วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 15:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2012, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

สรุปและเรียบเรียงจากบทความโดยผู้เขียน"อาคาริยมุนี"
นิตยสารศุภมิตร. ปีที่ ๕๒, ฉบับที่ ๕๖๑,
เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐. หน้า ๕๑-๕๙


:b48: :b48:

"ผู้ไม่ได้ทำบุญกุศลไว้ย่อมกลัวโลกหน้า
ผู้ได้ทำบุญกุศลไว้ ย่อมไม่กลัวโลกหน้า มีบุญเป็นที่พึ่งพำนัก"


:b42: :b42:

เทวดาทูลถามว่า

"ประชาชนเป็นอันมากในโลกนี้กลัวอะไร? ทางที่ดีพระองค์ก็ตรัสไว้มิใช่น้อย
ข้าแต่พระโคดมผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอถามว่า
บุคคลตั้งอยู่ในธรรมอะไรแล้วจะไม่พึงกลัวโลกหน้า?"


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

"บุคคลตั้งวาจา ใจ ไว้โดยชอบ มิได้ทำบาปด้วยกาย
อยู่ครองเรือนมีข้าวและน้ำอุดมสมบูรณ์
เป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน มีปรกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
รู้ถ้อยคำ (ของผู้ขอความช่วยเหลือ--หมายถึง การรู้จักให้หรือช่วยเหลือผู้อื่น)
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ดำรงธรรม ไม่ต้องกลัวปรโลก (โลกหน้า)


พระไตรปิฎก เล่ม ๑๕ ข้อ ๒๐๗-๒๐๘


:b41: :b46: :b41:

เรื่องปรโลกหรือโลกหน้านั้น หลายคนไม่เชื่อว่า มี
แต่ในส่วนลึกๆ แล้วเข้าใจว่า ยังกลัวอยู่บ้าง
คนที่เชื่อว่า มี และทำความดีไว้น้อยก็กลัวโลกหน้า เกรงอบายภูมิ

พระพุทธพจน์มีอยู่ว่า
กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา
แปลว่า หลังจากตายเพราะกายแตก

ย่อมเข้าถึงทุคติ วินิบาต นรก
หรือย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ สุดแล้วแต่กรรม
โลกหน้านั้น เป็นภาวะที่ชีวิตใหม่จะต้องเข้าถึงเมื่อตายแล้ว

พระบาลี (พระพุทธพจน์) บางแห่งกล่าวถึงความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิหลายประการ
ประการหนึ่ง เห็นว่า โลกหน้าไม่มี (นตฺถิ ปรโลโก)
บางพระสูตรกล่าวว่า โลกหน้ามีอยู่แท้ๆแต่เขาเห็นว่าโลกหน้าไม่มี
เขาเห็นขัดแย้งกับพระอริยเจ้า ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อเขาพูดว่าโลกหน้าไม่มี คำพูดของเขาเป็นมิจฉาวาจา
เขาพยายามชักชวนผู้อื่นให้เห็นอย่างนั้นด้วย ความพยายามของเขาเป็นมิจฉาวายามะ
เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่เขาจะถอยห่างจากกุศลธรรมคลุกคลีอยู่กับอกุศลธรรมย่อมเป็นไปได้มาก

( เพิ่มเติม -- สามารถศึกษาเรื่องมิจฉาทิฏฐิได้ที่กระทู้
"พระพุทธองค์สอนโดยมุ่งประโยชน์ผู้รับการสอนโดยแท้จริง"
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=43593 )


ความกลัวโลกหน้าในหมู่ชาวพุทธมีอยู่แทบทุกคน
เว้นแต่ผู้ที่ได้บำเพ็ญความดีไว้เต็มที่แล้ว จะมีความอุ่นใจว่าเมื่อตายแล้วไปสุคติแน่นอน
ท่านผู้ที่มั่นใจได้แน่นอนในสัมปรายภพ ก็คือผู้ที่บรรลุโลกุตรธรรมแล้วตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
ท่านผู้เข้ากระแสนิพพานแล้ว (โสตาปนฺโน)
มีความไม่ตกต่ำ (อวินิปาตธมฺโม)
เป็นผู้มีคติแน่นอน (นิยโต)
จะต้องได้บรรลุธรรมถึงที่สุดในภายหน้า (สมฺโพธิปรายโน)
อบาย ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานปิดแล้ว (จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต)
ไม่ทำอภิฐาน ๖ (ฉ จาภิฐานานิ อภพฺโพกาตุง)

อภิฐาน แปลว่า เรื่องใหญ่ มี ๖ อย่าง คือ
๑.ฆ่ามารดา
๒.ฆ่ามารดา
๓.ฆ่าพระอรหันต์
๔.ทำพระโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ
๕.ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๖.การไปเข้ารีตนับถือศาสนาอื่น (อัญญสัตถุทเทส)

คือ อนันตริยกรรม ๕ เพิ่มอัญญสัตถุทเทสเข้ามาอีก ๑

การได้เป็นพระโสดาบันนั้นประเสริฐกว่าการได้ทรัพย์ ยศ เกียรติที่โลกต้องการเป็นอันมาก
เพราะสิ่งเหล่านั้นป้องกันอบายภูมิไม่ได้ ตรงกันข้ามสิ่งเหล่านี้ถ้าคนไปหลงมัน
อาจชักนำให้ไปสู่อบายได้ ตกอบายได้แม้แต่ในชาตินี้คือทำให้มีทุกข์ ร้อนใจ
ก็เพราะเรื่องทรัพย์ ยศ เกียรติหรือชื่อเสียงเป็นเหตุ

โปรดพิจารณาพระพุทธภาษิตต่อไปนี้

ปฐพฺยา เอกรชฺเชน
สคฺคสฺส คมเนน วา
สพฺพโลกาธิปจฺเจน
โสตาปตฺติผลํ วรํ


โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน
ประเสริฐกว่าการไปสวรรค์และความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง

(ขุททกนิกาย ธรรมบท)

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

ถ้าจะไม่ให้กลัวปรโลก บุคคลพึงตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ
ไม่ทำบาปด้วยกาย แม้จะอยู่ครองเรือนก็เป็นผู้มีศรัทธา เป็นคนอ่อนโยน
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้ถ้อยคำของผู้ขอความช่วยเหลือ
ผู้ตั้งอยู่ในธรรมเช่นนี้ ไม่ต้องกลัวปรโลก

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2012, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

๑.) ไม่ทำบาปด้วยกาย วาจา ใจ

ตั้งกาย วาจา ใจไว้โดยชอบ คือ เว้นทุจริต
ประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจอย่างสม่ำเสมอ


ทุจริตทางกาย คือ การเบียดเบียนผู้อื่นโดยอาศัยกายของตน
เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ฆ่า-เบียดเบียนสัตว์ ลักขโมย
ปล้น จี้เอาทรัพย์ของผู้อื่น การประพฤติผิดในกาม
กิริยาอาการกระด้าง หยาบคาย

ทุจริตทางวาจา คือ พูดเท็จ ส่อเสียด ยุยง พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ
คนส่วนมากเห็นการพูดเท็จเป็นวจีทุจริต
แต่การพูดส่อเสียด พูดคำหยาบและพูดเพ้อเจ้อนั้นไม่เห็นว่าเป็นทุจริต
จึงมักพูดคำหยาบและเพ้อเจ้อกันโดยไม่กระดาก

ทุจริตทางใจ เช่น การคิดโลภอยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายผู้อื่น
การเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม และความคิดอื่นๆที่ทำให้เกิดทุกข์
การทุจริตทางใจนี้เป็นสิ่งที่คนส่วนมากยิ่งมองข้าม เพราะเป็นของละเอียด
ความชั่วทางกาย วาจา ล้วนมีรากฐานมาจากความชั่วทางใจก่อน
เมื่อระงับไว้ไม่ได้แล้วจึงออกมาทางกาย วาจา
เช่นนั้นแล้วถ้าใจสงบ กาย วาจา ก็พลอยสงบไปด้วยนั่นเอง
สมดังพระพุทธภาษิตที่ว่า

สนตํ ตสฺส มนํ โหติ สนฺตา วาจา จ กมฺม จ
เมื่อใจของเขาสงบ วาจาและกายก็พลอยสงบไปด้วย


คนที่ใจไม่สงบ จะแสดงออกมาทางกาย วาจาชัดเจน
เช่น ผุดลุก ผุดนั่ง เมื่อพูดจาก็แสดงความฟุ้งซ่านออกมาทางวาจาด้วย
ปรากฏอาการแห่งผู้ไม่สงบออกมาชัดเจน
แต่ผู้ที่มีใจสงบ สภาพจะตรงกันข้ามกัน
ยิ่งท่านที่มีใจสงบจนถึงอัปปนา คือ ฌาณ
สามารถนั่งอยู่เฉยๆนิ่งๆได้เป็นวัน
ผู้สงบอยู่ในนิโรธสมาบัติ
สามารถอยู่ได้นานถึง ๗ วัน ๑๕ วันในอิริยาบถเดียว เป็นต้น

เห็นได้ว่า คนเราควรฝึกจนให้เป็นผู้อยู่อย่างสงบได้
สงบจากการประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ
นั่นแหล่ะความสุขแท้

เสียใจหรือทุกข์ใจ ไปนรก
ดีใจหรือพอใจ ไปสวรรค์
เย็นใจ สงบใจ ไปนิพพาน


๒.) เป็นผู้ศรัทธา

คือ เชื่อกรรม เชื่อความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

ความเชื่อเช่นนี้มีเหตุผลพอที่จะทำให้บุคคลดำเนินชีวิตอยู่ในทางที่ดี
ด้วยศรัทธาอันมั่นคงนั้นจะนำชีวิตไปสู่ความสำเร็จความเจริญ
ดีกว่าเชื่อมงคลภายนอกอันเป็นสิ่งเลื่อนลอย ไม่มีผลจริง
มีแต่เรื่องปลอบใจตัวเองไปวันๆ และเป็นทางให้ผู้อื่นหลอกลวงได้ด้วย


๓.) เป็นผู้อ่อนโยน

อ่อนน้อมถ่อมตนต่อคนทั้งหลาย
ไม่กระด้างเพราะมานะ (ความทะนงตน) ในชาติตระกูล ยศศักดิ์ ชื่อเสียง ฯลฯ
แม้เป็นผู้เพียบพร้อมทุกอย่างแต่ก็ประพฤติตนเหมือนเป็นผู้ไม่มีอะไร
ตำหนิตนเองได้และยกย่องคนอื่นได้เสมอ
มีจิตใจอ่อนโยนต่อสัตว์ทั้งหลาย ประกอบด้วยกรุณา


๔.) มีปกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

เป็นผู้มีอัธยาศัยในการจำแนกแจกทาน แบ่งปันสิ่งที่ตนหามาได้โดยชอบธรรม
ไม่หวงไว้บริโภคแต่ผู้เดียว ไม่เก็บไว้จนพ้นกาลจะบริโภคได้ คือ เน่าเสีย
หรือไม่เก็บไว้จนพ้นกาลที่จะใช้สอยสิ่งนั้นได้ คือ เก่าเก็บ
คอยสอดส่องดูเพื่อเจือจานผู้อื่นด้วยความเอื้ออาทร

เป็นผู้ปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่
สำเหนียกเสมอว่า ทรัพย์สมบัตนั้นเป็นของโลก เราเพียงอาศัยใช้ชั่วคราว
ความคิดแบบนี้จะทำให้ยินดีในการให้แก่คนที่ควรให้ สบายใจในการให้
ให้แล้วไม่กลับเสียดาย-เสียใจในภายหลัง เป็นต้น


๕.) รู้จักถ้อยคำ

ในบางครั้งผู้ที่มาขอความช่วยเหลือ ไม่ได้ออกปากโดยตรง
อาจเพราะเกรงใจหรือเพราะละอาย แต่เมื่อได้ฟังแล้วพอรู้ว่าผู้พูดต้องการอะไร
ผู้มีอัธยาศัยงาม ย่อมแสดงน้ำใจเพื่อให้ เพื่อช่วยเหลือตามฐานะ และโอกาสอันควร
ถ้าไม่สามารถช่วยเหลือทางทรัพย์สิน ก็ช่วยด้านอื่น เช่น กำลังกาย, กำลังสติปัญญา ฯลฯ
ถ้าช่วยไม่ได้จริงก็แสดงความปรารถนาดีให้เขาทราบ
ผู้มีลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า ผู้รู้ถ้อยคำ (วทัญญู)



:b48: จบ :b48:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร