วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2015, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ


:b47: :b47:

เมื่อเราทำสมาธิได้มากแล้ว เราก็ไม่ควรที่จะรีรอ
หาวิธีการที่จะปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไป ให้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นเรื่องของสมถะ ทำความสงบ
การทำความสงบนั้นก็อาศัยการกระทำให้มาก
เมื่อกระทำให้มากแล้วความสงบนั้นมากขึ้นจิตนี้ก็กลายเป็นพลังจิต
เมื่อจิตนี้กลายเป็นพลังจิต จิตนี้ก็มีพลังแก่กล้าตามลำดับ
เมื่อจิตนี้มีการแก่กล้าตามลำดับแล้ว ท่านก็ให้เจริญวิปัสสนา

บางคนนั้นกล่าวว่าเจริญวิปัสสนาล้วน ไม่มีสมาธิ..อันนี้เป็นไปไม่ได้
จำเป็นเหลือเกินที่จะต้องมีสมาธิพอเป็นเบื้องบาท
ถ้าไม่มีสมาธิเลย จะบำเพ็ญวิปัสสนาล้วนก็ไม่ถูกต้อง


บางคนนั้นคิดว่า เราบำเพ็ญวิปัสสนา คือ เรียนอภิธรรม
เรียนอภิธรรมจนกระทั่งรู้จักจิตเท่านั้นดวง เท่านี้ดวง
แล้วก็เรียนถึงทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
ถึงเรียนไปเท่าไรว่าเป็นวิปัสสนานั้นมันก็เป็นไปไม่ได้
เพราะวิปัสสนาที่จะให้เกิดเป็นวิปัสสนาจริงๆ นั้น
ต้องเป็นวิปัสสนาที่เกิดขึ้นจากพลังของจิต
สมดั่งที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงตรัสไว้ว่า "สัมมาสมาธิ"


สัมมาสมาธิ นั้นคือ ฌาน ๔ ในมรรค ๘ นั้นมีข้อสำคัญอยู่ข้อสุดท้าย
คือ ข้อสำคัญอยู่ข้อหนึ่งในข้อสุดท้ายนั้น เรียกว่า "สัมมาสมาธิ"
สัมมาสมาธินั้นก็คือ ฌาน ๔ ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุถฌาน
ฌานทั้ง ๔ นั้นเป็นสัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคในจำนวนมรรคทั้งแปด
ก็เป็นอันได้ความว่า ถ้าจะพิจารณาถึงอริยสัจ พิจารณาถึงวิปัสสนาแล้ว
จะต้องมีสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ..มรรคก็จะขาดไปองค์หนึ่ง
มรรคนั้นมีแปด ถ้าขาดสมาธิก็เหลือเจ็ด อันนี้เป็นไปไม่ได้


เพราะฉะนั้นการดำเนินวิปัสสนานั้น
จึงต้องดำเนินไปจากการที่ทำจิตนี้ให้สงบ
มีกำลังแก่กล้า เมื่อจิตสงบมีกำลังแก่กล้าแล้ว
จะเกิดกระแสจิต กระแสจิตนั้นก็เหมือนกับกระแสไฟ
เราเห็นดวงไฟนั้นบางทีก็สว่างน้อย บางทีก็สว่างมาก
ที่สว่างน้อยก็เพราะแรงเทียนน้อย
ที่สว่างมากก็เพราะแรงเทียนสูง ข้อนี้เป็นข้อเปรียบเทียบ
ผู้ที่มีพลังจิตแก่กล้า มีกำลังมาก กระแสจิตก็สูง
ผู้มีกำลังน้อย กระแสจิตก็ต่ำ


:b40: :b40:

คัดบางตอนมาจาก : หนังสือ คุณค่าของสมาธิ
พระธรรมมงคลญาณ (พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
ประธานผู้ก่อตั้งสถาบันพลังจิตตานุภาพ


:b44: รวมคำสอน “หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43841

:b44: ประวัติและปฏิปทา “หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20338

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2015, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร