วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

[๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่เกิดบนบกมีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เกิด
ในน้ำมากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กลับมา
เกิดในกำเนิดอื่นจากมนุษย์มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่เกิดในมัชฌิมชนบทมีเป็นส่วน
น้อย สัตว์ที่เกิดในปัจจันตชนบท ในพวกชาวมิลักขะที่โง่เขลา มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่มีปัญญา ไม่โง่เง่า ไม่เงอะงะ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และ
คำเป็นทุพภาษิตได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เขลา โง่เง่า เงอะงะ ไม่สามารถที่
จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และคำเป็นทุพภาษิตได้มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ประกอบ
ด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา หลงใหล
มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้เห็นพระตถาคต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้เห็น
พระตถาคตมากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้
ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่า
โดยแท้ สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์
ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่สลดใจ
เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียร
โดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้


สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ
มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
การแสวงหา ด้วยภัตที่นำมาด้วยกระเบื้อง มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุติรส มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส
มากกว่าโดยแท้ เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีส่วนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์
มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน
ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมาก
ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุติรส ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๐๐๓ - ๑๐๕๘. หน้าที่ ๔๔ - ๔๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=20&i=205

--------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค "สมถะ-วิปัสสนา"
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/001.htm

จากคูมือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค "สมถะ-วิปัสสนา" มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ




ตามนัยแห่งอรรถกถา
ตามนัยแห่งอรรถกถา ท่านได้กล่าวไว้เป็น ๒ พวกด้วยกัน คือ
ผู้ที่บำเพ็ญเพียรวิปัสสนา ถ้ได้ฌานมาแล้วเอาฌานนั้นแหละเป็นบาทเรียกว่า สมถยานิก และผู้บำเพ็ญไม่ได้ฌานมาก่อน เริ่มวิปัสสนาที่เดียวเรียกว่า วิปัสสนายานิก ในสองอย่างนั้น นัยแรก ออกจากฌานแล้ว กำหนดองค์ฌาน ๕ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมที่เกิดพร้อมกับองค์ฌานนั้น แล้วใคร่ครวญพิจารณาดูว่าธรรมเหล่านี้เป็นนามธรรม เพราะน้อมไป จากนั้นก็พิจารณาที่อาศัยของนามธรรม เห็นว่าหทัยรูปเป็นที่อาศัยของธรรม มหาภูตรูป และ อุปาทายรูป เป็นรูปธรรม เพราะเป็นของฉิบหายไปด้วยสิ่งที่เป็นข้าศึกมีความร้อน และเย็นเป็นต้น นี้เรียกว่า สมถยานิก
สำหรับผู้ที่เป็นวิปัสสนายานิก เมื่อเจริญวิปัสสนาก็กำหนดนามธรรมทั้งหลาย มีขันธ์ ๕ เป็นต้น หรือรูปนาม ทั้งนี้เพราะนามและรูปนี้ อาศัยกันและกันท่องเที่ยวไปในสงสารสาครเหมือนมนุษย์กับเรือ ต่างก็อาศัยกันแล่นไปในมหาสมุทร ฉะนั้น อย่างนี้เป็นต้นปราศจากอัตตา ไม่เป็นคน เป็นสัตว์ ซึ่งจัดเป็นตัววิปัสสนาที่หนึ่ง เรียกว่า นามรูปปริเฉทญาณ เป็นต้น เรียกว่า วิปัสสนายานิก




ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง

คำว่า ฌาน ก็มักจะนึกถึงรูป รูปาวจรจิต แท้จริงคำว่า ฌาน แปลว่า การเพ่งอารมณ์ และการเพ่งอารมณ์ก็มี ๒ ประการ ในนัยแห่งอัฏฐสาลินี อรรถกถา แสดงว่า

ฌานนฺติ ทุวิธํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ = คำว่า ฌาน นั้นมี ๒ อย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน อย่างหนึ่ง ลักขณูปนิชฌาน อีกอย่างหนึ่ง
ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌานยนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา = ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ จัดเข้าในอารัมมณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น
วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม = แต่ว่าวิปัสสนาญาณ มัคคญาณ ผลญาณทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน
ตตฺถ วิปสฺสนา อนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌานํ = ในญาณทั้ง ๓ นั้น วิปัสสนาญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปกำหนดรู้แจ้งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น
วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโค ลกฺขณูปนิชฺฌานํ = มัคคญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชญาณ เพราะเป็นผู้ทำให้กิจที่รู้แจ้งไตรลักษณ์ของวิปัสสนาญาณ สำเร็จลง
ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม = ส่วนผลญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปรู้แจ้งลักษณะอันแท้จริงของนิโรธสัจจะ

ความแตกต่างกันระหว่างฌานทั้ง ๒

กล่าวโดยอารมณ์ อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณซึ่งเป็นบัญญัติเป็นต้น เป็นอารมณ์ ส่วนลักขณูปนิชฌาน นั้น คือวิปัสสนาญาณ มีรูปนาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์ มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพานเป็นอารมณ์
กล่าวโดยองค์ธรรม อารัมมณูปนิชฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา และที่ประกอบกับมหัคคคตฌานทั้ง ๙ เป็นองค์ธรรม ( รูปฌาน ๕ + อรูปฌาน ๔ ) ส่วนลักขณูปนิชฌาน ก็มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหากุศลจิต มัคคจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม

ผู้บรรลุ ๒ พวก
ผู้บรรลุมรรค ผล นิพพาน นั้นมีอยู่ ๒ จำพวกด้วยกัน คือ สุกขวิปัสสกจำพวกหนึ่ง และฌานลาภีบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง
สุกขวิปัสสกบุคคล นั้นเป็นผู้บำเพ็ญวิปัสสนาญาณ จนบรรลุเป็นพระอริยบุคคล ไม่ได้บำเพ็ญสมาธิจนบรรลุฌานมาก่อน
ฌานลาภีบุคคล นั้นเป็นผู้บำเพ็ญสมถภาวนาจนได้ฌาน แล้วเจริญวิปัสสนาภาวนาบรรลุเป็นพระอริยบุคคล ก็ฌานลาภีบุคคล มีวิธีเจริญวิปัสสนา ๓ วิธี คือ
๑. ปาทกฌานวาท
๒. สัมมสิตฌานวาท
๓. ปุคคลัชฌาสยวาท

๑. ปาทกฌานวาท คือ ก่อนที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น เข้าฌานก่อนฌานใดฌานหนึ่งแล้วแต่อัธยาศัย ทั้งนี้เพื่อให้สมาธิมีกำลัง ฌานที่เข้าก่อนนี้เรียกว่า ปาทกฌาน เมื่อออกจากฌานแล้วก็พิจารณาที่เป็นนามรูปที่เป็นองค์ฌานนั้นโดยความเป็นไตรลักษณ์ก็ได้ หรือจะพิจารณาสังขารธรรม นามรูปที่นอกจากองค์ฌานโดยความเป็นไตรลักษณ์ก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง จนบรรลุเป็นพระอริยบุคคลโดยถือฌานเป็นบาท ถ้าเข้าปฐมฌานเป็นบาท มัคคจิต ผลจิต ที่เกิดขึ้นครั้งแรกนี้เรียกว่า ปฐมฌานโสดาปัตติมรรค ปฐมฌานโสดาปัตติผล สำเร็จเป็นปฐมฌานโสดาบันบุคคล ถ้าเข้าทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌานเป็นบาท มรรคจิตที่เกิดขึ้นเป็นปฐมมรรคก็เรียกชื่อตามขั้นของฌาน เช่น ทุติยฌานโสดาปัตติมรรค ตติยฌานโสดาปัตติมรรค เป็นต้น ทำนองเดียวกับปฐมฌานโสดาปัตติมรรคนั่นแหละ แม้มรรคที่สูง คือ สกทาคามิมรรค-ผล อนาคามิมรรค-ผล ก็นัยนี้เหมือนกัน

๒. สัมมสิตฌานวาท คือ ฌานลาภีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนานั้น ถือการพิจารณาฌานที่ตนเคยได้มาแล้ว จะเป็นขั้นใดก็ตามพิจารณาองค์ฌานนั้นโดยความเป็นไตรลักษณ์ จะเข้าฌานก่อนก็ได้ ไม่เข้าฌานก่อนก็ได้ ไม่ถือการเข้าฌานเป็นสำคัญ ถือการพิจารณาเป็นสำคัญ เช่น เข้าปัญจมฌาน แต่เวลาพิจารณากลับมาพิจารณาองค์ฌานของปฐมฌานก็ได้ ทุติยฌานเป็นต้นก็ได้ มรรคที่เกิดขึ้นครั้งแรกก็เป็นปฐมฌานโสดาปัตติมรรค หรือทุติยฌานโสดาปัตติมรรค ตามที่บรรลุนั้นหาใช่เป็นปัญจมฌานโสดาปัตติมรรคไม่

๓. ปุคคลัชฌาสยวาท นี้ ท่านมุ่งถึงอัธยาศัยของฌานลาภีบุคคล ผู้เจริญวิปัสสนาเป็นใหญ่ เช่น ปรารถ ตติยฌานมัคคจิตก็ต้องเจริญภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้ คือ เข้าตติยฌานตรงตามความประสงค์ของตน เมื่อออกจากตติยฌานแล้วพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรม โดยความเป็นไตรลักษณ์ หรือไม่เข้าฌานก็ได้ แต่ต้องพิจารณาองค์ฌานของตติยฌานโดยความเป็นไตรลักษณ์ จนมรรคจิตเกิด มรรคจิตนั้นก็เป็นตติยฌานมัคคจิต

อนึ่ง สุกขวิปัสสกบุคคล ผู้ไม่ได้ฌานเจริญวิปัสสนาภาวนากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรมเพียงอย่างเดียว เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นก็ย่อมบริบูรณ์พร้อมด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ จัดว่าเป็นปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้นตามที่อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงไว้ว่า
วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ แปลว่า ว่าโดยวิปัสสนานิยาม แม้มรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ปฐมฌาน
พระอริยะสุกขวิปัสสกบุคคล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญญาวิมุตติ พระอริยะนี้มีมากกว่าพระอริยะที่เป็นฌานลาภีบุคคล ก็ฌานลาภีบุคคลนี้สำเร็จเป็นพระอริยะแล้ว


อิเมสํ หิ สารีปุตฺต ปญฺจนฺนํ ภิกฺขุสตานํ สฏฺฐิ ภิกฺขู เตวิชฺชา สฏฺฐิ ภิกฺขู ฉฬาภิญฺญา สฏฺฐิ ภิกขู อุภโตภาควิมุตฺตา อถ อิตเร ปญฺญาวิมุตฺตา
แปลว่า ดูก่อนสารีบุตร ในภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ภิกษุ ๖๐ องค์เป็นเตวิชชบุคคล ๖๐ องค์ เป็น ฉฬภิญญาบุคคล ๖๐ องค์ เป็นอุภโตภาควิมุตตบุคคล ที่เหลือเป็นปัญญาวิมุตตบุคคล

ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้สำเร็จมรรคผล เพราะเห็นอนิจจลักษณ์ และอนัตตลักษณ์มีมากกว่าผู้เห็นทุกขลักษณ์ เพราะว่าผู้ที่เห็นทุกขลักษณ์นี้เป็นผู้มีปุพพาธิการ ยิ่งด้วยสมาธิ
เตวิชชบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้มีวิชชา ๓ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ
ฉฬาภิญญาบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้มี อภิญญา ๖ หรือเรียกว่า วิชชา ๖ คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักขุญาณ อาสวักขยญาณ เจโตปริยญาณ ทิพยโสตญาณ และอิทธิวิธญาณ
อุภโตภาควิมุตตบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีบุคคล หรือเรียกว่า เจโตวิมุตตบุคคล
ปัญญาวิมุตตบุคคล ได้แก่ พระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปัสสก

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พรหมชาลสูตรที่ ๑.


ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน
ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบันบัญญัติว่า
นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ?
๕๘. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณห้า
ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพาน
ปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
๕๙. (๒) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้. ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะเหตุว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะ
กามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และ
ความคับใจ ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน อันเป็น
ธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่
อย่างนี้.
๖๐. (๓) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่าปฐมฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีวิตกและวิจารอยู่ ท่านผู้เจริญ เพราะ
อัตตานี้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตก
วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพาน
ปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์
ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
๖๑. (๔) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ทุติยฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีปีติเป็นเหตุให้จิตกระเหิมอยู่ เพราะ
อัตตานี้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติเสวยสุขอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอัน
บรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบัน เป็นธรรม
อย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
๖๒. (๕) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ตติยฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยจิตยังคำนึงถึงสุขอยู่ เพราะอัตตานี้บรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ เพราะละสุข ละทุกข์ และ
ดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า
นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์
ผู้ปรากฏอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๕ ประการนี้เท่านั้น
หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.


-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๕ - ๑๐๗๑. หน้าที่ ๑ - ๔๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1

-----------------------------------------------

พระนิพพาน จากคำครูอาจารย์

http://www.geocities.com/pranipan/
-----------------------------------------------

จากพรหมชาลสูตร ที่พระพุทธองค์ตรัสถึง การยึดถือ ฌานต่าง ๆ ว่าเป็นพระนิพพาน

เทียบจากคำสอนของครูบาอาจารย์หลายท่าน ๆ จะพบว่า มีหลาย ๆ แนว ที่ยึดถือ นิมิต, ฌาน ว่าเป็นพระนิพพาน

โดยเฉพาะแนวทางที่อ้างว่า สามารถนั่งสมาธิ ติดต่อกับพระพุทธเจ้าได้

หรือ ยึดถือ สุข สงบ จากสมาธิว่าคือ พระนิพพาน

บางสำนัก ก็พยายามแก้ไขพระไตรปิฏก หรือ อธิบายพระไตรปิฏก ให้เข้ากับแนวทางการปฏิบัติของตน


--------------------------------------

ข้อคิดจาก พระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก ท่านหนึ่ง


viewtopic.php?f=2&t=21049&p=98655#p98655

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้

ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2009, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.abhidhamonline.org/training/index.htm


ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนชาวไทยจำนวนมากมีความสนใจที่จะฝึกหัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งมีสถานปฏิบัติธรรมหลายแห่งประชาสัมพันธ์ตนเองว่า เป็นสถานที่อบรมการปฏิบัติวิปัสสนา แต่เมื่อผู้ที่สนใจและมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ได้ไปเข้ารับการอบรมและฝึกหัดปฏิบัติแล้ว ปรากฏว่าการอบรมหลักสูตรดังกล่าวมิใช่เป็นการอบรมด้านวิปัสสนากรรมฐานโดยตรง จึงทำให้ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านการปฏิบัติวิปัสสนามาเพียงเล็กน้อยเกิดความเข้าใจที่สับสน และที่เป็นปัญหาสำคัญมากก็คือมีผู้ที่ไม่เคยทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวทางสติปัฏฐานมาก่อน เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าวิปัสสนาและสมาธิเป็นสิ่งเดียวกัน หรือมีวิธีการอย่างเดียวกัน จนกระทั่งนำคำว่าวิปัสสนาไปใช้เรียกแทนการเจริญสมาธิก็มีเป็นจำนวนมาก นับเป็นการชักจูงผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์ให้หลงเดินไปบนทางที่ผิดสายโดยตรง เพราะในความเป็นจริงแล้ววิธีการปฏิบัติของกรรมฐานทั้งสองนี้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง


-------------------------------------------------------------------
แนวทางการปฏิบัติ สมถะยานิก ในแนว อิริยาบถบรรพะ , รูป นาม ที่จะนำไปสู่ ปัญญาวิมุตติ
http://abhidhamonline.org/OmNoi1.htm

------------------------------------------------------------------------

เมื่อก่อนยอมรับครับ ว่าเข้าใจผิดในเรื่องการปฎิบัติวิปัสสนา ว่าคือสิ่งเดียวกับสมาธิ และต้องผ่านฌานเท่านั้น เคยสอบถามจากพระนักปฏิบัติหลาย ๆ ท่านก็ไม่ได้คำอธิบายที่ชัดเจน เพียงแต่แนะนำว่า ให้นั่งสมาธิไปเถิด แล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นเอง

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธัมมัตถสังคหะ

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/063.htm

อภิญญา ญาณ วิชา

คำว่า อภิญญา นี้บางทีก็ใช้ว่า ญาณ หรือ วิชา แทนกันได้เพราะเป็นไวพจน์แก่กันและกัน เช่นกล่าวว่าญาณ ๓ หรือ วิชา ๓ ซึ่งเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ได้แก่

๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

๒. ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์ และรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย

๓. อาสวักขยญาณ รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลสและอาสวะ

ถ้ากล่าวถึง อภิญญา ๖ ญาณ ๖ หรือ วิชา ๖ ก็ให้เพิ่มอีก ๓ คือ

๔. ปรจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น

๕. ทิพพโสตญาณ หูทิพย์

๖. อิทธิวิธญาณ สำแดงฤทธิได้

เฉพาะหมายเลข ๓ อาสวักขยญาณ เป็นอภิญญาที่ไม่ได้อาศัยรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาทให้เกิด แต่เป็นอภิญญาที่อาศัยเกิดจาก อรหัตตมัคคจิต จึงเรียกว่า โลกุตตรอภิญญา ส่วนที่เหลืออีก ๕ เป็นอภิญญาที่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌาน อันเป็นโลกียจิตเป็นบาทให้เกิด จึงเรียกว่า โลกียอภิญญา

อย่าว่าแต่จะได้ถึงซึ่งอภิญญาเลย แม้การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จนกว่าจะได้ฌานนั้น ก็มิใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่ายดายนัก ต้องมีใจรักอย่างที่เรียกว่า มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยเอาใจจิตใจจ่ออย่างจริงจัง ทั้งต้องประกอบด้วยปัญญารู้ว่าฌานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นบาทที่ก้าวขึ้นไปสู่ความหลุดพ้น แล้วจึงตั้งหน้าเจริญภาวนาตามวิธีการจนเกิดฌานจิต ฌานจิตที่เกิดจากการปฏิบัติเช่นที่ได้กล่าวแล้วทั้งหมดนี้ มีชื่อเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยการประพฤติปฏิบัติ ได้ฌานด้วยการเจริญสมถภาวนา

ยังมีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เจริญสมถภาวนามาก่อน แต่ว่า เมื่อได้เจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียวมาตามลำดับ จนบรรลุอรหัตตมัคค อรหัตตผล ก็ถึงพร้อมซึ่งฌานด้วยก็มี อย่างนี้เรียกว่า มัคคสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค บางองค์ก็ได้ถึงอภิญญาด้วย เช่น พระจุฬปัณถกเถรเจ้า เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็มีอภิญญาด้วย คือมีอิทธิฤทธิถึงสำแดงปาฏิหาริย์เป็นพระภิกษุหลายรูปจนเต็มพระเชตวันวิหาร

---------------------------------------------------------------


วิธีปฏิบัติให้ได้มรรคผลนิพพาน โดย อ. ชวยง


http://www.geocities.com/nonborn/


ประวัติผู้แต่ง


มีอยู่คราวหนึ่ง ผมได้พูดคุยกับเพื่อนว่าอยากจะดูการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ จะได้มีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น เพื่อนก็แนะนำให้ไปยังสำนักสอนธรรมะแห่งหนึ่ง ผมได้ไปตามคำแนะนำและได้ดูตามที่ตั้งใจ ผู้ที่แสดงฤทธิ์บอกว่าท่านเป็นเทวดา ท่านมาเข้าร่างทรงซึ่งเป็นหญิงสาวเพื่อสอนธรรมะ มีการแสดงปาฏิหาริย์ประกอบการสอน นอกจากนี้ยังมีการรักษาโรคให้ฟรีอีกด้วย ตอนที่ไปครั้งแรกผมตั้งใจจะไปดูการแสดงปาฏิหาริย์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้สนใจธรรมะที่ท่านสอน เพราะฟังดูก็เป็นเรื่องพื้น ๆ ง่าย ๆ แต่เมื่อไปฟังได้สองสามครั้งก็รู้สึกสนใจ ท่านได้กล่าวถึงปรมัตถธรรม คือเรื่องรูป-นาม ขันธ์ 5 และสอนให้มีสติอยู่กับรูป-นาม ประกอบกับตอนนั้นผมได้อ่านพบข้อความที่สะดุดใจในหนังสือธรรมะเล่มหนึ่ง ข้อความนั้นกล่าวว่า "ไม่มีเราในขันธ์ 5 ในขันธ์ 5 ไม่มีเรา" ผมจึงได้ลองฝึกการมีสติอยู่กับรูปหรือกาย เมื่อกายเคลื่อนไหวไปอย่างไร ก็ทำความรู้สึกว่า กายเคลื่อนไหวไปอย่างนั้น ไม่ใช่เราเคลื่อนไป สอนตัวเองอยู่เสมอว่าในขันธ์ 5 นี้ ไม่มีเรา มีแต่กาย แล้วเอาสติดูกายตลอด ถ้าเผลอก็แล้วไป เมื่อนึกได้ก็เอาสติมาอยู่ที่กายอีก ทำเช่นนี้เรื่อยไปตลอดทั้งวัน ทำไปได้ประมาณ 4 วัน ก็มีวิปัสสนาญาณเกิดขึ้น คือในขณะที่กำลังย่อตัวลงนั่งเก้าอี้บนรถเมล์ก็รู้สึกว่า สิ่งที่ย่อตัวลงมานี้เป็นเพียงกาย ไม่มีความรู้สึกเป็นเราอยู่เลย ความรู้สึกในขณะนั้นแปลกประหลาดอย่างบอกไม่ถูก เป็นความรู้สึกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในชีวิต มีความรู้สึกว่าชีวิตมีเพียงเท่านี้เอง ไม่มีอะไรมากกว่านี้เลย ในตอนนั้นผมยังไม่ทราบว่าเป็นวิปัสสนาญาณ ได้แต่คิดไปว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคงเป็นนิมิตหมายความว่า ในอนาคตเราจะได้มรรคผลนิพพาน หลังจากนั้นก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรมลักษณะนี้อีกเลย ได้แต่นั่งสมาธิเหมือนเดิม อีก 1 เดือนต่อมาก็ได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับนักปฏิบัติท่านหนึ่ง ผมได้เล่าเรื่องนี้ให้ท่านฟัง ท่านก็พูดเปรย ๆ ขึ้นว่า น่าจะเป็นวิปัสสนาญาณ ผมจึงนึกเอะใจขึ้นมา เพราะขณะที่มีความรู้สึกประหลาดเกิดขึ้นมานั้น เป็นช่วงที่ผมปฏิบัติธรรมโดยการมีสติอยู่กับกายพอดี และความรู้สึกที่เกิดขึ้นก็เป็นลักษณะของการมีปัญญา ตั้งแต่นั้นมาผมก็ได้ปฏิบัติธรรมด้วยการมีสติอยู่กับรูปนามเป็นส่วนใหญ่ นั่งสมาธิน้อยลง และได้ไปฟังธรรมที่สำนักเดิมเกือบทุกสัปดาห์ เพื่อให้มีกำลังใจและเข้าใจธรรมะได้ดีขึ้น


-------------------------------------------------
เมื่อก่อน เคยฝึกสมาธิ เพื่ออยากจะได้ ฤทธิ์ทางใจ ครับ ทั้ง เพ่งลูกแก้วที่ศูนย์กลางกาย และ มโนมยิทธิ ของบางสำนัก แต่ไม่ก้าวหน้าครับ ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับอิทธิ ปาฏิหาริย์ จนภายหลังได้มาพบ ผู้ที่มี อภิญญาจิต คล้าย ๆ กับสิ่งที่ อ.ชวยงได้พบ ท่านได้แสดงผลของอภิญญาจิตให้เห็น แล้วชี้แจงว่า นี่ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ แล้วท่านก็แนะนำให้ ให้ฝึกสติปัฏฐาน เน้นการกำหนดทุกข์ในรูป นาม และศึกษา ปรมัตถ์ธรรม ในพระอภิธรรมควบคู่ไปกับการปฏิบัติ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระอรหันต์บางท่าน ในระหว่างที่บวช ท่านไม่สามารถทำสมาธิให้เกิด สมาธิขั้นฌานได้เลย ท่านจึงได้ใช้ใบมีดเฉือนคอตัวเอง ในระหว่างนั้น ท่านได้มีโยนิโสมนสิการ พิจารณา สภาพธรรมที่เกิดขึ้น จนเกิดวิปัสสนาญาณ มรรลุมรรคผลนิพพานได้ พร้อมได้อภิญญา ( นั้นเป็นวาสนาบารมีของท่าน ที่สั่งสมมา และมีเหตุบางอย่าง ที่ท่านต้องบุลธรรรมพิศดารแบบนี้ )

ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสูจน์ พระพุทธพจน์ที่ว่า

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 003&Z=1058

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้ สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

-----------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๕๖๗ - ๖๕๗๘. หน้าที่ ๒๘๑.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=26&i=352



อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ฉักกนิบาต
๖. สัปปทาสเถรคาถา


อรรถกถาสัปปทาสเถรคาถาที่ ๖
คาถาของท่านพระสัปปทาสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปณฺณวีสติ ดังนี้.
เรื่องนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทั้งหลาย ได้ก่อสร้างกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรปุโรหิตของพระเจ้าสุทโธทนะในนครกบิลพัสดุ์ เขาได้มีชื่อว่าสัปปทาส. เขาเจริญวัยได้ความศรัทธาในคราวสมาคมพระญาติของพระศาสดา จึงบวช เพราะกิเลสครอบงำ จึงไม่ได้เจโตสมาธิ ประพฤติพรหมจรรย์ เกิดสลดใจ ภายหลังจึงนำศัสตรามา เจริญโยนิโสมนสิการก็ได้บรรลุพระอรหัต
เมื่อจะพยากรณ์อรหัตผลจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
นับตั้งแต่เราบวชมาแล้วได้ ๒๕ ปี ยังไม่เคยได้รับ
ความสงบใจ แม้ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเลย เราไม่ได้เอกัคคตา
จิต ถูกกามราคะครอบงำ ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำ
ครวญออกไปจากที่อยู่ด้วยคิดว่า จักนำศัสตรามา ชีวิต
ของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า ก็คนอย่างเราจะลาสิกขา
เสียอย่างไรได้ ควรตายเสียเถิดคราวนี้
เราได้ฉวยเอามีดโกนขึ้นไปนอนบนเตียง มีดโกน
เล่มนั้น เรานำเข้าไปจ่อไว้แล้ว สามารถจะตัดเส้นเอ็นให้
ขาดได้
ขณะนั้น โยนิโสมนสิการเกิดขึ้นแก่เรา โทษปรากฏ
แก่เรา ความเบื่อหน่ายในสังขารก็เกิดขึ้นแก่เรา เพราะ
ความเบื่อหน่ายในสังขารนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้ว ขอ
ท่านจงดูความที่ธรรมเป็นธรรมดีเถิด วิชชา ๓ เราได้บรรลุ
แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺณวีสติวสฺสานิ ยโต ปพฺพชิโต อหํ ความว่า จำเดิมแต่ที่เราบวชนั้นเป็นเวลา ๒๕ ปี.
บทว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปิ เจโตสนฺติ มนชฺฌคํ ความว่า เรานั้นประพฤติพรหมจรรย์มาตลอดกาลเท่านี้ ยังไม่ได้ความสงบใจ ความตั้งมั่นแห่งจิต ชั่วขณะแม้มาตรว่าลัดนิ้วมือเดียว คือแม้สักว่าดีดนิ้วมือ.
ก็พระเถระไม่ได้เอกัคคตาจิตด้วยประการอย่างนี้ จึงกล่าวเหตุในข้อนั้นว่า ถูกกามราคะครอบงำ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฏิโต แปลว่า บีบคั้น. อธิบายว่า ครอบงำ.
บทว่า พาหา ปคฺคยฺห กนฺทนฺโต ความว่า แหงนหน้าประคองแขนทั้งสองข้างคร่ำครวญว่า ในกาลที่เราบวชในพระศาสนาอันเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกข์แล้ว ไม่สามารถจะถอนตนขึ้นจากเปือกตมคือกิเลสได้นี้ เป็นไปไม่สมควรอย่างยิ่งในพระศาสนานี้.
บทว่า วิหารา อุปนิกฺขมึ แปลว่า ออกไปภายนอกจากวิหารที่อยู่.
เพื่อแสดงอุบายอันเป็นเหตุให้ออกไป ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เราจักนำศัสตรามา.
วา ศัพท์ในบทว่า สตฺถํ วา อาหริสฺสามิ ในคาถานั้นเป็นวิกัปปัตถะ (คำแสดงความหมายให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง)
ด้วย วา ศัพท์นั้น ท่านสงเคราะห์ชนิดของความมีอาทิว่า โดดจากต้นไม้หรือผูกคอตาย.
บทว่า สิกฺขํ ได้แก่ อธิศีลสิกขา.
บทว่า ปจฺจกฺขํ แปลว่า บอกคืน คือละเสีย.
บาลีว่า ปจฺจกฺขา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ด้วยการบอกคืนสิกขา.
บทว่า กาลํ แปลว่า ตาย. อธิบายว่า ชื่อว่าคนเช่นเราจะพึงตายด้วยการบอกคืนสิกขาได้อย่างไรเล่า.
จริงอยู่ การบอกคืนสิกขา ชื่อว่าการตายในอริยวินัย.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุบอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลวนั้น เป็นมรณะความตาย.
ก็ในบาลีว่า สิกฺขํ ปจฺจกฺขาย มีวาจาประกอบความว่า ชื่อว่าคนเช่นเราพึงบอกคืนสิกขาแล้วกระทำกาละได้อย่างไรเล่า แต่จะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสิกขากระทำกาละ เพราะฉะนั้น เราจักนำศัสตรามา เราจะประโยชน์อะไรด้วยความเป็นอยู่.
บทว่า ตทาหํ ได้แก่ ในคราวที่เราเบื่อหน่ายชีวิต เพราะไม่สามารถบำเพ็ญสมณธรรมได้ เพราะถูกกิเลสครอบงำ.
บทว่า ขุรํ ได้แก่ มีดโกนที่ลับแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ศัสตราประดุจมีดโกน.
บทว่า มญฺจกมฺหิ อุปาวิสึ ความว่า เพราะกลัวผู้อื่นห้าม เราจึงเข้าห้องแล้วนั่งบนเตียง.
บทว่า ปรินีโต ได้แก่ นำเข้าไปใกล้แล้ว. อธิบายว่า พาดไว้ที่คอ.
ด้วยบทว่า ธมนึ นี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่าเส้นเอ็นที่คอ ชื่อว่ากัณฐธมนิ ได้แก่ลำคอ ดังนี้ก็มี.
บทว่า เฉตฺตุ ํ แปลว่า เพื่อตัด.
บทว่า ตโต เม มนสีกาโร โยนิโส อุทปชฺชถ ความว่า เราคิดว่าจักตายในคราวใด จึงเอามีดจ่อเพื่อตัดคอคือเส้นเอ็น ต่อจากนั้น เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ปีติจึงเกิดขึ้นเพราะได้เห็นศีลบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ, กายของคนผู้มีใจประกอบด้วยปีติก็สงบ เพราะจิตของคนมีกายสงบซึ่งเสวยสุขอันปราศจากอามิส เป็นจิตตั้งมั่น โยนิโสมนสิการจึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตโต ความว่า ภายหลังจากเอามีดจ่อที่คอ เมื่อเกิดบาดแผล จึงเกิดโยนิโสมนสิการอันข่มเวทนาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงการเกิดแห่งญาณ อันเป็นเครื่องพิจารณามรรคและผลที่ยิ่งกว่านั้นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า โทษปรากฏแก่เรา ดังนี้.
คำนั้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาสัปปทาสเถรคาถาที่ ๖
-----------------------------------------------------

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 03:05
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


เรี่องนี้ว่าไปแล้วหน้าปวดหัวนะครับ... :b16: :b16:

โมทนาสาธุธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์

เจ้าเรียนธรรม

แตนำไปละเมิดพระอริยะสงฆ์ครั้งแล้วครั้งเล่า

กรรมเวรนั้นกำลังตอบสนองเจ้าแล้ว

จงรับเอาไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต



สมาธิสูตรที่ ๑
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปรกติได้ความสงบใจในภาย
ใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑ บุคคลบางคนใน
โลกนี้ มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจ
ในภายในจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน
ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑ บุคคลบางคนในโลกนี้ มี
ปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำ
พวก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๒


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๕๒๕ - ๒๕๓๔. หน้าที่ ๑๐๙.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=92

อรรถกถาปฐมสมาธิสูตรที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสมาธิสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถสฺส ได้แก่ อัปปนาจิตตสมาธิในภายในของตน.
บทว่า อธิปญฺญาธมฺมวิปสฺสนาย ความว่า วิปัสสนาญาณที่กำหนดสังขารเป็นอารมณ์.
ที่แท้วิปัสสนาญาณนั้นนับว่าเป็นอธิปัญญาและเป็นวิปัสสนาในธรรมทั้งหลาย กล่าวคือปัญจขันธ์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.

จบอรรถกถาปฐมสมาธิสูตรที่ ๒
-----------------------------------------------------
อรรถกถาทุติยสมาธิสูตรที่ ๓
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสมาธิสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โยโค กรณีโย ความว่า พึงทำความประกอบขวนขวาย.
บทว่า ฉนฺโท คือ กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจใคร่จะทำ.
บทว่า วายาโม คือ ความเพียร.
บทว่า อุสฺสาโห คือ ความเพียรยิ่งกว่าวายามะนั้น.
บทว่า อุสฺโสฬฺหี ความว่า ความเพียรมาก เสมือนยกเกวียนที่ติดหล่ม.
บทว่า อปฺปฏิวานี ได้แก่ ไม่ถอยกลับ.

จบอรรถกถาทุติยสมาธิสูตรที่ ๓
------------------

อรรถกถาตติยสมาธิสูตรที่ ๔
พึงทราบวินิจฉัยในตติยสมาธิสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า เอวํ โข อาวุโส สงฺขารา ทฏฺฐพฺพา เป็นต้น พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมดาว่าสังขารทั้งหลาย พึงพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง พึงกำหนดโดยความไม่เที่ยง พึงเห็นแจ้งโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาก็อย่างนั้นดังนี้.
แม้ในบทว่า เอวํ โข อาวุโส จิตฺตํ สณฺฐเปตพฺพํ เป็นต้นพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงน้อมใจไปด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงทำอารมณ์ให้เป็นหนึ่งด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงให้เป็นสมาธิด้วยปฐมฌาน จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจทุติยฌานเป็นต้น ก็อย่างนั้นดังนี้.
ในพระสูตร ๓ สูตรเหล่านี้ ตรัสสมถะและวิปัสสนาเป็นโลกิยะและโลกุตระอย่างเดียว.

จบอรรถกถาตติยสมาธิสูตรที่ ๔
-----------------------------------------------------

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๐๐๓ - ๑๐๕๘. หน้าที่ ๔๔ - ๔๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=20&i=205


บทว่า อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย ได้แก่ รู้อรรถกถาและบาลี.
บทว่า ธมฺมานุธมฺมํ ปฏิปชฺชนฺติ ได้แก่ บำเพ็ญปฏิปทาอันสมควร.
บทว่า สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ ได้แก่ ในเหตุอันน่าสังเวช.
บทว่า สํวิชฺชนฺติ ความว่า ย่อมถึงความสังเวช.
บทว่า โยนิโส ปทหนฺติ ความว่า กระทำปธานะ คือ ความเพียรอันตั้งไว้โดยอุบาย.
บทว่า ววสฺสคฺคารมฺมณํ ความว่า พระนิพพานเรียกว่า ววัสสัคคะ (เป็นที่สละสังขาร), กระทำพระนิพพานนั้นให้เป็นอารมณ์.
บทว่า ลภนฺติ สมาธึ ความว่า ย่อมได้มรรคสมาธิและผลสมาธิ.




---------------------------------------

จากพระสูตรทั้งสอง ผมเห็นความสอดคล้องกัน ดังนี้

บุคคลบางคนในโลกนี้ มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายในจำพวก ๑

เทียบเท่าได้กับ บุคลที่เจริญสติปัฏฐาน ในหมวดที่ไม่ได้อาศัย สมาธิ โลกียฌานขั้นเอกัคคจาจิต เช่น อิริยาบถบรรพะ ,จิตตานุปัสสนา เป็นต้น แล้วบรรลุมรรคผล ซึ่งเมื่อครั้งพุทธกาล บุคคลที่บรรลุธรรมแบบนี้ (ปัญญาวิมุติ) มีจำนวนมากกว่า


แต่ไฉน ในปัจจุบัน ที่ สัตว์ทั้งหลายได้ฟังพระสัทธรรมน้อยลงไปเรื่อย อัตตโนมติของอาจารย์สำนักต่าง ๆ เฟื่องฟูขึ้นมา ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรมน้อยลงไปเรื่อย ๆ อาจารย์ผู้ได้ เอกัคคตาจิตระดับฌานต่าง ๆ ที่รู้วิธียกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา ก็น้อยลงไปเรื่อย ๆ หายากเต็มที

แต่ อัตตโนมติของอาจารย์ต่าง ๆ ที่ยึดถือ เอกัคคตาจิต ว่าคือ อธิปัญญา, วิปัสสนาญาณ , มรรคผล นิพพาน ก็มากขึ้นเรื่อย ๆ

รวมทั้งบาง สำนักก็ยึดถือเอานิมิต ที่เกิดจากการนั่งสมาธิ ที่ยังไม่เกิดแม้ เอกัคคตาจิต แต่เกิดเพียงนิมิต แล้วยึดถือว่า นิมิตนั้นคือ วิปัสสนาญาณ มรรคผล นิพพาน ก็มากขึ้นเรื่อย ๆ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ในเรื่องวิมุตตินี้ ท่านผู้รู้ได้รวบรวมจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ไว้ดังนี้

http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=32

๓๒. วิมุตติ
ถาม วิมุตติ คืออะไร?

ตอบ พระพุทธศาสนาแสดง วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็นโลกุตตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ
ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ว่า
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

ขยายความ โดยปริยายหนึ่งๆ ว่า :-
เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยใจ ได้แก่ ผลสมาธิ คือสมาธิที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ผลปัญญา คือปัญญาที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยพระอภิธรรมแล้ว เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ จึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับอรหัตตผลจิต ก็เจโตวิมุตตินั้น ได้แก่ เอกัคคตาหรือสัมมาสมาธิ ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ ที่ประกอบด้วยอรหัตตผลจิต
อริยมรรค ชื่อว่า กำลังหลุดพ้นจากกิเลส
อริยผล ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วจากกิเลส
อริยมรรคนั้นเป็นกุศลจิตมี ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
อริยผลเป็นผลของมรรคเป็นวิบากจิต ก็มี ๔ เท่ากับอริยมรรค คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
ในขณะที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้น ทำลายกิเลสให้ขาดเป็นสมุจเฉทแล้วดับไป ผลจิตอันเป็นวิบากจะเกิดขึ้นสืบต่อจากมรรคจิตทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่นในระหว่างนั้น นั่นคือเมื่อมรรคอันเป็นเหตุเกิดขึ้นแล้วดับลง ผลของมรรคจะเกิดต่อทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่น
การที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้นแล้วดับไปผลจิตอันเป็นวิบากก็เกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องรอเวลา นี้แหละชื่อว่า อกาลิโก เพราะไม่มีกาลเวลาในการให้ผลกุศลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมหากุศลหรือฌานกุศลเมื่อเกิดขึ้นและดับไปแล้วที่จะให้ผลทันทีเหมือนมรรคจิตหามีไม่ ต้องรอเวลาที่จะให้ผลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นมรรคจิตเท่านั้นจึงชื่อว่า อกาลิโก กุศลอื่นๆ ไม่ชื่อว่าอกาลิโก

ในอรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สัททสูตร กล่าวว่า สมาธิชื่อว่า เจโตวิมุตติ เป็นผลของสมถะ และที่สมาธิได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ
ปัญญาชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เป็นผลของวิปัสสนา และที่ปัญญาได้ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา

ใน คัมภีร์บุคคลบัญญัติ แสดงวิมุตติของพระอรหันต์ ๒ อย่าง คือ อุภโตภาควิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไม่มีเจโตวิมุตติ
อุภโตภาควิมุตติ ได้แก่ บุคคลที่ได้สมาบัติ ๘ คือได้ทั้งรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ออกจากสมาบัติแล้วเจริญวิปัสสนา เห็นความเสื่อมไปสิ้นไปของสังขารทั้งหลายด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยมรรคปัญญา กล่าวคือบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุตตินี้พ้นจากรูปกายคือรูปฌานด้วยอรูปฌานหรืออรูปสมาบัติ และเพราะเจริญฌานที่มีอรูปเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่าพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติก่อนเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงพ้นจากนามกาย คือกิเลสด้วยอริยมรรคเป็นครั้งที่สอง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอุภโตภาควิมุตตบุคคล เพราะหลุดพ้นจากส่วนสองคือ ๒ ครั้ง ครั้งแรกพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ ครั้งที่ ๒ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค
ท่านจัดบุคคลที่ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตติไว้ ๕ พวกคือบุคคลที่ได้อรูปสมาบัติ ๔ ออกจากอรูปสมาบัติแต่ละสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วจึงบรรลุพระอรหัตต์จัดเป็น ๔ พวก กับพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว บรรลุพระอรหัตต์อีกพวกหนึ่ง จึงเป็น ๕ พวก
สรุปว่า บุคคลที่ได้ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตินั้น ได้แก่พระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น

ปัญญาวิมุตติ ได้แก่บุคคลผู้มิได้ถูกต้องสมาบัติ ๘ ด้วยกาย แต่หลุดพ้นจากกิเลสเพราะเห็นด้วยปัญญา ท่านจัดปัญญาวิมุตติบุคคลไว้ ๕ พวก คือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือเจริญวิปัสสนาล้วนๆ พวกหนึ่ง และบุคคลผู้ออกจากรูปฌาน ๔ แต่ละฌานแล้วเจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหันต์อีก ๔ พวกคือ
ออกจากปฐมฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากทุติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑
ออกจากตติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากจตุตถฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์อีก ๑ จึงรวมเป็น ๕ พวก ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ พวกนี้ไม่มีท่านใดเลยที่ได้สมาบัติ ๘ อย่างมากก็ได้เพียงรูปฌาน ๔ เท่านั้น
ถึงกระนั้น บุคคลทั้งสองพวกนี้ คือทั้งอุภโตภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติต่างก็ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงเป็นสมุจเฉทวิมุตติด้วยกันทั้งสิ้น

หมายเหตุ
สมาบัติ ๘ นั้นได้แก่ รูปฌาน ๔ คือปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน และอรูปฌาน ๔ คืออากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นิโรธสมาบัติหรือสัญญาเวทยิตนิโรธ คือการเข้าสมาบัติด้วยการดับสัญญาและเวทนา ซึ่งรวมไปถึงการดับจิตและเจตสิกอื่นๆ พร้อมทั้งรูปที่เกิดจากจิตด้วย แต่รูปที่เกิดจากกรรม จากอุตุและอาหารยังคงเป็นไปอยู่ เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติจึงยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้นั้นมี ๒ พวก คือพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น พระอริยบุคคลนอกจากนั้นเข้าไม่ได้ และท่านจะเข้านิโรธสมาบัติกันอย่างมาก ๗ วัน ก่อนเข้าท่านจะต้องทำบุพกิจ ๔ อย่าง คือ
๑. อธิษฐานไม่ให้บริขารและร่างกายของท่านเป็นอันตราย
๒. อธิษฐานขอให้ออกจากฌานได้โดยไม่ต้องมีใครมาเรียก เมื่อสงฆ์ต้องการพบท่าน
๓. อธิษฐานขอให้ออกจากฌานได้โดยไม่ต้องมีใครมาเรียก เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์จะพบท่าน
๔. พิจารณาอายุของท่านว่าจะอยู่ได้ครบ ๗ วันหรือไม่ ถ้าอยู่ครบ ท่านก็อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ถ้าอยู่ไม่ครบ ๗ วัน ท่านก็กำหนดเวลาเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน

________________________________________
ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
มหาเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ

จูฬเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
สัททสูตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓
ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:


แต่ไฉน ในปัจจุบัน ที่ สัตว์ทั้งหลายได้ฟังพระสัทธรรมน้อยลงไปเรื่อย อัตตโนมติของอาจารย์สำนักต่าง ๆ เฟื่องฟูขึ้นมา ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรมน้อยลงไปเรื่อย ๆ อาจารย์ผู้ได้ เอกัคคตาจิตระดับฌานต่าง ๆ ที่รู้วิธียกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา ก็น้อยลงไปเรื่อย ๆ หายากเต็มที

แต่ อัตตโนมติของอาจารย์ต่าง ๆ ที่ยึดถือ เอกัคคตาจิต ว่าคือ อธิปัญญา, วิปัสสนาญาณ , มรรคผล นิพพาน ก็มากขึ้นเรื่อย ๆ

รวมทั้งบาง สำนักก็ยึดถือเอานิมิต ที่เกิดจากการนั่งสมาธิ ที่ยังไม่เกิดแม้ เอกัคคตาจิต แต่เกิดเพียงนิมิต แล้วยึดถือว่า นิมิตนั้นคือ วิปัสสนาญาณ มรรคผล นิพพาน ก็มากขึ้นเรื่อย ๆ





เพราะคุณยังไม่เข้าใจเรื่องเหตุไง ถ้าคุณเข้าใจ คุณจะไม่มาสงสัยในสิ่งเหล่านี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

ชฏาสูตรที่ ๓
[๖๐] ท. หมู่สัตว์รกทั้งภายใน รกทั้งภายนอก ถูกรกชัฏหุ้มห่อ
แล้ว ข้าแต่พระโคดม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถาม
พระองค์ว่า ใครพึงถางรกชัฏนี้ได้ ฯ
[๖๑] ภ. นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและ
ปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด
ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้ ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดี
บุคคลทั้งหลายใด กำจัดเสียแล้ว บุคคลทั้งหลายนั้น เป็น
ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง
อันบุคคลทั้งหลายนั้นสางเสียแล้ว นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญา
และรูปสัญญาก็ดี ย่อมดับหมดในที่ใด ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง
นั้น ย่อมขาดไปในที่นั้น ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๓๙๒ - ๔๐๓. หน้าที่ ๑๘ - ๑๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=60



นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญา
ให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด
ภิกษุนั้นพึงถางชัฏ (ตัณหา) นี้ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีเล ปติฏฺฐาย ได้แก่ ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล.
ก็ในบทนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันเทวดาทูลถามถึงชัฏคือตัณหาที่ผูกพันนระไว้ พระองค์จึงเริ่มคำว่า ศีล มิได้ทูลถามอย่างอื่น ก็มิได้ตรัสอย่างอื่น. เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงศีลในที่นี้ ก็เพื่อทรงแสดงถึงที่พึ่งของนระผู้ถางชัฏ คือตัณหาที่ผูกพันไว้.
บทว่า นโร ได้แก่ สัตว์.
บทว่า สปญฺโญ ได้แก่ ผู้มีปัญญาโดยปฏิสนธิมาด้วยปัญญาอันเป็นไตรเหตุอันเกิดแต่กรรม.
บทว่า จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ ได้แก่ ยังสมาธิและปัญญาให้เจริญอยู่.
จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาบัติ ๘ ไว้ด้วยหัวข้อแห่งจิต ตรัสวิปัสสนาไว้โดยชื่อว่าปัญญา.
บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร.
จริงอยู่ ความเพียร ตรัสเรียกว่าอาตาปะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเผากิเลสทั้งหลายให้เร่าร้อน. ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสของนระนั้นมีอยู่ เหตุนั้น นระผู้มีความเพียรนั้นจึงชื่อว่า อาตาปี แปลว่า ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน.
ในบทว่า นิปโก นี้ ตรัสเรียกปัญญาว่าเนปกะ. อธิบายว่า นระผู้ประกอบด้วยปัญญา ชื่อว่าเนปกะนั้น. ทรงแสดงปาริหาริยปัญญา ด้วยบทว่า นิปโก นี้.
อธิบายว่า ปัญญาอันเป็นเหตุที่บุคคลพึงบริหารให้สำเร็จกิจทั้งปวง โดยนัยว่า นี้เป็นกาลสมควรเพื่อเรียน (อุเทศ) นี้เป็นกาลสมควรเพื่อสอบถาม (ปริปุจฉา) เป็นต้น ชื่อว่าปาริหาริยปัญญา.
ในปัญหาพยากรณ์นี้ ปัญญามา ๓ วาระ.
ในปัญญาเหล่านั้น ปัญญาที่หนึ่ง ชื่อว่าสชาติปัญญา (ปัญญามีมาพร้อมกับการเกิด) ปัญญาที่สอง ชื่อว่าวิปัสสนาปัญญา. ปัญญาที่สาม ชื่อว่าปาริหาริยปัญญา อันเป็นเครื่องนำไปในกิจทั้งปวง.
บทว่า ภิกฺขุ มีวิเคราะห์ว่า ผู้ใดย่อมเห็นภัยในสงสาร เหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่าภิกษุ.๑-
____________________________

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/book.htm


ต้องการนิพพาน..ต้องรู้ถูก โดยพระครูศรีโชติญาณ
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/SW/ni.doc


สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้

---------------------------------------------

เหตุผลในการกำหนดอิริยาบถ โดยท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/BM/hatpol.doc
-----------------------------------------
อ้างคำพูด:
คุณ วลัยพร เขียน
เพราะคุณยังไม่เข้าใจเรื่องเหตุไง ถ้าคุณเข้าใจ คุณจะไม่มาสงสัยในสิ่งเหล่านี้


ปัญญายังน้อยอยู่ครับ กำลังศึกษาและปฏิบัติ เพื่อสะสมเหตุ ของผู้มีปัญญา อยู่ครับ

แต่ก็นับว่ามีบุญอยู่ ที่ได้มาพบกับครูบาอาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก และ พระอภิธัมมัตถสังคหะ รวมทั้งการปฏิบัติวิปัสสนา แบบวิปัสสนายานิกะ ที่อาศัย รูปนาม อิริยาบถ

ท่านก็คงรู้หากให้ บุคคล ปัญญาทึบ ตัณหาจริต แบบผม ถ้าให้ทำสมาธิจนได้ฌาน แล้วค่อย เจริญวิปัสสนา คงตายเปล่าแน่ :01:

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2010, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 5&i=35&p=7

ฌานย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีปัญญา, ปัญญาย่อมไม่มีแก่
ผู้ไม่มีฌาน, ฌานและปัญญาย่อมมีในบุคคลใด, บุคคลนั้นแลตั้ง
อยู่แล้วในที่ใกล้พระนิพพาน.


ความยินดีมิใช่ของมีอยู่แห่งมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไป
แล้วสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบแล้ว ผู้เห็นแจ้งธรรมอยู่โดยชอบ.
ภิกษุพิจารณาอยู่ ซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง
ขันธ์ทั้งหลายโดยอาการใดๆ, เธอย่อมได้ปีติและปราโมทย์โดย
อาการนั้นๆ, การได้ปีติและปราโมทย์นั้น เป็นธรรมอันไม่ตาย
ของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย,
ธรรมนี้ คือความคุ้มครองซึ่งอินทรีย์ ๑ ความสันโดษ ๑
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ เป็นเบื้องต้นในธรรมอันไม่
ตายนั้น มีอยู่แก่ภิกษุผู้มีปัญญาในพระศาสนานี้. เธอจงคบมิตร
ที่ดีงาม มีอาชีวะอันหมดจด ไม่เกียจคร้าน.
ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติในปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดใน
อาจาระเพราะเหตุนั้น เธอจักเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ กระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมตฺตาวิหารี ความว่า บุคคลผู้ทำกรรมในพระกัมมัฏฐานอันประกอบด้วยเมตตาอยู่ก็ดี ผู้ยังฌานหมวด ๓ และหมวด ๔ ให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเมตตาแล้วดำรงอยู่ก็ดี ชื่อว่าผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาโดยแท้.
คำว่า ปสนฺโน ความว่า ก็ภิกษุใดเป็นผู้เลื่อมใสแล้ว อธิบายว่า ย่อมปลูกฝังความเลื่อมใสลงในพระพุทธศาสนานั่นแล.
สองบทว่า ปทํ สนฺตํ นั่น เป็นชื่อแห่งพระนิพพาน. จริงอยู่ ภิกษุผู้เห็นปานนั้น ย่อมบรรลุ อธิบายว่า ย่อมประสบโดยแท้ ซึ่งพระนิพพานอันเป็นส่วนแห่งความสงบ ชื่อว่าเป็นที่เข้าไประงับสังขาร เพราะความที่สังขารทั้งปวงเป็นสภาพระงับแล้ว ซึ่งมีชื่ออันได้แล้วว่า ‘สุข’ เพราะความเป็นสุขอย่างยิ่ง.
บาทพระคาถาว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ ความว่า ภิกษุเธอจงวิดเรือ กล่าวคืออัตภาพนี้ ซึ่งมีน้ำคือมิจฉาวิตกทิ้งเสีย.
บาทพระคาถาว่า สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ ความว่า เหมือนอย่างว่า เรือที่เพียบแล้วด้วยน้ำในมหาสมุทรนั่นแล ชื่อว่าอันเขาวิดแล้ว เพราะความที่น้ำอันเขาปิดช่องทั้งหลายวิดแล้ว เป็นเรือที่เบา ไม่อัปปางในมหาสมุทร ย่อมแล่นไปถึงท่าได้เร็วฉันใด เรือคืออัตภาพแม้ของท่านนี้ที่เต็มแล้วด้วยน้ำคือมิจฉาวิตกก็ฉันนั้น ชื่อว่าอันเธอวิดแล้ว เพราะความที่น้ำคือมิจฉาวิตก ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว อันเธอปิดช่องทั้งหลายมีจักษุทวารเป็นต้น ด้วยความสำรวม วิดออกแล้วจึงเบา ไม่จมลงในสังสารวัฏ จักพลันถึงพระนิพพาน.
บทว่า เฉตฺวา เป็นต้น ความว่า เธอจงตัดเครื่องผูกคือราคะและโทสะ ครั้นตัดเครื่องผูกเหล่านั้นแล้ว จักบรรลุพระอรหัต. อธิบายว่า แต่นั้น คือในกาลต่อมา จักบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน.
สองบทว่า ปญฺจ ฉินฺเท คือ พึงตัดสังโยชน์อันมีในส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่าง อันยังสัตว์ให้ถึงอบายชั้นต่ำ ด้วยหมวด ๓ แห่งมรรคชั้นต่ำ ดุจบุรุษตัดเชือกอันผูกแล้วที่เท้าด้วยศัสตราฉะนั้น.
สองบทว่า ปญฺจ ชเห ความว่า พึงละ คือทิ้ง อธิบายว่า พึงตัดสังโยชน์อันมีในส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง อันยังสัตว์ให้ถึงเทวโลกชั้นสูง ด้วยพระอรหัตมรรค ดุจบุรุษตัดเชือกอันรัดไว้ที่คอฉะนั้น.
บาทพระคาถาว่า ปญฺจ อุตฺตริ ภาวเย คือ พึงยังอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นให้เจริญยิ่ง เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์อันมีในส่วนเบื้องบน.
บทว่า ปญฺจสงฺคาติโค ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุชื่อว่าผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง ๕ อย่างได้ เพราะก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ๕ อย่าง พระศาสดาตรัสเรียกว่า "ผู้ข้ามโอฆะได้" อธิบายว่า ภิกษุนั้น พระศาสดาตรัสเรียกว่า "ผู้ข้ามโอฆะ ๔ ได้แท้จริง."
สองบทว่า ฌาย ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุ เธอจงเพ่งด้วยอำนาจแห่งฌาน ๒#- และชื่อว่าอย่าประมาทแล้ว เพราะความเป็นผู้มีปกติไม่ประมาทในกายกรรมเป็นต้นอยู่.
____________________________
#- อารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน.



อรรถกถาทุติยกัสสปสูตรที่ ๒
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=15&i=223

พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า ฌายี ได้แก่ เป็นผู้เพ่งพินิจ ด้วยฌานทั้ง ๒ [คืออารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน].
บทว่า วิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยกัมมัฏฐาน.
บทว่า หทยสฺสานุปฺปตฺตึ ได้แก่ พระอรหัต.
บทว่า โลกสฺส ได้แก่ สังขารโลก.
บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ไม่อิงอาศัยตัณหาและทิฐิ.
บทว่า ตทานิสํโส ได้แก่ ผู้มุ่งต่อพระอรหัต. ท่านอธิบายว่า ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัต เมื่อปรารถนาพระอรหัต พึงเป็นผู้เพ่งพินิจ พึงมีจิตหลุดพ้น พึงทราบความเกิดและความดับไปแห่งโลกแล้ว ไม่มีตัณหาและทิฐิอาศัยแล้ว.
ก็ตันติธรรม ธรรมที่เป็นแบบแผน เป็นบุพภาคส่วนเบื้องต้นแห่งธรรมทั้งปวงในพระศาสนาแล.

จบอรรถกถาทุติยกัสสปสูตรที่ ๒
---------------------------------------------

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=112

บทว่า ฌายนฺโต แปลว่า เพ่งพินิจอยู่.
อธิบายว่า เพ่งอยู่ด้วยลักษณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน.
ใน ๒ อย่างนั้น วิปัสสนา มรรคและผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน.
จริงอยู่ วิปัสสนา ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าเข้าไปเพ่งซึ่งลักษณะทั้งสาม. มรรคชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าย่อมให้สำเร็จซึ่งปหานกิจที่มาถึงแล้วโดยวิปัสสนา. ผลชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่าย่อมเข้าไปเพ่งซึ่งนิโรธสัจจะ อันเป็นตถลักษณะ.
แต่สมาบัติ ๘ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นอารัมมณูปนิชฌาน เพราะการเข้าไปเพ่งอารมณ์แห่งกสิณ.
อรหัตสุขชื่อว่าบรมสุข อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้วดังนี้แล.

จบอรรถกถาสัทธาสูตรที่ ๖

-------------------------------------------



พระพุทธวจนะ

“นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺ เสว สนฺติเก

ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา
ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน
ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้พระนิพพาน.”



ซึ่งมีครูบาอาจารย์หลายท่าน รวมทั้งคุณตรงประเด็น ที่ยึดถือว่า ฌาน คือ รูปฌาน อรูปฌาน จาก อัปปนาสมาธิเท่านั้น และยึดมั่นนี้คือ สัมมาสมาธิ

และปฏิเสธ ขณิกสมาธิ ว่าไม่สามารถนำไปปฏิบัติ(เจริญ) วิปัสสนา ให้เกิด วิปัสสนาญาณ จนบรรลุมรรคผลได้

( ในลานธรรมเสวนา คุณตรงประเด็น เปรียบ ขณิกสมาธิ กับแม่ค้าขายกล้วยแขก ที่เป็นของพื้น ๆ )

ซึ่งความสำคัญไม่ได้อยุ่ที่ ว่าได้ สมาธิขั้นสูง อย่าง อรูปฌาน จึงจะถือว่าเป็นผู้มีปัญญา

แต่อยู่ที่ลักษณะ การเพ่ง, โยนิโสมนสิการ สภาวะปรมัตถธรรม ที่เป็น รูป นาม ต่างหาก

หากใช้ ขณิกสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ ไปเพ่งอย่างอื่น ๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อ วิปัสสนาญาณ ก็หาได้เข้าใกล้ปัญญาไม่

ยกตัวอย่าง ดาบสทั้ง ๒ ที่ได้สมาธิ ได้ฌานขั้นสูงสุด แต่ไม่ทราบวิธียก องค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 15 ก.ค. 2010, 05:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2010, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
ซึ่งมีครูบาอาจารย์หลายท่าน รวมทั้งคุณตรงประเด็น ที่ยึดถือว่า ฌาน คือ รูปฌาน อรูปฌาน จาก อัปปนาสมาธิเท่านั้น และยึดมั่นนี้คือ สัมมาสมาธิ



แล้วในความคิดเห็นของคุณ คุณว่า " สัมมาสมาธิ " เป็นอย่างไรหรือคะ
เอาตามความความเข้าใจจากผลที่คุณได้จากการปฏิบัตินะคะ ไม่ไปตัดข้อความมาแปะนะคะ




chalermsak เขียน:
ซึ่งความสำคัญไม่ได้อยุ่ที่ ว่าได้ สมาธิขั้นสูง อย่าง อรูปฌาน จึงจะถือว่าเป็นผู้มีปัญญา
แต่อยู่ที่ลักษณะ การเพ่ง, โยนิโสมนสิการ สภาวะปรมัตถธรรม ที่เป็น รูป นาม ต่างหาก




สภาวะปรมัตถ์คืออะไรหรือคะ? รูป,นาม คืออะไรหรือคะแล้วสภาวะเป็นแบบไหน?
คุณพอจะแสดงความคิดเห็นในแบบของคุณได้ไหมคะ เอาตามความเข้าใจที่คุณปฏิบัติ
แล้วได้รู้ได้เห็นมา ไม่เอาแบบเก่านะคะ ตัดแปะพระไตรปิฎกหรือคำสอนแบบที่แล้วๆมาไม่เอา
เพราะตัดแปะแบบนั้น หาที่ไหนๆก็ได้ค่ะ มีเยอะแยะไปหมด แค่ก็อปๆมาแปะ
แล้วนำมาตีความตามที่เข้าใจหรือแค่รู้ของตัวเอง
ถือเสียว่า เรามาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในผลของการปฏิบัติกันดีกว่าค่ะ



chalermsak เขียน:
หากใช้ อัปปนาสมาธิ ไปเพ่งอย่างอื่น ๆ



สมาธิระดับอัปปนาสมาธิ นำมาเพ่งได้หรือคะ?
ถ้าหากนำมาใช้ได้ ต้องทำยังไงหรือคะ ถึงนำมาใช้ได้?




chalermsak เขียน:
ดาบสทั้ง ๒ ที่ได้สมาธิ ได้ฌานขั้นสูงสุด แต่ไม่ทราบวิธียก องค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา




วิธียกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนานี่ คุณทำแบบไหนหรือคะ พอจะแบ่งปันเล่าสู่กันฟังได้หรือเปล่าคะ?



ถือเสียว่า เรามาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในผลของการปฏิบัติกันดีกว่าค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 15 ก.ค. 2010, 20:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิ ๗ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry580075


๒. จิตตวิสุทธิ (สมาธิวิสุทธิ )
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm

หมายถึง จิตที่มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส จิตตวิสุทธิว่าโดยอรรถ ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ จิตตวิสุทธิหรือสมาธิวิสุทธิ ต้องเป็นไปเพื่ออานิสงส์ที่เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์เท่านั้น สมาธินี้จึงชื่อว่าบริสุทธิ์ ถ้าทำสมาธิเพื่อจะได้มีความสุข ต้องการให้จิตสงบ ความเข้าใจเช่นนี้ สมาธินั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่ต้องการพ้นทุกข์
(ขุ. ปฏิ. ญาณกถา ๓ /๗๒)

หน้าที่ของสมาธิในสติปัฏฐานนั้น คือ การทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือทำลายความยินดียินร้ายที่อยู่ในจิตใจ ซึ่งศีลไม่สามารถทำลายความรู้สึกนึกคิดได้ ศีลเพียงแต่กันไม่ให้แสดงออกทางกาย ทางวาจาเท่านั้น นิวรณ์ธรรมเกิดขึ้นในระดับจิตใจขณะที่คิดนึกถึงเรื่องราวที่เป็นอดีตหรืออนาคต ถ้าขณะใดจิตตั้งมั่นในอารมณ์ปัจจุบันแล้ว นิวรณ์จะเกิดไม่ได้เลย

สมาธิมีอยู่ ๓ ขั้น คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิเป็นได้ทั่วไปในอารมณ์ทั้ง ๖ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ขณะย้ายอารมณ์ไปตามทวารทั้ง ๖ ด้วยเหตุใดก็ตาม ขณิกสมาธิจะติดตามไปด้วยเสมอ ขณิกสมาธิดังกล่าวนี้จึงเป็นปัจจัยหรือเป็นบาทฐานให้แก่วิปัสสนา เพราะการเปลี่ยนอารมณ์ที่เป็นไปตามเหตุผลนั้นเอง ที่เป็นเหตุให้เห็นถึงความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์และของจิตได้ถ้าหากไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์แล้ว ยากที่จะเข้าใจถึงสภาวะของความเกิด ความดับ ของจิตได้

(วิสุทธิ. อ. ภาค ๒ / ๒๙)

ความเกิดของจิตในอารมณ์หนึ่ง ๆ นั้น รวดเร็วมากจนไม่ทันเห็นความดับของจิตได้ จึงคิดว่าอารมณ์มีอยู่ ดังนั้น สมาธิที่แน่วแน่จึงไม่เป็นบาทแก่วิปัสสนา และไม่เป็นเหตุให้เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของจิตและอารมณ์ ความสามารถในการรู้ทุกข์ในจิตหรือในอารมณ์นั้น ไม่อาจรู้ได้ด้วยสมาธิ แต่จะรู้ได้ด้วยปัญญา จิตที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของสติปัฏฐาน จึงเป็นบาทให้เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์ได้ ผู้บำเพ็ญเพียรจะโดยสมถะก็ดี หรือวิปัสสนาก็ดี สิ่งสำคัญอยู่ที่อารมณ์ที่ใช้ในการพิจารณา จึงต้องศึกษาเรื่องอารมณ์ว่าอารมณ์อย่างไร จึงจะเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนา และอารมณ์อย่างไรเป็นปัจจัยแก่สมถะ

สมาธิที่เป็นจิตตวิสุทธิ จะต้องเป็นไปในอารมณ์ของสติปัฏฐาน เพราะทำลายกิเลส คือ อภิชฌาและโทมนัส ถ้าสมาธิไม่มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์แล้ว จะทำให้เกิดความสงบ มีความสุข มีความพอใจในความสงบหรือความสุขนั้น ความพอใจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งอาศัยสมาธิเกิดขึ้น สมาธิเช่นนี้จึงไม่สามารถทำลายอารมณ์วิปลาสได้

สำหรับการเจริญวิปัสสนาของผู้ที่ได้ฌานแล้ว มีวิธีทำอย่างไร (อัฏฐสาลินี อ. ๑ / ๓๕๕) ที่เรามักได้ยินกันว่า ยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา นั้นหมายความว่า ในองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา ผู้ที่ได้ฌานมักจะติดในสุข และเพลิดเพลินในสุข ความสุขนี้เกิดจากปิติเป็นเหตุ ฉะนั้น การยกองค์ฌานจึงอาศัยการเพ่งปิติซึ่งเป็นองค์ฌานและเป็นนามธรรมนั่นเอง ธรรมชาติของปิตินั้นจะเพ่งหรือไม่เพ่งก็มีการเกิดดับ แม้จิตที่เป็นสมาธิก็มีการเกิดดับ ปิติซึ่งอาศัยจิตที่ได้ฌานแล้ว ยิ่งเกิดดับรวดเร็วมาก ปิตินั่นแหละจะแสดงความเกิดดับให้ปรากฏแก่ผู้เพ่งพิจารณา เมื่อเห็นว่าปิติมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว จิตก็จะดำเนินไปในอารมณ์ของวิปัสสนาด้วยอำนาจของการเพ่งลักษณะของปิติ (ไม่ใช่เพ่งอารมณ์บัญญัติ) วิปลาสก็จับในอารมณ์นั้นไม่ได้

ดังนั้น ถ้าฌานใดที่เพ่งลักษณะ หรือสมาธิใดที่พิจารณาลักษณะที่กำลังเปลี่ยนแปลง
(ลักขณูปนิชฌาน) สมาธินั้นชื่อว่าเป็นบาทของวิปัสสนา และเรียกสมาธินั้นว่า จิตตวิสุทธิ ส่วนสมาธิใดที่เพ่งอารมณ์บัญญัติ (อารัมมณูปนิชฌาน) ไม่เพ่งลักษณะ ไม่จัดว่าเป็นจิตตวิสุทธิ


-----------------------------------------------------------


อ้างคำพูด:
คุณวลัยพร เขียน
แล้วในความคิดเห็นของคุณ คุณว่า " สัมมาสมาธิ " เป็นอย่างไรหรือคะ
เอาตามความความเข้าใจจากผลที่คุณได้จากการปฏิบัตินะคะ ไม่ไปตัดข้อความมาแปะนะคะ


สัมมาสมาธิคือ ความตั้งมั่นในอารมณ์ เป็นไปเพื่อการอบรมปัญญา เพื่อเจริญสติปัฏฐาน เพื่อการพ้นทุกข์ ครับ

สำหรับการปฏิบัติของผม เป็นไปในแนว วิปัสสนายานิกะ ที่อาศัย ขณิกะสมาธิ ในการพิจารณา รูป นาม ที่เป็น ปัจจุบัน อารมณ์ ที่เป็นธรรมชาติ ที่กิเลสอาศัยอยู่



ซึ่งหากดูเผิน ๆ แล้วก็จะเหมือนแนวพองหนอ ยุบหนอ ของคุณ (แต่คุณไมให้เรียกว่า ยุบหนอ พองหนอ ทั้งที่เป็นสมมุติบัญญัติเหมือนกัน )

ส่วนแนวทางการปฏิบัติของผม สมมุติบัญญัติ ไม่สำคัญครับ จะเรียกชื่อว่า การกำหนด, การดู, การรู้, การพิจารณา, การโยนิโสมนสิการ, นามรู้, นามรู้สึก, นามเห็น, จิตเห็น ฯลฯ

ข้อสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจ มากกว่าครับ

นกการเวกสำคัญที่ เสียง
สตรีสำคัญที่ รูป
บุรุษสำคัญที่ วิทยาคุณ
นักพรตสำคัญที่ การอบรม
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาฯ สำคัญที่ ความเข้าใจ

http://abhidhamonline.org/OmNoi1.htm

------------------------------------
31955.ประสพการณ์ การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน โดยคุณวลัยพร
viewtopic.php?f=2&t=31955&start=30

อ้างคำพูด:
walai says: พอรู้ว่าระลึกคือความรู้ตัว ก็สงสัยอีก ความรู้ตัวคืออะไร
แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่า รู้ตัว และ รู้ตัวกับรู้สึกตัวนี่แตกต่างกันยังไง

เห็นไหม รายละเอียดสภาวะของสติและสัมปชัญญะ ในสติปัฏฐานสูตร ถึงมีแยกหมวดไว้
เรื่องกายานุสติ กับ สัมปชัญญะบัพ ถ้ามันตัวเดียวกัน คงไม่แยกออกไว้แบบนั้น
แต่ที่เราถูกฝึกมา มองดูเหมือนว่า เมื่อมี สติ ก้ต้องมีสัมปชัญญะคู่กันอยู่แล้ว ของตาย

says: ไม่ใช่เลย บางทีก็รู้เท้าลอยๆแล้วคิดไปเรื่อยๆ สัมปัญชัญญะนี่เกิดยากเหมือนกันนะคะนี่

walai says: แนวพองหนอ ยุบหนอ เขาจึงเน้นเรื่องการกำหนดต้นจิตเพราะเหตุนี้
เพื่อสร้างกำลังของสติให้มีกำลังมากขึ้น และสร้างตัวสัมปชัญญะให้เกิดมีกำลังมากขึ้น
ไม่ใช่รู้บ้างไม่รู้บ้างหรือรู้แบบลอยๆ

ถ้าสัมปชัญญะเกิด จะรู้เท้าชัด
ถ้าเกิดทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ จะรู้ตัวทั่วพร้อมหรือรู้ชัดทั้งตัว คือ กายทั้งหมด

says: รอบสอง เสร็จแล้วค่ะ 40/10 ค่ะ
ก็รู้เท้า มีความอยากค่ะ มีตัวจ้องมองสภาวะ มีความไม่พอใจสภาวะกำหนดรู้หนอไปค่ะ
มีมดกัดค่ะ มีเจ็บๆ เย็นแปลบๆแสบๆ

พอมานั่งก็ ลอยบ้างรู้ท้องบ้างค่ะ หมดแล้วค่ะพี่

walai says: 10 นาที ยังลอยเลยนะเนี่ย

says: ใช่ค่ะ ยังรู้ท้องแผ่วๆด้วยค่ะไม่ชัด

walai says: ไม่เป็นไรค่ะ ค่อยๆทำไป ปรับเปลี่ยนไป
ถ้าคราวหน้าเดิน 40 นั่ง 10 นาที ยังมีลอยอีก ให้ลดนั่งเหลือ 5 นาที ค่ะ


นึกภาพออกเลยว่าแนวพองหนอ ยุบหนอ ของคุณวลัยพร ต้องกำหนดอิริยาบถไว้ล่วงหน้า มีท่าทางที่กำหนดไว้ในใจแล้ว ว่าต้องเดินกี่ step เวลาเท่าไหร


ขอนำหลักการปฏิบัติจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา มาฝากคุณวลัยพรครับ



29201.การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถ
viewtopic.php?f=2&t=29201

อนึ่ง พระโยคีบางท่าน เพราะไม่เข้าใจเกี่ยวกับลักษณะหรือการทำงานของสติสัมปชัญญะ ในเวลาที่กำหนดนามรูป จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่าในเวลานี้ไม่มีทั้งสติสัมปชัญญะ หรือว่ามีสติอย่างเดียว ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารเจริญสติสัมปชัญญะกำหนดรูปเดินได้อย่างถูกต้อง

เป็นความจริงว่า มีสภาวธรรมหลายอย่าง ที่คล้ายสติสัมปชัญญะ คือวิตกมีลักษณะคล้ายสติ เพราะวิตกเป็นธรรมชาติที่คิดนึก ดำริอารมณ์ เหมือนอย่างที่สติระลึกถึงอารมณ์ มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นั้น ๆ เป็นลักษณะ เหมือนอย่างที่สติมีความเข้าไปตั้งไว้ที่อารมณ์ เป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น พระโยคีบางท่านผู้ไม่สามารถแยกความต่างกันระหว่างวิตกกับสติได้อย่างชัดเจน ในเวลาที่เดินอยู่ จิตนึกถึงอารมณ์ คือบัญญัติว่ารูปเดิน นึกถึงชื่อว่า รูปเดิน ด้วยกำลังของวิตกนั่นเทียว บริกรรมอยู่ในใจว่า “ รูปเดิน รูปเดิน “ ไม่ซัดส่ายหรือฟุ้งซ่านนึกถึงอารมณ์อื่น ก็เข้าใจว่า ในเวลานั้น ตนนั้นเป็นผู้มีสติ หรือทำสติให้เกิดขึ้นได้แล้ว ความจริง เขาจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หาไม่ เพราะสักว่าเป็นการนึกถึงบัญญัติ นึกถึงชื่อ บริกรรมไปว่า “ รูปเดิน “ เท่านั้น มิได้สัมผัสตัวสภาวธรรมที่เป็นรูปเดินอย่างแท้จริงเลย การนึกถึงบัญญัติ นึกถึงชื่อ บริกรรมว่า “ รูปเดิน “ ไปอย่างนี้ หาชื่อว่ามีสติไม่ พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าหากว่ามีแต่การนึกอยู่ในใจ บริกรรมไปว่า “ รูปเดิน รูปเดิน “ ไม่มีความรู้สึกเข้าไปตั้งไว้คือออกไปที่อาการท่าทางที่ก้าวไปนั้นจริง ๆ แล้วไซร้ ในเวลานั้นไม่ชื่อว่ามีสติ เพราะว่า วาระนี้ ประสงค์สติที่เป็นสติปัฏฐาน อันมีความเข้าไปตั้งอยู่ที่อาการเดินนั้นเท่านั้น จริงอย่างนั้นผู้ปฏิบัติบางคน เพราะตุที่มีแต่การนึกถึงบัญญัติ นึกถึงชื่อแล้วบริกรรมไปว่า “ รูปเดิน “ อยู่ที่ใจ อย่างนี้นั่นเอง พอถูกอาจารย์สอบอารมณ์กรรมฐาน ถามว่า “ รูปเดินอยู่ที่ไหน ? “ ก็ตอบว่า “ อยู่ที่ใจ “ แทนที่จะอยู่ที่อาการหรือท่าทางที่ก้าวไปนั้น ทั้ง ๆ ที่ในเวลาที่ไม่ปฏิบัติ เมื่อจะสำคัญว่าเราเดิน ก็หาสำคัญที่ใจไม่ ที่แท้แล้ว ก็สำคัญผิดที่อาการท่าทางนั่นเทียว

--------------------------------------------

อ้างคำพูด:
31955.ประสพการณ์ การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน โดยคุณวลัยพร
viewtopic.php?f=2&t=31955&start=30


ศึกษาให้ดีก่อนครับ ว่าสิ่งที่ปฏิบัติ ผลที่ได้ สอดคล้องกับพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา หรือไม่

เกิดอาการ รู้ชัด จริงหรือ ?

อัตตโนมติของอาจารย์ ตรงตาม พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา หรือไม่

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


31955.ประสพการณ์ การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน โดยคุณวลัยพร
viewtopic.php?f=2&t=31955&start=30

อ้างคำพูด:
walai says: พอรู้ว่าระลึกคือความรู้ตัว ก็สงสัยอีก ความรู้ตัวคืออะไร
แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่า รู้ตัว และ รู้ตัวกับรู้สึกตัวนี่แตกต่างกันยังไง

เห็นไหม รายละเอียดสภาวะของสติและสัมปชัญญะ ในสติปัฏฐานสูตร ถึงมีแยกหมวดไว้
เรื่องกายานุสติ กับ สัมปชัญญะบัพ ถ้ามันตัวเดียวกัน คงไม่แยกออกไว้แบบนั้น
แต่ที่เราถูกฝึกมา มองดูเหมือนว่า เมื่อมี สติ ก้ต้องมีสัมปชัญญะคู่กันอยู่แล้ว ของตาย

says: ไม่ใช่เลย บางทีก็รู้เท้าลอยๆแล้วคิดไปเรื่อยๆ สัมปัญชัญญะนี่เกิดยากเหมือนกันนะคะนี่

walai says: แนวพองหนอ ยุบหนอ เขาจึงเน้นเรื่องการกำหนดต้นจิตเพราะเหตุนี้
เพื่อสร้างกำลังของสติให้มีกำลังมากขึ้น และสร้างตัวสัมปชัญญะให้เกิดมีกำลังมากขึ้น
ไม่ใช่รู้บ้างไม่รู้บ้างหรือรู้แบบลอยๆ

ถ้าสัมปชัญญะเกิด จะรู้เท้าชัด
ถ้าเกิดทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ จะรู้ตัวทั่วพร้อมหรือรู้ชัดทั้งตัว คือ กายทั้งหมด

says: รอบสอง เสร็จแล้วค่ะ 40/10 ค่ะ
ก็รู้เท้า มีความอยากค่ะ มีตัวจ้องมองสภาวะ มีความไม่พอใจสภาวะกำหนดรู้หนอไปค่ะ
มีมดกัดค่ะ มีเจ็บๆ เย็นแปลบๆแสบๆ

พอมานั่งก็ ลอยบ้างรู้ท้องบ้างค่ะ หมดแล้วค่ะพี่

walai says: 10 นาที ยังลอยเลยนะเนี่ย

says: ใช่ค่ะ ยังรู้ท้องแผ่วๆด้วยค่ะไม่ชัด

walai says: ไม่เป็นไรค่ะ ค่อยๆทำไป ปรับเปลี่ยนไป
ถ้าคราวหน้าเดิน 40 นั่ง 10 นาที ยังมีลอยอีก ให้ลดนั่งเหลือ 5 นาที ค่ะ



นึกภาพออกเลยว่าแนวพองหนอ ยุบหนอ ของคุณวลัยพร ต้องกำหนดอิริยาบถไว้ล่วงหน้า มีท่าทางที่กำหนดไว้ในใจแล้ว ว่าต้องเดินกี่ step เวลาเท่าไหร นั่งกี่นาที ฯลฯ

ยิ่ง สร้างอิริยาบถ ให้ช้ามาก ๆ แล้วบริกรรมตามให้ได้ ๖ ระยะ ถือว่า เป็นสุดยอดของการกำหนดแล้วครับ แสดงว่าผู้นั้น เห็นการเกิดดับได้ ๖ ระยะ

ซึ่ง แนวคิดดังกล่าวก็เกิดจากการศึกษา พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา เช่นกัน แต่ตีความหมายแบบผิด ๆ

ซึ่งท่านผู้รู้ได้แนะนำว่า

http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=15&

ส่วนการเดิน ๖ ระยะหรือเดินเป็นหมู่ ๆ นับเป็นเพียงมติของการปฏิบัติของท่านอาจารย์มหาสีสยาดอแห่งสำนักปฏิบัติศาสนยิ๊ดต้าแห่งสหภาพพม่า ซึ่งสำนักนี้ตั้งอยู่หลังวัดพระนอนใหญ่ในเมืองร่างกุ้งที่อาตมาไปเรียนปริยัติอยู่ อาตมาได้เดินผ่านวัดสำนักนี้แทบทุกวันขณะไปบิณฑบาต หรือไปไหว้พระธาตุร่างกุ้ง จำต้องผ่านสำนักนี้อยู่แล้ว แม้ตัวท่านอาจารย์มหาสีเองอาตมาก็เคยได้ไปนมัสการท่าน เพราะท่านเป็นพระมหาเถระที่มีอัทธยาศัยเยือกเย็นน่าเคารพบูชา แต่ก็น่าแปลกประหลาด ทำไมอาตมาจึงไม่มีศรัทธาที่จะปฏิบัติอยู่ในสำนักนั้น แต่กลับไพล่ไปปฏิบัติอีกสำนักวิปัสสนาชื่อสำนักชะนะมารซึ่งตั้งอยู่ทางทิศอินเส่ง เป็นแบบอิริยาบถบรรพแบบเดียวกับของท่านอาจารย์วิลาสะ วัดปรก ที่บ้านทะวายทางตรอกจันทร์ เพราะท่านอาจารย์วิสุทธิมรรคเมธาวี เจ้าสำนักชะนะมาร ท่านเป็นศิษย์อาจารย์เดียวกันกับท่านวิลาสะ วัดปรก ที่เป็นอาจารย์ของอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ซึ่งโยมอาจารย์แนบก็ได้เป็นคู่สนทนาธรรมกับพระสุขและอาตมามานาน ก่อนพระอาจารย์โชติกะจะมาจากพม่า และก่อนพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร จะมาเลื่อมใสโยมแนบด้วยซ้ำไป

พูดถึงเรื่องการเดิน ๖ ระยะ
เรื่องนี้มีแสดงไว้ในขอบเขตของสัมมสนญาณ ซึ่งอยู่ในส่วนของมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ เมื่อเกิดปัญญาแล้วจึงเห็นเป็นระยะ ๆ แบบนั้น แต่ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติมาจัดทำกันขึ้นเอง เหมือนอย่างที่กำลังทำกันอยู่ในทุกวันนี้



การศึกษาเปรียบเทียบกรรมฐานในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค และวิธีปฏิบัติกรรมฐานของสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อยกับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
http://www.abhidhamonline.org/thesis/menu.htm


ผมว่าการปฏิบัติแนวคุณวลัยพรก็คล้ายกับแนว วัดมหาธาตุ ต่างกันเพียงสมมุติเล็กน้อย เช่น

ยุบหนอ พองหนอ กับ พองหนอ ยุบหนอ

แค่สมมุติบัญญัติ เล็กน้อยเหล่านี้ ยังแตกต่างกัน แล้วรายละเอียดการปฏิบัติ ของอาจารย์แต่ละท่าน ยิ่งแตกต่างกันไปอีก เพราะอัตตโนมติของอาจารย์แต่ละท่านก็ต่างกันไป

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร