ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

พระไตรสรณาคมน์ และสมาธิวิธี : หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=48078
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  สยามนุภาพ [ 02 ก.ค. 2014, 20:09 ]
หัวข้อกระทู้:  พระไตรสรณาคมน์ และสมาธิวิธี : หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

คำปรารภของพระญาณวิศิษฎ์
ในการพิมพ์หนังสือพระไตรสรณคมน์และสมาธิวิธี
หนังสือพระไตรสรณคมน์นี้
เป็นวิธีประกาศปฏิญาณตน
ถึงพระไตรสรณคมน์แสดงตนเป็นพุทธมามกะด้วย ทั้งได้
ใช้เป็น วิธีไหว้พระทุกวันด้วย
ตามระเบียบธรรมเนียมของพระพุทธศาสนา
ในครั้งพุทธกาลก็มีพระบาลีแสดงให้ปรากฎอยู่แล้วว่า
บรรดาประชาชนทั้งหลายผู้มีศรัทธา ความเชื่อ
ความเลื่อมใส ได้ตั้งตนเป็นพุทธบริษัทมาแล้ว ล้วนแต่
ได้ประกาศปฏิญาน ตนถึงพระไตรสรณาคมน์ทั้งนั้น
อุทาหรณ์ข้อนี้พึงเห็นมารดา บิดาแห่งยสกุลบุตร
แลสิงคาลกมาณพเป็นตัวอย่าง วิธีปฏิญาณตน
ถึงสรณะนี้ ดูเหมือนขาดคราว ไม่ได้ใช้ทำกันมานาน
จนพวกอุบาสกอุบาสิกา กลายเป็น มิจฉาทิฎฐิ ถือผิด
เป็นชอบคือ นับถือภูตผีปีศาจ
นับถือเทวดาอารักษ์หลักคุณกันไปหมด ผู้ที่
จะตั้งใจนับถือพระไตรสรณาคมน์จริงๆ ไม่ใคร่มีเลย
ถึงแม้มีก็น้อยที่สุด จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าปรารภ
ถึงพระพุทธศาสนาบ่อยๆ แลได้ช่วยแนะนำสั่งสอน
ให้ประชาชนพลเมืองทั้งหลาย ได้ประกาศ ปฏิญาณตน
ถึงพระไตรสรณาคมน์ แสดงตนเป็นพุทธมามกะก็มาก
มายหลายคนแล้ว แต่ยังไม่มีหนังสือแจกจึง
ได้พิมพ์หนังสือ“พระไตรสรณาคมน์” นี้ขึ้น
อีกประการหนึ่ง
ในพระพุทธศาสนาแสดงว่าบุญกับบาปสงเคราะห์ เข้ากัน
ไม่ได้บุคคลที่ได้ทำบาปทำอกุศาลไว้แล้ว
จะทำบุญแก้บาปก็ แก้ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่
จะละบาปบำเพ็ญบุญนั้น จะต้องทำอย่าง ไรกัน ก็
ต้องตอบได้ง่ายๆ ว่า ไม่มีวิธีอย่างอื่น นอกจากวิธีแก้จิต
เพราะเหตุว่า วิธีแก้จิต เป็นหัวใจแห่งพระพุทธศาสนา แล
เป็นหัวใจ แห่งสมถะ และวิปัสนากัมมัฎฐาน มี
ในพระบาลีก็แสดงให้รู้แจ้งรู้แล้ว ว่า พระพุทธเจ้าก็ดี
พระอริยสงฆ์ สาวกเจ้าก็ดี ล้วนแต่ได้ทรงแก้จิต มาแล้ว
ทั้งนั้น จึงสำเร็จพระโพธิญาณ แลสาวกบารมีญาณ พ้น
จากทุกข์ ในวัฎฎสงสารไปได้ เมื่อบุคคลมาแก้ไข
ซึ่งจิตของตน ให้บริสุทธิ์เรียบร้อย แล้ว
บาปอกุศลที่ตนทำไว้ทั้งหลาย ก็หลุดหายไปเอง
อุทาหรณ์ข้อนี้ถึง เห็นองคุลีมาลเป็นตัวอย่าง
วิธีแก้จิตก็คือวิธีนั่งสมาธินี้เอง แต่ก็
เป็นของที่ขาดคราวมานาน จนผู้ ศึกษาพระพุทธศาสนา
เข้าใจผิดไปหมดว่า หมดคราวหมดสมัย หมด
เขตมรรคผลธรรมวิเศษเสียแล้ว จึงทำตนให้เป็นคนจน
ท้อแท้อปราชัย ไม่สามารถหาอุบาย แก้ไข
ซึ่งจิตของตนต่อไปได้ มีข้อเหล่านี้แล เป็นเหตุทำให้
ข้าพเจ้าได้รับความสังเวชมามาก จึงปรารภ
ถึงพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น คุณหา บุญมาชัย ปลัดขวา
อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น อาราธนาให้ข้าพเจ้า
เรียบเรียงวิธีแก้จิต คือสมาธินี้ขึ้น เชื่อว่าคง
เป็นประโยชน์แก่เหล่าพุทธบริษัท
ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในพระไตร สรณาคมน์
ได้ปฏิบัติสืบไป อุบาสก
อุบาสิกามีศรัทธาบริจาคทรัพย์พิมพ์ ไว้
ในพระพุทธศาสนา
พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

เจ้าของ:  สยามนุภาพ [ 02 ก.ค. 2014, 20:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: หนังสือพระไตรสรณาคมน์และสมาธิวิธี

พระไตรสรณคมน์
วิธีปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์ เป็นพุทธมามกะ
คือ เป็นอุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธสาสนาตลอดชีพ
คำปฏิญาณตนถึงสรณะ เมื่อน้อมตน
เข้ามานั่งเฉพาะหน้าพระสงฆ์ทั้งปวง
แล้วถวายเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น
กราบ ๓ หน นั่งคุกเข่าประณมมือ
เปล่งวาจาว่า
อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ ภควา, พุทธํ
ภควนตํ อภิวาเทมิ. (กราบ ๓ หน)
สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, ธมฺมํ
นมสฺสามิ.. (กราบ ๓ หน)
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สงฺฆํ
นมามิ.. (กราบ ๓ หน)
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ จบ)
ว่าองค์พระไตรสรณาคมน์
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ.
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.
ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. ทุติยมฺปิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.
ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. ตติยมฺปิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.
ปฏิญาณตนว่า
เอสาหํ ภนฺเ ต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ
ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ.
อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ
อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
ทุติยมฺปาหํ ภนเต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ
ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ.
อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ
อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
ตติยมฺปาหํ ภนฺเต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ
ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ.
อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ
อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
แปลว่า
ข้าพเจ้า ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ปริพพานนานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรม
และพระอริยสงฆ์สาวก ว่า
เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ที่นับถือของข้าพเจ้า ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป ตราบ
เท่าสิ้นชีวิตของพระสงฆ์ทั้งปวงจงทรงจำไว้
ซึ่งข้าพเจ้าว่า
เป็นอุบาสก (อุบาสิกา)
ในพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้แลฯ
เจริญพุทธคุณ
อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ,
วิชชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู, อนุตตโร
ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
พุทฺโธ ภควาติ.
(กราบลง หมอบอยู่ว่า)
กาเยน วาจาย ว เจตสา วา, พุทฺเธ
กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ, พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหาตุ อจฺจยนฺ ตํ ,
กาลนตเร สํวริตุ◦ ว พุทฺเธ
(เงยขึ้น) เจริญธรรมคุณ
สวากฺขาโต ภควตา ธมโม,สนฺทิฎฺฐิโก
อกาลิโก เอหิปสฺสิโก,โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ
เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ.
(กราบลง หมอบอยู่ว่า)
กาเยน วาจาย ว เจตสา วา,พุทฺเธ กุกมฺมํ
ปกตํ มยา ยํ,พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหา ตุ อจฺจยนฺ ตํ ,
กาลนตเร สํวริตุ◦ ว ธมฺเม.
(เงยขึ้น) เจริญสังฆคุณ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ,
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สวกสงฺโฆ, ญายปฏิปนฺโน
ภควโต สาวกสงฺโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน
ภควโต สาวกสงฺโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปริสยุคานิ
อฎฺฐปุริสปุคฺคลา, เอส ภควโต
สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย
อญฺชลีกรณีโย, อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ
โลกสฺสาติ
(กราบลง หมอบอยู่ว่า)
กาเยน วาจาย ว เจตสา วา,พุทฺเธ กุกมฺมํ
ปกตํ มยา ยํ,พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหา ตุ อจฺจยนฺ ตํ ,
กาลนตเร สํวริตุ◦ ว สงเฆ.
(เงยขึ้น กราบ ๓ หน)
นั่งพับเพียบ ประณมมือ ฟังคำสั่งสอน
ในระเบียบ วิธีรักษาและปฏิบัติพระไตรสรณคมน์ต่อไป
ผู้ที่ได้ปฏิญาณตนถึงคุณพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์แล้วชื่อว่าเป็นพุทธบริษัท ชาย
เป็นอุบาสก หญิงเป็นอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา
มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
วิธีรักษาพระไตรสรณคมน์ไม่ให้ขาดและไม่ให้เศร้าหมอง
ดังนี้คือ :-
๑. เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเคารพ ๖ ประการ
คือ เคารพในพระพุทธเจ้า ๑ เคารพในพระธรรม ๑
เคารพในพระอริยสงฆ์สาวก ๑ เคารพในความ
ไม่ประมาท ๑ เคารพในไตรสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ
ปัญญา ๑ เคารพในปฏิสันถารการต้อนรับ ๑ ต้องเป็นผู้มี
ความเชื่อ ความเลื่อมใส นับถือพระรัตนตรัย
เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ของตนจริงๆ
ถ้าประมาทเมื่อไรก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
๒. เว้นจากการนับถือพระภูมิต่างๆ คือ
ไม่นับถือภูตผีปีศาจ พระภูมิเจ้าที่ เทวบุตร เทวดา มนต์
คาถา วิชาต่างๆ ต่อไป ถ้านับถือเมื่อไรก็ขาด
จากคุณพระรัตนตรัยเมื่อ นั้น
๓. ไม่เข้ารีตเดียรถีย์ นิครณฐ์ คือ
ไม่นับถือลัทธิ วิธี ศาสนาอื่น ภายนอกพระพุทธ
ศาสนามาเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลีกของตนสืบต่อไป
ถ้านับถือเข้ารีตเดียรถีย์เมื่อไร ก็ขาด
จากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
๔. ไม่นับถือลัทธิศาสนาพราหมณ์ คือ
ไม่ดูไม้ดูหมอ แต่งแก้แต่งบูชา เสียเคราะห์เสียขวัญ
เป็นต้น ถ้านับถือเมื่อไรก็เศร้าหมอง
ในคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
๕. เป็นผู้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เช่น
เชื่อว่า ทำชั่วได้ชั่ว ทำดีได้ดีเป็นต้น ตลอดจนเชื่อ
ความตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่สุด
ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ข้อนี้ต้องเป็นผู้มีสมาธิเสมอ
ถ้าขาดสมาธิเมื่อไรก็ขาดศรัทธาความเชื่อมั่นนั้น
ถ้าขาดศรัทธาความเชื่อเมื่อไรก็เศร้าหมอง
ในคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
วิธีปฏิบัติพระไตรสรณคมน์
ท่านสอนให้ปฏิบัติใจของตนเอง
เพราะคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ทั้งสามนี้สำเร็จด้วยใจ ล้วนเป็นคุณสมบัติของใจทั้งนั้น
ท่านจึงสอนให้ ปฏิบัติใจของตนเอง ให้เป็นคนหมั่น
คนขยัน ไหว้พระทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน
ปฐมํ ยามํ จงฺกามาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ
ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธติ
เวลาก่อนเข้านอน ตอนหัวค่ำให้เดินจงกรม
แล้วทำพิธีไหว้พระ เจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา
ทำจิตสงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิก่อนเข้านอน
อฑฺฒรตฺตํ จงฺกามาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ
ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธต
เวลาเที่ยงคืน นอนตื่นขึ้น
เป็นเวลาที่สงบสงัดดี ให้เดินจงกรม
ทำพิธีไหว้พระเจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา ทำจิตใจ
ให้สงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ จึงนอนต่อไปอีก
ปจฺฉิมํ ยามํ จงฺกามาย นิสชฺชํ
อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธตฯ
เวลาปัจจุสมัย จวนใกล้รุ่ง ให้ลุกขึ้นแต่เช้า
ล้างหน้า เช็ดหน้าเรียบร้อยแล้ว
ทำพิธีไหว้พระเจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา ทำจิต
ให้สงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่
แล้วเดินจงกรมต่อไปอีกจนแจ้ง เป็นวันใหม่
จึงประกอบการงานต่อไป

เจ้าของ:  สยามนุภาพ [ 02 ก.ค. 2014, 20:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: หนังสือพระไตรสรณาคมน์และสมาธิวิธี

๑. นั่งสมาธิวิธี
ให้นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย
เอามือขวาวางทับมือซ้าย อุชุ กายํ ปณิธาย ตั้งกาย
ให้ตรง คือ ไม่ให้เอียงไปข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า
ข้างหลัง และอย่างก้มนัก เช่นอย่างหอยนาหน้าต่ำ
อย่าเงยนัก เช่นอย่างนกกระแต้ (นกกระต้อยตีวิด)
นอนหงายถึงดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง อุชุ จิตฺตํ
ปณธาย ตั้งจิตให้ตรงคืออย่าส่งใจไปทางตา ทางหู
ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และอย่าส่งใจไปข้างหน้า
ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา พึงกำหนดรวมเข้าไว้ในจิตฯ
๒. วิธีสำรวมจิตในสมาธิ
มนสา สํวโร สาธุ สำรวมจิตให้ดี คือ
ให้นึกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรม อยู่ที่ใจ
พระอริยสงฆ์อยู่ที่ใจ นึกอยู่อย่างนี้จนใจตกลงเห็นว่า
อยู่ที่ใจจริงๆ แล้ว ทอดธุระเครื่องกังวลลงได้ว่า ไม่
ต้องกังวลอะไรอื่นอีก จะกำหนดเฉพาะที่ใจแห่ง เดียวเท่า
นั้นจึงตั้งสติกำหนดใจนั้นไว้ นึกคำบริกรรมรวมใจเข้าฯ
๓. วิธีนึกคำบริกรรม
ให้ตรวจดูจิตเสียก่อน ว่าจิตคิดอยู่
ในอารมณ์อะไร ในอารมณ์อันนั้นเป็น อารมณ์ที่น่ารัก
หรือน่าชัง เมื่อติดใจในอารมณ์ที่น่ารัก พึง
เข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียง ไปด้วยความรัก เมื่อติด
ในอารมณ์ที่น่าชัง พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความ
ชัง ไม่ตั้งเที่ยง พึงกำหนดส่วนทั้งสองนั้น ให้เป็นคู่กัน
เข้าไว้ ที่ตรงหน้าซ้ายขวา แล้วตั้งสติกำหนดใจ ตั้งไว้
ในระหว่างกลาง ทำความรู้เท่าส่วนทั้งสอง
เปรียบอย่างถนน สามแยกออกจากจิตตรงหน้าอก ระวัง
ไม่ให้จิตแวะไปตามทางเส้นซ้าย เส้นขวา
ให้เดินตรงตามเส้นกลาง แต่ระวังไม่ให้ไปข้างหน้า
ให้กำหนดเฉพาะจิตอยู่กับที่นั่นก่อน แล้วนึกคำบริกรรม
ที่เลือกไว้ จำเพาะพอเหมาะกับใจ คำใดคำหนึ่ง
เป็นต้นว่า“พุทโธ ธัมโม สังโฆ” ๓ จบ
แล้วรวมลงเอาคำเดียวว่า “พุทโธ ๆ ๆ” เป็นอารมณ์แพ่ง
จำเพาะจิต จนกว่าจิตนั้นจะวางความรักความชัง ได้ขาด
ตั้งลงเป็นกลางจริงๆ แล้วจึง กำหนดรวม
ทวนกระแสประชุมลงในภวังค์ ตั้งสติตามกำหนดจิต
ในภวังค์นั้นให้เห็น แจ่มแจ้งไม่ให้เผลอฯ
๔. วิธีสังเกตจิตเข้าสู่ภวังค์
พึงสังเกตจิตใจเวลากำลังนึกคำบริกรรม
อยู่นั้น ครั้งเมื่อจิตตั้งลงเป็นกลาง วางความรัก ความชัง
ทั้งสองนั้นได้แล้ว จิตย่อมเข้าสู่ภวังค์ (คือจิตเดิม)
มีอาการต่างๆ กัน บางคนรวมผับลง บางคนรวมปึบลง
บางคนรวมวับแวม เข้าไปแล้วสว่างขึ้น ลืมคำบริกรรมไป
บางคนก็ไม่ลืม แต่รู้สึกว่าเบาในกาย เบาในใจที่เรียกว่า
กายลหุตา จิตฺตลหุตา กายก็เบา จิตก็เบา กายมุทุตา
จิตฺตมุทุตา กายก็อ่อน จิตก็อ่อน กายปสฺสทฺธิ จิตฺต
ปสฺสทฺธิ กายก็สงบ จิตก็สงบ กายุชุกตา จิตฺตุชุกตา
กายก็ตรง จิตก็ตรง กายกมฺมญฺญตา จิตฺตกมฺมญฺญตา
กายก็ควรแก่การทำสมาธิ จิตก็ควรแก่การทำสมาธิ
กายปาคุญฺญตา จิตูตปาคุญฺญตา กายก็คล่องแคล่ว
จิตก็คล่องแคล่ว หายเหน็ดหายเหนื่อย หายเมื่อย
หายหิว หายปวดหลังปวดเอว ก็รู้สึกว่าสบายในใจมาก
ถึงเข้าใจว่าจิตเข้าสู่ภวังค์แล้ว ให้หยุดคำบริกรรมเสีย
และวางสัญญาภายนอกให้หมด ค่อยๆ
ตั้งสติตามกำหนดจิตจน กว่าจิตนั้นจะหยุด และตั้งมั่นลง
เป็นหนึ่งอยู่กับที่ เมื่อจิตประชุมเป็นหนึ่ง ก็อย่าเผลอสติ
ให้พึงกำหนดอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะนั่งเหนื่อย นี้แล
เรียกว่าภาวนาอย่างละเอียดฯ
๕. วิธีออกจากสมาธิ
เมื่อจะออกจากที่นั่งสมาธิภาวนา
ในเวลาที่รู้สึกเหนื่อยแล้วนั้น ให้พึงกำหนดจิต ไว้ให้ดี
แล้วเพ่งเล็งพิจารณาเบื้องบนเบื้องปลาย
ให้รู้แจ้งเสียก่อนว่า เบื้องต้นได้ตั้งสติ กำหนดจิตอย่างไร
พิจารณาอย่างไร นึกคำบริกรรมอะไร น้ำใจจึงสงบมาตั้ง
อยู่อย่าง นี้ครั้นเมื่อใจสงบแล้ว ได้ตั้งสติอย่างไร
กำหนดจิตอย่างไร ใจจึงไม่ถอนจากสมาธิ พึงทำ ในใจ
ไว้ว่า ออกจากที่นั่งนี้แล้ว นอนลงก็จะกำหนดอยู่อย่างนี้
จนกว่าจะนอนหลับ แม้ตื่นขึ้นมา ก็จะกำหนดอย่างนี้
ตลอดวันและคืน ยืน เดิน นั่ง นอน เมื่อทำในใจเช่นนี้แล้ว
จึงออกจากที่นั่งสมาธิ เช่นนั้นอีกก็ถึงทำพิธีอย่างที่ทำมา
แล้วฯ
๖. มรรคสมังคี
มรรคมีองค์อวัยวะ ๘ ประการ ประชุมลง
เป็นเอกมรรค คือ ๗ เป็นอาการ องค์ที่ ๘ เป็นหัวหน้า
อธิบายว่า
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ก็คือจิตเป็น
ผู้เห็น
สัมมาสังกับโป ความดำริชอบก็คือจิต
เป็นผู้ดำริ
สัมมาวาจา กล่าววาจาชอบ ก็คือจิตเป็น
ผู้นึกแล้วกล่าว
สัมมากัมมันโต การงานชอบ ก็คือจิตเป็น
ผู้คิดทำการงาน
สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบก็คือจิตเป็น
ผู้คิดหาเลี้ยงชีวิต
สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ก็คือจิต
เป็น ผู้มีเพียรมีหมั่น
สัมมาสติ ความระลึกชอบ
ก็คือจิตเป็นผู้ระลึก ทั้ง ๗ นี้แหละ
เป็นอาการ ประชุมอาการทั้ง ๗ นี้ลงเป็นองค์สัมมาสมาธิ
แปลว่าตั้งจิตไว้ชอบ ก็คือความประกอบการ กำหนดจิต
ให้เข้าสู่ภวังค์ได้แล้ว ตั้งสติกำหนดจิตนั้นไว้
เป็นเอกัคคตา อยู่ในความเป็นหนึ่ง ไม่มีไป ไม่มีมา
ไม่มีออก ไม่มีเข้า เรียกว่า มรรคสมังคี ประชุมมรรคทั้ง
๘ ลงเป็นหนึ่ง หรือ เอกมรรค ก็เรียก
มรรคสมังคีนี้ประชุมถึง ๔ ครั้ง จึงเรียกว่า มรรค ๔
ดังแสดงมาฉะนี้ฯ
๗ นิมิตสมาธิ
ในเวลาจิตเข้าสู่ภวังค์ และตั้งลง
เป็นองค์มรรคสมังคีแล้วนั้น ย่อมมีนิมิตต่างๆ มาปรากฏ
ในขณะจิตอันนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลาย พึงตั้งสติ
กำหนดใจไว้ให้ดี อย่าตกประหม่ากระดาก และอย่างทำ
ความกลัวจนเสียสติและอารมณ์ ทำใจให้ฟุ้งซ่านรั้งใจไม่
อยู่ จะเสียสมาธิ นิมิตทั้งหลาย ไม่ใช่เป็นของเที่ยง
เพียงสักว่า เป็นเงาๆ พอให้เห็นปรากฏ แล้วก็หายไปเท่า
นั้นเองฯ
นิมิตที่ปรากฏนั้น คือ อุคคหนิมิต ๑
ปฏิภาคนิมิต ๑
นิมิตที่ปรากฏเห็น ดวงหทัยของตนใสสว่าง
เหมือนกับดวงแก้ว แล้วยึดหน่วง เหนี่ยวรั้ง
ให้ตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดี เรียกว่า อุคคหนิมิต ไม่
เป็นของน่ากลัวฯ นิมิตที่ปรากฏเห็นคนตาย สัตว์ตาย ผู้
ไม่มีสติย่อมกลัว แต่ผู้มีสติแล้ว ย่อมไม่กลัว ยิ่ง
เป็นอุบายให้พิจารณาเห็นเป็นอสุภะ แยกส่วน แบ่ง
ส่วนของกาย นั้นออกดูได้ดีทีเดียว และน้อม
เข้ามาพิจารณาภายในกายของตน ให้เห็นแจ่มแจ้ง
จนเกิดนิพพิทาญาณ เบื่อหน่ายสังเวชสลดใจ ยังน้ำใจ
ให้ตั้งมั่นเป็นมาธิมีกำลังยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฏิภาคนิมิตฯ
๘.วิธีเดินจงกรม
พึงตั้งกำหนดหนทางสั้นยาวแล้วแต่
ต้องการ ยืนที่ต้นทาง ยกมือประนม ระลึก
ถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้ง
ความสัตย์ อธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะตั้งใจปฏิบัติ เพื่อ
เป็นปฏิบัติบูชา คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับทั้ง
พระธรรมและพระอริยสงฆ์สาวก ขอให้น้ำใจของข้าพเจ้า
สงบระงับตั้งมั่น เป็นสมาธิ มีปัญญาเฉลียวฉลาด
รู้แจ้งแทงตลอด
ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการเทอญ
แล้ววางมือลง เอามือขวาจับมือซ้ายไว้ข้างหนึ่ง
เจริญพรหมวิหาร ๔ ทอดตาลงเบื้องต่ำ ตั้งสติกำหนดจิต
นึกคำบริกรรม เดินกลับไปกลับมา จนกว่า จิต
จะสงบรวมลงเป็นองค์สมาธิ ในขณะที่จิตกำลังรวมอยู่
นั้น จะหยุดยืนกำหนด จิต ให้รวมสนิทเป็นสมาธิก่อน
จึงเดินต่อไปอีกก็ได้ ในวิธีเดินจงกรมนี้
กำหนดจิตอย่างเดียวกันกับนั่งสมาธิ แปลกแต่
ใช้อิริยาบถเดินเท่านั้นฯ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่
ทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า การทำความเพียรคือ ฝึกหัดจิต
ในสมาธิวิธีนี้ มีวิธีที่จะต้องฝึกหัดในอิริยาบถทั้ง ๔ จึง
ต้องนั่งสมาธิบ้าง เดินจงกรมบ้าง ยืนกำหนดจิตบ้าง
นอนสีหไสยาสน์บ้าง เพื่อให้ชำนาญคล่องแคล่ว
และเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอฯ
๙.วิธีแก้นิมิต
มีวิธีที่จะแก้นิมิตได้เป็น ๓ อย่างคือ
วิธีที่ ๑ ทำความนิ่งเฉย
คือ พึงตั้งสติกำหนดจิตนั้นไว้ให้มั่นคง ทำ
ความสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ในสมาธิ แม้มีนิมิตอะไรๆ
มาปรากฏ หรือรู้เห็นเป็นจริงในจิตอย่างไร ไม่
ต้องหวั่นไหวไป ตาม คือ ไม่ต้องส่งจิตคิดไป จะเป็น
ความคิดผิด ที่เรียกว่า จิตวิปลาส แปลว่า
ความคิดเคลื่อนคลาด แปลกประหลาดจากความจริง นิ่ง
อยู่ในสมาธิไม่ได้ ให้ บังเกิดเป็นสัญญา
ความสำคัญผิดที่เรียกว่า สัญญาวิปลาส แปลว่า
หมายมั่น ไปตามนิมิต เคลื่อนคลาดจากจิตผู้เป็นจริง ทั้ง
นั้น จนบังเกิดถือทิฎฐิมานะขึ้นที่เรียก ว่า ทิฎฐิวิปลาส
แปลว่า ความเห็นเคลื่อนคลาดจากความเป็นจริง
คือเห็นไปหน้าเดียว ไม่แลเหลียวดูให้รู้เท่า ส่วนใน
ส่วนนอก ชื่อว่าไม่รอบคอบ เป็นจิตลำเอียง ไม่เที่ยงตรง
เมื่อรู้เช่นนี้จึงไม่ควรส่งจิตไปตาม เมื่อ
ไม่ส่งจิตไปตามนิมิตเช่นนั้นแล้ว ก็ให้คอยระวัง ไม่ให้จิต
เป็นตัณหาเกิดขึ้น คือไม่ให้จิตดิ้นรนยินดี อยากเห็นนิมิต
นั้น แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นก็ดี หรือยินร้ายอยากให้นิมิต
นั้นหายไปก็ดี หรือแม้ไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น
ซึ่งนิมิตที่น่ากลัวก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้ เรียกว่า ตัณหา
ถ้าเกิดมีในจิต แต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็
ให้รีบระงับดับเสีย คือถอนความอยาก และความ
ไม่อยากนั้นออกเสีย เมื่อ นิมิตมีมา ก็อย่ายินดี
เมื่อนิมิตหายไป ก็อย่ายินร้าย หรือเมื่อนิมิตที่น่ากลัวมีมา
ก็อย่าทำความกลัว และอย่าทำความคดโกง อยาก
ให้หายไปก็ไม่ว่า ไม่อยากให้หายไปก็ไม่ว่า อยากเห็นก็
ไม่ว่า ไม่อยากเห็นก็ไม่ว่า ให้เป็น สันทิฏฐิโก คือเห็นเอง
อยากรู้ก็ไม่ว่า ไม่อยากรู้ก็ไม่ว่า ให้เป็นปัจจัตตัง
รู้จำเพาะกับจิต ตั้งจิตไว้เป็นกลางๆ แล้วพึงทำความรู้เท่า
อยู่ว่า อันนี้เป็นส่วนจิต อันนั้นเป็นส่วนนิมิต แยกส่วนแบ่ง
ส่วน ตั้งไว้เป็นคนละอัน รักษาเอาแต่จิต กำหนดให้ตั้งอยู่
เป็นฐีติธรรมเที่ยงแน่ว ทำความรู้เท่าจิตและนิมิต
ทั้งสองเงื่อน รักษาไม่ให้ สติเคลื่อนคลาดจากจิต ทั้งไม่
ให้เผลอสติได้เป็นดี สติมา ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ วิเนยฺย
โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ถอนอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้แล้ว ก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในวินัย เมื่อ
ประกอบข้อปฏิบัติอันนี้อยู่อย่างนี้ สติก็ตั้งมั่น
จิตก็ตั้งมั่นประชุมกันเป็นสมาธิดังนี้ เรียกว่า
ญาตปริญญา แปลว่า รู้เท่าอารมณ์ฯ
วิธีที่ ๒ ตรวจค้นปฏิภาคนิมิต
คือ เมื่อเห็นว่าจิตมีกำลังประชุมกันอยู่
เป็นปึกแผ่นแน่นหนาดีแล้ว พึงฝึกหัดปฏิภาคนิมิต
ให้ชำนาญ คือ เมื่อเห็นรูปนิมิตมาปรากฏในตา ในจิต
เห็นเป็นรูปคน เด็กเล็ก หญิงชาย หนุ่มน้อย บ่าวสาว
หรือแก่เฒ่าชรา ประการใดประการหนึ่งก็ตาม
แสดงอาการแลบลิ้นปลิ้นตา หน้าบิดตาเบือน อาการ
ใดอาการหนึ่งก็ตาม ให้รีบพลิกจิตเข้ามา กลับตั้งสติ
ผูกปัญหาหรือทำในใจก็ได้ว่า รูปนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง
จะแก่เฒ่าชราต่อไปหรือไม่ เมื่อนึกในใจกระนี้แล้ว
ถึงหยุด และวางคำที่นึกนั้นเสีย กำหนดจิตพิจารณา
นิ่งเฉยอยู่ จนกว่าจะตกลง และแลเห็นในใจว่า
เฒ่าแก่ชราได้เป็นแท้ จึงรีบพิจารณา
ให้เห็นแก่เฒ่าชราหลังขดหลังโข สั่นทดๆ ไป
ในขณะปัจจุบันทันใจนั้น แล้วผูกปัญหาถามดูทีว่า “ตาย
เป็นไหมเล่า”
หยุดนิ่งพิจารณาอยู่อีก จนกว่า
จะตกลงเห็นในใจได้ว่า ตายแน่ตายแท้ไม่แปรผัน
จึงรีบพิจารณาให้เห็นตายลงไปอีกเล่า
ในขณะปัจจุบันทันใจนั้น “เมื่อตายแล้ว
จะเปื่อยเน่าตายทำลายไปหรือไม่” หยุดนิ่งพิจารณาเฉย
อยู่อีก “จนกว่าจิตของเราจะตกลงเห็นว่า
เปื่อยเน่าแตกทำลายไปหรือไม่” หยุดนิ่งพิจารณา เฉย
อยู่อีก จนกว่าจิตของเราจะตกลงเห็นว่า
เปื่อยเน่าแตกทำลายไปได้แท้แน่ในใจ ฉะนี้แล้ว ก็
ให้รีบพิจารณาให้เห็น เปื่อยเน่า แตกทำลาย
จนละลายหายสูญลงไป เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ
ไปตามธรรมดา ธรรมธาตุ ธรรมฐีติ ธรรมนิยามะ
แล้วพลิกเอาจิต ของเรา กลับทวน
เข้ามาพิจารณา กายในกายของเราเอง ให้เห็นลงไป
ได้อย่างเดียวกัน จนกว่าจะตกลง และตัดสินใจได้ว่า
ร่างกายของเรานี้ ก็แก่เฒ่าชรา ทุพพลภาพแตกตาย
ทำลาย เปื่อยเน่าไปเป็นเหมือนกัน
แล้วรีบตั้งสติพิจารณา เห็นเป็นแก่เฒ่าชราดูทันที และ
พิจารณาให้เห็น ตายลงไปในขณะปัจจุบัน แยกส่วนแบ่ง
ส่วนออกดูให้เห็นแจ้งว่า หนังเป็นอย่างไร เนื้อ
เป็นอย่างไร กระดูกเป็นอย่างไร ตับไตไส้พุงเครื่องใน
เป็นอย่างไร เป็นของงาม หรือไม่งาม ตรวจดูให้ดี
พิจารณาให้ละเอียด จนกว่าจะถอนความยินดียินร้ายเสีย
ได้ แล้วพิจารณาให้เห็นเปื่อยเน่าผุพังลงถมแผ่นดินไป
ภายหลังกลับพิจารณาให้เห็นเป็นคืนมาอีก แล้วฝึกหัดทำ
อยู่อย่างนี้จนกว่าจะชำนาญ หรือยิ่งเป็นผู้มีสติ
ได้พิจารณาให้เนื้อ หนัง เส้น เอ็น และเครื่องในทั้งหลาย
มีตับ ไต ไส้ พุง เป็นต้น เปื่อยเน่าผุพังลงไปหมดแล้ว
ยังเหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า จึงกำหนดเอาร่างกระดูกนั้น
เป็นอารมณ์ ทำไว้ในใจ ใคร่ครวญให้เห็น แจ้งอยู่เป็นนิจ
จนกว่าจะนับได้ทุกกระดูกก็ยิ่งดี เพียงเท่านี้ ก็
เป็นอันแก้นิมิตได้ดีทีเดียวฯ
คราวนี้ถึงทำพิธีพิจารณาเป็น อนุโลม
ถอยขึ้นถอยลง คือตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดีแล้ว
เพ่งพิจารณาให้เห็นผมอยู่บนศีรษะมีสีดำ
สัณฐานยาว ก็จะหงอกขาวลงถม แผ่นดินทั้งนั้น
และพิจารณาให้เห็นขน ซึ่งเกิดตามชุมชนตลอดทั่ว
ทั้งกาย นอกจากฝ่ามือ ฝ่าเท้า ก็จะลงถมแผ่นดินเหมือน
กัน
พิจารณาเล็บที่อยู่ปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ
ให้เห็นเป็นของ ที่จะต้องลงถมแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น
พิจารณาฟันซึ่งอยู่ในปากข้างบน ข้างล่าง
ให้เห็นแจ้งว่า ได้ใช้เคี้ยวอาหารการกิน อยู่เป็นนิจ แต่ก็
จะต้องลงถมแผ่นดิน เหมือนกัน
คราวนี้พิจารณาหนังเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหลังหุ้ม อยู่เป็นที่สุดรอบ
ยังชีวิตนี้ให้ตั้งอยู่ได้แล้วเป็นไป ถ้าถลกหนังนี้ออกหมด
แล้วก็ต้องตาย ตายแล้ว ต้องถมแผ่นดิน พิจารณาเห็น
ความจริงฉะนี้
แล้วเลิกหนังออกวางลงไว้ที่พื้นดิน
พิจารณาเส้นเอ็นให้เห็นแจ้งว่า เส้นเอ็นทั้งหลาย
รัดรึงกระดูกไว้ให้ติดกันอยู่ เมื่อเลิกเส้นเอ็นนี้ออกหมด
แล้ว กระดูกก็จะหลุดจากกัน ผุพังลงถมแผ่นดินทั้งสิ้น
แล้วกำหนดเลิกเส้นเอ็นนี้ออกเสีย กอง
ไว้ที่พื้นดิน พิจารณาร่างกระดูกให้เห็นแจ้งว่า กระดูก
ในร่างกายนี้มีเป็นท่อนๆ
เบื้องต้นแต่กระดูกกะโหลกศีรษะลงไป เบื้องบนแต่
กระดูกพื้นเท้าขึ้นมา เห็นได้กระจายสมควร
แล้วเพ่งเล็งพิจารณาดูเครื่องในทั้งหลาย
ให้เห็นว่า ปอดอยู่ที่ไหน ม้ามอยู่ที่ไหน ดวงหฤทัย
อยู่ที่ไหน ใหญ่น้อยเท่าไร เห็นตับไต ไส้พุง อาหารใหม่
อาหารเก่า เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน มีรูปพรรณสัณฐาน
เป็นอย่างไร มีสีสันวรรณะเป็นไฉน เครื่องในทั้งปวงนี้
เป็นที่ประชุมแห่งชีวิตก็จริง แต่ก็จะต้องถม แผ่นดิน
เมื่อพิจารณาเห็นฉะนี้แล้วจึงกำหนดให้ขาดตกลงไปกอง
ไว้ที่พื้นดิน ยังเหลือแต่ร่างกระดูก
จึงพิจารณาดูกระดูกกะโหลกศีรษะ
เป็นลำดับลงมา กระดูกคอ กระดูก แขน กระดูกหัวไหล่
กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกเอว กระดูกตะโพก
กระดูก ต้นขากระดูกแข้ง กระดูกพื้นเท้า
พิจารณาอย่างนี้เรียกว่า อนุโลมฯ
คราวนี้พึงพิจารณาเป็น ปฏิโลม
คือพิจารณาถอยกลับขึ้นเบื้องบนตั้งแต่กระดูกพื้นเท้าขึ้นไป
ตลอดถึงกระดูกกะโหลกศีรษะ พิจารณาทบทวนกลับ
จากศีรษะ ถอยลงมาตรงหน้าอก นั้นให้มั่นคงทำในใจว่า
ร่างกายทั้งหมดนี้มีจิตเป็นใหญ่ ประชุมอยู่ที่จิต
จึงกำหนดรวมจิตเข้าให้สงบ แลตั้งอยู่เป็นเอกัคคตา วิธีที่
๒ นี้ เรียกว่า ตีรปริญญา แปลว่า ใคร่ครวญอารมณ์ฯ
ขอเตือนสติไว้ว่า
ในระหว่างนี้กำลังพิจารณาอยู่นั้น ห้ามไม่ให้จิตเคลื่อน
จากที่คิด ระวังไม่ให้ส่งจิตไปตามอาการ จิตจะถอน
จากสมาธิ ถ้าจิตถอนจากสมาธิ เป็นใช้ไม่ได้ ข้อสำคัญ
ให้เอาจิตเป็นหลัก ไม่ให้ปล่อยจิต ให้มีสติเพ่งเล็ง
ให้รอบจิต พิจารณาให้รอบกาย รักษาใจไม่ให้ฟุ้ง จึง
ไม่ยุ่งในการพิจารณาฯ
วิธีที่ 3 เจริญวิปัสสนา
คือ เมื่อผู้ปฏิบัติทั้งหลายได้ฝึกหัดจิตมา
ถึงขั้นนี้ มีกำลังพอพิจารณาปฏิภาคนิมิต
ได้ชำนาญคล่องแคล่วเป็นประจักขสิทธิ ดังที่อธิบายมา
แล้ว และกำหนดจิตรวมเข้าไว้ในขณะจิตอันเดียว ณ
ที่หน้าอก ตั้งสติพิจารณาดูให้รู้รอบจิต เพ่งพินิจ
ให้สว่างแลเห็นร่างกระดูกทั่งทั้งกาย
ยกคำบริกรรมวิปัสสนา
วิโมกขปริวัตรขึ้นบริกรรมจำเพาะจิตว่า
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา
สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา ให้เห็นร่างกระดูกทั้งหมดเป็นอนัตตา ไม่
ใช่ตัวตน ไม่ควรถือเอา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ กำหนด
ให้เห็นกระดูกทั้งหลายหลุดจากกันหมด ตกลงไปกองไว้
ที่พื้นดิน
คราวนี้ตั้งสติให้ดีรักษาไว้ซึ่งจิต อย่า
ให้เผลอ ยกคำบริกรรม วิปัสสนานั้นอีก
เพ่งพิจารณาจำเพาะจิต ให้เห็นเครื่องอวัยวะที่กระจัด
กระจายกองไว้ที่พื้นดินนั้น ละลายกลายเป็นดิน เป็นน้ำ
เป็นลม เป็นไฟ ถมแผ่นดินไปหมด
กำหนดจำเพาะจิตผู้รู้ เพ่งพินิจพิจารณา
ให้เห็นพื้นแผ่นดิน กว้างใหญ่เท่าไร เป็นที่อาศัยของสัตว์
ทั้งโลก ก็ยังต้องฉิบหายด้วยน้ำ ด้วยลม ด้วยไฟ
ยกวิปัสสนาละลายแผ่นดินนี้เสีย ให้เห็นเป็นสภาวธรรม
เพียงสักว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้น รวบรวมเอาแต่จิต
คือผู้รู้ ตั้งไว้ให้เป็นเอกจิต เอกธรรม สงบนิ่งแน่วอยู่
และวางลงเป็นอุเบกขา เฉยอยู่กับที่ คราวนี้จะแลเห็นจิต
นั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นทีเดียว ก้าวล่วงจากนิมิต ได้ดี มีกำลัง
ให้แลเห็น อำนาจอานิสงส์ของจิต ที่
ได้ฝึกหัดสมาธิมาเพียงชั้นนี้ ก็พอมีศรัทธาเชื่อ
ในใจของตน ในการที่จะกระทำความเพียรยิ่ง ๆ ขึ้นไป
วิธีนี้ 3 นี้ เรียกว่า ปหานปริญญา แปลว่า
ละวางอารมณ์เสียได้แล้ว

เจ้าของ:  sirinpho [ 21 ก.ค. 2014, 10:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระไตรสรณาคมน์ และสมาธิวิธี : หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

ขอโมทนาสาธุค่ะ :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/