วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 15:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเนกขัมมานิสงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงประกาศโดยปริยาย
เป็นอันมากควรฟังควรตรอง แต่จะยกมาแสดง
ในที่นี้พอได้ใจความโดยสังเขป
ดังพระองค์ทรงสอนเบญจวัคคีย์ว่า “เทวเม ภิกฺขเว
อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา” แน่ะ ! ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ
บรรพชิตไม่พึงเสพสภาวธรรมมีเงื่อน ๒ คือ
กามสุขัลลิกานุโยค ตั้งความเพียรทำตนให้ติดเนื่อง
อยู่ด้วยกามสุข ๑ คือ อัตตกิลมถานุโยค ตั้ง
ความเพียรทำตนให้ลำบาก เหน็ดเหนื่อยเปล่า ๑
ธรรมชาติทั้ง ๒ นี้ หีโน เป็นของเลวทราม คมฺโม
เป็นของชาวบ้าน โปถุชฺชนิโก เป็นของปุถุชนคนหนาไป
ด้วยกิเลส อนริโย ใช่ของแห่งพระอริยะ
อนตฺถสญฺหิโต เป็นธรรมหาประโยชน์มิได้ คุมอยู่
ด้วย
แล้วทรงแสดงมัชฌิมาทางกลาง อัฏฐังคิกมรรค
คือ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ว่าเป็นมรรคา
ไม่แวะเวียนเกาะเกี่ยวด้วยลามกธรรมมีเงื่อน ๒ นั้น
ดังนี้
ได้ใจความว่า พระอัฏฐังคิกมรรค
ควรนับว่าเนกขัมมธรรมเป็นคุณเครื่องออก
จากกามแท้ส่วนหนึ่ง เพราะวิธีออกจากกามมีประเภท
เป็น ๒ คือ ออกด้วยกายอย่างหนึ่ง ออกด้วยใจอย่างหนึ่ง
ออกด้วยกายนั้น คือ ถือเพศบรรพชา
เป็นอย่างประเสริฐ เพราะบรรพชาเพศ
เป็นวิเวกห่างไกลจากอารมณ์ เครื่องยั่วยวนจิต ความ
เป็นจริง ผู้ตั้งใจจะงดเว้นหลีกเลี่ยง
กามสุขเมถุนวิรัติ จะถือเพศนุ่งห่ม ดำ แดง เขียว ขาว
เหลือง ใส่เสื้อ ใส่กางเกง หนวดผมยาว สั้น ไม่ต้องนิยม
ชื่อว่าบรรพชิตทั้งสิ้น ใน
ผู้ถือเพศบรรพชิตปฏิญาณตนว่า
เป็นบรรพชิตเหล่านั้น พวกใดยังประกอบกิจ
เกื้อกูลแก่เรือน เนื่องด้วยบุตรภรรยาอยู่
ไม่ควรนับว่าบรรพชิตเลย เพราะ
ไม่มีเนกขัมมคุณเครื่องออกจากกาม ความที่
ได้กายวิเวกนั้นเอง เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตวิเวก คือผู้
เป็นบรรพชิตพรากกายจากกามารมณ์ได้แล้ว
ต้องตรวจตรองให้เกิดศรัทธา วิริยะ ทำสติ สมาธิ
ปัญญา ให้เกิด ถ้าสติสมาธิตั้งได้แล้ว จิตมีอารมณ์
เป็นที่ตั้งแล้ว จิตย่อมพรากจากกามวิตก พยาบาทวิตก
วิหิงสาวิตก นับว่าเป็นสัมมาวิตักโก เป็นเนกขัมมคุณ
เครื่องออกจากกามด้วยใจ
ได้ใจความว่า การประพฤติพรตเมถุนวิรัติได้แล้ว
เป็นเนกขัมมคุณออกจากกามด้วยกาย ทำ
ให้เกิดสมาธิจิตห้ามกามวิตกได้ เป็นเนกขัมมคุณออก
จากกามด้วยใจ ผู้ออกจากกามได้ในชั้นนี้ ไม่ถึง
สมุจเฉทวิรัติ แต่ถึงอย่างนั้นก็ย่อมได้รับผล คือ
ความสุขกายและจิต เพราะมิได้ประกอบกิจเกื้อกูล
ผู้อื่นด้วยการแสวงหาเลี้ยงชีพ และ
เป็นโอกาสอันปลอดโปร่งไม่มีการขัดข้องในกิจที่
จะเจริญสมถะและวิปัสสนา เพื่อสำเร็จศีล
และฌาน เปิดโอกาสทางมาแห่งวิชชาวิมุตติอัน
เป็นที่สุดแห่งเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ เพราะปราศ
จากเวรภัยเสร็จกิจตามอุปนิสัยของผู้ประพฤติพรต
เป็นอานิสงส์แห่งเนกขัมมคุณอย่างยิ่งดังนี้แล
จบเนกขัมมานิสังสกถา.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 15:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ฉลาดในอุบาย
แสดงธรรมปริยายให้
ต้องตามอุปนิสัยของเวไนยสัตว์
โดยวิธีเทศนานัยต่าง ๆ ควรเราพุทธบริษัท
จะตรองตามให้เกิดความเชื่อความเลื่อมใส
จนรู้สึกตนว่าเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ เป็นความชอบยิ่ง
ในการปฏิบัติกิจพุทธศาสนา
และพึงฝึกหัดกายวาจาใจให้เรียบร้อยพ้นทุจริต
มีสัปปุริสธรรมอยู่ในตนทุกเมื่อ สัปปุริสธรรม ๑๔
ประการ ท่านแบ่งเป็น ๒ ภาค ภาคละ ๗
ภาค ๑
๑. ศรัทธา.......... ความเชื่อพุทธศาสนา
๒. หิริ................. ความละอายแก่บาป
๓. โอตตัปปะ..... ความสะดุ้งต่อบาป
๔. พาหุสัจจะ..... ความฟังจำทรงพุทธศาสนามาก
๕. วิริยารัมภะ..... การปรารภความเพียร
๖. สติ................ ความระลึกในสติปัฏฐาน
๗. ปัญญา......... ความรู้ทั่วตามสติปัฏฐาน
ภาค ๒
๑. ธัมมัญญู.......... เป็นผู้มีปรกติรู้ธรรมดา
๒. อัตถัญญู.......... รู้เนื้อความของธรรมดา
๓. อัตตัญญู.......... รู้ตน
๔. มัตตัญญู......... รู้ประมาน
๕. กาลัญญู.......... รู้กาล
๖. ปริสัญญู.......... รู้บริษัท
๗. ปุคคลัญญู...... รู้บุคคล
ท่านผู้ใดได้อ่านได้ฟังได้ตรองได้
ความจริงใจเกิดขึ้นตามที่กล่าวมานี้ จัดเป็นผู้รู้จักตน
ถ้ารู้จักตนแล้วย่อมได้ที่พึ่งแก่ตน
ไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
***********


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 16:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศุลกสถานด่านเมืองสมุทรปรากการ
วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔
กราบเรียนมายัง ท่านเจ้าคุณญาณรักขิต ทราบ
ด้วยตามในหนังสือไตรนิกาย ตอนปัญญาวิภาค หน้า
๒๑ บรรทัด ๑๘ คำว่า “ให้ค้นดูตัวเราให้พบ”
เจ้าคุณหมายความเอาอะไรเป็น “ตัวเรา”
เพราะพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตา”
ธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว ทั้งนั้น ส่วนไหนเป็น “อัตตา”
คือ เป็นตัวเรา ขอเจ้าคุณได้โปรดชี้แจง
ให้เกล้าผมทราบโดยชัดเจนให้พอแก่ “อัตตัญญู”
ว่ารู้จักตัวเราดังเจ้าคุณกล่าว หรือเจ้าคุณจะหมาย
ความตามสมมติว่าขันธ์ ๕ ส่วนอาการของรูป
และนามทั้ง ๒ เป็นตัวเรา ก็คงขัดขวางกัน
กับอนัตตลักขณสูตร จะอ้างว่าเป็นแต่สมมติ ก็ขันธ์
๕ อย่างเดียวจะสมมติให้เป็นตัวเราก็ได้ จะสมมติไม่
ให้เป็นตัวเราก็ได้ อย่างนั้นหรือ เกล้าผมเห็นความ
ยังขัดขวางกันอยู่ เพราะได้ยิงเป้งลงไปแล้วว่า ขันธ์
๕ เป็น “อนัตตา” ตายตัวอยู่ กับที่จะเป็น “อัตตา”
ตัวตนไปไม่ได้แน่ อัตตานุทิฏฐิ ๒๐ บังคับแจ
อยู่ทีเดียว พิเคราะห์ดูตามหนังสือเล่มนี้ของเจ้าคุณ
ก็ไม่เห็นเจ้าคุณชี้จัง ๆ ออกมาว่าอะไรเป็น “อัตตา”
คือตัวเรา เห็นมีแต่เจียดเอา “อัตตา”
คือตัวเรามาแต่ขันธ์ ๕ ทั้งนั้น ตามความในหน้า ๒๑
บรรทัด ๕ คำว่า “รูปและนามทั้ง ๒ อย่างประชุมกัน
เข้าเป็นอันเดียวกัน เรียกว่าตัวตน สัตว์ บุคคล เรา
เขา โดยสมมติ” แล้วก็ขัดคอกันเองในหน้า ๒๑ นั้น
บรรทัด ๑๓ คำว่า “นามรูป ไม่ใช่เรา เราไม่
ใช่นามรูป” ดังนี้ แม้ว่าเจ้าคุณจะหมายเอารูปนามที่มี
อุปาทานเป็นตัวเรา รูปนามที่ไม่มีอุปาทานไม่
ใช่ตัวเรา ก็คงไม่พ้นความหวังใจว่าขันธ์ ๕
เป็นตัวเราไปได้ เพราะเป็นขันธ์ที่มีความยึดและไม่มี
ความยึดเท่านั้น ใครสำคัญผิดจึงเข้าไปยึดเอามั่น
ในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตน ขันธ์ ๕ กับกิเลสนั่นเอง หรือ
เป็นผู้สำคัญผิด วัฏฏะ ๓ มีอยู่ในใครทำใคร
ให้หมุนเวียนไปในสังสารวัฏ ทำขันธ์ ๕ หรือ
ให้หมุนเวียนไป ขันธ์ ๕ ก็เป็นตัววิปากวัฏฏะ
ในที่สุดหนังสือของเจ้าคุณก็เตือนอยู่ว่า รู้จักตน
แล้วย่อมได้ที่พึ่งแก่ตน ใครเป็นผู้รู้จักตน ใคร
ได้ที่พึ่งแก่ตน ใครเป็นผู้ค้นดูตัวเรา ขันธ์ ๕ หรือเป็น
ผู้ค้น เช่นคำเขากล่าวกันอยู่ว่า ใจเราเศร้าหมอง
ใจเราบริสุทธิ์ ใจหรือเป็นเรา เราหรือเป็นใจ
เกล้าผมขอสมมติให้สบาย ขออย่าค้านคำสมมติ
จริงของสมมตินั้นอย่างไร ? เกล้าผมรู้แล้วว่าสิ่ง
ทั้งปวง ต้องสมมติออกมาก่อนจึงจะรู้กันได้
สิ่งตัวยืนให้สมมติเขาตั้งอยู่เป็นปรกติ
ในที่สุดเกล้าผมขอโอกาส โดยความเคารพมา
ยังเจ้าคุณโปรดอภัยโทษให้แก่เกล้าผมด้วย (
โปรดตอบ)
เซ็นชื่อ นายเงิน ผู้ถาม
อยู่บ้านหลวงราชายสาธก ด่านเมืองสมุทรปราการ
เป็นผู้แสวงหาธรรมของจริงที่เป็นแก่นสาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 16:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๔
ถึง นายเงิน อุบาสก
ด้วยจดหมายของท่านลงวันที่ ๑๒ เดือนนี้ ใจ
ความถามถึงอัตตประเภท ตามหนังสือไตรนิกาย
มีเนื้อความหลายประการ ทราบตลอดแล้ว ข้อถาม
นั้นฉันมีความยินดีมาก ซึ่งลงชื่อของตนในหน้าสมุด
นั้น ก็มีความหวังผู้ถามดังท่านนี้เอง ใช่
จะอวดดิบอวดดีอะไร
จะตอบพอได้ใจความ เพราะสิ่งตัวยืนรับสมมตินั้น
ฉันเชื่อว่าท่านซึมดีอยู่แล้ว ด้วยนามรูปเบญจขันธ์
ย่อมรู้อยู่ด้วยกันตามที่มาว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ดังนี้ แต่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตานั้น
จะเป็นของ ๆ ใคร ควรตอบว่าของเรา เราของใคร
เราของสมมุติ สมมุติของใคร สมมุติของวิมุตติ
วิมุตติของใคร วิมุตติของอมตะ อมตะของใคร
ของอมตะ
อีกนัยหนึ่ง อัตตาชี้ไม่ถูก ชี้ได้แต่อนัตตา
ผู้ที่รู้จักอนัตตาจนสิ้นเชิง ตรงตามพุทธภาษิตว่า “
สัพเพ ธัมมา อนัตตา” แล้วอัตตาย่อมปรากฏขึ้นเอง
เพราะเป็นสันทิฏฐิโก
อีกนัยหนึ่ง ถ้าจะหมายความตามอัตตัญญูประเภท
ฉันเข้าใจว่า เมื่อกิเลสเพียงชั้นใดยังมีอยู่ กิเลสชั้น
นั้นแหละเป็นเรา เมื่อสิ้นกิเลสแล้ว ความสิ้นกิเลส
นั้นแหละเป็นเรา
ตอบเพียงเท่านี้เชื่อว่าพอประสงค์แล้ว
พระญาณรักขิต
ป.ล.
คราวนี้จะพิมพ์ขึ้นใหม่ อยาก
จะอธิบายคำตอบปัญหานายเงินต่อสักหน่อย
ที่นายเงินเขาถามยืดยาวนั้นคือเขาสกัดไว้
เขาประสงค์จะให้ตอบเพียงอัตตาคำเดียวเท่านั้น
ที่ตอบเขาไปเพียงเท่านั้น จำเพาะนายเงินเขาได้
ความดีแล้ว ถ้าผู้ถอนอัตตานุทิฏฐิไม่ได้ จะยังไม่
เข้าใจเป็นปัญหาสำคัญมากเกี่ยวด้วยภูมิพระโสดา
อัตตานุทิฏฐินั้น คือเห็นตัวเป็นเบญจขันธ์
เห็นเบญจขันธ์เป็นตัว เห็นตัวอยู่ในเบญจขันธ์
เห็นเบญจขันธ์อยู่ในตัว ขันธ์ละ ๔ ๆ เป็นทิฏฐิ ๒๐
อันนี้แหละเป็นสักกายสมุทัย ทิฏฐิ ๒๐ นี้แหละดับ
เป็นสักกายนิโรธ คำที่ท่านแสดงว่า “อัตตา หิ
อัตตโน นาโถ” ตนเป็นที่พึ่ง แก่ตน หรือคำว่า “
อัตตานุทติ ปัณฑิโต”
บัณฑิตท่านย่อมทรมานตนดังนี้นั้น
ท่านหมายสกลกายนี้เองเป็นตน ส่วนเบญจขันธ์
เป็นแต่อนัตตา ไม่ใช่ตน อัตตาให้หมายสกลกาย
อนัตตาให้หมายเบญจขันธ์ ในที่สุด
ให้เพิกอัตตาออกจากสกลกายอีก ด้วยบทว่า “สัพเพ
ธัมมา อนัตตา” ธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตน คำว่าธรรม
ทั้งสิ้นให้หมายสกลกายทั้งสิ้นไม่ใช่ตน เป็น
ธรรมต่างหาก อัตตานุทิฏฐิก็ดับเท่านั้น
............................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร