วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2012, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักปฏิบัติทางจิต

รูปภาพ

พระธรรมเทศนาโดย
พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์
(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙

:b44: :b42: :b42: :b44:

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทธานุสฺสติ เมตฺตา จ อสุภํ มรณสฺสสตีติ


ณ โอกาสนี้ จะได้แสดงธรรมอันเป็นโอวาทคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งจะเป็นเครื่องประดับสติปัญญาแก่พวกเราทั้งหลายที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญทานการกุศลในวันนี้
เพื่อให้สำเร็จประโยชน์อันบริบูรณ์อย่างหนึ่งและอีกอย่างหนึ่งเพื่อเป็นคติอันควรแก่พวกเรา
ซึ่งจะได้น้อมนำไปปฏิบัติในโอกาสต่อไปนั้นด้วย

ทุกๆคนที่พร้อมใจกันมาร่วมบำเพ็ญการกุศลทักษิณาทานในวันนี้
ก็มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นการสักการบูชา
ถวายแด่พระเดชพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ฯ ซึ่งท่านได้มรณภาพไปแล้วนั้น
เพื่อเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทีในพระคุณของท่านที่มีแก่พวกเราทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต
ดังที่ได้ประจักษ์แก่เรามาแล้วตั้งแต่ในเวลาที่ทำยังดำรงชีวิตอยู่

การแสดงกตัญญูกตเวทีอันนี้เราก็ไดมีต่อท่านมาแล้วตั้งแต่เวลาที่ท่านได้เริ่มอาพาธตลอดมา
ทางฝ่ายภิกษูสามเณรต่างก็มีความเอาใจใส่ดูแล ปฏิบัติรักษาในองค์ท่านเป็นอย่างดี
ส่วนพวกเราที่เป็นฆราวาสก็มีความมุ่งหวังดีที่จะช่วยกันรับใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
และถึงแม้ท่านได้ล่วงลับไปแล้ว เราก็ยังพากันจดจำและระลึกถึงพระคุณของท่านอยู่เสมอ

การบำเพ็ญทานที่เราได้ตั้งใจจะน้อมอุทิศไปถึงท่านอย่างนี้
ไม่ใช่ทานธรรมดาอย่างที่เราทำแก่คนทั่วๆไป
การบำเพ็ญทานอย่างนี้ เราเรียกว่า "ทานบูชา"
คือ ทานที่เราทำเพื่อความเคารพสักการะในพระคุณของท่าน

หัวข้อธรรมะที่ได้ยกมาแสดงในวันนี้เป็นหลักปฏิบัติอันสำคัญข้อหนึ่ง
ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ
ที่จะให้พวกเราได้น้อมนำไปใช้ให้บังเกิดผล เป็นความดีงามและความสุขอันสมบูรณ์
เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ฯ ท่านก็ได้รักษาข้อปฏิบัติอันนี้เป็นหลักประจำอยู่เสมอมา
และทั้งเป็นสิ่งที่ท่านได้เคยปรารภและปรารถนาที่จะให้พวกเราทุกๆ คนได้น้อมนำไปใช้สำหรับตัวเอง
เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการประพฤติปฏิบัติของเราทั้งหลายด้วย
ดังนั้น จึงได้นำธรรมะข้อนี้มาแสดงเพื่อให้เป็นที่ถูกกับความประสงค์ของท่าน

โอกาสต่อไปนี้ก็ขอให้พวกเราพากันต้งอกตั้งใจสดับตรับฟังให้บังเกิดเป็นบุญเป็นกุศล
พร้อมด้วกาย วาจา ใจของเราที่จะได้น้อมบูชาสักการะในเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่าน
ให้สมกับความที่เราได้ตั้งใจกระทำในวันนี้

:b41: :b41:

๑. พุทฺธานุสฺสติ

หมายถึง การระลึกถึงพระพุทธเจ้า
กล่าวโดย "ปุคคลาธิษฐาน" ก็มีการนึกถึงพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์
และปูชนียสถาน มีโบสถ์ วิหาร และวัดวาอาราม เป็นต้น
โดย "ธรรมาธิษฐาน" ก็ให้นึกระลึกถึงในส่วนพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า
มีพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ ปละพระมหากรุณาธิคุณ เป็นต้น

พระปัญญาคุณ คือ พระองค์ทรงมีพระปรีชาฉลาด ตรัสรู้แจ้งโลก
ทั้งมนุษย์ เทวดา พรหม ด้วยพระองค์เอง โดยมิได้มีใครสั่งสอน
ทรงทราบชีวิตความเป็นไปของสัตว์โลกทั้งหลายได้ดี
ทั้งในส่วนอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่เกี่ยวเนื่องด้วยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว

พระบริสุทธิคุณ คือ พระองค์ทรงปราบปรามกิเลสความชั่วร้าย
ให้หมดสิ้นไปได้จากสันดานของพระองค์
นีวรณธรรมทั้งหลายก็ไม่ได้มีในพระราชหฤทัย
กายของพระองค์ก็สุจริต วาจาของพระองค์ก็สุจริต
พระองค์จึงมีแต่ความบริสุทธิ์ ไกลจากกิเลสและอาสวะทั้งสิ้น

พระมหากรุณาธิคุณ คือ พระองค์ได้ทรมานพระองค์
และต่อสู้กับความทุกข์ยากลำบากอย่างยิ่งในการแสวงหาธรรมอันเป็นทางสิ้นทุกข์
กว่าจะสำเร็จก็เป็นเวลาหลายปี และเมื่อพระองค์ได้ทรงบรรลุในธรรมอันสูง
จนตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเมื่อพระชนม์ได้ ๔๕ พรรษา
พระองค์ก็ยังเสด็จจาริกไปโปรดประชาชนทั้งหลายตามบ้านน้อยเมืองใหญ่
เพื่อประสงค์ะทรงรื้อสัตว์ ขนสัตว์ให้หลุดพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ทั้งปวง
อีกตลอดเวลาที่มีพระชนม์อยู่ ตราบจนเสด็จดับขันธปรินิพพาน
โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความสุขส่วนพระองค์เลย
นี้จัดว่าเป็นพระเมตตาและพระกรุณาคุณแกพวกเราอย่างยิ่งยวด

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2012, 05:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. เมตฺตญฺจ

หมายถึง การแสดงเมตตา กรุณาต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทั่วไป
โดยความปรารถนาที่จะช่วยให้เขาเป็นสุข
ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันด้วยกาย วาจา ใจ


คำว่า "เมตตา" มาจาก "มิตตะ" แปลว่า ความสนิท คุ้นเคยหรือหวังดี
เราต้องแสดงความเป็นผู้สนิท คุ้นเคย หวังดีต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
ตลอดทั้งโลกเบื้องสูง โลกท่ามกลาง และโลกเบื้องต่ำ
ด้วยเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม

โลกเบื้องสูง ได้แก่ บิดา มารดา เจ้านาย ครู อาจารย์
และท่านผู้ที่สูงกว่าเราโดยคุณธรรม วิชาความรู้ ชาติสกุล อายุ ทรัพย์ เป็นต้น
บุคคลเหล่านี้เราจะต้องแสดงความเมตตาต่อท่าน
ด้วยการส่งเสริมค้ำชูให้ท่านสูงขึ้นไป
ด้วยการบำเพ็ญคุณประโยชน์ช่วยเหลือแก่ท่านเท่าที่จะทำได้

โลกท่ามกลาง ได้แก่ มิตรสหาย เพื่อนฝูง
หรือญาติพี่น้องมีความเป็นอยู่ที่ทัดเทียมเสมอกับตัวเรา
บุคคลเหล่านี้เราก็ไม่เบียดเบียนเขา ต้องหวังดีเอื้อเฟื้อต่อเขาเสมอ
เช่นเดียวกับทำให้แก่ตัวเราเอง

โลกเบื้องต่ำ ก็คือ ผู้ที่เขามีวิชาความรู้ สติปัญญาและความประพฤติต่ำกว่าเรา
มีทรัพย์น้อยกว่าเรา หรือมีอายุน้อยกว่าเรา มีความเป็นอยู่ต่ำต้อยกว่าเรา
โลกเบื้องต่ำสำคัญที่สุด ก็คือ คนที่เป็นศัตรูของเรา ที่เขาคอยเบียดเบียนทำลายเรา
เราต้องแผ่เมตตาจิตให้แก่เขาให้มากที่สุด ต้องไม่โกรธเกลียด พยาบาทตอบเขา
บุคคลประเภทนี้เราจะต้องช่วยฉุดให้เขาเป็นคนดี
สูงขึ้นมาจนทัดเทียมเสมอกับเรา
มีหนทางใดที่พอจะช่วยเหลือเกื้อกูลเขาได้ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์หรือกำลังปัญญา
เราก็ช่วยเหลือให้เขามีความสุขและแนะนำให้เขาทำความดีด้วย

เมตตากายกรรม
คือ เราไม่เบียดเบียนใครด้วยกาย เป็นผู้มีศีล ๕ และกัลยาณธรรม
กายของเรา เราก็จักรักษาไว้ให้สุจริต
ไม่แสดงมารยาทที่ไม่ดีขึ้นในสังคมใดๆ

เมตตาวจีกรรม
วาจาของเราก็เป็นไปด้วยความสุจริต เยือกเย็น
กล่าวแต่วาจาที่ไพเราะและเป็นคุณ เป็นประโยชน์
ไม่กล่าววาจาที่เป็นคำเท็จ คำเบียดเบียน ประหัตประหารใคร

เมตตามโนกรรม
ใจของเราก็สุจริต ไม่มุ่งพยาบาทคิดร้ายต่อใคร
มีความยินดีในความสุขของผู้อื่น
ในเมตตา ๓ ประการนี้ เมตตามโนกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

:b41: :b41:

๓. อสุภญฺจ

หมายถึง ให้พิจารณาในความไม่สะอาดและสิ่งที่เป็นปฏิกูลในร่างกาย
คือ ให้พิจารณาในอสุภกัมมัฏฐาน
มีอาการ ๓๒ เป็น "อสุภ" นี้มีอยู่ ๒ อย่าง
อย่างหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ อีกอย่างหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงติเตียน

อสุภที่พระองค์ทรงสรรเสริญว่าดีนั้น คือ ความเน่าเปื่อยพุพองในร่างกาย
ที่ทำให้แลเห็นถึง ความเก่าแก่ แปรปรวนและทรุดโทรมในสังขาร
และความไม่สะอาด ไม่สวย ไม่งามของร่างกาย
เพื่อความสลดสังเวชที่จะปราบปรามจิตของเรา
ให้เกิดความเบื่อหน่ายในกงอทุกข์นี้ได้

ส่วน "อสุภ" ที่พระพุทธเจ้าทรงติเตียน ก็คือ ความชั่วร้ายซึ่งเป็นของไม่ดี
ที่เปื้อนเปรอะอยู่ในตัวเรา กายก็โสโครก วาจาก็โสโครก และใจก็โสโครก
อย่างนี้พระองค์ทรงตำหนิ และลงโทษมากทีเดียว

ดังนั้นเราจะต้องชำระตัวของเราให้สะอาดอยู่เสมอในสถานที่ต่างๆ
กายวาจาของเราต้องสะอาด นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญว่าเป็นกัลยาณชน
ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2012, 05:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. มรณญฺจ

หมายถึง ให้ระลึกถึงความตาย
ความตายนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เป็นสิ่งไม่มีใครต้องการ
เพราะมันเป็นสิ่งที่คับใจเราอย่างยิ่ง
ดังนั้น ท่านจึงสอนให้หมั่นระลึกถึงความตายไว้

ความจริงการระลึกถึงความตายนี้จะเป็นกุศลอย่างสำคัญทีเดียว
แต่ถ้าเราไประลึกถึงเผินๆ ก็กลัวตาย
ถ้าเราระลึกถึงความจริงของมันจนเลยออกไปจากความตายแล้ว
เราก็จะไม่กลัวตาย
เรื่องตายเป็นปัญหาอย่างสำคัญ
ถ้าเราไม่ต้องการตายก็ควรจะระลึกให้ถึงความจริงแล้วเราก็จะไม่ตาย

ความตายอย่างสามัญชนมี ๓ ประเภท

ประเภทที่ ๑ คือ ตายไปกับความชั่ว
ประเภทที่ ๒ ตายไปกับความดี
ประเภทที่ ๓ ไม่ตาย


ถ้ามนุษย์ทั้งหลายยินดีในการทำชั่วก็ต้องตายไปกับความทุกข์
บางพวกที่ไม่ประมาท มีสติปัญญาหมั่นเจริญเพ่งพิจารณาว่า
เราเกิดมาก็ไม่มีอะไรติดตัวมา เวลาตายก็คงไม่มีอะไรไป มาอย่างไรก็ไปอย่างนั้น
นอกจากความดีความชั่วที่ตนทำไว้แล้วก็คงไม่มีสิ่งใดที่จะติดตัวไปได้

เมื่อมาพิจารณาอย่างนี้ก็รีบบำเพ็ญตนทำบุญทำกุศล
เป็นคนไม่ประมาทไปทั้งหมดเพื่อเราจะได้มีอะไรติดตัวไปด้วย

คนตายชั่ว คือ เวลาที่มีชีวิตอยู่ก็ไม่ประกอบคุณงามความดี
กระทำแต่ชั่วช้าลามก เวลาตายก็ต้องตายไปกับความทุกข์
และยังไปเสวยทุกข์ในภายภาคหน้าต่อไปอีก
ถ้าบุคคลใดเป็นผู้มีศีลกรรมบถ มีกัลยาณธรรม
ตายไปก็ไปทางดี ตายไปกับความสุข


เพราะเหตุนั้น ท่านจึงสั่งสอนบำเพ็ญบุญกุศล
รีบเร่งหาเสบียงไว้เสียโดยเร็วเพราะไฟบัลลัยกัลป์มันไหม้เราอยู่ทุกวัน ทุกนาที
ความเก่าแก่ ความเจ็บ ก็ก่อความเสียหายเป็นไฟไหม้ทั้งนั้น
ทรัพย์สินเงินทองก็ไหม้ไปตามๆกัน
เมื่อใครเห็นสิ่งที่ถาวรมีอยู่ก็ทำโลกียทรัพย์ให้เป็น "อริยทรัพย์"
และตัวเราผู้ใช้ทรัพย์ก็ต้องเป็นคนดีด้วย
ท่านจึงสอนให้มีกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ที่เรียกว่า "มนุษย์สมบัติ"
นี้เป็นการระลึกถึงความตายอย่างหนึ่งของตนที่จะมีในภายภาคหน้า

ถ้าจะพูดกันอีกอย่างหนึ่งแล้ว ความตายไม่ใช่ความจริง ความจริงนั้นไม่ตาย
ส่วนปรมัตถ์ไม่ใช่ของจริง จริงแต่สมมติบัญญัติ
ถ้ากล่าวถึงธรรมชาติก็ไม่มีอะไรตาย
รูปตาย นามตายก็จริง แต่จะกล่าวให้ถึงความจริงแล้ว..ไม่จริง
"ธรรมธาตุ" ที่เรียกว่า "อสังขตธาตุ"
คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม นี้มีมาแต่ต้น
จนโลกแตกก้คงเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่ตามเดิม
เป็นธาตุแท้ไม่แปรผัน เป็น "ธรรมฐีติธาตุ"


เมื่อร่างกายซึ่งประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ นี้แตกสลาย
ธาตุเหล่านั้นก็กลับไปสู่สภาพเดิมของมัน ไม่ตายไปไหน
ส่วนดวงจิตก็เหมือนกัน มีอยู่ ๒ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ จิตตาย
ลักษณะ ๒ จิตไม่ตาย

แต่เรียกว่า ย้ายไปโดยสถานที่โดยกรรม
เมื่อจิตยังมีการประสบธาตุ มีเกิดก็ต้องมีดับ
ถ้าจิตยังประกอบด้วยอาสวกิเลส ก็ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา

เปรียบเหมือนกับเมล็ดข้าวสารที่ห่อหุ้มด้วยเปลือกนอกของมัน
และเก็บไว้ในยุ้งฉางหรือกระสอบ
เมื่อได้รับสิ่งประสบ คือ คสวามเย็นชื้นแห่งดิน น้ำ และอากาศภายนอกเข้าเมื่อใด
เมล็ดข้าวเหล่านั้นก็ย่อมจะแตกงอกงามออกมาเป็นต้นข้าว
มีใบ รวง และก่อพืชพันธุ์สืบต่อไปอีกไม่มีสิ้นสุด
แต่ถ้าเรานำเมล็ดข้าวนั้นไปกระเทาะหรือฝัดสีข้าวเปลือกนอกออก
หรือนำไปใส่ภาชนะคั่วไฟเสีย มันก็จะต้องหมดเชื้อหมดยาง นำไปเพาะอีกไม่ได้

ฉันใดก็ดี ดวงจิตของเราก็เช่นเดียวกัน
ถ้าเราได้ใช้ความเพียร บำเพ็ญตบะ บำเพ็ญพรต
แผดเผากิเลสเกิดขึ้นภายในดวงจิตของเราด้วยการทำสมาธิ
และพิจารณาธรรมด้วยสติปัฏฐาน ๔
มีกาย เวทนา จิต ธรรม อยู่เนืองๆแล้ว
ตัวกิเลสของเราก็จะต้องกระเด็นออกไปเหมือนกับเมล็ดข้าวสารที่ถูกคั่วด้วยไฟ
และกระเด็นออกไปจากกระทะฉันนั้น


การบำเพ็ญอย่างนี้เรียกว่า จิตไม่ตาย พ้นจากความตาย กายก็ไม่ตาย จิตก็ไม่ตาย
นี่แหล่ะที่เข้าถึงความจริงได้ โดยประการฉะนี้

เมื่อพวกเราทั้งหลายได้สดับธรรมะทั้ง ๔ ข้อนี้แล้ว
ก็พึงโยนิโสมนสิการ น้อมนำไปใช้พิจารณาให้มีขึ้นในตน
เพื่อจักได้เกิดประโยชน์อันเป็นความสุข ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
และได้เข้าถึงที่สุดแห่งธรรม
คือ ความไ่ม่ต้องเกิด ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย
อันเป็นความสิ้นทุกข์ทั้งปวง

พระธรรมเทศนาในอารักขกัมมัฏฐานดังได้แสดงมา็ก็พอสมควรแก่เวลา
เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

:b41: :b42: :b42: :b41:

คัดลอกจาก...
หนังสือแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน ๒
พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์
(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

พิมพ์เผยแพร่โดย ชมรมกัลยาณธรรม หน้า ๗-๑๗

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2012, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2011, 10:52
โพสต์: 256

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b8: :b8: :b8: :b41:

.....................................................
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร ไม่ต้อง อ้อนวอน ขอพร กะใคร ให้กวน
พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือน ลมหวน อวลไป อวลมา อย่าหลง
พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืน ยืนยง ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ - เพ็ญบุญ กุศลนำ ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดี มีจน เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเยง บาปชั่ว กลัวเกรง ทำแต่ กรรมดี ทวีพรฯ

ท่านพุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2012, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโมทนาด้วยครับ :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร