วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2008, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมันชุด ๔๐ เล่ม
จัดพิมพ์โดย กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์]



พ ร ะ ไ ต ร ปิ ฎ ก ส า ก ล อั ก ษ ร โ ร มั น
และงานอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากล


ปาฬิ (Pali) เป็นภาษาพระธัมม์ที่บันทึกคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ปาฬิกำเนิดในอินเดียโบราณและได้ทรงจำสืบทอดมาอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์
ด้วยระบบสังคายนาในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ปัจจุบัน “ปาฬิ” หรือภาษา “ปาฬิ” ได้มีการรวบรวมเป็นหมวดหมู่เรียกว่า “พระไตรปิฎก”
(ปาฬิ เขียนตามเสียงพระธัมม์ที่สืบทอดและเรียงพิมพ์ในพระไตรปิฎก
ฉบับพระจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกราช ร.ศ. ๑๑๒ อักษรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๕)


ปาฬิมีลักษณะพิเศษคือเป็นภาษาที่ไม่มีอักษรเฉพาะของตน
แต่ใช้อักษรของชาติต่างๆ เขียนเสียงปาฬิได้
เช่น ปาฬิอักษรสยาม ปาฬิอักษรสิงหล ปาฬิอักษรพม่า และปาฬิอักษรโรมัน เป็นต้น


ความพิเศษของเสียงปาฬิที่ใช้เขียนด้วยอักษรของชาติต่างๆ นี้
ทำให้พระไตรปิฎกปาฬิแพร่หลายไปในนานาประเทศ
เพราะอักษรต่างๆเป็นสื่อที่สามารถอ่านออกเสียงปาฬิได้
คู่มืออ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกเล่มนี้ได้พิมพ์สัญลักษณ์สัททอักษรสากล
(International Phonetic Alphabet)
เพื่อเทียบเสียงของปาฬิไว้ด้วย


• อักษรโรมัน (Roman Script)

เป็นอักษรเก่าแก่ของจักรวรรดิโรมันในทวีปยุโรป
และปัจจุบันเป็นอักษรสากลที่ใช้อย่างแพร่หลายทั่วไปในโลก

กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปภัมภ์ฯ
ได้นำต้นฉบับพระไตรปิฎกปาฬิจากการสังคายนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐
มาจัดพิมพ์ชุดสมบูรณ์ในครั้งแรกเป็นอักษรโรมัน
ซึ่งเป็นอักษรสากลและรู้จักแพร่หลายในนานาชาติ
เพื่อให้ชาวโลกสามารถอ่านออกเสียงพระไตรปิฏกปาฬิได้ถูกต้องกว้างขวางยิ่งขึ้น
การออกเสียงพระธัมม์ที่ถูกต้องเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาพระไตรปิฎก

นอกจากนี้อักษรโรมันยังเป็นอักษรสากลที่ใช้ในเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันอีกด้วย
ทำให้พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์และบันทึกเป็นฐานข้อมูลด้วยอักษรโรมัน
ที่มีศักยภาพเผยแผ่ได้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก

• พระไตรปิฏกปาฬิ (Pali Tipitaka)

เป็นคำสอนของภาษาปาฬิที่ได้มีการอ่านสวดและทรงจำไว้
ตั้งแต่สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่
และได้สืบทอดมาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ทำให้คลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติในพระไตรปิฎกดำรงอยู่จนทุกวันนี้
ซึ่งผู้ที่มีปัญญาสามารถนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติสันติสุขในจิตใจของตนได้

รูปภาพ

• พระไตรปิฎกสากล (World Tipitaka)

เป็นพระไตรปิฏกปาฬิที่ได้ประชุมสังคายนาระดับนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐
ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ทรงอุปถัมภ์การพิมพ์เป็นอักษรโรมัน
และได้พระราชทานเพื่อประดิษฐานในนานาประเทศตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘
เป็นการพระราชทานเพื่อประดิษฐานในนานาประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘
เป็นการพระราชทานตามรอยพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕

การพิมพ์เป็นอักษรโรมันซึ่งจัดพิมพ์สำเร็จในประเทศไทย ๔๐ เล่ม
ชุดสมบูรณ์ครั้งแรกของโลก เป็นธัมมทานจากชาวโทยแก่ชาวโลก


• งานอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎก (Tipitaka Recitation)

และภาคแปลเป็นภาษาต่างๆ เป็นจุดริ่มต้นของการศึกษาพระไตรปิฎกโดยตรง
และยังเป็นการบำเพ็ญบุญกิริยาในทางปัญญาบารมีอันประเสริฐอีกด้วย
เพราะการอ่านสังวัธยายประไตรปิฎกปาฬิและภาคแปลเป็นธรรมทาน
ย่อมประกอบด้วยศรัทธาและปัญญา
อันนำมาให้เกิดกุศลอันล้ำเลิศและสันติสุขแก่บุคคล สังคม และสากลโลก ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

• การอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากล (World Tipitaka Recitation)

เป็นการบำเพ็ญกุศลให้มวลชนได้มีส่วนร่วมสืบทอดเสียงพระธัมม์
ซึ่งกรุงเทพมหานครได้จัดงานอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากลเป็นครั้งแรก ณ ลานคนเมือง
เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑

ในวาระครบรอบ ๑๐ วันแห่งการเสด็จสู่สวรรคาลัย
ของ สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

และในวันที่ ๑๔ - ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
ได้จัดงานอ่านสังวัธยายอีกครั้งหนึ่งเผยแผ่ไปทั่วประเทศ
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์อุปถัมภ์พระไตรปิฎกสากล ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ : สรุปเนื้อหาพระพุทธพจน์ ๑๒ บท สำหรับอ่านสังวัธยายถวายเป็นพระกุศลฯ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2008, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ส รุ ป เ นื้ อ ห า พ ร ะ พุ ท ธ พ จ น์ ๑๒ บ ท
สำหรับอ่านสังวัธยายถวายเป็นพระกุศลแด่....
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
อ ง ค์ อุ ป ถั ม ภ์ พ ร ะ ไ ต ร ปิ ฎ ก ส า ก ล


๑. ความไม่ประมาท คือบทสรุปพระธัมม์คำสอน
เล่ม ๗ ย่อหน้า ๔๐๕-๔๐๗

๒. ผู้ควรแก่การบูชา
เล่ม ๑๘ ย่อหน้า ๓๒๖

๓. ศีลและปัญญาเป็นยอดในโลก
เล่ม ๖ ย่อหน้า ๑๐๙๒

๔. ความหลุดพ้นแห่งจิตเป็นแก่นแท้พรหมจรรย์
เล่ม ๙ ย่อหน้า ๐๙๒

๕. ปฐมพุทธพจน์ ความสิ้นไปแห่งตัณหา
เล่ม ๑๘ ย่อหน้า ๑๖๔-๑๖๘

๖. หลักตัดสินข้อปฏิบัติตามพระธัมมวินัย
เล่ม ๔ ย่อหน้า ๒๐๖

๗. คุณสมบัติของพระอริยบุคคล
เล่ม ๑๔ ย่อหน้า ๑๙๖๑-๑๙๖๓

๘. พระธัมมนครแห่งสันติและมั่นคง
เล่ม ๒๐ ย่อหน้า ๕๕๓-๕๕๖

๙. พึงสังคายนาพระไตรปิฎกเพื่อประโยชน์คนหมู่มาก
เล่ม ๘ ย่อหน้า ๔๑๕

๑๐. เดชแห่งพระพุทธเจ้า
เล่ม ๑๘ ย่อหน้า ๔๑๕

๑๑ การพิจารณาตนด้วยตน
เล่ม ๑๘ ย่อหน้า ๔๐๖

๑๒. ปัจจัย ๒๔
เล่ม ๓๖ ย่อหน้า ๒

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2008, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๑. ความไม่ประมาท คือบทสรุปพระธัมม์คำสอน (หน้า ๒-๓)
http://www.tripitakaquotation.net>>>7D : 405-407

พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเรื่อง “ความไม่ประมาท”
เป็นพระพุทธพจน์ที่ทรงปลงอายุสังขาร
สรุปพระธัมม์คำสอนในพระไตรปิฎก
(คัดจากพระสุตตันตปิฎก ทีฆนืกาย มหาวัคคปาฬิ มหาปรินิพพานสุตตะ)

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นธรรมชาติของชาติว่ามีเวลาสั้นและนับวันก็จะหมดไป
ดังนั้นที่พึ่งแท้จริงของชีวิตคือความไม่ประมาท
ซึ่งเกิดจากการมีสติ การรักษาศีลให้บริสุทธิ์
การปฏิบัติสังวรระวังรักษาจิตของตนโดยไม่ประมาท
เป็นเหตุให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ได้

:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2008, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๒. ผู้ควรแก่การบูชา (หน้า ๔-๕)
http://www.tripitakaquotation.net>>>18Dh : 326-326

“ผู้ควรแก่การบูชา” เป็นพระพุทธพจน์สั้นๆ
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงความจริงในโลกว่า
ผู้มีศรัทธาเชื่อมั่นในคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าและมีศีลบริสุทธิ์
ย่อมมีผู้เคารพเลื่อมใสเป็นบริวาร และเป็นผู้มีความพรั่งพร้อมในชีวิต
เมื่อไปถึงสถานที่ใดใด ย่อมได้รับการเคารพ และบูชาอย่างยิ่ง
(คัดจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายะ ธัมมปทปาฬิ)

ความจริงนี้ได้ปรากฏเมื่อ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
เสด็จจาริกไปพระราชทานพระไตรปิฏกสากลในต่างประเทศ
ก็ทรงได้รับการเคารพบูชา ปัจจุบันแม้ได้เสด็จล่วงลับไปแล้ว
แต่พระไตรปิฎกสากลที่ได้พระราชทานเป็นพระธัมมทานแก่โลก
ก็ได้รับการบูชาและยกย่องในนานาประเทศอย่างยิ่ง

:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2008, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๓. ศีลและปัญญาเป็นยอดในโลก (หน้า ๖๗)
http://www.tripitakaquotation.net>>>6D :486-486

“ศีลและปัญญาเป็นยอดในโลก”
กล่าวถึงลักษณะของศีลระดับต่างๆในพระพุทธศาสนา
ในบทนี้พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในพระไตรปิฎฏว่า
แม้หากบุคคลจะรักษาศีล ก็จงใช้ปัญญาช่วยให้การรักษาศีลบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
(คัดจาก พระสุตตันปิฎก ทีฆนิกาย สีลักขันธวัคคปาฬิ สีลปัญญากถา)

“ปัญญา” คืออะไร
ปัญญาคือสภาวะในธรรมชาติที่เกิดในจิตใจ
เป็นเหตุของกุศล และนำความสุขมาให้มนุษย์


ศีลและปัญญาเป็นสภาวธัมม์ที่เกื้อกูลกัน
เพราะปัญญาย่อมมีแก่ผู้มีศีล และศีลย่อมมีแก่ผู้มีปัญญา มิอาจแยกกันได้
คำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นสัจจธัมม์
มิใช่ข้อบังคับพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของเหตุและผล
ซึ่งผู้มีปัญญาและได้ปฏิบัติธัมมะ ย่อมเกิดความเข้าใจได้ด้วยตัวเอง และอิ่มเอิบใจ

:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2008, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๔. ความหลุดพ้นแห่งจิตเป็นแก่นแท้พรหมจรรย์ (หน้า ๘-๙)
http://www.tripitakaquotation.net>>>9M 1092-1092

“ความหลุดพ้นแห่งจิตเป็นแก่นแท้พรหมจรรย์”
กล่าวถึงสาระสำคัญในพระพุทธศาสนา คือความหลุดพ้นแห่งจิต
ได้แก่ จิตที่ปราศจากความโลภ ความโกรธ และความหลง
(คัดจากพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกายะมูลปัณณาสปาฬิ มหาสาโรปมสุตตะ)

พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนและมีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกว่า
จุดหมายของการประพฤติปฏิบัติธัมมะ
มิใช่เพื่อลาภและความสรรเสริญใดๆ

ผลของการปฏิบัติธัมมะ
มิใช่เพียงเพื่อการรักษาศีล สมาธิ หรืออิทธิฤทธิ์เท่านั้น

แต่แก่นแท้ของพรหมจรรย์ คือ การปฏิบัติธัมมะเพื่อความหลุดพ้นของจิต
ได้แก่การทำให้จิตบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ
หรือปราศจากความโลภ ความโกรธ และความหลง


:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2008, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๕. ปฐมพุทธพจน์ ความสิ้นไปแห่งตัณหา (หน้า ๑๐ - ๑๑)
http://www.tripitakaquotation.net >>>18Dh 164-165

“ความสิ้นไปแห่งตัณหา” เป็นปฐมพุทธพจน์
คือ พุทธพจน์บทแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุทานในพระหฤทัย
เมื่อทรงตรัสรู้สัจจธัมม์ ณ ใต้ต้นโพธิ์ ริมฝั่งเนรัญชรา เมื่อ ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว
(คัดจากสุตตันตปิฎกขุททกนิกายะ ธัมมปทปาฬิ อุทานวัตถุ)

เนื้อหาสำคัญของปฐมพุทะพจน์ กล่าวถึงความทุกข์นี้เกิดจากตัณหา
คือความทะยานอยาก ซึ่งเป็นกิเลสในจิตใจขงสัตว์ทั้งปวง
ความทะยานอยากนี้ เปรียบได้กับนายช่างที่ทำหน้าที่ก่อสร้างไปเรื่อยๆไม่รู้จบ

ดังนั้นเมื่อทรงตรัสรู้แล้ว จึงทรงค้นพบต้นเหตุของตัณหา
และทรงยุติเหตุแห่งการปรุงแต่งของจิตให้ปราศจากตัณหาทั้งหลายได้


:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2008, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๖. หลักตัดสินข้อปฏิบัติตามพระธัมมวินัย (หน้า ๑๒-๑๓)
http://www.tripitakaquotation.net>>> 4V 2006-2006

หลักตัดสินข้อปฏิบัติตามพระธัมมวินัย
(คัดจากพระวินัยปิฎก จูฬวัคคปาฬิ)

พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักการตัดสิน ความเห็น คำพูด
และการกระทำถูกต้องตามหลักพระธัมมวินัยไว้
ดังพระพุทธดำรัสที่มีแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีไว้ว่า

ธัมมะวินัยของพระองค์ย่อมเป็นไป
เพื่อความไม่ยึดติด เพื่อความไม่ผูกกับภพ เพื่อความไม่สะสม เพื่อความมักน้อย
เพื่อความสันโดษ เพื่อความสงัด เพื่อปรารถความเพียร และเพื่อความเลี้ยงง่าย
ข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นพระธัมม์ เป็นพระวินัย เป็นคำสอนของพระบรมศาสดา


:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2008, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๗. คุณสมบัติของพระอริยบุคคล (หน้า ๑๔-๑๕)
http://www.tripitakaquotation.net>>> 14S5 : 1961-1963

พระพุทธศาสนาสอนว่า ผู้ประเสริฐในโลก
คือบุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้


ได้แก่ มีศรัทธา มีศีล มีความเลื่อมใสในธัมมะ
และมีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงในธรรมชาติ

ด้วยเหตุนี้ ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธัมมะ
ผู้มีปัญญาจึงต้องขวนขวายทำให้บังเกิดขึ้นในชีวิตอยู่เสมอ

(คัดจากพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายะ มหาวัคคสังยุตปาฬิ ปฐมอนาถปิณฑิกสุตตะ)

พระพุทธพจน์นี้ แม้กล่าวถึง “คุณสมบัติของพระอริยะบุคคล”
แต่ผู้มีปัญญาสามารถประพฤติปฏิบัติตามได้

ดังเช่น สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ทรงมีพระราชศรัทธาพระราชทานพระไตรปิฎกสากลไปประดิษฐานในนานาประเทศ
อันเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐของผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ซึ่งผู้มีปัญญาทั้งหลายควรศึกษาและปฏิบัติตามด้วย

:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2008, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๘. พระธัมมนครแห่งสันติและมั่นคง (หน้า ๑๖ - ๑๗)
http://www.tripitakaquotation.net>>> 20 Ap : 553-556

“พระธัมมนครแห่งสันติและมั่นคง” เป็นบทสรรเสริญพระธัมม์ในพระไตรปิฎก
ว่าเป็นที่พึ่งดุจพระนครอันสงบสุขและมั่นคงอย่างแท้จริง
(คัดจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายะ เถราปทานปาฬิ อุปาลิเถรอปทานะ)

พระพุทธพจน์บทนี้เริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบว่าศีล
หรือความสำรวมระวังทางกาย และวาจา คือกำแพงที่แข็งแกร่งและมั่นคง
เป็นการสอนว่าความมั่นคงที่แท้จริงมิใช่เป็นเรื่องเหตุปัจจัยภายนอก
แต่เป็นเรื่องของจิตใจที่มีธัมมะเป็นเครื่องสังวรระวัง และมีปัญญาเป็นเครื่องกำกับ เป็นต้น


บทพระธัมมะนครนี้ นอกจากสอนให้บุคคลตระหนักในธัมมะอันเป็นที่พึ่งที่มั่นคงแล้ว
ยังเตือนสติให้ชาวไทยสำนึกในความเป็นไทและความสงบสุขของชาติบ้านเมือง

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่ชาติไทยที่รอดพ้นจากการเสียเอกราช
เป็นเพราะพระมหากษัตริย์พุทธมามกะไทยในอดีต
ทรงเป็นผู้นำการสร้างสยามประเทศให้เป็นพระธัมมะนคร คือพระนครที่มั่นคง
เพราะมีผู้นำที่มีศีลธัมม์และปัญญา
ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ชาวไทยทุกคนต้องสร้างพระธัมมนครให้เกิดในจิตใจของทุกคนด้วย


การที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ได้พระราชทานพระไตรปิฎกสากล ชุดปฐมฤกษ์แก่ชาวไทย
ประดิษฐาน ณ ศาลรัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทย
อันเป็นนิมิตรหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นพระธัมมนครที่มีสันติและมั่นคงนั้น
จึงเป็นพระกรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้แก่ปวงชนชาวไทย

:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2008, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๙. พึงสังคายนาพระไตรปิฎกเพื่อประโยชน์คนหมู่มาก
http://www.tripitakaquotation.net>>> 8D : 1128-1128

พระพุทธพจน์บทนี้ กล่าวถึง
ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฏกปาฬิ ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๑
คือการรวบรวมพระธัมมวินัยเป็นหมวดหมู่
และทรงจำโดยพระอรหันตสาวกในยุคแรกและได้สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้


การสังคายนาพระธัททวินัยเป็นเหตุให้พระไตรปิฎกภาษาปาฬิ
ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและเผยแผ่มาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาร่วม ๓,๐๐๐ ปีแล้ว
(คัดจากพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาถิกวัคคปาฬิ สังคีติสุตตะ)

เนื้อหาในพระไตรปิฎกเป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้า
ได้ทรงสั่งสอนพุทธบริษัทให้ได้ดวงตาเห็นพระธัมม์
บรรลุเป็นพระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันถึงพระอรหันต์


ปัจจุบันแม้พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
แต่คำสอนพระไตรปิฎก อันได้แก่พระธัมมวินัย ย่อมเป็นพระศาสดาในปัจจุบันสมัย
ดังพระพุทธพจน์ที่บันทึกในพระไตรปิฎกว่า

“พระธัมม์และพระวินัย จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อตถาคตล่วงลับไป”

การอนุรักษ์พระไตรปิฎกปาฬิเพื่อสืบทอดเสียงพระธัมม์เป็นการบำเพ็ญกุศลล้ำเลิศ
ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ได้ทรงเป็นผผู้นำการอุปถัมภ์จัดพิมพ์เป็นอักษรโรมัน
พร้อมทั้งทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์พระราชทานพระไตรปิฎกสากลชุดสมบูรณ์ชุดนี้แก่นานาประเทศทั่วโลก
อันนำมาซึ่งกุศลประโยชน์ยิ่งใหญ่ การเผยแผ่พระธัมม์พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า

“เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2008, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๑๐. เดชแห่งพระพุทธเจ้า (หน้า ๒๑-๒๑)
http://www.tipitakaquoatation.net >>>18Dh :415-415

“เดชแห่งพระพุทธเจ้า” กล่าวถึงสภาวะความเป็นจริงในธรรมชาติ
มีพระอาทิตย์และพระจันทร์เป็นเหตุแห่งความแสงสว่าง
ซึ่งก็เป็นเหตุเพียงเฉพาะเวลากลางวันและกลางคืนเท่านั้น

แต่พระเดชของพระพุทธเจ้า
คือ พระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระกรุณาธิคุณ
ย่อมสว่างรุ่งโรจน์ในที่ทุกสถานและตลอดกาลเวลา

(คัดจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายะ ธัมมปทปาฬิ)

เดชแห่งพระพุทธเจ้าบทนี้ ได้อัญเชิญไปอ่านสังวัธยาย ณ นครนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ในการสมโภชพระไตรปิฎกสากล
ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ได้เสด็จจาริกไปพระราชทานพระไตรปิฎกสากลแก่สถาบันสำคัญต่างๆ ในประเทศญี่ป่น
ตามพระราชศรัทธาในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ซึ่งได้พระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันแก่นานาประเทศตามรอยพระไตรปิฎก
ฉบับ “จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. ๑๑๒ อักษรสยาม”
ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานแก่ ๒๖๐ สถาบันประเทศทั่วโลก เมื่อศตวรรษที่แล้ว

:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2008, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๑๑. การพิจารณาตนด้วยตนเอง (หน้า ๒๒-๒๓)
http://www.tipitakaquoatation.net >>>18Dh :406-406

พระพุทธพจน์เรื่อง “การพิจารณาตนด้วยตนเอง”
พระบรมศาสดาทรงสั่งสอนเปรียบเทียบผู้ทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองว่า

ในการพิพากษาคดีใดใด ก่อนตัดสินคดี
พึงให้ความเป็นธัมม์แก่บุคคลอื่น เสมือนเป็นโจทก์ตนเอง

นอกจากนี้ยังทรงสอนให้ผู้ทำหน้าที่พิพากษาความทั้งหลายต้องเป็นผู้มีสติด้วย
การมีสติจะนำมาซึ่งความสุขและความปลอดภัยจากการทำหน้าที่นั้นๆ

(คัดมาจากพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกายะ ธัมมปทปาฬิ)

:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2008, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ๑๒. ปัจจัย ๒๔ (หน้า ๒๔-๒๕)
http://www.tipitakaquoatation.net >>>36 P1 : 2-2

ปัจจัยแปลว่า เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล

“ปัจจัย ๒๔ ปัจจัย” ในพระไตรปิฎก
คือลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย
ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธัมม์อย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน
เป็นเหตุหรือเป็นเงื่อนไขให้สิ่งอื่น หรือสภาวธัมม์อย่างอื่น
เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่


ปัจจัย ๒๔ นี้ เป็นสาระสำคัญของคำอธิบายทั้งหมดในคัมภีร์ปัฏฐานในพระอภิธัมมปิฎก
ซึ่งเป็นธัมมะที่ละเอียดลึกซึ้งทรงคุณค่าหาประมาณมิได้
(คัดมาจากพระอภิธัมมปิฎกติกปัฏฐานปาฬิ)

:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : คู่มืออ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากลบำเพ็ญกุศลสืบทอดเสียงพระธัมม์;
เนื่องในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พิธีอ่านสังวัธยายพระไตรปิฎกสากล ๑๔-๑๕ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และทุกเขตทั่วกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร; ร่วมกับ กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ
จัดพิมพ์เป็นธัมมทาน จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ฉบับ, หน้า ๒๗-๓๕)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร