วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 21:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

สารบัญ (ลำดับเรื่อง)
๑. สละชีพเพื่อพระพุทธศาสนา
๒. สละชีพธุดงค์เพื่อพระพุทธศาสนา
๓. จงสละชีพเจริญสมณธรรม


๑. สละชีพเพื่อพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นของดีวิเศษยิ่งนักในโลกนี้
ไม่มีเครื่องเปรียบเพราะเป็นหนทางแก้ทุกข์ นับว่า
เป็นแก้วรัตนมงคลของโลกทีเดียว
ผู้ประพฤติก็ต้องเอาชีวิตเป็นที่ตั้ง จึง
สามารถปฏิบัติพระพุทธศาสนาให้เป็นไปได้
คือทรมานชีวิตของตนนั้นเอง ให้เป็นพระพุทธศาสนา
ชื่อว่าสละชีพเพื่อพระพุทธศาสนา
ตามแบบอย่างขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เจ้า
เป็นการปฏิบัติสืบต่อสันตติวงศ์ของพระพุทธองค์เจ้า
และสืบต่ออริยประเพณีของพระอริยเจ้าไว้ไม่
ให้เสื่อมเสีย ทั้งปฏิบัติไม่ให้ผิดและไม่ให้เคลื่อนคลาด
จากพระธรรมวินัยทุกประการ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมศาสดาจารย์ของพวกเราทั้งหลาย
พระองค์ทรงตั้งพระหฤทัยให้เป็นหลักฐานยิ่งนัก
ในพระพุทธศาสนานี้ คือพระองค์ทรงสละกาม สุขสมบัติ
และสละชีวิตได้อย่างเด็ดขาด มอบถวายไว้
ในพระพุทธศาสนา ควรถือเอาเป็นแบบแผนเยี่ยงอย่าง
และผู้ปฏิบัติก็ควรทำตนให้
เป็นหลักฐานเช่นพระพุทธเจ้าองค์นั้นด้วย
ข้อนี้พึงเห็นเรื่องของพระพุทธเจ้า
ในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถา
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย
ในเบื้องต้นแล้วไม่ปล่อยให้ผ่านตาไปเปล่า ๆ
ทรงนำเอามาพิจารณาให้เห็นทั้งเหตุทั้งผล
เป็นทุกข์ที่ผจญสัตว์ทุกถ้วนหน้า แม้ไม่ปรารถนาก็จำต้อง
ได้ประสบทุกคน ไม่มีใครล่วงพ้นไปได้สักคน
พระองค์เองก็จะต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เหมือนกัน
ผู้ที่อดทนอยู่ได้ก็โดยไม่เอื้อเฟื้อ หากเอาความสนุกอย่าง
อื่นหรือความเมามากลบเกลื่อนไปเสีย พอให้แล้วปี
แล้วเดือนแล้ววันไปเท่านั้น
ครั้นทอดพระเนตรเห็นนักบวช ก็ได้สติดีขึ้นว่า
เป็นอุบายแก้ทุกข์
จึงทรงสละราชสมบัติเสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์
ถือเพศบรรพชาแล้วเสด็จเข้าป่าเข้าดงไป
นับตั้งแต่ได้ทรงผนวชแล้วไปตลอดจน
ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาไ้ว้ แล้วเสด็จ
เข้าสู่พระปรินิพพานไป
ไม่ปรากฏว่าพระองค์ทรงลาสิกขากลับคืนเสวยราชสมบัติอีกสักครั้งเลย
เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในพระพุทธศาสนานี้ทีเดียว
ชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงสละชีวิตเด็ดขาดเพื่อพระพุทธศาสนา
ผู้ปฏิบัติทั้งหลายควรนับถือเอาเป็นแบบแผนเยี่ยงอย่าง
และควรสละชีวิตเพื่อปฏิบัติพระพุทธศาสนาตามแบบอย่างพระบรมศาสดาจารย์เจ้า
ให้จงได้ ไม่ควรที่จะท้อถอยเลย
อีกประการหนึ่ง ควรสละชีพเพื่อปฏิบัติพระพุทธศาสนา
ตามแบบแผนเยี่ยงอย่างของพระอริยสงฆ์สาวกเจ้า
เพื่อสืบต่ออริยประเพณีของพระอริยเจ้าไว้ไม่
ให้เสื่อมเสีย ข้อนี้พึงถือเอาเยี่ยงอย่างพระอสีติมหาสาวก
๘๐ พระองค์ ซึ่งเป็นเอหิภิกษุและ
ได้สำเร็จมรรคผลธรรมพิเศษ เป็นองค์อรหันต์ขีณาสพ
แล้วได้รับฐานันดรเป็นเอตทัคคฐาน ทั้งได้เป็นองค์พยาน
ในการประกาศพระพุทธศาสนา
ช่วยพระบรมศาสดาจารย์เจ้า
ให้เจริญวัฒนาการกว้างขวางใหญ่โตมาจนตราบ
เท่าสิ้นพระชนมายุ เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานไป
ไม่ปรากฏว่าพระอสีติมหาสาวกเหล่า
นั้นท่านลาสิกขากลับคืนสู่ฆราวาสอีกสักครั้งเลย
จึงควรนับถือเอาเป็นแบบแผนเยี่ยงอย่าง
เพื่อปฏิบัติแก้ไขตนให้
เป็นไปเช่นอย่างพระอสิีติมหาสาวกเหล่านั้น ก็
เป็นอันสืบต่ออริยประเพณีของพระอริยเจ้าไ้ว้ได้ เรา
ทั้งหลายทุกผู้คน จงสละชีพทำตนให้
เป็นพุทธบริษัทที่ดีที่จริง
สืบต่ออริยประเพณีของพระอริยเจ้าให้จงได้
อีกประการหนึ่ง ควรสละชีพร้อยกรองพระธรรมวินัย
ตามแบบอย่างพระสังคีติกาจารย์เจ้าทั้งหลายที่ท่าน
ได้ปราบปรามภิกษุที่เป็นอธัมมวาที อวินยวาที
กล่าวจ้วงจาบพระพุทธศาสนา แล้วกระทำปฐมสังคายนา
๕๐๐ พระองค์ก็ดี และระงับวัตถุ ๑๐ ประการ
แล้วกระทำทุติยสังคายนา ๗๐๐ พระองค์ก็ดี
ทั้งขับไล่ภิกษุอลัชชีออกจากพระพุทธศาสนา
แล้วกระทำตติยสังคายนา ๑๐๐๐ พระองค์ก็ดี
และมีปรากฏว่า
ได้ส่งสาวกออกไปประกาศพระพุทธศาสนา
ในประเทศต่าง ๆ มีส่งพระมหินทรเถรเจ้าไปในลังกาทวีป
เป็นต้น ตลอดจนได้กระทำจตุตถสังคายนา ๖๘,๐๐๐
พระองค์ก็ดี ภายหลังปรารภถึงอลัชชีภิกษุ
แล้วกระทำปัญจมสังคายนา จารึกอักษรลงในใบลาน
๑,๐๐๐ พระองค์ก็ดี ล้วนมีความประสงค์
จะดำรงพระธรรมวินัยให้ตั้งมั่นถาวรวัฒนาการ
ยังพระพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามมาโดยลำดับ
พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าเหล่าที่กระทำสังคายนามาแล้วทั้ง
๕ ครั้ง ล้วนแต่พระอรหันต์ขีณาสพผู้ตั้งมั่น
ในพระพุทธศาสนาสิ้นทั้งนั้น
ไม่ปรากฏว่าพระอริยสงฆ์สาวกเหล่านั้น
ได้ลาสิกขากลับคืนครอบครองฆราวาสอีกเลย
สละชีวิตถวายพรหมจรรย์ เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในพระพุทธศาสนานี้เอง จึงควรนับถือเอา
เป็นครูบาอาจารย์ของพวกเราเหล่าที่ปฏิบัติพระพุทธศาสนา
อยู่ในทุกวันนี้ พวกเราทุกคน
ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนาควรเอาเป็นคติเยี่ยงอย่าง
แล้วควรทำตนให้เป็น
ผู้สิ้นกิเลสสืบต่ออริยประเพณีของพระอริยเจ้า
เหมือนพระสังคีติกาจารย์เจ้าทั้งหลายเหล่านั้นให้จงได้
ไม่ควรทำชีวิตของเราให้เป็นหมัน.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 21:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒.
สละชีพธุดงค์เพื่อพระพุทธศาสนา
คือ ธุดงควัตร เป็นข้อวัตรที่เลิศประเสริฐวิเศษยิ่งนัก
สำหรับเป็นสัลเลขธรรม คือ
เป็นอุบายเครื่องขัดเกลากองกิเลสให้เบาบาง ทั้ง
เป็นเครื่องฟอกศีลธรรมให้ผ่องใสสะอาดปราศ
จากมลทินโทษ เปรียบเหมือนสบู่ฟอกเหงื่อไคลให้สะอาด
ฉะนั้น และธุดงควัตรนี้
เป็นเครื่องประดับสัตบุรุษพุทธบริษัททั้ง ๔ ผู้ที่ตั้งใจรักษา
ได้บริสุทธิ์เรียบร้อยแล้วให้เป็นคนมีสง่าราศี
มีรัศมีรุ่งเรืองไพโรจน์ยิ่งนัก
เปรียบประดุจเครื่องนุ่งห่มประดับร่างกายให้งดงาม ฉะ
นั้น และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ ปราศจาก
ความมักมาก มักหลาย มักใหญ่ มักโต ทั้ง
เป็นคุณเครื่องระงับกุปปธรรม ความกำเริบของใจ ให้
เป็นอกุปปธรรม ความไม่กำเริบ สมควรแก่การที่
จะเจริญสมถกัมมัฏฐาน วิปัสสนากัมมัฏฐาน ยังศีล สมาธิ
ปัญญา ให้บริบูรณ์ได้ เพราะอาศัยเตรสธุดงค์เป็นวัตร
๑๓ ประการ คือ
หมวดที่ ๑ ปฏิสังยุตต์ด้วยจีวร
๑ ปังสุกูลิกังคะ ..............ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
๒ เตจีวริกังคะ ...............ถือทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร
หมวดที่ ๒ ปฏิสังยุตต์ด้วยบิณฑบาต
๓ ปิณฑปาติกังคะ ...........ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
๔ สปาทานจาริกังคะ .......
ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร
๕ เอกาสนิกังคะ .............ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียว
เป็นวัตร
๖ ปัตตปิณฑิกังคะ ..........ถือฉันเฉพาะในบาตร
เป็นวัตร
๗ ชลุปัจฉาภัตติกังคะ .....
ถือห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร
หมวดที่ ๓ ปฏิสังยุตต์ด้วยเสนาสนะ
๘ อารัญญิกังคะ ............ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
๙ รุกขมูลิกังคะ .............ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร
๑๐ อัพโภกาสิกังคะ .......ถืออยู่ในที่แจ้ง ๆ เป็นวัตร
๑๑ โสสานิกังคะ ...........ถืออยู่ในป่าช้าเป็นวัตร
๑๒ ยถาสันถติกังคะ ......ถือการอยู่
ในเสนาสนะอันท่านจัดให้อย่างไรเป็นวัตร
หมวดที่ ๔ ปฏิสังยุตต์ด้วยอิริยาบถ
๑๓ เนสัชชิกังคะ ..........ถือการนั่งเป็นวัตร
ธุดงควัตรทั้ง ๑๓ ประการนี้ เป็นข้อวัตรของพระพุทธเจ้า
ทรงบำเพ็ญด้วยพระองค์เองมาก่อนแล้วจึง
ได้ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก และได้ทรงสั่งสอนพุทธบริษัท
๔ ให้บำเพ็ญตาม แต่ขาดคราวมานานแล้ว
ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนา เมื่อหวังความพ้นทุกข์ในสงสาร
ต้องเอาชีวิตเป็นที่ตั้ง จึงสามารถรักษาธุดงควัตร
ให้บริบูรณ์สืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้เป็นไปได้
เมื่อพุทธบริษัท ๔ พร้อมใจกันรักษาธุดงควัตรมากขึ้น
พระศาสนาก็เจริญขึ้น เมื่อพุทธบริษัท ๔
รักษาธุดงควัตรน้อยลง พระพุทธศาสนาก็เสื่อมลง
เพราะเหตุว่าพระพุทธศาสนาอยู่กับคน เมื่อคนทำ
ให้เสื่อมก็เสื่อม คนทำให้เจริญก็เจริญ เหตุนี้ชาวเรา
ทั้งหลายจงตั้งใจรักษาธุดงควัตรเถิด ชีวิตของเรา
ทั้งหลายจงฝากไว้ในพระพุทธศาสนาเถิด.
วิธีสละชีพรักษาธุดงค์
ต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง
คือนับแต่วันที่พระพุทธองค์ได้เสด็จออกจากราชสมบัติ
และทรงผนวชแล้วก็อาศัยอยู่ในป่า ถือการอยู่ในป่านั้น
เป็นวัตรทีเดียว ตอนตรัสรู้ก็ทรงตรัสรู้อยู่
ใต้ร่มโพธิพฤกษ์ ทรงถือเอาการอยู่โคนไม้โพธิพฤกษ์นั่น
เป็นวัตร นับตั้งแต่วันตรัสรู้เป็นต้นไป ๔๙ วัน
พระพุทธองค์ทรงเสวยวิมุตติสุขด้วยอริยาบถ ๓ คือ
เดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้าง ยืนทรงรำพึงปรารภหมู่สัตว์
ทั้งหลายเป็นอารมณ์บ้าง เป็นเนสัชชิกธุดงค์
ต่อแต่
นั้นพระพุทธองค์ทรงจาริกเที่ยวบิณฑบาตมาเสวยเวลา
เช้าทุกวัน ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
และเสวยวันละหน ถือการฉันหนเดียวเป็นวัตร
เสวยเฉพาะในบาตร ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร ดังนี้
เป็นต้น ส่วนเครื่องไตรจีวร
พระพุทธองค์ทรงผ้ามหาบังสุกุลเป็นวัตร ทรงอนุมัติ
ให้พระอานนท์เป็นช่าง ตัดเป็นสังฆาฏิ ๒ ชั้น อุตตราสงค์
และอันตรวาสกชั้นเดียว ด้วยขันฑ์ ๕-๗-๙-๑๑ ครบ
ทั้งไตรจีวร ๓ ผืน ถือทรงผ้าไตรจีวร ๓ ผืนเป็นวัตร
ตั้งแต่วันได้ทรงตรัสรู้ตลอดจนวันปรินิพพาน
จึงชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงสละชีพรักษาธุดงค์ดำรงพระพุทธศาสนาตลอดชาติ
ผู้ปฏิบัติทั้งหลายควรนับถือเอาเป็นแบบแผนเยี่ยงอย่าง
และควรสละชีวิตรักษาธุดงควัตร
ตามเยี่ยงอย่างพระบรมศาสดาจารย์เจ้าของเราทั้งหลาย
ให้จงได้ ไม่ควรท้อถอยทอดธุระ
ในการรักษาธุดงควัตรเหล่านี้เสียเลย.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 22:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. จงสละชีพเจริญสมณธรรม
กัมมัฏฐาน สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทั้ง ๒
ประการนี้ เป็นธรรมปฏิบัติที่ดีที่ชอบวิเศษยิ่งนัก
ในพระพุทธศาสนา เรียกว่าพระปฏิบัติสัทธรรม
เป็นธรรมที่ดำเนินไปเพื่อมรรคผลธรรมวิเศษ
ซึ่งเรียกว่าปฏิเวธสัทธรรม ที่นำบุคคลผู้ปฏิบัติให้พ้น
จากทุกข์ในวัฏสงสาร
พระบรมครูเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงสั่งสอนพุทธบริษัท
ทั้ง ๔ เหล่า ด้วยสมถกัมมัฏฐาน ๔๐ ประการ คือ กสิณ
๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อาหารปฏิกูล ๑ ธาตุววัตถาน ๑ อรูปฌาน ๔ เป็น ๗
หมวด รวมเป็น ๔๐ ประการด้วยกัน
และทรงสั่งสอนให้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๓ ประการ
คือ ๑. วิปัสสนานุโลม ให้พิจารณาให้เห็นความเกิดขึ้น
และความสิ้นความเสื่อมไปแห่งสังขาร เป็นต้น ๒.
วิปัสสนาสุญญตวิโมกข์ พิจารณา
ความเสื่อมสูญแห่งสัญญาและสังขาร ๓.
วิปัสสนาวิโมกขปริวัฏฏ์ พิจารณาวิโมกขธรรม
ให้เห็นธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นอนัตตา เป็น
อนิจฺจํ ไม่เที่ยง ทุกขํ เป็นทุกข์ เป็นต้น ฉะนี้
พระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมศาสดาจารย์ของเราทั้งหลาย
พระองค์ทรงเจริญสมถกัมมัฏฐานมาตั้งแต่
ยังทรงพระเยาว์
ครั้งเมื่อพระพุทธบิดาทรงพาไปกระทำแรกนาขวัญ
เสด็จประทับที่ร่มไ้ม้หว้า
พระองค์ทรงนั่งกำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก
น้ำพระทัยสงบลงสู่เอกกัคคตาจิตแน่วแน่เป็นหนึ่งอยู่
ตั้งแต่เวลาเช้าตลอดจนตะวันบ่าย ร่มไม้กว้าก็มิ
ได้เอนเอียงชายหนีไปจากพระองค์เลย ยังร่มเย็นสบายดี
อยู่เท่ากันกับเวลาเช้า ๆ
ด้วยอำนาจปาฏิหาริย์ที่พระองค์ทรงพิจารณาลมหายใจ
เข้า หายใจออก และน้ำพระทัยสงบแน่วแน่เป็นหนึ่งดี
ชื่อว่าพระพุทธองค์
ได้ทรงเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานมาตั้งแต่
ยังทรงพระเยาว์ พวกเราควรเอาเป็นคติตัวอย่าง
แล้วควรสละชีพเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานตามเยี่ยงอย่างพระบรมศาสดาจารย์ของเรา
ทั้งหลายด้วย
ครั้งเมื่อพระองค์จะเสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์
ได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่และคนอาพาธหนัก ได้รับ
ความสังเวชสลดน้ำพระทัยเป็นอย่างยิ่ง
และพระองค์ทรงถือเอาเป็นบุพนิมิตทำในจิตไม่เพิกเฉย
ชื่อว่าพระองค์เจริญอสุภกัมมัฏฐานมาตั้งแต่ยังอยู่
ในฆราวาสราชสมบัติ ข้อนี้เป็นคติดียิ่งนัก ควรถือ
เป็นแบบแผนเยี่ยงอย่าง ไม่ควรประมาททอดธุระเสีย
จงสละชีพเจริญอสุภกัมมัฏฐานเถิด จะบังเกิดมรรค
และผลในเมื่อตนประพฤติตาม
เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย
บังเกิดความสังเวชสลดน้ำพระทัยอย่างยิ่ง และทรงน้อม
เข้ามาพิจารณาในกาย ในจิต ของพระองค์เองว่า
ตัวของพระองค์ก็ยังตกอยู่ในอำนาจแห่งความแก่
ความเจ็บ ความตาย ดังนี้ ชื่อว่าพระองค์
ได้ทรงเจริญมรณสติกัมมัฏฐานมาตั้งแต่
ยังเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่
ในกรุงกบิลพัสดุ์มหานครโน้น ข้อนี้ยิ่ง
เป็นข้อสำคัญอันชาวเราที่ยังไม่พ้นจากทุกข์
ในวัฏสงสารล้วนแต่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความแก่
ความเจ็บ ความตาย ดังนี้ ก็ควรที่
จะสละชีวิตเจริญมรณสติกัมมัฏฐาน
ครั้นเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นนักบวช ก็ได้โอกาสที่
จะเสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ เพื่อ
จะเจริญสมถกัมมัฏฐานยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนกว่าจะ
ได้สำเร็จประโยชน์คุณอันยิ่งใหญ่
กล่าวคือพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
อำนาจที่พระองค์ทรงทำเทวทูตที่ปรากฏแล้วไว้
ในน้ำพระทัยเป็นนิตย์ โดยไม่ทอดธุระและ
ไม่ประมาทสักเวลา พา
ให้พระองค์เสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ได้โดยสะดวก
ไม่มีอุปสรรคขัดข้องสักประการ ยิ่ง
ได้ทอดพระเนตรเห็นพระราหุลราชกุมารประสูติ
จากพระครรภ์ของพระนางพิมพายโสธรา ราชเทวี ในวัน
นั้น ก็ยิ่งเป็นเทวทูตอันใหญ่บันดลบันดาล
ให้พระองค์เสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ได้โดยเร็วยิ่งขึ้น
พระองค์จึงทรงรั้งรออยู่มิได้ จำเป็นที่พระองค์
ต้องเสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์ในคืนวันนั้น
ครั้นเมื่อพระองค์ผนวชแล้ว เสด็จเข้าป่าเข้าดงไปเพื่อ
ได้เจริญสมถกัมมัฏฐาน วิปัสสนากัมมัฏฐานยิ่ง ๆ ขึ้น จึง
ต้องเสด็จไปทดลองและสอบสวนศึกษาดู
ในสำนักอาฬารดาบสรามบุตร
และสำนักอุทกดาบสกาลามโคตร ซึ่งโลกเขานิยมว่าเป็น
ผู้มีญาณเชี่ยวชาญหยั่งรู้หยั่งเห็นในอดีตอนาคตปัจจุบัน
ทรงพิจาณาเห็นว่ายังไม่เป็นผู้ตรัสรู้แจ้งแทงตลอดดังนี้
จึงทรงหลีกหนีเสีย เสด็จไปแต่ตัวพระองค์ผู้เดียว
เมื่อพระองค์ทรงกระทำทุกรกิริยาอยู่นั้น
มีพระปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง ๕ ไปอาศัยอยู่ด้วย โดย
ความหวังใจว่าจะได้รับรสพระสัทธรรมเทศนา
ในเวลาที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วใหม่
ครั้นเมื่อพระองค์ทรงทำทุกรกิริยา ด้วยการกดฟัน
กดเพดาน กลั้นลมหายใจ และอดอาหาร สลบล้มลง
แล้วฟื้นขึ้นมา ทั้ง ๔ ประการนี้ เห็นว่าไม่
ใช่ทางตรัสรู้ก็ทรงงดเสีย และทรงพิจารณาเห็นว่าการทำ
ความเพียรในทางใจเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ จึง
ต้องเสด็จออกไปเที่ยวบิณฑบาตมาฉันวันละหน ดังนี้
ภิกษุเหล่าปัญจวัคคีย์ได้เห็นดังนั้นก็บังเกิด
ความประมาทว่า พระสิทธัตถราชกุมารประพฤติ
เป็นไปเพื่อความมักน้อยแล้วเวียนมาเป็นคนมักมาก จะได้
ความตรัสรู้มาแต่ไหน ดังนี้แล้ว ก็พากันหลีกหนีไป
จากพระองค์
ตอนตรัสรู้ เป็นตอนที่พระองค์ทรงได้ความจริง
ในการเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
คือพระองค์ทรงกำหนดใจเพ่งพิจารณากาย เอาชีวิต
เป็นที่ตั้งทีเดียว จึงตั้งพระสติกำหนดลมหายใจ
หรือกำหนดกายคตาสติ มรณสติ อสุภกัมมัฏฐาน เป็นต้น
ก็กำหนดแต่พอเพียงเป็นอุบาย ยังใจให้สงบเท่านั้น
ตอนที่จะได้ความจริง พระองค์ทรงเอาใจทีเดียว
อธิบายว่า เมื่อพระองค์ทรงกำหนดลมหายใจออก หายใจ
เข้า หายใจสั้น หายใจยาว หายใจหนัก หายใจเบา
รู้ชัดว่าชีวิตตั้งอยู่ได้ด้วยลมหายใจ เมื่อหมดลมหายใจ
แล้วต้องตาย พอได้ความรู้ชัดดังนี้
น้ำพระทัยของพระองค์ก็สงบรวมลงเข้าสู่ภวังค์
พระองค์ทรงตั้งพระสติกำหนดน้ำพระทัยให้ตั้งมั่น
เป็นสมาธิ ไม่ให้หลงง่วงอยู่ในภวังค์อย่างเดียว
ทรงสังเกตเห็นน้ำพระทัยของพระองค์เองเข้าสู่ภวังค์
และออกจากภวังค์แจ้งชัดชำนาญคล่องแคล่ว
แล้วกระทำน้ำพระทัยให้ประชุมรวมลงเป็นหนึ่ง
ในองค์อริยมัคคสมังคี เป็นเอกจิต เป็นเอกมรรค
เห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ มาปรากฏแจ้งประจักษ์
ก็ทรงยกจิตพิจารณาทุกขสัจด้วยการกำหนดกายคตาสติ
ตรวจค้นดูส่วนของกาย แยกออกดูเป็นส่วน ๆ ไป
ทรงพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง ส่วนไหนควรที่
จะเน่า ก็ทรงพิจารณาให้เห็นเป็นเน่าไป ส่วนไหนควรที่
จะเปื่อย และแตกทำลาย ก็ทรงพิจารณาให้เห็นแตก
เห็นทำลายไปตามสภาพความเป็นจริงของร่างกาย
เรียกว่าพระองค์ทรงพิจารณาอสุภกัมมัฏฐานและมรณสติ
อยู่ในตัวเสร็จ ทั้งหมดพระองค์ทรงกำหนดเห็น
เป็นทุกขอริยสัจ คือเป็นตัวเกิด ตัวแก่ ตัวเจ็บ ตัวตายทั้ง
นั้น ทรงได้ความจริงประชุมที่ตั้งใจไว้ตรงอก
ต่อแต่นั้นพระองค์ทรงพิจารณาสมุทัยอริยสัจ คือ
พระองค์ทรงยกวิปัสสนา
ละลายร่างกายแตกทำลายเปื่อยเน่าไปหมดแล้ว
ยังเหลือแต่ดวงใจ พระองค์ก็ทรงกำหนดใจ ตรวจค้นดู
ส่วนของใจที่เป็นวิ็ญญาณ เป็นเวทนา เป็นสัญญา
เป็นสังขาร ยกวิปัสสนาขึ้นพิจารณาละลายแก้ไขเป็น
ส่วนไปเรียกว่าอรูปฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ตามอาการของจิตที่ทรงพิจารณาเห็นละเอียดเข้าไป
เป็นชั้น ๆ และทรงพิจารณาถอยหลังกลับคืนไป
ในปฏิสนธิวิญญาณ ก็ได้ความชัดว่า ขณะเมื่อจิตเคลื่อน
จากภพก่อน ที่จะเข้ามาสู่ปฏิสนธิกำเนิดในภพนี้ แต่ยังไม่
ได้ปฏิสนธิกำเนิด ในระหว่างภพต่อภพ จิตตั้งเป็นฐิติขณะ
อยู่ขณะหนึ่ง
ในขณะจิตอันนั้นเป็นขณะจิตที่ประชุมพร้อมแห่งอวิชชา
ตัณหา อุปาทาน กรรม และกิเลส ทั้งหมดหด
เข้าไปประชุมอยู่ในขณะจิตอันเดียวกัน
มีอวิชชาหุ้มห่อปกปิดกำบังไว้ไม่ให้รู้ตัว อาศัยแต่กรรมนำ
เข้าสู่ปฏิสนธิกำเนิด ขณะเมื่อจิตเข้าสู่ปฏิสนธิกำเนิดนั้น
จิตตั้งภวังค์ขึ้นเป็นตัวภพก่อน
จึงตั้งรูปขันธ์คือร่างกายของเราหุ้มห่อปกปิดไว้ จิต
เข้าอาศัยอยู่ในภวังค์อันประชุมพร้อมแห่งอวิชชา ตัณหา
อุปาทาน กรรม และกองกิเลสทั้งหมด หดเข้าประชุมอยู่
ในภวังค์อันเดียวกัน บังเกิดเป็นตัวภพตัวชาติขึ้น ภวังคจิต
จึงได้แปลว่าจิตเดิม เมื่อจิตอยู่ในภวังค์ตราบใด จิตย่อม
ไม่รู้ตัวตราบนั้น
เหตุนี้ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายจึงไม่รู้ตัว ในขณะที่จิต
เข้าสู่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาก็ไม่รู้ตัว ประสูติ
จากครรภ์มารดาก็ไม่รู้ตัว เจริญวัยใหญ่โตขึ้นก็ไม่รู้ตัว
แก่เฒ่าชราก็ไม่รู้ตัว ผลที่สุดตายก็ไม่รู้ตัว
เพราะจิตเกิดก็เกิดในภวังค์ เมื่อเกิดมาแล้วจิตก็อาศัยอยู่
ในภวังค์ เมื่อเวลาตายจิตก็หดตัวเข้าอยู่ในภวังค์ อัน
เป็นที่ประชุมพร้อมแห่งอวิชชาเป็นต้น
เมื่อเวลาหมดลมหายใจ จิตเคลื่อนไปจากภวังค์ไม่รู้ตัว
อาศัยแต่กรรมที่ดีหรือที่ชั่วตัวที่ทำไว้นำไปสู่ภพนั้น ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 22:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาเห็นสมุทัยเกิด
กับใจแจ้งชัดดังนี้ จึงทรงรวมใจความโดยปัจจยาการ ๑๒
ประการ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ว่าอวิชชาเป็นปัจจัย
ให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณ
เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัย
ให้เกิดอายตนะ อายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะ
เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัย
ให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติเป็นปัจจัย
ให้เกิดชรามรณโสกปริเทวทุกขโทมนัสสุปายาส
ครั้นเมื่อพระองค์ทรงพิจารณา
เป็นอนุโลมปฏิโลมถอยไปถอยมา
ในเรื่องสมุทัยวารแจ้งประจักษ์เป็นปัจจักขสิทธิดังนี้แล้ว
ก็ทรงพิจารณาถอยหลังกลับคืนไปชาติเก่าหนหลัง ตลอด
ทั้งอเนกชาติ มาบรรจบในขณะจิตอันเดียว ชื่อฐิติ
ขณะระหว่างภพต่อภพ เป็นขณะจิตที่บังเกิดขึ้นและตั้ง
อยู่ประชุมแห่งอวิชชาและกองกิเลสอาสวะทั้งหมดหดตัว
เข้ามาประชุมอยู่ในอวิชชาอันเดียว พระองค์
จึงทรงยกเอาอวิชาอันเดียวขึ้นมาพิจารณา ชำระแก้ไข
เมื่อทรงรู้เท่าอวิชชา ชำระอวิชชาให้ระงับดับไปหมดแล้ว
น้ำพระทัยก็ผ่องใสบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ
ชื่อว่าพระองค์ทรงละสมุทัยได้เด็ดขาด
ต่อแต่นั้น พระองค์ทรงพิจารณานิโรธ
คือพระองค์ทรงกำหนดน้ำพระทัยที่ผ่องใสบริสุทธิ์ ปราศ
จากสมุทัยและกองกิเลสอาสวะ
ทรงกระทำน้ำพระทัยที่ผ่องใสบริสุทธิ์นั้นให้แจ้ง
ให้สว่างยิ่งขึ้น กำจัดมืดคือโมหะ
และอวิชชาตัณหาอุปาทานให้ขาดกระเด็น
จากพระบวรสันดาน น้ำพระทัยของพระองค์ก็กลายไป
เป็นดวงพุทโธ ประกอบ
ด้วยปัญญาปรีชาญาณหยั่งรู้หยั่งเห็นในสารพัดเญยธรรม
ทั้งปวง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ กระทำโลกนี้ที่มืดให้แจ้ง
ให้สว่าง จนเป็นอาโลก เรียกว่า อาโลโก อุทปาทิ ดังนี้
ชื่อว่าพระองค์ทรงเข้าถึงพุทธภูมิ บังเกิดเป็นพุทธชาติ
พุทธโคตร พุทธวาส พุทธวงศ์ พุทธประเพณี
เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
พระองค์จึงทรงรวบรวมนิโรธโดย
ความระงับดับไปแห่งปัจจยาการ ๑๒ ประการ ใจความว่า
เมื่ออวิชชาดับไปแล้ว สังขารก็ดับไป
เมื่อสังขารดับไปหมดแล้ว วิญญาณก็ดับไป
เมื่อวิญญาณดับไปหมดแล้ว นามรูปก็ดับไป
เมื่อนามรูปดับไปหมดแล้ว อายตนะก็ดับไป
เมื่ออายตนะดับไปหมดแล้ว ผัสสะก็ดับไป
เมื่อผัสสะดับไปหมดแล้ว เวทนาก็ดับไป
เมื่อเวทนาดับไปหมดแล้ว ตัณหาก็ดับไป
เมื่อตัณหาดับไปหมดแล้ว อุปาทานก็ดับไป
เมื่ออุปาทานดับไปหมดแล้ว ภพทั้งหลายก็ดับไป เมื่อภพ
ทั้งหลายดับไปหมดแล้ว ชาติก็ดับไป เมื่อชาติดับไปหมด
แล้ว ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
ก็ดับไปตามกันหมด นิโรโธ โหตี
ชื่อว่าพระองค์ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เลิศวิเศษในโลกไม่มีความตรัสรู้อื่นวิเศษยิ่งไปกว่า
ต่อแต่
นั้นพระองค์ทรงพิจารณาทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
คือกำหนดข้อปฏิบัติที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญเพียร
ในทางใจ มาตั้งแต่เบื้องต้นจนอวสาน
ในขณะเมื่อพระองค์ทรงกำหนดลมหายใจได้รับ
ความสังเวชสลดน้ำพระทัย ใจสงบลงดำเนินตรงแน่ว
เข้าไปในภวังค์ พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสรู้ชัดว่า
ในขณะเมื่อจิตแห่งตถาคตเข้าสู่ภวังค์นี้ ถ้าตถาคต
ไม่มีสติสัมปชัญญะตามกำหนดรู้อยู่แล้ว
จิตแห่งตถาคตหลงง่วงอยู่ในภวังค์ เป็นที่ตั้งแห่ง
ความตาย อาศัยแต่อวิชชา ตัณหา กรรม นำตถาคต
ให้เกิด แก่ และเจ็บตาย
ในวัฏสงสารตั้งอเนกชาตินับชาติมิถ้วนมาแล้ว
บัดนี้ตถาคตได้มีสติสัมปชัญญะตามกำหนดรู้พร้อม
ไม่ยอมให้จิตหลงง่วงอยู่ในภวังค์ และไม่ยอมให้อวิชชา
ตัณหา กรรม
นำเอาจิตแห่งตถาคตไปตั้งภพตั้งชาติเกิดแก่
และเจ็บตายต่อไปอีกได้แล้ว
ในขณะเมื่อตถาคต
ได้มีสติสัมปชัญญะตามกำหนดรู้พร้อมซึ่งจิตที่เข้าสู่ภวังค์
และตั้งมั่นลงเป็นสมาธิชำนาญคล่องแคล่วแล้วประชุมลง
ในองค์อริยมัคคสมังคี ดำเนินตามวิถีแห่งอริยมรรค
อริยผล เป็นเอกจิต เอกธรรม เอกมรรค
ประชุมพร้อมแห่งมรรค ๘ ประการ ในขณะจิตอันเดียวกัน
ตั้งต้นแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ตลอดโลกุตตรธรรม ดังนี้ ชื่อว่าจิตแห่งตถาคตปลีกหนี
จากวิถีแห่งความตาย ดำเนินตรงต่อวิถีแห่งอมตะ อัน
เป็นหนทางแห่งพระนฤพาน เป็นธรรมอันไม่ตาย
พระพุทธองค์ตรัสรู้ชัดทีเดียวว่า จิตของพระองค์
เป็นอกุปปธรรม ไม่กำเริบ หลุดพ้นพิเศษจากกิเลสอาสวะ
ไม่มีไป ไม่มีมา ไม่มีออก ไม่มีเข้า ไม่มีภพ ไม่มีชาติ
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ต่อไปอีก พระพุทธองค์
จึงทรงเย้ยซึ่งตัณหาได้ว่า อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ
อนิพฺพิสํ คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติปุนปฺปุนํ เป็นต้น
ความว่า ตถาคต เมื่อแสวงหานายช่างเรือนคือตัณหานี้อยู่
ตถาคตย่อมไม่รู้จักตน
ไม่มีปัญญาปรีชาญาณอะไรสักอย่าง
ตัณหานำตถาคตท่องเที่ยวในวัฏสงสาร ทำเรือนชาติ
เกิดแก่เจ็บตายนับชาติมิถ้วนแล้ว ดูกร
นายช่างเรือนคือตัณหา บัดนี้ ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว เรา
ได้เห็นหน้าตา เห็นตัวท่านรอบแล้ว ตั้งแต่นี้สืบต่อไป
ตัวท่านมิอาจนำตถาคตท่องเที่ยว
ในวัฏสงสารทำเรือนชาติต่อไปอีกได้แล้ว
ช่อฟ้าคืออวิชชาตถาคตก็ได้ขจัดแล้ว
ซี่โครงคือกิเลสตถาคตก็ได้หักเสียแล้ว จิตแต่งตถาคต
ถึงซึ่งพระนิพพานเป็นอารมณ์ สิ้นไปแห่งตัณหา
ทั้งหลายหมดแล้ว
เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแจ้งประจักษ์
เป็นปัจจักขสิทธิฉะนี้ พระพุทธองค์จึงทรงย่นย่อใจ
ความแห่งข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ไว้
โดยย่อเพียง ๘ ประการว่า
สัมมาทิฏฐิ ............. ความเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔
เราก็ได้เห็นแล้ว
สัมมาสังกัปโป ....... ดำริชอบ
สัมมาวาจา ............ กล่าววาจาชอบ
สัมมากัมมันโต ...... ทำการงานชอบ
สัมมาอาชีโว .......... เลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายาโม ........ ทำความเพียรชอบ
สัมมาสติ ................ มีความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ............ ตั้งจิตมั่นแน่แน่วชอบ
ประกอบข้อปฏิบัติ ประชุมลงตั้งตรงแน่ว
ในขณะจิตอันเดียวกันแล้วเมื่อใด ย่อมได้
ความตรัสรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมทั้งหลายเมื่อนั้น
จิตย่อมหลุดพ้นพิเศษจากทุกข์ทั้งปวงดังนี้
จึงกำหนดกิจที่จะพึงทำในใจไว้ ๔ ประการ คือ
๑. ปริญเญยยะ ................ พึงกำหนดรู้
๒. ปหาตัพพะ .................. พึงสละเสีย
๓. สัจฉิกาตัพพะ ............. พึงทำให้แจ้ง
๔. ภาเวตัพพะ ................. พึงเจริญให้มาก
พระพุทธองค์ทรงทำกล้าหาญ สละชีวิต
เจริญพระสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ได้หลักฐานแน่นหนา จน
ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นคติตัวอย่าง
ไว้ให้แก่พวกเราทั้งหลายผู้เกิด ณ ภายหลัง ผู้ปฏิบัติ
ทั้งหลายควรถือเอาเป็นแบบแผนเยี่ยงอย่าง
จงสละชีวิตเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ให้ได้หลักฐานแน่นหนาอย่างพระองค์
เพื่อดำรงพระพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามสืบไปเถิด.

:b8: :b8: :b8:

รวมคำสอน “หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม” วัดป่าสาลวัน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43688

ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=19481

ประมวลภาพ “วัดป่าสาลวัน” อ.เมือง จ.นครราชสีมา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=26620


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร