วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2012, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


บารมีี แปลว่า กำลังใจเต็ม บารมี 10 ทัศ มีดังนี้

ทานบารมีี จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ
ศีลบารมี จิตของเราพร้อมในการทรงศีล
เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช แต่ไม่ใช่ว่าต้องโกนหัวไม่จำเป็น
ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป
วิริยบารมี วิิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
ขันติบารมี ขันติ มีทั้งอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลา ว่าเราจะจริงทุกอย่าง ในด้านของการทำความดี
อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ เมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว ใช้คำว่า "ช่างมัน" ไว้ในใจ
บารมี ที่องค์สมเด็จทรงให้เราสร้างให้เต็ม ก็คือ สร้างกำลังใจปลูกฝังกำลังใจให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์
บารมีในขั้นต้นกระทำด้วยจิตอย่างอ่อนเป็นขั้นพระบารมี เมื่อจิตดำรงบารมีขั้นกลางได้ เรียกว่า พระอุปบารมี และเมื่อจิตดำรงบารมีขึ้นไปถึงที่สุดเลย เรียกว่า พระปรมัตถบารมี หรือบารมี 30 ทัศ หรือมีศัพท์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระสมติงสบารมี หมายถึง พระบารมีสามสิบถ้วน ซึ่งเป็นธรรมพิเศษหมวดหนึ่ง มีชื่อว่า พุทธกรณธรรม เป็นธรรมพิเศษที่กระทำให้ได้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้่า พระโพธิสัตว์ที่ต้องการจะเป็นพระพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญธรรมหมวดนี้ หรือมีชื่อหนึ่งเรียกว่า โพธิปริปาจนธรรม คือธรรมสำหรับพระพุทธภูมิ หรือชาวพุทธเราทั่วไปเรียกว่า พระบารมี หมายถึง ธรรมที่นำไปให้ถึงฝั่งโน้น คือ พระนิพพาน

ทาน การให้ เป็นการตัดความโลภ
ศีล เรามีก็ตัดความโกรธ
เนกขัมมะ เป็นการตัดอารมณ์ของกามคุณ
ปัญญา ตัดความโง่
วิริยะ ตัดความขี้เกียจ
ขันติ ตัดความไม่รู้จักอดทน
สัจจะ ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก
อธิษฐาน ทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์
เมตตา สร้างความเยือกเย็นของใจ
อุเบกขา วางเฉยเข้าไว้ในเรื่องของกายเรา


การเทียบบารมี
บารมีจัดเป็น 3 ชั้น คือ

บารมีต้น
อุปบารมี
ปรมัตถบารมี
บารมีต้นในขั้นเต็ม ท่านผู้นี้จะเก่งเฉพาะทาน กับ ศีล แต่การรักษาศีลของบารมีขั้นต้นจะไม่ถึงศีล 8 และจะยังไม่พร้อมในการเจริญพระกรรมฐาน กำลังใจไม่พอ อาจจะไม่ว่างพอหรือเวลาไม่มี
อุปบารมี เป็นบารมีขั้นกลาง พร้อมที่ทรงฌานโลกีย์ ท่านพวกนี้จะพอใจการเจริญพระกรรมฐาน และทรงฌาน แต่ยังไม่ถึงขั้นวิปัสสนา ยังไม่พร้อมที่จะไปและไม่พร้อมที่จะยินดีเรื่องพระนิพพาน พร้อมอยู่แค่ฌานสมาบัติ
ปรมัตถบารมี ในอันดับแรกอาจจะยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องนิพพาน พอสัมผัสวิปัสสนาญาณขั้นเล็กน้อย อาศัยบารมีเก่า ก็มีความต้องการพระนิพพาน จะไปได้หรือไม่ได้ในชาตินี้นั้นไม่สำคัญ เพราะการหวังนิพพานจริง ๆ ต้องหวังกันหลายชาติจนกว่าบารมีที่เป็นปรมัตถบารมีจะสมบูรณ์แบบ

สีของจิตนี้ บางแห่งก็เรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ การที่จะรู้อารมณ์จิตนั้นต้องมี เจโตปริยญาณ ก่อนจึงจะรู้อารมณ์ของจิต สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัวหรือผ่องใส ท่านกล่าวไว้ดังนี้

จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งมีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มตั่วหรือน้ำซาวข้าว
จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย เชื่อโดยไม่ใคร่ครวญทบทวนหาเหตุผล คนประเภทนี้ที่ถูกต้มตุ๋นอยู่เสมอ ๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่ง จดจำดี มีไหวพริบ คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึก หรือคล้ายน้ำกลิ้งอยู่ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร
สีของจิตโดยย่อ

เพื่อให้เห็นกันง่าย ๆ ยิ่งขึ้น โดยแบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่างคือ

จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ
จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส
กายในกาย สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ถือเอาอวัยวะภายในเป็นกายในกาย ส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนั้น เป็นกายประเภทอทิสมานกาย คือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกาย หรือกายซ้อนกายนี้ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหนทำอะไรที่อื่น จากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไปและทำอะไรต่ออะไรอยู่ ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริง จำเรื่องราวที่ไปทำได้ กายนั้นแหละที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่มีอยู่ในมหาสติปัฏฐาน กายในกายนี้แบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ

กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรย หน้าตาซูบซีด ไม่ผ่องใส พวกนี้ตายแล้วไปอบายภูมิ
กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา จะต่างกันตรงที่ผิวพรรณ สัดส่วน ขาวดำ งดงามต่างกัน แต่ลักษณะบอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม
กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็นประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหม และเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะรู้กายพระอรหันต์ได้ ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย
ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดที่นั้น ๆ หมายถึงว่า ท่านพวกนั้นไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกที่ไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตามกรรมที่ให้ผลแรงกว่า

การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการรู้อารมณ์จิตของตนเองสำคัญมาก คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตว่า ขณะนี้เราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฎนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการคือสีใสคล้ายแก้ว ต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกนที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน 4

ท่านผู้ทรงฌานหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบาง ๆ เคลือบไว้ภายนอก
ท่านที่ทรงฌานสอง หรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้วเคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง
ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่า ตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนในสั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย
ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนแก้วลอยอยู่ในอก
จิตของพระอริยะ

ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกายออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นเจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว
พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่
พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง
พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย
ท่านที่บรรลุอรหันต์ กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก กระแสจิตที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจแสวงหาให้ได้ เอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้ เพราะถ้าได้จิตเป็นประกายก็จะหมดทุกข์สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ

ที่มาhttp://www.larnbuddhism.com/grammathan/jitcolor.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2012, 22:59
โพสต์: 12

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes :b48:เกิดมาในชาตินี้ต้องหมั่นสร้างความดีให้มากที่สุด บารมีก็เริ่มจากศีลที่บริสุทธิ์ จนเกิดพลังความดีงาม และพัฒนาจิตให้ก้าวหน้าขึ้นไปที่จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น และปรารถนาให้โลกเกิดสันติสุขได้ในที่สุด /aus=false/">เกิดมาในชาตินี้ต้องหมั่นสร้างความดีให้มากที่สุด บารมีก็เริ่มจากศีลที่บริสุทธิ์ จนเกิดพลังความดีงาม และพัฒนาจิตให้ก้าวหน้าขึ้นไปที่จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น และปรารถนาให้โลกเกิดสันติสุขได้ในที่สุด /aus=false/" type="application/x-shockwave-flash" width="450" height="120" wmode="transparent">


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร