที่เราทำ จงอย่าเอาชีวิตของบุคคลอื่นเข้ามาเลี้ยงชีวิตเรา อย่าขโมยทรัพย์สินของบุคคลอื่นมา เอามาเป็นทรัพย์สินของเรา
และก็จงอย่าใช้ความรักนอกประเภทที่เรียกว่ายื้อแย่งทำลายความรักของบุคคลอื่น คนรักของบุคคลอื่น อย่าใช้วาจาเป็นเหตุทำลายความสุขของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ส่วนตัว อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า การงานชอบ มันก็ไปลงกับ สัมมาวายะมะ เข้าอีก มันก็ต้องเนื่องถึงกัน
ต่อนี้มา มรรคที่ ๕ ท่านเรียกว่า สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือท่านบอกว่า เว้นจากการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด แบบไหนล่ะมันถึงจะผิด ก็แบบที่เราหาความสุขใส่ตัวเรา แต่ว่าเอาความทุกข์ไปให้คนอื่น แบบไหนก็ได้ แบบฆ่าสัตว์มาเลี้ยงตัว ตัวโมเมบอกว่าสัตว์เกิดมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ นี่ตั้งกันขึ้นมาเองทั้งนั้น
ถ้าสัตว์ทุกตัวมันต้องการเกิดมาเป็นอาหารของมนุษย์ เวลาเห็นมนุษย์เข้า มันก็ต้องวิ่งมาให้กินมัน นี่ความจริง สัตว์ทุกประเภทก็มีความรักชีวิต ขณะที่เราจะเข้าไปจับมัน มันวิ่งหนี ถ้าเราคิดอย่างนั้นว่าสัตว์เป็นอาหารของบุคคลก็ผิด อย่างนี้เรียกว่า เลี้ยงสัตว์ในทางที่ไม่ชอบ
นี่การประกอบกิจการงานเพื่อทรงชีวิตอยู่ให้เป็นไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฎหมาย
รวมทั้ง ๔ ประการนี้ต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน
ถ้าจะหากิน ดูก่อนว่านี่ละเมิดศีลหรือเปล่า ถ้าเป็นการละเมิดศีลเราไม่ทำ ถ้าไม่ละเมิดศีล เป็นการละเมิดกฎหมายหรือเปล่า
ถ้าเป็นการละเมิดกฎหมายเราไม่ทำ ถ้าหากว่าไม่ละเมิดกฎหมาย แต่ว่าละเมิดประเพณีหรือเปล่า
ถ้าละเมิดประเพณีเราก็ไม่ทำ ถ้าไม่ละเมิดประเพณี ขัดต่อพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า
ถ้าขัดกับพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ไม่ประกอบ ทำแบบชนิดที่เรียกว่าไม่ขัดต่อศีล ไม่ขัดต่อธรรม ไม่ขัดต่อกฎหมายของบ้านเมือง และก็ไม่ขัดต่อประเพณีนิยม อย่างนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
นี่สำหรับมรรคข้อที่ ๖ ก็ได้แก่ สัมมาวายามะ มีความเพียรชอบ นี่รวมความว่าเพียรละความชั่ว ประพฤติความดี ก็ได้แก่เพียรคิดไว้เสมอว่า เราจะต้องตาย ก่อนจะตาย เมื่อเราเป็นคนก็ต้องเป็นคนดี เมื่อเป็นผีเราก็จะต้องเป็นผีดี
คนดีก็คือ มีความเคารพในคุณพระรัตนตรัย มีศีล ๕ บริสุทธิ์ และมีการให้ทานเป็นปกติ ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่เมาในชีวิตเกินไป อย่างนี้เรียกว่ามีความเพียรชอบ เพียรต่อสู้ อุปสรรคทุกอย่างที่จะขัดขวางในระหว่างที่เราทำความเพียร แล้วเพียรแบบไหน
เป็นพระเป็นเณร ก็ดูพระธรรมวินัยให้ครบถ้วน รักษาสัทธรรม คือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ:-
มี อธิศีลสิกขา มีศีลบริสุทธิ์ยิ่ง
อธิจิตสิกขา ทรงสมาธิให้ทรงตัว
อธิปัญญาสิกขา ใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เท่าตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ไม่มัวเมาในขันธ์ ๕ เป็นสำคัญ อย่างนี้เรียกว่า มีความเพียรชอบ
นี่มรรคที่ ๗ สัมมาสติ ท่านกล่าวว่า ระลึกชอบ ในแบบท่านบอกว่า ระลึกถึงมหาสติปัฏฐาน ๔ แต่นี่เราพูดกันเรื่องพระโสดาบัน แล้วก็นึกไว้เสมอว่า
๑. เราจะต้องมีความตายแน่ ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความตายไปได้
๒. เราคิดถึงความดีของพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ หรือว่า พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ เป็นอนุสสติ ทั้ง ๓ ประการ
๓. เรานึกถึงศีลทุกสิกขาบท กำหนดไว้ว่า เราจะไม่ยอมละเมิดศีลเด็ดขาด ตามหลักการของพระโสดาบัน
มรรคที่ ๘ สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ นี่หมายความว่า ตั้งใจไว้ว่าอารมณ์ใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ในแนวทางที่บุคคลจะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน อารมณ์นั้นจะไม่ยอมให้คลาดจากจิตของเรา ใช้จิตคิดพิจารณาไว้เสมอ ระมัดระวังไว้เสมอ มีอะไรบ้างล่ะ
๑. นึกถึงความตายเป็นอารมณ์์์
๒. นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงพระธรรม นึกถึงพระสงฆ์
๓. นึกถึงศีลให้บริสุทธิ์ แล้วก็
๔. นึกถึงอุปสมานุสสติ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์
ว่าการเกิดเป็นทุกข์อย่างนี้ เราไม่มีความต้องการความเกิดมันอีก ถือว่าความเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายสำหรับเรา ต่อไปขึ้นชื่อว่าความเกิดเพื่อแก่ ความเกิดเพื่อความป่วยไข้ไม่สบาย ความเกิดเพื่อการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เกิดมาเพื่อตายจะไม่มีสำหรับเรา อารมณ์ของเราตั้งไว้โดยเฉพาะอย่างเดียว คือ พระนิพพาน
นี่แหละ บรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย คำอธิบายเพื่อพระโสดาบัน ก็ว่ากันไปว่ากันมาก็เลี้ยวลงจุด ๗ จุด คือ
มรณานุสสติกรรมฐาน
พุทธานุสสติกรรมฐาน
ธัมมานุสสติกรรมฐาน
สังฆานุสสติกรรมฐาน
สีลานุสสติกรรมฐาน
จาคานุสสติกรรมฐาน
อุปสมานุสสติกรรมฐาน เพียงเท่านี้
ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงได้ ท่านก็เป็นพระโสดาบัน
สำหรับวันนี้มองดูเวลา บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เวลาหมดเสียอีกแล้ว การที่จะพูดกัน แต่ความจริง พูดมากเกินไปก็ไร้ประโยชน์ จำไม่ได้ ขอให้บรรดาพระโยคาวจรทั้งหลาย พยายามทรงกำลังใจไว้ในลักษณะของมรรค ๘ ประการ ให้ทรงอยู่ในกำลังจิตของท่านตลอดกาลตลอดสมัย ผลที่ท่านจะพึงได้นั่นก็คือ อริยมรรค อริยผล ตามที่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาทรงแนะนำไว้

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน ๔ กล่าวแล้ว

ต่อไปจะกล่าวสัมมัปปธาน ๔ ต่อไป


สัมมัปปธาน แปลว่า ความเพียรถูกต้อง หรือสมบูรณ์แบบ

สัมมัปปธาน เป็นชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัมมาวายามะ ในองค์มรรคข้อ ๖ นั่นเอง

ดูแบบครับ

สัมมาวายามะ


องค์มรรคข้อนี้ เป็นข้อแรกในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา มีคำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?

นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่น เพื่อ (ป้องกัน) อกุศลธรรม

อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด มีให้เกิดขึ้น

๒. สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่น เพื่อละอกุศลธรรม

อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่น เพื่อ (สร้าง) กุศลธรรม

ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

๔. สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่

ไม่เลือนหาย เพื่อภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์ เจริญ เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว”

(ที.ม.10/299/348 ฯลฯ)



ส่วนในอภิธรรม มีคำจำกัดความเพิ่มอีกแบบหนึ่ง ดังนี้


“สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?

การระดมความเพียร (วิริยารัมภะ) ทางใจ ความก้าวหน้า ความบากบั่น ความขะมักเขม้น

ความพยายาม ความอุตสาหะ ความอึดสู้ ความเข้มแข็ง ความมั่นคง

ความก้าวหน้าไม่ลดละ

ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ การแบกทูนเอาธุระไป วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ

สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในองค์มรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ”


(อภิ.วิ.35/181/140; 586/320)

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


สัมมาวายามะ อย่างที่แยกเป็น ๔ ข้อ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตรนั้น

เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปธาน- (องฺ.จตุกฺก. 21/13/19) หรือ ปธาน ๔

(องฺ.จตุกฺก. 21/69/96) และมีชื่อเรียกเฉพาะสำหรับความเพียร แต่ละข้อนั้นว่า

๑. สังวรปธาน เพียรป้องกัน หรือ เพียรระวังอกุศลที่ยังไม่เกิด

๒. ปหานปธาน เพียรละ หรือ เพียรกำจัดอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญ หรือ เพียรสร้างกุศลที่ยังไม่เกิด

๔. อนุรักขนาปธาน เพียรอนุรักษ์ หรือ เพียรรักษาและส่งเสริมกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 10:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางแห่งมีคำอธิบายแบบยกตัวอย่างความเพียร ๔ ข้อนี้ เช่น

(องฺ.จตุกฺก. 21/14/20)


๑. สังวรปธาน ได้แก่ ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต

(ไม่คิดเคลิ้มหลงติดในรูปลักษณะทั่วไป)

ไม่ถืออนุพยัญชนะ (ไม่คิดเคลิ้มหลงติดในลักษณะปลีกย่อย) ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์

ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำเอาได้

ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

ฟังเสียงด้วยหู

สูดกลิ่นด้วยจมูก

ลิ้มรสด้วยลิ้น

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย

รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ -(ก็เช่นเดียวกัน)


๒. ปหานปธาน ได้แก่ ภิกษุไม่ยอมให้กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก

และบาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วตั้งตัวอยู่ได้ ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย

กระทำให้หมดสิ้นไปเสีย ทำให้ไม่มีเหลืออยู่เลย


๓. ภาวนาปธาน ได้แก่ ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ซึ่งอิงวิเวก อิงวิราคะ อิงนิโรธ

โน้มไปเพื่อการสลัดพ้น


๔. อนุรักขนาปธาน ได้แก่ ภิกษุคอยถนอมสมาธินิมิตอันดี คือ สัญญา ๖ ประการ ที่เกิดขึ้นแล้ว

ความเพียรเป็นคุณธรรมสำคัญยิ่งข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา

ดังจะเห็นได้จากการที่สัมมาวายามะเป็นองค์มรรคข้อ ๑ ใน ๓ ข้อ - (สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ) ซึ่งต้องคอยช่วยหนุนองค์มรรคข้ออื่นๆ

ทุกข้อเสมอไป และในหมวดธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติแทบทุกหมวด จะพบความเพียรแทรกอยู่ด้วย

การเน้นความสำคัญของธรรมข้อนี้ อาจพิจารณาจากพุทธพจน์ เช่น

“ธรรมนี้ เป็นของสำหรับผู้ปรารภความเพียร มิใช่สำหรับคนเกียจคร้าน”

(องฺ.อฏฺฐก. 23/120/237)


“ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ชัดถึงคุณของธรรม ๒ ประการ คือ

๑. ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย

๒. ความเป็นผู้ไม่ยอมถอยหลังในการบำเพ็ญเพียร


...เพราะฉะนั้นแล เธอทั้งหลาย พึงศึกษาดังนี้ว่า

เราจักตั้งความเพียรอันไม่ถอยหลัง ถึงจะเหลือแต่หนังเอ็นกระดูก

เนื้อและเลือดในสรีระจะแห้งเหือดไปก็ตามที

ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงลุถึงได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ

ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว ที่จะหยุดยั้งความเพียรเสียเป็นอันไม่มี

เธอทั้งหลาย พึงศึกษาฉะนี้แล”


(องฺ.ทุก. 20/254/64)


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


การที่ท่านเน้นความสำคัญของความเพียร นอกจากเหตุผลอย่างอื่นแล้ว

ย่อมสืบเนื่องมาจากหลักพื้นฐานของพระพุทธเจ้าที่ว่า

สัจธรรมเป็นกฎธรรมชาติ หรือ หลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา

พระพุทธเจ้า หรือ ศาสดามีฐานะเป็นผู้ค้นพบหลักความจริงนั้น แล้วนำมาเปิดเผยแก่ผู้อื่น

การได้รับผลจากการปฏิบัติ เป็นเรื่องของความเป็นไป อันเที่ยงธรรมตามเหตุปัจจัยในธรรมชาติ

ศาสดามิใช่ผู้บันดาล

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกคนจึงจำเป็นต้องเพียรพยายามสร้างผลสำเร็จด้วยเรี่ยวแรงของตน

ไม่ควรคิดหวังและอ้อนวอนขอผลที่ต้องการโดยไม่กระทำ

หลักพุทธศาสนาในเรื่องนี้ จึงมีว่า

“ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา -

ความเพียร ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอก (ทาง) ให้”


(ขุ.ธ. 25/30/51)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 10:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2009, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1192712780.jpg
1192712780.jpg [ 118.93 KiB | เปิดดู 2813 ครั้ง ]
อย่างไรก็ตาม

การทำความเพียร ก็เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรมข้ออื่นๆ จะต้องเริ่มก่อตัวขึ้นในใจให้พร้อม

และถูกต้องก่อน แล้วจึงขยายออกไปเป็นการกระทำในภายนอกให้ประสานกลมกลืนกัน

มิใช่คิดอยากทำความเพียร ก็สักแต่ว่าระดมใช้กำลังกายเอาแรงเข้าทุ่ม ซึ่งอาจกลายเป็นการทรมาน

ตนเอง ทำให้เกิดผลเสียได้มาก

โดยนัยนี้

การทำความเพียร จึงต้องสอดคล้องกลมกลืนกันไปกับธรรมข้ออื่นๆด้วย โดยเฉพาะสติ

สัมปชัญญะ

มีความรู้ความเข้าใจ ใช้ปัญญาดำเนินความเพียรให้พอเหมาะ อย่างที่เรียกว่าไม่ตึง

และไม่หย่อนเกินไป


(ช่วงนี้ท่านยกตัวอย่างการทำความเพียรของพระโสณะเป็นตัวอย่าง ...ไม่นำมาตรงนี้)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:



ตัวสัมมาวายามะเองแท้ๆ ที่เป็นองค์มรรคนั้น เป็นคุณธรรมอยู่ภายในจิตใจของบุคคลก็จริง

แต่กระนั้นก็ตาม สัมมาวายามะจะทำหน้าที่ของมันได้ และจะเจริญงอกงามขึ้นได้

ย่อมต้องอาศัยความสัมพันธ์กับโลกภายนอก

กล่าวคือ การวางท่าที ตอบสนอง และจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ที่รับรู้เข้ามาทางตา

หู จมูก ลิ้น กาย บ้าง

การแผ่ขยายความเพียรนั้นจากภายในจิตใจออกไปเป็นการกระทำ ความประพฤติ

การดำเนินชีวิต และการประกอบกิจการต่างๆ บ้าง

สภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้อหรือไม่เอื้อ มีอิทธิพล

ต่อการประกอบความเพียร และ ความเจริญงอกงามของคุณธรรมภายใน

ทั้งในทางเกื้อกูลและในทางขัดขวางบั่นรอนบ้าง เฉพาะอย่างยิ่ง

ความเพียรพยายามในการประพฤติปฏิบัติธรรม ชนิดที่ขยายออกเป็นการกระทำภายนอก

และซึ่งกระทำกันอย่างเป็นงานเป็นการ ที่เรียกว่า “ปธาน” นั้น ต้องเกี่ยวข้องและอิงอาศัย

ปัจจัยแวดล้อมภายนอกเป็นอันมาก

ทั้งปัจจัยแวดล้อมทางร่างกาย ทางธรรมชาติ และทางสังคม ณ จุดหรือขั้นตอนนี้แหละ

ที่พุทธธรรม

กล่าวถึงบทบาทและความสำคัญของปัจจัยแวดล้อมภายนอกเหล่านั้น ต่อการสร้างชีวิตที่ดีงาม

และการเข้าถึงจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา



เพื่อให้เห็นตัวอย่าง ที่แสดงความคิดเห็นดังกล่าวนั้น

ขอนำเอาพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับเรื่องเช่นนี้มาประกอบการ พิจารณาดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย คุณสมบัติของผู้บำเพ็ญเพียร มี ๕ อย่างเหล่านี้ ห้าอย่างคืออะไร ?

กล่าวคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑.เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อตถาคตโพธิว่า แม้เพราะเหตุผลดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม


๒.เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบด้วยไฟเผาผลาญที่สำหรับย่อยอาหารอันสม่ำเสมอ

ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร


๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นผู้เปิดเผยตัวตามเป็นจริง ทั้งในพระศาสดา

ทั้งในเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญู


๔. เป็นผู้ระดมความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีความเข้มแข็ง

บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย


๕.เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอย่างอริยะ ที่หยั่งถึงความเกิดขึ้นและความดับสลาย

ชำแรกกิเลสได้ อันให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ”

(ที.ปา.11/411/295 ฯลฯ)



“ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่เหมาะสำหรับบำเพ็ญเพียร มี ๕ อย่างเหล่านี้ ห้าอย่างคืออะไรบ้าง ?

กล่าวคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้แก่เฒ่า ถูกชราครอบงำ

๒. เป็นผู้เจ็บไข้ ถูกพยาธิครอบงำ

๓. สมัยที่อาหารขาดแคลน ข้าวไม่ดี หาอาหารยาก ไม่สะดวกที่จะยังชีพด้วยการหาบิณฑบาต

๔. สมัยที่มีภัย มีความกำเริบวุ่นวายในป่าดง ชาวชนบทต่างพากันขึ้นยานพาหนะผันผ้ายไป

๕.สมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกแล้ว ย่อมมีการด่าว่ากัน บริภาษกัน

มีการใส่ร้ายและละทิ้งกันและกัน

คนที่ยังไม่เลื่อมใส ก็ไม่เลื่อมใส

คนบางคนที่เลื่อมใสแล้ว ก็เปลี่ยนไปกลายเป็นอย่างอื่น




“ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร มี ๕ อย่าง เหล่านี้ ห้าอย่างคืออะไรบ้าง ?

กล่าวคือ

๑. ภิกษุยังหนุ่ม ยังเยาว์ มีผมดำสนิท ประกอบด้วยวัยหนุ่มอันเจริญ เป็นปฐมวัย

๒. ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ฯลฯ

๓. สมัยที่อาหารพร้อมดี ข้าวดี หาอาหารได้ง่าย สะดวกที่จะยังชีพด้วยการหาบิณฑบาต

๔. สมัยที่มนุษย์ทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ

มองดูกันด้วยสายตาประกอบด้วยความรัก

๕. สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมเป็นอันเดียวกัน

เป็นอยู่ผาสุก

เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน ก็ไม่มีการด่าว่ากัน ไม่บริภาษกัน ไม่ใส่ร้ายกัน ไม่ทอดทิ้งกัน

คนที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส

และคนที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป”


(องฺ.ปญฺจก.22/54/75)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 11:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขอบพระคุณ คุณบุญชัยค่ะ

:b47: คนไร้สาระได้อ่านข้อมูลที่โพสต์มาแล้ว
รู้สึกยินดีค่ะ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นและจะน้อมใส่ใจไว้ค่ะ :b47:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์

:b47: ระยะนี้ศิษย์จะขออ่านและทำความเข้าใจ
ยังไม่มีคำถามอาจารย์ค่ะ จะเรียนรู้ตามไปเรื่อย ๆ

:b8: :b8: :b8:
ด้วยความเคารพอย่างสูง

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0d3d0807d6e0eaf428fa5ae2ecfe15d0_raw.gif
0d3d0807d6e0eaf428fa5ae2ecfe15d0_raw.gif [ 47.97 KiB | เปิดดู 2812 ครั้ง ]
สัมมัปปธาน ๔ (= สัมมาวายามะ) กล่าวแล้ว

ต่อไปเป็นอิทธิบาท ๆ มี ๔ อย่าง เช่นกัน

อิทธิบาท แปลว่า ธรรมเครื่องให้ถึงอิทธิ (อิทธิ ความสำเร็จ, ฤทธิ์, บาท แปลว่า ทาง)

หรือ ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จ หรือ แปลง่ายๆ ว่า ทางแห่งความสำเร็จ มี 4 อย่าง คือ

๑.ฉันทะ ความพอใจ

๒.วิริยะ ความเพียร

๓.จิตตะ ความคิดจดจ่อ

๔.วิมังสา ความสอบสวนไตร่ตรอง

แปลให้จำง่ายตามลำดับว่า

-มีใจรัก

- พากเพียรทำ

- เอาจิตฝักใฝ่

-ใช้ปัญญาสอบสวน

ส่วนรายละเอียดศึกษาลิงค์ที่เคยให้ไว้ก่อนหน้า

แต่เพื่อความสะดวกนำมาให้ดูตรงนี้อีกที

viewtopic.php?f=2&t=20241

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 11:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิทธิบาท ๔ กล่าวไปแล้ว

ต่อไปอินทรีย์ ๕

แต่ก่อนจะกล่าวถึงอินทรีย์ธรรม ชี้ให้สังเกตองค์ธรรมบางข้อที่พบบ่อย ๆ ในฐานะต่าง ๆ กัน เช่น วิริยะ

(ความเพียร)วิริยะเป็นอิทธิบาทก็มี เป็นพละและอินทรีย์ก็มี เป็นโพชฌงค์ก็มี ทำให้ดูเหมือนซ้ำซาก

พึงทราบว่า เป็นการจัดตามคุณสมบัติและหน้าที่ เช่น

วิริยะ เป็นอิทธิบาทในกรณีที่เป็นหัวแรงใหญ่ ซึ่งให้บรรลุผลสำเร็จนั้น ๆ

วิริยะ เป็นพละในกรณีที่เป็นพลังคุ้มตัว ทำให้ธรรมฝ่ายตรงข้ามเข้าครอบงำทำอันตรายไม่ได้

วิริยะ เป็นอินทรีย์ในกรณีที่เป็นเจ้าการ ซึ่งจะออกโรงทำหน้าที่กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรมฝ่ายตรงข้าม

คือ ความเกียจคร้านความหดหู่ท้อถอย หงอยซึม เป็นต้น และสร้างความพร้อมในการที่จะทำงาน

วิริยะ เป็นโพชฌงค์ในกรณีที่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง ซึ่งเข้าร่วมงานกับองค์ธรรมอื่นๆ ทำหน้าที่สัมพันธ์

สืบทอดกันเพื่อนำไปสู่จุดหมาย คือ ความรู้แจ้งสัจธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อด้วยอินทรีย์ ๕ ลิงค์แรกกล่าวไว้ย่อๆ แต่ในที่นี้จะกล่าวเต็มใจความตามที่ท่านกล่าวไว้



อินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕ องค์ธรรมตัวเดียวกัน สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

เมื่อพูดอินทรีย์ ก็นำอินทรีย์ศัพท์ต่อข้างท้าย ตัวอย่างเช่น สัทธินทรีย์ เป็นต้น

เมื่อพูดถึงพละ ก็นำพละต่อท้าย ตัวอย่าง สัทธาพละ เป็นต้น


อินทรีย์ แปลว่า สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือ ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่

อย่างหนึ่งๆ

ในที่นี้ หมายถึง เป็นเจ้าการใหญ่ในการทำหน้าที่ กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรม

ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม เช่น

ความเพียร กำจัดความเกียจคร้าน ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงานและปฏิบัติธรรมก้าวหน้า

ไปได้



ความหมายของอินทรีย์ ๕ อย่างนั้น ท่านแสดงไว้พอสรุปได้ ดังนี้



๑. ศรัทธา (เรียกเต็มว่า สัทธินทรีย์) พึงเห็นได้ในโสดาปัตติยังคะ ว่าโดยสาระก็คือศรัทธา

ในตถาคตโพธิ หรือตถาคตโพธิสัทธานั่นเอง

หน้าที่ของศรัทธา คือ ความน้อมใจดิ่งหรือเด็ดเดี่ยว (= อธิโมกข์)

ความหมายสามัญว่า ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในความจริงความดีของสิ่งที่นับถือหรือปฏิบัติ


๒. วิริยะ (เรียกเต็มว่า วิริยินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สัมมัปปธาน ๔

บางแห่งว่า ความเพียรที่ได้ด้วยปรารภสัมมัปปธาน ๔ หรือ ตัวสัมมัปปธาน ๔ นั่นเอง

บางทีพูดให้สั้นลงว่า ความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม และทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อม

การมีความแข็งขันบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม

หน้าที่ของวิริยะคือการยกจิตไว้ (= ปัคคหะ)

ความหมายสามัญว่า ความเพียรพยายาม มีกำลังใจ ก้าวหน้าไม่ท้อถอย


๓. สติ (เรียกเต็มว่า สตินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สติปัฏฐาน ๔

บางแห่งว่า สติที่ได้ด้วยปรารภ สติปัฏฐาน ๔ หรือ ตัวสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

บางแห่งให้ความหมายง่ายลงมาว่า การมีสติ การมีสติครองตัวที่ยวดยิ่ง

สามารถระลึกนึกทวนถึงกิจที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้

หน้าที่ของสติคือดูแลหรือคอยกำกับจิต (= อุปัฏฐาน)

ความหมายสามัญว่า ความระลึกได้ กำกับใจไว้กับกิจ นึกได้ถึงสิ่งที่พึงทำพึงเกี่ยวข้อง


๔. สมาธิ (เรียกเต็มว่า สมาธินทรีย์) พึงเห็นได้ในฌาน ๔

บางแห่งว่าหมายถึงตัวฌาน ๔ นั่นเอง

หรือพูดอย่างง่าย ได้แก่ การทำภาวะปล่อยวางให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ

ได้แก่เอกัคคตาแห่งจิต

หน้าที่ของสมาธิ คือ การทำจิตไม่ให้ส่าย (= อวิกเขปะ

ความหมายสามัญว่า ความมีใจตั้งมั่น แน่วแน่ในกิจ ในสิ่งที่กำหนด


๕. ปัญญา (เรียกเต็มว่า ปัญญินทรีย์) พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔ คือ

การรู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง

หรือพูดอย่างง่ายได้แก่ การมีปัญญา ความประกอบด้วยปัญญาที่หยั่งถึงความเกิดขึ้น

และความเสื่อมสิ้นไปซึ่งเป็นอริยะ ทำลายกิเลสได้ ซึ่งจะทำให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

หน้าที่ของปัญญา คือ การเห็นความจริง (= ทัสสนะ)

ความหมายสามัญว่า ความรู้เข้าใจตามเป็นจริง รู้สิ่งที่ทำที่ปฏิบัติ หยั่งรู้หรือรู้เท่าทันสภาวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 11:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girljump.gif
girljump.gif [ 128.49 KiB | เปิดดู 2810 ครั้ง ]
อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ

ศรัทธาทำให้เกิดความเพียร

ความเพียรช่วยให้เกิดสติมั่นคง

เมื่อสติมั่นคงแล้ว กำหนดอารมณ์ก็จะได้สมาธิ

เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจ มองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชาตัณหาที่เป็นเหตุ

แห่งสังสารวัฏ มองเห็น

คุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืดแห่งอวิชชาและความทุรนทุกรายแห่งตัณหา

สงบ ประณีต ดีเยี่ยม

ครั้นเมื่อรู้ชัดเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธาที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่งหรือยิ่งกว่าศรัทธา

หมุนเวียน กลับเป็นสัทธินทรีย์อีก ดังพุทธพจน์ว่า



“ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั่นแล เพียรพยายามอย่างนี้ ครั้นเพียรพยายามแล้ว ก็ระลึกอย่างนี้

ครั้นระลึกแล้ว ก็ตั้งจิตมั่นอย่างนี้

ครั้นตั้งจิตมั่นแล้ว ก็รู้ชัดอย่างนี้

ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็เชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายที่แต่ก่อนนี้ เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น

ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาอยู่ในบัดนี้”


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


ในพุทธพจน์แสดงปฏิปทา ๔ ว่าด้วยแนวการปฏิบัติธรรมของบุคคลที่แตกต่างกันไปเป็น ๔ ประเภท

คือ

บางพวกปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า

บางพวกปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว

บางพวกปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า

บางพวกปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว


พระพุทธองค์ทรงชี้แจงว่า ตัวการที่กำหนดให้รู้ช้าหรือรู้เร็วก็คืออินทรีย์ ๕ กล่าวคือ

ถ้าอินทรีย์ ๕ อ่อนไปก็รู้ช้า

ถ้าอินทรีย์ ๕ แก่กล้าก็รู้ได้เร็ว -(องฺ.จตุกฺก. 21/161-3/200-4)


แม้แต่การที่พระอนาคามี แตกต่างกันออกไปเป็นประเภทต่างๆ ก็เพราะอินทรีย์ ๕ เป็นตัวกำหนดด้วย

-(องฺ.จตุกฺก. 21/169/209)

หรือกว้างออกไปอีก ตามปกติ ความพรั่งพร้อมและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ๕ นี้แล

เป็นเครื่องวัดความสำเร็จ เป็นอริยบุคคลชั้นต่างๆทั้งหมด กล่าวคือ เพราะอินทรีย์ ๕

เต็มบริบูรณ์ก็เป็นพระอรหันต์

อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่านั้นก็เป็นพระอนาคามี

อ่อนกว่านั้นก็เป็นพระสกทาคามี

อ่อนกว่านั้นก็เป็นพระโสดาบันประเภทธัมมานุสารี

อ่อนกว่านั้นก็เป็นพระโสดาบันประเภทสัทธานุสารี ดังนี้เป็นต้น

ตลอดจนว่า ถ้าไม่มีอินทรีย์ ๕ เสียเลย โดยประการทั้งปวง ก็จัดเป็นพวกปุถุชนคนภายนอก


มีคำสรุปว่า ความแตกต่างแห่งอินทรีย์ ทำให้มีความแตกต่างแห่งผล

ความแตกต่างแห่งผล ทำให้มีความแตกต่างแห่งบุคคล หรือว่าอินทรีย์ต่างกันทำให้ผลต่างกัน

ผลต่างกัน ทำให้บุคคลต่างกัน

(สํ.ม.19/876-900/265-271 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 11:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วมันแปลว่าอะไรหล่ะ :b28:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2009, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


boom_manman เขียน:
แล้วมันแปลว่าอะไรหล่ะ :b28:


ไม่เข้าใจครับ อะไรแปลว่าอะไร ถามอะไรครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร