วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ย. 2024, 11:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 17:11
โพสต์: 103

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังฆทาน
สังฆทาน (บาลี: สงฺฆทาน) เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร[1] ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่

การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่นการถวายกุฎิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือ แม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้

ทานพิธีที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ที่เข้าลักษณะของสังฆทาน ก็จัดว่าเป็นสังฆทานได้ เช่น การตักบาตร การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าป่า เป็นต้น


ความหมายและลักษณะของสังฆทาน

การถวายสังฆทาน หมายถึงการ ถวายสิ่งของจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการ

หรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดย "ไม่เลือก" ว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ (ได้รับเผดียงสงฆ์) หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน (ตัวอย่าง: เช่นการใส่บาตรโดยไม่เลือกพระผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือสามเณรก็ตาม)

เมื่อพิจารณาจากมูลอันจะเป็นสังฆทานดังกล่าว การที่จะเป็นสังฆทานหรือไม่นั้น มีหลักสำคัญอยู่ที่การถวายสิ่งของเพื่อบำรุงสังฆบริษัท หรือตัวแทนแห่งสังฆบริษัท เพื่อประโยชน์ในด้านการไม่เลือกปฏิบัติและความเท่าเทียมด้านปัจจัยสี่ของพระสงฆ์นั่นเอง[1]

มีข้อควรพิจารณาประการหนึ่งว่า ในพระวินัยถือว่า ภิกษุสงฆ์ 4 รูปขึ้นไปนับเป็นองค์สงฆ์ แต่เมื่อพิจารณาจากเจตนาของพระพุทธเจ้าในทักขิณาวิภังคสูตรแล้ว หากแม้จะเป็นพระภิกษุถึง 4 รูป แต่เป็นพระที่ผู้ถวายเจาะจงระบุตัวมา ก็หานับว่าเป็นสังฆทานไม่ (คงนับเป็นปาฏิปุคคลิกทาน คือทานที่ระบุตัวพระภิกษุผู้รับถวายทาน)

มูลเหตุของสังฆทาน

มูลเหตุที่ทำให้พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน มาจาก ทักขิณาวิภังคสูตร ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสังฆทานว่า (โดยย่อ)

"ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชมน์อยู่ ครั้งนั้นทรงประทับอยู่ ณ วัดนิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้า ได้เกิดศรัทธาแรงกล้า ทรงทอจีวรด้วยพระองค์เองเพื่อนำมาถวายแก่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธองค์ทรงได้ปฏิเสธที่จะรับถวายผ้าจีวรดังกล่าว โดยได้ตรัสให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีนำผ้าดังกล่าวไปถวายแก่กองกลางคณะสงฆ์ เพราะทรงเห็นว่าการถวายผ้าเป็นสังฆทานจักได้อานิสงส์มากกว่า แม้จะถวายแก่พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาก็ตาม (การถวายหรือให้ทานแก่พระพุทธเจ้า พระภิกษุหรือบุคคลทั่วไป ทรงจัดเป็นปาฏิปุคลิกทาน) อีกทั้งการถวายเป็นสังฆทานนั้นย่อมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งพระสงฆ์ทั้งปวงด้วย

จากนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงปาฏิปุคลิกทาน 14 ประเภท (มีการถวายทักษิณาแก่พระพุทธเจ้าเป็นอาทิ) และตรัสถึงทักษิณาทานที่ถวายแก่สงฆ์ (สังฆทาน) ว่ามี 7 ประการ คือ

ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย (ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
ให้ทานในภิกษุสงฆ์ ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน (ให้ทานโดยให้คณะสงฆ์เป็นผู้เลือกพระภิกษุและพระภิกษุณีที่จะรับถวายทานเอง)
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
โดยได้ตรัสว่า แม้ในอนาคตกาล การถวายสังฆทานแม้แก่พระสงฆ์ผู้ทุศีล ก็ยังนับว่ามีผลนับประมาณมิได้ และปาฏิปุคลิกทานทั้งปวงในบุคคลใด ๆ มีพระพุทธเจ้าเป็นอาทิ ก็ไม่สามารถมีผลสู้สังฆทาน 1 ใน 7 ประการดังกล่าวได้เลย"

จากพระพุทธดำรัสดังกล่าว ทำให้พุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธานิยมทำบุญด้วยการถวายสังฆทานเพราะมีอานิสงส์มาก อีกประการหนึ่งการที่สังฆทานมีอานิสงส์มากกว่าปาฏิปุคลิกทานธรรมดาเพราะการที่จัดถวายทานแก่ส่วนรวม (คณะสงฆ์) ย่อมมีประโยชน์แก่พระศาสนามากกว่า เพราะการถวายสังฆทานเป็นการกระจายปัจจัยวัตถุอันจะพึงได้แก่คณะสงฆ์ทั้งปวงโดยไม่จำกัดหรือเลือกปฏิบัติแก่รูปใดรูปหนึ่ง

ดังนั้นการที่พระพุทธองค์ทรงตรัสยกย่องสังฆทานจึงนับได้ว่าเป็นการแสดงออกถึงการไม่เลือกปฏิบัติทางด้านบุคคล ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เพื่อเป็นประโยชน์ผาสุกโดยเท่าเทียมกันทางด้านปัจจัย 4 แก่พระสงฆ์ทั้งปวงผู้เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน

คำกล่าวถวายสังฆทาน

ตั้งนะโมสามจบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ)
อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ สปริวารานิ ภิกขุสงฺฆสฺส โอโณชยาม
สาธุ โน ภนฺเต ภิกฺขุ สังโฆ อิมานิ ภตฺตานิ สปริวารานิ ปฏิคฺคณฺหาตุ
อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขายฯ


กล่าวคำแปล


ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหาร กับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์
ขอพระสงฆ์ จงรับ ซึ่งภัตตาหาร กับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ



ข้อมูลจากรายการโทรทัศน์ จุดเปลี่ยนได้เสนอข้อมูลเกี่ยวกับ 10 อันดับของสังฆทาน ที่พระจะได้ประโยชน์ที่สุด

{แต่อย่างไรเสีย เป็นแค่ข้อมูลนะครับ เพราะว่าวัดแต่ละวัดอาจจะมีความต้องการสิ่งของเครื่องใช้ที่แตกต่างกัน เอาเป็นว่าเป็นข้อมูลเบื้องต้น}

รายการ "จุดเปลี่ยน" เมื่อวันเสาร์ ที่14 และ 21 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาทางช่อง 9 เวลา13.00 น.
ออกอากาศเรื่อง '10 อันดับของสังฆทาน ที่ทำแล้วพระท่านจะได้ประโยชน์มากที่สุด'
รายการจุดเปลี่ยนจึงได้ไปสอบถามพระสงฆ์จำนวนหนึ่ง
แล้วจัดอันดับสิ่งของสังฆทาน ตามความจำเป็นในการใช้งาน
รวม 10 อันดับ ซึ่งเรียงจากจำเป็นมากสุดไปน้อยที่สุดได้ ดังนี้

1. เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระสมัยนี้ต้องเรียนพระปริยัติธรรมและจดกำหนดนัดหมายต่างๆ ช่วยจำ บางรูปท่านเป็นเหรัญญิกดูแลค่าใช้จ่าย
ยิ่งต้องใช้มาก แต่ไม่ค่อยมีใครถวายเครื่องเขียนเหล่านี้ พระท่านจึงต้องไปเดินหาซื้อเองเสมอ หากเราถวายไป พระท่านจะได้ใช้อย่างแน่นอน อันดับ 1 จึงตกเป็นของ 'เครื่องเขียน'

2. ใบมีดโกนตราขนนก (Feather) หรือยี่ห้อ Gillette ยิลเลตต์เนื่องจากพระต้องโกนผมทุกวันโกนแต่ใบมีดยี่ห้ออื่น พระใช้โกนผมแล้วเลือดสาด !!! ท่านจึงใช้ได้แค่ 2 ยี่ห้อนี้เท่านั้น อนึ่ง ใบมีดตราขนนกจะคมกว่ายินเลส ใช้ในการโกนครั้งแรก ส่วนยิลเลตต์จะใช้เก็บความเรียบร้อยอีกครั้ง


3 ผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอที่จะนุ่งห่มได้ มีความหนาพอเหมาะสม เพราะผ้าที่ติดมากับถังเหลือง มันทั้งสั้น ทั้งเต่อ ทั้งบาง ทำให้พระท่านลำบากใจเวลาสวมใส่ขาดความมั่นใจ และเสียภาพลักษณ์ที่ดีของสงฆ์ ผู้ใดถวายผ้าไตรจีวร จึงได้อานิสงส์มากนัก


4. หนังสือธรรมะ สารคดี นิตยสาร หรือที่ให้ความรู้ด้านอื่นๆ เนื่องจากพระสงฆ์ มีหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ที่แตกฉาน ทั้งทางธรรม และรู้ทันข่าวสารบ้านเมือง เพื่อจะได้สาธิตยกตัวอย่างให้ ชาวบ้านเข้าใจได้แจ่มแจ้ง การถวายหนังสือเหล่านี้ จึงถือเป็นต้นทุนแห่งธรรมทาน ให้พระท่านได้นำไปต่อยอด กระจายสู่ผู้คนได้อีกมาก ทั้งยังถือเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง แถมได้ผลตอบแทนสูง น่าลงทุนเป็นอย่างยิ่ง


5. รองเท้า (ยกเว้นพระนิกายธรรมยุตต์นะจ๊ะ สังเกตให้ดีล่ะว่าวัดที่เราไป พระท่านใส่รองเท้ากันหรือเปล่า) พระท่านต้องเดินบิณฑบาตร ธุดงค์ ไปเรียนหนังสือ ไปกิจนิมนต์ตามที่ต่างๆ บางรูปต้องทำงานที่ใช้แรงงานในวัด เช่น ก่อสร้าง ทำสวน สิ่งที่ต้องรับภาระหนักก็คือ 'รองเท้า' ที่มักจะขาด เสียหาย อยู่บ่อยๆ นั่นเอง รองเท้าจึงถือเป็นอีก item หนึ่งที่มีความสำคัญอย่างสูง


6. ยาหลักๆ ที่จำเป็น ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดหัว ปวดท้อง ยาแก้ไอ แก้ไข้ ลดกรดในกระเพาะอาหารยาใส่แผลสด แผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลพุพอง เป็นหนอง ผิวหนังอักเสบ เป็นหนอง

7. ผ้าขนหนูสีสุภาพ ไม่ต้องสีเหลืองก็ได้

8. ชุดคอมพิวเตอร์ อู้วววว.... ไฮโซไปนิดนึง แต่ถ้าใครรวบรวมเงินได้เป็นกอบเป็นกำอย่างกฐิน ผ้าป่าก็น่าพิจารณาถวายคอมพิวเตอร์แด่วัดที่ขาดแคลน ... ถ้าเป็นวัดที่อินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึงจะดีมากๆ


9. น้ำยาเช็ดพื้น เหอ... งงไปเลย พระท่านจะเอาน้ำยาเช็ดพื้นไปทำอะไร?? เฉลย ก็เอาไปผสมน้ำ ถูกุฏิ ศาลา อุโบสถ ไงจ๊ะ เพราะนอกจากจะช่วยผ่อนแรงในการทำความสะอาด สลายคราบแล้ว บางยี่ห้อยังช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในมูลนกพิราบ ฉี่หมา ฉี่แมว ฉี่หนู เห็บ หมัด ของหมาวัดได้อีกด้วย


10. แชมพู พระท่านไม่มีผมแล้วจะเอาแชมพูไปทำไมเนี่ย แถมยังฮอตฮิตติดท็อปเท็นของที่มีประโยชน์อีกด้วย แซงหน้าไมโล โอวัลติน ชาเขียว ขิงผง สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ทิชชู่ ฯลฯ เมื่อพระท่านไม่มีผมมาปกป้องหนังศีรษะเนี่ย ทั้งความร้อน ฝุ่นละออง เชื้อโรคต่างๆ ก็จะเข้าถึงหนังศีรษะของท่านได้โดยตรง แถมการรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของหนังศีรษะก็จะเสียไป เพราะไม่มีผมปกคลุม ทำให้หนังศีรษะของพระ มักจะแห้ง และเกิดโรคผิวหนังอยู่เสมอ เช่น ชันตุ เป็นต้น
สิ่งที่จะช่วยบรรเทาได้ก็คือ แชมพูยา ที่มีส่วนผสมปกป้องหนังศีรษะ รักษาสมดุลสังเกตง่ายๆ ที่ฉลากจะมีคำว่า 'Scalp' เป็นสำคัญ ยี่ห้อที่เป็นแบบนี้ก็มักจะเป็นพวก แชมพูขจัดรังแคอย่างคลินิคเป็นต้น แต่น่าเศร้าใจ ที่ไม่มีใครถวายแชมพูพระท่านจึงจำต้องใช้สบู่แก้ขัด ซึ่งทำให้ยิ่งคันหัว ศีรษะแห้งไปกันใหญ่ ดังนั้นจึงขอท่านโปรดจำไว้ว่าเราควรซื้อแชมพูไปถวายพระ แต่ก็เลือกสูตรกันนิดนึง ให้เป็นสูตรดูแลหนังศีรษะ

ข้อมูลจาก

http://www.mattaiya.org/สังฆทาน.html


แก้ไขล่าสุดโดย ต่อmcu เมื่อ 07 ก.พ. 2010, 22:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


. :b8: :b8: :b8: .

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

ประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมครับ

ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน ๖ ประการ


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี


ก็สมัยนั้นแล อุบาสิกา ชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ
ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประมุข


พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะถวาย
ทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะเป็นประมุข ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาชื่อนันทมารดา
ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้นถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ
ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประมุข ก็ทักษิณาทาน
อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเป็นอย่างไร ?


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ ของทายก(ผู้ให้)
องค์ ๓ ของปฏิคาหก(ผู้รับ)


องค์ ๓ ของทายกเป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ ๑
กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ๑
ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ ๑
นี้องค์ ๓ ของทายก


องค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายปฏิคาหกในศาสนานี้
เป็นผู้ปราศจากราคะหรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๑
เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๑
เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ๑
นี้องค์ ๓ ของปฏิคาหก


องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหกย่อมมีประการดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายทักษิณา
ทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล


การถือประมาณ บุญ(คือการนับคำนวณบุญ)แห่งทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการอย่างนี้ว่า
ห้วงบุญ ห้วงกุศล มีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล
เป็นไปเพื่อสวรรค์ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ดังนี้ ไม่ใช่ทำได้ง่าย (คือประมาณไม่ได้ง่าย ๆ
)

โดยที่แท้ บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงบุญห้วงกุศลที่จะนับไม่ได้
ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญใหญ่ทีเดียว เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่า
เท่านี้อาฬหกะ ( 4 ทะนาน(ปัตถะ) เท่ากับ 1 อาฬหกะ) เท่านี้ร้อยอาฬหกะ เท่านี้พันอาฬหกะ
หรือเท่านี้แสนอาฬหกะไม่ใช่ทำได้ง่าย


โดยที่แท้ น้ำในมหาสมุทรย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงน้ำที่จะนับไม่ได้
ประมาณไม่ได้ เป็นห้วงน้ำใหญ่ทีเดียวฉะนั้น.


ทานสูตร

อรรถกถาทานสูตร


บางส่วน ควรทราบ

บทว่า วีตราคา ได้แก่ ( ถวายแด่ ) พระขีณาสพผู้ปราศจากราคะ.

บทว่า ราควินยาย วา ปฏิปนฺนา ความว่า ดำเนินปฏิปทา ที่เป็นเหตุนำราคะ
ออกไป. และเทศนานี้ เป็นเทศนาอย่างอุกฤษฏ์(เป็นการแสดงไว้ขั้นสูงสุด)
แต่มิใช่ (ทานที่ถวาย) สำหรับพระขีณาสพ อย่างเดียวเท่านั้น แม้ถวายพระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน

โดยที่สุดแม้สามเณรผู้ถือภัณฑะบวชแล้วในวันนั้น ทักษิณาที่ถวายแล้ว
ย่อมชื่อว่าประกอบไปด้วยองค์ ๖ ทั้งนั้น.
เพราะว่าแม้สามเณรก็บวชเพื่อโสดาปัตติมรรคเหมือนกัน
.


ทานวัตถุ คือสิ่งที่เหมาะสำหรับถวายทาน ๑๐ อย่าง

อนฺนํ ปานํ วตฺถํ ยานํ มาลา คนธํ วิเลปนํ
เสฺยฺยาวสถํ ปทีเปยยํ ทานวตฺถู อิเม ทส


สิ่งที่ควรถวายทาน มี ๑๐ อย่าง คือ

อันนัง ของกิน ของขบเคี้ยว ฯลฯ

ปานัง เครื่องดื่ม น้ำดื่ม น้ำผลไม้ ฯลฯ

วัตถัง เครื่องนุ่งห่มปกปิดร่างกาย

ยานัง อำนวยความสะดวกในการเดินทาง หรือ ยานพาหนะ

มาลา ดอกไม้ที่สวยงาม (เครื่องบูชา)

คันธัง ของหอมทั้งปวง (เครื่องบูชา)

วิเลปนัง เครื่องทำความสะอาดกาย ผ้า สถานที่ และน้ำใช้ เป็นต้น

เสยยัง เครื่องนอนทั้งปวง

อาวสถัง ที่พักอาศัยทั้งปวง

ปทีเปยยัง เครื่องทำให้เกิดแสงสว่างทั้งปวง รวมค่าไฟ


วิโรจนมุนินฺโท


แก้ไขล่าสุดโดย ไวโรจนมุเนนทระ เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 12:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2010, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7505

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b20:
...การให้ทานเป็นธรรมะแก้กิเลสความโลภในจิตใจ...
...ได้อ่านสาระดีๆสมควรบอกต่อ...ขออนุโมทนาสาธุ...
:b8:
:b12:
:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร