ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญอาสวักขยญาณ (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48586
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  Hanako [ 30 ต.ค. 2014, 19:43 ]
หัวข้อกระทู้:  พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญอาสวักขยญาณ (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท)

รูปภาพ

หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม
ต.คลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี


:b47: :b47:

ใจน้อมไปในสิ่งต่างๆ มีความโกรธบ้าง
ความรักบ้าง ความไม่ชอบใจต่างๆ นานา
ความโสกะปริเทวะบ้างอย่างนี้
เพราะใจนั้นน้อมไปตามอารมณ์
ที่ใจของกิเลสระลึกขึ้นอย่างนั้น

เมื่อสิ่งใดที่เป็นที่ชอบอกชอบใจ
ก็ปลื้มปีติยินดี เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น
สิ่งใดที่ไม่เป็นที่ถูกอกถูกใจ
ใจนั้นเครียดแค้น เกิดอาฆาตคิดพยาบาทจองเวร
สร้างเวรสร้างกรรมของใจเกิดขึ้น

นี่อำนาจของกิเลส ก็เพราะ "ความหลง"
ความไม่รู้เท่าของใจ คือ เรียกว่า "ไม่มีสติกำกับ"
เพราะฉะนั้น การมีสติกำกับใจอันนี้ก็เป็นสิ่งที่ยาก
เพราะว่าการที่จะปฏิบัติให้มีสติบริบูรณ์นั้น
จะต้องอาศัยการอบรมนี่เอง
อย่างที่เราฝึกหัดทำสมาธิกรรมฐานกันอย่างนี้เป็นต้น


แต่ทีนี้ถ้าพูดนัยหนึ่ง การฝึกหัดอย่างนี้ก็มีมาแต่โบราณกาล
แม้แต่พวกฤาษีหรือพวกอินเดียที่บำเพ็ญพรต
เขาก็ได้กระทำกันอยู่เหมือนอย่างที่เราทำสมาธิเหมือนกัน

แต่นี่...ถ้าสังเกตดูอย่างหนึ่งโดยมากพวกนั้น
อาศัยเพ่งวัตถุภายนอก เล่นกสิณ เล่นลม เล่นสิ่งต่างๆอย่างนี้
เพราะฉะนั้นเล่นอย่างนี้เป็นเล่นนอก
จิตใจนั้นก็เข้มแข็งเหมือนกันแต่เข้มแข็งเพ่งอยู่ "ภายนอก"

ครั้งหนึ่งได้ยินท่านอาจารย์ท่านพูดว่า
ไปอินเดียแล้วก็ปรากฏว่า มีฝรั่งมา มีแขกคนหนึ่งนั่งเพ่งตปะนี่
เอาใบไม้มารวมๆ กองเข้าแล้ว
ก็สามารถจะเพ่งให้ใบไม้นั่นลุกขึ้นมา ฝรั่งมาดูกัน
เห็นท่านว่าอย่างนั้น นี่อำนาจของใจของเขา
ก็มีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวเหมือนกัน

แต่พระพุทธเจ้าของเรานั้น
ไม่ทรงสรรเสริญในสิ่งเหล่านั้น
สรรเสริญใน "อาสวักขยญาณ"
คือทำใจให้หมดไปจากกิเลสนี้
เป็นสิ่งที่ประเสริฐ...พระองค์ทรงยกย่องอันนี้


เพราะสิ่งเหล่านั้นเมื่อบุคคลกระทำได้แล้ว
ไปเพลิดเพลินกับงานการ กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
หรือคลุกคลีกับหมู่คณะมากเข้า
โดยไม่ได้บำเพ็ญแล้วฌานนั้นก็จะเสื่อมลง
พอเสื่อมลงก็เหมือนกันคนธรรมดาเรานี้เหมือนกันอย่างนั้น

ส่วนพระพุทธเจ้าของเราหรืออริยเจ้าผู้ที่สำเร็จ
ทำอาสวะของตนให้สิ้นไปอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างนั้น ทำไมจึงว่าไม่เป็นเช่นนั้น
ก็เพราะว่าใจของท่านมันมี "สติ"
มึความสังวรในเรื่องสติ
สังวรในอารมณ์ของใจอยู่ได้ตลอด

สิ่งใดที่เกิดขึ้น ความรู้สึกตัวนั้นมันก็มาทับ
ของความที่เกิดขึ้นกับใจนั้น
เมื่อมีความรู้สึกอย่างนั้นมีสติระลึกอยู่อย่างนั้นแล้ว
อารมณ์ที่เกิดขึ้นก็ย่อมดับไป นี่เปรียบเทียบอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น อย่างเรานี่เหมือนกัน
เวลาภาวนานั้นก็ต้องอาศัยความสังเกตสังกาลำดับของใจลงไป
เมื่อใจนั้นตั้งมั่นแข็งแรงมีสมาธิดีแล้ว อย่างนั้นเป็นต้น
ก็ควรจะต้องพินิจพิจารณา
อันนี้เป็นหลักสำคัญที่สุด


:b46: :b46:

ที่มา : ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา
http://www.youtube.com/watch?v=kwA2JYlC5jk


:b47: รวมคำสอนและประวัติ “หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38692

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/