วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2011, 23:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
[“ปทุมชาติ” : สัญลักษณ์แห่งการพัฒนาตน; บัวกำเนิดจากโคลนตม แต่ยามเบ่งบานงดงาม
ไม่มีกลิ่นตมในดอกและใบ ดังนั้นมนุษย์ควรพัฒนาตนจนเข้าถึงธรรม]



ดร.ไชย ณ พล (ศิยะ ณัญฐสวามี)

อำนาจแห่งอารมณ์

อารมณ์เป็นสิ่งที่มีอำนาจอย่างยิ่งในชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
ไม่ว่าจะเป็นความรัก กาม ความเกลียดชัง ความโกรธ
ความหลงใหล ความคลั่งไคล้ ความอิจฉาริษยา ความแค้น
ความกลัว ความประหม่า ความอาย ความเหงา ความเบื่อ
ความสุข ความทุกข์ ล้วนเป็นอารมณ์ที่เป็นองค์ประกอบ
สำคัญแห่งใจ และตกแต่งจนกลายเป็นบุคลิกภาพทางจิตใจของทุกคน
คนจนก็มีอารมณ์ คนรวยก็มีอารมณ์ คนศึกษามากก็มีอารมณ์
คนไม่มีการศึกษาก็มีอารมณ์ คนเก่งก็มีอารมณ์ คนกระจอก
ก็มีอารมณ์ คนตำแหน่งสูงก็มีอารมณ์ คนไม่มีตำแหน่งก็มีอารมณ์
นั่นแสดงว่าอารมณ์เป็นธรรมชาติสากลที่เกิดกับทุกคน

อารมณ์มีอำนาจเหนี่ยวนำหรือกระชากลากพาชีวิตไปทำ
กิจต่าง ๆ มากมาย ลองพิจารณาดูทีหรือว่า
แค่อารมณ์รักอารมณ์เดียว พาไปล่าแฟนมาแล้วกี่คน
ผิดหวังกี่คน สมหวังกี่ครั้ง ลงทุนไปเท่าไร เสียเวลาไปเท่าใด
เสียความรู้สึกไปแค่ไหน
หรือ กามารมณ์ตัวเดียว พาไปเหนื่อยยากมาแล้วเท่าไร
ต้องลงทุนไปมากแค่ไหนเพียงเพื่อได้กามมา
เมื่อได้มาแล้วต้องเสียค่ารักษาอีกเท่าใด ยามจะเลิก
ต้องเสียค่าเลิกอีกแค่ไหน
หรืออารมณ์โกรธอย่างเดียว พาสร้างศัตรูมาแล้วกี่คน
ทะเลาะกับคนมาแล้วกี่ครั้ง เดินหนีมาแล้วกี่กลุ่ม
ทะเลาะกับคนมาแล้วกี่ครั้ง เดินหนีมาแล้วกี่กลุ่ม
เขม่นกันอยู่กี่พวก
แล้วอารมณ์อื่น ๆ อีกล่ะ เพราะแต่ละอารมณ์เมื่อเกิดึ้นแล้ว
ก็จะสร้างอารมณ์ลูกหลานต่อเนื่องได้มากมาย เช่น
กามารมณ์ผสมควารักสร้างความหึงหวงเป็นลูก
แล้วความหวาดระแวงเป็นหลาน ความสมหวังและความ
ผิดหวังเป็นเหลน ความเบื่อหน่ายรำคาญเป็นโหลน เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2011, 23:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


หากพิจารณาให้ดีจะพบว่าอารมณ์เป็นสิ่งที่มีอำนาจลากพา
ชีวิตไปในทิศทางต่าง ๆ มากมาย
ดังนั้นเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจ
อารมณ์ให้ดีและบริหารให้ได้ หาไม่ชีวิตจะถูกกระชาก
ไปอย่างไร้ทิศทาง ชีวิตจะสะเปะสะปะ
และความรุนแรงของอารมณ์จะดึงบ้าง ดูดบ้าง
ผลักบ้างให้ชีวิตลุ่ม ๆ ดอน ๆ ล้มลุกคลุกคลาน

อารมณ์นั้นเป็นพฤติแห่งใจที่ใช้เนื่อที่สมองเปลืองที่สุด
เปลืองกว่าการคิด การนึก หรือการทรงจำใด ๆ ที่ไร้อารมณ์
ดังนั้นเวลาอารมณ์รุนแรงจึงมักจะคิดอะไรไม่ออก
บอกไม่ถูก มันตื้อ หรือมันพุ่งไปตามอำนาจอารมณ์
ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ชีวิตจึงมีความเสี่ยงอย่างยิ่ง

และหากมีอารมณ์หลายอารมณ์พร้อม ๆ กัน
เนื่อที่สมองไม่พอที่จะประมวลผล ก็อาจถึงภาวะช้อต
สติสัมปชัญญะขาดกลายเป็นบ้าได้
แค่หลงใหลอารมณ์เดียวก็พามนุษย์บ้าไปมากแล้ว

นอกนั้นอารมณ์ยังมีผลต่อสุขภาพด้วย
แพทย์ชาวจีนพบว่า อารมณ์โกรธมีผลต่อความผิดปกติ
ของตับ นักชีวเคมีปัจจุบันก็พบว่าอารมณ์เกลียดมีผล
เป็นตัวแปรประกอบมะเร็งในไขกระดูก
อารมณ์เครียดมีผลต่อต่อมไร้ท่อ
และทำให้เกิดการหลังสารที่ผิดปกติทั้งโดยประเภท
ปริมาณ และ เวลา เป็นต้น
ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์ผู้ผลิตอารมณ์จะต้องเข้าใจ
อารมณ์อย่างแจ่มแจ้งและบริหารอย่างจริงจัง
ซึ่งจะแนะวิธีให้ต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 00:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


การปรับเปลี่ยนอารมณ์

อารมณ์เป็นสิ่งที่สามารถปรับได้ เปลี่ยนได้ ปรุงได้
ปรับได้ คือ ปรับดีกรีจากที่อารมณ์รุนแรงให้น้อยลง
เปลี่ยนได้ คือ เปลี่ยนจากอารมณ์กำลังโกรธกันอยู่
ให้มันเป็นขำขึ้นมาก็ได้
เคยสังเกตไหม บางทีเราโกรธกันมากเลย โกรธเพื่อน
คนหนึ่งมากเลยเพราะความเข้าใจผิดกัน แต่พอทันที
ที่พูดเรื่องจริงเข้าใจกันปั๊บ หัวเราะก๊ากกันทั้งคู่เลย
เพราะว่าเราหลงเข้าใจผิดกันไปตั้งนาน
ไปโกรธกันในนวนิยายแห่งชีวิตจริงอะไรทำนองนี้เป็นต้น
เช่นภรรยาเข้าใจผิดเห็นสามีไปเดินกับใครบางคน
คิดเป็นตุเป็นตะว่าเขาจะต้องมีอะไรกัน หลงเข้าใจผิด
โกรธอยู่ได้ตั้งนาน แต่พอรู้ความจริง
อ้าว! เขาไม่ได้มีอะไรกันเลย เป็นแค่ญาติกัน
โอ้ นั่งหัวเราะกันก๊าก
อารมณ์จึงเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนได้
ปรุงก็ได้ คืออารมณ์บางอย่างที่มีประโยชน์
เช่น อารมณ์แห่งความสงบ
เช่น อารมณ์แห่งความสะอาดหมดจด
เช่น เมตตา เราสามารถปรุงได้
ปรุงอย่างไร เช่นการปรุงเมตตาทำได้โดยการปรุง
ใจให้มีความสุข ชื่นชมในคุณค่าแห่งตนเอง
ชื่นชมในคุณค่าแห่งผู้อื่น แล้วแผ่ความปรารถนาดี
ตามความชื่นชมนั้นออกไป ใจความแห่งเมตตา
ก็จะขยายแผ่ออกไปไพศาล ความสุขก็จะปรากฏขึ้น
ปิติก็จะปรากฏขึ้น ถ้าเราแผ่ความสุขแผ่ปิติออกไป
จนกระทั้งปล่อยวางปิติอีกชั้นหนึ่ง
ปล่อยวางความสุขอีกชั้นหนึ่ง ความสงบก็จะปรากฏขึ้น
เห็นมั๊ย อารมรณ์เป็นสิ่งที่ปรุงได้
ปล่อยก็ได้ คือ กำหนดละอารมณ์เหล่านั้นก็จะหายไป
นี่คือ กลไกของการเล่นกับอารมณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 00:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติลักษณ์แห่งอารมณ์
เมื่ออารมณ์เป็นสิ่งที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้
อารมณ์จึงปรากฏธรรมชาติดังนี้ คือ
อารมณ์เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน อารมณ์ทั้งหมด
ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ไม่คงที่แปรเปลี่ยนไปตาม
องค์ประกอบ และสถานการณ์
จึงเป็นธรรมชาติเกิดดับเหมือนองค์ธรรมชาติอื่น ๆ
ที่เป็นสุขอยู่ก็ไม่สุขตลอดไป ที่เป็นทุกข์อยู่
ก็ไม่ทุกข์ไปตลอด ต้องเปลี่ยนไป

อารมณ์เป็นผลการปรุงแต่ง อารมณ์ทุกอารมณ์
ไม่ได้เกิดขึ้นโด่ ๆ โดยตัวมันเอง แต่เป็นผลของ
การปรุงแต่งองค์ประกอบต่าง ๆ ในเงื่อนไข
สถานการณ์ต่าง ๆ กัน
องค์ประกอบปรุงแต่งอารมณ์เช่น เจตนา
ความอยาก ความไม่อยาก ความประมาท
สติ ความทรงจำ กรรม ปัญญา และความโง่
และการยึดถือ เป็นต้น
สถานการณ์เงื่อนไข เช่น คู่กรรม สิ่งแวดล้อม
ภาวะสุขภาพ จังหวะชะตาชีวิต เป็นต้น

ดังนั้นหากเพิ่มหรือลดองค์ประกอบตัวใดตัวหนึ่ง
อารมณ์ย่อมเปลี่ยนไป เช่นปลดการยึดถือออก
อารมณ์ก็จะเปลี่ยนไปมาก ใส่ความยึดถือเข้าไป
อารมณ์ก็จะเปลี่ยนไปทันที
หรือ องค์ประกอบชุดเดียวกันแต่ย้ายไปไว้ในต่าง
สภาวการณ์ อารมณ์ก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน
เช่น การยึดถือนั้นหาใช้ในฐานะฆราวาส
ผู้รับผิดชอบก็จะก่อให้เกิดอารมณ์หนึ่ง
หากใช้ในยามเป็นนักบวชผู้ละวาง
ก็จะเกิดอีกอารมณ์หนึ่ง
อารมณ์จึงเป็นภาวะสัมพันธ์ อารมณ์ของใคร
เป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการบริหารองค์ประกอบ
ในตน และสภาวการณ์แวดล้อม
อารมณ์เป็นสิ่งที่มีคุณ ถ้ารู้จักใช้
อารมณ์ทุกอารมณ์ถ้ารู้จักใช้ก็ก่อ
ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น
ความขี้เกียจ หากนำพลังความขี้เกียจ
ไปสร้างเครื่องทุ่นแรง เพื่อจะได้ทำงานน้อยลง
แต่ได้ผลมากขึ้น ก็จะก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี
ให้เจริญได้มากมาย หรือหากใช้ความขี้เกียจ
อบใจให้อวลไปด้วยความขี้เกียจ ก็อาจส่งสู่
การหลุดพ้นได้โดยเร็ว
อารมณ์เป็นสิ่งที่มีภัยถ้าควบคุมไม่ได้
อารมณ์ทุกอารมณ์สามารถนำมาซึ่งภัย
หากควบคุมไม่ได้ หรือใช้ไม่ดี เช่น
ความขี้เกียจ ความขี้เกียจทำให้เกิดการหดตัว
ของพลังต่าง ๆ ในชีวิต ทำให้ภาวะสร้างสรรค์ลดลง
การไต่ระดับวิวัฒนาการจะช้ามาก ดังนั้นต้อง
ควบคุมใช้ให้ถูกทิศและสลายหรือปรับเปลี่ยน
เป็นอารมณ์อื่นได้ตามความเหมาะสม
อารมณ์เป็นสิ่งเสพย์ติด อารมณ์ทุกอารมณ์เมื่อปล่อยให้
เกิดขึ้นแล้ว หากย้ำอารมณ์นั้นอีกเพียงไม่กี่ครั้ง
ก็จะเสพย์ติดอารมณ์นั้น ๆ ได้ เพราะธรรมชาติของจิต
จะเสพอารมณ์เป็นอาหารประการหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 00:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่เริ่มทะเลาะกัน หากแก้ไม่ได้อย่างสันติโดยเร็ว
ก็จะหวนไปสู่การทะเลาะกันอีก
เพื่อเพื่อเสพอารมณ์ฮึดแห่งการต่อสู้กันนั้น
อารมณ์เป็นสิ่งที่มีอำนาจ อารมณ์ทุกอารมณ์
มีอำนาจในตัวมันเอง เป็นองค์ประกอบอิทธิพล
ในการตัดสินใจของมนุษย์ทั้งหลาย มันสามารถ
ชักจูงหรือ ขับดันให้มนุษย์ทำอะไรต่าง ๆ ได้มากมาย
เช่น
ความรักนำไปสู่ความหวัง การสานสร้างความสัมพันธ์
ความผิดหวัง ความสมหวัง ทุกข์ สุข ระคนกัน
บ้างก็ได้ดีเพราะรัก บ้างก็เสียคนเพราะรักไปเลย
ความโกรธนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้ง
สงคราม และการทำลายล้าง
ความโลภนำไปสู่การสร้าง การแสวงหา การรักษา
ความหวงแหน การแก่งแย่ง ความกระหาย
ความอดอยาก และการเป็นเปรตเดินดิน
ความหลงนำไปสู่การยึดถือ ความประมาท
การแบ่งพวก ความแตกแยก การกีดกัน
การบีฑาและความขมขื่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 00:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


........
ในขณะที่อารมณ์กับเหตุผลแปรผันแปรตามกัน
แต่เป็นปฏิภาคผกผันกับปัญญา
อารมณ์กับเหตุผลผันแปรตามกันเพราะมนุษย์ทุกคน
มีความสามารถพิเศษในการหาเหตุผลเข้าข้าง
(อารมณ์)ของตนเองได้เสมอ
อารมณ์กับปัญญาเป็นปฏิภาคผกผันกันคือ
เมื่ออารมณ์ทำงานปัญญาจะน้อยลง
เมื่อปัญญาทำงานมากอารมณ์จะน้อยลง
ดังนั้น หากไม่บริหารอารมณ์ให้ดี
หรือพัฒนาปัญญาให้เฉียบคม การตัดสิน
มีโอกาสผิดพลาดได้มาก ความผิดหวังก็ตาม
ความล้มเหลวก็ตาม ล้วนเป็นผลมาจากการ
ตัดสินใจที่ผิดพลาด เพราะอารมณ์ทำงาน
เข็มแข็งกว่าปัญญาทั้งสิ้น
เมื่ออารมณ์เป็นสิ่งที่มีอำนาจเพียงนี้
จึงต้องบริหารอารมณ์กันให้ได้ หากไม่บริหารให้ดี
อาจถุกอารมณ์ครอบงำจนสูญเสียอิสรภาพ
ทางจิตใจ กลายเป็นทาสอารมณ์และสภาวการณ์
รอบข้างไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 00:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


การสร้างอารมณ์
เมื่ออารมณ์เป็นสิ่งที่สามารถปรับได้ เปลี่ยนได้
ปรุงได้ เราย่อมสามารถสร้างได้แน่นอนหากรู้วิธี
การที่จะสร้างอารมณ์ได้นั้น ต้องเข้าใจโครงสร้าง
ของอารมณ์
อารมณ์ที่ควรเข้าใจมีอารมณ์ภายใน อารมณ์ภายนอก
และในระหว่าง
อารมณ์ภายใน คือ
ปฏิสัมพัทธ์ของคู่ปฏิกิริยาดังนี้
ความสุข
ปัญญา
ความเบื่อ
ตัวตน
ความทุกข์
ความโง่
ความอยาก
ความเชื่อ
อนึ่ง สุขทุกข์ในที่นี้หมายถึงภาวะสุข ภาวะทุกข์โดยธรรมชาติ
ดังนั้นในการสร้างอารมณ์นั้น เพียงแค่เราแต่ หรือปรับ
หรือปรุง หรือตัด หรือต่อ หรือเปลี่ยนตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง
เข้าไปในโครงสร้าง อารมณ์ก็จะเกิดขึ้นได้หรือผันไปได้
........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 00:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


.......
เมื่ออารมณ์ไม่ดีเกิดขึ้น อาจจะสังเกตได้ว่า
บางทีตัวจะร้อน บางทีชา บางทีซีด บางทีตื้อหัว
หรือปวดท้อง อาการเหล่านั้นทั้งหมดแสดงออกมาจาก
พลังงานที่มากไป หรือเกิดการบล็อกของระบบพลังงาน
จนพลังงานบางส่วนน้อยไป กระทั่งร่างกายทำงานได้
ไม่ปกติ ซึ่งเราต้องปรับเปลี่ยนอารมณ์ หาไม่อาการเหล่านั้น
จะกำเริบหรือสะสมจนกระทั่งรุนแรงยิ่งขึ้น
การปรับเปลี่ยนอารมณ์นั้นสามารถทำได้หลายวิธี คือ
1. เปลี่ยนสภาวะจิต
2. เปลี่ยนความคิด
3. ปรับเงื่อนไขของอารมณื
4. ปรับระบบพลังงาน
5. เปลี่ยนภาวะแวดล้อม
การเปลี่ยนสภาวะจิต
หากสามารถสั่งจิตตนได้เลยทันที่ให้เข้าสู่อารมณ์ใด
อารมณ์หนึ่งได้นั่นจะดีที่สุด ซึ่งต้องฝึกจิตให้ชำนาญ
ก็จะทำได้
วิธีการไม่ยาก เพียงนึกถึงสภาวะแห่งอารมณ์ที่ต้องการ
แล้วน้อมนำจิตเข้าสุ่สภาวะนั้นให้เต็มเปี่ยมก็จะ
เปลี่ยนได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 00:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาใหญ่ที่ทำใหคนสั่งความคิดตนไม่ค่อยได้ก็คือ
การยึดอารมณ์เดิมเป็นตน ยิ่งเป็นอารมณ์ทุกข์ยิ่งวนเวียน
ดังนั้น ต้องแม่น และมั่นในธรรมชาติแห่งความเป็นจริง
ว่าอารมณ์ใดไม่ใช่ตน เป็นเพียงสิ่งที่ตนปรุงประกอบ
กันให้ชอบใจ อะไรที่ไม่เป็นที่ชอบใจก็อย่าเกาะเกี่ยวไว้
อะไรที่ชอบใจก็ปรุงกันขึ้นมา
อารมณ์ใหม่ที่น้อมนำจิตไปสู่ความเป็นอารมณ์ที่ประณีตกว่า
อารมณ์เดิมที่ต้องการละวาง ท่านจึงจะหลุดจากอารมณ์
เดิมได้จริง เช่น การละความตระหนี่ไปสู่ความปิติ เป็นต้น
หากละไปสู่อารมณ์ที่มีความหยาบระดับเดียวกันก็จะกลาย
เป็นอารมณ์ผสมที่ไม่หลุดจากอารมณ์เดิมได้จริง
เช่นการละจากความโกรธไปสู่ความสะใจ
ในความสะใจก็จะยังมีความโกรธผสมอยู่ แต่เจือจางลง เป็นต้น
เรื่องสำคัญในการสั่งเปลี่ยนอารมณ์ได้ดังใจนี้คือ
ต้องฝึกจิตสั่งใจเป็นประจำจนชำนาญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 00:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ คีย์มาก ชักเขียดกี้ อิอิ
ไปหาอ่านรายละเอียดเอาเองคร๊าบบบบ พ่อแม่พี่น้อง


:b9: :b9: :b9:

:b38: :b41: :b38: :b41: :b38: :b41: :b38:

คัดลอกบทความจากหนังสือ

สั่งอารมณ์ให้ได้ดังใจปราถนา
ศิยะ ณัญฐสวามี

:b38: :b41: :b38: :b41: :b38: :b41: :b38:

:b44: รวมคำสอน “ดร.ไชย ณ พล (ศิยะ ณัญฐสวามี)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=48689


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2015, 07:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 10:07
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร