วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 23:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

เด็กไทยใฝ่เสพ หรือ ใฝ่ทำ
โดย พระไพศาล วิสาโล


ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ก็คือ พ่อแม่ไม่สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกได้ในเรื่องนี้ อีกทั้งไม่มีเวลาที่จะให้แก่ลูก จึงมักลงเอยด้วยการให้วัตถุแก่ลูกเป็นการชดเชย รวมทั้ง การเลี้ยงดูลูกให้สุขสบาย เพราะไม่อยากเห็นลูกลำบาก ดังนั้น หากไม่อยากให้ลูกเป็นคนฟุ้งเฟ้อ พ่อแม่ควรปรนเปรอลูกด้วยวัตถุให้น้อยลง ขณะเดียวกันควรมีเวลาชวนลูกทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เรียนรู้ว่าความสุขก็สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำงานที่ชอบ จากการชื่นชมธรรมชาติ จากการทำความดีช่วยเหลือผู้อื่น จากการศึกษาหาความรู้ รวมทั้ง จากสมาธิภาวนา (แทนที่จะพาลูกเที่ยวห้างหรือเสพวัตถุอย่างเดียว)

กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเป็นผู้ใฝ่ทำ มิใช่เป็นผู้ใฝ่เสพ

นอกจากการทำให้ครอบครัวเป็นแหล่งเรียนรู้ กล่อมเกลาเพื่อเข้าถึงความสุขที่ไม่อิงวัตถุแล้ว ฆราวาสควรร่วมกันผลักดันให้มีการปฏิรูปการศึกษา เพราะการศึกษาทุกวันนี้ส่งเสริมทัศนคติวัตถุนิยม ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น การทำให้เด็กเอาวัตถุเป็นตัวตั้ง เรียนเพื่อจะมีรายได้ดี เอาเงินเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ไม่ส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดไตร่ตรองในเรื่องชีวิต หรือฉลาดในเรื่องจิตใจ รวมทั้ง ไม่ส่งเสริมกิจกรรมที่เอื้อให้เด็กเข้าถึงความสุขที่ไม่อิงวัตถุ เช่น การเป็นจิตอาสา ความมีใจรักในศิลปะ รักธรรมชาติ หรือการมีความสุขจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ (แทนที่จะคิดถึงแต่คะแนนหรือเกรด) หรือความสุขที่เกิดจากใจสงบ

นอกจากนั้นควรผลักดันให้เมืองและชุมชนต่างๆ มีสถานที่ที่เอื้อให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่อำนวยให้เกิดความสุข (โดยไม่ต้องรอเสพวัตถุ) เช่น พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ สนามกีฬา ไม่ใช่เอาแต่ส่งเสริมศูนย์การค้า ซึ่งมีแต่จะหล่อหลอมให้เยาวชนเป็นผู้ใฝ่เสพ มากกว่าใฝ่ทำ


fb. พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo
https://www.facebook.com/visalo
:b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2013, 13:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2013, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ยิ่งอยู่ต่างจังหวัด เห็นสภาพเด็กและเยาวชนแล้วยิ่งเศร้าใจค่ะ สิ้นหวัง :b20: :b20:

เด็กในเมืองก็ไปเรื่องหนึ่ง
เด็กบ้านนอกก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง
ประเทศเราจะไปทางไหนดี :b20:

วันก่อนได้อ่านเจอมีการบอกว่า เด็กไทยยุคใหม่กินอิ่มกว่าแต่ก่อน
(จำไม่ไ่ด้ว่าเป็นผลสำรวจหรืออะไรสักอย่าง)
อยากถามกลับไปเหลือเกินว่า ที่บอกว่า "อิ่ม" นั้น เด็กอิ่มอะไร

-ในแง่ทางกาย อิ่มขึ้นนั้นได้อิ่มอาหารที่มีคุณภาพพอสมควรและสมกับวัยแล้วหรือไม่ (เห็นขยันกินแต่มาม่า, น้ำอัดลม, ขนมก้อบแก้บ ไม่ก็ขนมรสหวานจัด เค็มจัด ), แข็งแรงด้วยการเล่นกีฬาหรือไม่

-ในแง่ทางใจ อิ่มตัวอย่างที่ดีจากครอบครัวและสังคมหรือไม่, อิ่มคุณภาพการศึกษาหรือไม่, อิ่มจากการได้แบ่งปันและร่วมกิจกรรมหรือเล่นกีฬาซึ่งพัฒนาบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยหรือไม่

เด็กไทยอิ่ม...อิ่มอะไร....คิดแล้วเศร้าใจแต๊ๆค่ะ

เด็กผู้ชายสมัยนี้ อายุจะยี่สิบปีอยู่แล้ว ร่างกายยังกร๊องแกร๊งอยู่เลย

ต่างกับเยาวชนสมัยก่อนๆนี้ ที่โตมากับการกินข้าว กินน้ำพริก เล่นวิ่งเปรี้ยว โดดยาง ฯลฯ
(สมัยบะหมี่สำเร็จรูปและขนมก้อบแก้บและสารสังเคราะห์ทั้งหลายยังไม่รุ่งเรือง)
ส่วนใหญ่แข็งแรง บึกบึน ภูมิต้านทานดีเหลือเกินนะคะ :b3: :b9: :b32:

คิดแล้วอยากให้เด็กรุ่นใหม่หันมาศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมสมัยก่อนให้มากๆจริงๆ


.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 66 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร