วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 11:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: :b8: :b8:

มงคลหมู่ที่ ๑ ฝึกให้เป็นคนดี

มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล


ค น พ า ล คื อ ใ ค ร ?

คนพาล คือคนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิดๆ และมีวินิจฉัยเสีย คือไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร เช่น บัณฑิตเห็นว่า “เหล้า” เป็นของไม่ดี ทำให้ขาดสติ นำความเสื่อมมาให้นานัปการ แต่คนพาลกลับเห็นว่า “เหล้า” เป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องกระชับมิตร หรือบัณฑิตเห็นว่า “การเล่นไพ่” เป็นอบายมุข เป็นปากทาง หรือเป็นสัญลักษณ์แห่งความฉิบหาย แต่คนพาลกลับเห็นว่า “การเล่นไพ่” เป็นสิ่งดี ทำให้เพลิดเพลิน เป็นการฝึกสมองซ้อมวิชาคำนวณ ดังนี้เป็นต้น

คนพาลเป็นคนเหมือนกับเรา คือมีร่างกายประกอบด้วยเลือดเนื้อเช่นเดียวกับเรา และอาจมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับเราก็ได้ เช่น เป็นญาติพี่น้อง สามีภรรยา ครูอาจารย์ ฯลฯ อาจเป็นผู้มีการศึกษาสูง อาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง อาจมีสมัครพรรคพวกมาก ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร มีความ สัมพันธ์กับเราหรือไม่ ขึ้นชื่อว่าพาลแล้ว ถึงแม้จะมีความรู้มีความสามารถก็ไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร เพราะเขาแสลงต่อความดี เหมือนคนไข้แสลงต่อน้ำเย็น

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ค น พ า ล

เนื่องจากคนพาลมีใจขุ่นมัวอยู่เสมอ ทำให้ไม่สามารถควบคุมใจให้คิดไปในทางที่ถูกต้องได้ คนพาลจึงมีลักษณะวิปริตผิดจากคนทั้งหลาย ๓ ประการ คือ

๑. ชอบคิดชั่วเป็นปกติ ได้แก่ คิดละโมบอยากได้ในทางทุจริต คิดพยาบาทปองร้าย คิดเห็นผิดเป็นชอบ ฯลฯ

๒. ชอบพูดชั่วเป็นปกติ ได้แก่ พูดปด พูดคำหยาบ พูดส่อเสียดยุยง พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ

๓. ชอบทำชั่วเป็นปกติ ได้แก่ เกะกะเกเร กินเหล้าเมายา ชอบล้างผลาญชีวิตคนและสัตว์ ลักทรัพย์ ฉุดคร่าอนาจาร ฯลฯ

โ ท ษ ข อ ง ค ว า ม เ ป็ น ค น พ า ล

๑. มีความเห็นผิด ก่อทุกข์ให้ตนเอง

๒. เสียชื่อเสียง ถูกติฉินนินทา

๓. ไม่มีคนนับถือ ถูกเกลียดชัง

๔. หมดสิริมงคล หมดสง่าราศี

๕. ความชั่วเภทภัยทั้งหลาย จะไหลเข้ามาหาตัว

๖. ทำลายประโยชน์ของตนเองทั้งโลกนี้และโลกหน้า

๗. ทำลายวงศ์ตระกูลของตนเอง

๘. เมื่อละโลกไปแล้วมีอบายภูมิเป็นที่ไป ฯลฯ

วิ ธี สั ง เ ก ต ค น พ า ล

คนพาลมักกระทำในสิ่งต่อไปนี้ คือ

๑. คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด

- ชัก คือชักชวน เชิญชวน ชี้ชวน หรือเสนอแนะ

- นำ คือการทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง

เช่น ชักชวนหนีโรงเรียน ชักชวนไปลักขโมย ชักชวนให้เสพยาบ้า เสพ ยาเสพย์ติด ชักนำไปเป็นอันธพาล ฯลฯ การชักนำนี้อาจทำด้วยความหวังดีก็ได้ แต่ว่ามันผิด เช่น ได้เงินมาก็ชักชวนเพื่อนไปเลี้ยงเหล้า เที่ยวกลางคืน อย่างนี้ก็จัดว่าเป็นพาล

ผู้ที่ยังเยาว์วัย อ่อนความคิด อ่อนสติ มักถูกชักนำได้โดยง่าย ฉะนั้นผู้ใหญ่ในบ้าน จึงควรระมัดระวัง การกระทำและคำพูด ทั้งของตนเองและผู้ที่มาติดต่อคบหา เพราะเด็กมักจะจำและทำตามอย่างด้วยความไม่รู้ แม้ผู้ใหญ่ทำสิ่งไม่ดี เด็กก็มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีควรกระทำ

๒. คนพาลชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ เกะกะเกเร หน้าที่การงานของตน ไม่พยายามจัดการให้เรียบร้อย แต่ชอบไปก้าวก่ายหน้าที่การงานของผู้อื่น เช่น จับผิดผู้ร่วมงาน เขียนบัตรสนเท่ห์ กลั่นแกล้ง รังแก ทำความรบกวน ให้เดือดร้อน ฯลฯ

๓. คนพาลชอบแต่สิ่งผิดๆ ชอบถือเอาสิ่งที่ชั่วว่าเป็นสิ่งที่ดี เช่น ชอบเล่นไพ่ ชอบสูบบุหรี่ ชอบหนีโรงเรียน ชอบเถียงพ่อแม่ ฯลฯ เห็นคนทำถูกเป็นคนโง่ เห็นคนกลัวผิดเป็นคนขี้ขลาด

๔. คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ เช่น เตือนให้ดูหนังสือตอนใกล้สอบก็โกรธ เตือนให้ตื่นเช้าก็โกรธ แค่มองหน้าบางครั้งก็ยังโกรธ ฯลฯ

๕. คนพาลไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย เช่น ไม่ชอบข้ามถนนตรงทางม้าลาย ทิ้งขยะบนพื้นถนน ไปโรงเรียนสาย ไปทำงานสาย ฯลฯ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ที่ เ รี ย ก ว่ า “ค บ” คื อ อ ย่ า ง ไ ร ?

คบ หมายถึงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

- ร่วม เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมก่อการ ร่วมหุ้น ร่วมลงทุน

- รับ เช่น รับเป็นเพื่อน รับเป็นภรรยาหรือสามี รับไว้ทำงาน รับฟัง สิ่งที่คนพาลพูดหรือเขียน

- ให้ เช่น ให้ความไว้วางใจ ให้คำชมเชย ให้ยศ ให้ตำแหน่ง ให้หยิบยืมสิ่งของ ให้การสนับสนุน

การไม่คบคนพาล คือการไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใดๆ ดังกล่าว ข้างต้นกับคนพาล ถ้าเรายังคบคนพาลอยู่ ไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตาม รีบถอนตัวเสียโดยด่วน อย่าประมาท รีบตัดไฟเสียแต่ต้นลม มิฉะนั้นจะพลาด ติดเชื้อพาลโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นพาลตามไปด้วย

โบราณท่านให้คติเตือนใจไว้ว่า ห่างสุนัขให้ห่างศอก ห่างวอกให้ห่างวา ห่างพาลา ให้ห่างหมื่นโยชน์แสนโยชน์

โ ท ษ ข อ ง ก า ร ค บ ค น พ า ล

๑. ย่อมถูกชักนำไปในทางที่ผิด

๒. ย่อมเกิดความหายนะ การงานล้มเหลว

๓. ย่อมถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป

๔. ย่อมอึดอัดใจ เพราะคนพาลแม้เราพูดดีๆ ด้วยก็โกรธ

๕. หมู่คณะย่อมแตกความสามัคคี เพราะการยุยงและไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย

๖. ภัยอันตรายต่างๆ ย่อมไหลเข้ามาหาตัว

๗. เมื่อละโลกแล้ว ย่อมมีอบายภูมิเป็นที่ไป ฯลฯ

ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่รายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์
(สุภาษิตโคลงโลกนิติ)

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ค น พ า ล

คนพาลมี ๒ ประเภท ได้แก่

๑. พาลภายนอก คือคนพาลทั่วไป ซึ่งแม้จะร้ายกาจเพียงใด เราก็ยังมีทางหลีกเลี่ยงได้ แต่มีพาลอีกประเภทหนึ่งที่ร้ายยิ่งกว่า เพราะมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ คือพาลภายใน

๒. พาลภายใน คือตัวเราเองขณะที่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เช่น หนีงาน บ้าง เที่ยวเกเร ไปยุ่งธุระคนอื่นโดยใช่เหตุบ้าง ชอบไปทำงานสายบ้าง คนอื่นเตือนดีๆ ก็โกรธบ้าง หลีกเลี่ยงวินัยบ้าง พูดไม่ไพเราะบ้าง ครั้งใดที่เราทำ เช่นนี้ ครั้งนั้นเราเองนั่นแหละคือตัวพาล มีเชื้อพาลอยู่ภายใน ต้องรีบแก้ไข

ห ลั ก ป ฏิ บั ติ ใ น ชี วิ ต ป ร ะ จ ำ วั น

๑. หมั่นห้ามใจตนเองจากความชั่วแม้เพียงเล็กน้อย ก่อนที่มันจะลุกลามต่อไป เช่น การนอนตื่นสาย ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง หรือปล่อยให้ที่อยู่อาศัยรกรุงรังไม่หมั่นทำความสะอาด

๒. อย่าตามนึกถึงความชั่ว ความผิดพลาดในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่น ผ่านไปแล้วก็ให้แล้วกันไป ถือเป็นบทเรียนที่จะไม่ยอมทำซ้ำอีก แล้วตั้งใจทำความดีใหม่ให้เต็มที่

๓. ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ

๔. หลีกเลี่ยงการอ่าน การฟัง การพูด เรื่องเกี่ยวกับคนพาล จะได้ ไม่สะสมความคิดเกี่ยวกับพาลไว้ในใจ พยายามสะสมแต่ความคิดที่ดีงามโดยการอ่าน การฟัง การพูด แต่สิ่งที่ดีงาม เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ สนทนาธรรม พูดถึงคนที่ทำคุณความดี ฯลฯ

๕. ถ้าจำเป็นต้องอยู่ใกล้คนพาลอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เช่น ทำ งานในที่เดียวกัน เป็นญาติพี่น้องกัน ในกรณีเช่นนี้เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า เรากำลังอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นอันตราย เหมือนอยู่ใกล้คนเป็นโรคติดต่อ ต้องระวังตัว คือระวังความเป็นพาลของเขาจะมาติดเราเข้า ต้องหมั่นให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิ เพื่อให้ใจผ่องใสอยู่เสมอ

เราต้องระลึกเสมอว่า หน้าที่อันยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในชีวิต ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่าการปราบพาลภายในตัวเราเอง

อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ไ ม่ ค บ ค น พ า ล

๑. ทำให้ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ผิด

๒. ทำให้สามารถรักษาความดีเดิมไว้ได้

๓. ทำให้สามารถสร้างความดีใหม่เพิ่มขึ้นได้อีก

๔. ทำให้ไม่ถูกคนพาลทำร้าย

๕. ทำให้ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกใส่ความ

๖. ทำให้ไม่ถูกมองในแง่ร้าย ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป

๗. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถตั้งตัวได้เร็ว

๘. ทำให้มีความสุขทั้งตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติ

๙. เป็นการตัดกำลังไม่ให้เชื้อพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุน ฯลฯ

“ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น” ขุ.ธ.๒๕/๑๕/๒๔

“ใบไม้ที่ห่อหุ้มปลาเน่า
ย่อมต้องพลอยเหม็นแปดเปื้อนไปด้วยฉันใด
ผู้ที่คบคนพาล ก็ย่อมต้องพลอยเสียชื่อเสียง
ติดความเป็นพาลเดือนร้อนเสียหายไปด้วยฉันนั้น” (โคลงโลกนิติ)


ที่มา : หนังสือ มงคลชีวิต “ฉบับทางก้าวหน้า” ของชมรมพุทธศาสตร์สากล ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เรียบเรียงโดย พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ M.D., Ph.D. ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแผ่หลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและนำไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

smiley smiley smiley

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แก้ไขล่าสุดโดย วรานนท์ เมื่อ 24 ส.ค. 2013, 16:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

มงคลชีวิต คือเหตุแห่งความสุขและความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ ๓๘ ประการด้วยกัน ความเจริญก้าวหน้า แบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือ

๑. ความเจริญก้าวหน้าในโลกนี้ เช่น เมื่อเป็นเด็กก็ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน เมื่อเติบโตขึ้นก็สามารถตั้งฐานะได้ มีทรัพย์มาก มีชื่อเสียง มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวดีเป็นต้น

๒. ความเจริญก้าวหน้าในโลกหน้า คือเป็นผู้สั่งสมบุญกุศลไว้ดี เมื่อละโลกนี้ไปก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

๓. การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงสุด

การปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต จะเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทั้ง ๓ ระดับ เพราะผู้ปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต โดยเนื้อหาก็คือเป็นการหลีกเลี่ยงเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลาย และทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูง ทำให้เกิดสติ ปัญญา อันเป็นเครื่องทำลายอุปสรรคของชีวิต ตลอดจนความชั่วความบาปต่างๆ จึงส่งผลเป็นความเจริญก้าวหน้าทั้งชาตินี้ ชาติหน้า จนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด “เอหิปัสสิโก เชิญมาพิสูจน์เถิด”

smiley smiley smiley

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool

มงคลที่ 2
คบบัณฑิต


บัณฑิต คือคนที่มีจิตใจผ่องใสอยู่เป็นปกติ ทำให้เห็นถูก ยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยปัญญา รู้ว่าอะไรดี-ชั่ว ถูก-ผิด บุญ-บาป

ลักษณะของบัณฑิต
1. ชอบคิดดีเป็นปกติ เช่น คิดให้ทาน คิดให้อภัย คิดเห็นถูกต้องตามจริง เช่น คิดว่าบุญบาปมีจริง พ่อแม่มีพระคุณจริง ฯลฯ
2. ชอบพูดดีเป็นปกติ
3. ชอบทำดีเป็นปกติ

องค์คุณของบัณฑิต
1. กตัญญู
2. อัตตสุทธิ ทำตนให้บริสุทธิ์จากบาป
3. ปริสุทธิ ทำผู้อื่นให้บริสุทธิ์จากบาป
4. สังคหะ สงเคราะห์แก่ชุมชน

อานิสงส์การคบบัณฑิต
1. ทำให้จิตใจผ่องใส สามารถทำความดีตามไปด้วย
2. ทำให้ได้ปัญญาเพิ่มขึ้น เป็นคนหนักแน่น มีเหตุผล
3. ทำให้มีความเห็นถูกต้อง
4. ทำให้ไม่ต้องโศกเศร้าเดือดร้อนเพราะทำผิด
5. ทำให้เป็นที่ยกย่องสรรเสริญของคนทั่วไป
6. ทำให้มีความสุข ปลอดภัยจากอุปสรรคภัยพาลต่างๆ
7. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า
8. ทำให้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์เมื่อละโลกนี้ไป
9. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย

ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา
หอมระรวยรสพา เพริศด้วย
คนเสพเสน่หา นักปราชญ์
ความสุขซาบฤาม้วย ดุจไม้กลิ่นหอม ( โคลงโลกนิติ)

smiley smiley smiley

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue tongue tongue

มงคลที่ 3
บูชาบุคคลที่ควรบูชา


การบูชา คือการเลื่อมใส ยกย่อง เชิดชู ต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าและลับหลัง

บุคคลที่ควรบูชา
1. พระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอน พระพุทธรูป พระบรมสารีริกธาตุ สังเวชนียสถาน ฯลฯ
2. พระสงฆ์ พระธาตุ รูปพระสงฆ์สาวก ฯลฯ
3. พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม
4. บิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ที่มีความประพฤติดี
5. ครูอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ ความประพฤติดี
6. ผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม
7. บัณฑิตที่สูงเกินกว่าจะคบในฐานะเดียวกัน

การแสดงการบูชา ทำได้โดยทางกาย วาจา ใจ

ประเภทของการบูชา มี 2 ประเภท
1. อามิสบูชา คือการถวาย มอบ ให้ สิ่งของ หรือเครื่องบูชา
2. ปฏิบัติบูชา คือการประพฤติตามคำสอน ตามอย่างที่ดี จัดเป็นการบูชาที่สูงสุด

ข้อควรระวัง
1. ไม่บูชา ไม่ยกย่อง ไม่ส่งเสริมคนพาล แม้ว่าจะมียศศักดิ์สูงก็ตาม
2. ไม่บูชาสิ่งของ ผลงาน หรือทำตามคำสั่งสอนของคนพาล
3. ไม่บูชาสิ่งที่บูชาแล้วไม่เกิดสิริมงคล เช่น รูปดารา นักร้อง คนดังที่ไม่มีคุณธรรมเพียงพอ
4. ไม่บูชาสิ่งที่บูชาแล้วงมงายไม่เกิดปัญญา เช่น ต้นไม้ ภูเขา ภูตผี สัตว์หรือสิ่งของที่มีลักษณะผิดปกติ

smiley smiley smiley

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion onion

มงคลหมู่ที่ 2 สร้างความพร้อมในการฝึกตนเอง
มงคลที่ 4
อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม

ถิ่นที่เหมาะสม คือสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่เป็นพิษภัยแก่สุขภาพกาย ใจ แต่กลับสนับสนุนให้กิจการงานเป็นสัมมาอาชีพ ก้าวหน้าโดยง่าย และสร้างความดีได้เต็มที่
ลักษณะถิ่นที่เหมาะสม คือสามารถฟังเทศน์ รักษาศีลได้ มีแต่คนดีมีศีลธรรม ไม่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม หาอาหารได้สะดวก ร่มรื่น น้ำไฟสะดวก อากาศดี สงบ

ตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น พื้นที่เป็นเกาะ พื้นที่น้อย มีภัยธรรมชาติจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อาหารไม่พอเลี้ยงตัว แต่เนื่องจากประชาชนมีประสิทธิภาพ ขยัน มีวินัย ใฝ่หาความรู้ความก้าวหน้า มีหลักในการปกครองประเทศที่ดี มีความรักชาติ จึงส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาเจริญรุ่งเรืองจนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

ส่วนประเทศไทยมีสภาพภูมิศาสตร์ดีเยี่ยม ไม่มีภัยธรรมชาติ อาหารอุดมสมบูรณ์ แต่คนยังขาดวินัย มานะพากเพียรน้อย ยังเห็นแก่ความสุขสบายส่วนตัวอยู่มาก ทำให้เรายังล้าหลังประเทศอื่นอยู่ ดังนั้นหากเราร่วมใจพัฒนาตนเอง มีวินัย ขยันขันแข็ง ใฝ่หาความรู้ความก้าวหน้า นำหลักธรรมะมาประพฤติจะส่งผลให้ประเทศเราพัฒนาทัดเทียมอารยประเทศได้ในอนาคต

วิธีทำบ้านให้น่าอยู่
1. ดูแลบ้านให้สะอาด
2. เลือกอาหารที่ถูกหลักอนามัย
3. จูงใจคนในบ้านให้เคารพซึ่งกันและกัน ละเว้นอบายมุข
4. ชักนำกันทำบุญ รักษาศีล ฟังเทศน์ ฝึกสมาธิเป็นประจำ

ต้นโพธิ์ต้นไทร หากปลูกไว้ในกระถางถึงไม่ตาย ก็ต้องกลายเป็นไม้แคระแกร็น แต่ถ้านำไปปลูกในที่ดินดี มีบริเวณกว้างขวาง น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ก็โตวันโตคืน กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาเต็มที่เช่นกัน คนเราหากตกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลวถึงจะมีความรู้ความสามารถก็ยากที่จะเอาดีได้ แต่ถ้าอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมแล้วก็สามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าได้โดยง่าย

rolleyes rolleyes rolleyes





.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool

มงคลที่ 5
มีบุญวาสนามาก่อน


บุญ คือสิ่งซึ่งเกิดขึ้นในใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี บุญส่งผลให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด

คุณสมบัติของบุญ
1. ชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดได้
2. นำความสุขความเจริญก้าวหน้ามาให้
3. ติดตามตนไปทุกฝีก้าว ทุกภพชาติ
4. เป็นของเฉพาะตน โจรลักขโมยไม่ได้
5. นำมาซึ่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย
6. ให้มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ แก่เราได้
7. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสงสาร
8. เป็นปัจจัยให้บรรลุนิพพาน

ประเภทของบุญในกาลก่อน
1. บุญช่วงไกล คือคุณ ความดีที่เราทำจากภพชาติก่อน – คลอดจากครรภ์มารดา
2. บุญช่วงใกล้ คือคุณความดีที่เราทำในภพชาติปัจจุบันตั้งแต่คลอดจนถึงวันนี้
เพราะฉะนั้นเราควรสั่งสมบุญ โดยทำความดีเสียตั้งแต่วันนี้จะได้ส่งผลให้มีสติปัญญาดี มีความเฉลียวฉลาด มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตต่อไปในอนาคต

ผลของบุญ มี 4 ระดับ
1. ระดับจิตใจ คือมีใจเยือกเย็น เบาสบายเป็นสุข ไม่หวั่นไหวต่อคำยกยอหรือตำหนิ ผ่องใส คิดหรือตัดสินใจได้ว่องไวถูกต้องไม่ลังเล รอบคอบ เป็นระเบียบ

2. ระดับบุคลิกภาพ คนที่ให้ทาน รักษาศีล ภาวนา สม่ำเสมอ ทำให้จิตสงบ แช่มชื่น เบิกบาน หลับสบาย ไม่หม่นหมอง ไม่คิดโลภ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร มีแต่ช่วยเขา จึงองอาจสง่างามอยู่ในตัว มีความมั่นใจในตัวเอง บุคลิกภาพย่อมดีขึ้นเป็นลำดับ

3. ระดับวิถีชีวิต บุญจากภพชาติก่อนๆรวมกับภพชาติปัจจุบันจะชักนำให้เราได้รับสิ่งที่ดีน่า
ปรารถนา เรื่องของผลบุญบาปเป็นเรื่องสลับซับซ้อน เช่นเราตั้งใจทำความดีอยู่ แต่ผลบาปในอดีตตามมาทัน ทำให้ถูกใส่ร้ายป้ายสี หรือประสบเคราะห์กรรม บางคนจึงเข้าใจผิดคิดว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำให้หมดกำลังใจในการทำความดี แท้ที่จริงที่เป็นเช่นนี้เพราะผลบาปในอดีตกำลังส่งผลอยู่ แต่บุญที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันไม่ไร้ผล เมื่อเราตั้งใจทำบุญต่อไปไม่ย่อท้อ และไม่ทำบาปอีก เคราะห์กรรมนั้นย่อมหมดสิ้นไป และได้รับผลของบุญคือความสุข ความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

4. ระดับสังคม ส่งผลให้เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับนับถือ จะเป็นผู้ชักนำสมาชิกในสังคมให้ทำความดีตามอย่าง เกิดความร่มเย็น สงบ เจริญก้าวหน้าในสังคม

วิธีทำบุญ แบ่งบุญออกเป็น 10 ประการ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 ได้แก่
1. ทาน คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
2. ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ให้เรียบร้อยไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ตน และผู้อื่น
3. ภาวนา คือการสวดมนต์ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ
4. อปจายนะ คือการมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีพระคุณ
5. เวยยาวัจจะ คือการช่วยเหลือในกิจการที่ถูก ที่ควร
6. ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญแก่ผู้อื่น
7. ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
8. ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
9. ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
10. ทิฏฐุชุกัมม์ คือการเห็นถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด

ข้อเตือนใจ
ความดีทุกอย่างที่ทำไว้ แม้จะไม่ให้ผลในปัจจุบันทันตาก็ไม่สูญเปล่า ความดีเหล่านี้จะรวมกันเข้าปรุงแต่งจิตให้ดีขึ้น สิ่งนี้แหละคือ บุญวาสนา

อานิสงส์การมีบุญวาสนามาก่อน
1. ทำให้มีปัจจัยต่างๆพร้อม สามารถทำความดีใหม่ได้โดยง่าย
2. อำนวยประโยชน์ทุกอย่าง
3. เป็นเหตุแห่งความสุขทุกประการ
4. เป็นเสบียงติดตัวทั้งภพนี้ภพหน้า จนกว่าจะบรรลุมรรคผลนิพพาน
น้ำหยดทีละหยดยังสามารถเต็มตุ่มได้ฉันใด บัณฑิตหมั่นสั่งสมบุญทีละน้อย ย่อมเต็มเปี่ยมด้วยบุญฉันนั้น

smiley smiley smiley

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley

มงคลที่ 6
ตั้งตนชอบ


ตั้งตนชอบ คือการตั้งเป้าหมายชีวิต ทั้งทางโลกและทางธรรมไว้ถูกต้อง แล้วประคับประคองตนให้ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายนั้นด้วยความระมัดระวัง ผู้ที่รักความก้าวหน้าทั้งหลาย จึงจำเป็นต้องตั้งเป้าหมายชีวิตให้ถูกต้องก่อน จากนั้นจึงไปเสาะแสวงหาความรู้ความสามารถ พากเพียรพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตที่ถูกต้องนั้นให้ได้
บางคนเริ่มแรกตั้งเป้าหมายชีวิตดีอยู่ เช่นตั้งใจจะทำมาหากินโดยสุจริต แต่กำลังใจยังไม่เข้มแข็งพอ ครั้นทำไปนานเข้าเริ่มรู้สึกว่ารวยช้าไป ไม่ทันใจเปาหมายชีวิตชักเขว ลงท้ายเลยไปคดโกงเขา ต้องติดคุกติดตาราง หรือบางคนตั้งใจจะให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา แต่พอถูกคนอื่นเย้าแหย่บ้าง ล้อเลียนบ้าง เจอสิ่งยั่วยุอยู่เรื่อยๆ เลยเลิกปฏิบัติธรรม ปล่อยตามอำนาจกิเลส

วิธีรักษาเป้าหมายชีวิตให้มั่นคง
1. เชื่ออย่างมีเหตุผล เชื่อในผลกรรม เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง
2. ฝึกให้เป็นคนมีศีล อย่างน้อยศีล 5
3. ฝึกให้เป็นคนมีความรู้เป็นพหูสูต
4. ฝึกให้เป็นคนมีจาคะ คือรู้จักให้สิ่งของเป็นทาน อภัยทาน
5. ฝึกสมาธิให้จิตผ่องใส เกิดปัญญา

อานิสงส์การตั้งตนชอบ
1. เป็นผู้สามารถพึ่งตนเองได้
2. เป็นผู้ไม่ประมาท
3. เป็นผู้เตรียมความพร้อมไว้ดีแล้วก่อนตาย
4. เป็นผู้มีความสวัสดีในทุกโอกาส
5. เป็นผู้บูชาพระรัตนตรัยอย่างสูงสุด
6. เป็นพลเมืองดีของประเทศ
7. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
8. เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ
9. เป็นผู้มีแก่นคน สามารถตักตวงประโยชน์จากชีวิตได้เต็มที่
10.เป็นผู้ได้รับสมบัติทั้ง 3 โดยง่าย คือมนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ

tongue tongue tongue

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool

มงคลหมู่ที่ 3 ฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์
มงคลที่ 7
เป็นพหูสูต


พหูสูต คือผู้ที่มีความรอบรู้ ฉลาดรู้ เล่าเรียนมามาก ได้ยินได้ฟังมามาก เป็นผู้ที่รู้ลึก ( รู้ถึงเหตุ) รู้รอบ รู้กว้าง ( รู้อย่างละเอียด ) รู้ไกล ( มองการณ์ไกล )
ผู้ที่ประกอบด้วยความรู้ 4 ประการนี้ทั้งทางโลกและทางธรรมจึงจะเป็นพหูสูตที่แท้จริง

ลักษณะผู้ที่เป็นพหูสูตไม่ได้ดี
1. คนราคจริต คือขี้โอ่ บ้ายอ แสนงอน รักสวยรักงามจนเกินเหตุ แก้โดยให้หมั่นนึกถึงความ ตาย พิจารณาซากศพเนืองๆ
2. คนโทสจริต คือขี้โมโห โกรธง่าย พยาบาท แก้โดยหมั่นรักษาศีลแผ่เมตตา
3. คนโมหจริต คือสะเพร่า ขี้ลืม มักง่าย ใจกระด้างในกุศล สงสัยในพระรัตนตรัยว่ามีจริงหรือ แก้โดยหมั่นฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ
4. คนขี้ขลาด คือขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้าลงมือทำกลัวถูกติ ชอบเป็นผู้ตาม ไม่มีความคิดริเริ่ม สักแต่ทำให้เสร็จ แก้โดยให้คบกับบัณฑิต เอาอย่างบัณฑิต ทำอย่างบัณฑิต ไม่สักแต่ทำ
5. คนหนักในอามิส คือพวกบ้าสมบัติ วัตถุ ชอบตีค่าสิ่งต่างๆด้วยราคา เงิน สมบัติ
6. คนจับจด
7. คนชอบดื่มสุรา
8. คนชอบสนุกสนานเฮฮาจนเกินเหตุ ขาดความรับผิดชอบ

วิธีฝึกตนเป็นพหูสูต
1. ฉลาดเลือกเรียนแต่สิ่งที่ควร
2. ตั้งใจเรียนวิชาที่ตนเลือกอย่างเต็มความสามารถ
3. มีความกระตือรือร้นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
4. ต้องหาความรู้ทางธรรมควบคู่ความรู้โลกด้วย
5. เรียนแล้วจำไว้อย่างดีพร้อมนำความรู้ไปใช้ได้
ความรู้ที่เกิดแก่คนพาล ย่อมนำความฉิบหายมาให้เพราะเขาจะนำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิด

tongue tongue tongue

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley

มงคลที่ 8
มีศิลปะ


ศิลปะ คือการแสดงออกมาอย่างงดงามน่าชม หมายถึง “ ฉลาดทำ” ทั้งทางกาย (เป็นช่างต่างๆ ประกอบอาชีพสุจริตต่างๆ แสดงออกดี กิริยามารยาทดี) วาจา (ฉลาดในการพูด พูดแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์) ใจ ( ฉลาดในการคิด) สรุปโดยรวมคือ คิดเป็น พูดเป็น ทำเป็น

วิธีฝึกตนให้มีศิลปะ
1. ฝึกช่างสังเกตหาจุดเด่นของสิ่งรอบตัว
2. ตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด ด้วยความประณีต
3. หมั่นปรับปรุงงานให้ดีขึ้น
4. หมั่นใกล้ชิดผู้มีศิลปะ
5. ฝึกสมาธิเพื่อให้ใจสงบผ่องใสเกิดปัญญาที่จะฝึกปรับปรุงตนเอง

อานิสงส์การมีศิลปะ
1. จะมีความสามารถเด่น
2. สามารถหาเลี้ยงตนเองได้
3. ทำให้ฉลาดช่างสังเกต มีไหวพริบดี
4. เป็นคนมั่งมี สมบูรณ์
5. ได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
5. ทำให้โลกเจริญทั้งวัตถุและจิตใจ
ผู้มีวินัยดี หมายถึงผู้ที่รักษาวินัยทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างถูกต้องและเคร่งครัด


มงคลที่ 9
มีวินัย


วินัย คือระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ใจ ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน อยู่ร่วมกันด้วยความสุข วินัยช่วยให้สังคมห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย วินัยใช้ควบคุมคน ให้ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางที่ถูกที่ควร
วินัยทางโลก คือระเบียบสำหรับควบคุมคนแต่ละแห่งเป็นข้อตกลงร่วมกันที่จะให้ทำ หรือไม่ให้ทำ
วินัยทางธรรม คือเป็นผู้มีศีล 5 8 10 227 แล้วแต่สถานะของผู้ถือศีลนั้น
ศีล แปลว่า ปกติ เป็นวินัยทางธรรมเบื้องต้นของคน เป็นเครื่องจำแนกคนจากสัตว์
เพื่อรักษาความปกติของคนไว้ จึงเกิดศีล 5 ข้อขึ้นได้แก่
1. ไม่ฆ่า
2. ไม่ลัก ไม่คอร์รัปชั่น ไม่ยักยอกคดโกง
3. ไม่ประพฤติผิดในกาม รู้จักห้ามใจให้พอใจแต่คู่ของตน
4. ไม่โกหกหลอกลวง
5. ไม่เสพของมึนเมาให้โทษ
ศีล 5 มีมาก่อนพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงรับเข้ามาไว้ในพระพุทธศาสนา และชี้แจงถึงความจำเป็นของการมีศีล ดังนั้นศีลจึงไม่ใช่ข้อห้ามตามที่คนจำนวนมากเข้าใจ แต่หมายถึงปกติของคน นอกจากนี้ศีลยังเป็นเครื่องวัดความเป็นคนได้อีกด้วย
วันใดเรามีศีลครบ 5 ข้อ แสดงว่าวันนั้นเรามีความเป็นคนครบ 100 %
ผู้มีวินัยดี หมายถึงผู้ที่รักษาวินัยทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างถูกต้องเคร่งครัด

tongue tongue tongue

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool
มงคลที่ 10
มีวาจาสุภาษิต


วาจาสุภาษิต คือคำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้วด้วยใจที่ผ่องใส มิใช่สักแต่พูด

องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต
1. ต้องเป็นคำจริง
2. ต้องเป็นสุภาษิต เป็นคำพูดไพเราะ ไม่เป็นคำหยาบ คำด่า คำเสียดสี
3. พูดแล้วก่อประโยชน์ เกิดผลดี ถึงแม้คำพูดนั้นจะจริงและเป็นคำสุภาพ แต่ถ้าพูดแล้วไม่เกิดประโยชน์ใด กลับทำให้เกิดโทษก็ไม่ควรพูด
4. พูดด้วยจิตเมตตา พูดด้วยความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมีความสุข หมายถึงว่า แม้จะพูดจริงเป็นคำสุภาพ พูดแล้วเกิดประโยชน์ แต่จิตยังคิดโกรธมีความริษยาก็ยังไม่สมควรพูด
5. พูดถูกกาลเทศะ

อานิสงส์การมีวาจาสุภาษิต
1. เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่รักของชนทุกชั้น
2. มีความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม
3. มีวาจาสิทธิ์ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่เจรจา
4. ย่อมได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ดีงาม
5. ไม่ตกไปอบายภูมิ

วาจาสุภาษิต ไม่ว่าจะพูดด้วยสำเนียงภาษาอย่างไรก็ตาม วาจานั้นย่อมเป็นวาจาชั้นสูง ควรแก่การสรรเสริญของบัณฑิต ตรงกันข้ามวาจาทุพภาษิต แม้จะพูดด้วยภาษาใดสำเนียงดีแค่ไหน บัณฑิตก็ไม่สรรเสริญ

tongue tongue tongue




.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley

มงคลหมู่ที่ 4 บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว
มงคลที่ 11
บำรุงบิดามารดา


พระคุณของพ่อแม่ พระพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่า ถ้าบุตรจะวางบิดามารดาไว้บนบ่าของตน ประคับประคองท่านอยู่บนบ่านั้น ป้อนข้าวป้อนน้ำและให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสสาวะนั้นเสร็จ แม้บุตรจะมีอายุ 100 ปี และปรนนิบัติท่านไปจนตลอดชีวิต ก็ยังนับว่าตอบแทนพระคุณท่านไม่หมด

สมญานามของพ่อแม่
- พ่อแม่เป็นพรหมของลูก เพราะมี พรหมวิหาร 4 ได้แก่
มีเมตตา คือมีความปรารถนาดีต่อลูกไม่มีที่สิ้นสุด
มีกรุณา คือหวั่นใจในความทุกข์ของลูก และคอยช่วยเหลือเสมอไม่ทอดทิ้ง
มีมุทิตา คือเมื่อลูกสุขสบายก็ปลาบปลื้มยินดีด้วยความจริงใจ
มีอุเบกขา คือเมื่อลูกมีครอบครัวสามารถเลี้ยงตัวได้แล้ว ก็ไม่วุ่นวายกับชีวิตครอบครัวลูกจนเกินงาม
- พ่อแม่เป็นเทวดาคนแรกของลูก เพราะคอยปกป้องคุ้มภัยเลี้ยงดูลูกมาก่อนผู้มีความปรารถนาดีคนอื่นๆ
- พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก เพราะสั่งสอนอบรมทั้งคำพูดแลกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่นๆ
- พ่อแม่เป็นวิสุทธิเทพของลูก เพราะมีคุณธรรม 4 ประการ คือ 1.ไม่ถือสาในความผิดของลูก 2.ปรารถนาประโยชน์แก่ลูก 3.เป็นทักขิเณยยบุคคล คือเป็นเนื้อนาบุญของลูก เป็นผู้ที่ลูกควรทำบุญต่อตัวท่าน 4.เป็นอาหุเนยยบุคคล คือเป็นผู้ควรแก่การรับของคำนับ และนมัสการของลูก

คุณธรรมของลูก
ลูกควรมีคุณธรรมต่อท่านคือ กตัญญู และกตเวที
กตัญญู หมายถึง เห็นคุณค่าท่านว่าเป็นผู้มีพระคุณต่อเราอย่างแท้จริง ไม่ใช่สักแต่ว่าปากท่องปาวๆ
กตเวที หมายถึง การทดแทนพระคุณของท่าน ทั้งเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว

อานิสงส์การบำรุงบิดามารดา
1. ทำให้เป็นคนมีความอดทน
2. ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบ
3. ทำให้เป็นคนมีเหตุผล
4. ทำให้พ้นทุกข์พ้นภัย
5. ทำให้ได้ลาภโดยง่าย
6. ทำให้แคล้วคลาดภัยในยามคับขัน
7. ทำให้เทวดาลงรักษา
8. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
9. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า
10. ถ้ามีลูกก็จะได้ลูกที่ดี
11. ทำให้มีความสุข
11. ทำให้เป็นแบบอย่างอันดีแก่ชนรุ่นหลัง

tongue tongue tongue

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool

มงคลที่ 12
เลี้ยงดูบุตร


บุตร มีความหมาย 2 ประการคือ
- ผู้ทำสกุลให้บริสุทธิ์
- ผู้ยังหทัยของพ่อแม่ให้เต็มอิ่ม

ประเภทของบุตร
1. อภิชาตบุตร คือบุตรที่ดีมีคุณธรรมสูงกว่าบิดามารดา เป็นบุตรชั้นสูง สร้างความเจริญแก่วงศ์ตระกูล
2. อนุชาตบุตร คือบุตรที่มีคุณธรรมเสมอบิดามารดา เป็นบุตรชั้นกลาง พอรักษาวงศ์ตระกูลไว้ได้
3. อวชาตบุตร คือบุตรที่เลวมีคุณธรรมต่ำกว่าบิดามารดา เป็นบุตรชั้นต่ำ นำความเสื่อมเสียมาสู่วงศ์ตระกูล

องค์ประกอบให้ได้ลูกดี
1. พ่อแม่ต้องเป็นคนดี
2. การอบรมเลี้ยงดูดีทั้งทางโลกและทางธรรม
วิธีเลี้ยงดูลูกทางโลก
1. กันลูกออกจากความชั่ว
2. ปลูกฝังลูกในทางดี
3. ให้ลูกได้รับการศึกษา
4. จัดแจงให้ลูกแต่งงานกับคนดี
5. มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงเวลาอันควร

วิธีเลี้ยงดูลูกในทางธรรม
1. พาลูกเข้าวัดเพื่อศึกษาหาความรู้ทางธรรม
2. ชักนำลูกให้สวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน
3. ชักนำให้ลูกทำบุญ เช่น ตักบาตร รักษาศีล
4. ชักนำให้ลูกทำสมาธิภาวนาร่วมกันเป็นประจำทุกวัน
5. ถ้าลูกเป็นชายให้บวชเป็นสามเณร พระภิกษุ แล้วปฏิบัติกรรมฐาน ศึกษาพระปริยัติธรรม

ข้อเตือนใจ
1. รักลูกแต่อย่าโอ๋อย่าตามใจลูกเกินไป
2. อย่าเคร่งระเบียบจนเกินไป
3. ให้ความอบอุ่นแก้ลูกอย่างเพียงพอ
4. เมื่อเห็นลูกทำผิดควรบอกกล่าวสั่งสอนเพื่อจะได้แก้ไขทันท่วงที
5. ต้องฝึกให้ลูกทำงานตั้งแต่ยังเล็ก
6. ให้ธรรมะแก่ลูก

อานิสงส์การเลี้ยงดูบุตร
1. พ่อแม่จะได้ความปีติภาคภูมิใจ
2. ครอบครัวจะร่มเย็นเป็นสุข
3. ประเทศชาติจะมีคนดีไว้ใช้
4. เป็นต้นแบบที่ดีงามของสังคมสืบไปตลอดกาลนาน

tongue tongue tongue


.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley

มงคลที่ 13
สงเคราะห์ภรรยา ( สามี )


คุณสมบัติของคู่สร้างคู่สม
พื้นฐานอันมั่นคงที่ทำให้สามีภรรยาครองชีวิตกันยืนยาว มีความสุขคือ สามีภรรยาต้องมี สมชีวิธรรม ได้แก่
1. สมสัทธา มีศรัทธาเสมอกัน คือมีหลักการ มีความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา มีเป้าหมายชีวิตเหมือนกัน
2. สมสีลา มีศีลเสมอกัน คือมีความประพฤติศีลธรรมจรรยา กิริยามารยาทดีเสมอกัน
3. สมจาคะ มีจาคะเสมอกัน คือชอบช่วยเหลือ เสียสละ ใจกว้างเสมอกัน
4. สมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน คือมีเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ เข้าใจกัน พูดกันรู้เรื่อง
วิธีทำให้ความรักยั่งยืน

ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ดังนี้
1. ทาน คือการให้ แบ่งปันทั้งสิ่งของเงินทอง จิตใจ (ความสุข ความทุกข์) เมื่อมีทุกข์ก็เป็นที่ปรึกษาของกันและกัน
2. ปิยวาจา คือมีวาจาที่ไพเราะต่อกัน
3. อัตถจริยา คือทำตนให้เป็นคนมีประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม คอยเตือนเมื่ออีกฝ่ายจะทำผิด
4. สมานัตตา คือวางตนเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่

หน้าที่ของสามีต่อภรรยา
1. ยกย่องให้เกียรติ
2. ไม่ดูหมิ่น
3. ไม่นอกใจ
4. มอบความเป็นใหญ่ให้
5. ให้เครื่องแต่งตัว

หน้าที่ของภรรยาต่อสามี
1. จัดการงานดี ดูแลบ้าน ลูก สามีด้วยดี
2. สงเคราะห์ญาติข้างสามี
3. ไม่นอกใจ
4. รักษาทรัพย์ให้ดี
5. ขยันทำงาน

อานิสงส์การสงเคราะห์ภรรยา ( สามี )
1. ทำให้ความรักยืนยง
2. ทำให้สมานสามัคคี
3. ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข
4. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
5. เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง

tongue tongue tongue

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion onion

มงคลที่ 14
ทำงานไม่คั่งค้าง


เหตุที่ทำให้งานคั่งค้าง
1. ทำงานไม่ถูกเวลา
2. ทำงานไม่ถูกวิธี
3. ไม่ยอมทำงาน

วิธีทำงานให้เสร็จ
ใช้หลัก อิทธิบาท 4 ได้แก่
1. ฉันทะ คือความรักงาน หรือเต็มใจทำ
2. วิริยะ คือความพากเพียร
3. จิตตะ คือความเอาใจใส่ หรือตั้งใจทำ
4. วิมังสา คือการวิเคราะห์งาน ปรับปรุงงาน

อุปสรรคในการทำงานให้เสร็จ คืออบายมุข 6
1. ดื่มน้ำเมา
2. เที่ยวกลางคืน
3. ดูการละเล่นเป็นนิจ
4. เล่นการพนัน
5. คบคนชั่วเป็นมิตร
6. เกียจคร้านในการทำงาน
อานิสงส์การทำงานไม่คั่งค้าง
1. ทำให้ฐานะของตน ครอบครัว ประเทศชาติดีขึ้น
2. ทำให้ได้รับความสุข
3. ทำให้พึ่งตัวเองได้
4. ทำให้เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลาย
5. ทำให้สามารถสร้างบุญกุศลอื่นๆได้ง่าย
6. ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท
7. ทำให้ป้องกันภัยในอบายภูมิได้
8. ทำให้มีสุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า
9. ทำให้เป็นนิสัยติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ
10. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากคนทั่วไป

มงคลหมู่ที่ 5บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
มงคลที่ 15
บำเพ็ญทาน


ทาน คือการให้ การสละสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ

ประเภทของทาน
1. อามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน
2. ธรรมทานหรือวิทยาทาน คือการให้ความรู้เป็นทาน ถ้าเป็นความรู้ทางโลกเรียกว่าวิทยาทาน หากเป็นความรู้ทางธรรมเรียกว่า ธรรมทาน
3. อภัยทาน

ทานที่ให้แล้วไม่ได้บุญ
1. ให้สุรายาเสพย์ติด
2. ให้อาวุธ
3. ให้มหรสพ
4. ให้สัตว์เพศตรงข้าม เช่นหาสุนัขตัวเมียไปให้ตัวผู้ หาสาวๆไปให้เจ้านาย
5. ให้ภาพลามก

วิธีทำทานให้ได้บุญมาก
1. วัตถุบริสุทธิ์ คือของหรือเงินทองที่จะให้ทานต้องได้มาโดยสุจริตชอบธรรม ไม่ได้คดโกงหรือเบียดเบียนใครมา
2. เจตนาบริสุทธิ์ คือไม่ได้ทำเพื่อเอาหน้า ชื่อเสียงแต่ต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ทั้ง 3 ขณะ คือ 1.ก่อนให้มีใจเลื่อมใสศรัทธาเป็นทุนเดิม 2.ขณะให้ก็ตั้งใจให้ ให้ด้วยใจเบิกบาน 3.หลังให้ก็แช่มชื่นไม่นึกเสียดายของ
3. บุคคลบริสุทธิ์ คือเลือกให้แก่ผู้รับที่มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบเรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม และสำหรับผู้ให้ก็ต้องมีศีลปริสุทธิ์จึงจะได้บุญมาก ดังจะเห็นได้จากทุกครั้งที่เราจะถวายสังฆทานพระท่านจะให้ศีลก่อน

อานิสงส์การบำเพ็ญทาน
1. เป็นที่มาของสมบัติทั้งหลาย
2. เป็นที่ตั้งแห่งโภคทรัพย์
3. ได้รับความสุข
4. เป็นที่รักของคนหมู่มาก
5. ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
6. เป็นผู้มีเสน่ห์
7. เป็นที่น่าคบหาของคนดี
8. เข้าสังคมได้คล่องแคล่ว
9. มีชื่อเสียงเกียรติคุณ
10. ตายแล้วไปเกิดในสวรรค์

rolleyes rolleyes rolleyes

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley
มงคลที่ 16
ประพฤติธรรม


ประพฤติธรรม คือการประพฤติให้อยู่ในกรอบของความถูกต้องดีงาม แบ่งออกเป็น
1. ประพฤติเป็นธรรม คือเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียงเพราะรัก หลง หรือชัง หรือกลัวภัย
2. ประพฤติตามธรรม คือการปฏิบัติตามหลักกุศลกรรมบถ 10 ประการดังนี้
- ไม่ฆ่าสัตว์รวมถึงคน
- ไม่ลัก ฉก กรรโชก ปล้น ตู่ ฉ้อ หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์
- ไม่ประพฤติผิดในกาม
- ไม่พูดเท็จ
- ไม่พูดส่อเสียด
- ไม่พูดคำหยาบ
- ไม่พูดเพ้อเจ้อ
- ไม่โลภอยากได้ของเขา
- ไม่พยาบาทปองร้าย
- ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม
อานิสงส์การประพฤติธรรม
1. เป็นมหากุศล
2. เป็นผู้ไม่ประมาท
3. เป็นผู้รักษาสัทธรรม
4. เป็นผู้นำพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง
5. เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า
6. ไม่ก่อเวรก่อภัยแก่ใคร
7. เป็นผู้ให้อภัยแก่สรรพสัตว์
8. เป็นผู้ดำเนินตามปฏิปทาของนักปราชญ์
9. สร้างความเจริญความสงบสุขแก่ตนและส่วนรวม
10. เป็นผู้สร้างทางมนุษย์ สวรรค์ พรหม นิพพาน
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม บุคคลใดหวังความสุข ความเป็นใหญ่ ความก้าวหน้า ต้องประพฤติธรรม

มงคลที่ 17
สงเคราะห์ญาติ

ลักษณะญาติที่ควรสงเคราะห์
1. เป็นคนที่พยายามช่วยเหลือตนเองก่อนแล้วอย่างเต็มที่ ไม่งอมืองอเท้า
2. รู้จักทำตัวให้น่าช่วย มีความประพฤติดี ไม่ยุ่งเกี่ยวอบายมุข มีสัมมาคารวะ มีน้ำใจ

วิธีสงเคราะห์ญาติทางโลก
1. ทาน
2. ปิยวาจา
3. อัตถจริยา
4. สมานัตตา

วิธีสงเคราะห์ญาติทางธรรม
คือชักชวนญาติให้รู้จักประกอบการบุญกุศล ชักชวนให้ได้ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ให้ตั้งอยู่ในศรัทธา สอนธรรมะให้ ชักนำให้บวช ชักนำให้ปฏิบัติธรรม
การสงเคราะห์ญาติเป็นความดี เป็นมงคลแก่ผู้ทำ แต่ทั้งนี้ต้องทำตามวิถีทางที่ถูกต้อง คือต้องไม่เอาการช่วยเหลือญาติมาทำให้เสียความเป็นธรรมในหน้าที่ของตน

มงคลที่ 18
ทำงานไม่มีโทษ


งานไม่มีโทษ คืองานที่ไม่มีเวรมีภัย ไม่เบียดเบียนใคร แต่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่นความสามารถในการทำงานของคนมีอยู่ 2 ระดับคือ ขั้นทำได้ และขั้นทำดีขั้นทำได้ คือการทำงานสักแต่ให้เสร็จๆไปไม่คำนึงว่าจะเกิดประโยชน์หรือไม่เพียงใด
ขั้นทำดี คือคิดรอบคอบถึงผลดีผลเสียทุกแง่มุม แล้วเลือกทำแต่ที่เป็นประโยชน์จริงๆ
วิธีพิจารณางานว่ามีโทษหรือไม่
การพิจารณาคือต้องไม่ถือเอาคำติชมของคนพาลมาเป็นอารมณ์ เพราะคนพาลนั้นเป็นคนมีใจขุ่นมัว มีวินิจฉัยผิด สิ่งใดถูกก็เห็นเป็นผิด สิ่งใดผิดกลับเห็นเป็นถูก ส่วนบัณฑิตเป็นคนมีวินิจฉัยถูกต้อง รู้จักผิดชอบชั่วดี มีศีล เราจึงควรรับฟังคำติชมของคนดีด้วยความเคารพ
หลักที่บัณฑิตใช้พิจารณาว่างานมีโทษหรือไม่นั้น มีอยู่ 4 ประการคือ
1. ไม่ผิดกฎหมาย
2. ไม่ผิดประเพณี คือจารีต ขนบธรรมเนียมของมหาชนในถิ่นนั้นๆ
3. ไม่ผิดศีล
4. ไม่ผิดธรรม คือความถูกต้องความดี
โดยแต่ละงานที่จะทำจะต้องมีองค์ประกอบทั้ง 4 ครบถ้วน
บางคนมีปัญหาว่า ใจก็ต้องการทำงานไม่มีโทษ แต่ก็รู้ตัวเมื่อสายทุกที จะทำอย่างไรจึงจะรู้ก่อนทำ?
วิธีรู้ก่อนทำ
- ใคร่ครวญดูก่อนแล้วจึงลงมือทำ
- อย่าดมก่อนเห็น อย่าเซ็นก่อนอ่าน
- ต้องทำใจเราให้คลายความอวดดื้อถือดี ต้องยอมรับว่าเราไม่ใช่คนเก่งที่สุด หรือฉลาดที่สุด ยังมีผู้ที่เกิดก่อนเรา มีประสบการณ์กว่าเรา
อานิสงส์การทำงานไม่มีโทษ
คนทำงานมีโทษนั้น ได้กับเสียเป็นเงาตามตัว ยิ่งได้มากก็ทุกข์ใจมาก เข้าทำนอง อิ่มท้องแต่พร่องใจ ยิ่งรวยได้ทรัพย์มากเท่าไรโอกาสที่จะเสียคนก็มากเท่านั้น ยิ่งทำก็ยิ่งทุกข์ คุณความดีในตัวลดลงทุกที
คนทำงานไม่มีโทษนั้นหลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่อายใคร ไม่ต้องหวาดระแวงใคร เพราะงานเป็นประโยชน์แก่โลกไม่มีโทษ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญคิดก่อนทำ สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม ไม่ประมาท
มงคล 18 มงคลแรกนั้น เป็นเรื่องของหลักปฏิบัติเพื่อการดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ ทำให้ตัวของเราเป็นคนดีที่ใครๆ หรือสังคมก็ต้องการ
สำหรับมงคล 20 มงคลหลังจะเป็นเรื่องของการฝึกคุณธรรมต่างๆให้ยิ่งๆขึ้นไป จนกระทั่งหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ดังต่อไปนี้

tongue tongue tongue

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร