วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 12:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2014, 21:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กายนคร
(เรียบเรียงตั้งแต่ยัง
เป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี ตรวจพิมพ์ใหม่ เมื่อ
เป็นพระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ. ๒๔๖๘)
กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยาติ.
..........บัดนี้
จะรับประทานวิสัชนาพระธรรมเทศนา
ในพุทธภาษิต ซึ่งมีมาในคัมภีร์พระธรรมบท เพื่อ
ให้สำเร็จประโยชน์การฟังธรรม
แด่พุทธบริษัทตามสมควรแก่อารัพภสมัย เนื้อ
ความตามพุทธภาษิต ซึ่งได้ยกขึ้นเป็นอุเทศนั้นว่า
“กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา” บุคคลพึงรู้แจ้ง
ซึ่งสกลกายของตนนี้ว่า เป็นของไม่คงทนสักปานใด
เปรียบด้วยภาชนะ คือหม้ออันบุคคลทำขึ้น
ด้วยดินเหนียวฉะนั้น
อธิบายว่าธรรมดาภาชนะอันบุคคลทำขึ้น
ด้วยดินเหนียว จะเล็ก
ใหญ่สุกดิบตื้นลึกหนาบางขนาดไหนไม่ว่า ย่อมจะมี
ความแตกความทำลายเป็นที่สุดฉันใด ถึงแม้สกลกาย
ซึ่งนิยมว่าเป็นของ ๆ เรานี้ จะเล็กใหญ่ อ้วน ผอม สูง
ต่ำ ดำ ขาว ปึกแผ่น แน่นหนา หรือบอบบางประการ
ใดก็ตาม คงจะมีความแตกความทำลายเป็นที่สุดฉันนั้น
“นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา” แล้วพึงตั้งจิตนี้ไว้ภาย
ในสกลกาย อันประกอบด้วยทวารทั้ง ๙
ซึ่งมีอาการควรเปรียบด้วยพระนครอันมั่นคง
พรักพร้อม
ด้วยประตูหอรบครบบริบูรณ์สมควร
จะรับข้าศึกได้ อธิบายว่า เจ้าผู้ครองนครก็ดี
แม่ทัพก็ดี เมื่อได้พระนครอันมั่นคง พร้อม
ด้วยค่ายคูประตูหอรบเช่นนั้น
เมื่อมีข้าศึกปัจจามิตรมาติดพระนคร
ก็ควรออกรบกับข้าศึก ถ้าเสียท่วงทีแก่ข้าศึกลง ก็
ให้กลับเข้าพระนครรักษาประตูหอรบไว้
ให้มั่นคง แล้วเข้าพักผ่อน
ทแกล้วทหารบำรุงกำลังสุรโยธา
ให้บริบูรณ์ขึ้นเต็มที่แล้ว ก็ให้ออกรบบ่อย ๆ
อย่าปล่อยให้ข้าศึกมีกำลัง เมื่อมีชัย
ได้แว่นแคว้นของปรปักษ์แล้ว ก็ให้ตั้งกองรักษา
ไว้อย่าให้เสียท่วงทีได้ และอย่ายินดีอยู่แต่เพียงเท่านั้น
ให้เร่งรีบรบชิงชัย จน
ได้ตลอดอาณาจักรของปัจจามิตร
ข้ออุปมาอันนี้แลมีฉันใด พระโยคาวจรผู้เห็นโทษ
ในวัฏสงสาร เมื่อได้สกลกายบริบูรณ์พรักพร้อม
ด้วยทวารทั้ง ๖ มีจักษุทวารเป็นต้น อันพ้นเสียแล้ว
จากพิบัติ คือใบ้บ้าบอดหนวก ชื่อว่าเป็นอัน
ได้พระนครอันดี
“โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน” เมื่อเห็นว่าตน
ได้พระนครอันดีเช่นนั้น ก็พึงตั้งหน้ารบกับ
ด้วยมารกิเลส ด้วยอาวุธคือวิปัสสนาญาณ
เมื่อเห็นว่ากิเลสมีกำลังกล้าสู้ไม่ไหว ก็ให้เข้าภาย
ในพระนครพักผ่อนบำรุงตรุณวิปัสสนา คือสมาธิจิต
ให้มีกำลังกล้า แล้วออกรบบ่อย ๆ
“ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา” เมื่อรบชนะได้เพียงใดก็
ให้ตั้งสังวรอินทรีย์ รักษาไว้อย่าให้เสียแก่ข้าศึกอีก
แต่อย่ายินดีอยู่แต่เพียงเท่านั้น
ข้อสำคัญคือพระนิพพานเป็นสถานะอันข้าศึกรักษาอยู่
โดยรอบ ชื่อว่าอาณาเขตแห่งปรปักษ์ เราจะ
ต้องตั้งใจหักเอาให้จงได้ จึงจะเป็นผู้พ้นภัย มีชัยชนะ
ไม่มีข้าศึกที่จะต่อต้าน ปานประหนึ่งว่า
บรมจักรพรรดิราช มีอุปไมยเช่นเดียวกัน
กับสุรโยธาอันชนะอาณาจักรของปรปักษ์เช่นนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 14:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........บัดนี้ จักอธิบายที่ว่ากายนคร ซึ่งว่ามีข้าศึกตั้ง
อยู่โดยรอบ ข้าศึกนั้นใช่อื่น ได้แก่อุปกิเลส ซึ่ง
เข้าทำใจให้ขุ่นมัว ๑๖ ประการ คือ
โมโห ความหลงไม่รู้จักดีและชั่ว ๑
อหิริกํ ความไม่ละอายต่อกรรมอันเป็นบาป ๑
อโนตฺตปฺปํ ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวต่อกรรมอัน
เป็นบาป ๑
โลโภ ความละโมบเพ่งอยากได้พัสดุของท่านผู้อื่น ๑
ทิฏฺฐิ ความเห็นวิปลาสผิดจากทางชอบธรรม ๑
มาโน ความถือตนว่าตนดีกว่าผู้อื่น ๑
อิสฺสา ความริษยาไม่อยากให้ผู้อื่นดีกว่าตน ๑
มจฺฉริยํ ความตระหนี่หวงแหนวัตถุ ซึ่งเป็นของมี
อยู่แห่งตนเกินประมาณ ๑
กุกฺกุจฺจํ ความรำคาญใจ ๑
ถีนํ ความง่วงเหงา ๑
มิทฺธํ ความหลับ ๑
วิจิกิจฺฉา ความไม่แน่ใจ ๑
มกฺโข ความกลบเกลื่อนคุณของท่าน ๑
ปลาโส ความอวดตน ๑
มายา ความล่อลวงเขา ๑
สาเถยฺยํ ความปิดโทษของตน ๑ เหล่านี้
หรือจะชี้ อกุศลเจตสิก ๑๔ ก็มีอาการดุจเดียวกัน
ชื่อว่ากิเลสมารทั้งสิ้น
เพราะอกุศลธรรมเหล่านี้ เมื่อเข้าสัมปยุตกับจิตผู้
ใดแล้ว ย่อมทำจิตให้เศร้าหมองขุ่นมัว เมื่อสงบไม่
ได้เพียงจิตแล้ว ก็จะซ่านออกมาภายนอก ทำ
ให้กายวิการบ้าง วจีวิการบ้าง แสดง
ให้โลกเห็นว่าประพฤติตนไม่สมควร จะต้อง
ได้รับโทษต่าง ๆ อย่างต่ำที่สุดมีครหานินทาติเตียน
เป็นต้น อย่างสูงได้รับราชทัณฑ์มีจำคุก
และประหารชีวิตเป็นต้น อาจจักทำบุคคล
ผู้ลุอำนาจของตนให้เสียหายได้อย่างนี้ จึงชื่อว่า มาโร
มาร
กิเลสมารเหล่านี้จะว่าเป็นของมี
อยู่ประจำตนทีเดียวก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีในตนทีเดียวก็
ไม่ชอบ เมื่อจะเกิดต้องอาศัยเหตุ คือ ผัสสะ มีอวิชชา
เป็นปัจจัย ส่วนผัสสะนั้น ถ้ามีวิชชาเป็นปัจจัยก็
ไม่เกิดอกุศลเจตสิกเหล่านั้นได้ เพราะเหตุนั้น
ถึงท่านผู้ชำนะมารได้แล้วทั้งหลาย ผัสสะทั้ง ๖
มีจักขุสัมผัสเป็นต้นยังมี แต่ว่าวิชชาเป็นปัจจัยเสียแล้ว
อกุศลเจตสิกจะเข้าสัมปยุตกับจิตของท่านไม่ได้
จิตของท่านจึงผ่องใสอยู่เสมอ
ผู้ตั้งใจจะรักษากายนครให้ราบคาบอยู่เย็นเป็นสุข ก็
จะต้องตั้งหน้ารบข้าศึก คือมารกิเลสเหล่านี้ ไม่ให้
เข้าอาศัยพระนครได้
วิธีรบนั้นก็ไม่ยาก คือ
ให้ปราบพลมารชั้นต่ำชั้นเลวด้วยอาวุธคือศีล
ให้ปราบพลมารชั้นกลางด้วยอาวุธ คือสมาธิ
ให้ปราบจอมพลของมารคือตัวอุปธิ
ด้วยอาวุธคือปัญญา สนามรบ ก็คือประตูพระนคร
ทั้ง ๖ แห่ง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง การ
จะยิงอาวุธทั้ง ๓ ประเภทนั้น ก็เล็งศูนย์ให้ตรง
คือตัวสติสัมปชัญญะ อย่าให้เสียลูกและดินเปล่า คือ
ความไม่แน่นอน เท่านี้ก็จะชนะข้าศึก คือ มารกิเลสได้
เพราะกิเลสเหล่านี้มีกำลังอันน้อย
สู้พระอริยมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญาไม่ได้ ถ้า
จะเทียบอีกชั้นหนึ่ง มารกิเลสนี้เท่ากับพวกปล้นก็ว่า
ได้ เพราะมันข่มเหงได้แต่ชั้นพวกที่โง่เขลาปราศ
จากสติเท่านั้น ถ้าไปถึงท่านที่มีสติสัมปชัญญะแล้ว
มันก็ไม่มีอำนาจอะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 14:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ยังมีข้าศึกอีกประเภทหนึ่ง อันพวกเรา
จะพึงน่าวิตกอย่างยิ่ง คือ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่
พยาธิ ความป่วยไข้ มรณะ ความตาย ข้าศึก ๔ กองนี้
เท่ากับแวดล้อมเราอยู่โดยรอบ นักปราชญ์
ทั้งหลายในโลกซึ่งนิยมกันว่า ผู้มีปัญญาแท้จริง
มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ที่
จะหลีกออกจากเคหะสถาน
ละสุขสมบัติกามารมณ์ประพฤติพรตพรหมจรรย์เสีย
ได้ ก็เพราะเห็นโทษว่าตนตกอยู่ในที่ล้อมแห่งข้าศึกทั้ง
๔ กองเหล่านี้
ถ้าเราเพ่งดูความจริงให้ชัดใจแล้ว ก็จะเห็นชาติ
ความเกิดเป็นตัวทุกข์ เพราะเป็นฐานที่ตั้งแห่งความแก่
ความเจ็บไข้ความตาย และ
ความเศร้าโศกคร่ำครวญทนยากลำบากคับแ
ค้นอัดอั้นตันใจ เต็มไปอยู่ในโลกทุกวันนี้
ก็เพราะชาติทุกข์นี้เองเป็นเหตุ ชราความแก่นี้เล่าก็
เป็นตัวทุกข์สำคัญส่วนหนึ่ง เพราะ
ความแก่เจริญหนักขึ้น ก็แสดงกายวิการต่าง ๆ
คือตามืด หูหนัก ฟันหัก แก้มตอบ
มีกำลังอันทุพพลภาพจะประกอบกิจการงานใด ๆ
ย่อมข้องขัดตัดความต้องการเสียทั่วไป
ได้รับทุกข์โทมนัสอุปายาสต่าง ๆ เหล่านี้ ก็
เพราะชราทุกข์เป็นเหตุ
..........ส่วนพยาธิความป่วยไข้นี้เล่า ก็
เป็นตัวทุกข์สำคัญอีกโสดหนึ่ง เพราะทุกขเวทนาที่
จะปรากฏขึ้นในสกลกาย มีปวดหัวเจ็บท้อง
และร้อนหนาวเป็นต้น ได้รับทุกข์โทมนัสอุปายาสต่าง
ๆ ก็เพราะพยาธิความป่วยไข้เป็นต้นเหตุ
ส่วนมรณะความตายนั้นเล่าก็
เป็นตัวทุกข์สำคัญอีกโสดหนึ่งเหมือนกัน
เพราะชีวิตร่างกายจิตใจเป็นของรัก ความเป็นอยู่
ได้เสมอไป ย่อมเป็นที่พอใจทั่วกัน ความตายเป็นสิ่งที่
ไม่พอใจอย่างเอก เพราะสิ่งที่ไม่พอใจมามีขึ้น ก็
เป็นหน้าที่จะต้องทุกข์โทมนัสคับแค้นใจอยู่เอง
เพราะเหตุนั้น มรณะคือความตายจึงเป็นตัวทุกข์
ส่วนหนึ่ง ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 14:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ถ้าจะว่าไปตามความเป็นจริง ทุกข์ทั้ง ๔ กองนี้
ต้องนับว่า
เป็นของมรดกตกมาแต่บิดามารดาตรงทีเดียว
ความจริงบิดามารดาท่านก็ไม่ชอบ ท่านชอบแต่เกิด
เท่านั้น ส่วนแก่ ไข้ เจ็บ ตาย ท่านเกลียดที่สุด แต่ไฉน
จึงต้องมอบให้แก่เราด้วย น่าพิศวงนักหนา ถ้า
จะว่าท่านรักเราที่สุดก็ชอบ
เพราะท่านทำนุบำรุงเลี้ยงดูเรามาอย่างประณีตที่สุด
ถ้าจะว่าท่านเกลียดเราที่สุดก็ชอบ เพราะท่านรู้อยู่
แล้วว่าความแก่ไข้เจ็บตายมีมาเพราะความเกิด
ต่างว่าบุรุษคนหนึ่งเป็นขี้เรื้อนกุฏฐัง รู้อยู่ว่า
ถ้าเรามีภรรยาเกิดบุตรขึ้น ก็คงจะ
เป็นขี้เรื้อนกุฏฐังเช่นตัวเราเป็นแน่
เราทนวิบากรับผลของกรรมจำเพาะแต่ตัวคนเดียว
ให้สิ้นเรื่องไปดีกว่า อย่าให้โรคนี้ไปติดต่อ
กับบุตรอีกเลย คิดอย่างนี้สู้ทนไม่มีภรรยา ไม่
ให้โรคนั้นติดต่อได้ ถ้าเช่นนั้นควรชมได้ว่าเป็น
ผู้คิดชอบมิใช่หรือ
ก็โรคคือ ความแก่ ไข้ เจ็บ ตาย นี้
จะมิร้ายกว่าโรคกุฏฐังอีกหรือ จะว่าบิดามารดาโง่
หรือฉลาดก็ตามใจ ว่าแต่จำเพาะตัวของเราดีกว่า
คือว่าเราจะยอมให้มรดกอันชั่วร้าย ซึ่งมีอยู่
ในตัวของเรานี้แก่บุตรหรือไม่ เพราะ
ส่วนบิดามารดาเป็นอดีตเสียแล้ว ไม่มีทางที่จะแก้ไข
ได้ แต่ส่วนตัวของเราเป็นปัจจุบันมีทางจะแก้ได้
ข้อนี้ควรผู้มีปัญญาจะพึงตรึกตรอง
หรือจะเป็นไปว่า ถ้าพร้อมใจกัน
ไม่มีสามีภรรยาเสียด้วยกันหมด จะ
ได้ใครสืบประเพณีต่อไปเล่า ข้อนี้ไม่ควรปรารภ
จะไปตรงกับสุภาษิตโบราณว่า “เกี่ยวหญ้ามุงทุ่ง”
นักปราชญ์ทั้งหลายผู้เห็นภัยในวัฏฏะ
ท่านย่อมคิดจำเพาะตนเท่านั้น ถึงแม้โลก
เขาร้องไห้เศร้าโศกทั่วไป ท่าน
ไม่ยอมร้องไห้เศร้าโศกคนเดียว
ก็แต่เกิดแก่เจ็บตายนี้เองเป็นตัววัฏทุกข์ บัดนี้
เราชื่อว่าถูกล้อมอยู่แล้วไม่ใช่หรือ ก็ความเกิด
เป็นเบื้องต้นเราเกิดมาเสียแล้ว ความตาย
เป็นเบื้องปลาย ความแก่ความป่วยไข้แนบอยู่สองข้าง
เราจะออกทางไหน ท่านทั้งหลาย
ผู้เห็นโทษแห่งวัฏทุกข์นี้ ต่างคนต่างคิดหาทางออก
จึงเกิดมีความเห็นต่าง ๆ กัน
พวกหนึ่งชื่อว่าสัสสตาสยะ เห็นว่าความเกิดเป็นของเที่ยง
เคยเกิดเป็นอะไรก็จะต้องเกิดเป็นสิ่งนั้นร่ำไป แต่ตัวก็
ไม่พ้นตาย
อีกพวกหนึ่งชื่อว่าอุจเฉทาสยะ เห็นว่าตายแล้วสูญ
ความรู้ความคิดที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้เป็นแสงของดิน น้ำ
ไฟ ลม ที่ประชุมกันอยู่นี้เท่านั้น ถ้าธาตุทั้ง ๔ แตกจาก
กันเสียแล้ว ความรู้ความคิดก็ดับไปหมด ชื่อว่า
อุจเฉททิฏฐิ แต่ตัวก็จะต้องตาย
อีกพวกหนึ่งชื่อว่า อนุโลมิกขันตยาสยะ มีความเห็น
ไม่แน่นอนตามเขาไปอย่างนั้นเอง จะเห็นว่าตายแล้ว
ต้องเกิดอีกก็ไม่แน่ จะเห็นว่าตายแล้วสูญไปก็ไม่แน่
อดทนไปตามเขาอย่างนั้นเอง ชื่อว่าอนุโลมิกทิฏฐิ
แต่ตัวก็จะต้องตาย
เจ้าทิฏฐิทั้ง ๓ นี้ออกจากที่ล้อมไม่ได้ต้องยอมตาย
ชื่อว่าตายในที่ล้อม ตายในห่วง ตายในสมมติ จึงชื่อว่า
มิจฉาทิฏฐิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 14:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกพวกหนึ่งชื่อว่า ยถาภูตญาณาสยะ มีความเห็นตาม
ความเป็นจริงอย่างไร คือในเบื้องต้นเมื่ออวิชชา
เป็นปัจจัย เห็นว่าความเกิดเป็นอดีต คือเกิดมาเสียแล้ว
ส่วนความแก่ความป่วยไข้ความตายนั้นเป็นอนาคต คือยัง
ไม่มาถึง ตัวซึ่งไม่มีเกิดแก่ป่วยไข้เจ็บตายนี้เป็นปัจจุบัน
จึงเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา ๓ ความเกิดซึ่งเป็นอดีต
เป็นกามตัณหา ตัวที่เป็นปัจจุบันซึ่งไม่มีเกิดแก่เจ็บตายนี้
เป็นภวตัณหา ความแก่ไข้เจ็บตายซึ่งเป็นอนาคตนั้น
เป็นวิภวตัณหา
เมื่อตรองได้ความชัดว่า ตัวของเราตกอยู่
ในอำนาจของตัณหาทั้ง ๓ แน่นอน ตัณหาทั้ง ๓ นี้ ท่าน
ให้ชื่อว่า สมุทัยอริยสัจ เพราะ
ไม่รู้จักเกิดแก่เจ็บตายว่าเป็นตัวสมุทัยนี้เอง
เกิดแก่เจ็บตายจึงกลายเป็นทุกขอริยสัจขึ้น
เมื่อตรวจตรองจนรู้จักหน้าตาของทุกข์
และสมุทัยจนชัดใจแล้วก็จะต้อง
ค้นหาทางละทางวาง หาทางปล่อย หาทางออก
จากตัณหานั้น
จะละจะวางจะปล่อยจะออกทางไหน โบราณท่านว่า
ขึ้นต้นไม้สุดยอดแล้วจะไปทางใด ก็ได้ความว่า ขึ้นทาง
ใดก็ต้องลงทางนั้น มาทางใดก็ต้องกลับทางนั้น
อันตัวของเรานี้มาทางเกิดแก่เจ็บตายฉะนี้แล้ว
จะออกทางอื่นไม่ได้ ต้องออกทางเกิดแก่เจ็บตายนี้เองจึง
จะตรง
เมื่อความแน่นอนเกิดขึ้นแก่ใจฉะนี้แล้ว จะต้องตรวจดู
ความเกิด คำที่ว่าชาติความเกิดนี้ จะหมายความเอา
เป็นแน่ลงในเวลาใด ทำไมจึงจะขีดลงได้ว่านี่แหละ
ชื่อว่าชาติความเกิด เมื่อไม่เข้าใจ ให้ระลึก
ถึงปฏิจจสมุปบาทธรรมที่ว่า “ภวปจฺจยา ชาติ” ภพ
เป็นปัจจัยแก่ชาติดังนี้
คำที่ว่าภพนั้นก็คือ ความเป็น
ความมีแห่งสกลกายอันนี้เอง เมื่อสกลกายมี
อยู่ก็ชื่อว่ามีภพ เมื่อมีภพเป็นแดนเกิดอยู่แล้ว ชาติก็
ต้องหมายเอาที่ภพนี้เอง ก็จะเห็นได้ว่าเรา
เป็นตัวภพตัวชาติ เมื่อภพปรากฏอยู่เพียงใด
ชาติก็ย่อมปรากฏอยู่เพียงนั้น ที่เราบริโภคอาหาร
หรือผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นต้น ก็คือบำรุงชาติ
ความเกิดนั้นเอง ก็จะเห็นได้ว่าเราเกิด
อยู่เสมอทุกขณะลมหายใจเข้าออก
เมื่อชาติความเกิดที่เป็นปัจจุบันซึ่งเป็นของจริงนี้
ปรากฏชัดขึ้นแก่ใจของเราได้ในกาลใด ชาติ
ความเกิดที่เป็นอดีต ซึ่งตนเคยเข้าใจมาแต่ก่อนนั้นก็
จะดับไปในกาลนั้น เมื่อเห็นชาติความเกิดซึ่งเป็นปัจจุบัน
โดยชัดเจนได้แล้ว ก็จะเห็นชราความแก่ พยาธิ
ความป่วยไข้ มรณะความตายซึ่งเป็นปัจจุบัน อยู่ด้วย
กันมีด้วยกัน พลัดพรากจากกันไม่ได้ เมื่อ
ความเห็นอันนี้ชัดใจแล้ว ส่วนชราพยาธิมรณะซึ่งเคย
เข้าใจว่าเป็นอนาคตนั้นก็จะดับไป ยังเหลือ
อยู่แต่ชาติชราพยาธิมรณะ ซึ่งเป็นปัจจุบัน
เป็นตัวมรรค
อาการที่เห็นว่าชาติชราพยาธิมรณะ เป็นอดีตบ้าง
เป็นอนาคตบ้างและเห็นตัวของเราเป็นปัจจุบัน ว่าง
จากชาติชราพยาธิมรณะด้วยนั้นแล เป็นทุกข์ด้วย
เป็นสมุทัยด้วย อาการที่เห็นชาติชราพยาธิมรณะ
เป็นปัจจุบันธรรม คือเป็นตัวเรา หรือตัวเรา
เป็นชาติชราพยาธิมรณะตรงทีเดียว นั่นแล
เป็นนิโรธด้วย เป็นมรรคด้วย
เมื่อมรรคภาวนาอันโยคาวจรเจ้าเจริญให้เกิด
ให้มีขึ้นเต็มที่ เป็นสีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ ขึ้น
ได้ในกาลใด ญาณทัสสนะเป็นเครื่องวินิจฉัยว่า
นี่โลก นี่ธรรม นี่สมมติ นี่บัญญัติ ก็
จะปรากฏขึ้นแก่โยคาวจรเจ้าในกาลนั้น
คือบรรลุวิมุตติธรรมนั้นเอง ชื่อว่าท่านออก
จากชาติชราพยาธิมรณะได้โดยดี ด้วยวิชชา
และวิมุตติ
ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านจึงมีนามว่า เขมี ผู้เกษม
จากโยคะ, อเวรี ผู้หาเวรมิได้, อภโย ผู้หาภัยมิได้, “
ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ” นักปราชญ์ในโลกจึง
ให้เกียรติคุณแก่ท่านจำพวกนั้นว่าบัณฑิต ๆ ดังนี้
ท่านจำพวกนี้ ชื่อว่า ยถาภูตญาณาสยะ คือออก
จากที่ล้อมแห่งข้าศึกด้วยญาณทัสสนะ
คือตัวยถาภูตญาณ เป็นผู้ออกตัวได้ ไม่ยอมตายในสมมติ
เพราะเหตุฉะนั้น จึงเป็นผู้สมควรนักหนา อันพวกเรา
ทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัทจะพึงดำเนินตาม แต่พึง
เข้าใจว่าทางหนีทางสู้เหล่านี้จะปรากฏขึ้นได้
ต้องอาศัยกิจจญาณ คือปฏิบัติ ตัวภาเวตัพพธรรม
เป็นมรรคภาวนา ได้แก่การทำ
ให้พระอัฏฐังคิกมรรคบริบูรณ์ขึ้นเต็มที่แก่ตน
เป็นข้อสำคัญ
..........ได้บรรยายในพุทธภาษิตคาถา
แสดงกายนครตามพุทธภาษิตและอัตโนมัตยาธิบาย
พอเป็นทางแห่งความดำริ แก่พุทธบริษัทโดยสังขิตนัย
ด้วยประการฉะนี้.
................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2014, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สยามนุภาพ เขียน:
“โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน” เมื่อเห็นว่าตน
ได้พระนครอันดีเช่นนั้น ก็พึงตั้งหน้ารบกับ
ด้วยมารกิเลส ด้วยอาวุธคือวิปัสสนาญาณ
เมื่อเห็นว่ากิเลสมีกำลังกล้าสู้ไม่ไหว ก็ให้เข้าภาย
ในพระนครพักผ่อนบำรุงตรุณวิปัสสนา คือสมาธิจิต
ให้มีกำลังกล้า แล้วออกรบบ่อย ๆ

:b8: สาธุ .. ขอโมทนาครับ

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร