วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สัตตมหาสถาน
สถานที่เสวยวิมุตติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง

สัตตมหาสถาน หมายถึง สถานที่เสวยวิมุตติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง ที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง) หลังจากตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ พุทธคยา แล้ว โดยแต่ละแห่งเป็นสถานที่รอบๆ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลาแห่งละ ๑ สัปดาห์ รวม ๗ สัปดาห์ หรือ ๔๙ วัน เรียงตามลำดับดังนี้

:b47: :b47:

สัปดาห์ที่ ๑ : “พระแท่นวัชรอาสน์”

พระพุทธองค์ทรงประทับนั่งสมาธิที่ “พระแท่นวัชรอาสน์” หรือโพธิบัลลังก์ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตลอด ๗ วัน พระองค์ได้ทรงกำหนดนึกในพระหทัยเพื่อพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาทแบบตามลำดับตลอดปฐมยามแห่งราตรีนั้น แล้วมีพุทธอุทานว่า “ในการใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ผู้นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วยเหตุ”

ในเวลากลางคืน ทรงพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาทแบบย้อนตามลำดับ คือ พิจารณาจากปลายมาจุดเริ่มแรกแล้วมีพุทธอุทานว่า “ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แจ้งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย”

ในปัจฉิมยาม ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งแบบตามลำดับและย้อนตามลำดับแล้วมีพุทธอุทานว่า “ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์ผู้นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์กำจัดมืดส่องแสงสว่างอยู่ในอากาศ ฉะนั้น”

หมายเหตุ :: “พระมหาเจดีย์พุทธคยา” หรือ “พระมหาโพธิเจดีย์” ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” โดยมี “พระแท่นวัชรอาสน์” หรือ “โพธิบัลลังก์” หรือ “รัตนบัลลังก์เจดีย์” ซึ่งมีความหมายว่า “พระที่นั่งแห่งมหาบุรุษผู้ใจเพชร” ประดิษฐานคั่นอยู่ระหว่างกลาง

“พระแท่นวัชรอาสน์” มีลักษณะเป็นแท่นหินสี่เหลี่ยมขนาดยาว ๗ ฟุต ๖ นิ้ว กว้าง ๔ ฟุต ๑๐ นิ้ว หนา ๑ ฟุตครึ่ง และสูง ๓ ฟุต สลักด้วยหินทรายวางอยู่บนฐานที่ฉาบไว้ด้วยปูน บนพื้นผิวแกะสลักเหมือนถักหินเป็นดาวสี่แฉก มีบางท่านมองว่าคล้ายเป็นเพชรที่เจียระไนแล้ว มีซีกประดับอยู่ในเรือนแหวน ด้านข้างทั้งสี่ด้านแกะสลักเป็นศิลปะคล้ายดอกบัวกับพญาหงส์แบบโบราณ และรูปดอกไม้ นับเป็นศิลปกรรมแบบฉบับที่ดีเลิศ พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้ทรงดำริให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่รองรับเครื่องสักการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่แต่ละครั้งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังเป็นจำนวนมากมาย โคนต้นไม้ที่เห็นในภาพนื้ คือ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อรักษาคุ้มครองพระแท่นและต้นพระศรีมหาโพธิ์ให้ปลอดภัยจากการสัมผัสจับต้องของผู้เข้าชม ที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากไม่ขาดสายในแต่ละวัน ทางการจึงสร้างกำแพงล้อมต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นไว้ดั่งที่เห็นในภาพ กำแพงนี้ถูกตกแต่งด้วยพวงมาลัย ผ้าสีต่างๆ และสายธงทิวต่างๆ ที่ชาวพุทธนำมาบูชาผูกไว้รอบกำแพง จนผู้ชมเดินรอบฐานพระมหาเจดีย์พุทธคยาไม่สามารถมองเห็นพระแท่นได้ในระดับสายตา


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
สัปดาห์ที่ ๑ ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข ณ “พระแท่นวัชรอาสน์”

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัปดาห์ที่ ๒ : “อนิมิสเจดีย์”

พระพุทธองค์ทรงพระดำเนินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” เมื่อได้ระยะพอควรกับการทอดพระเนตร ก็ทรงหันกลับพระพักตร์มายืนพิจารณาต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ได้ประทับตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ทรงลืมพระเนตรโดยมิได้กระพริบเลยตลอดสัปดาห์ เพื่อทบทวนความทรงจำต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วโดยลำดับ ความหมุนเวียนผันแปรอันเกิดขึ้นตามอำนาจของสังขารจักรก็มาหยุดลงแค่นี้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้เป็นที่ให้กำเนิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสัจธรรมอันบริสุทธิ์ สามารถชำระล้างกิเลสนานาชนิดของสัตว์โลกได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ทรงพอพระทัยในการตรัสรู้นี้เป็นอย่างยิ่ง

สถานที่นี้จึงเรียกว่า “อนิมิสเจดีย์” หรือเจดีย์ที่ไม่กระพริบตา

รูปภาพ

รูปภาพ
สัปดาห์ที่ ๒ ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข ณ “อนิมิสเจดีย์”

รูปภาพ
พระประธานภายในอนิมิสเจดีย์

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัปดาห์ที่ ๓ : “รัตนจงกรมเจดีย์”

พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาเดินจงกรมอยู่ ๗ วัน ตรงระหว่างกลางแห่ง “อนิมิสเจดีย์” กับ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ทางด้านทิศเหนือของวิหารมหาโพธิสังฆาราม พุทธคยา สถานที่ตรงนั้นได้ก่อฐานปูนสูงขึ้นประมาณ ๔ ฟุตจากพื้นถนน แล้วสลักหินเป็นรูปดอกบัวโตพอประมาณ ๑๙ ดอก แสดงว่าเป็นทางเดินจงกรมของพระพุทธเจ้า

สถานที่นี้จึงเรียกว่า “รัตนจงกรมเจดีย์” หรือเจดีย์แห่งทางจงกรมที่ประดับด้วยเพชรพลอย

รูปภาพ

รูปภาพ
สัปดาห์ที่ ๓ ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข ณ “รัตนจงกรมเจดีย์”

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัปดาห์ที่ ๔ : “รัตนฆรเจดีย์”

เทวดาได้เนรมิต “เรือนแก้ว” ขึ้นทางด้านทิศเหนือของ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” ถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเสด็จไปประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎกตลอดเวลา ๗ วัน

สถานที่นี้จึงเรียกว่า “รัตนฆรเจดีย์” หรือเจดีย์แห่งอาคารที่ประดับไปด้วยเพชรพลอย หรือเรือนแก้ว

รูปภาพ

รูปภาพ
สัปดาห์ที่ ๔ ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข ณ “รัตนฆรเจดีย์”

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัปดาห์ที่ ๕ : “ต้นไทรอชปาลนิโครธ”

พระพุทธองค์ทรงเสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปยัง “ต้นไทรอชปาลนิโครธ” หรือต้นไทรของผู้เลี้ยงแพะ ประทับอยู่ ๗ วัน ขณะเสวยวิมุตติสุขอยู่ ธิดาพญามาร ๓ ตน คือ นางราคะ นางอรตี และนางตัณหา ได้อาสาผู้เป็นบิดาเข้าไปประเล้าประโลมด้วยเสน่ห์กามคุณต่างๆ นานา แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเอาพระทัยใส่ กลับขับไล่ไปเสีย แสดงถึงบุคลิกลักษณะอันประเสริฐของผู้ชนะตนได้แล้ว จะไม่ยอมกลับเป็นผู้แพ้อีก

รูปภาพ

รูปภาพ
สัปดาห์ที่ ๕ ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข ณ “ต้นไทรอชปาลนิโครธ”

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัปดาห์ที่ ๖ : “ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก)”

พระพุทธองค์ทรงเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขใต้ต้นมุจลินท์ ริมสระมุจลินท์ (มุจลินท์ เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง คือ ไม้จิก ในปัจจุบันทั้ง “สระมุจลินท์” และ “ต้นมุจลินท์” ไม่มีให้เห็นแล้ว มีเพียงแต่ “สระมุจลินท์จำลอง” ที่สร้างไว้ใกล้ๆ อาณาบริเวณวิหารมหาโพธิสังฆาราม พุทธคยา ทั้งนี้ เพื่อกันลืมสระมุจลินท์ดั้งเดิม) ด้วยเพราะมีต้นมุจลินท์ขึ้นอยู่ริมสระ จึงเรียกชื่อสระแห่งนั้นว่า สระมุจลินท์ หรือสระราชาแห่งต้นมุจละ

เมื่อพระพุทธองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๕ ตลอด ๗ วันที่ใต้ต้นไทรอชปาลนิโครธแล้ว ก็ได้เสด็จมาประทับที่ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ริมสระนี้ ตอนนั้นเกิดฝนตกหนักเจือด้วยลมหนาว เป็นฝนหลงฤดู ฝนตกพรำอยู่ ๗ วัน ๗ คืน ร้อนถึง “พญานาค” ซึ่งอาศัยอยู่ในสระนี้ ต้องขึ้นมาขดตัว ๗ รอบแลแผ่พังพานเพื่อจะป้องกันฝนและลมมิให้ถูกพระวรกาย (เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก) ครั้นฝนหาย ฟ้าสางแล้วพญานาคจึงคลายขนดออก จำแลงเพศเป็นชายหนุ่มมายืนเฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ พระพุทธองค์จึงได้ทรงเปล่งอุทานเป็นภาษิตที่ไพเราะจับใจ ดังนี้

“ความสงบสงัดเป็นสุขสำหรับบุคคลผู้ได้เจริญธรรมอันเห็นแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด ทำให้ได้ตามรู้ตามเห็นสังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง ทำให้สำรวมระวังตัว เลิกการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย และสิ้นความกำหนัด คือความล่วงกามคุณทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง ความละคลายการถือตน ถือว่ามีตัวมีตนให้หมดได้ เป็นความสุขอย่างยิ่ง”

รูปภาพ
สัปดาห์ที่ ๖ ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข ณ “ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก)”
ซึ่งอยู่ริม “สระมุจลินท์” หรือสระราชาแห่งต้นมุจละ


รูปภาพ

รูปภาพ
“สระมุจลินท์จำลอง” สร้างไว้ใกล้ๆ อาณาบริเวณ
วิหารมหาโพธิสังฆาราม พุทธคยา (วัดมหาโพธิมหาวิหาร)


รูปภาพ
วิหารมหาโพธิสังฆาราม พุทธคยา (วัดมหาโพธิมหาวิหาร)

รูปภาพ

รูปภาพ
“เสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช (จำลอง)”
ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าวิหารมหาโพธิสังฆาราม พุทธคยา
(วัดมหาโพธิมหาวิหาร)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัปดาห์ที่ ๗ : “ต้นราชายตนะ (ต้นเกด)”

ในสัปดาห์ที่ ๗ สัปดาห์สุดท้ายหลังจากตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระพุทธองค์ทรงเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ใต้ต้นราชายตนะ (ต้นเกด หรือต้นไม้ที่อยู่แห่งพระราชา) ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลาอีก ๗ วัน แล้วจึงทรงออกจากฌานสมาบัติหรือสมาธิ ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่านับแต่พระพุทธองค์ตรัสรู้มา ๗ สัปดาห์ รวม ๔๙ วัน มิได้เสวยภัตตาหารเลย จึงนำไม้สีพระทนต์ ชื่อ “นาคลดา” พร้อมน้ำจากสระอโนดาต และผลสมออันเป็นทิพยโอสถจากเทวโลกมาน้อมถวาย ในตอนเช้าของวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๘ หรือเดือนอาสาฬหะ พระพุทธองค์ได้ทรงใช้ไม้สีพระทนต์ บ้วนพระโอษฐ์ สรงพระพักตร์ด้วยน้ำจากสระอโนดาตที่ท้าวสักกเทวราชน้อมถวาย รวมทั้งทรงเสวยผลสมอ

ณ ต้นราชายตนะ นี้เอง ได้มีพ่อค้าพานิช ๒ พี่น้องเป็นชาวพม่า ชื่อ “ตปุสสะ” กับ “ภัลลิกะ” (ทั้งสองเป็นบุตรชายของหัวหน้ากองเกวียนชื่อ โปกขรวตี) นำเกวียน ๕๐๐ เล่มเดินทางจากอุกกลชนบท หรืออุกกลาชนบท (น่าจะเป็นภาคเหนือของชมพูทวีป แถวเมืองตักสิลา) มาค้าขายยังเมืองราชคฤห์ ผ่านมาทางตำบลพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าขณะทรงประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ มีพระรัศมีอันผ่องใสงดงามยิ่งนัก ก็บังเกิดความเลื่อมใส จึงนำข้าวสัตตุผง สัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงเดินทางของตนไปน้อมถวาย ขณะนั้นพระพุทธองค์ยังไม่มีบาตร ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ จึงได้น้อมนำบาตรแก้วอินทนิลมาถวายองค์ละใบ ทรงดำริว่าใบเดียวก็เพียงพอแก่เรา จึงทรงอธิษฐานให้บาตรทั้ง ๔ ใบนั้นประสานเข้าเป็นใบเดียวกัน แล้วทรงรับข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนจากพ่อค้าพานิชทั้งสอง (ในทางประวัติศาสตร์ ชาวพม่าได้ไปมาค้าขายกับชาวอินเดียมาเป็นเวลาช้านานแล้ว พอออกพรรษาน้ำหยุดท่วมนอง ชาวพม่าจะบรรทุกของใส่เกวียนมาแลกสินค้ากับชาวอินเดีย กลับไปกลับมาอยู่เป็นประจำ)

หลังจากพระพุทธองค์เสวยข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนเสร็จแล้ว ก็ทรงแสดงธรรมและประทานอนุโมทนาแก่พ่อค้าพานิชทั้งสอง เมื่อจบพระธรรมเทศนา พ่อค้าพานิชทั้งสองก็เปล่งวาจาถึงรัตนะทั้งสอง (พระพุทธเจ้าและพระธรรม) เป็นสรณะตลอดชีวิต ไม่เปล่งวาจาถึงพระสงฆ์เพราะขณะนั้นยังไม่มีพระสงฆ์ ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนะสองเป็นสรณะคู่แรกในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า เทฺววาจิกอุบาสก (อ่านว่า ทะ-เว-วา-จิ-กะ-อุ-บา-สก)

ก่อนที่จะเดินทางต่อไป พ่อค้าพานิชทั้งสองได้กราบทูลขอสิ่งของที่ระลึกจากพระพุทธองค์เพื่อให้นำกลับไปบูชาสักการะ พระพุทธองค์ทรงเอาพระหัตถ์ลูบพระเศียร เส้นพระเกศา ๘ เส้นหลุดติดพระหัตถ์มา จึงทรงประทานให้แก่พ่อค้าพานิชทั้งสองไปเป็นการสนองความศรัทธาของเขา ชาวพม่าสองพี่น้องนี้ได้นำพระเกศาธาตุ ๘ เส้นนั้นกลับไปยังเมืองย่างกุ้ง บ้านเมืองของตน ครั้นพอถึงประเทศพม่าได้มีพิธีสมโภชพระเกศาธาตุซึ่งบรรจุไว้ภายในผอบทองคำนี้หลายวันหลายคืน และได้จัดสร้าง “พระมหาเจดีย์ชเวดากอง” เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุมาจนถึงตราบเท่าทุกวันนี้
(เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปปางประทานเกศาธาตุ หรือปางพระเกศธาตุ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเหนือพระเศียรคล้ายกับกิริยาเสยพระเกศา)

:b50: :b50: หมายเหตุ : (๑) ข้าวสัตตุผง ภาษาบาลีเรียกว่า “มันถะ” คือ ข้าวตากที่ตำละเอียด
ข้าวสัตตุก้อน ภาษาบาลีเรียกว่า “มธุบิณฑิกะ” คือ ข้าวตากที่ผสมน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นก้อนๆ


(๒) เทฺววาจิกอุบาสก อ่านว่า ทะ-เว-วา-จิ-กะ-อุ-บา-สก
ไม่ใช่อ่านว่า เท-วะ-วา-จิ-กะ-อุ-บา-สก

มีอีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการอ่านภาษาบาลี ที่เหมือนกับกรณีข้างต้น
นำมาจากส่วนหนึ่งของ บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
:b1:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20815

เท๎วเม (อ่านว่า ทะ-เว-เม) ภิกขะเว อันตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างเหล่านี้ มีอยู่,

เท๎วเม อ่านว่า ทะ-เว-เม ไม่ใช่อ่านว่า เท-วะ-เม

รูปภาพ
สัปดาห์ที่ ๗ ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข ณ “ต้นราชายตนะ (ต้นเกด)”

รูปภาพ
ชาวพุทธผู้มีกุศลศรัทธาบันทึกภาพเป็นที่ระลึก
บริเวณ “ต้นราชายตนะ (ต้นเกด)”


รูปภาพ

รูปภาพ
ชาวพุทธผู้มีกุศลศรัทธามานั่งสมาธิภาวนา
บริเวณลาน “ต้นราชายตนะ (ต้นเกด)” จำลอง


รูปภาพ
ภาพวาด...ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ พ่อค้าพานิช ๒ พี่น้องชาวพม่า
ได้ถวายเสบียงเดินทางคือข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนแด่พระพุทธองค์
ณ ใต้ต้นราชายตนะ (ต้นเกด)
และได้รับเส้นพระเกศา ๘ เส้นเป็นที่ระลึกเพื่อให้นำกลับไปบูชาสักการะ


รูปภาพ
ภาพวาดในแบบศิลปะพม่า จากหนังสือ The Life of Buddha
จัดพิมพ์โดยวัด Dhammikarama Burmese temple
in Penang, Malaysia


รูปภาพ
พระพุทธรูปปางประทานเกศาธาตุ หรือปางพระเกศธาตุ
เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ
พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก)
พระหัตถ์ขวายกขึ้นเหนือพระเศียรคล้ายกับกิริยาเสยพระเกศา

:b47: :b49: :b47:

:b8: รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหามาจาก ::
(๑) หนังสือประวัติพระพุทธเจ้า ตอน สัตตมหาสถาน
(๒) สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=20382
:b8: ขอขอบพระคุณสำหรับที่มาของรูปภาพ ::
บันทึกและเอื้อเฟื้อโดย คุณ Venfaa Aungsumalin

http://www.painaima.com/board/index.php?topic=213.0
https://dhammaweekly.wordpress.com/tag/ ... %E0%B8%B4/

:b39: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2011, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 15:47
โพสต์: 417

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: วิปัสนา-กรรมฐาน เล่ม 1-2
ชื่อเล่น: นา
อายุ: 44
ที่อยู่: 140/19 ถ.อภัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าแก้ไขคนอื่น จงแก้ไขตัวเราเอง

....................................................

เจ้าเกิดมามีอะไรมาด้วยเล่า
เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เจ้ามาเปล่าแล้วเจ้าจะเอาอะไร
เจ้าก็ไปตัวเปล่าเหมือนเจ้ามา

...................................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 03:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 08:23 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอให้ลูกมีโอกาสไปกราบดินแดนพุทธภูมิสักครั้งในชีวิตค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2013, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 09:20
โพสต์: 349


 ข้อมูลส่วนตัว


onion ขอโมทนาบุญค่ะ ขอบคุณมากนะคะ :b8: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2019, 13:08 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2019, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ครั้นล่วง ๗ วัน ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ ๘ แห่งการตรัสรู้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาธินั้น
แล้วเสด็จจากโคนต้นราชายตนะ (ต้นเกด)
เข้าไปประทับอยู่ ณ โคนต้นไทรอชปาลนิโครธ
พระองค์เสด็จไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่
ได้มีพระปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า

“ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก ละเอียด
เป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้
ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา
จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”


ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ได้หายจากพรหมโลก
มาปรากฏ ณ เบื้้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น
ครั้นแล้วห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
คุกชาณุมณฑล (เข่า) เบื้องขวาลงบนแผ่นดิน
ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

“พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดทรงแสดงธรรม
ขอพระสุคตได้โปรดทรงแสดงธรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยมีอยู่
เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี”


:b47: =================== :b47:

:b8: รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหามาจาก ::
(๑) หนังสือประวัติพระพุทธเจ้า ตอน สัตตมหาสถาน
(๒) สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=20382
:b8: ขอขอบพระคุณสำหรับที่มาของรูปภาพ ::
บันทึกและเอื้อเฟื้อโดย คุณ Venfaa Aungsumalin

http://www.painaima.com/board/index.php?topic=213.0
https://dhammaweekly.wordpress.com/tag/ ... %E0%B8%B4/

:b39: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377


.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2019, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

จากพุทธคยาถึงสารนาถ
อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก

เคยมีผู้ถามข้อข้องใจเกี่ยวกับพุทธประวัติหลายตอน ตอนหนึ่งว่า หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ต้นโพธิ์และบริเวณปริมณฑลกี่สัปดาห์ และเกิดเหตุการณ์อะไรบ้าง เพราะตำราเขียนต่างกัน

ผมเรียนว่า ตำรามิได้เขียนต่างกัน เพียงแต่เราเอาตำรามาปนกันเลยสับสน

ถ้าถือตำราหลัก (คือ พระไตรปิฎก) ก็จะได้ความอย่างหนึ่ง ถ้าถือตำรารอง (คือ อรรถกถา) ก็จะได้ความเพิ่มเติมไปอีกอย่างหนึ่ง พุทธประวัติมีเล่าทั้งในตำราหลักและตำรารอง ผู้ศึกษาต้องกำหนดเป็นเบื้องต้นก่อนว่า ข้อความใดมีในพระไตรปิฎก ข้อความใดเพิ่มเติมมาในอรรถกถา แล้วก็ใช้ข้อความหรือข้อมูลนั้นๆ เสริมกัน

ขอยกข้อมูลจากพระไตรปิฎกมาเล่าก่อนดังนี้

๑. หลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นไม้ที่ตรัสรู้ (ต้นไม้นี้เดิมชื่อ อัสสัตถะ ต่อมาเรียกต้นโพธิ์ เพราะพระพุทธเจ้าได้โพธิใต้ต้นไม้นี้) ๗ วัน ทรงพิจารณาธรรมที่ตรัสรู้แล้วคือ ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา กลับไปกลับมา

ขณะพิจารณาพระพุทธองค์ทรงเปล่งพุทธอุทานว่า เมื่อธรรม (ปฏิจจสมุปบาท) ปรากฏชัดแก่ผู้เพียรเพ่งพินิจ ความสงสัยย่อมหมดไป และขจัดมารพร้อมเสนามารได้ เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ และเพราะรู้การดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย

ปฏิจจสมุปบาท กับ อิทัปปัจจยตา เป็นเรื่องเดียวกัน มิใช่สองเรื่องต่างกัน

อ้อ ! พระพุทธองค์ตรัสรู้ อริยสัจ ๔ แต่เวลาพิจารณารายละเอียด ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทนี้ก็อย่าง เป็นเรื่องเดียวกันอีกนั่นแหละ มิใช่คนละเรื่องเดียวกันแต่ประการใด

๒. สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จจากต้นโพธิ์ไปประทับใต้ต้นอชปาลนิโครธ

ไทรย้อยต้นนี้ มักจะมีเด็กเลี้ยงแกะมาอาศัยอยู่เสมอ จึงชื่อ อชปาลนิโครธ

ทรงโต้ตอบกับพราหมณ์ผู้มีทิฐิมานะคนหนึ่งที่ชอบตวาดคนอื่นที่มีวรรณะต่ำกว่าตน

๓. สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จไปประทับใต้ต้นมุจลินท์ (แปลกันว่า ต้นจิก)


ในช่วงเวลานี้มีฝนตกพรำๆ ตลอดสัปดาห์ พญามุจลินทนาคราชขึ้นมาขดและแผ่พังพานบังลมและฝนให้

เมื่อฝนหายแล้วก็คลายขนดจำแลงร่างเป็นมาณพน้อยยืนประคองอัญชลีนมัสการอยู่

พระพุทธองค์ทรงเปล่งพุทธอุทานความว่า


“ความสงัดของผู้ยินดีในธรรม ผู้สดับธรรมและเห็นธรรมเป็นสุข การระมัดระวังไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย, การละกามคุณได้เป็นสุข, การละอัสมิมานะ (ความถือตัว) เสียได้เป็นสุขอย่างยิ่ง”

๔. สัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปประทับใต้ต้น ราชายตนะ (ต้นเกด) ณ ที่นี้มีพ่อค้าสองคนจากอุกกลาชนบท นามว่า ตปุสสะกับภัลลิกะ มาพบ ถวายสัตตุผง (มันถะ) และสัตตุก้อน (มธุปิณฑิกะ) เปล่งวาจาถึงพระรัตนะทั้งสอง คือ ถึงพระพุทธและพระธรรมเป็นสรณะ (ขณะนั้นยังไม่มีพระสงฆ์) ทั้งสองเรียกว่าเป็น เทฺววาจิกา อุบาสก (อุบาสกที่ถึงพระรัตนะทั้งสอง) เป็นคู่แรก

ตามความในพระบาลีพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงเสวยวิมุติสุขใต้ต้นไม้ต่างๆ ๔ แห่ง ๔ สัปดาห์ เป็นเวลา ๒๘ วัน


แต่ในอรรถกถาท่านเพิ่มเข้ามาอีก ๓ สัปดาห์ ช่วงที่เพิ่มก็คือระหว่างสัปดาห์แรกกับสัปดาห์ที่สอง (เพิ่มเหตุการณ์บางอย่างเข้ามาด้วย) เป็น ๔ สัปดาห์ แล้วก็เลื่อนสัปดาห์ที่ ๒-๓-๔ เดิม เป็นสัปดาห์ที่ ๕-๖-๗ ตามลำดับ ดังนี้

(๑) สัปดาห์ที่ ๑ อยู่ใต้ต้นโพธิ์ ดังในพระบาลีพระไตรปิฎก

(๒) สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จถอยไปทางทิศอีสานของต้นโพธิ์ ทรงยืนจ้องพระเนตรยังต้นโพธิ์ไม่กะพริบเป็นเวลา ๗ วัน ณ ที่นี้เองได้เกิดอนิมิสสเจดีย์ขึ้น

(๓) สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จดำเนินจงกรม (คือเดินกลับไปกลับมา) ระหว่างต้นโพธ์กับอนิมิสสเจดีย์นั้นเป็นเวลา ๗ วัน

(๔) สัปดาห์ที่ ๔ ประทับขัดสมาธิ พิจารณาพระอภิธรรมตลอด ๗ วัน ณ เรือนแก้ว ที่มีเทวดานิรมิตให้อยู่ทางเหนือของต้นโพธิ์

สัปดาห์ที่ ๕-๖-๗ ข้อความเหมือนที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก แต่แทรกเหตุการณ์เข้ามาบางเรื่องบางราวให้มีสีสันขึ้น คือ

เหตุการณ์ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธ ได้แทรกเรื่องราวธิดามาร ๓ ตน นาม ตัณหา ราคา และอรดี ตามลำดับ รับอาสาพญามารนาม วสวัตตี ผู้พ่อ มายั่วยวนพระพุทธเจ้าหลังจากวสวัตตีพ่ายแพ้พระพุทธองค์ไป ธิดามารทั้ง ๓ มาร่ายรำยั่วยวนพระพุทธองค์อย่างไร ก็มิได้รับความสนพระทัยจากพระองค์แม้แต่น้อย จึงพ่ายแพ้อันตรธานไปในที่สุด

ตรงนี้ทำให้ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแคลงพระทัยว่า ไม่สมเหตุสมผล เพราะเมื่อพญามารที่มาผจญเป็นสัญลักษณ์แทนกิเลส เมื่อกิเลสเป็นรากเหง้า คือ โลภ โกรธ หลง พ่ายแพ้ไปโดยสิ้นเชิง พระบรมโพธิสัตว์เป็นพระพุทธเจ้าทรงชนะมารได้เด็ดขาดแล้ว ไฉนยังมีฉากให้ธิดามาร ซึ่งเป็นกิเลสมายั่วยวนพระองค์อีก

แต่หลวงพ่อพุทธทาส ได้เสนอแนวคิดในอีกทางหนึ่งว่า ฉากธิดามารมายั่วพระพุทธองค์ เป็นเพียงการทรงหวนรำลึกถึงความร้ายกาจของกิเลสที่ทรงเอาชนะแล้ว เพียงแต่ทรงย้อนนึกถึงความชั่วร้ายของกิเลสชั่วครู่เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้น ที่ธิดามารมายั่วชั่วประเดี๋ยวก็หายไปนั้น สมเหตุสมผลแล้ว ท่านว่าอย่างนั้น

เหตุการณ์ใต้ต้นราชายตนะหรือต้นเกด อรรถกถาได้เพิ่มข้อความว่า พ่อค้าสองคนได้กราบทูลขออะไรสักอย่างเป็นที่ระลึก พระพุทธองค์ทรงประทานเส้นพระเกศาให้ สองพ่อค้าได้นำพระเกศธาตุนั้นไปบูชาในประเทศของตน

ตรงนี้อรรถกถามิได้บอกว่า พ่อค้าสองคนนั้นเป็นใคร แต่พม่าได้อ้างว่า พ่อค้าสองคนนี้มาจากประเทศพม่า ได้นำพระเกศธาตุนั้นไปเมืองมาตุภูมิ ก่อพระเจดีย์บรรจุไว้บูชา พระเจดีย์นั้นคือ ชเวดากอง ในปัจจุบันนี้ ว่าอย่างนั้น นี่ก็ต่อเติมเสริมต่อกันไปไกลโข ฝากไว้พิจารณาด้วย


จากหลักฐานในอรรถกถา พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นโพธิ์และบริเวณปริมณฑลเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ รวม ๔๙ วัน เกือบ ๒ เดือน ถ้าถามว่าทำไมท่านจึงเพิ่มเวลาเข้ามาจาก ๒๘ วัน เป็น ๔๙ วัน คำตอบน่าจะเป็นดังนี้ด้วย

(๑) จากวันตรัสรู้ถึงวันทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ๒ เดือนพอดี ระยะทางจากพุทธคยาไปยังสารนาถ (ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน สมัยโน้น) ประมาณ ๒๐๐ กว่ากิโลเมตร (๒๒๐ กิโลเมตรประมาณนั้น) ถ้าหากพระพุทธองค์เสด็จออกจากพุทธคยาหลังจากตรัสรู้ ๗ วัน ก็ไม่ทราบว่าจะให้พระพุทธองค์ไปประทับอยู่ที่ไหน จึงจะพอเหมาะพอดีกับเวลา ๕๓ วัน

(เพราะในพระไตรปิฎกมิได้บอกว่าพระองค์ทรงแวะที่ไหนระหว่างทางก่อนจะถึงสารนาถ มีฉากเดียวคือ พบกับอุปาชีวก ซึ่งก็สนทนากันเพียงครู่เดียว แล้วก็เสด็จดำเนินผ่านไป)

จึงเกณฑ์ให้พระพุทธองค์ประทับยับยั้งอยู่ ณ ตำบลพุทธคยา ๗ สัปดาห์ (๔๙ วัน) เหลือเวลา ๑๑ วัน สำหรับการเสด็จดำเนินด้วยพระบาทจากพุทธคยาไปสารนาถ (ให้พระพุทธองค์เสด็จดำเนินไปอย่างช้าๆ วันละประมาณ ๒๐ กิโลเมตร)

ค่อยพอสมเหตุสมผลหน่อย คงเพราะเหตุนี้ประการหนึ่ง พระอรรถกถาจารย์จึงเกณฑ์ให้พระพุทธองค์ทรงยับยั้งอยู่ที่พุทธคยาเป็นเวลานานถึง ๔๙ วัน

(๒) พิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ที่เพิ่มเข้ามาก็น่าคิดไม่น้อย ณ รัตนฆรเจดีย์ นั้น ให้พระพุทธองค์ทรงพิจารณาอภิธรรมตลอด ๗ วัน ตรงนี้นำมาสันนิษฐานได้ว่า ผู้แต่งอรรถกถาคือ พระพุทธโฆษาจารย์ ท่านต้องการจะหาเหตุผลมาแสดงว่า พระอภิธรรมปิฎกนั้นมิใช่เป็นพัฒนาการในยุคหลัง พระอภิธรรมปิฎกนั้นเป็นพุทธวจนะแน่นอน และมีมาพร้อมกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าเมื่อประกาศพระศาสนา ทรงแสดงเฉพาะธรรมกับวินัย แต่อภิธรรมก็มีมาแล้ว และรวมอยู่ในคำว่า ธรรม นั้นเอง

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ที่ ๑๐ เป็นต้นมา มีกระแสคัดค้านพระอภิธรรมปิฎกว่า ไม่ใช่พุทธพจน์ เป็นสิ่งที่เพิ่มเติมมาภายหลัง สมัยพุทธกาลนั้นมีแต่ธรรมกับวินัย

พูดให้ชัดก็ว่า พระสุตตันตปิฎกกับพระวินัยปิฎกเก่าแก่และเป็นพุทธวจนะ ส่วนอภิธรรมปิฎกเพิ่มเติมมาภายหลัง

พระพุทธโฆษาจารย์ ท่านเป็นพระสำนักอภิธรรม ท่านต้องการแสดงว่า พระอภิธรรมปิฎกนั้นเก่าแก่เช่นเดียวกัน จะว่าไปแล้วมีมาตั้งแต่ตอนที่พระองค์ตรัสรู้ด้วยซ้ำ เพราะพระพุทธองค์ทรงพิจารณาพระอภิธรรม ณ รัตนฆรเจดีย์ ในสัปดาห์ที่ ๓ หลังตรัสรู้

ท่านเพิ่มเข้ามาเอง ก็เป็นหลักฐานอ้างอิงในภายหลังได้สิครับ ดังฝ่ายเซนเพิ่มพระสูตรว่า พระพุทธเจ้าทรงประทาน “เซน” แก่พระมหากัสสปะ ณ เขาคิชฌกูฏ เพราะฉะนั้น “เซน” จึงเป็น “รหัส” ลับเฉพาะที่พระพุทธเจ้าประทานมา

ถ้าใครถามหาหลักฐาน เขาก็บอกได้ว่า มีพูดไว้ใน “มหาพรหมปัญหสูตร” ตรัส ณ เขาคิชฌกูฏ แก่เหล่าสาวกอันมีพระมหากัสสปะเป็นหัวหน้า

เมื่อฝ่ายเถรวาทอ้างหลักฐานได้ ฝ่ายเซนเขาก็มีสิทธิ์อ้างได้เช่นกัน จะไปหาว่าเขาแต่งพระสูตรขึ้นภายหลังได้อย่างไร ในเมื่ออรรถกถาของฝ่ายเถรวาทก็แต่งภายหลังเหมือนกัน

ผมคิดว่าที่พระอรรถกถาจารย์ท่านเพิ่มเหตุการณ์ ให้พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาพระอภิธรรมหลังตรัสรู้ ก็เพื่อจะสร้างความชอบธรรมว่า พระอภิธรรมปิฎกก็เป็นพุทธพจน์และมีมาตั้งแต่ต้น เช่นเดียวกับธรรมและวินัย (ซึ่งต่อมากลายเป็นพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก)

มองไม่เห็นเหตุผลอื่น หรือใครมองเห็นก็บอกมาก็แล้วกันครับ


รูปภาพ

:b8: :b8: :b8: หนังสือ บางแง่มุมเกี่ยวกับพระพุทธองค์
ศ. (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต หน้า ๑-๖


:b39: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377

:b44: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
กงล้อแห่งความจริงอันประเสริฐ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=57701

:b44: บทสวด...ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20815

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร