วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




208795.jpg
208795.jpg [ 43.21 KiB | เปิดดู 5030 ครั้ง ]
ตอบคำถามจากลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21271&st=0&sk=t&sd=a&start=60

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

เข้าใจแล้วค่ะว่าเพราะอะไรอาจารย์จึง
เน้นให้พิจารณา ขันธุ์ 5 เพราะไม่งั้นขอบเขตมัน
กว้างมากเกินไป และอีกอย่างเราสามารถจะมองได้
ตลอดเวลาไม่ต้องเสียเวลาไป หาดูหรือค้นตำรา
ให้วุ่นวาย แค่นี้ยังไม่ค่อยจะทัน เพราะสังเกตุได้
ว่า เมื่อมีผัสสะ เช่นตากระทบรูป จิตจะก่อกระบวนการ
ทำงานทันที

และเท่าที่สังเกตุดู ว่าตัวเองไม่เท่าทัน
ตอนผัสสะค่ะ แต่จะทันเห็นตอนเวทนาเกิด อย่าง
นี้เรียกว่า ช้าไปไหมค่ะ การเห็นวงจรกรรมแบบนี้
เีรียกว่า มีอินทรียสังวร ได้ไหมค่ะ

ขอเรียนถามไว้ประดับความรู้
ศิษย์เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่อง ญาน 16
ลำดับขั้นของการบรรลุธรรม นั้น แต่ละลำดับเช่น
พระโสดาบันจะมีกระบวนการเกิดมรรค และผล
ในขณะที่ เราใช้เวลาศึกษาอยู่นี่ เรียกว่า
มรรคใช่ไหมค่ะ และกระบวนการเกิดมรรคที่จะข้ามฝั่ง
นั้น แต่ละชั้นก็ต้องผ่านญาน 16 ดั้งนั้นกว่า
จะถึงพระอรหันต์เท่ากับผ่านทั้งหมด 4 ครั้ง
ตรงนี้เข้าใจถูกไหมค่ะ

ผู้ที่ไม่มีอุปทาน เลยคือพระอรหันต์ ?
ผู้ที่มีสัมมาิทิฏฐิ นั้นนับตั้งแต่พระโสดาบัน ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 09:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอเรียนถามไว้ประดับความรู้
ศิษย์เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่อง ญาน 16
ลำดับขั้นของการบรรลุธรรม นั้น แต่ละลำดับเช่น
พระโสดาบันจะมีกระบวนการเกิดมรรค และผล
ในขณะที่ เราใช้เวลาศึกษาอยู่นี่ เรียกว่า
มรรคใช่ไหมค่ะ และกระบวนการเกิดมรรคที่จะข้ามฝั่ง
นั้น แต่ละชั้นก็ต้องผ่านญาน 16 ดั้งนั้นกว่า
จะถึงพระอรหันต์เท่ากับผ่านทั้งหมด 4 ครั้ง
ตรงนี้เข้าใจถูกไหมค่ะ




ลิงค์ญาณ ๑๖ หรือโสฬสญาณ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15529




ก่อนลงในรายละเอียด คุณคนไร้สาระพิจารณาความสัมพันธ์กันของธรรมะ และความละเอียด

ของจิตที่ถึงขั้นกำจัดอาสวะได้



“ศีลเป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่างนี้ ปัญญาเป็นอย่างนี้

สมาธิที่ศีลบ่มแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ปัญญาที่สมาธิบ่มแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

จิตที่ปัญญาบ่มแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยสิ้นเชิง คือ จากกามาสวะ ภวาสวะ

และอวิชชาสวะ”

(ที.ม. 10/111/143)


ความสัมพันธ์แบบต่อเนื่องกันของไตรสิกขานี้ มองเห็นได้ง่ายแม้ในชีวิตประจำวัน

กล่าวคือ เมื่อมีความบริสุทธิ์ในทางความประพฤติ เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของตน

ไม่หวาดต่อการลงโทษ ไม่สะดุ้งระแวงต่อการประทุษร้ายของคู่เวร

ไม่หวั่นใจเสียวใจต่อเสียงตำหนิหรือความรู้สึกไม่ยอมรับของสังคม และ ไม่มีความฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ

เพราะความรู้สึกเดือดร้อนรังเกียจในความผิดของตนเอง

จิตใจจึงจะปลอดโปร่งสงบแน่วแน่มุ่งมั่นต่อสิ่งที่คิด คำที่พูด และการที่ทำได้

จิตยิ่งไม่ฟุ้งซ่าน สงบ มุ่งมั่น แน่วแน่เท่าใด

การคิดการพินิจพิจารณา การรับรู้สิ่งต่างๆก็ยิ่งชัดเจน แล่นและคล่องตัว เป็นผลดีในทางปัญญา

มากขึ้นเท่านั้น


ข้ออุปมาในเรื่องนี้ เหมือนเมื่อน้ำไม่ถูกกวนคนพัดหรือเขย่า สงบนิ่ง

ผงฝุ่นต่างๆ ก็นอนก้นหายขุ่น น้ำก็ใส เมื่อน้ำใสก็มองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจน

ในการปฏิบัติธรรมขั้นสูงขึ้นไป ที่ถึงขั้นให้เกิดญาณ รู้แจ้งเห็นจริง จนกำจัดกิเลสได้

ก็ยิ่งต้องการจิตที่สงบนิ่ง ผ่องใส มีสมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้นไปอีก

ถึงขนาดระงับการรู้ทางอายตนะต่างๆได้หมด เหลืออารมณ์ที่กำหนดไว้ทำการแต่เพียงอย่างเดียว

เพื่อกำจัดกวาดล้างตะกอนที่นอนก้นทั้งหลาย ไม่ให้มีโอกาสขุ่นอีกต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 10:43, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอเรียนถามไว้ประดับความรู้
ศิษย์เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่อง ญาน 16
ลำดับขั้นของการบรรลุธรรม นั้น แต่ละลำดับเช่น
พระโสดาบันจะมีกระบวนการเกิดมรรค และผล
ในขณะที่ เราใช้เวลาศึกษาอยู่นี่ เรียกว่า
มรรคใช่ไหมค่ะ และกระบวนการเกิดมรรคที่จะข้ามฝั่ง
นั้น แต่ละชั้นก็ต้องผ่านญาน 16 ดั้งนั้นกว่า
จะถึงพระอรหันต์เท่ากับผ่านทั้งหมด 4 ครั้ง
ตรงนี้เข้าใจถูกไหมค่ะ




คุณคนไร้สาระพิจารณาข้อความต่อไปนี้ครับ

มรรค

คำว่า “มรรค” พูดเป็นสองนัย เหมือนๆ คำว่า ปัจจัย ดังกล่าวแล้ว

เมื่อพูดถึง มรรค ที่มาคู่กับผล (มรรค ผล) มรรค ในที่นี้ แปลว่า ผู้ฆ่า (ฆ่ากิเลส ซึ่งเกิดจากการ

ปฏิบัติ)

เมื่อพูดถึง มรรค ในอริยสัจ แปลว่า ทางดับทุกข์ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อกำจัดสาเหตุแห่งปัญหา

(เป็นขั้นวิธีการ เทคนิค อุบายวิธี อุปกรณ์)


ดูขยายความ....การปฏิบัติ ข้อปฏิบัติ หรือวิธีปฏิบัติ มีศัพท์จำเพาะเรียกว่า “ปฏิปทา”

คำว่า ปฏิปทา ในที่นี้ มีความหมายจำเพาะหมายถึง ข้อปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ หนทาง วิธีการ

หรือ วิธีดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงความดับทุกข์

ปฏิปทานี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดวางไว้แล้วโดยสอดคล้องกับกระบวนการดับทุกข์

ที่เป็นมัชเฌนธรรมเทศนา...และพระองค์ทรงเรียกปฏิปทานี้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" แปลว่า ข้อปฏิบัติ

มีในท่ามกลาง หรือ เรียกง่ายๆ ว่า ทางสายกลาง หมายถึง ข้อปฏิบัติ วิธีการ หรือ ทางดำเนินชีวิต

ที่เป็นกลางๆ ตามธรรมชาติ สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผล

ตามกระบวนการดับทุกข์ของธรรมชาติ ไม่เอียงเข้าไปหาขอบสุดสองข้าง-

(กามสุขัลลิกานุโยค-อัตตกิลมถานุโยค) ที่ทำให้ติดพัวพันอยู่ หรือ เฉไฉไถลออกไป

นอกทาง

มัชฌิมาปฏิปทานี้ มีชื่อเรียกอย่างง่ายๆว่า มรรค ซึ่งแปลว่า ทาง

ทางนี้มีส่วนประกอบ ๘ อย่าง และทำให้ผู้ดำเนินตามเป็นอารยชน จึงเรียกชื่อเต็มว่า

อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือ อารยอัษฎางคิกมรรค

พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรคา ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทานี้ เป็นทางเก่าที่เคยมีท่าน

ผู้เดินทางถูกต้องไปถึงจุดหมายเคยเดินกันมาในกาลก่อนแล้ว

พระองค์เพียงแต่ทรงค้นพบแล้ว ทรงเปิดเผยแก่มวลมนุษย์

ทรงทำหน้าที่แนะนำบอกทางนี้ให้แก่เวไนยชน-

(สํ.นิ. 16/253/129)

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


มรรคหรือมรรคานี้ เป็นวิธีปฏิบัติของมนุษย์ที่จะทำให้เกิดผลตามกระบวนการดับทุกข์ของธรรมชาติ

คือทำให้เหตุปัจจัยต่างๆ ส่งผลสืบทอดกันไปจนสำเร็จเสร็จสิ้นตามกระบวนการของธรรมชาตินั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 10:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




thai-gift019.gif
thai-gift019.gif [ 19.65 KiB | เปิดดู 5026 ครั้ง ]
มรรคมีองค์ ๘

บางครั้งเรียกกันสั้นๆว่า มรรค ๘ ชวนให้บางท่านเข้าใจผิดว่า เป็นทาง ๘ สาย

และเลยถือความหมายว่า เป็นทางหลายเส้นทางต่างหากกัน หรือทอดต่อกัน

เดินจบสิ้นทางหนึ่งแล้ว จึงเดินต่ออีกทางหนึ่งเรื่อยไปจนครบทั้งหมด

กลายเป็นว่า หัวข้อทั้ง ๘ ของมรรค เป็นหลักการที่ต้องยกขึ้นมาปฏิบัติให้เสร็จสิ้นไปทีละข้อ

ตามลำดับ


แต่ความจริงมิใช่เช่นนั้น คำว่า มรรคมีองค์ ๘ มีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า

หมายถึงทางสายเดียว

มีส่วนประกอบ ๘ อย่าง

เปรียบเหมือนทางหลวงที่สมบูรณ์ ต้องมีอะไรหลายอย่างประกอบกันเข้าจึง

สำเร็จเป็นถนนได้ เช่น มีดิน ทรวด ทราย หิน ลูกรัง ยางหรือคอนกรีต เป็นชั้นลำดับขึ้นมา

จนถึงผิวทาง

รวมเป็นถนนหรือพื้นถนน มีขอบคัน เส้นแนว ความเอียงเทของที่ลาดชันโค้งเลี้ยว

มีสัญญาณ เครื่องหมาย ป้ายบอกทิศทาง ระยะทาง และสถานที่เป็นต้น

ตลอดจนแผนที่ทางและโคมไฟในยามค่ำคืน

ถนนประกอบด้วยส่วนประกอบเหล่านี้ทั้งหมด และผู้ขับรถเดินทางย่อมอาศัยส่วนประกอบเหล่านี้

ทุกอย่างไปพร้อมๆกัน ฉันใด

มรรคก็ประกอบขึ้นด้วยองค์ ๘ ประการรวมกัน และผู้ปฏิบัติธรรมก็ต้องใช้องค์ประกอบทั้ง ๘

ของมรรคเนื่องไปด้วยกันโดยตลอด ฉันนั้น


มรรคมีองค์ ๘ หรือ อัฏฐังคิกมรรค เมื่อเจริญพรั่งพร้อมถึงที่ ก็จะถึงขีดและถึงขณะหนึ่ง

ซึ่งองค์มรรคทั้งหมด ร่วมกันทำหน้าที่ให้เกิดญาณอันแรงกล้า สว่างขึ้นมาหยั่งเห็นสัจธรรม

และกำจัดกวาดล้างกิเลสที่หุ้มห่อบีบคั้นจิตออกไป


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


การที่องค์มรรคทั้งหมด ทำหน้าที่พร้อมกันเช่นนี้ เรียกว่าเป็นมรรค เพราะเป็นขณะซึ่งมีองค์

ประกอบทั้งหมดครบเป็นมรรคจริงๆ

เมื่อมรรคทำหน้าที่แล้ว ก็มีภาวะที่เป็นผลตามมาคือ ความรู้ความเข้าในสัจธรรม

และความหลุดพ้นจากกิเลส ไร้สิ่งบีบคั้น เป็นอิสระ เรียกสั้นๆ ว่า ผล


ถ้าทุกอย่างค่อยดำเนินไปตามลำดับ จะมีการทำหน้าที่ของมรรคเช่นนี้ที่แรงหรือเบ็ดเสร็จยิ่งขึ้น

จน

เสร็จสิ้นรวมทั้งหมด ๔ คราว หรือ ๔ ขั้น จึงเรียกว่ามรรค ๔ และภาวะที่เป็นผล

ก็จึงมี ๔ เช่นเดียวกัน

รวมเรียกว่า มรรค ๔ ผล ๔ หรือ อริยมรรค ๔ อริยผล ๔ คือ

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล

อนาคามิมรรค อนาคามิผล

อรหัตมรรค และอรหัตผล

อาการที่องค์ธรรมทั้งหลาย ทำหน้าที่พร้อมกันในขณะจิตเดียว ยังผลที่ต้องการให้สำเร็จนี้

ท่านจึงเรียกว่า ธรรมสามัคคี ๆ ก็คือโพธิ ได้แก่ ความตรัสรู้

และในขณะแห่งมรรคนี้ มิใช่เฉพาะองค์มรรคเพียง ๘ เท่านั้น

แม้โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการก็เกิดขึ้น ทำหน้าที่พร้อมหมดในขณะจิตเดียวกัน


อย่างไรก็ตาม โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดนั้น ก็สรุปลงได้ในองค์มรรคทั้ง ๘ นั่นเอง

ดังนั้น เมื่อพูดถึงมรรค ก็จึงเป็นอันครอบคลุมถึงธรรมอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 10:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผู้ที่ไม่มีอุปทาน เลยคือพระอรหันต์ ?

ตามหลักเป็นดังนั้นครับ


อ้างคำพูด:
ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐินั้นนับตั้งแต่พระโสดาบัน ?


พูดถึง สัมมาทิฏฐิ ขั้นสูงสุดก็เป็นดังนั้นครับ

เมื่อพูดผ่อนลงมาท่านก็หมายถึงผู้ที่รักษาศีล ๕ ถูกต้อง รู้จุดมุ่งหมายของศีล


เพื่อความเข้าใจสัมมาทิฏฐิกว้างขึ้น ดูขยายความอีก


“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ประกอบ ๕ อย่างคอยหนุน (อนุเคราะห์)

ย่อมมีเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุตติ เป็นผลานิสงส์ องค์ประกอบ ๕ อย่างนั้น คือ

๑. ศีล (ความประพฤติดีงาม)

๒. สุตะ (ความรู้จากการสดับ เล่าเรียน อ่านตำรา การแนะนำสั่งสอนเพิ่มเติม)

๓. สากัจฉา (การสนทนา ถกเถียง อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สอบค้นความรู้)

๔. สมถะ (ความสงบ การทำใจให้สงบ การไม่มีความฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ)

๕. วิปัสสนา (การใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาวะของมัน คือ ตามที่มันเป็นจริง)

(องฺ.ปญฺจก.22/25/22)


เสริมด้วยพุทธพจน์ว่า “การฟังด้วยดี การสอบถามค้นคว้า เป็นอาหารของปัญญา”

(องฺ.ทสก.24/73/146)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โดยสรุป สัมมาทิฐิ ก็คือความเห็นที่ตรงตามสภาวะ คือ เห็นตามที่สิ่งทั้งหลายเป็นจริง

การที่สัมมาทิฐิจะเจริญขึ้น

ย่อมต้องอาศัยโยนิโสมนสิการเรื่อยไป เพราะโยนิโสมนสิการ ช่วยให้ไม่มอง

สิ่งต่างๆ อย่างผิวเผิน หรือ มองเห็นเฉพาะผลรวมที่ปรากฏ

แต่ช่วยให้มองแบบสืบค้นแยกแยะ ทั้งในแง่

การวิเคราะห์ ส่วนประกอบที่มาประชุมกันเข้า และ ในแง่การสืบทอดแห่งเหตุปัจจัย

ทำให้ไม่ถูกลวง

ไม่กลายเป็นหุ่นที่ถูกยั่วยุ ปลุกปั่นและเชิด ด้วยปรากฏการณ์ทาง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

และคตินิยมต่างๆ

จนเกิดเป็นปัญหาทั้งแก่ตนและผู้อื่น แต่ทำให้มีสติสัมปชัญญะ เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง

คิดตัดสินและกระทำการต่างๆด้วยปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 10:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความเข้าใจธรรมะที่กว้างขึ้นพร้อมความเป็นเหตุปัจจัยดูต่ออีกครับ



สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม

หรือ เป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนา

ให้บริสุทธิ์ ชัดเจน

เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังนั้น

การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง


ในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ ไว้ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ

และ โยนิโสมนสิการ *

(องฺ. ทุก. 20/371/110 ฯลฯ)


๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้น หรือ ชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน

แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย

การเรียนรู้จากผู้อื่น

ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำ

จากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by

others)

ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม

อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งศรัทธา




๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด

คิดเป็น หรือ คิดอย่างมีระเบียบ

หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และ

โดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ

ออก ให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหา

อุปาทานของตนเข้าจับ (analytical reflection; reasoned or systematic

attention)



ข้อสองนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายใน ได้แก่ ปัจจัยภายในตัวตัวคน

อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งปัญญา



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


* ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะ (ที่ไม่ถูกต้อง)

และ อโยนิโสมนสิการ


(องฺ.ทสก. 24/93/201)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 10:31, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2009, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208039.jpg
m208039.jpg [ 81.46 KiB | เปิดดู 5023 ครั้ง ]
โยนิโสมนสิการ มีความหมายสั้นๆ เข้าใจง่ายๆ เช่น

คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล

ถ้าเข้าใจความหมายดีแล้ว จะถือตามคำแปลสืบๆ กันมาว่า "การทำในใจโดยแบบคาย" ก็ได้

โยนิโสมนสิการ แม้ในภาษาอังกฤษก็มีผู้คิดแปลไปต่างๆ

คำแปลบางคำอาจช่วยประกอบความเข้าใจได้ (เริ่มจากความหมายโดยพยัญชนะ)

proper mind-work; proper attention; systematic

attention; reasoned attention; attentive consideration;

reasoned consideration; considered attention;

careful consideration; careful attention; ordered thinking;

orderly reasoning; critical reflection; analytical

reflection;


โยนิโสมนสิการทั้งหมดสรุปได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ



๑.โยนิโสมนสิการแบบปลุกปัญญา มุ่งให้เกิดความรู้แจ้งตามสภาวะ

เน้นที่การขจัดอวิชชา เป็นฝ่ายวิปัสสนา

มีลักษณะเป็นการส่องสว่างทำลายความมืด หรือชำระล้างสิ่งสกปรก ให้ผลไม่จำกัดกาล

หรือเด็ดขาด นำไปสู่โลกุตรสัมมาทิฏฐิ


๒. โยนิโสมนสิการแบบสร้างเสริมคุณภาพจิต

มุ่งปลุกเร้ากุศลธรรมอื่นๆ เน้นที่การสกัดหรือข่มตัณหา เป็นฝ่ายสมถะ

มีลักษณะเป็นการเสริมสร้างพลังหรือปริมาณฝ่ายดีขึ้นมากดข่มทับหรือบังฝ่ายชั่วไว้ ให้ผลขึ้น

กับกาล ชั่วคราว หรือเป็นเครื่องตระเตรียมหนุนเสริมความพร้อมและสร้างนิสัย

นำไปสู่โลกียสัมมาทิฏฐิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 10:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

:b47: กราบขอบพระคุณในความเมตตาของอาจารย์

:b47: ขอทำความเข้าใจและพิจารณาโดยแยบคาย สักระยะ
เพราะข้อมูล ที่อาจารย์ให้มา ค่อนข้างละเอียดและมีประโยชน์
ด้วยศิษย์ปัญญาน้อย จึงต้องใช้เวลา พิจารณามากหน่อย
จึงยังไม่มีคำถาม

:b47: จะอ่านและทำความเข้าใจ สมควรแก่อาจารย์ที่เป็น
ปรโตโฆสะ ของศิษย์

:b47: ถ้ามีสิ่งใดที่สมควรแก่ศิษย์ อาจารย์โปรดอนุเคราะห์ด้วยค่ะ
:b8: :b8: :b8:

:b47: กราบเรียนมาด้วยความเคารพยิ่ง

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


3ครั้งครับ อาการ12 คือพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รอบ ละ3 ลักษระ 4ครั้ง
ได้12 อาการ บรรลุมรรค :b20:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2009, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
:b47: กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

:b47: ขออนุญาติอธิบาย ตามที่ศิษย์เข้าใจ
ที่ได้พิจารณา แต่อาจจะไม่ค่อยแยบคายเท่าใด กรุณาช่วย
ขัดเกลาด้วยค่ะ อย่างนี้ค่ะ มรรคนั้น เป็นทางมุ่งสู่นิพพาน
และกระบวนการที่จะเกิดมรรค นั้นอินทรีย์ต้องแก่รอบ
ศิษย์หมายถึงมี ความสมดุลย์ มีความเป็นกลาง
ฉะนั้ันที่ศิษย์ศึกษาอยู่ นี่เพื่อปรับสมดุลย์อินทรีย์
และรู้สึกด้วยว่าอินทรีย์ยัง ไม่สมดุลย์ จึงยังต้องเพียรอยู่

:b47: มรรค 8 จะเกิดขึ้นได้ในกาลที่มี การตัดสินเพื่อที่
จิตมุ่งสู่ โลกุตตระ ทั้ง 8 ตัวจะประชุมลงพร้อม ๆ กันใน
ลักษณะที่สมดุลย์ และในแต่ละลำดับชั้นการเกิดอริยมรรค
จึงเท่ากับ 4 ครั้ง 4 คู่ 8 ตัว

:b47: กระบวนการเกิดมรรคในครั้งหนึ่ง ๆ นั้นถือว่าเป็น
ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายกุศล ด้วยหรือเปลาค่ะ (คำถามอาจฟังดู
ไม่ค่อยฉลาด แต่อยากทราบค่ะ)

:b47: เป็นได้ไหมค่ะว่า จิตของผู้ที่บรรลุโสดาบัน แล้ว
ท่านนั้นไม่ทราบ ก็ใช้ชีวิตไปเรื่อย ๆ เหมือนคนปกติ
ศิษย์ได้ยินมาว่า ผู้ที่เป็นพระโสดาบัน ท่านเห็นแต่
ความเกิดดับ ทุกสิ่งเกิดและดับ จิตท่านจึงไม่ยึดถิืือ อะไร
เพราะทราบว่าเดี๋ยวก็เปลี่ยน จึงไม่เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน
ละสักกายะทิฏฐิได้

:b47: ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยอธิบาย
เรื่องโพธิปักขิยธรรม 37 ประการด้วยค่ะ คร่าวๆก็
ได้ค่ะ พอได้อ่านที่อาจารย์เขียนมาก็นึกได้เลยว่า
อยากทราบเรื่องนี้ เพราะอ่านเจอในหนังสือพระ
(รู้สึกว่าจิตจะละโมบมากไปแล้ว จะเป็นเปรตปราชญ์
อะไรแบบนี้)

:b47: กราบขอบพระคุณด้วยความเคารพยิ่ง
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


แก้ไขล่าสุดโดย คนไร้สาระ เมื่อ 13 เม.ย. 2009, 05:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2009, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำความเข้าใจ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ กว้างๆก่อน

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือ ๓๗ ข้อ นับตามจำนวนข้อธรรมชุดนี้ได้ ๓๗ ข้อ

ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗

มรรคมีองค์ ๘

ชุดนี้ท่านเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือ ๓๗ ข้อ

(โพธิปักขิยธรรม = โพธิ+ปักขิย+ธรรม- ธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้)

ศึกษาอิทธิบาท ๔ ลิงค์นี้พลางๆก่อนครับ

viewtopic.php?f=2&t=20241

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ต.ค. 2009, 10:39, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2009, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามสั้นๆ แต่อธิบายแล้วไม่สั้นครับ จึงขอเวลาผ่อนส่งไปเรื่อย ๆ นะครับ
แต่ก็พึงทำความเข้าใจเบื้องต้นไว้ก่อนว่า ธรรมะภาคปฏิบัติไม่ได้แยกพูดเหมือนภาคปริยัติ

ปริยัติท่านแยกให้เราได้เรียนรู้ว่าธรรมะแต่ละตัวๆว่า มีสภาพอย่างไร ทำหน้าที่อะไรกันบ้าง ตัวอย่าง เช่น
สติ มีธรรมชาติอย่างไร ทำหน้าที่อะไร สัมปชัญญะมีธรรมชาติอย่างไร ทำหน้าที่อะไร เป็นต้น
แต่เวลาใช้งานจริงปฏิบัติจริงแล้วแยกไม่ออก

จะอุปมาให้พอเข้าใจ เหมือนเราจะตำน้ำพริกแกงสักหม้อหนึ่ง ประกอบด้วยเครื่องปรุง เช่น พริก ข่า ตะไคร้
ผิวมะกรูด กระเทียม กะปิ ฯลฯ ซึ่งแต่ละอย่างๆ มีสรรพคุณต่างกัน รสชาติต่างกัน (ขั้นนี้เปรียบเหมือน
ปริยัติ)
แล้วนำเครื่องแกงที่หั่นๆ พอเหมาะลงตำในครกหรือบดรวมกันจนละเอียด เสร็จแล้วนำไปใส่หม้อเติมน้ำ
พอเหมาะตั้งบนเตาไฟคนๆให้ทั่วแล้วใส่ผัก เป็นต้น ลงไป ฯลฯ สรุปเราได้แกงหม้อหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องแกง
ดังกล่าวทั้งหมดรวมอยู่ในน้ำแกงนั้น เราซดน้ำแกงพรืด ก็เท่ากับว่าได้กินเครื่องปรุงทุกอย่างซึ่งผสมอยู่ในน้ำแกงนั้นแล้ว อร่อยไม่อร่อย อ่อนอะไรไปบ้าง คนซดน้ำแกงรู้ (ขั้นนี้เปรียบได้กับภาคปฏิบัติ)
แต่จะให้เขี่ยหา ข่า ตะไคร้ เป็นต้น ชั้นนี้คงไม่พบ ฉันใดก็ฉันนั้น

สติสัมปชัญญะ เป็นต้น เป็นเจตสิกซึ่งเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับ มีอารมณ์เดียวกับจิต
เกิดดับพร้อมกัน
หากขณะปฏิบัติขืนไปนั่งแยกว่า นี่ใช่สติเป็นสติไหม เป็นสัมปชัญญะใช่สัมปชัญญะเป็นต้นหรือเปล่า
ตกจากปัจจุบันอารมณ์ หล่นสู่อดีตแล้วครับ
กลายเป็นว่าผู้นั้นหลงอารมณ์ ถูกสังขารปรุงแต่งเอาแล้ว :b1:

แล้วที่สำคัญองค์ธรรมแต่ละตัวแต่ละข้อเขาทำหน้าที่ของเขาเอง
มิใช่เรานั่งคิดเลิกละกิเลสเอาดังที่เราต้องการให้เป็นครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยอธิบาย
เรื่องโพธิปักขิยธรรม 37 ประการด้วยค่ะ เท่าที่ทราบ
จะเกี่ยวข้องกับการบรรลุโสดาบันด้วย แต่ไม่ค่อยเข้าใจ



โพธิปักขิยธรรมมี ๓๗ ประการ (ข้อ ) ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ (ชุดนี้ท่านเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ข้อ)


เมื่อพิจารณาคำถามคุณแล้ว เพียงต้องการทราบว่า โพธิปักขิยธรรม เกี่ยวข้องกับการบรรลุโสดาบันอย่างไร
เท่านั้น
แต่เมื่อกรัชกายโปรยหัวข้อชุดธรรมที่อยู่หมวดโพธิปักขิยธรรมแล้ว คุณคงพอมองเห็นแนวทาง
ด้วยว่าธรรมชุดนี้มีหลักปฏิบัติอยู่ด้วย คือ สติปัฏฐาน เมื่อปฏิบัติคล้อยตามหลักสติปัฏฐานแล้ว
คุณธรรมภายในทั้งหมดก็เกิดขึ้นในขณะจิตเดียวดังกล่าวผ่านมาแล้ว นี้พูดในแง่ปฏิบัติ
แต่เมื่อคุณต้องการเรียนรู้ (ปริยัติ) ก็จะนำมาให้ศึกษาพอประมาณนะครับ


เริ่มจากสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้

สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตรนั้น ก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง
หลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ

๑. กายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)
๒. เวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)
๓. จิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)
๔. ธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม)

ดูสติปัฏฐานเต็มที่นี่

viewtopic.php?f=2&t=21861

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 เม.ย. 2009, 20:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

:b47: ช่วงนี้ศิษย์ ต้องขอเวลาอ่านและพิจารณาทำ
ความเข้าใจก่อนค่ะ ไม่ได้ไปเที่ยวสงกรานต์
เหมือนเพื่อน ๆ หรอกค่ะ รู้สึกว่าต้องใช้ปัญญาิ
และพิจารณา กว่าเมื่อก่อนมาก ๆ

:b47: และขอบคุณค่ะที่ แก้คำว่าโพธิปักขิยธรรม
จาก 38 เป็น 37 เพราะศิษย์ไม่ทราบจริง ๆ อ่าน
ผ่าน ๆ จำได้เลือนลาง :b8:

:b47: จะตั้งใจอ่านและทำความเข้าใจให้ดีที่สุด
เท่าที่สติปัญญาจะอำนวย ข้อความที่อาจารย์
โพสต์มาศิษย์ต้องอ่านไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ค่ะ รู้สึกว่า
การศึกษาทางโลกยังง่ายกว่า เพราะศึกษาธรรมนี่ต้อง
ใช้ ปัญญา แบบลึกซึ้งต้อง เอาใจมาศึกษาจริง ๆ

:b8: :b8: :b8:
:b47: กราบเรียนมาด้วยความเคารพยิ่ง

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนการเกิดมรรคในครั้งหนึ่ง ๆ นั้นถือว่าเป็น
ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายกุศล ด้วยหรือเปลาค่ะ ...ครับเป็นในรอบการพิจารณาแต่ละครั้ง
มีปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายกลาง ไม่เป็นทั้งกุศล และอกุศล มีการดำเนินซ้ำๆจนครบ
รอบมีอาการ รู้สภาวะแจ้งในองค์มรรคนั้นชัดเจนเหมือน คนที่คิดอะไร ไม่ออก
พอพิจารณาไปๆองค์ เอสมังคีได้ ก็แจ้งพรึ่บ ขึ้นมาหลอดไฟบนหัวสว่าง
ก็ถึงรอบ1 คือพระไตรลักษณ์ ..
แล้วผู้ลุถึงโสดาปฏิมรรคแล้ว จะรู้ตัวเอง ว่า อ้อ..ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
เราถึงแล้วซึ่งโสดาปฏิมรรคแล้ว ....แต่ต้องพร้อมด้วยคุณวิเศษอย่าง1ด้วย
เป็นอย่างน้อย เช่น ตาทิพย์ หรือหูทิพย์ หรือ เจโต ถ้า ลุถึงไม่มีคุณวิเศษ
อะไรเลยก็คือหลงตัวเอง หลอกตัวเอง....เข้าข้างตัวเอง
แม้พระปัจเจท่านยังมี เจโต เป็นบาท แห่งการ ลุถึงมรรคเลยลอง สอบตัวเองดู..

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 49 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร