วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 00:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลจะเข้าสู่โลกุตตระภูมิอย่างไร?

ปุถุชนในโลกนี้

ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ


ย่อมไม่อาจมีปัญญาเห็นธรรมตามความเป็นจริง.....

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลย่อมเข้าถึงความสงบแห่งจิต ด้วยการร้องไห้ ด้วยความเศร้าโศก ก็หาไม่
บุคคลสงบเพราะการเจริญปัญญาชอบแล้ว เป็นความสงบแห่งโลกุตตระ

 
โลก คือในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก
เมื่อยังไม่พ้นโลก ก็ยังข้องแวะโลก มีความผูก มีความดำเนินไปในโลก
 
ความที่ โลกนั้น มีความชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน
ความที่โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน
ความที่โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป
ความที่โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา (ธัมมุทเทส 4)


ความข้องในวัฏฏะสงสารจึงชื่อว่าเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ธรรมใดที่ข้องอยู่ด้วยโลกธรรมนั้นเป็น โลกียธรรม.
 
อุตตร แปลว่า ยิ่ง กว่า เหนือ
โลกุตตรธรรมธรรมที่เหนือโลก เป็นปรมัตถธรรม คือโลกุตตรธรรม ๙ อย่างคือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 22 เม.ย. 2010, 14:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเห็นทุกข์โดยความเป็นภัย โดยความเป็นของน่ากลัว โดยความเดือดร้อน ย่อมเบื่อหน่ายและ ปรารถนาที่จะพ้นไปเสีย จึงแสวงหาทางพ้นทุกข์ ด้วยวิธีการต่างๆ นาๆ.

บุคคลนั้นมีความแน่วแน่ตั้งใจเพื่อที่จะพ้นจากความทุกข์ ย่อมเข้าหาสัตบุรุษผู้เป็นกัลยาณมิตร ย่อมเงี่ยโสตลงเพื่อสดับ เพื่อฟังพระสัทธรรม ย่อมปลงใจสัทธาในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมของพระองค์ ย่อมน้อมใจลงว่าพระธรรมของพระพุทธองค์ เป็นทางไปสู่อมตะบทคือ นิพพาน.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ ก็ให้ไว้สอน แก่ปุถุชนอย่างเราๆ ผู้มีธุลีในดวงตาหนาบ้าง บางบ้าง เพื่อให้เป็นผู้เจริญ เป็นอริยะบุคคล.


พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม แก่ผู้ใดบ้างในสมัยพุทธกาล คนเหล่านั้นเมื่อมีความยินดีในธรรม บางท่านก็ขอบรรพชา บางท่านก็มีดวงตาเห็นธรรม บางท่านก็บรรลุอนาคามี บางท่านก็บรรลุพระอรหัต. ผู้คนเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้พ้นแล้วจากทุกข์ก็มี ทุกข์บางเบาก็มี.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภพ....ภูมิ

ภพ คือที่ตั้งของโลก กามภพ รูปภพ อรูปภพ.
ภพ เกิดขึ้นจาก"ตัณหา" เป็นตัวนำจิตเข้าสู่ ความมีความเป็นอย่างนั้น ก็หมุนวนซัดส่ายอยู่ในวงแห่งภพ ๓ นั้น เป็นสังสารวัฏฏะอันยาวนาน.
 
ภูมิ 4 คือ กามาวจรภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ โลกกุตตระภูมิ
เป็นการแบ่งแยกระดับของจิต คุณสมบัติของจิตที่ยังมีตัณหามากน้อยหนักเบา หรือปราศจากตัณหา


ดังนั้น โลกกุตรภูมิ จึงเป็นภูมิที่ตั้งของจิตที่มีแต่การสลัดตัณหาเพียงถ่ายเดียว เพื่อละสังโยชน์เครื่องร้อยรัดด้วยอนุสัยกิเลสที่ยังละไม่ได้ แม้ยังไม่พ้นไปแต่ก็ชื่อว่า กำลังดำเนินการอยู่ ไม่เหมือนกับ "ภพ" ซึ่งหมายถึงการเข้าไปเป็นตามสภาพนั้นๆเลยเทียว.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 22 เม.ย. 2010, 15:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกุตตระภูมิ เป็นภูมิแห่งเสขะบุคคล(ยังไม่ถึงอรหัตตผล) และอเสขะบุคคล.

อเสขะบุคคลหมายถึงบุคคลผู้บรรลุอรหัตผลตราบที่ยังไม่ดับขันธ์ธาตุ ก็ยังคงทรงโลกุตรภูมิอยู่ ตราบที่ขันธ์ยังทรงอยู่แม้ดับกิเลสสิ้นแล้ว.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเว้นขาดจากการกระทำอันเป็นบาปอกุศล
มีความรังเกียจ ในอกุศลกรรม
มีความเกรงกลัวต่อผลของอกุศลกรรม
ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม และสร้างกุศลกรรมเพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่อความไม่ประมาท เป็นการปฏิบัติเพื่อการละ การสละวาง ซึ่งกรรมบถอันเป็นโทษ อันเป็นไปเพื่อความเบียดเบียน.
 

แต่บุคคลนั้นจะได้ชื่อว่า เข้าสู่โลกุตตระภูมิ เพราะเหตุว่าได้ให้ทาน, รักษาศีล, และการฟังธรรม ก็หาไม่ ;
ก็ด้วยบุคคลนั้นยังไม่ได้กระทำเหตุอันสมควรอันเป็นการกำจัดทิฐิที่ถือไว้ผิด และถอนเสียซึ่งกิเลส ตัณหา สังโยชน์เครื่องร้อยรัด.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุอันใดผลอันนั้น ทำเหตุคือ :-
กามาวจรอกุศลจิต ผลคือกามาวจรอกุศลวิบาก
กามาวจรกุศลจิต ผลคือกามาวจรกุศลวิบาก
รูปาวจรกุศลจิต ผลคือรูปาวจรกุศลวิบาก
อรูปาวจรกุศลจิต ผลคืออรูปาวจรกุศลวิบาก
โลกุตตรกุศลจิต ผลคือโลกุตตระกุศลวิบาก
 
ดังนั้น :-
ทำเหตุ กาม ผลที่ได้ย่อมเป็นกาม
ทำเหตุรูปวจร ผลที่ได้ย่อมเป็นรูปาวจร
ทำเหตุเป็นอรูปวจร ผลที่ได้ย่อมเป็นอรูปวจร
การทำเหตุทั้งสามประการข้างต้น ย่อมไม่อาจก่อมัคคจิตได้
เพราะมัคคจิตอยู่ใน โลกุตรภูมิ...

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลอาศัยจิตอะไร และเจริญวิปัสสนาอะไรที่จะก่อมัคคจิตให้สำเร็จได้?
 
บุคคลผู้มีกามวจรจิต เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ทำไมก็ยังไม่อาจสามารถเดินเข้าประตูของ โลกุตตระภูมิได้?

กามวจรจิต ก็คือจิตของปุถุชนทั่วๆไป มีกิเลสไหลเข้าไหลออก ทาง ตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ ฟุ้งซ่าน ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะเต็มรูปแบบ เมื่อใช้จิตชนิดนี้(กามวจรจิต) เจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา และด้วยจิตชนิดนี้จะเกิดปัญญาแห่งโลกุตตระภูมิ ย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระภาษิตทรงตรัสแก่ ปริพาชก ดังนี้ว่า
 
"ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า :-
เมื่อ เราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนเพื่อควาลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อมกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง
อย่ากระนั้นเลย เราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากเถิด เธอจึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากอยู่ อกุศลธรรมย่อเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง

 
สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอ เป็นอันสำเร็จแล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากแล ดูกรภิกษุทั้งหลายความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้อย่างนี้ ฯ
"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในธัมจักรกัปปวัตตนสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า

"ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?
 
ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ตั้งจิตชอบ ๑
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน."

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเข้าถึงโลกกุตตระธรรม จึงต้องอาศัยพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ไว้ดีแล้ว ปฏิบัติตามพระธรรมเทศนานั้นให้ได้ผล

โดยปฏิบัติไปตามมรรคปฏิปทา
เพื่อให้มีดวงตาเห็นธรรมคือการเข้าสู่โลกุตตระภูมิ ภูมิแห่งอริยะ,
ย่อมทำญาณให้เกิดเพื่อการละทิฏฐิ ตัณหา กิเลสสังโยชน์เครื่องร้อยรัด,
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบคือจิตที่อาศัยตั้งอยู่ในความวิเวก,
เพื่อความรู้ยิ่งคือความรู้ความเห็นตามความเป็นจริงในปัจจุบันขณะ,
เพื่อความตรัสรู้คือ ความตื่น ความลุกขึ้นจากความหลับ ความสืบต่อแห่งกิเลส ทำลายอนุสัยกิเลสให้สิ้นไป,
เพื่อนิพพานคือบรรลุธรรมอันเป็นความสิ้นไปจากวัฏฏะสงสาร.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 22 เม.ย. 2010, 22:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อสอดส่องดู ในพระไตรปิฏก ก็จะเห็นจิตประเภทหนึ่งที่บุคคลใช้ในการเข้าสู่โลกุตตระภูมิ ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ เช่นเดียวกันกับมรรคจิต และเป็นจิตที่ตั้งอยู่ในการ ละ ไม่พัวพัน ในราคะ โทสะ โมหะ. ไม่ข้องอยู่ในกามสัญญา. ไม่ดำริถึงกามสัญญา มีแต่การละถ่ายเดียว ดำเนินไปเพื่อก่อมรรคจิต ซึ่งสอดคล้องกับนิยามที่เกี่ยวกับโลกกุตระภูมิดังกล่าว.

Quote Tipitaka:
[๒๖] โคตรภูบุคคล เป็นไฉน
ความย่างลงสู่อริยธรรมในลำดับแห่งธรรมเหล่าใด บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า โคตรภูบุคคล

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 22 เม.ย. 2010, 22:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคล จะก้าวออกจาก กามาวจรภูมิ ด้วยอนุโลม กล่าวคือเปลี่ยนสัญญา

หรืออีกนัยหนึ่งคือ การเปลี่ยนจิตที่พัวพันในกามสัญญาอันเป็นอารมณ์ที่จิตรู้ ไปสู่อารมณ์นิพพาน

เพราะด้วยอนุโลมญาณ บุคคลนั้นจึงก้าวไปสู่โคตรภูจิต ซึ่งเป็นจิตที่ก้าวลงสู่อริยะภูมิ หรือโลกุตตรภูมิ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2010, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรคภาวนา ก็คือจิตที่ทำวิปัสสนา หรือวิปัสสนาจิต; เพื่อจะก่อมรรคจิตให้สำเร็จจึงเริ่มด้วยขณะแห่งโคตรภู.

Quote Tipitaka:
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน
โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค
โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอนันตรปัจจัย
[๕๐๖] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอนันตรปัจจัย
โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 22 เม.ย. 2010, 22:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร