วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 09:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 10:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๙) ธรรม ๙ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรงนั้น
นว อนุปุพฺพวิหารา ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ ๙
ประการ
(ก) ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ผู้เข้า
ถึงปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข
เอกัคคตา แล้วแลอยู่ ๑
(ข) ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ผู้เข้าถึงทุติยฌาน
อันประกอบด้วยปีติ สุข เอกัคคตา แล้วแลอยู่ ๑
(ค) ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ผู้เข้าถึงตติยฌาน
อันประกอบด้วย สุข เอกัคคตา แล้วแลอยู่
(ฆ) จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ผู้เข้าถึงจตุตถฌาน
อันประกอบด้วยเอกัคคตา และอุเบกขา แล้วแลอยู่ ๑
(ง) อนนฺโต อากาโส ผู้ล่วงรูปสัญญา และปฏิฆสัญญา
และนานัตตสัญญาเสียด้วยประการทั้งปวง
มนสิการว่าอากาศไม่มีที่สุด เข้า
ถึงอากาสานัญจายตนสมาบัติ แล้วแลอยู่ ๑
(จ) อนนฺตํ วิญฺญาณํ ผู้ล่วงอากาสานัญจายตนะเสีย
ด้วยประการทั้งปวง มนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สุด แล้ว
เข้าถึงวิญญาณัญจายตนสมาบัติ แล้วแลอยู่ ๑
(ฉ) นตฺถิ กิญฺจิ ผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนะเสีย
ด้วยประการทั้งปวง มนสิการว่าอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี แล้ว
เข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ แล้วแลอยู่ ๑
(ช) เนวสญฺญานาสญฺญายตนํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ
ผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียด้วยประการทั้งปวง แล้ว
เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ แล้วแลอยู่ ๑
(ซ) สญฺญาเวทยิตนิโรธํ
ผู้ล่วงเนวสัญญานาสัญญายนตะเสียด้วยประการทั้งปวง
แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ แล้วแลอยู่ ๑
เมื่อพระอนาคามีบุคคล และพระอรหันต์ ผู้ได้สมาบัติ ๘
แล้วจะเข้าสู่นิโรธสมาบัติ ต้องเข้าปฐมฌานก่อนแล้ว
เข้าทุติยฌานตามลำดับไป จน
ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ แล้วเข้านิโรธ
เป็นที่ดับแห่งสัญญาและเวทนาได้ เมื่อออกจากนิโรธเล่า
ก็เข้าสมาบัติ ๘
เป็นปฏิโลมทวนกลับตั้งแต่เนวสัญญานาสัญญายตนะลงมาตามลำดับจน
ถึงปฐมฌาน เพราะเป็นไปโดยลำดับฉะนี้
จึงชื่อว่าอนุปุพพวิหารทั้ง ๙ ประการ
ธรรมคืออนุปุพพวิหารทั้ง ๙ ประการนี้แหละ
อันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรง
(๑๐) ธรรม ๙ ประการนี้ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงทำให้แจ้งนั้น
นว อนุปุพฺพนิโรธ ธรรมเป็นที่ดับโดยลำดับ ๙ ประการ
ในหมวดนี้ก็กล่าวในอนุปุพพวิหาร ๙ อย่างนั้นเอง
แต่แปลกกันโดยคุณ คือเป็นที่ดับแห่งธรรมเป็นข้าศึกนั้น

(ก) ปฐมํ ฌานํ เมื่อบุคคลเข้าสู่ปฐมฌาน แล้วความหมาย
ในกามารมณ์ก็ดับสนิทไป ๑
(ข) ทุติยํ ฌานํ ผู้เข้าสู่ทุติยฌานแล้ว
วิตกวิจารก็ดับสนิทไป ๑
(ค) ตติยํ ฌานํ ผู้เข้าถึงตติยฌาน แล้วปีติก็ดับสนิทไป ๑
(ฆ) จตุตฺถํ ฌานํ ผู้เข้าสู่จตุตถฌานแล้ว ลมหายใจ
เข้าออกก็ดับสนิทไป ๑
(ง) อากาสานญฺจายตนํ ผู้เข้าสู่อากาสานัญจนยตนะแล้ว
รูปสัญญาก็ดับสนิทไป ๑
(จ) วิญฺญาณญฺจายตนํ ผู้เข้าสู่วิญญาณัญจายตนะแล้ว
ความสัญญาในอากาศก็ดับสนิทไป ๑
(ฉ) อากิญฺจญฺญายตนํ ผู้เข้าสู่อากิญจัญญายตนะแล้ว
ความหมายในวิญญาณัญจายตนะก็ดับสนิทไป ๑
(ช) เนวสญฺญานาสญฺญายตนํ ผู้
เข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว ความสัญญา
ในอากิญจัญญายตนะก็ดับสนิทไป ๑
(ซ) สญฺญาเวทยิตนิโรธํ ผู้เข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
สัญญาเวทนาก็ดับสนิทไป ๑
ธรรมคือ อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้แหละ
อันบุคคลพึงทำให้แจ้ง
เมื่อพระเถรเจ้าแสดงออกซึ่งหมวดธรรมละ ๙ ๆ โดยสิบ
ส่วนจบลงแล้ว จึงนิคมว่า อิติ อิเม นวุติ ธมฺมา ธรรม ๙๐
ประการ ดังที่แสดงมาแล้วนี้ เป็นอยู่อย่างไรก็คงเป็น
อยู่อย่างนั้น ที่จะแปรเป็นอย่างอื่นไปนั้นเป็นอันไม่ได้เลย
ธรรมเหล่านี้อันพระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์
โดยชอบแล้ว ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 10:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตรเถรเจ้า เมื่อจักแสดงธรรมหมวดละ ๑๐ ๆ
โดยสิบส่วน จึงตั้งอุเทศมาติกา ๑๐ ส่วนเหมือนกันฉะนั้น
มีเนื้อความตามบทมาติกานั้นดังนี้
(๑) ธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งว่ามีอุปการะมากนั้น ทสกรณา
ธมฺมา ธรรมคุณความชอบกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการ
(ก) สีลวา โหติ ภิกษุเป็นผู้มีสีลสังวร มักเห็นภัย
ในโทษมีประมาณน้อย ๑
(ข) พหุสฺสุโต โหติ ภิกษุเป็นพหูสูตสดับและเล่าเรียน
จำทรงพุทธวจนะสัตถุศาสนาได้มาก ๑
(ค) กลฺยาณมิตฺโต โหติ ภิกษุคบท่านผู้มีคุณอันงาม
คือท่านผู้มีศีลมีสมาธิปัญญา เป็นมิตร
ด้วยรับโอวาทของท่าน ๑
(ฆ) สุวโจ โหติ ภิกษุ
เป็นคนว่าง่ายสอนง่ายต่อทางธรรมวินัย ๑
(ง) ทุกฺโข โหติ อนลโส ภิกษุเป็นผู้ขยันในกิจการน้อย
ใหญ่ควรแก่สมณะ ไม่เกียจคร้านในกิจของตน
และกิจของเพื่อนพรหมจรรย์ ๑
(จ) ธมฺมกาโม โหติ ภิกษุเป็นผู้รักใคร่ในธรรมและวินัย
ชื่นชมยินดีต่อธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปเสมอ ๑
(ฉ) สนฺตุฏฺโฐ โหติ ภิกษุเป็นผู้มีความยินดีเต็มใจ
ในปัจจัยชาติทั้ง ๔ ตามเกิดตามมี ๑
(ช) อารทฺธวิริโย โหติ ภิกษุเป็นผู้เริ่มความเพียร
ยังสัมมัปปธานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ไม่ท้อถอย ๑
(ซ) สติมา โหติ ภิกษุเป็นผู้มีสติรักษาตน ระลึกการทำ
และการกล่าวที่ล่วงไปแล้วได้นาน ๆ ไม่ฟั่นเฟือน ๑
(ฌ) ปญฺญวา โหติ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา รู้ความสิ้นและ
ความเสื่อม เป็นปัญญากำจัดกิเลสเป็นอริยะไปจากข้าศึก

ธรรมคือนาถกรณธรรม ๑๐ ประการนี้แหละ
มีอุปการะมาก อาจที่จะเป็นที่พึ่งแก่ผู้ประกอบให้เกิด
ให้มีขึ้นได้จริง
(๒) ธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้เกิดให้มีขึ้น
นั้น ทส กิสณายตนานิ กสิณเป็นบ่อเกิดแห่งธรรม
ทั้งหลาย ๑๐ ประการ
(ก) ปฐวีกสิณํ เอาดินเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๑
(ข) อาโปกสิณํ เอาน้ำเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๑
(ค) เตโชกสิณํ เอาไฟเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๑
(ฆ) วาโยกสิณํ เอาลมเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๑
(ง) นีลกสิณํ เอาสีเขียวเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๑
(จ) ปีตกสิณํ เอาสีเหลืองเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๑
(ฉ) โลหิตกสิณํ เอาสีแดงเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๑
(ช) โอทาตกสิณํ เอาสีขาวเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๑
(ซ) อากาสกสิณํ เอาอากาศที่ว่างเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๑
(ฌ) วิญฺญาณกสิณํ เอาวิญญาณเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ ๑
ธรรมคือกสิณ ๑๐ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงให้เกิด
ให้มีขึ้น
(๓) ธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงกำหนดรู้
ด้วยปริญญานั้น ทสายตนานิ อายตนะ ๑๐ ประการ
(ก) จกฺขุวายตนํ อายตนะบ่อเกิดของรูปคือตา ๑
(ข) โสตายตนํ บ่อเกิดของเสียงคือหู ๑
(ค) ฆานายตนํ บ่อเกิดของกลิ่นคือจมูก ๑
(ฆ) ชิวฺหายตนํ บ่อเกิดของรสคือลิ้น ๑
(ง) กายายตนํ บ่อเกิดของสัมผัสคือกาย ๑
(จ) รูปายตนํ บ่อเกิดของจักขุวิญญาณคือรูป ๑
(ฉ) สทฺทายตนํ บ่อเกิดของโสตวิญญาณคือเสียง ๑
(ช) คนฺธายตนํ บ่อเกิดของฆานวิญญาณคือกลิ่น ๑
(ซ) รสายตนํ บ่อเกิดของชิวหาวิญญาณคือรส ๑
(ฌ) โผฏฺฐพฺพายตนํ บ่อเกิดของกายวิญญาณ คือ
เครื่องสัมผัส ๑
ธรรมคืออายตนะภายใน ๕ ภายนอก ๕ เป็น ๑๐ นี้แหละ
เป็นส่วนอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปริญญาทั้ง ๓
(๔) ธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงละเสียนั้น ทส
มิจฺฉตฺตา สภาพที่ผิด ๑๐ ประการ
(ก) มิจฺฉาทิฏฺฐิ ความเห็นผิด ๑
(ข) มิจฺฉาสงฺกปฺโป ความดำริผิด ๑
(ค) มิจฺฉาวาจา กล่าวคำผิด ๑
(ฆ) มิจฺฉากมฺมนฺโต ทำการด้วยกายผิด ๑
(ง) มิจฺฉาอาชีโว เครื่องอาศัยเลี้ยงชีพผิด ๑
(จ) มิจฺฉาวายาโม ความเพียรผิด ๑
(ฉ) มิจฺฉาสติ ระลึกผิด ๑
(ช) มิจฺฉาสมาธิ ตั้งจิตเสมอในที่ผิด ๑
(ซ) มิจฺฉาญาณํ ความหยั่งรู้ผิด ๑
(ฌ) มิจฺฉาวิมุตฺติ ความพ้นวิเศษผิด ๑
ธรรมคือมิจฉัตตะ สภาพผิด ๑๐ ประการนี้แหละ
อันบุคคลพึงละเสีย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 10:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๕) ธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อม
นั้น ทส อกุสลกมฺมปถา คลองแห่งกรรมเป็นอกุศล ๑๐
ประการ
(ก) ปาณาติปาโต ทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป ๑
(ข) อทินฺนาทานํ ถือเอาของที่เขาไม่ให้แล้ว ๑
(ค) กาเมสุ มิจฺฉาจาโร ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ๑
(ฆ) มุสาวาโท กล่าวคำเท็จ ๑
(ง) ปิสุณา วาจา กล่าวคำบดเสียซึ่งความรัก ๑
(จ) ผรุสวาจา กล่าวคำหยาบคาย ๑
(ฉ) สมฺผปฺปลาโป กล่าวคำโปรยประโยชน์ ๑
(ช) อภิชฺฌา เพ่งเฉพาะในกิเลสกามและพัสดุกามของผู้
อื่นด้วยโลภเจตนา ๑
(ซ) พฺยาปาโท คิดแช่งสัตว์อื่นให้ฉิบหาย มีโทสะเป็นมูล

(ฌ) มิจฺฉาทิฏฺฐิ ความเห็นด้วยใจผิด มีโมหะเป็นมูล ๑
ธรรมคืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้แหละ
เป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อม
(๖) ธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษนั้น ทส
กุสลกมฺมปถา คลองแห่งกรรมเป็นกุศล ๑๐ ประการ
(ก) ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากปาณาติบาต ๑
(ข) อทินฺนาทานา เวรมณี เว้นจากอทินนาทาน ๑
(ค) กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

(ฆ) มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากมุสาวาท ๑
(ง) ปิสุณาวาจาย เวรมณี เว้น
จากเปสุญญวาทคำส่อเสียด ๑
(จ) ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากผรุสวาทคำหยาบ ๑
(ฉ) สมฺผปฺปลาปา เวรมณี เว้นจากสัมผัปปลาปวาท คำ
ไม่มีประโยชน์ ๑
(ช) อนภิชฺฌา ไม่เพ่งในพัสดุของผู้อื่นโดยโลภเจตนา ๑
(ซ) อพฺยาปาโท ไม่คิดแช่งสัตว์อื่นให้ฉิบหาย สัมปยุต
ด้วยเมตตา ๑
(ฌ) สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นด้วยใจชอบ ไม่ผิด สัมปยุต
ด้วยปัญญา ๑
ธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้แหละ
เป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษ
(๗) ธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงตรัสรู้ได้
ด้วยยากนั้น ทส อริยวาสา อาวาสธรรมเป็นที่อยู่
ของพระอริยบุคคล ๑๐ ประการ
(ก) ปญฺจงฺควิปฺปหีโน โหติ ภิกษุเป็นผู้ละนิวรณ์ ๕ คือ
กามฉันทะ พยายาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
เสียได้ เป็นอริยวาสที่ ๑
(ข) ฉฬงฺคสมนฺนาคโต ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมแล้ว
ด้วยองค์แห่งอุเบกขาคือ ไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ ๖
มีรูปารมณ์เป็นต้น เป็นอริยวาสที่ ๒
(ค) เอการกฺโข ภิกษุมีธรรมอันหนึ่ง คือสติรักษาทั่วแล้ว
เป็นอริยวาสที่ ๓
(ฆ) จตุปสฺเสโน ภิกษุมีธรรม ๔ ประการเป็นที่อิง
คือโยนิโสก่อนจึงเสพของสิ่ง ๑ อดกลั้นของสิ่ง ๑
เว้นของสิ่ง ๑ บรรเทาของสิ่ง ๑ พร้อมบริบูรณ์อย่างนี้
เป็นอริยวาสที่ ๔
(ง) ปนุณฺณปจฺเจกสจฺโจ ภิกษุได้บรรเทาเสีย คือ
ได้ละคำที่ผิดทั้งปวงสิ้นแล้ว เป็นอริยวาสที่ ๕
(จ) สมวยสฏฺเฐสโน ภิกษุได้สละ
ความแสวงหาเสียสิ้นทุกอย่างแล้ว เป็นอริยวาสที่ ๖
(ฉ) อนาวิลสงฺกปฺโป ภิกษุมีความดำริไม่ขุ่นมัว คือ
ได้ละกามความรักใคร่และพยาบาทวิหิงสาเสียสิ้นแล้ว
เป็นอริยวาสที่ ๗
(ช) ปสฺสทฺธิกายสงฺขาโร ภิกษุได้บรรลุจตุตถฌาน
มีกายสังขาร คือลมหายใจอันระงับแล้ว เป็นอริยวาสที่ ๘
(ซ) สุวิมุตฺตจิตฺโต ภิกษุเป็นผู้มีจิตพ้นวิเศษ
จากราคะโทสะโมหะแล้ว เป็นอริยวาสที่ ๙
(ฌ) สุวิมุตฺตปญฺโญ ภิกษุมีปัญญาหยั่งรู้ชัดว่า
ตนพ้นวิเศษจากสาสวะกิเลสแล้วด้วยดี เป็นอริยวาสที่
๑๐
ธรรมคืออริยวาส ๑๐ ประการนี้แหละ ยากที่บุคคล
จะตรัสรู้ตลอดได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 10:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๘) ธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้บังเกิดขึ้น
นั้น ทส สญฺญา ความหมายรู้จำอารมณ์ มีประเภท
๑๐ ประการ
(ก) อสุภสญฺญา ความสังเกตในสกลกายตนและผู้อื่น
โดยเป็นของไม่งามไม่ดี ๑
(ข) มรณสญฺญา ความสังเกตกำหนดความตาย
เป็นอารมณ์ ๑
(ค) อาหาเร ปฏิกูลสญฺญา ความสังเกตในอาหาร
โดยเป็นของปฏิกูลพึงเกลียด ๑
(ฆ) สพฺพโลเก อนิภิรตสญฺญา
ความสังเกตกำหนดของไม่น่าเพลิดเพลินในโลก
ทั้งปวง ๑
(ง) อนิจฺจสญฺญา ความสังเกตสังขารโดยเป็นของ
ไม่เที่ยง ๑
(จ) อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺญา ความสังเกตในธรรมอัน
ไม่เที่ยง เห็นลงว่าเป็นทุกข์ ๑
(ฉ) ทุกฺเข อนตฺตสญฺญา ความสังเกตในธรรมอัน
เป็นทุกข์ เห็นลงว่าไม่ใช่ตน ๑
(ช) ปหานสญฺญา ความสังเกตในการละอกุศลวิตก
และเหล่าบาปธรรมที่บังเกิดขึ้นนั้นเสีย ๑
(ซ) วิราคสญฺญา ความสังเกตพระนิพพานว่า
เป็นเครื่องคลายกิเลสเครื่องย้อมจิตออกเสียได้ ๑
(ฌ) นิโรธสญฺญา ความสังเกตพระนิพพานโดยคุณ
คือเป็นที่ดับสนิทแห่งกิเลสทั้งปวง ๑
ธรรมคือสัญญา ๑๐ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงให้เกิดให้มีขึ้นในตน
(๙) ธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรง
นั้น ทส นิชฺชิณฺณวตฺถูนิ วัตถุเป็นเครื่องให้ธรรมอัน
เป็นข้าศึกชำรุดเสื่อมถอยออกไปเสีย ๑๐
ประการ
(ก) สมฺมาทิฏฺฐิสฺส มิจฺฉาทิฏฺฐิ นิชฺชิณฺณา โหติ
เมื่อสัมมาทิฏฐิมีแล้ว มิจฉาทิฏฐิก็ชำรุดร่อยหรอไป
เป็นนิชชิณณวัตถุที่ ๑
(ข) สมฺมาสงฺกปฺปสฺส มิจฺฉาทิฏฺฐิ นิชฺชิณฺณา โหติ
เมื่อสัมมาสังกัปโปมีขึ้นแล้ว มิจฉาสังกัปโปก็สิ้นไป
อันนี้เป็นนิชชิณณวัตถุที่ ๒
(ค) สมฺมาวาจาย มิจฺฉาวาจา นิชฺชิณฺณา โหติ
เมื่อสัมมาวาจามีขึ้นแล้ว มิจฉาวาจาก็สิ้นไป อันนี้
เป็นนิชชิณณวัตถุที่ ๓
(ฆ) สมฺมากมฺมนฺตสฺส มิจฺฉากมฺมนฺโต นิชฺชิณฺโณ โหติ
เมื่อสัมมากัมมันตะมีขึ้นแล้ว มิจฉากัมมันตะก็สิ้นไป
อันนี้เป็นนิชชิณณวัตถุที่ ๔
(ง) สมฺมาอาชีวสฺส มิจฺฉาอาชีโว นิชฺชิณฺโณ โหติ
เมื่อสัมมาอาชีวะมีขึ้นแล้ว มิจฉาอาชีวะก็สิ้นไป
เป็นนิชชิณณวัตถุที่ ๕
(จ) สมฺมาวายามสฺส มิจฺฉาวายาโม นิชฺชิณฺโณ
โหติ เมื่อสัมมาวายามะมีขึ้นแล้ว
มิจฉาวายามะก็สิ้นไป เป็นนิชชิณณวัตถุที่ ๖
(ฉ) สมฺมาสติยา มิจฺฉาสติ นิชฺชิณฺณา โหติ
เมื่อสัมมาสติมีขึ้นแล้ว มิจฉาสติก็สิ้นไป
เป็นนิชชิณณวัตถุที่ ๗
(ช) สมฺมาสมาธิสฺส มิจฺฉาสมาธิ นิชฺชิณฺโณ โหติ
เมื่อสัมมาสมาธิมีขึ้นแล้ว มิจฉาสมาธิก็สิ้นไป
เป็นนิชชิณณวัตถุที่ ๘
(ซ) สมฺมาญาณสฺส มิจฺฉาญาณํ นิชฺชิณฺณํ โหติ
เมื่อสัมมาญาณะมีขึ้นแล้ว มิจฉาญาณะก็สิ้นไป
เป็นนิชชิณณวัตถุที่ ๙
(ฌ) สมฺมาวิมุตฺติยา มิจฺฉาวิมุตฺติ นิชฺชิณฺณา โหติ
เมื่อสัมมาวิมุตติมีขึ้นแล้ว
มิจฉาวิมุตติก็ร่อยหรอเสื่อมสูญสิ้นดับไป
เป็นนิชชิณณวัตถุที่ ๑๐
ธรรมคือนิชชิณณวัตถุ ๑๐ ประการนี้แหละ
อันบุคคลพึงให้รู้ยิ่งรู้ตรง
(๑๐) ธรรม ๑๐ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงกระทำ
ให้แจ้งนั้น ทส อเสกฺขา ธมฺมา ธรรมของอเสขบุคคล
๑๐ ประการ
(ก) อเสกฺขา สมฺมาทิฏฺฐิ ปัญญา
ความเห็นชอบของอเสขอริยบุคคล ๑
(ข) อเสกฺโข สมฺมาสงฺกปฺโป
ความดำริชอบของอเสขอริยบุคคล ๑
(ค) อเสกฺขา สมฺมาวาจา
วาจาชอบของอเสขอริยบุคคล ๑
(ฆ) อเสกฺโข สมฺมากมฺมนฺโต
กายกรรมชอบของอเสขอริยบุคคล ๑
(ง) อเสกฺโข สมฺมาอาชีโว
ความเลี้ยงชีพชอบของอเสขอริยบุคคล ๑
(จ) อเสกฺโข สมฺมาวายาโม
ความเพียรชอบของอเสขอริยบุคคล ๑
(ฉ) อเสกฺขา สมฺมาสติ
ความระลึกชอบของอเสขอริยบุคคล ๑
(ช) อเสกฺโข สมฺมาสมาธิ
สัมมาสมาธิของอเสขอริยบุคคล ๑
(ซ) อเสกฺขํ สมฺมาญาณํ
ญาณชอบของอเสขอริยบุคคล ๑
(ฌ) อเสกฺขา สมฺมาวิมุตฺติ
ความพ้นวิเศษชอบของอเสขอริยบุคคล ๑
ธรรมคืออเสขธรรม ๑๐ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงทำให้แจ้ง
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้า ได้แสดงออก
ซึ่งธรรมหมวดละ ๑๐ ๆ โดยสิบส่วนถ้วนตามมาติกา
แล้ว จึงนิคมในท้ายอุเทศว่า อิติ อิเม สตธมฺมา ธรรม
ทั้งหลายร้อยหนึ่ง จริงแท้ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น
พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วโดยชอบ
ด้วยประการฉะนี้แล
ก็แลธรรมทั้งหลายพระสารีบุตรเถรเจ้า ได้แสดง
ในทสุตตรสูตรนี้ จำเดิมแต่เอกปัพพธรรมละหนึ่ง ๆ จน
ถึงทสกปัพพธรรมละสิบ ๆ โดยสิบส่วนเสมอกันทุกปัพพะ
เพราะฉะนั้น การประมวลปัญหา
ในทสกะหมวดธรรมละสิบ ๆ ได้ปัญหาครบร้อยถ้วน
หมวดหนึ่งกับหมวดเก้า ได้ปัญหาร้อย ๑ หมวด ๒
กับหมวด ๘ ได้ปัญหาร้อย ๑ หมวด ๓ กับหมวด ๗
ได้ปัญหาร้อย ๑ หมวด ๔ กับหมวด ๖ ได้ปัญหาร้อย ๑
หมวด ๕ คง ๕๐ จึงได้ประเภทธรรมในทสุตตรสูตรนี้
๕๕๐ ด้วยประการฉะนี้
อิทมโวจายสฺมา สารีปุตฺโต พระสารีบุตรเถรเจ้า
ผู้มีอายุ ได้กล่าวทสุตตสูตรนี้จบลง
โดยไวยากรณ์บาลีเพียงเท่านี้ อตฺตมนา เต ภิกฺขู
ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังธรรมเทศนาอยู่นั้น
ก็มีใจเพลิดเพลินยินดีต่อภาษิตของพระเถรเจ้า รับ
ด้วยเศียรเกล้าแห่งตน ๆ โดยอาการอันเคารพ
ด้วยประการฉะนี้แล.
.............................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร