วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: มุตโตทัย :b43:
:b48: พระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต :b48:

:b42: มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน :b42:
......เหตุใดหนอปราชญ์ทั้งหลายจะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆก็ดี จึงต้องตั้ง"นโม" ก่อน จะทิ้ง"นโม"ไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ "นโม" ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ จึงยกขึ้นมาพิจารณาได้ความว่า"น"คือธาตุน้ำ "โม"คือธาตุดิน พร้อมกับบาทพระคาถาปรากฏขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมฺภโวโอทนกุมฺมาสปจฺจโย สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกัน จึงเป็นตัวตนขึ้นมาได้ "น"เป็นธาตุของมารดา "โม"เป็นธาตุของบิดา ฉะนั้นเมื่อธาตุทั้งสองนี้ผสมกันเข้า ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า กลละ คือน้ำมันหยดเดียว ณ ทีนี้เองปฏิสนธิวิญญานเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตได้ถือปฏิสนธิในธาตุนโมนั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว กลละ ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็นอัมพุชะ คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็นฆนะ คือเป็นแท่ง และเปสี คือชิ้นเนื้อแล้วขยายตัวออก คล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็นปัญจสาขา คือ แขน๒ ขา๒ หัว๑ ส่วนธาตุ พ คือลม ธ คือไฟนั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก กลละ ก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้งสองคือ นโมเป็นดั้งเดิม ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย น มารดา โม บิดา เป็นผู้ทนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้ข้าวสุก และขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า "บุพพาจารย์" เป็นผู้สอนก่อนใครๆทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดา จะนับประมาณมิได้ มรดกที่ทำให้กล่าวคือรูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิม ทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอก ก็เป็นไปจากรูปกายนอกนั่นเอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น"มูลมรดก" ของบิดามารดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณของท่านจะนับประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่ เราต้องเอาตัวเราคือ"นโม"ตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยาน้อมไหว้ลงไปภายหลฃัง "นโม" ท่านแปลว่า "นอบน้อม" นั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุน ทำการฝึกหัดปฏิบัติตน ไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ :b42:

......พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เว้นมหาปัฏฐาน มีนัยประมาณเท่านั้นเท่านี้ ส่วนคัมภีร์มหาปัฏฐาน มีนัยหาประมาณมิได้ เป็น"อนันตนัย" เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรอบรู้ได้ เมื่อพิจารณาพระบาลี ที่ว่า เหตุปจฺจโย นั้นได้ความว่า เหตุซึ่งเป็นปัจจัยดั้งเดิม ของสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุนั้นได้แก่นโมนั่นเอง นโมเป็นตัวมหาเหตุ เป็นตัวเดิม เป็นสิ่งสำคัญ นอกนั้นเป็นแต่อาการเท่านั้น อารมฺมณะ จนถึง อวิคฺคตะ จะเป็นปัจจัยได้ก็เพราะมหาเหตุ คือใจเป็นเดิมโดยแท้ ฉะนั้นนโมซึ่งกล่าวไว้ในตอนต้นก็ดี ฐิติภูตํซึ่งจะกล่าวในส่วนต่อไปก็ดี และมหาเหตุซึ่งกล่าวในส่วนนี้ก็ดี ย่อมมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน พระบรมศาสดาจะทรงพระบัญญัติพระธรรมวินัยก็ดี รู้อะไรได้ด้วยทศพลญานก็ดี รอบรู้สรรพเญยยธรรมทั้งปวงก็ดี ก็เพราะมีมหาเหตุนั้นเป็นดังเดิมทีเดียว จึงทรงรอบรู้ได้เป็นอนันตนัย แม้สาวกทั้งหลายก็มีมหาเหตุนี้แลเป็นเดิม จึงสามารถตามคำสอนของพระองค์ได้ ด้วยเหตุนี้แลพระอัสสชิเถระผู้เป็นที่๕ ของพระปัญจวัคคีย์ จึงแสดงธรรมแก่ อุปติสสนะ(พระสารีบุตร)ว่า เยธมฺมา เหตุปภวา เตสํง เหตุตํตถาคโต เตสญจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ ความว่าธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ เพราะว่ามหาเหตุนี้เป็นตัวสำคัญตัวเดิม เมื่อท่านพระอัสสชิเถระกล่าวถึงที่นี่ (คือมหาเหตุ)
ท่านพระสารีบุตรจะไม่หยั่งจิตลงถึงกระแสธรรมอย่างไรเล่า เพราะอะไรทุกสิ่งในโลกก็ต้องเป็นไปแต่มหาเหตุถึงโลกุตตรธรรมก็คือ มหาเหตุ ฉะนั้นมหาปัฏฐานท่านจึงว่าเป็นอนันตนัย ผู้มาปฏิบัติใจ คือ ตัวมหาเหตุ จนแจ่มกระจ่างสว่างโร่แล้ว ย่อมสามารถรู้อะไรๆ ทั้งภายในและภายนอก ทุกสิ่งทุกประการสุดจะนับประมาณได้ด้วยประการฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: มูลการของสังสารวัฏฏ์ :b42:
.........ฐีติภูตํ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา อุปทานํ ภโวชาติ....
คนเราทุกรูปทุกนามที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิดทั้งสิ้น กล่าวคือ มีบิดามารดาเป็นแดนเกิด ก็แลเหตุใดท่านจึงบัญญัติปัจจยาการแต่เพียงว่า อวิชฺชา ปจฺจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชชา เกิดมาจากอะไร ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่ พวกเราก็ยังคงมีบิดามารดา อวิชชาก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า ฐีตภูตํ นั่นเองเป็นพ่อแม่ของอวิชชา ฐีติภูตํ ได้แก่จิตดั้งเดิม เมื่อ ฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยความหลงจึงมีเครื่องต่อ กล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น เมื่อมีอวิชชาแล้ว จึงเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้มีสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ จึงเป็นภพชาติ คือต้องเกิดก่อต่อกันไปท่านเรียกว่าปัจจยาการ เพราะเป็นอาการสืบต่อ วิชชาและอวิชชา ก็ต้องมาจาก ฐีติภูตํ เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อ ฐีติภูตํ ประกอบด้วย อวิชชา จึงไม่รู้เท่าทันอาการทั้งหลาย แต่เมื่อ ฐีติภูตํ กอปรด้วยวิชชาจึงรู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง นี่พิจารณาด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา รวมใจความว่า ฐีติภูตํ เป็นตัวการดั้งเดิมของ สังสารวัฏ(การเวียนว่ายตายเกิด) ท่านจึงเรียกชื่อว่า "มูลตันไตร" เพราะฉะนั้นเมื่อจะตัดสังสารวัฏให้ขาดสูญ จึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชารู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง ก็จะหายหลงแล้วไม่ก่ออาการทั้งหลายใดๆอีก ฐีติภูตํ อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏด้วยประการฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: อกิริยา เป็นที่สุดของโลก-สุดสมมุติบัญญัติ :b48:
......สจฺจานํ จตุโร ปทา ขีณษสวา ชุติมนุโต เตโลเก ปรินิพฺพุตา....
สัจจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกิริยา เพราะแต่ละสัจจะๆย่อมมีอาการต้องทำคือ ทุกข์-ต้องทำการกำหนดรู้,สมุทัย-ต้องละ,นิโรธ-ต้องทำให้แจ้ง,มรรค-ต้องเจริญให้มาก ดังนี้ล้วนเปฯอาการที่จะต้องทำทั้งหมด ถ้าเป็นอาการจะต้องทำต้องเป็นกิริยา เพราะเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่า สัจจะทั้ง๔ เป็นกิริยา จึงสมกับบาทคาถาข้างต้นนั้น ความว่าสัจจะทั้ง๔ เป็นเท้า หรือเป็นเครื่องเหยียบก้าวไปหกรือก้าวขึ้นไป ๔ พัก จึงจะเสร็จกิจ ต่อจกนั้นจึงเรียกว่าอกิริยา อุปมาดังเขียนเลข ๑๒๓๔๕๖๗๘๙๐แล้วลบ๑-๙ ทิ้งเสีย เหลือแต่ ๐ (ศูนย์) ไม่เขียนอีกต่อไป คงอ่านว่าศูนย์ แต่ไม่มีค่าอะไรเลย จะนำไป บวก ลบ คูณ หาร กับเลขจำนวนใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีหาได้ไม่ เพราะปรากฏอยู่ว่า ๐(สูญ)นี่แหละคือปัญญารอบรู้ เพราะทำลายกิริยา คือความสมมุติ มีปัญหาสอดขึ้นว่า เมื่อทำลายสมมุติหมดสิ้นแล้ว จะไปอยู่ที่ไหน แก้ว่าไปอยู่ในที่ไม่สมมุติคืออกิริยานั่นเอง เนื้อความตอนนี้เป็นการอธิบายตามอาการของความเป็นจริง ซึ่งประจักกษ์แก่ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ อันผู้ไม่ปฏิบัติอาจหารู้ได้ไม่ ต่อเมื่อไรฟังตามแล้วทำตามจึงรู้เองเห็นเอง นั่นแหละจึงจะเข้าใจได้

......ความแห่งสองบาทคาถาต่อไปว่า พระขีณาสวเจ้าทั้งหลายดับโลก ๓ รุ่งโรจน์อยู่ คือ การพิจารณาบำเพ็ญเพียร เป็นภาวิโต พหุลีกโต คือทำให้มาก เจริญให้มาก จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมุติทั้งหลาย ทำลายสมมุติทั้งหลายลงไปได้ จนเป็นอกิริยา ก็ย่อมดับโลก ๓ ได้ การดับโลก ๓ นั้น ท่านขีณาสวเจ้าทั้งหลายมิได้เหาะขึ้นไปใน กามโลก รูปโลก อรูปโลก เลยทีเดียว คงอยู่กับที่นั่นเอง แม้พระบรมศาสดาของเราก็เช่นเดียวกัน พระองค์ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์แห่งเดียว เมื่อจะดับโลก๓ ก็มิได้เหาะขึ้นไปในโลก ๓ คงดับอยู่ที่จิตๆนั่นเองเป็นโลก ๓ ฉะนั้นท่านผู้ที่ต้องการดับโลก ๓ พึงดับที่จิตของตนๆจนทำลายกิริยา คือตัวสมมุติหมดสิ้นจากจิต ยังเหลือแต่อกิริยา เป็น ฐีติจิต ฐีติธรรม อันไม่รู้จักตาย ฉะนี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: พระอรหันต์ทุกประเภท ทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ ย่อมบำเพ็ญไตรสิกขาบริบูรณ์ :b43:
....เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่า เจโตวิมุตติเป็นพรแอรหันต์ผู้ได้สมาธิก่อน ส่วนปัญญาวิมุตติเป็นของพระอรหันต์ สุขวิปัสสกะผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆไม่ได้สมาธิมาก่อนนั้น ย่อมขัดแย้งต่อมรรค มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีทั้ง สัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ ทั้งปัญญา อันผู้จะได้อาสวักขยญานจำต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน ฉะนั้นจึงว่าพระอรหันต์ทุกประเภท ทั้งเจโตวิมุตติ ย่อมบำเพ็ญไตรสิกขาบริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้

:b48: เรื่องวิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก :b48:
......ผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์พระธรรมวินัยมาก มีอุบายมากเป็นปริยายกว้างขวาง ครั้นมาปฏิบัติทางจิต จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย ฉะนั้น จะต้องให้เข้าใจว่าความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว ต้องเก็บใส่ตู้ใส่หีบไว้เสียก่อน ต้องมาหัดผู้รู้คือจิตนี้ หัดสติให้เป็นมหาสติ หัดปัญญาให้เป็นมหาปัญญา กำหนดรู้เท่ามหาสมมุติมหานิยม อันเอาออกไปตั้งไว้ว่า อันนั้นเป็นอันนั้น เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้าอากาศหาวดาวนักขัตฤกษ์สารพัดสิ่งทั้งปวง อันเจ้าสังขารคืออาการจิต หากออกไปตั้งไว้ บัญญัติไว้ว่า เขาเป็นนั่นเป็นนี่ จนรู้เท่าทันแล้ว เรียกว่ากำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย เมื่อทำให้มากเจริญให้มาก รู้เท่าเอาทันแล้วจิตก็จะรวมลงได้ เมื่อกำหนดอยู่ก็ชื่อว่าเจริญมรรค หากมรรคพอแล้ว นิโรธก็ไม่ต้องกล่าวถึง หากจะปรากฏชัดแก่ผู้ปฏิบัติเอง เพราะศีลก็มีอยู่ สมาธิก็มีอยู่ ปัญญาก็มีอยู่ในกาย วาจา จิตนี้ ที่เรียกว่า อกาลิโก ของมีอยู่ทุกเมื่อ โอปนยิโก เมื่อผู้ปฏิบัติมาพิจารณาของที่มีอยู่ ปจฺจตฺตํ จึงจะรู้เฉพาะตัว คือมาพิจารณากายอันนี้ให้เป็นของอสุภะเปื่อยเน่าแตกพังลงไป ตามสภาพความเจริญของภูตธาตุ ปุพฺเพสุ ภูเตสุ ธมฺเมสุ ในธรรมอันมีมาแต่เก่าก่อนสว่างโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ผู้มาปฏิบัติมาพิจารณาพึงรู้อุปมารูปเปรียบอันนี้ อันบุคคลผู้ทำนาก็ต้องทำลงไปในแผ่นดิน ลุยตมลุยโคลนตากแดดกรำฝน จึงจะเห็นข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสุกมาได้ และได้บริโภคอิ่มสบาย ก็ล้วนทำมาจากของมีอยู่ทั้งสิ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น เพราะศีล สมาธิปัญญา ก็อยู่ในกาย วาจา จิต ของทุกคนๆ


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 30 มิ.ย. 2010, 11:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: วิชชาจรณสัมปันโน :b42:
พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์
(พระอาจารย์ ลี ธมฺมธโร)

....โดยทั่วๆไปแล้วในโลกนี้มีวิชาแบ่งออกเป็น ๒ พวกใหญ่ คือวิชาทางโลกและวิชาทางธรรม ในส่วนของวิชาทางโลกหรือที่เรียกว่า"โลกิยะวิชา" นั้นแบ่งย่อยได้เป็น ๒ ส่วนคือ
......๑ เหฏฐิมะวิชา เป็นวิชาเบื้องต่ำ วิชาเบื้องต่ำนี้ย่อมเป็นสิ่งที่มีทั่วไปแก่พุทธบริษัท แม้จะเป็นคนมิจฉาทิฏฐิก็มี เช่น ความฉลาดในวิชาการต่างๆ ทางโลก ซึ่งเขาได้ศึกษากันมาตามแบบตามตำหรับเพื่อเป็นการบริหารประเทศชาติบ้านเมืองของเรา
......๒ วิชาพิเศษชั้นหนึ่งซึ่งเกิดจากนักปรัชญาชั้นสูง เช่น พวกคิดในทางวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะประดิษฐ์วัตถุต่างๆให้ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ไว้ใช้สอยแก่สามัญชนโดยทั่วไป เช่น เครื่องยนต์กลไก สามารถจะสร้างตาทิพย์ หูทิพย์ หรือเครื่องยนต์ เช่น เครื่องบินอย่างนี้เป็นต้น จนสามารถที่จะทำสิ่งมหัศจรรย์ใช้แทนมนุษย์ให้ประกอบกิจการต่างๆอาจสำเร็จตามความประสงค์ของเขา เช่น สมัยสงครามที่เขาริเริ่มกันอยู่ได้ทราบว่าไปทิ้งระเบิดโดยที่ไม่ต้องใช้มนุษย์ไปด้วยและสามารถที่จะชี้มือชี้เท้าของเขาเหล่านั้นบงการว่า จะให้ไปที่ไหน ทำอะไร ย่อมสำเร็จตามความประสงค์ของเจาได้ เมื่อสำเร็จกิจการเหล่านั้นจนเป็นที่พอใจ ก็จะสามารถเรียกวัตถุเหล่านั้นกลับคืนมาบ้านเก่า อันนี้เป็นความเจริญของวิชาทางโลก
วิชาเหล่านี้เรียกว่าโลกิยวิชา เป็นวิชาของคนสามัญในโลก

(ต่อ..)


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 30 มิ.ย. 2010, 11:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


......วิชาพิเศษมันก็จะไม่ทำเช่นนั้น เป็นวิชาค้นคิดสำเร็จมาจากจินตามยปัญญา ไม่ใช่สำเร็จมาจากการศึกษาจากโรงร่ำโรงเรียน คือสำเร็จขึ้นในทางจิต คือพวกแก่กล้าในกทางการศึกษา ในทางปรัชญาหรือจิตวิทยา พวกนี้ต้องอาศัยแต่ความคิด เมื่อคิดคิดให้ปรากฏรูปบางที่ก็ถึงกับเกิดอุคหนิมิต เช่น จะคิดอะไรสักอย่าง มันสำเร็จมาจากใจของเขา เป็นภาพสำเร็จรูปมาเลย เมื่อสำเร็จรูปในใจบางคราวก็เขียนภาพ บางคราวก็ไม่ได้เขียนภาพ ทำทดลองด้วยวัตถุ เมื่อทดลองใช้การไม่สำเร็จ ก็พยายามแปรความคิดเก่านั้นให้ผิดไป เป็นความคิดใหม่ขึ้นมาจากความคิดเก่า ก็ขยายตัวออกที่ละนิดๆ ในที่สุดก็สำเร็จตามความคิดของเขา ถ้าเรามาคิดกันตื้นๆก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์ ถ้าคิดกันให้ลึกก็ไม่ใช่ของแปลกอะไร อย่างคิดอีกแบบ เช่นอย่างเขาคิดคนตัวเล็กให้มันตัวโต คนตัวโตให้มันตัวเล็ก คิดกันตื้นๆแค่นี้เสียก่อนแล้วเขาก็ตัดกระจกแผ่นเดียวนั่นแหละ เมื่อตัดกระจกเข้า ทีนี้ไอ้คนสูงมันก็จะกลายเป็นคนต่ำ คนต่ำก็กลายเป็นคนสูง คนเล็กก็กลายเป็นคนโต คนโตก็กลายเป็นคนเล็ก คิดกันตื้นๆแค่นี้แหละ คิดไปจนสามารถที่จะเอารูปไกลๆเข้ามาใกล้ๆได้ ครั้งแรกนั้นก็มักเป็นผู้คิดในทางฝ่ายวิทยาศาสตร์ ความคิดเกิดจากพวกนี้ก่อน อีกแขนงหนึ่งความคิดมันเกิดจากพวกแพทย์ศาสตร์ พวกนี้ต้องใช้ความคิดลึกกว่าธรรมดา หรือเช่นพวกเดินเรือทะเล เขาก็คิดที่จะมองหาเรือที่เดินผ่านไกลๆ ทำอย่างไรจึงจะมองเห็น ทำอย่างไรจึงจะทำเรือลำนั้นให้เงามาติดในเรือของตน พยายามคิดไปจนสำเร็จ คิดขั้นแรกๆก็คิดโง่ๆอย่างไร คิดแบบกระจกส่องหน้านี่เองไม่ได้คิดวิเศษวิโส ทำเสากระโดงให้สูงขึ้นไปบนอากาศ เมื่อวัตถุต่างๆมาติดกระจกก็เอากระจกต่อกระจกมาส่องกันเอง ทีนี้ส่องกันไปส่องกันมาหลายบานเข้า กระจกเงานั้นก็ดึงเอารูปเงานั้นลงไปในท้องเรือ ไม่ต้องมองกระจกบานบน มองดูกระจกเล็กๆอยู่ท้องเรือนั้น มองเห็นลำเรือนั้นอยู่ไกลๆได้ เขาคิดกันเพียงเท่านี้ นานๆเข้าก็สร้างกระจกแผ่นเดียว ทำกระจกนั้นให้เป็นคลื่น พอเรือมากระทบคลื่นกระจกบนคลื่นล่างก็รับ รับกันเรื่อยลงไปจนใต้แผ่นน้ำคิดไปคิดมาจนในที่สุดเวลานี้ ไม่ต้อง เขาก็สร้างกล้องเรดาร์ขึ้นชนิดหนึ่งซึ่งไม่ต้องใช้กระจกเงา และไม่ต้องใช้กระจกเป็นคลื่น กล้องนิดเดียวเท่านั้นสามารถที่จะดูดเอาเรือไกลๆมาเห็นอยู่ในท้องเรือ จนสำเร็จตามความต้องการของเขา นี่เป็นวิชาชั้นสูงในทางวิทยาศาสตร์
(ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.......มาสมัยนี้ในทางแพทย์ศาสตร์ก็ค้นคว้า ค้นคว้าในการที่จะไม่ให้มนุษย์ตาย ต่างคนต่างค้น แต่ยังไม่พบ ยังไม่เจอะ ค้นเท่าไรมันก็ยังตายกันอยู่ ยังไม่สำเร็จที่จะทำให้มนุษย์ยืนยาวไปกว่าธรรมดา ยังไม่สำเร็จ นี่ก็ค้นคิดพิจารณากันอยู่ โดยไม่ต้องอาศัยแบบตำรา แล้วมาสมัยนี้ ยังคิดคืบหน้าออกไปอีก แต่มันจะเป็นไปได้เพียงไรนั้นเป็นเรื่องของพวกเขาคิดว่าจะขึ้นไปอยู่ในพระอังคารมันคงจะสบายมาก แต่ก็นึกว่ามันสำเร็จได้ยาก ทำไมถึงสำเร็จได้ยาก คือคนมันไม่จริง ทำไมถึงเรียกว่าไม่จริง มันสงสัย มันไม่ชัดในอกในใจ ไอ้ความสงสัยอันนี้แหละมันเป็นของที่สำเร็จได้ยาก นี่เรื่องวิชาของโลก เป็นวิชาพิเศษส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นของพวกนักคิด เรียกว่าจินตามยปัญญา
......แต่ว่าสรุปลง ๒ ชนิดนี้ ไม่เป็นวิชาพ้นไปจากทุกข์ เป็นวิชาสร้างบาป เป็นวิชาสร้างกรรม มีถึง ๗๐ ส่วน ส่วนวิชาที่ให้ประโยชน์นั้นมีอยู่ ๓๐ ส่วน เท่านั้น ทำไมถึงมีเพียง ๓๐ ถ้ามันก่อสงครามโลกละก็จะเสียหายมาก แต่ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ให้ความสะดวกในการคมนาคมของมนุษย์นั้นมีน้อยเหลือเกิน โดยมากมุ่งไปทางประหัตประหารกัน มุ่งในทางสร้างอำนาจ สร้างอิทธิพล โดยมากเป็นไปโดยอาการเช่นนั้น ฉะนั้นจึงไม่พ้นไปจากทุกข์ ไม่พ้นไปจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ดูกันใกล้ๆ อย่างทุกวันนี้ เช่น บางพวกฉลาด สร้างอะไร ต่ออะไรต่างๆ มากมาย เมื่อสร้างแล้ว ก็เอาไปขายเอาเงิน บางทีอาวุธหรือศาสตราที่ขายเขานั้น มันกลับไปฆ่าเขาผู้สร้าง ตัวอย่างเช่น บางประเทศสร้างอาวุธไม่ได้เลย แต่ประกาศสงครามต่อสู้กับผู้ให้อาวุธอย่างนี้เป็นต้น อันนี้เป็นวิชาของโลก มันให้ผลเสมอเพียงแค่นั้น
(ต่อ....)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ฉะนั้นในทางศาสนาของเรา พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงชี้แจงไว้อีกข้อหนึ่งเป็นวิชาธรรม วิชาธรรมนี้เกิดขึ้นได้ ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเกิดจากความคิดนึกตรึกตรอง พินิจพิจารณา เบื้องต้นท่านเรียกว่า วิตก วิจาร ต่ำกว่านั้นท่านเรียก โยนิโสมนสิการ เมื่อเราได้สดับหรือได้ฟังเราจะต้องโยนิโสมนสิการ เราต้องใคร่ครวญทบทวน พินิจพิจารณาดูเสียก่อนจึงค่อยเชื่อ ตัวอย่างเช่น เราจะทำบุญ เห็นว่าบุญๆเท่านั้น ได้ยินแต่ชื่อก็อยากได้ แต่ไม่ได้ไตร่ตรองพินิจพิจารณาว่าของสิ่งใดมันเป็นสิ่งควรแก่การทำบุญ บุคคลชนิดไหนเป็นผู้ควรจะสมค่ากองบุญกองกุศลของเรา ต้องตรองพิจารณาดูเสียก่อน คือตรวจูตนของตนและครวจดูพัสดุที่ตนจะบริจาค แล้วก็ตรวจดูบุคคลที่จะรับวัตถุไปจากเรา ว่าเป็นการคู่ควรหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเป็นการคู่ควรก็ทำได้ แต่ว่าทำด้วยความรู้ ไม่ทำด้วยความหลง ไม่ทำด้วยความอยาก อยากได้ก็ทำ แต่ไม่มีโยนิโสมนสิการก็ชื่อว่าขาดจินตามยะ ต้องใคร่ครวญพิจารณาทบทวนดูหลายๆชั้นเสียก่อนจึงค่อยประกอบกิจการเหล่านั้นจึงจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ซึ่งเรียกว่าทำความดีอาศัยปัญญา ปัญญาที่เรียกว่ากุสลาธัมมา นี้เป็นชื่อของปัญญาที่เราไม่ได้แปลกัน แปลกันแต่ว่ากุศลาคือกุศล กุศลส่วนนี้เป็นคุณศัพท์ เป็นนามศัพท์ก็ได้ เป็นกิริยาศัพท์ก็ได้ เป็นนามศัพท์[b]กุศลาแปลว่าบุญ นี่นามศัพท์ กุศลาแปลว่าผู้แสดงมรรยาทให้เป็นไปด้วยความสุจริต มีการกระทำทางกายก็สุจริต ทางวาจาก็สุจริต มีความประพฤติเป็นไปในทางจิตก็ชอบ นี่ก็ชื่อว่ากุศลา เป็นกิริยาศัพท์ เป็นคุณศัพท์ก็ได้ ได้แก่การทำความดีอย่างนั้นๆ เราจะได้รับความบริสุทธิ์อย่างนั้นๆ นี่เป็นคุณศัพท์ แลปว่า กุศโลบาย ทำสิ่งใดต้องอาศัยปัญญา ไตร่ตรองพินิจพิจารณาเสียก่อนให้รอบคอบจึงประกอบกอจการเหล่านั้นให้สำเร็จขึ้นด้วยความสมบูรณ์ เรียกว่ากุศโลบาย ฉลาดมีนโยบายทำคุณความดีให้เกิดขึ้นในตนด้วยความบริสุทธิ์ [/b]


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 30 มิ.ย. 2010, 17:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...เหตุนี้พระองค์จึงได้ทรงกำชับพวกเราให้เป็นผู้ไตร่ตรอง พินิจพิจารณาดูโยนิโสมนสิการ เป็นผู้ใคร่ครวญทวนหลายรอบเสียก่อนเมื่อเราใคร่ครวญทวนหลายรอบ ชัดเจนแจ่มใสในจิตแล้ว ก็ทำธรรมดาทางเช่นใด หมั่นเดินหมั่นเตียน เตียนเข้า ๆ เราสามารถที่จะมองเห็นประตูได้ เดินกลับไปกลับมาหลาย ๆ ครั้ง ต้นหญ้ามันก็ตตาย ความรู้มันก็เกิดขึ้น ทางที่เราเดินยอย่นั้น เป็นต้นไม้อะไร เป็นผักอะไร กินได้หรือกินไม่ได้ เราก็ทราบ ทางเดินของเรามันเตียนขึ้น ทางที่เตียนนั้น มันได้ผลหลายอย่าง อย่างหนึ่งเดินสบายเท้า อย่างที่สองเกิดผลพลอยได้ ตัวอยางเช่น เรารู้ของที่อยู่ริมทางผักหญ้าชนิดไหนที่เขานิยมกินได้ หญ้าชนิดไหนกินไม่ได้ ถ้ากินไม่ได้เราจะเอาไปทำอะไร เหลือกินก็เอาไปขายที่ตลาด นี่เรียกว่าผลพลอยได้ นอกจากนั้นเมื่อต้องการรีบด่วน จะวิ่งก็สบาย เราจะนั่งถูนั่งไถก็สบายก้น แม้เราง่วงนอนจะนอนไปในทางที่เตียนก็ได้ หรือมีงูหรือศัตรูต่าง ๆ มาผ่านทางเข้า เราก็สามารถที่จะวิ่งได้ด้วยความเร็ว ได้ผลความดีขึ้น พวกเราจะทำสิ่งใดในส่วนบุญส่วนกุศลนั้น ถ้าใคร่ครวญทวนหลาย ๆ ครั้งได้รับผลดี นี่เรียกว่าจินตามยปัญญาในข้อต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.......ข้อที่สองต่อไปนั้น เป็นการที่ลึกเข้าไปอีก ท่านเรียกว่า วิตก วิจาร ท่านไม่เรียกว่าจินตามยะ แต่มันก็อยู่ในจินตามยะนั่นเอง แต่ต่างกัน ในข้อนี้ก็ควรจะตั้งชื่ออีกว่า ภาวนามยปัญญา คนภาวนาก็ต้องคิดเหมือนกัน ภาวนาไม่คิดไม่ได้ ต้องอาศัยความคิดเป็นเครื่องประกอบองค์ภาวนา ตัวอย่างเช่น องค์ฌาน ท่านบอกว่า วิตก ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจาร เลือกอารมณ์ว่า เราพิจารณากรรมฐานอันเป็นที่สะดวกสะบายแก่ตน พิจารณาดูกรรมฐาน เมื่อเราเห็นว่าสิ่งนี้แหละเป็นที่สะดวกสบายแก่ตน เช่นหายใจ อย่างนี้เป็นต้น หายใจช้า หายใจเร็ว หายใจสั้น หายใจยาว หายใจแคบ หายใจกว้าง หายใจร้อน หายใจอุ่น หายใจเย็น หายใจแค่ปลายจมูก หายใจแค่คอยหอย หายใจลงไปถึงหัวอก เมื่อเรามาคัดเลือกอารมณ์จนเป็นที่ชอบใจแล้วก็จับอารมณ์นั้น เรียกว่าเอกัคคตารมณ์ ทำจิตให้เป็นหนึ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่าเอกัคคตา เมื่อเราได้องค์เอกัคคตาเกิดขึ้นในดวงจิตวิจาร พิจารณากรรมฐาน วิตก ยกอารมณ์นั้นให้เด่น อย่าให้จิตของเราแยกจากอารมณ์ อย่าให้อารมณ์แยกจากจิต ให้นึกว่าเหมือนกินข้าว ให้ข้าวของเราที่จะกินนั้นตรงเข้าไปในปาก ให้ปากมันตรงกับก้อนข้าว อย่าให้มันพลาด ถ้าพลาดก็เลยไปหูโน่น กินข้าวเอาอุดเข้าไปในรูหู บางทีก็ใส่ใต้คาง บางทีก็ใส่เข้าไปในลูกตา บางทีก็ใส่ไปบนหน้าผาก อย่างนี้มันก็ไม่สำเร็จในการกิน
....ฉันใดก็ดี อารมณ์ของเราที่เรียกว่าหนึ่งนั้นน่ะ บางทีก็ไพล่ไปโน่น อดีตล่วงไปแล้วตั้งร้อยปี ยังไปสาวอยู่โน่น บางทีก็ไปเปิดอนาคตซึ่งยังมาไม่ถึง ก็ไปสาวเรื่องราวเข้ามารกอกรกใจ นี่เรียกว่ายื่นคำข้าวขึ้นแล้วมันก็เลยศรีษะ ตกไปข้างหลัง หมาเอาไปกินหาย บางทีก็ยกขึ้นมาแค่ปากยังไม่ได้คาบ ผ่าไปข้างหน้าโน่น เมื่อเป็นอย่างนี้เรียกว่าจิตของเรายังไม่แนบสนิทอยู่ในอารมณ์ เมื่อยังไม่แนบสนิท ตัววิตกมันยังไม่แน่น เราต้องทำตัววิตกยกขึ้นสู่อารมณ์ แล้วก็ประคองจิตขึ้นอยู่ในอารมณ์นั้น เหมือนคนที่ประคองอาหารให้มันตรงกับปาก ให้มันเข้าปาก อันนี้ท่านเรียกว่าวิตก คำข้าวตรงปาก ปากตรงคำข้าว แน่ใจว่าเป็นคำข้าว อะไรเป็นอาหารหวานหรืออาหารคาว เป็นอาหารประณีตหรือหยาบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...เมื่อเราทราบเรื่องราวแล้วก็ปั๊บเข้าไปในปากเคี้ยวขยำเข้าไปเลย นี่ท่านเรียกว่า วิจาร ได้แก่พวกเราตรองอารมณ์ อารมณ์ที่เรากำหนดอยู่นั้น พิจารณา พิจารณาอารมณ์ที่เรากำหนดอยู่นั้น อารมณ์ที่มันเกิดขึ้น บางคราวก็เป็นส่วนอุปจาระภาวนา พิจารณาอารมณ์หยาบๆ ให้มันละเอียด พิจารณาลมหายใจ เมื่อหายใจยาวก็พิจารณาลมหายใจยาว เมื่อหายใจสั้นก็พิจารณาที่ลมหายใจสั้น เมื่อหายใจช้าก็พิจารณาลมหายใจช้า ว่าลมอยู่กับจิตหรือไม่ จิตอยู่กับลมหรือไม่ หายใจสะดวกคล่องแคล่วดีหรือไม่ ตรวจพิจารณาลมอยู่โดยอาการเช่นนี้ นี่เรียกว่า วิจาร
.....เมื่อ วิตก วิจาร เกิดขึ้นในดวงจิต เป็นทั้งสมาธิ เป็นทั้งปัญญา วิตกเป็นองค์สมาธิ เอกัคคตาเป็นสมาธิ วิจารเป็นองค์ปัญญา เมื่อสมาธิปัญญาเกิดขึ้น จิตนิ่งสงบ ก็เกิดวิชาขึ้น ถ้าวิจารมากเกินไปความสงบมันก็ดับ ถ้าสงบเกินไป ความคิดมันก็ดับ ให้คุมการสงบจิตของเราให้พอดีพอเหมาะ ให้พอดีกัน ถ้าปรุงไม่เป็นมันก็เกิดโทษ บางทีสงบมากเกินไปมีโทษ คือจิตมันเดินช้า ในทางปฏิบัติบางคราวคิดมากเกินไปจนสมาธิดับ ไม่ดี นั่นก็เลยไปอีก นี่ท่านให้พิจารณาวิจาร ดูให้มันถี่ถ้วน เหมือนเรากินอาหารอีกนั่นแหละ อาหารที่เราอยากถมเถกินเข้าไปติดคอตายก็มี อันใดที่ให้ประโยชน์ พอสู้ได้ เช่นฟันเราพอใช้หรือยัง บางคนมีแต่เหงือก แต่อยากกินอ้อย นั่นมันผิดธรรมดา บางคนก็ฟันหัก ฟันหลุด เจ็บปวด ยังอยากกินของแข็งๆ มันก็เกิดโทษ นี่มันเป็นอย่างนี้ ดวงจิตของเรามันก็เหมือนกัน เมื่อสงบเข้านิดๆหน่อยๆก็อยากรู้อยากเห็น อยากมีอยากเป็น อยากได้อยากดีเลยตัว นี่เป็นอย่างนี้ ฉะนั้นเราต้องปรับปรุงสมาธิให้พอดีกับฐานเสียก่อน ปรับปัญญาให้มันพอเหมาะ สมาธิก็ให้พอเหมาะกับปัญญา ปัญญาก็ให้มันพอเหมาะกับสมาธิ การปรับปรุงข้อนี้เป็นส่วนสำคัญมาก คือองค์วิจารแก่ ตัววิตกมันก็มั่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ตัวอย่างเรามีควายตัวหนึ่ง เอาเชือกผูกมัดหลัก แล้วก็ตีหลักจมลงไปในดิน ถ้าควายมีกำลังมาก มันวิ่งหรือมันเดินหลักเราก็ถอน เมื่อหลักถอนก็เปิดเปิงไปอีก ต้องคอยดูกำลังควายของเราด้วย ถ้ากำลังมันแรงมากเกินไป ตีหลักให้มันแน่น คอยเฝ้าต้นอยู่ อย่างนี้เป็นต้น คือถ้าความฟุ้งซ่านของความคิดเราเรามันเลยเถิด มันเปิดเปิงไปนอกจากวงขอบของสมถะ กำหนดจิตลงไปให้สงบลงมาก แต่อย่าให้สงบมากจนลืมหน้าลืมหลัง ถ้าสงบมากเกินไปจนไม่รู้ตัวอะไรเลยไม่รู้เรื่อง สงบมากเข้าก็มักลืม ทีนี้นั่งไม่รู้ตัว เผลอไปเป็นคราวๆ อย่างนี้ก็มี บางทีก็ไม่รู้ตัว นั่งเงียบ บางทีก็รู้ แต่มันผลุบๆโผล่ๆ พวกนี้แหละเรียกว่า สมาธิขาดการวิตก วิจาร การใคร่ครวญ มันก็กลายเป็นมิจฉาสมาธิ
......ฉะนั้นต้องสังเกตุดูให้ดี แล้วใคร่ครวญพินิจพิจารณา แต่จิตไม่มีอาการไหวตัวไปตามความนึกคิด ความนึกคิดมันเป็นส่วนหนึ่ง ดวงจิตของเราตั้งอยู่ในองค์กรรมฐาน เราจะหมุนตัวไปทางไหนเราก็หมุนอยู่ในหลัก เช่น เราเอามือกอดต้นเสาไว้มือหนึ่งหรือสองมือ เราจะวิ่งก็วิ่งวนอยู่กับต้นเสา มันไม่เสียกำลัง ถ้าเราปล่อยเสา วิ่งวนสามรอบ เวียนศรีษะ ล้มปังไปทันที
ดวงจิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าคิดนึกตรึกตรองมองสิ่งใดก็ตามให้มันอยู่ในเอกัคคตารมณ์ ไม่มีอาการเหนื่อย ไม่มีเสียหาย ความคิดเป็นจินตามยปัญญา ความสงบเป็นภาวนามยปัญญา มันอยู่ด้วยกันที่นี่ นี่มันเป็นกุศโลบาย เป็นปัญญาในขั้นสมาธิ มันติดกันไปเรื่อยอย่างนี้ ขั้นทานก็อยู่ในโยนิโสมนสิการ ขั้นศีลก็อยู่ในโยนิโสมนสิการ ทำสมาธิไม่ขัด มันเป็นตัววิตกวิจารแก่ขึ้นไปอีก เมื่อเรามีวิตกวิจารกำกับดวงจิต นึกเท่าไรดวงจิตยิ่งแน่นิ่งเท่าไรยิ่งคิด ดวงจิตก็แน่วแน่ จนนิวรณ์ขาดไปในจิตใจ ไม่เที่ยวไปตามสัญญาต่างๆ ดวงจิตนั้นก็จะเกิดวิชชา ทีนี้มันก็เกิดวิชาขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...วิชาที่เกิดจากนี้คืออะไร ไม่ใช่วิชาธรรมดา คือมันมาล้างวิชาเก่า วิชาที่โยนิโสมนสิการไม่เอา ปล่อย วิชาที่เกิดขึ้นจากวิตกวิจารไม่เอาเลิก ทำจิตนิ่งสงบ เมื่อจิตนิ่งสงบไม่มีนิววรณ์มาเจือปนก็เป็นตัวบุญเป็นตัวกุศล เมื่อดวงจิตของตนเป็นไปเช่นนั้น ไม่ติดสัญญาใดๆ ทั้งหมด สัญญาที่เคยรู้มาในทางโลกและทางธรรม จำได้มากน้อยเพียงใด ล้างเกลี้ยง เมื่อเรามาล้างไปจนหมดอย่างนั้น อย่างอื่นมันถึงจะเกิด ฉะนั้น ท่านจึงไม่ให้ยึดสัญญาความจำได้หมายรู้ในส่วนต่างๆ ทั้งหมด จะต้องยอมจนตรอก คนใดที่มันเกิดความคิดมักในคราวจนนั่นแหละ ถ้าไม่แสดงตนเป็นคนจนตรอก มันไม่เกิดปัญญา คือหมายความว่าไม่ต้องกลัวโง่ ไม่ต้องกลัว ไม่รู้ไม่เห็น ไม่มีไม่เป็น ไม่ต้องไปใช้สุตะ ปัญญาของสุตะไม่ต้องการ เพราะมันเป็นสัญญาอนิจาปัญญาที่เกิดขึ้นจากจินตามยไม่ต้องการ เพราะมันเป็นสัญญาอนัตตาปล่อยให้มันดับให้หมด ให้เหลือแต่ดวงจิตตั้งเที่ยง ไม่เอียงไปข้างหน้า ไม่เอียงไปข้างหลัง ไม่เอียงไปข้างซ้าย คืออัตตกิลมัตถานุโยคคือความไม่พอใจ ไม่เอียงไปข้างขวา คือ กามสุขัลลิกานุโยค คือความพอใจ ทำจิตให้นิ่งสงบ เป็นกลางวางเฉย ตั้งตระหง่าน เมื่อจิตเป็นไปได้เช่นนี้ นั่นแหละสัมมาสมาธิ
.......เมื่อสัมมาสมาธิเกิดขึ้น มันก็มีเงา มองเห็นเงาปรากฏเกิด วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานตัวนี้คือวิชา เป็นปรัชญาในทางพระพุทธศาสนาของเรา ท่านจึงจัดว่าเป็นวิชาข้อแรก เป็นวิชาข้อหนึ่งคือ วิปัสสนาญาน วิชาข้อที่สองคือ อิทธิวิธี วิชาข้อที่ สามคือ มโนมยิทธิ วิชาข้อที่สี่คือทิพพจักขุ วิชาข้อที่ห้าคือ ทิพพโสต วิชาข้อที่หกคือ เจโตปริยญาน วิชาข้อที่เจ็ดคือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาน และวิชาข้อที่แปดได้แก่อาสวักขยญาน ทั้งแปดข้อนี้เป็นวิชาที่เกิดขึ้นจากการนั่งสมาธิ คนไม่มีสมาธิไม่มีทางเกิด รับรองเด็ดขาด จะฉลาดมากน้อยเพียงใดก็ตาม มันไม่สำเร็จเป็นวิชา มันก็ตกอยู่ในอำนาจของอวิชชาทั้งนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...วิชาแปดประการนี้ มันเกิดจากสัมมาสมาธิ วิชาแปดประการนี้เกิดขึ้นแล้ว ท่านก็ไม่เรียกว่าความคิด ท่านเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ คือเห็นว่าอันนั้นผิด ผิดจริง อันนี้ถูก ถูกจริง นี่เป็นสัมมาทิฏฐิ สิ่งที่ผิดเห็นเป็นถูก มิจฉาทิฏฐิ สิ่งที่ถูกเห็นเป็นผิด มิจฉาทิฏฐิ ส่วนสัมมาทิฏฐิสิ่งเป็นผิด ผิดจริง สิ่งเป็นถูก ถูกจริง ถ้าจะกล่าวตามเหตุตามผลได้แก่เห็นอริยสัจธรรม คือเห็นทุกข์ มันทุกข์จริงๆ เห็นสมุทัยเกิด มันเป็นเหตุแห่งทุกข์จริงๆเป็นอริยสัจ เป็นของไม่เท็จ เป็นของที่ค้านไม่ได้ เป็นของที่มีความจริง นี่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ คือเห็นในส่วนทุกข์เกิดมาจากเหตุ เหตุอันนี้ต้องทุกข์ ทุกข์จริงๆ เห็นเหตุแห่งความดับทุกข์ว่า ทางที่เราเดินไปนี้มันต้องไปเข้านิพพานไม่ต้องสงสัย ถูกจริง ไม่ผิด เดินถึงก็ตาม เดินไม่ถึงก็ตาม แต่ความเห็นมันถูก เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
......ทีนี้ข้อสองนั้น คือรู้แจ้งทางนิโรธ ความดับทุกข์มีจริง เมื่อเราเจริญมรรค เราก็จะต้องดับทุกข์ได้จริง เมื่อรู้เห็นเป็นจริงเกิดขึ้นในดวงจิตอย่างนี้ ท่านเรียกวิปัสสนาญาน นี่อย่างพิสดาร อย่างสั้นๆ คือเห็นว่าสิ่งทั้งหลายภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม มันไม่แน่นอนทั้งนั้น ตัวเราเองก็เป็นของไม่แน่นอน ตายก็ไม่แน่นอน แก่ก็ไม่แน่นอน มีลักษณะกลับกรอกหลอกลวง ยักย้ายแปรผันอยู่เป็นนิจ นี่เรียกว่าเห็นอนิจจัง อย่าไปดีใจในเรื่องอนิจจัง ทำจิตให้เป็นกลางจึงเรียก วิปัสสนา
......บางทีไปเห้นเขาไม่เที่ยง ดีใจ บางทีเสียใจ ตัวอย่างเช่น เราไม่ชอบคนโน้น ได้ข่าวว่าคนโน้นจะตายหรือป่วย หรือจะต้องถูกถอดยศ เราก็ดีใจ อยากให้มันตายเสียเร็วๆ เพราะสังขารของเขาไม่เที่ยง ความเป็นอยู่ของเขาไม่แน่ มันแปรไปได้ แต่เราพอใจ นี่เป็นตัวกิเลส ทีนี้ถ้าไปเห็นคนดีเป็นลูกเป็นหลานได้ดิบได้ดี เป็นใหญ่เป็นโต มีหน้ามีตา ดีใจนั่นแหละ ดวงจิตของเราผิดไปจากองค์อริยมรรค ไม่ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ ต้องทำใจเป็ฯกลาง ไม่ดีใจในวัตถุ ไม่ดีใจในเรื่องราวที่นึกคิดสำเร็จ ไม่เสียใจในเรื่องที่นึกคิดไม่สำเร็จ ทำดวงจิตเป็นกลาง วางเฉยอยู่อย่างยี้ นี่ความเป็นกลางของสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นว่าสิ่งนี้ผิด สิ่งนี้ถูก พยายามแก้ดวงจิต อย่าให้เป็นไปในทางผิด พยายามต้อนดวงจิตให้มันเป็นไปในทางที่ถูก นั่นเรียกว่า สัมมาสังกัปโป นี่เป็นวิปัสสนาญาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร