วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

พระพุทธโฆษะ ยอดอรรถกถาจารย์...
อารัมภกถา-พุทธโฆสุปปัตติ


อนึ่ง ในเรื่องประวัติพระพุทธโฆสะนี้ พระบุรพาจารย์ในสีหลทวีปครั้งกระโน้น ได้กล่าวคาถารวมความไว้ดังนี้

เมื่อ (ศาสนายุกาล) แต่ปรินิพพานแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษา พระเจ้ามหานามทรงครองราชย์ในลังกาโดยทศพิธธรรม พราหมณมาณพผู้เกิดในบ้านใกล้โพธิมณฑ์ เป็นผู้รู้วิทยาและกระบวนศิลปะ จบไตรเพท เจนจัดลัทธิ เชี่ยวชาญวาทะทั้งปวง มีความต้องการจะใช้วาทะ จึงเที่ยวโต้วาทะไปในชมพูทวีป จนมาถึงวิหารแห่งหนึ่ง ตอนกลางคืนบริวรรตปาตญชลีมนต์ให้มีบทอันสมบูรณ์เป็นปริมณฑลดี

พระมหาเถระองค์หนึ่งชื่อเรวตะ ในวิหารนั้นทราบชัดว่า “ สัตว์ผู้นี้มีปัญญามาก เราทรมานได้จะดี “ ท่านจึงกล่าวเปรยว่า “ ใครหนอมีเสียงเป็นฬา “ พราหมณมาณพถามท่านว่า “ ท่านรู้ความในเสียงร้องของฬาหรือ “ เมื่อท่านรับว่ารู้ จึงยังให้ท่านลงสู่ลัทธิของตน (คือเอาลัทธิของตนมาถามท่าน ? ) ท่านก็แก้ข้อที่ตนถาม ๆ ได้ ทั้งชี้ข้อที่ผิดพลาดได้ด้วย ครั้นท่านเตือน (จะถามบ้าง ) ก็อนุญาตให้ท่านยังตนให้ลงสู่วาทะของท่านบ้าง(ท่านถามแล้ว) ไม่ (อาจ) แก้ความหมายแห่งบาลีมหาอภิธรรมแก่ท่านได้ จึงถามว่า “ นี่เป็นมนต์ของใคร “ ท่านบอกว่าเป็นมนต์ของพระพุทธเจ้าจึงขอท่าน ท่านบอกว่า “ เราจะให้พุทธมนต์นั้นแก่คนที่ทรงเพศอย่างเรา “ พราหมณมาณพนั้น อันบุพเหตุ (คือกุศลในปางก่อน ) ทั้งหลายเตือน (ใจ) แล้ว จึงบวชเพื่อต้องการมนต์ เธอได้อุปสมบทแล้วก็เรียนพระไตรปิฏก ภายหลังก็ถือเอาพระไตรปิฏกนั้นว่า นี่เป็นเอกายนมรรค (ทางดำเนินอย่างเอก ประเสริฐกว่าลัทธิเก่าของตน) (ต่อมา) ท่านเป็นผู้ปรากฏ (เด่น) ดังดวงไฟ ดังดวงจันทร์ ดังดวงอาทิตย์ ซึ่งได้พยากรณ์กล่าวแก้ธรรมอันลึกแก่สัตว์ทั้งหลายละม้ายพุทธพยากรณ์ ท่านจึงได้นามว่า พุทธโฆสะ เพราะโด่งดังไปในพื้นแผ่นดินแม้นพระพุทธองค์

ในครั้ง (อยู่ที่วิหาร) นั้น ท่านมีความรู้ได้แต่งปกรณ์ชื่อญาโณทัยไว้ในวิหารนั้น แล้วแต่งอรรถกถาธรรมสังคณี เริ่มจะแต่งอรรถกถาน้อยชื่อ อรรถสาลินี พระเรวตเถระเห็นเช่นนั้น จึงบอกว่าปกรณ์ที่นำมาที่ (ชมพูทวีป) นี่ มีแต่พระบาลีอรรถกถาหามีไม่ อาจริยวาทต่าง ๆ ก็ไม่มีเช่นกัน แต่อรรถกถาเป็นภาษาสิงหลล้วน ที่พระมหินท์ผู้ทรงปรีชาญาณ ตรวจดูกถามรรคที่ได้ขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ ครั้ง นับถือเป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ และพระเถระมีพระสารีบุตรเป็นต้นร้อยกรองไว้ แล้วแต่งขึ้นไว้เป็นภาษาสีหล ยังเป็นไปอยู่ในสีหลทวีป เธอจงไปที่สีหลทวีปนั้น ตรวจดูอรรถกถาสีหลนั้น แล้วปริวรรตไว้ในภาษามคธเสียได้ อรรถกถา (ที่ปริวรรต) นั้น จะนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวง
เมื่อพระเถระบอกเช่นนั้น ท่านผู้มีปัญญามากก็เลื่อมใส ออก (เดินทาง) จากวิหารนั้น มาถึง(สีหล) ทวีปนี้ในรัชกาลพระราชาพระองค์นี้แหละ ท่านมาถึงมหาวิหารอันเป็นที่อยู่ของสาธุภิกษุทั้งปวงไปสู่มหาปธานฆระ ได้ฟังอรรถกถาสีหลและเถระวาทะโดยตลอดจากสำนักพระสังฆปาละแล้ว ก็ตัดสินว่า นี่แหละเป็นพระพุทธาธิบายของพระธรรมสามิศร์แท้ จึงนิมนต์สงฆ์ในวิหารนั้นมาพร้อมกันแล้วกล่าวว่า

“ ขอท่านทั้งหลายโปรดให้หนังสือคัมภีร์ทั้งหลายแก่ข้าพเจ้าเพื่อจะทำอรรถกถา” สงฆ์จะทดสอบปัญญา จึงให้คาถา ๒ บทแก่ท่าน กล่าวว่า “ ท่านจงแสดงความสามารถของท่านในคาถา ๒ บทนี้ เราทั้งหลายเห็นความสามารถของท่านแล้ว จึงจะให้หนังสือทั้งหมด “ ท่านจึงรวบรวมพระไตรปิฏกพร้อมทั้งอรรถกถาโดนย่ยย่อ แต่งปกรณ์วิสุทธิมรรคขึ้นในมหาวิหารนี้เอง ครั้นแล้วจึงนิมนต์สงฆ์ผู้ฉลาดรู้พระสัมพุทธธรรมให้ประชุมกัน ณ ที่ใกล้มหาโพธิพฤษ์ (ลังกา) ปรารถจะให้อ่านปกรณ์วิสุทธิมรรคนั้น (ให้สงฆ์ฟัง)

เทวดาทั้งหลายจะประกาศความมีฝีมือของท่านให้ปรากฏในมหาชน จึงกำบังหนังสือนั้นไว้เสีย ท่านก็ทำขึ้นใหม่อีก ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง เมื่อนำหนังสือมาจะให้อ่านครั้งที่ ๓ พวกเทวดาก็เลิก (กำบัง) วางหนังสืออีก ๒ จบ (ที่กำบังไว้) ให้พร้อมในที่นั้น ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายอ่านหนังสือ (วิสุทธิมรรค) ๓ จบนั้นด้วยกัน ความผิดเพี้ยนกันโดยคัณฐะก็ดี โดยอรรถก็ดี โดยเกณฑ์ก่อนหลังก็ดี โดยเถรวาท ทั้งหลายก็ดี โดยบาลีทั้งหลายก็ดี มิได้มีเลยในหนังสือ (วิสุทธิมรรค) ทั้ง ๓ จบนั้น
ครั้งนั้น สงฆ์ชื่นชมยินดีกันเป็นพิเศษ บอกกล่าวกันเซ็งแซ่ไปว่า “ ท่านผู้นี้คือพระโพธิสัตว์เมตไตรยมา (เกิด) ไม่ต้องสงสัย “ จึงมอบหนังสือคัมภีร์พระไตรปิฏกพร้อมทั้งอรรถกถาให้
ท่านอยู่ในมหาวิหารอันเป็นบ่อเกิดแห่งคัมภีร์ เป็นที่ไกลความเกี่ยวข้อง (กับคนอื่น) ปริวรรตอรรถกถาสีหลทั้งหมดในครั้งนั้นมาในภาษามคธ อันเป็นมูลภาษาของอรรถกถาทั้งปวงนั้น อรรถกถา (ที่ท่านปริวรรต) นั้นก็ได้นำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ประชุมชนทุกภาษา พระอาจารย์ชั้นเถระทั้งปวง(นับ) ถืออรรถกถานั้นแม้นพระบาลี
ครั้นเมื่อกิจที่พึงทำถึงซึ่งความสำเร็จแล้ว ท่านก็กลับไปชมพูทวีป เพื่อจะไหว้พระมหาโพธิ (ที่พุทธคยา)
พระเจ้ามหานามทรงครองแผ่นดินอยู่ ๑๒ ปี ทรงทำบุญหลายอย่างต่างประการแล้ว ก็เสด็จไป (สู่ปรโลก) ตามกรรม
ฝ่ายพระเถระพุทธโฆสะ ครั้นทำอรรถกถาพระไตรปิฏก ทำประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลกเป็นอันมากแล้ว อยู่ไปจนตลอดอายุ ก็ไปสู่ดุสิตเทวโลกแล


โปรดพิจารณาท่านพุทธโฆษาจารย์เป็นยอดอรรถกถาจารย์อย่างไร...

สังเกตแล้วจะพบว่า...ในบรรดาอรรถกถาจารย์ซึ่งรจนาคัมภีร์อรรกถานั้น ท่านพุทธโฆษารจนาไว้มากกว่าท่านอื่น แสดงถึงความมีปัญญาอันเลิศของท่าน...อย่างยิ่ง


พระไตรปิฎก อรรถกถา พระอรรถกถาจารย์

วิสุทธิมรรค(*) -->>พระพุทธโฆษะ

ก. พระวินัยปิฎก สมันตปาสาทิกา -->>พระพุทธโฆษะ
พระปาติโมกข์ กังขาวิตรณี -->>พระพุทธโฆษะ

ข. พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย สุมังคลวิลาสินี -->>พระพุทธโฆษะ
มัชฌิมนิกาย ปปัญจสูทนี -->>พระพุทธโฆษะ
สังยุตตนิกาย สารัตถปกาสิยี -->>พระพุทธโฆษะ
อังคุตตรนิกาย มโนรถปูรณี -->>พระพุทธโฆษะ
ขุททกนิกาย
๑. ขุททกปาฐะ ปรมัตถโชติกา -->>พระพุทธโฆษะ
๒. ธรรมบท ธัทมปทัฏฐกถา -->>พระพุทธโฆษะ(๑)
๓. อุทาน ปรมัตถทีปนี พระธรรมปาละ
๔. อิติวุตตกะ ปรมัตถทีปนี พระธรรมปาละ
๕. สุตตนิบาต ปรมัตถโชติกา -->>พระพุทธโฆษะ
๖. วิมานวัตถุ ปรมัตถทีปนี พระธรรมปาละ
๗. เปตวัตถุ ปรมัตถทีปนี พระธรรมปาละ
๘. เถรคาถา ปรมัตถทีปนี พระธรรมปาละ
๙. เถรีคาถา ปรมัตถทีปนี พระธรรมปาละ
๑๐.ชาดก ชาตกัฏฐกถา -->>พระพุทธโฆษะ(๒)
๑๑.นิทเทส สัทธัมมปัชโชติกา พระอุปเสนะ
๑๒.ปฏิสัมภิทามรรค สัทธัทมปกาสินี พระมหานามะ
๑๓.อปทาน วิสุทธชนวิลาสินี ไม่ทราบนามผู้รจนา
๑๔.พุทธวงศ์ มธุรัตถวิลาสินี พระพุทธทัตตะ
๑๕.จริยาปิฎก ปรมัตถทีปนี พระธรรมปาละ


พระอภิธรรมปิฎก
ธรรมสังคณี อัตถสาลินี -->>พระพุทธโฆษะ
วิภังค์ สัมโมหวิโนทนี -->>พระพุทธโฆษะ
กถาวัตถุ ปัญจัปปกรณัฏฐกถา -->>พระพุทธโฆษะ
ปุคคลบัญญัติ ปัญจัปปกรณัฏฐกถา -->>พระพุทธโฆษะ
ธาตุกถา ปัญจัปปกรณัฏฐกถา -->>พระพุทธโฆษะ
ยมก ปัญจัปปกรณัฏฐกถา -->>พระพุทธโฆษะ
ปัฏฐาน ปัญจัปปกรณัฏฐกถา -->>พระพุทธโฆษะ

อรรถกถาของพระสูตร ๔ นิกายแรกถือว่าเก่าที่สุด คืออยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ (ในช่วงชีวิตของพระพุทธโฆษะ)

(*) ท่านจัดวิสุทธิมรรคอยู่ในบรรดาอรรถกถาด้วย แต่ไม่ได้เป็นอรรถกถาของคัมภีร์ใดโดยเฉพาะ

(๑) – (๒) กล่าวกันต่อๆ มาว่า คัมภีร์ทั้งสองเป็นของพระพุทธโฆษะ แต่ดูจากสำนวนภาษานั้น ไม่น่าเชื่อว่าเป็นของท่าน เพราะต่างจากสำนวนในคัมภีร์อื่นของพระพุทธโฆษะ



คัดมาจาก

หัวข้อวิทยานิพนธ์ : ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท

ชื่อนิสิต : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

อาจารย์ที่ปรึกษา : ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์

ภาควิชา : ภาษาตะวันออก

ปีการศึกษา ๒๕๒๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

:b44: :b44: :b44:

รูปภาพ

ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะอธิษฐาน
ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้ตั้งใจปฏิบัติไว้ดีแล้ว
จงเป็นพลวปัจจัย เป็นนิสัยตามส่งให้ข้าพเจ้าเกิดความสุข ความเจริญ
และเกิดปัญญาญาณทั้งในชาตินี้ ชาติหน้าตลอดชาติอย่างยิ่ง
จนบรรลุถึงพระนิพพานในอนาคตกาลนั้น เทอญ.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขออนุโมทนาสาธุการแด่คุณ Bwitch ด้วยครับ

ที่อุตสาห์ไปค้นมาอ่าน

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1_4.jpg
1_4.jpg [ 114.83 KiB | เปิดดู 5427 ครั้ง ]
:b8: สาธุด้วยครับ..ท่านวรานนท์ :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร