วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้จักตัวเองให้มากขึ้น

เมื่อเรารู้จักตัวเองมากขึ้น เราก็จะเชื่อมั่นตัวเองมากขึ้น ความเชื่อมั่นที่มาจากการบังคับตัวเองที่ว่านี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งเลย ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนเราก็สามารถควบคุมตัวเองได้ความเชื่อมั่นก็จะมากขึ้น การรู้จักตัวเองอย่างนี้จะทำไห้เราสามารถยกมือไห้วตัวเองได้ เพราะจะไม่มีขณะไดเลยที่เรากระทำความผิด ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลังเราจะรู้สึกละอายถ้าเรากำลังทำสิ่งใดก็ตามที่ทำให้ใจของเราขุ่นมัวความคิดสำคัญมาก ถ้าเราคิดผิดใจของเราก็ขุ่นมัว เมื่อใจของเราขุ่นมัว ใจของเราก็จะกล่าวร้าย การกระทำของเราก็จะรุนแรงท่านจะเห็นว่ากระบวนการของการทำงานชีวิตนั้น ถ้าเรามีสติปัญญาอยู่ตรอดเวลา การใช้ชีวิตของเราก็จะไม่ลังเลสงสัยแม้แต่นิดเดียว แต่ย่างก้าวของเราความเชื่อมั่นอย่างนี้จะมีอยู่ในชีวิตของท่านได้ ถ้าท่าน ฝึกฝนที่จะมีลมหายใจอย่างคนที่รู้ตื่นและเบิกบาน เรื่องของลมหายใจเป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้าเราใช้สิ่งนี้เป็นอาวุธที่ศักดิ์สิทธิ์ในการที่จะเจริญสติปัญญาของเราให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ เราจะรู้ว่าชีวิตของเราเกิดมาศักยภาพของเราสูงสุดคือพ้นทุกข์ได้ นั่นคือศักยภาพของมนุษย์คนหนึ่ง ท่านจงรักษาโอกาสของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วไปให้ถึงที่สุดแห่งการพ้นทุกข์ ไม่ว่าขณะใดก็ตาม ความคิดใดก็ตาม ทุก ๆ การกระทำอย่าให้ชีวิตของเราไม่เบิกบาน ออกจากความคับข้องใจ รู้ตื่นและเบิกบานกับลมหายใจอย่างมีสติ ชีวิตท่านจะร่าเริง มีความเชื่อมั่น
ธรรมสวัสดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




Lotus815.jpg
Lotus815.jpg [ 7.07 KiB | เปิดดู 1932 ครั้ง ]
ตัวอยู่กับตัว แต่ไม่รู้จักตัว

คนเราเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์มีชีวิตแล้ว จิตกับกายจะอยู่ด้วยกันทำให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ถ้าร่างกายไม่มีจิตคอยควบคุมแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้ ร่างกายก็อยู่นิ่ง นั่นคือตายแล้วนั่นเอง

จิตเปรียบเสมือนคนขับรถ ส่วนร่างกายเปรียบเสมือนรถยนต์ ถ้ารถไม่มีคนขับ รถก็เคลื่อนไปไหนไม่ได้ เช่นเดียวกันกับจิตกับร่างกาย รถยนต์บางคันก็สามารถให้คนอื่นมาขับได้ ร่างกายของคนบางคนก็สามารถให้จิตญาณอื่นเข้ามาใช้ร่างได้ เช่นการเข้าทรง

เมื่อตัวเราเป็นของเรา เราอยู่กับตัวเราแล้วเรารู้จักตัวเราดีแค่ไหน? เรารู้จักจิตเราไหม? ทำอย่างไรจึงจะรู้จักตัวเราจิตเรา?

เมื่อจิตเราใฝ่ต่ำ อยากลักขโมย อยากดื่มสุรา เราก็ต้องรู้สภาวะของจิตเรา แต่เราอย่าปล่อยให้จิตใฝ่ต่ำนั้นใช้ร่างกายเราเพื่อการทำสิ่งที่เป็นบาป เราควรใช้จิตเราขัดขวางไว้ ไม่ไปทำตามจิตใฝ่ต่ำที่คอยยั่วยุ และหลอกเรา

เมื่อจิตเราใฝ่สูง มีความตั้งใจ ปารถนาที่จะทำบุญ ทำกุศล ก็รู้สภาวะจิตของเราว่า ตอนนี้จิตเราเป็นจิตดีงาม ทำสิ่งที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น

เมื่อเรารู้สภาวะของจิตเราเมื่อมีการใฝ่ดีงาม หรือ ใฝ่ต่ำแล้ว เรารู้จักที่จะจัดการกับจิตเหล่านั้นอย่างไร เมื่อนั้นเราถึงจะขึ้นชื่อว่ารู้จักตัวเอง

เมื่อใดที่เราทำสิ่งชั่วช้าเลวทรามเป็นปกติวิสัย วิญญาณร้าย ๆ วิญญาณที่ไม่ดีก็จะมาร่วมใช้ร่างกายเราในการทำสิ่งไม่ดีนั้น เมื่อเราทำบ่อย ๆ วิญญาณนั้นอาจจะบอกว่า ไม่ไปไหนแล้ว ขอร่วมทางไปกับเราด้วยเลย อาศัยรถที่เราขับอยู่ อาศัยร่างที่เราใช้อยู่ทำบาปหยาบช้าไปด้วยกัน อีกหน่อยวิญญาณเลวร้ายนั้น อาจจะไปชวนเพื่อน ๆ ที่ชั่วร้ายมาร่วมทางกับร่างกายเราเยอะ ๆ ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนรถของเรามีแต่วิญญาณชั่วร้ายเต็มทั้งคันรถเลยก็เป็นได้

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราทำแต่สิ่งที่ดีงาม วิญญาณที่อยากทำบุญ ทำกุศลก็จะมาร่วมทางไปกับเรา เมื่อวิญญาณเหล่านั้นได้บุญกุศลจากที่เราทำ ด้วยจิตที่เป็นกุศลก็จะรู้จักการกตัญญูกตเวที ก็จะตอบแทนคุณเราโดยการคอยดูแล ปกป้องคุ้มครองเรา และช่วยดลบันดาลให้เรามีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ถ้าเรารู้ว่าในร่างกายเรามีจิตที่เป็นอกุศลอยากจะไปทำในสิ่งที่ไม่ดี แต่เราไม่ให้ความร่วมมือ เราไม่ลงมือทำสิ่งชั่วบาปนั้น วิญญาณเลวร้ายก็ไม่สามารถใช้ร่างกายเราได้ ก็ไปหาร่างกายอื่นที่ทำสิ่งเลวทราม ชั่วร้ายที่อื่น

สมมุติว่าเราเป็นนักฟุตบอลเล่นอยู่ในสนามฟุตบอล เราจะมองไม่เห็นว่าทีมเราเล่นอย่างไร แต่ถ้าเราเป็นคนดูอยู่บนอัฒฑจันทร์เราจะเห็นและรู้ว่านักฟุตบอลเล่นอันอย่างไร การมองตัวเราก็เช่นกัน ถ้าเราไม่เคยหยุดมองตัว เราก็จะไม่รู้ว่าตัวเราเป็นอย่างไร มีลุ่มหลง รัก โลภ โกรธ เกลียด ลำเอียง ยินดี เมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มากแค่ไหน เพราะว่าในชีวิตแต่ละวันของเรา เราไม่เคยได้รู้จักตัวเอง ไม่รู้อารมณ์ตนเองเลย ดังนั้นเมื่อมีอารมณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นเราจึงไม่รู้เท่าทันพอที่จะดับหรือละได้เลย สุดท้ายเราก็อยู่กับตัวเองโดยที่ไม่รู้จักตัวเองอยู่นั่นเอง

ขอบคุณที่มา :: ธรรมะไทย :: http://www.dhammathai.org/editor/tst04.php

:b44: กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครองนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร