วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 01:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2012, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระธรรมเทศนาโดย
พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์
(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙

:b42: :b41: :b41: :b42:

ท่านอาจารย์ได้แสดงธรรมเทศนาในสังเวคกถาว่า
"อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺตีติฯ"
มีใจความโดยย่อดังนี้

ธรรมะ เป็นเครื่องบำรุงจิตใจให้บริสุทธิ์ได้อย่างหนึ่ง
และอีกอย่างหนึ่งจะกล่าวก็คือ ธรรมะได้แก่ตัวของเรานี้เอง
ร่างกายของเราทุกส่วนเป็นก้อนโลก
โลก ก็คือ ตัวธรรม เป็นเรื่องของธรรมะ แต่ไม่ใช่ตัวธรรมะจริงๆ
ตัวของธรรมะจริงๆ อยู่ที่จิตใจ


ตั้งแต่สมเด็จฯ (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ฯ) ท่านได้มรณภาพไปแล้วเป็นเวลา ๑๐ กว่าวันมานี้
พวกเราทั้งหลายบรรดาที่เป็นสานุศิษย์ของท่านทั้งฝ่ายพระภิกษุ สามเณรและฆราวาส
ต่างก็ได้มีความเศร้าสลดใจและระลึกถึงในพระคุณของท่าน
จึงพร้อมกันได้แสดงความกตัญญูกตเวทีอย่างเต็มอกเต็มใจในการประกอบกรณียกิจ
และการบำเพ็ญบุญกุศลทุกๆอย่างเพื่อน้อมอุทิศถวายเป็นการบูชาพระคุณท่าน
สิ่งใดที่เป็นเกียรติ เราก็ทำถวาย สิ่งใดที่เป็นความดีเราก็เสียสละ
ทั้งด้วยกำลังกาย กำลังวาจา กำลังความคิด
และกำลังทรัพย์ของตนอย่างเต็มความสามารถที่จะทำได้

กำลังกาย กำลังวาจา และกำลังความคิด
เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นจักต้องกล่าวก็พอจะเข้าใจกันได้ดี
จะกล่าวถึงแต่ในเรื่อง "กำลังทรัพย์" ซึ่งควรทำความเข้าใจไว้บ้าง
เพื่อจะได้ใช้ทรัพย์ของตนให้เป็นประโยชน์ได้ตามสมควร

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านคงมิได้มีความปรารถนาที่จะเรียกร้องในส่วน "โลกียทรัพย์"
คือ วัตถุ สิ่งของ จากพวกเราเลย สิ่งที่ท่านประสงค์ก็คือ "อริยทรัพย์"
ดังนั้น เราต้องทำ "โลกียทรัพย์" ของเราให้เป็น "อริยทรัพย์" เสียก่อน
ซึ่งเรียกว่า "บุญกุศล" แล้วเราก็จะน้อมส่วนบุญกุศลอันนี้แหล่ะอุทิศส่งไปถึงท่านได้

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2012, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


"โลกียทรัพย์" นั้น ไม่ใช่ของถาวรเพราะมันถูกไฟเผาอยู่ทุกวัน
ทุกขณะ ทุกเวลา มีแต่จะสิ้นจะหมดไป
คนมีทรัพย์มากก็ถูกเผามาก คนมีทรัพย์น้อยก็ถูกเผาน้อย

อัตภาพร่างกายของเรานี้ย่อมมีไฟเผาอยู่ทุกขณะ
คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ไฟ ๔ กองนี้มัะนเผาเราอย่างพินาศทีเดียว

คิดดู ตั้งแต่เราเกิดมาก็เริ่มเสียทรัพย์แล้ว
ครั้นเติบโตขึ้น พอความแก่เข้ามาถึงก็ต้องเป็นทุกข์ เดือดร้อนเสียทรัพย์อีก
พอความเจ็บไข้มาถึงก็ยิ่งเป็นทุกข์หนักขึ้นและเสียทรัพย์อีก
และพอความตายเข้ามาก็เสียทรัพย์อีก
เมื่อชาติ ชรา พยาธิ มรณะ มันเผาเราขณะใด
ก็ย่อมเผาไปถึงทรัพย์สมบัติของเราด้วยทุกครั้งไป

ฉะนั้น จึงควรที่จะรีบฝังทรัพย์ของเราให้เป็น "อริยทรัพย์" เสีย
เพื่อความปลอดภัยเหมือนกับเราฝากเงินไว้ในธนาคาร
ทรัพย์นั้นก็จะเป็นของเราโดยแท้จริง ไม่สูญหายไปไหน
การฝังทรัพย์นั้นก็ได้แก่การทำบุญกุศล
มีการบริจาคทานวัตถุ สิ่งของ บูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น
นี่คือการฝากทรัพย์ไว้ในธนาคารของพระศาสนา

การฝากทรัพย์ไว้ในธนาคารของพระศาสนาจะส่งผลไปให้แก่ผู้ล่วงลับได้อย่างไร
ตัวอย่าง สมมติว่า บิดา มารดาของเราไปตั้งบ้านเรือนอยู่ต่างประเทศ
เราจะไปหาก็ไปไม่ได้ ท่านจะมาหาเราก็มาไม่ได้
เมื่อเราคิดถึงท่านเราก็ฝากสิ่งของเงินทองไปหาท่านโดยไปรษณียภัณฑ์
มีใบรับจากเจ้าพนักงานเป็นหลักฐาน
เพราะเงินในประเทศของเรานำไปใช้ในต่างประเทศไม่ได้
จำเป็นต้องแปรรูปให้เป็นเงินต่างประเทศเสียก่อนจึงจะใช้ได้
โลกียทรัพย์ทั้งหลายในโลกนี้ย่อมนำไปใช้ในโลกหน้าไม่ได้

ฉะนั้น จึงจำเป็นจะต้องแปรรูปให้เกิดเป็นกุศลเสียก่อน
แล้วอุทิศไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปในโลกหน้า
ถ้าเขาหาตัวผู้รับไม่พบหรือส่งไม่ถึง
เจ้าพนักงานก็จะต้องส่งกลับคืนให้เราฉันใดก็ดี
บุญกุศลที่เราได้บำเพ็ญไปนี้ พระสงฆ์ท่านเป็นเจ้าหน้าที่ัรับไว้
แล้วท่านก็สวดมนต์ให้ศีลให้พรแก่เราและอุทิศส่วนกุศลนั้นๆ
ไปให้บิดามารดาหรือญาติพี่้น้องของเราที่ล่วงลับไปแล้วอีกต่อหนึ่ง
ถ้าหากผู้รับไม่สามารถจะรับได้
บุญกุศลนั้นๆ ก็จะย้อนกลับมาหาเรา หาได้สาบสูญไปไหนไม่

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 04:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

การบำเพ็ญบุญกุศลเกิดจากทางกาย ทางวาจา และทางใจของเรา
ทางกาย วาจา นับเป็นกุศลส่วนหยาบ
และส่วนกลาง ได้แก่ การบำเพ็ญศีลและทาน เป็นต้น
ส่วนที่ละเอียดนั้น คือ การบำเพ็ญกุศลทางใจ ได้แก่ การภาวนา
เพราะฉะนั้นเรื่องของจิตใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจำเป็นจะต้องเรียนรู้ให้เข้าใจด้วย


เรื่องของจิตใจมีอยู่ ๒ อย่าง คือ จิตเกิด-จิตตาย อย่างหนึ่ง
และ จิตไม่เกิด-จิตไม่ตาย อย่างหนึ่ง
ถ้าจิตเข้าไป "หลงในสังขาร" ทั้งหลายก็ย่อมเกิด-ตาย เป็นธรรมดา
จิตที่เข้าไป "รู้แจ้งเห็นจริงในสังขาร" ทั้งหลาย
ทำความปล่อยวางเสียได้ย่อมไม่เกิดและไม่ตาย

ถ้าเรารารถนาที่จะพ้นทุกข์ คือ ไม่เกิดและไม่ตาย
เราก็จะต้องศึกษาเรียนรู้ในเรื่องความเป็นจริงของสังขารทั้งหลายให้เข้าใจเสียก่อน

คำว่า "สังขาร" นั้น ตามความเป็นจริงของโลก มี ๒ ชนิด
คือ "สังขารโลก" กับ "สังขารธรรม"
ทั้งสองอย่างนี้ย่อมเป็นไปตามความเป็นจริงทั้งสิ้น
แต่ก็เป็นของเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ท่านจึงกล่าวว่า
"อนิจฺจา วตสงฺขารา อุปปาทวยธมฺมิโน ฯลฯ"
ซึ่งแปลความว่า "สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง" ฯลฯ


เพราะทั้ง ๒ สังขารประเภทนี้ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น
แปรไปในท่ามกลางและดับไปในที่สุด
ถ้าผู้ใดเข้าไปกำหนดรู้แจ้งเห็นจริงในสภาพอันนี้
ทำความระงับ รู้เท่าในสังขารทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

"สังขารโลก" เป็นของที่เขาเสกสรรค์ปั้นแต่งขึ้น
เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น
ส่วน "สังขารธรรม" นั้นใครจะแต่งหรือไม่แ่ต่งก็ย่อมมีเสมอภาคกันหมด
คือ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ นี้แล


"สังขารโลกและสังขารธรรม" ถ้าจะเปรียบก็เหมือนไฟสีสลับต่างๆ
ที่ตามหน้าโรงหนัง มันวูบ วาบ เขียว แดง ขาว เหลือง ฯลฯ สลับสับเปลี่ยนกันไปมา
ตาของเราที่ไปมองดูก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย ต้องส่ายไปตามมัน
เหตุนั้นจึงเกิดการเข้าใจผิด
ดวงจิตก็ไปเกาะอย่างเหนียวแน่นกับสังขารทั้งหลายเหล่านี้
เป็นเหตุแห่งความยินดียินร้าย
ในเมื่อมีความเปลี่ยนแปรไปเป็นดีเป็นชั่ว
ดวงจิตของเราก็แปรเปลี่ยนไปตามมันด้วย
ฉะนั้นจึงตกอยู่ใน อนิจจลักขณะ ทุกขลักขณะ และอนัตตลักขณะ ทั้ง ๓ ประการนี้

อนึ่ง "สังขาร" นี้มีอีก ๒ ประเภท คือ
สังขารมีใจครอง อย่างหนึ่ง เช่น คนหรือสัตว์
กับ สังขารไม่มีใจครอง อย่างหนึ่ง เช่น ต้นไม้ เป็นต้น

แต่คำว่า สังขารไม่มีใจครองนั้น อัตโนมัติยังไม่เห็นด้วย
ตัวอย่างเช่น บันไดศาลานี้ถ้าจะว่าไม่มีใจครอง ใครไปลองทำลายดู จะเกิดเรื่องไหม?
ที่นาก็เหมือนกัน เราลองล้ำเข้าไปทำนาในเขตของคนอื่นเขาดูบ้าง
หรือต้นไม้ กล้วย เงาะ ทุเรียน ฯลฯ เขาปลูกไว้ในสวน
เรลองเอามีดไปฟันดู เจ้าของเขาจะมาเอาเราเข้าตะรางหรือไม่
นี้จะว่ามันมีใจครองหรือไม่มีก็ลองคิดดู

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกที่ความยึดถือเข้าไปถึง
สิ่งนั้นจะต้องมีใจครองทั้งสิ้น

เว้นแต่ดาวพระอังคารที่รัศมีของความยึดถือไปไม่ถึงก็ไม่มีอะไรครอง
สังขารทุกอย่างมีใจครองทั้งสิ้น
เว้นแต่พระอรหันต์อย่างเดียวเท่านั้นที่ไม่มีใจครอง
เพราะจิตของท่านมิได้มีความยึดถือในสังขารทั้งหลายในโลกเลย

ความยึดถือในสังขารทั้งหลาย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
เพราะสังขารเป็นของไม่เที่ยงดังกล่าวมาแล้ว
ดังนั้น ทำความปล่อยวางเสียได้ ไม่ยึดถือในสังขารทั้งหลาย
จึงเป็นความสุข เรียกว่า "ความสุขในทางธรรม"
ถือเป็นความสุขที่สงบเย็น มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปร

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสุขของโลกนั้นไม่ผิดอะไรกับการนั่งเก้าอี้
ถ้าเก้าอี้มันไม่ไหวนั่นแหล่ะจึงจะมีความสุข
การไหวทางใจนี้มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
ไหวไปตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง ไหวไปโดยวิบากกรรมอย่างหนึ่ง

ใจของเรานี้มันไหววันละกี่ครั้ง? บางทีก็ไหวจากกรรม บางทีก็ไหวจากวิบาก
แต่มันไหวอย่างไหนเราก็ไม่ทราบ นี่แหล่ะเป็นตัว "อวิชชา"
ความไม่รู้นี้จึงเป็นเหตุให้เกิด "สังขาร" คือ "ความคิด" ขึ้น

จิตที่ไหวหรือแปรไปโดยธรรมชาติก็ดี จิตที่ไหวหรือแปรไปโดยวิบากกรรมก็ดี
ทั้ง ๒ อย่างนี้ถ้าไหวไปด้วยดีด้วยชอบก็เป็นบุญ ถ้าไหวไปในทางชั่วก็เป็นบาป
การไหวนี้จึงมี ๒ อย่าง คือ ไหวอย่าง "ผู้ดี" กับไหวอย่าง "อนาถา"


ไหวอย่างผู้ดี คือ ไหวไปในทางดีทางชอบ เป็นบุญเป็นกุศลก็เป็นสุข
ไหวอย่างอนาถา คือ ไหวไปในทางชั่ว ทางบาป อกุสล ก็เป็นทุกข์
เหล่านี้ก็เนื่องมาแต่เรื่องของ "สังขาร" ทั้งสิ้น

อีกส่วนหนึ่งที่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ วิสังขาร
อะไรเป็นตัววิสังขาร? ความไม่ไหว ความไม่แปร ความไม่ดับนี่แหล่ะเป็นตัววิสังขาร

สังขารแปร ใจของเราไม่แปร
สังขารทุกข์ ใจของเราไม่ทุกข์
สังขารไม่เที่ยง ใจของเราเที่ยง
สังขารเป็นอนัตตา ใจของเราไม่เป็นอนัตตา
สังขารไม่มีใจครอง นั่นแหล่ะ...เป็นตัววิสังขาร


เมื่อสังขารส่วนมีโทษหมดไป สังขารส่วนที่มีคุณก็ปรากฏ
เพราะฉะนั้น ใจของเราอย่าไปยึดถือทั้งสังขารโลกและสังขารธรรม
ส่วนใดที่ชั่วเราต้องยอมเสียสละ ส่วนใดที่ดีก็เป็นบารมีของโลก

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ท่านเรียกว่า "ปรมัตถธรรม"
ปรมัตถธรรมเป็นเรื่องของจิตใจ ท่านกล่าวว่า
๑. เป็นของสูง
๒. เป็นของละเอียด
๓. เป็นของรีบด่วน


๑. ที่ว่าเป็นของสูงนั้น ก็คือ ถ้าใครไม่มีปัญญาก้ไม่สามารถเอื้อมถึง
ของสูงเป็นของมีค่า เพราะธรรมดาดอกไม้สูงย่อมสะอาดกว่าต้นหญ้า

๒. ที่ว่าเป็นของละเอียด ก็คือ เป็นของที่มองเห็นได้ยาก
ถ้าใครไม่มีดวงตาจริงๆก้ย่อมมองไม่เห็น

๓. ที่ว่าเป็นของรีบด่วน ก็เพราะว่า คนที่จวนจะตายรอมร่อนั่นแหล่ะ
จึงมักจะกล่าวกันในเรื่องปรมัตถ์

ทั้ง ๓ ประการนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม

(ข้อ ๑ ที่ว่าเป็นของสูง กล่าวโดยปุคคลาธิษฐานตามคัมภีร์ก็ได้เ้แก่ อายตนะ
มีตา หู จมู ลิ้น เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในส่วนสูงตั้งแต่คอถึงศีรษะ
กล่าวโดยพระสุตรก็ได้แก่ ขันธ์ ๕)

โดยมาก คนเรารับรู้กันแต่วิชาของครูทั้ง ๖ วิชาความรู้ของครูทั้ง ๖ นี้ คือ
รู้ทางตา หู จมุก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นที่มาแห่งความผันแปรไม่แน่นอน เป็นทุกข์
เป็นตัวอวิชชาและสังขาร ฉะนั้น จงพากันปิดอายตนะเหล่านี้เสีย
เพราะสังขารกับสังขารย่อมมองไม่เห็นกัน ต้องอยู่ตรงกันข้ามจึงจะมองเห็นได้

เมื่อจิตมีวิชาความรู้เกิดขึ้นในญาณจักขุ
จึงจะมองเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ถ้าเรามีความรู้ในญาณจักขุ เราก็อาจจะไปถึงสมเด็จได้ในวันนี้ ขณะนี้
(สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ฯ ซึ่งมรณภาพในขณะนั้น
เทศนาธรรมกัณฑ์นี้แสดงในงานบุญถวายกุศลแด่ท่าน
พระอาจารย์จึงได้กล่าวถึงไว้ในเทศนา-เพิ่มเติมโดยผู้พิมพ์บทความ)

ทุกคนเกิดมาย่อมต้องการความสุข
ความสุขนี้ก็มีอยุ่ ๒ อย่าง คือ โลกิยสุข กับ โลกุตตรสุข
โลกิยสุขเกิดจากสังขารโลก
โลกุตตรสุขเกิดจากสังขารธรรม

ถึงอย่างนั้นก็อยู่ในความไม่แน่นอน ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรสนใจศึกษา
และปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงของสังขารทั้งหลาย
ก็จักได้พบความสุขอันปราศจากอามิสดังแสดงมาในสังเวคกถาด้วยประการฉะนี้


:b41: :b42: :b42: :b41:

คัดลอกเนื้อหามาจาก...
หนังสือแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน ๒
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

พิมพ์เผยแพร่โดย ชมรมกัลยาณธรรม หน้า ๑๙-๒๙

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโมทนาครับ สาธุ :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 11:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue onion onion tongue


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร