วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 19:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2015, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์ทูล ขิปปปัญโญ
วัดป่าบ้านค้อ
ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


แสดงพระธรรมเทศนาอบรมผู้ปฏิบัติธรรม
ณ วัดป่าบ้านค้อ เนื่องในวันมาฆบูชา พ.ศ. ๒๕๕๐



เจริญธรรม..แก่บรรดาท่านพุทธมามกะบริษัททั้งหลาย
ในวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เราทุกๆท่าน
ที่มาจากหลายพื้นที่ ทางภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง
ภาคตะวันออก ภาคอีสาน เกือบจะทุกจังหวัดในประเทศไทย
ได้มารวมตัวกันมาปฏิบัติธรรม ณ วัดป่าบ้านค้อ

วันนี้เป็นวันมาฆปุรณมีที่ทำกันมาทุกปี
ทุกปีก็ได้นิมนต์ครูอาจารย์ท่านมีความรู้ความสามารถ
ความเข้าใจในหลักปฏิบัติในคำสอนของพระพุทธเจ้า
ได้มาโปรดแสดงธรรมให้แก่เราทั้งหลายได้รับรู้
และได้นำเอาธรรมะแต่ละหมวดแต่ละหมู่นั้นไปปฏิบัติตาม
ตามความสามารถแต่ละท่านแต่ละคน
อันธรรมะแต่ละองค์ครูอาจารย์เทศน์ไปนั้นก็ได้ฟังกัน
หลายรสหลายชาติ หลายอุบาย
คิดว่าทุกท่านจะได้เข้าใจอยู่บ้างพอสมควร

แต่ในคืนนี้เหมือนกับว่าเป็นคืนสุดท้ายของวันมาฆะ
เราทั้งหลายก็จะได้ฟังอีกหลายหมู่ ก็ได้ให้ความสำนึกในตัวเองว่า
เราคนหนึ่งในฐานะเป็นพุทธบริษัท ผู้ทรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา
การผู้ทรงไว้ในศาสนาพุทธของเรานั้น ไม่จำกัดว่าจะเป็นพระเพียงอย่างเดียว
นี่ญาติโยม ผู้หญิงผู้ชาย เฒ่าแก่เด็กเล็กก็แล้วแต่
ถ้าคนใดที่ทำคุณงามความดีแล้วปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้องชอบธรรมแล้ว
นั่นแหล่ะเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2015, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


การเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้านั้น
ไม่จำกัดว่าต้องขึ้นธรรมาสน์ว่านะโม ว่าบาลี
และบรรยายธรรมะตามสูตรตามตำราเพียงเท่านั้น
การจะทำสื่อธรรมะออกสู่ประชาชนนั้น
ไม่จำเป็นต้องมี "เสียง" อย่างเดียว
"กิริยากาย" นั่นแหละ..เป็นสื่อตัวหนึ่ง เป็นตัวสำคัญ
ทีนี้บุคคลที่ปฏิบัติธรรม เขาจะมีสื่อออกไป
ให้ปรากฏในสายตาของคนได้ นั่นคือ "กาย"


คำว่า "สำรวมกาย" สำรวมอย่างไร?
การสำรวมกายนั่นว่า ใบหน้าเรานี่แหล่ะ
เป็นสิ่งบ่งบอกอันจุดสำคัญ คือใบหน้าเราก็มีหลายส่วน
เช่น คิ้ว ตา แก้ม ริมฝีปาก ทั้งหมดนี้เป็นสื่ออย่างหนึ่ง
ที่ให้เราเข้าใจว่า "คนปฏิบัติธรรมหรือไม่ปฏิบัติธรรม" จะรู้กันดี

ถ้าคนปฏิบัติธรรมหรือมีธรรมอยู่ในใจแล้ว
สื่อออกมาทางกายมันจะต่างกับคนไม่ปฏิบัติธรรม
ดูทุกสิ่งทุกอย่างจะเรียบร้อย น่าดู น่าชื่นชม
น่าอนุโมทนา นั่นคือว่า ธรรมภายในใจมันมี
จึงไปสื่อออกมาทางกายตัวนี้ให้ชุมชนทั้งหลายได้รู้ว่า
"คนมีธรรมประจำตัว"


ไม่จำเป็นหรอกว่า เราจะบอกธรรมะข้อนั้นเป็นอย่างนั้น
ข้อนี้เป็นอย่างนี้..ไม่จำเป็น
เพียงเอาสื่อทางกายของเราน่ะให้คนอื่นได้เห็น
ว่าเรามีคุณธรรมอย่างไรหรือไม่มีก็ตาม
ทุกคนจะรู้ว่า คนปฏิบัติธรรมแล้วดูความสวยงาม

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2015, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำทางกายแต่ละส่วน เช่น ใบหน้าเรานี่
เป็นตัวบอกเป็นตัวกำหนดคนมีธรรมหรือไม่มีธรรม
ถ้าคนไม่มีธรรม การทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างนั้น
มันเป็น "มิจฉา" โดยไม่รู้ตัว
ถ้าคนมีธรรมประจำตัวแล้ว
มันเป็นสื่อบ่งบอกได้ว่า
"ธรรม" มีรสชาติเป็นอย่างไร


เมื่อเราไปสัมผัสกับคนมีความยิ้มแย้มแจ่มใส
หน้าตาเบิกบาน..เราจะมีความรู้สึกเป็นอย่างไร
อันนั้นแหละเป็นตัวว่า "คนมีธรรม" คนนั้น

ไม่จำเป็นต้องไปถามธรรมะว่า
คุณมีธรรมข้อไหน รู้ธรรมข้อไหนบ้าง ไม่จำเป็นจะถาม
เขาดูกิริยามารยาท การแสดงออกทางกาย
มันบอกไว้แล้วว่า นั่นคือ คนมีธรรม
มันแตกต่างกับคนที่ไม่มีธรรม

คนที่ไม่มีธรรมนั้นมันจะเอาทุกสิ่งทุกอย่าง
ทำชั่วทางกาย เรียกว่าไปฆ่าสัตว์ก็ดี
ลักทรัพย์ก็ดี ผิดในกามก็ดี ดื่มเหล้า กินยาก็ดี
นั่นคือว่า กิริยาทางกายมันบอก

ออกหลายทิศทางเหลือเกิน
มันตรงกันข้ามกับคนที่มีธรรม
ความเรียบร้อยทางกายต่างๆนั้น
มันจะบ่งบอกทันทีนั่นเรียกว่า "ผู้ปฏิบัติธรรม"


นี่เป็นสื่อหนึ่งสำหรับเราจะช่วยเผยแพร่ศาสนาช่วยกัน
เมื่อคนอื่นได้เห็นกิริยามารยาทของแต่ละคนมีเป็นอย่างนี้แล้ว
เขาจะเกิดความศรัทธาความเลื่อมใส
ไปไหนมาไหนมีแต่คนต้อนรับ มีแต่คนยินดีอยากอยู่ใกล้
อยากเป็นเพื่อนเป็นหมู่เป็นฝูง
อันนี้เรียกว่า คนที่มีธรรมประจำตัวทางกายนี่
จะเป็นสื่อบอกได้อย่างดี..อันนี้สื่อหนึ่งล่ะ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2015, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


สือต่อไปคือ สื่อธรรมะทางวาจา
อันสื่อธรรมะทางวาจานั้น..การแสดงออกด้วยเสียง
เสียงคนที่มาจากใจที่มีธรรมเป็นเสียงอย่างไร?

นี่เราสำนึกให้ดี คำว่า "สำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย"
สำรวมยังไง..วาจานี้เป็นสิ่งสำคัญอีกหมวดหนึ่ง

เราทุกคนผู้ปฏิบัติต้องรู้ว่า ปฏิบัติต่อเสียงตัวเองอย่างไร
ส่วนมากนักปฏิบัติจะไม่สนใจเรื่องเหล่านี้
มันจะมองข้ามไปถึงจิตใจนู่น ส่วนกายวาจาไม่มาสนใจอะไร

อยากจะพูดไปสิ่งใดก็พูดไปสิ่งนั้นเรื่องนั้นๆ
มันจะขัดใจคนอื่นหรือทำลายคนอื่นอย่างไร..ไม่สนใจเรื่องเหล่านี้
คือ พูดตามใจตัวเองอยากจะพูด นี่.."คนไม่มีธรรม" เป็นอย่างนั้น
พูดนินทา ว่าร้าย ใส่ร้าย ส่อเสียดเบียดบัง ทุกสิ่งทุกอย่าง
ทำเพื่ออะไร พูดเพื่ออะไร นั่นคือพูดเพื่อปกป้องผลประโยชน์แก่ตัวเอง
ให้คนอื่นมีความกลัวเอาบ้าง หรือพูดอะไรก็แล้วแต่
เพื่อผลประโยชน์แก่ตัวเองและเพื่อนฝูงของตัวเองนั้น
พูดไปเรื่อยๆ นั่นคือ คนไม่มีธรรม..ลักขณะอย่างนั้น


ศัพท์ธรรมะเขาว่า "คนพาล สันดานชั่ว"
คือ พูดไม่คิด พูดไม่นึกตรึกตรองหาเหตุผล
การพูดไปอย่างนั้นมันจะกระทบคนนั้นหรือไม่ กระทบคนนี้หรือไม่
เอาแต่ความอิจฉาตาร้อนของตัวเองเข้ามา
เพื่อให้คนอื่นกลัวตัวเองหรือพูดทำลายคนอื่นเพื่อให้หมดชื่อเสียง
ให้ขาดความเคารพเชื่อถือของคนส่วนรวม
อันนี้คนพาลสันดานชั่ว มันพาลไปเรื่อย

ทีนี้เรามาอยู่ที่นี่แห่งเดียวกันนี้ พยายามให้รู้จักซะว่า
ปฏิบัติธรรมนั้นน่ะ คำว่า "ธรรม" อยู่อย่างไร อะไรเป็นธรรม
คำว่า "ธรรม" หมายถึงตัวเราทั้งตัวนะ
กายวาจา..จะทำอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมกับตัวเองให้ได้


คืออย่างว่า พยายามสร้าง "ความยุติธรรม" ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง
คำว่า "ความยุติธรรม" หมายถึงว่า สิ่งที่ถูกต้อง คนอื่นยอมรับในทางที่ดี
เขาว่าเป็นนักปราชญ์ คำว่านักปราชญ์คำเดียวนี้ไม่จำกัดว่าต้องเป็นพระ
แม้ฆราวาสญาติโยมเป็นผู้ชายก็เป็นพระได้ เป็นผู้หญิงก็เป็นพระได้
ขอให้พูดออกมาทางที่ถูกต้อง

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2015, 02:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน อยู่ร่วมกันมีความสุข มีความสบาย
เป็นคนไม่มีทุกข์ โทษภัยแก่ตัวเอง นั่นเขาว่า เสน่ห์ทางโลก
ที่พระพุทธได้ตรัสไว้ว่า "สามัคคี"

คำว่า สามัคคี คำเดียวนี้มันต่างยังไงกับคำว่า แตกสามัคคี
มันแตกกัน คนละมุมกัน ความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย
แบ่งกลุ่ม แบ่งขนาด นั่นคือ "แตกสามัคคี"
ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดความทุกข์อะไรตามมามากมายมหาศาลทีเดียว

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ความสามัคคีกันมันมีเหตุอะไรบ้าง
ก่อนคนจะเกิดความสามัคคีกันได้ คือ ฝึกใจเราให้มีความรักกับบุคคลทั่วๆ ไป
แม้แต่สัตว์เดรัจฉานทุกประเภทก็ให้มีความรักเอาไว้
พระองค์เจ้ายังตรัสไว้ว่า ความเมตตาและความรักนี้เป็นธรรมค้ำจุนโลก

โลกของเราที่อยู่นี้ พระองค์เจ้าว่า
ถ้าบุคคลในยุคใดสมัยใดที่มีความรักกันเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
สังคมในยุคนั้นสมัยนั้นจะมีความสุข จะมีความเจริญ
ไปไหนมาไหนมีแต่ความยิ้มแย้มแจ่มใสเข้าหากัน
นี่เขาว่า ความรักมันเป็นฐานใหญ่ ทุกคนต้องเข้าใจว่า
ปฏิบัติตัวเองให้เกิดความรักกับคนอื่นได้..ทำยังไง
หลายๆ คนไม่เข้าใจเรื่องปฏิบัติตัวนี้
อาศัยแต่นึกคำบริกรรมให้มันดี มันดีได้ยังไง
คำบริกรรมมันไม่ใช่ว่าเป็นคาถาอาคม ไม่ใช่ไสยศาสตร์
พอนึกคำบริกรรมแล้วจะทำให้มันดีขึ้นมา มันดีไม่ได้

คำบริกรรมจริงๆ คือ "ความสำนึกในความผิดความถูกของตัวเอง" ให้มากที่สุด
นั่นคือว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะทำสิ่งใดก็ดี หรือพูดคำใดออกมาก็ดี ต้องคิดไว้ก่อน

ที่เรียกว่า "นิสสัมมะ กะระณังเสยโย" ก่อนจะพูดจะทำต้องคิดล่วงหน้า
การทำอย่างนี้การพูดอย่างนี้ให้เรานึกถึงอกเราอกเขาไว้บ้าง
ถ้ามีคนใดคนหนึ่งทำกับเราอย่างนี้..เราชอบใจไหม
เออ เราไม่ชอบใจ ถ้าเราไม่ชอบใจดูใจเขาบ้างว่า
ถ้าเราพูดเหมือนคำที่เขาพูดอย่างนี้กับคนอื่นเขาล่ะ..เขาชอบใจไหม
เขาก็ไม่ชอบเช่นเดียวกัน เราต้องศึกษาเรา
การพูดเช่นกันถ้ามีคนใดคนหนึ่งพูดให้เราอย่างนี้
เราชอบใจไหม..เราก็ไม่ชอบ เราก็ต้องจดจำไว้ว่า
คำพูดอย่างนี้ถ้าเราพูดกับคนอื่นเขาไม่ชอบอย่างนี้แล้ว
เราสมควรหรือไม่ที่จะไปพูดกับคนอื่นเขา..ก็ไม่สมควรอย่างยิ่ง

เพราะเราอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติธรรม
พูดพร่ำเพรื่อไม่ได้ ต้องรู้จักกาลเวลา กาลสมัย
เวลาพูดจริงเป็นจริง เวลาพูดเล่นเป็นเล่นมันแตกต่างกัน
นี่คือว่าคำพูดตัวเดียวถ้าเรามาปฏิบัติคำพูดตัวเองให้ได้

คำพูดของคนเราก็มีนุ่มนวลอ่อนโยน
ไปพูดที่ไหนแห่งใดไม่มีทุกข์โทษภัยแก่ตัวเอง
และไม่มีทุกข์โทษภัยกับคนอื่นเขา นี่คือ "เสน่ห์ของคนปฏิบัติธรรม"

ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วไม่ต้องถามหรอกว่าคนคนนี้ปฏิบัติธรรมหรืออะไร
ถ้านักปราชญ์ด้วยกันเขาไม่ถามหรอกว่าคนนั้นมีธรรมหรือไม่มีธรรม..เขารู้แล้ว
เพราะการแสดงออกมาอย่างนี้หมายถึง คนมีธรรมเท่านั้นแสดงออกมาได้

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2015, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


อันคนไม่มีธรรมนั้นมันแสดงได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
นี่เขาว่า "คนพาล" พาลหาเรื่อง
อยากด่าใคร นินทาใคร มันว่ากันไปเรื่อยๆ
นั่นคือ คนพาลสันดานชั่ว
คนกลุ่มนี้มันมีอยู่ประจำโลกก็จริงแต่ให้เป็นคนอื่นเขาซะ
แต่พวกเรามาปฏิบัตินี้..อย่าทำเหมือนเขา


เราฐานะที่เป็นพุทธบริษัท ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นใหญ่
เป็นศาสดาเป็นองค์นำของพวกเราทั้งหลาย
หลายชาติ หลายภพ หลายกัปป์หลายกัลป์ที่ผ่านมา
เราได้เกิดได้ร่วมศาสนาพุทธอย่างนี้หรือไม่
หลายชาติอาจไม่ได้ร่วมเลย
หรือบางชาติอาจยุคสมัยพระพุทธเจ้าก็จริง
แต่ไปเกิดในสถานที่แห่งอื่นที่พระองค์เจ้าเราไปไม่ถึง
อันนี้ก็หมดโอกาสไป แต่เดี๋ยวนี้ยุคนี้สมัยนี้
ถึงพระองค์เจ้าของเราจะนิพพานไปแล้วก็ตาม
แต่เราก็โชคดีเป็นอย่างยิ่งว่า เกิดมายุคนี้ได้พบพระพุทธศาสนา
และก็มีครูอาจารย์องค์ที่มีความรู้ความสามารถ
มาอบรมสั่งสอนแก่พวกเรา ให้เรานำไปปฏิบัติตัวเอง


นี่เราสำนึกให้ดีในการปฏิบัติธรรมที่ว่ามานี้
มันต้องสมบูรณ์กันทั้ง "กาย วาจา ใจ"
คนปฏิบัติธรรมได้ก็ต้องมีปัญญารอบรู้
ปัญญารอบรู้อันนี้หมายถึงอะไร
หมายถึงปัญญาทุกคนมีอยู่ในตัว
ไม่จำเป็นต้องไปหาโน่นปัญญานี้

หลายคนๆน่ะเข้าใจว่า ปัญญาไปขอครูอาจารย์บ้าง
ขอหลวงพ่อหลวงตาบ้าง..ขอปัญญา
ขอให้ปัญญาเกิด..เหล่านี้เป็นต้น
ลักษณะปัญญามันขอกันไม่ได้แต่ผู้นั้นเพียงบอกวิธีการ
เสริมสร้างปัญญาของเราที่มีอยู่..นี่บอกได้

เพราะทุกคนเกิดมาในโลกอันนี้ เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีสมาธิ
เป็นผู้มีปัญญาอยู่ในตัว นี่ก็ว่า ธรรมชาติของบุคคลเป็นอย่างนี้
ไม่จำกัดว่าบุคคลนั้นนับถือศาสนาอะไร
ศาสนาคริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิกข์ก็แล้วแต่ พุทธก็ตาม
ทุกคนมีปัญญาอยู่ในตัวแม้แต่คนไม่นับถือศาสนาอะไรก็ตาม
เขาก็มีปัญญาอยู่ในตัว เรียกว่า มีสติอยู่ในตัว
มีสมาธิอยู่ในตัว มีปัญญาอยู่ในตัว เอามาแยกว่า
ที่เขามีสติ มีสมาธิ มีปัญญาอยู่ในตัวนั้น.."มันเอาไปใช้ทางไหน"


อันนี้แหละถ้าคนพาลมันเอาสติ เอาสมาธิ เอาปัญญา
ไปใช้ทางที่ผิดได้ เรียกว่า "มิจฉาทิฏฐิ" ความเห็นผิดอยู่ในใจมันมี

นี่ก่อปัญหาให้แก่ตัวเองและสังคมมากในยุคอันนั้น

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ยุคใดสมัยใดก็แล้วแต่ถ้าคนมีความรู้สึกขึ้นมาอย่างนี้
ว่า เรานี้เกิดขึ้นมาแล้วในศาสนาพุทธแล้วอย่างนี้
เราถือว่าโชคดี เราจะตักตวงกอบโกยบำเพ็ญบุญกุศล
ให้เป็นตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
นี่บำเพ็ญกุศลเขาเรียกว่า "สร้างบารมี"

พระองค์เจ้าเราแต่ละองค์ที่ผ่านมาแล้วในอดีตหลายล้านองค์ที่ผ่านมา
คำสอนของพระองค์เจ้าแต่ละองค์เหมือนกันทั้งหมด
แนวทางอุบายการปฏิบัติและการสั่งสอนพระองค์เจ้าเหมือนกัน
พระองค์ปัจจุบันนี้ก็เหมือนกับองค์ก่อนๆ แม้แต่องค์ที่จะมาตรัสรู้ภายภาคหน้า
อนาคตนู้นเช่น พระศรีอาริยเมตไตรก็จะมาสอนวิธีเดียวกัน
หลักเดียวกันทั้งหมด นี่คือว่า "คำสอนพระพุทธเจ้า"


สอนให้คนอยู่มีความรักซึ่งกันและกัน หรือสอนบุคคลที่มีความรู้ความฉลาด
การภาวนาปฏิบัติให้มากขึ้น ผลที่สุดก็ไปสู่มรรคผลนิพพานอันเดียวกัน
ไม่มีคำสอนอื่นใดจะแตกต่างกันเลยพระพุทธเจ้าแต่ละองค์
เหตุนั้นเรียกว่าเราทุกวันนี้ถึงจะอยู่ในบั้นปลายศาสนาก็ตาม
แต่คำสอนของพระองค์เจ้ายังคงที่คงวา
และก็มีครูมีอาจารย์สามารถที่จะศึกษาเรียนรู้ถึงขั้นที่สุดแห่งทุกข์ได้

และก็สามารถที่จะเอาธรรมะเหล่านั้นมาอบรมสั่งสอนประชาชน
ให้เข้าใจหลักปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไป

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2015, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าแต่ละองค์นั้นถ้าจะจัดวรรคใหญ่ๆ แล้วมีสองวรรคด้วยกัน
วรรคหนึ่ง เรียกว่า "สอนให้คนหลุดพ้นจากวัฏสงสาร" นั่นคือวรรคหนึ่ง
อีกวรรคหนึ่งสำหรับ "บุคคลซึ่งยังไม่พร้อมซึ่งบารมี"

บารมียังไม่พอตัว ยังไม่แก่ พระองค์เจ้าก็สอนรูปแบบหนึ่ง
คือ สอนให้บุคคลเหล่านั้นสร้างบารมี บำเพ็ญบุญกุศลให้มากเอาไว้
เพื่อเป็นสะพานไต่เต้าไปสู่มรรคผลนิพพานต่อไป

นั่นคือว่า สอนให้บุคคลหนีจากโลกนั้นอุบายหนึ่ง
คือสอนบุคคลที่อยู่ในโลกนี้ ยังไม่พร้อมซึ่งบารมีก็สอนรูปแบบหนึ่ง
นี้ว่า พระองค์เจ้าได้สอนไว้ชัดเจน เรื่องการจะแบ่งคำสอนพระพุทธเจ้า

แต่พวกเราเดี๋ยวนี้ถึงมาปฏิบัติกันก็ตาม มันจะไม่เหมือนครั้งพุทธกาลแล้วล่ะ
แตกต่างกันไป อุบายการศึกษาธรรมะมาสอนกันก็ดี มาปฏิบัติธรรมก็ดี
ความแตกต่างอันนี้มันอยู่กับบุคคลที่สอน บุคคลที่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสอน
ในตำราต่างๆ อาจจะตีความหมายแตกต่างกันไป
ทีนี้คนศึกษาน้อย ไม่เข้าใจหลักปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ก็จะเชื่อตามเชื่อทางว่าอาจารย์เราก็สอนอย่างนั้นอาจารย์เราก็สอนอย่างนี้
ความแตกต่างในการปฏิบัติก็แตกต่างกันไป นี้เป็นหลักธรรมดาในยุคปลายศาสนา

ส่วนมากคนยุคนี้สมัยนี้ฟังๆ ดู สังเกตดูแล้วนี่่
จะเน้นหนักเรื่องการทำสมาธิเป็นหลักใหญ่
หลักปัญญานั้นจะไม่สนใจ คือ ไม่เข้าใจว่าเรามีปัญญา
ทั้งที่ตัวเองมีปัญญาอยู่ในตัว เหมือนกับว่าเงินมีอยู่ในกระเป๋า
เอาใส่กระเป๋าไว้รูดซิปไว้อย่างดีแต่ก็ลืมไปซะ ว่าเราไม่มีเงินมีทอง
เมื่ออาหารการกินเราหิวขึ้นมาก็ไม่สามารถเอาเงินที่มีอยู่ไปซื้ออาหารกินได้
คือยอมให้ตัวอดหิวอย่างนั้นแหละจนตาย ทั้งที่เงินในกระเป๋ามีอยู่

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2015, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่คือว่า หลงลืมไปว่าเราไม่มีเงิน คือลืมที่เก็บที่รักษา
นี่ฉันใด เดี๋ยวนี้เรามาเข้าใจว่า ปัญญาเราไม่มี..อันนี้เป็นหลักสำคัญมากๆเลย
เมื่อเราเข้าใจว่าปัญญาเราไม่มี เราก็อดปัญญา คือ ไม่คิดกัน ไม่ศึกษา

แต่ปัญญาที่มีอยู่นี้แต่หลงอย่างหนึ่ง คือ หลงเอาไปคิดทางโลก
คิดทางโลกทางสงสาร คิดทุกสิ่งทุกอย่าง ทำไมมันคิด..
เอามาคิดทางธรรมะทำไมคิดไม่เป็น หนำซ้ำยังบอกกันไปว่า
อย่าไปคิดนะ อย่าไปคิดนะ..เดี๋ยวจิตฟุ้งซ่าน
ลูกศิษย์ลูกหาญาติโยมปฏิบัติก็เชื่อตามพระ

ทำไมถึงห้ามว่า ไม่ให้คิด..เป็นเพราะอะไร
เพราะคนเข้าใจว่า การศึกษามาเข้าใจว่า "ปัญญาจะเกิดจากความสงบ"
เกิดจากสมาธิอันนี้ นี่ส่วนใหญ่มีอยู่ ๙๙.๙๙ % เข้าใจว่า
ปัญญานี้จะเกิดจากความสงบของสมาธิ นี่เข้าใจส่วนใหญ่..ที่จริงหาใช่ไม่

ปัญญาตัวนี้ธรรมชาติมันเองมันมีอยู่แล้ว เป็นเพียงแต่เราเอามาฝึกให้มันดีขึ้น
ให้ฉลาดขึ้นในทางธรรมะ เหมือนกับว่าปากกาเรานี่
เรามี(*หมายเหตุ ไม่ชัด ๑ คำ)ในมืออยู่แล้วถ้ามันขาดกระดาษตัวเขียนล่ะ
เอาปากกาเขียนอะไร บนอากาศเขียนตัวหนังสือได้ไหม เขียนไม่ได้
คือมีกระดาษอยู่ แต่ถ้าไม่มีความรู้ที่จะเขียน หรือเขียนหนังสือไม่เป็น
ตัวหนังสือจะรู้กันไหม..รู้ไม่ได้ เมื่อสมบูรณ์กัน
มีทั้งกระดาษ ปากกา และมีความรู้อันนี้ถึงเขียนหนังสือออกมาได้
เป็นสื่อสำหรับกันได้ ฉะนั้นเรื่องจะศึกษาธรรมะปฏิบัตินั้น

ถ้าศึกษาไม่เข้าใจส่วนนี้ก็ยากแก่ผู้ปฏิบัติ
เพียงเอาง่ายๆว่า ทำสมาธิเถอะ ทำสมาธิเถอะ จิตสงบปัญญาเกิดขึ้น
สอนกันอย่างนี้ คือไม่ศึกษาประวัติเดิมของพระพุทธเจ้าไว้เลย
ถ้าคนได้ศึกษาครบถ้วนสมบูรณ์บริบูรณ์ตามคำสอนพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
คำพูดอย่างนี้จะพูดไม่ออก ไม่กล้าพูดซ้ำไป
เพราะมันขัดตามหลักความเป็นจริงที่พระองค์เจ้าสอนเอาไว้

ให้ทุกคนสำนึกให้ดีว่า สมัยพระพุทธเจ้าเราออกบวชเป็นยังไง
บวชมาแล้วเป็นยังไง นี่คือ ศึกษาตามรอยพระพุทธเจ้าว่า
ตรงไหนพระองค์เจ้าสอนว่าผิดหรือตรงไหนพระองค์เจ้าสอนว่าถูก มันต้องรู้จัก

ตอนพระองค์เจ้าบวชใหม่ๆ ไปศึกษากับดาบสทั้งสองนานเกือบปี
แต่ดาบสทั้งสองก็สอนให้ว่า ทำสมาธิให้จิตสงบ ความคิดทุกประเภทไม่ให้คิด
ให้ทำสมาธิลูกเดียว พระองค์ก็ทำตามดูซิเป็นยังไง ก็ทำตามไป ตามไป
จิตก็สงบได้เหมือนดาบสทั้งสองได้สอน
แต่ขั้นต่ำไปขั้นสูงสุดเรียกว่า รูปฌาน อรูปฌาน
พระองค์เจ้าก็มาคำนึงถึงคงหลายครั้งว่า ขณะจิตที่รวมสงบอยู่นั้น
ก็มีความสุขมีความสบาย ความห่วงหาแก่ครอบครัว นางพิมพา ราหุล
หรือกรุงกบิลพัสดุ์ก็ลืมๆ ไป จางๆ ไป แต่เมื่อจิตถอนออกมาแล้ว
โอ สมาธิมันเสื่อม จิตว้าวุ่นขุ่นมัว คิดถึงนางพิมพา ราหุล กรุงกบิลพัสดุ์
วุ่นวายอย่างนั้น เอ้า เข้าสมาธิใหม่ สงบใหม่ ก็ทานกันได้


พระองค์ทรงทำอย่างนี้หลายครั้งหลายหน จิตสงบหลายร้อยครั้งพันครั้ง
แล้วก็วนเวียนอยู่แค่นี้เอง พระองค์เจ้าก็มาสำนึกได้ว่า
วิธีการปฏิบัติแบบนี้ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์อะไรเลย
เป็นเพียงอุบายข่มตัณหาอาสวะไว้เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องการแก้ปัญหาแต่อย่างใด

พระองค์เจ้าอุทานขึ้นแล้วว่า วิธีการทำอย่างนี้ไม่ใช่ทางแล้ว
พระองค์จึงลาดาบสทั้งสองหนีไปซะเพื่อแสวงหาอุบายธรรมแบบใหม่ด้วยตนเอง

อันนี้ล่ะเรามาสำนึกให้ดี อย่าไปเข้าใจว่า จิตสงบแล้วปัญญาเกิด
พระองค์เจ้าเรานี่เป็นผู้บำเพ็ญบารมี มีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม
เฉพาะเรื่องสติ สมาธิ ปัญญานี่..สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์
ปัญญาก็สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์
พระองค์เจ้าเราทำสมาธิจิตสงบถึงที่สุดของที่สุดของสมาธิแล้ว
ทำไม "ปัญญา" จึงไม่เกิดกับพระองค์บ้าง

พระองค์สร้างปัญญามา ขนาดปัญญาบารมีสมบูรณ์แล้ว
ทำไมปัญญาไม่เกิดกับพระองค์ แต่เราเดี๋ยวนี้มาพูดกันได้ยังไง
จิตสงบแล้วปัญญาเกิดขึ้นน่ะ

ให้เราคิดให้ดีว่า พระองค์เจ้าสอนใครที่ไหน
มีไหมครั้งพุทธกาลพระองค์ทรงว่า พากันทำสมาธิจิตสงบเถอะ
จิตสงบดีแล้วปัญญาเกิดขึ้น พระองค์เจ้าสอนใครที่ไหนครั้งพุทธกาล..ไม่มีเลย

หามาดูได้ในพระไตรปิฏก มันต้องอ่านให้จบหลายๆ รอบ จะรู้
หรือสาวกองค์ไหนบ้างทำสมาธิจิตสงบดี มีปัญญาเกิดขึ้น มีที่ไหน
ทำไมยุคนี้ถึงมาสอนกันนักหนาขนาดนี้ คนเข้าใจผิดไขว้เขวไปเรื่อยๆ
อันนี้ก็เห็นใจอีกแหละอย่างหนึ่ง คือคนเขียนตำรามา เขียนยังไง
เราศึกษาให้ดีเรื่องตำรา พระองค์เจ้าจึงตรัสไว้สมัยพระองค์เจ้ามีชีวิตอยู่
เรียกว่า กาลามสูตร มี ๑๐ ข้อด้วยกัน

มีข้อหนึ่งพระองค์เจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า ในยุคต่อไปภายภาคหน้าโน้น
จะมีชาวพุทธด้วยกันนี่แหละจะตีความหมายของพระองค์เจ้าคลาดเคลื่อน
ตีความหมายผิดเพี้ยนไป ไม่เป็นไปตามที่พระองค์เจ้าสอนเอาไว้เลย
นั่นพระองค์ตรัสไว้เมื่อครั้งพระองค์มีชีวิตอยู่ ก็พอดีว่ายุคพวกเรานี้เอง
..มันจริงไหมล่ะ แน่นอนนั่นคือ คนนักปราชญ์ยุคใหม่
มาตีความในความหมายพระพุทธเจ้าคลาดเคลื่อน
ไม่ตรงตามประเด็นเดิมที่พระองค์เจ้าสอนเอาไว้เลย
อย่างคำที่ว่า จิตสงบแล้วปัญญาเกิดขึ้นที่ว่ามา..คลาดเคลื่อน
มันไม่มีที่ไหนจิตสงบแล้วปัญญาเกิดขึ้น

ที่จริงต้องบอกว่า "สงบ" เป็นยังไง คำว่า "สงบ" ตัวนี้พูดกันนัก
คำว่า สมาธิ คำเดียวจงแยกให้เป็น มันมีแยกสองกลุ่มด้วยกันคำว่า สมาธิ

๑. สมาธิตั้งใจมั่น
๒. สมาธิความสงบ


นี่คือแยกกันนิดหนึ่ง ส่วนมากพวกเราจะไม่แยกกัน
แต่ละท่านแต่ละคนนั่งอยู่ที่นี้ จะพูดกันเรื่อง "สมาธิความสงบ" เป็นหลัก
อันนั้นก็สงบ อันนี้ก็สงบไปเรื่อยๆ นี่คือ แยกไม่เป็น
แท้ที่จริงพระองค์เจ้าแยกให้แล้ว ให้เข้าใจแล้ว
แต่คนไม่ดูเรื่อง เรื่องราวที่พระองค์เจ้าสอนเอาไว้
คำว่า "ตั้งใจมั่น" ตั้งอย่างไร คำว่า "สงบ" สงบอย่างไร

เอาอะไรเป็นตัววัดกัน ขั้นตอนเป็นยังไงบ้าง

คำว่า สงบ คำเดียวเนี่ยมันหมายถึงว่า นับตั้งแต่ "อัปปนาสมาธิ"
ขึ้นไปถึงรูปฌาน อรูปฌาน นั่นคำว่า "สงบ"
คำว่า "ตั้งใจมั่น" อยู่ตรงไหน
ตั้งใจมั่นตั้งแต่ "อุปจารสมาธิ-ขณิกสมาธิ" ลงมา
นี้คือ "จุดแบ่งกัน" ระหว่าง "ตั้งใจมั่นและสงบ"


แต่เดี๋ยวนี้เราไม่ศึกษาตัวนี้ แยกกันไม่เป็น
คนคนเดียวจะสามารถแบกกันได้หรอ แต่ข้อสำคัญอีกอย่าง
สมัยครั้งพุทธกาลพระองค์เจ้าสอนไว้ชัดเจนเลยว่า
บุคคลที่จิตสงบง่ายๆคนกลุ่มไหน
บุคคลที่ทำสงบไม่ได้คนกลุ่มไหน


สมัยครั้งพุทธกาล เฉพาะบุคคลที่มีนิสัย "ปัญญาวิมุติ"
กลุ่มมีนิสัยปัญญาวิมุตินี้ พวกนี้จะทำสงบไม่ได้
ทีนี้คำบริกรรมอะไรก็แล้วแต่ สงบไม่ได้เลย คือ ชอบคิด

นึกคำบริกรรมไปไม่กี่นาทีอยากคิด คิดโน่นคิดนี่ตามประสาอยากจะคิด

ถ้าคนไม่มีปัญญาที่ดี เอาความคิดตัวนี้ไปคิดดูซิ..อะไรเกิดขึ้น
"ฟุ้งซ่าน" เกิดขึ้น เพราะคิดไม่มีเหตุผล ไม่มีหลักการ ไม่มีสูตร
คิดเรื่อยๆ เปื่อยๆ ตามกระแสโลก นั่นคือว่าเป็น "จิตฟุ้งซ่าน" ไปซะ
แต่ถ้าคนคิดในทางธรรมะได้ มันก็เป็น "ธรรม" ไป

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2016, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "ฟุ้ง" คำเดียวนี่มีกี่ฟุ้ง มี ๓ ฟุ้งด้วยกัน

๑. ฟุ้ง..ซ่าน
๒. ฟุ้ง..ตามสังขาร
๓. ฟุ้ง..ในธรรม


๓ ฟุ้งนี้เราฟุ้งแบบไหน ส่วนมากมันจะฟุ้งซ่าน

"ฟุ้งซ่าน" หมายถึง การคิดไม่มีหลักการ คือคิดไปตามกระแสของจิตใจแต่จะคิด นี่คิดคิดตาม "ความอยาก" ของตัวเอง เรียกว่า "ตัณหา" เป็นตัวหนุนไปเรื่อยๆ

"คิดอย่างมีสูตร" พูดง่ายๆ ก็เหมือนอาหาร อาหารเราทำ ถ้าคนทำอาหารเป็นน่ะ เขาจะรู้สูตรในอาหารแต่ละสูตร สูตรนี่เขาทำอะไรบ้าง เครื่องปรุงอาหารมีอะไรบ้างเขาจะรู้ มันต่างกันกับคนไม่รู้จักอาหาร ไม่ใช่ว่าอาหารแต่ละสูตรมันจะเหมือนกันทั้งหมดไม่ใช่ มันแตกต่างกัน เราเข้าใจอาหารที่ดีแล้ว ทำเถอะ มันถึงอร่อย ถึงเครื่องปรุงนั้นมันจะต่างรสต่างชาติกันก็ตาม แต่เรารู้จักรสอาหารนั้นดีแล้ว แต่ละรสแต่ละชาติเอามาประกอบกันแล้ว สิ่งไหนควรทำอะไร ใส่มากน้อยแค่ไหน ถ้าคนรู้จักแล้วอาหารจะอร่อย รู้จักรสเผ็ด รสเปรี้ยว รสเค็ม และรสจัด รสจืด ถ้าคนรู้จักรสจัดรสจืดได้ คนนั้นจะรู้จักอาหารอร่อยคืออะไร คือ อยู่ท่ามกลาง คือ ไม่จัดไม่จืด ภาวนาเช่นกัน รู้จักความพอดี "มัชฌิมา" ในการศึกษาธรรมะหมวดไหนแล้ว การปฏิบัติธรรมมันง่าย คือ มันพอดี นี่ส่วนมากเราทั้งหลายไม่เข้าใจตรงนี้ เพียงมาทำสมาธิให้สงบแล้วก็จะคิดว่าปัญญาจะเกิด อันนี้เป็นเรื่องที่ขัดขั้นตอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากเลย มันแตกต่างพระองค์เจ้าสอนในครั้งพุทธกาล

คำว่า "สงบ" คำเดียวนี้ไม่จำกัดหรอกว่าต้องอยู่ในศาสนาพุทธเพียงอย่างเดียว ไม่จำกัด ทุกศาสนาทำสมาธิสงบได้ แม้คนสมัยก่อนๆ เมื่อศาสนาพุทธยังไม่เกิดขึ้นในโลกก็ยังมีคนทำสมาธิจิตสงบได้

บุคคลนั้นก็จะเป็นพรหม คำว่า "พรหม" คำเดียวต้องแยกให้เป็นหลายๆกลุ่มหลายขนาด แต่พรหมกลุ่มสำคัญอันนั้นคือ พรหมกลุ่มที่รองรับ "พระอริยเจ้า" มีอยู่ ๕ ชั้นด้วยกัน เรียกว่า อตัปปา, สุทัสสา, สุทัสสี, อกนิฏฐา, สุทธาวาสพรหม พรหมทั้ง ๕ ชั้นนี่เป็นพรหมที่รองรับ "พระอนาคามี" นี่พรหมกลุ่มหนึ่ง

พรหมกลุ่มหนึ่งทีนี้เป็นอย่างกับว่า "พรหมลูกฟัก" พรหมลูกฟักเนี่ยสำหรับ "ปุถุชน" อยู่ได้ เช่นอย่างคนใดคนหนึ่งมาทำสมาธิจิตสงบถึงที่สุด เป็นพรหมลูกฟัก รูปพรหมแขนงหนึ่ง พรหมตัวนี้จะอยู่ยาวนาน อายุยาวนาน ไม่แตกต่างจากพรหมของพระอริยเจ้า พระอนาคามีอยู่ พระอนาคามีอยู่นั้นก็จะไปปฏิบัติธรรมหรือถึงวาระแล้วเรียกว่า "นิพพานพรหม" คือ พรหมอนาคามี แต่พรหมลูกฟักเนี่ย
อันนี้ลงมาเกิดใหม่ คือแยกทางกับพระอริยเจ้า

แต่อีกพรหมกลุ่มหนึ่งทีนี้ เป็นรูปพรหมเหมือนกันแต่เป็นพรหมลักษณะที่ปุถุชนก็ทำได้ หรือพระอริยเจ้าก็ทำได้เหมือนกัน แต่พระอริยเจ้าเขาว่า "นิโรธสมาบัติ" เฉพาะคำพูดของพระอริยเจ้า ถ้าบุคคลธรรมดา แต่ถ้าสำหรับพระอริยเจ้าเขาว่า "สมาบัติ ๘" นี่เขาแยกกันพรหมกลุ่มนี้ พรหมกลุ่มนี้เขาจะมาเกิดกันไหม..เกิดใหม่ได้ อำนาจของพรหมนั้นจะอยู่นานเท่าไร มันอยู่ที่คนจะปฏิบัติธรรมขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียด ถ้าบุคคลอยู่ขั้นละเอียดแล้วเนี่ย ก็อย่างพรหมที่ดาบสทั้งสองเป็นอาจารย์เก่าของพระองค์เจ้าเรา เดี๋ยวนี้ไปอยู่ที่ไหน ไปอยู่พรหม "อรูปพรหม" พรหมกลุ่มนี้จะอยู่นาน เมื่อศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรย์ลงมาตรัสรู้ ยังไม่ลงมา ต้องรอไปก่อน อยู่ยาวนานเหลือเกิน นี่ชื่อว่า จิตสงบเป็นพรหมได้ เป็นฌาน

นี่เราทั้งหลายปฏิบัติธรรมนี่ต้องศึกษาที่ไปของพรหม พรหมกลุ่มนี้ถึงว่าอำนาจของฌานเสื่อมไปเมื่อไร ลงมาเกิดใหม่ เหมือนคนพวกเราทั้งหลายทั้งปวงนี่เอง มีครอบครัวมีผัวมีเมียลูกหลานธรรมดา นี่เรียกว่า อาศัยอำนาจไปพักอยู่ในพรหมชั่วคราว ยาวนานก็ตามแต่ก็มาเกิดใหม่ พรหมกลุ่มนี้ต้องเกิดในภพทั้งสาม เรียกว่า อรูปพรหม บางคนรูปพรหม มันเป็นภพอย่างหนึ่งก็ว่า

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2017, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว



รูปภพ อรูปภพหรือกามภพก็ตามมันแยกกันทั้งหมดเลย แต่สำหรับพระอริยเจ้านั้นพรหมกลุ่มนี้ท่านจะไม่ไป อย่างมากก็เป็นพรหมที่สุทธาวาส ๕ นั่นล่ะที่รองรับพระอนาคามีเหล่านั้นแต่พระอริยเจ้าขั้นตอนมันอึด เป็นพรหมตามพระโสดาบัน พระสกิทาคา ท่านเหล่านี้ท่านจะไม่เข้าพรหม จะอยู่ในสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่งตั้งแต่ดุสิตา ดาวดึงส์ ยามา นี่พระอริยเจ้าขั้นนี้จะอยู่แถวๆนี้ แต่สวรรค์ขั้นหนึ่งนี่เรียกว่า สวรรค์ขั้นดุสิตา สวรรค์ขั้นนี้จะเป็นสถานที่รองรับ เป็นสายทางของพ่อพระพุทธเจ้า ของแม่พระพุทธเจ้า คือ รองรับพระโพธิสัตว์ หรือสาวกองค์ที่พยากรณ์เอาไว้แล้วว่า คนนั้นเป็นอย่างนั้น เป็นข้างซ้ายก็ดีข้างขวาก็ดี อุปัฏฐากก็ดี สวรรค์ชั้นนี้รองรับเฉพาะท่านเหล่านี้ด้วยสายทาง

แต่ชั้นดาวดึงส์ จาตุม รองรับได้ทุกพระอริยเจ้า เช่น พระเจ้าพิมพิสารอยู่สวรรค์ชั้นไหน อยู่สวรรค์ชั้นจาตุม คือไม่ยอมไปสวรรค์ขั้นอื่น เขาเป็นเพื่อน เวสสุวรรณเป็นเพื่อนกันเลยไปอยู่ด้วยกัน อย่างแม่วิสาขาล่ะ สวรรค์ชั้นไหน ..นิมมานนรตี นั่นสูงขึ้นไป นั่นคือว่าพระอริยเจ้าพระโสดาบันนั้นเลือกสวรรค์อยู่ได้ตามนิสัยตามวาสนาของตัวเอง นี่คือว่า ส่วนนี้ตกอยู่ในอะไร ตกอยู่ใน "กามภพ" ใช่หรือไม่..ใช่ นี่คือไปสวรรค์แล้วก็ลงมาเกิดใหม่ เพราะอำนาจบุญกุศลที่หมดไปสิ้นไปก็มาเกิด เหมือนบุคคลที่ไปเมืองนอกเมื่อหมดวีซ่าหรือหมดพาสปอร์ตแล้วก็กลับมาเมืองไทย หรือหมดเงินก็กลับมาเมืองไทย ไม่มีงานทำก็ว่าตกงานต้องมาหาเงินใหม่ไปใหม่ นี่ก็เหมือนกัน สวรรค์ก็เป็นที่พักแรมขณะหนึ่งเท่านั้นเอง ไปแล้วก็ไปหลงใหลเคลิบเคลิ้มอยู่ตามแสงสีในเทวดาด้วยกันก็หลงลืมไป สุดท้ายก็อำนาจบุญมันก็อยู่ไม่ได้ก็ลงมาเกิดใหม่ อันนี้ชี้แจงสวรรค์ กลุ่มนี้ก็เกิดในกามภพด้วยกันทั้งสิ้น


.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2018, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว



ที่พระองค์เจ้าจึงว่า "การบำเพ็ญบารมี" ที่เราทำกันทุกวันทุกวันนี่ ให้ศึกษาให้ดีเรื่องบุคคลที่อยู่ในโลกอันนี้จะอยู่อย่างไรให้มีความสุขหรือเสริมสร้างบารมีอย่างไรให้มีความก้าวหน้า ให้เข้าใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดีขึ้่น ไม่ใช่ปฏิบัติหลับหูหลับตา ต้องเบิกตาเราให้สว่าง เขาบอก "ตา" หมายถึงอะไร ตา หมายถึง "ปัญญา" ปัญญาเรียกได้ว่าเป็น "ตาของใจ" โดยเฉพาะ เรามาเสริมสร้างตาประพฤติปัญญาเราให้มีความสว่างอยู่ในใจ คำว่า "นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา" แสงสว่างอื่นใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

ที่ว่าปัญญาเรามีอยู่ทุกวันนี้ แต่ปัญญาเรายังไม่สกัด ปัญญายังมั่วสุมอยู่ในความมืด เรียกว่า "อวิชชา" ปัญญาตัวนี้ไปมั่วอยู่กับ "โมหะ" เรียกว่า ความลุ่มหลง เลยไปตามกระแสโลกโดยไม่รู้ตัว เรามาเกิดแก่ตาย เกิดตายๆๆกับโลกอันนี้เพราะใจตัวนี้ล่ะมันมืดมันหลง มันจึงเกิดบ่อยๆซ้ำๆซากๆจำเจ จะมาภาวนาปฏิบัติก็ไม่เข้ารูปเข้าทางที่พระองค์เจ้าตรัสได้ ทีนี้ปัญหาตรงนี้แหละ พระองค์เจ้าสอนไว้ชัดเจนอยู่แล้วเรื่องปฏิบัติธรรมที่ว่ามานี้ เป็นที่ว่าเราต้องเปิดมีแห่งเดียวในจักรวาลโลกนี้ที่ปฏิบัติกันได้ จักรวาลนี้เรียกว่าทั้งหมดมีกี่จักรวาล มีแสนโกฎิจักรวาล ในแสนโกฎิจักรวาลนี้มีจักรวาลเดียวเท่านั้นที่มีสัตว์อยู่ได้ นั่นล่ะเขาว่าจักรวาลที่มนุษย์และสัตว์อยู่ได้คือเราตรงนี้เอง จักรวาลแห่งนี้พระพุทธเจ้าก็ดีก็ต้องมาสร้างบารมีที่จักรวาลนี้ หรือพระสาวกทั้งหลายทั้งปวงก็ดีย่อมต้องมาสร้างบารมีในจักรวาลนี้นั่นคือ จักรวาลมนุษย์เรานี้เอง หลายๆคนก็ทางวิทยาศาสตร์ก็เข้าใจและตีความว่า มนุษย์ต่างดาว ที่มีสัตว์มีมนุษย์อยู่บ้างมันไม่มีหรอก มีแห่งเดียวเท่านั้นแหละ สัตว์ที่มีชีวิตอยู่และมีธาตุสี่อยู่ประจำกับโลกเรานี้ มนุษย์โลกเรานี้แหละ แห่งเดียวเท่านี้แหละที่ว่าเป็นต้นทาง เป็นศูนย์กลางของจักรวาลทั้งหลาย ใครจะไปสู่่ "อบายภูมิ" ก็มาสร้างเอาที่นี้ ใครจะไปสู่ "สวรรค์" ก็มาสร้างเอาที่นี้ ใครจะไปสู่ "พรหมโลก" ก็มาสร้างกันที่นี่หรือใครจะไปสู่ "มรรคผลนิพพาน" ก็มาสร้างกันที่นี่ นั่นคือ จักรวาลเดียวเท่านี้มีสัตว์โลกอยู่ได้


.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร