วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 22:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 18:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

มณฑลิโกวาท

(เรียบเรียงตั้งแต่ยังเป็นพระญาณรักขิต
ตรวจพิมพ์ใหม่เมื่อเป็นพระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ. ๒๔๖๘)
คำนำ
เราทั้งหลายพึงทำความเข้าใจว่า ธรรมดามนุษย์
ทั่วโลกที่จะควบคุมกันเป็นหมู่เป็นกองอยู่ได้ ต้อง
เข้าใจว่าอยู่ได้ด้วยคุณความดี คือความเมตตาแก่กัน
และกันเป็นพื้น ถ้าความชั่วมีแทรกขึ้นในระหว่างบ้าง
เล็กน้อย ก็ย่อมเกิดความร้อนเห็นปรากฏ ถ้า
โดยหากว่าจะมีแต่ความชั่ว คือ โลภ โกรธ หลง
เกิดพร้อมกันขึ้นทั่ว ๆ โลก ต้องเข้าใจว่าโลกแตก ก็
ความดีจะมีขึ้นแก่ประชุมชนเบื้องต้น ก็คือหวังต่อ
ความสุข ความสุขที่บุคคลจะได้นั้น ก็ย่อมได้แต่คุณ
ความดีนั้นเอง เพราะเหตุนั้น คุณความดีจึง
เป็นหน้าที่ของท่านผู้เป็นอิศราธิบดีในประเทศ
หรือจังหวัดมณฑลและตำบลน้อยใหญ่ได้รักษา
ความเจริญมาแล้ว หรือรักษาอยู่ทุกวันนี้ หรือ
จะรักษากันต่อไปเบื้องหน้า ก็ต้องรักษาด้วยความดี
เท่านั้น บัดนี้เราทั้งหลายที่เกิดมาในหมู่มนุษย์ ถึง
จะเกิดในชาติใดภาษาใดก็ตามเถิด เมื่อได้อาศัย
ความปกครองร่มเย็นแห่งบรมราชามหากษัตริย์พระองค์
ใด ได้มีความสุขพ้นภยันตราย และ
ได้เล่าเรียนวิทยาการทั้งปวง จนนับว่าเป็น
ผู้รู้ตามสมควรแก่ความจะเป็น
ผู้ปกครองหน้าที่อันหนึ่ง ๆ ได้ ต้องเข้าใจว่าตนเป็น
ผู้ร่วมชาติในท่านผู้ปกครองนั้น และควรรำพึง
ถึงคุณแห่งท่านผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ว่า ปู่ย่า ตายาย
บิดามารดา เผ่าพันธุ์ มิตรสหายของเรา
ได้รับผลแห่งความปกครองโดยชอบธรรม
เป็นสุขร่วมกันอยู่ ณ บัดนี้ เพราะอาศัยคุณความดี แต่
ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่นั้น ข้อนี้ผู้ปกครอง
ทั้งหลายแต่ก่อนก็ย่อมคิดอย่างนี้ เห็นอย่างนี้
รักษาควบคุมซึ่งกันและกันต่อ ๆ มา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 19:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิปติธรรม
ธรรมสำหรับผู้ใหญ่ ที่มีปรากฏอยู่
ในพระราชบัญญัติ และสุภาษิตนั้น ๆ ๔ อย่าง
เป็นของจะต้องรักษาจริง ตามแบบที่ท่านประพฤติมา
แล้วนั้นให้จงได้
๑. จะทำการสิ่งใด อย่าลุอำนาจของความรัก
๒. จะทำการสิ่งใด อย่าลุอำนาจของความโกรธ
๓. จะทำการสิ่งใด อย่าลุอำนาจของความกลัว
๔. จะทำการสิ่งใด อย่าลุอำนาจของความหลง
ถ้าผู้ใดทำการเอียงไปตามความรักและความชัง
ความกลัว และความหลงแล้ว ความ
เป็นอิสรภาพของผู้นั้น จะต้องเสื่อมถอยเป็นแท้
อนึ่ง ผู้จะรักษาความเป็นผู้ใหญ่ จะต้องเข้าใจความ
เป็นไปของโลก ธรรมดาโลกธาตุจะตั้งอยู่เป็นไปได้
ก็ด้วยอำนาจเย็นและร้อนและความเสมอ
เป็นเครื่องบำรุง ดวงอาทิตย์และไฟเป็นเครื่อง
ให้ร้อน ดวงจันทร์และน้ำเป็นเครื่องให้เย็น ร้อน
และเย็นทั้ง ๒ นั้น ย่อมให้โอกาสแก่กันและกัน ถ้า
ผู้ชอบร้อนออกสู่แดดหรือผิงไฟ เย็นก็ไม่ตาม
ผู้ชอบเย็นเข้าร่ม หรือลงอาบน้ำเสีย ร้อนก็
ไม่ตามเผา ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ไฟ น้ำ รักษา
ความเสมอของตนได้ดีด้วย คือ ร้อนเสมอ เย็นเสมอ
ขึ้นมาเสมอ ลงไปเสมอ ไม่ทำเวลาของตน
ให้เคลื่อนคลาดเลย ความเสมอนี้ก็เป็นปัจจัย
ให้โลกเจริญได้อย่างหนึ่ง จึงเป็นอุบายที่ผู้มีความคิด
ทั้งหลาย ประสงค์จะรักษา
ความเจริญแก่บริษัทของตน ต้องดูเป็นตัวอย่าง
เพราะเหตุนั้น ผู้ปกครองมาแล้วทั้งหลายจึง
ได้ประกอบการ ๓ อย่าง เป็นต้นว่าขื่อคา โซ่ตรวน
คุกตะราง เป็นเครื่องร้อน ลาภ ยศ สรรเสริญ
เป็นเครื่องเย็น และรักษาความเสมอในหน้าที่นั้น ๆ
ด้วยบางคราวบางสมัยแต่ตนผู้เดียวกลัวจะไม่พอ จึง
ได้ตั้งให้มีปุโรหิตนักปราชญ์ให้โอกาสตักเตือนตนได้
บางคราวตั้งเสนาบดีรัฐมนตรีไว้สำหรับ
ช่วยเปล่งรัศมีให้แสงร้อนและเย็นนั้นกล้าขึ้น
ให้พอแก่ความเป็นไปของโลก ถ้าเห็นเนื้อความนี้แล้ว
พึงทำตนโดยอุบายนี้ ก็จักสามารถรักษาหน้าที่นั้น ๆ
ได้
อนึ่ง ธรรมสำหรับผู้ใหญ่ สำหรับอุดหนุนความ
เป็นอิสรภาพของผู้ใหญ่ให้ไพศาลขึ้นโดยลำดับ ท่าน
ผู้ปกครองแต่ก่อนก็ได้ประพฤติมาแล้ว ในบัดนี้ท่าน
ผู้ปกครองก็ได้รักษาอยู่ ถึงพวกเราผู้
จะรับมรดกก็ต้องประพฤติตาม
ท่านเรียกว่าสังคหวัตถุ วัตถุเครื่องสงเคราะห์ ๔
อย่าง
๑. การให้การแบ่งปัน คือการแจกจ่าย
ซึ่งวัตถุข้าวของ ของตนแก่ปริชนผู้ช่วยการงาน
โดยสมควรแก่คุณความดีตามกาลสมัย
เปิดเผยดวงจิตของตนให้ปรากฏแก่เหล่าชนนั้น ๆ
๒. กล่าวถ้อยคำเป็นที่ตั้งแห่งความรัก คือ
ความจริงที่ประกอบไปด้วยประโยชน์ เว้น
จากวจีทุจริตส่วนเป็นโทษเสีย
๓. ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ คือหมั่นแนะนำให้
ผู้ร่วมการงานทั้งหลายประกอบกิจสิ่งที่
เป็นประโยชน์เป็นนิจ ห้ามกันตักเตือนให้ละสิ่งที่
เป็นบาปเป็นโทษเสีย
๔. ประพฤติตนให้เสมอในกิจการงานทั้งปวง
คืออย่าทำตนให้เป็นลุ่ม ๆ ดอน ๆ
เครื่องสงเคราะห์ ๔ อย่างนี้ ถ้าผู้ใดประพฤติตาม
ได้จริง ความเป็นอิสรภาพของผู้นั้น ก็จะมีจริง
จะเจริญขึ้นโดยลำดับไม่ต้องสงสัยเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 19:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีการทำ
การที่จะพึงทำนั้น ๒ ประการ
๑. ราชการสิ่งที่ทำขึ้นจำเพาะแผ่นดิน คือการที่เกี่ยว
เนื่องมาแต่พระเจ้าแผ่นดิน ชื่อราชการ
๒. กิจการสิ่งใดที่ทำขึ้นจำเพาะตน
หรือจำเพาะบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งที่นับเนื่องในพวกของตน
ชื่อว่ากิจการ
ถ้ารู้จักการทั้ง ๒ ต่างกันโดยแผนกฉะนี้ เมื่อ
จะทำราชการหรือกิจการ ก็ให้เป็นส่วนราชการ
หรือกิจการจริง อย่าให้คละกัน ถ้าให้การทั้ง ๒
คละปนกัน ชื่อว่าผู้ไม่รู้จักการงาน
จะทำการหน้าที่อันใด ก็คงจะไม่ตลอดเป็นแท้ ถึงโดย
จะทำได้ก็คงจะไม่ดี
จะชี้ให้เข้าใจตัวอย่าง ดังข้าหลวงผู้
ได้รับพระบรมราชโองการออกไปรักษาราชการ
ณ หัวเมืองตำบลใดตำบลหนึ่ง กิจที่ข้าหลวงนั้น
จะพึงทำในส่วนราชการมี ๒ อย่าง
๑. จะต้องรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ซึ่งเรียก
กันว่าพระราชทรัพย์ของหลวงทั่วไป
๒. จะต้องระงับทุกข์บำรุงสุขของราษฎร ให้
ได้รับผลเสมอหน้าทั่วกันไป
กิจที่ข้าหลวงนั้น จะพึงทำส่วนตน
ที่เรียกว่ากิจการมีอย่างเดียวคือจะ
ต้องบำรุงตนของตนให้เกิดความสุขสบายจิต เพื่อ
เป็นกำลังที่จะอุดหนุนแก่ราชการนั้น ๆ ให้ตลอดไป
ได้ ก็อุบายที่จะบำรุงตนให้เกิดความสุขนี้แหละ
มักทำลายอำนาจลาภยศของข้าหลวงผู้
ไม่รู้จักการงาน เสื่อมถอยไปโดยมาก
วิธีรักษาพระราชทรัพย์นั้น บางสิ่งจะต้อง
ใช้สติปัญญาวิชาความรอบรู้ของตน บางสิ่งจะต้อง
ใช้พลตระเวน ทหาร หรือจะ
ต้องขอแรงกรมการนายแขวงอำเภอ
หรือราษฎรมาเข้าเวรนั่งยาม รักษาตน
และพระราชทรัพย์ ถ้าสัตว์พาหนะของหลวงมี ก็
จะต้องใช้คนเหล่านั้นให้ช่วยบริหาร
เมื่อบังคับตามการอย่างนี้
ก็ชื่อว่าบังคับถูกตามทางราชการ
ก็แต่ธรรมดาข้าหลวงมักมีคนพึ่งบุญมาก เป็นต้นว่า
ผู้คนข้าทาสของท่าน ตัวของท่านหรือผู้เหล่า
นั้นเห็นคนเวรนั้น ๆ มีอำนาจไม่เท่ากับตน ก็ใช้
ให้ทำการงานของตนต่าง ๆ มีใช้ให้ตักน้ำ ตำข้าว หาฟืน
ทำเรือกสวนไร่นาเลี้ยงสัตว์หาหญ้าช้าง หญ้าม้า ใน
ส่วนของตนเป็นต้น
ชื่อว่าบังคับการผิดต่อทางราชการ เพราะใช้คน
ในหน้าที่ราชการให้ทำกิจของตน
ถึงวิธีบำรุงราษฎรก็ย่อมมีเป็นอันมาก
เป็นต้นว่าปราบปรามโจรผู้ร้าย
และตัดสินคดีถ้อยความเป็นต้น
บางท่านมักยกข้อราชการนี้ขู่กรรโชก ทำให้ผู้ไม่รู้
เท่ากลัว แล้วแอบอิงหาผลประโยชน์เพื่อตน
ในหน้าที่ราชการนั้น ๆ ย่อมมีโดยมาก
อย่างนี้ชื่อว่าทำการให้คละปนกัน เพราะ
ไม่รู้จักการงาน ไม่ช้าก็ย่อมถึงซึ่งความวิบัติ
ซึ่งชักบุคคลมากล่าวเป็นกลางเช่นนี้ ก็ประสงค์จะ
ให้รู้จักการงาน เพราะจะทำการในหน้าที่อันใด
ก็ย่อมมีการทั้ง ๒ อย่างนี้กำกับอยู่ด้วยทุกหน้าที่
เมื่อรู้จักแล้วก็จะได้บังคับการถูกตามการ
เมื่อบังคับการถูกแล้ว อิสรภาพของผู้นั้นก็
จะเจริญขึ้นโดยถ่ายเดียว
ธรรมเนียมข้าราชการแต่โบราณ
มักมีอุบายเบียดเบียนราษฎรหาผลประโยชน์แต่
ผู้น้อยเป็นธรรมดา ในส่วนราชการนั้น มีประสงค์
ต้องการเพียงอำนาจเท่านั้น เพราะความยัง
ไม่เรียบร้อยแห่งทางราชการ จึงเป็นไปอย่างนั้น
ครั้นมาถึงสมัยนี้
วิธีแห่งราชการดำเนินสู่ทางเรียบร้อยแล้ว กิจที่
จะหาผลประโยชน์แต่ผู้น้อย พอ
เป็นกำลังแก่บ้านเมือง เป็นหน้าที่ของราชาธิปไตย
ส่วนข้าหลวงเป็นแต่ผู้บริหารความดีที่มีอยู่แล้ว
และจัดสิ่งที่บกพร่องให้ดีขึ้นเท่านั้น
หาผลประโยชน์ในทางราชการได้นับเป็นดี
อนึ่ง เป็นข้าราชการอย่าทำความเห็นไปว่า
เราทำการลับ ๆ ห่าง
ไกลแต่พระเนตรพระกรรณ เหนื่อยเปล่า
เมื่อไรจะได้เห็นผลเห็นประโยชน์ ผู้ที่
เขาทำการออกหน้าออกตา บัดเดี๋ยวเป็นโน่นเป็นนี่
มีเงินเดือนเท่านั้นเท่านี้ ท่านเหล่านั้นจะมีน้ำหนักก็
ไม่ยิ่งกว่าเราสักปานใด
เมื่อคิดอย่างนี้นับว่าใจเศร้าหมอง ปิดทางปัญญาอาจ
ให้เสียราชการได้อย่างหนึ่ง และ
เป็นการหมิ่นประมาทในผู้เป็นเจ้าเป็น
ใหญ่ของตนอย่างหนึ่ง
เป็นการปิดทางลาภทางยศของตนอยู่เอง ควรจะทำ
ในใจว่า วิสัยผู้ปกครอง หน้าที่อันใดให้เป็นไปได้อยู่
ก็ย่อมจะมีปัญญาสอดส่องรอบรู้ความดีและความชั่ว
ซึ่งมีขึ้นในหน้าที่ของตน ไม่ต้องสงสัยเลย
โดยอย่างต่ำที่สุดเพียงผู้ปกครองเรือกสวนไร่นา ก็
ยังสามารถสอดส่องรอบรู้ที่ดีและชั่ว ที่มีอยู่
ในเขตแดนของตน ถ้าคิดได้อย่างนี้ ความอุตสาหะก็จะ
ไม่ท้อถอย ชื่อว่าเปิดทางปัญญาและทางมาแห่งลาภ
และยศ นับว่าเป็นผู้หาผลประโยชน์
ในทางราชการโดยแท้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 19:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีปกครองการ
ผู้อำนวยการและผู้ช่วยการ ต้องเข้าใจว่า ณ สมัยนี้
การศึกษาและการศาสนาเป็นตัวราชการ เพราะ
เนื่องมาแต่พระเจ้าแผ่นดิน และพึง
เข้าใจมหัลลกธรรมสำหรับตน ๓ ประการ
๑. จะต้องรู้จักอำนาจเกียรติยศของแผ่นดิน
ของเจ้าคณะ ของกระทรวงและเทศาภิบาล
ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวด้วยกับตนว่ามีเพียงไร
๒. จะต้องรู้ว่าตนได้รับอำนาจเกียรติยศ แต่หน้าที่นั้น
ๆ มีที่สุดเพียงไร
๓. จะต้องรักษาอำนาจเกียรติยศของแผ่นดิน คณะ
และกระทรวงเต็มที่ การรักษานั้นมีวิธีเป็นอันมาก
จะชักมาวางเป็นแบบพอสมควร
(ก.) จะต้องทำตนให้เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของท่านที่
เป็นหัวหน้า ซึ่งเป็นผู้ให้อำนาจแก่ตน คือ
ต้องทำตามข้อบังคับในหน้าที่นั้น ๆ โดยประสงค์
ให้เต็มกำลังของตน
(กา) จะต้องทำตนให้เป็นที่นิยมแก่มิตรสหายคือ
ผู้ที่มีหน้าที่เสมอกับด้วยตน หรือยิ่ง
และหย่อนตามสมควร
ด้วยอปจายนกิจตามคุณานุรูปโดยสมควร เพื่อจะ
ได้หารือในการงานบางสิ่งบางอย่าง อย่าหวังดีให้เกิน
ส่วนแต่ตัวคนเดียว อย่ายกเอาเหตุของท่านผู้อื่นไป
เป็นของกำนัลแก่เจ้านาย
(กิ) จะต้องทำตนให้เป็นที่นิยมแก่ผู้ช่วยการงานทั่วไป
เป็นต้นว่า ผู้น้อยยังไม่รู้ ไม่เข้าใจในการงานอันใด ตน
ต้องลงทุนลงแรงช่วยแนะนำสั่งสอนชี้แจงให้เข้าใจ
ในการงานนั้น เมื่อผู้น้อยทำการได้ดีเพียงไรตน
ต้องยกย่อง อย่าปิดบังความดีของผู้น้อย อย่าอิจฉา
ผู้น้อย และต้องระวังช่วยรักษาอำนาจของผู้น้อย
ให้พอแก่หน้าที่นั้นให้จงได้ การช่วยรักษานั้น ถ้า
ผู้น้อยซึ่งรับอำนาจไปนั้น เธอไม่มีผิด อย่า
ให้ใครหมิ่นประมาทได้ ถึงเมื่อเธอมีความผิด ถ้า
ยังเห็นว่าควรจะเลี้ยงไว้ใช้ต่อไปได้
การนิคคหะติเตียนโดยไปรเวตได้เป็นการดี
(กี) ให้ทำตนเป็นที่นิยมรักใคร่แก่บริษัทภายใน
คือภิกษุสามเณรและนักเรียนซึ่งอยู่ในอำนาจของตน
ทั่วไปด้วยกรุณาจิต ทำให้ชนเหล่านั้นกล้าหาญด้วย
ความอุตสาหะ มีวิธียกย่องและติเตียนเป็นต้น
(กุ) ต้องทำตนให้เป็นที่นิยมชอบใจแก่บริษัทภายนอก
คือผู้จะอุดหนุนเกื้อกูลด้วยอำนาจหรือด้วยปัจจัย
มีข้าหลวงหรือทายกทายิกา เป็นต้น ด้วยการแสดง
ความเอื้อเฟื้อในกิจที่สมควร
(กู) จะทำจะสั่งการสิ่งใด ต้องตรองดูให้แน่นอนก่อน
ถ้าเห็นว่าเหตุและผลพอควรแก่กัน และพอ
จะสำเร็จไปได้จึงทำจึงสั่ง ถ้าได้ลงมือทำหรือสั่งไป
แล้ว ต้องตามรักษาให้การนั้นตลอดไปได้ คือทำสิ่ง
ใดให้จริง อย่าทำให้เหลวไหลขาด ๆ เหลือ ๆ เมื่อ
ผู้รับทำตามสั่งของตนแล้วตนต้องรับผิดรับชอบ
(เก) เมื่อมีผู้ร้องฟ้องว่าผู้น้อยมีความผิดต่อราชการ
หรือกิจการอันใดก็ดี อย่าด่วนทำหูไวใจเร็ว
ต้องตรึกตรองยกเหตุยกผลขึ้นชั่งดูก่อน
เพราะกลของมนุษย์มีมาก ถ้าเห็นว่าผิดจริง ถึงอย่าง
นั้น ต้องแบ่งวินิจฉัย เมื่อผิดด้วยอำนาจความรัก
ความโกรธเคืองหรือความกลัว
ต้องตัดสินตามโทษานุโทษ ถ้าผิดด้วยอำนาจความหลง
คือตั้งใจจะทำให้ถูกให้ดี ให้เป็นคุณเป็นประโยชน์
เพราะความไม่รู้ถึง กลายเป็นโทษเกิดผิดขึ้น อย่างนี้
ต้องผ่อนผันสั้นยาว เมื่อผู้น้อยมีความผิด
จะทำโทษอย่างไรก็ทำเสีย แต่อย่าทำกิริยาแสดง
ความโกรธให้มีปรากฏต่อไป
คือแสดงตนว่าเกลียดแต่ความผิดเท่านั้น ไม่
ได้เกลียดบุคคล ถ้าผู้ใดทำการถูก
และบังคับการถูกอย่างที่ว่ามานี้ จะมีแต่ความเจริญ
โดยไม่สงสัย
โอวาทนี้ เปรียบดังกระจกสำหรับส่องดูความดีและ
ความชั่ว ความผิดความชอบที่ตนทำมาแล้ว หรือที่ทำ
อยู่หรือที่จะพึงทำต่อไป เพราะเหตุนั้นโอวาทนี้
จึงควรอ่านควรฟังให้ซึมทราบเข้าใจเนื้อความ
โดยละเอียด ถือว่าเป็นครูผู้ตาม
ให้สติแก่ตนทุกเมื่อเทอญ.
...........................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron