วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2011, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ทุกขณะแห่งเวลา คือโอกาสก้าวหน้าของชีวิต
:: พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)


:b8: :b8: :b8:

ในทางพระศาสนาท่านบอกอยู่เสมอว่า
ให้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท

การที่ต้องดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทนั้น
เพราะอะไรก็เพราะสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลง
เพราะสิ่งทั้งหลายมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เราจึงต้องไม่ประมาท
เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีความแน่นอน
เปลี่ยนแปลงไปอย่างโน้นอย่างนี้
เราจะนอนใจนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้
จะต้องต้อนรับความเปลี่ยนแปลงด้วยปัญญา

ท่านบอกว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป
แต่มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย
อันนี้เป็นข้อสำคัญ คือหลักความเปลี่ยนนั้น
ไม่ได้บอกว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปลอยๆ
ตัวหลักนี้เองก็ไม่ได้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวลอยๆ ของมัน
กล่าวคือ หลักความเปลี่ยนแปลงนี้
จะต้องไปสัมพันธ์กับหลักของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
เมื่อสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป
และไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย
แต่มันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย
พอมันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย
ก็เป็นเรื่องที่โยงมาถึงการกระทำของเราว่า
จะต้องมีการใช้ปัญญา
คือ การที่เราจะต้องสืบสาวค้นคว้าหาเหตุปัจจัย
เพื่อว่าเมื่อเรารู้เหตุปัจจัยแล้ว เราจะได้แก้ไขป้องกัน
และสร้างเสริมได้ถูกต้อง
การเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมเราไม่ต้องการ
เมื่อเรารู้เหตุปัจจัยของความเสื่อม
เราก็สามารถแก้ไขป้องกันความเสื่อมนั้นได้

ถ้าความเปลี่ยนแปลงใด เป็นความเจริญที่ต้องการ
เราก็ลืมหาว่าอะไร
เป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความเจริญนั้น
เมื่อรู้แล้วเราก็ทำเหตุปัจจัยนั้น
ก็จะเกิดความเจริญที่ต้องการ

ฉะนั้น หลักการเปลี่ยนแปลงนี้
อย่าให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นหลักที่ลอยๆ
จะกำไรแค่ไหน ก็อยู่ที่รู้จักใช้อนิจจังหรือไม่
คนจำนวนมาก ใช้หลักอนิจจัง
หรือความเปลี่ยนแปลงนี้ ในทางที่ไม่สมบูรณ์
คือมองแค่ว่าสิ่งทั้งหลายต้องเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไป ก็ได้แต่ปลง
ว่าสิ่งทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้เอง
เราต้องรู้เท่าทันว่า สังขารทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว
ก็แตกสลายไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็วางใจสบาย
ก็จบ คือสบายใจว่า
เออ มันเป็นไปตามธรรมดาของมัน
ที่จะต้องเสื่อมสลายก็จบเท่านั้น
อย่างนี้ท่านว่า เป็นการใช้ประโยชน์
จากหลักอนิจจังได้ครึ่งเดียว
แล้วก็เกิดโทษอีกด้านหนึ่ง หรืออีกครึ่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นโทษเกิดจากการไม่โยกหลักนี้
ไปหาหลักของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย


กฎไตรลักษณ์ ที่มีหลักของการเปลี่ยนแปลงนี้
จะต้องโยงไปหาหลักฐาน
อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท
สองกฎนี้สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ปฏิจจสมุปบาท คือกฎแห่งความเป็นเหตุปัจจัย
สิ่งทั้งหลายที่ปรากฏรูปร่างออกมา
เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง เป็นต้นนั้น
เพราะว่ามันเป็นไปเหตุปัจจัย
คือเป็นไปตาม กฎอิทัปปัจจยตา
ซึ่งมีสาระว่า เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนั้นจึงเกิด

เมื่อสิ่งนั้นดับไป สิ่งนี้ดับไป อันนี้เป็นหลักที่สำคัญมาก

ฉะนั้น ไตรลักษณ์ จะต้องโยงไปหา ปฏิจจสมุปบา
ถ้าเราเห็นหลัก ปฏิจจสมุปบาท ก็ถึงตัวหลักที่แท้จริง
ไตรลักษณ์ นั้น เป็นเพียงลักษณะ เท่านั้น
คือ เป็นอาการปรากฏที่แท้จริง
คือ ปฏิจจสมุปบาท คือกฎของความเป็นเหตุปัจจัย
เราจะต้องจับเหตุปัจจัยได้
แล้วการรู้เหตุปัจจัยนี้แหละ
จะเป็นตัวนำไปสู่การที่จะต้องปฏิบัติได้ถูกต้อง

เพียงแต่เห็นสิ่งทั้งหลาย เปลี่ยนแปลงไป
แล้วปลงว่า มันเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมดา
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นธรรมดา
วางใจสบาย อันนั้นก็เป็นเพียงรู้เท่าทันในขั้นหนึ่ง
แต่จะต้องรู้ต่อไปอีกว่าที่มันเป็นอย่างนี้
ก็เพราะมันเป็นตามเหตุปัจจัย

ตรงนี้สิ เป็นตอนสำคัญ
ซึ่งจะโยงต่อไปสู่ภาคปฏิบัติ
คือ สืบสาวหาเหตุปัจจัยรู้เหตุปัจจัยของความเสื่อม
และความเจริญ แล้วก็มาถึงภาคปฏิบัติ
คือการที่จะทำตามเหตุปัจจัยแก้ไขที่เหตุปัจจัย
และสร้างเสริมเหตุปัจจัย
หมายความว่า แก้เหตุปัจจัยที่จะทำให้เสื่อม
และสร้างเสริมเหตุปัจจัยที่จะทำให้เจริญงอกงาม
อันนี้คือภาคปฏิบัติและนี่แหละ
คือหลักความไม่ประมาท

เพราะฉะนั้น ความไม่ประมาท
ก็เกิดจากการที่เข้าใจรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
ความเปลี่ยนแปลงโยงอยู่ด้วยกัน
กับความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
แล้วอาศัยกาลเวลา
กาลเวลาก็เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงนี้เอง
แต่ดูเหมือนว่า กาลเวลานั้นรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่
ทุกขณะแห่งเวลา คือโอกาสก้าวหน้าของชีวิต
เมื่อกาลเวลานี้สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลง
กาลเวลาที่ผ่านไป เป็นไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลง
ฉะนั้นเมื่อเราเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
เราก็ต้องเห็นความสำคัญของกาลเวลาด้วย

กาลเวลาที่ผ่านไปแต่ละขณะจึงสำคัญมาก
พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสว่า ขโณ โว มา อปจฺจคา
เวลาแต่ละขณะอย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า
คำว่า อย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า นี่สำคัญมาก
สำนวนของท่านว่า ขณะอย่าได้ล่วงท่านไปเสีย
หมายความว่า จะต้องหมั่นถามตัวเองว่า
ขณะแต่ขณะนี้ เราได้ใช้ประโยชน์มันหรือเปล่า
มันผ่านไปอย่างมีค่า หรือผ่านไปอย่างไร
ประโยชน์ว่างเปล่า การเห็นความสำคัญของกาลเวลานี้
จะเห็นได้ในคำพิจารณาตัวเองของพระพุทธเจ้า
ทรงสอนพระให้พิจารณาเป็นประจำ
ท่านเรียกว่าหลัก อภิณหปัจจเวกขณะ ๑๐ ประการ
ตามหลักนี้ พระจะต้องพิจารณาตนเอง อยู่เนืองๆ
เป็นประจำสม่ำเสมอ ๑๐ ข้อ
ในบรรดา ๑๐ ข้อนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งบอกว่า

กถมฺ ภูตสฺส เม รตฺตินฺ ทิวา วีติ ปตนฺติ
บรรพชิต คือพระภิกษุพึ่งพิจารณาเนืองๆ ว่า
วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่
นี่เป็นคำเตือนที่สำคัญมาก
พอพิจารณาขั้นมาอย่างนี้
สติก็มาทันทีเลยว่าเวลาล่วงไป
วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่
พอพูดแค่นี้แหละก็ได้สติ
พิจารณาตัวเองว่า เรากำลัง ทำอะไรอยู่หรือเปล่า
เวลาให้เลื่อนลอยไป และถ้าทำเราทำสิ่งที่ผิดหรือเปล่า
ถ้าทำสิ่งที่ผิด ที่ไม่ดีก็จะได้ยั้งหยุด
ถ้าปล่อยเวลาล่วงไป
ไม่ได้ทำอะไรก็จะได้เร่งทำ
หลักนี้ ฆราวาสก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน
ถ้าพิจารณาทุกวัน ชีวิตจะเจริญงอกงาม พัฒนาแน่นอน
เพราะเมื่อพิจารณาว่าวันคือล่วงไป บัดนี้ เราทำอะไรอยู่
ก็ทำให้มีการสำรวจตรวจสอบปัจจุบันของตนเองทันที

คำเตือนสติอีกข้อหนึ่ง ที่น่าจะมาด้วยกัน
ก็คือ คาถาภาษิตว่า
อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกนวา
เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า
จะมากหรือน้อยก็ต้องให้ได้อะไรบ้าง
นี่คือ การรู้จักใช้เวลา
ถ้าได้ แค่นี้ แต่ละวันแล้ว กว่าจะถึงปีงบดุล
ชีวิตนี้จะต้องได้กำไรขอให้ทำอย่างนี้ทุกวัน
เป็นอันว่าคราวนี้ขอเสนอแค่สองข้อ
คือ ข้อที่หนึ่ง เตือนสติของตนเองว่า
พึงพิจารณาเนือง เนืองว่า
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
ข้อที่สอง บอกตัวเองต่อไปว่า
เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า
จะมากหรือน้อยก็ต้องให้ได้อะไรบ้าง
เอาละ ได้แค่นี้ก็พอแล้ว

ถ้าพิจารณาทุกๆ วัน ชีวิตก็จะเจริญก้าวหน้า
กำไรก็จะตามมา
ถ้าเอามากข้อกว่านั้น
ก็ยากขึ้นไปหน่อย คือถึงขั้นที่ว่า
ขโณ โว มา อปจฺจคา
เวลาแต่ละขณะ อย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า
ข้อนี้หมายความว่า แม้แต่เวลา แต่ละขณะๆ
ก็อย่าปล่อยผ่านต้องจับเวลาแต่ละขณะไว้ให้ได้ประโยชน์
ถ้าทำอย่างที่ว่ามานี้ ก็เรียกว่าใช้เวลาเป็น

ในการดำเนินชีวิตของคนเรานี้
การใช้เวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก
เพราะว่าเวลามันกลืนกินชีวิตเรา
พระท่านว่า เวลากลืนกินสรรพสัตว์
พร้อมกันไปกับกินตัวของมันเอง
ซึ่งแปลจากคำบาลีว่า
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพา เนว สหตฺตนา
ที่ว่ากาลเวลากลืนกินตัวมันเองนั้น
เป็นการพูดแบบภาพพจน์
ที่จริงเวลามันไม่กินอะไร
แต่พูดเป็นภาพพจน์ ว่ามันกิน กาลเวลาผ่านไป
มันก็กลืนกินสรรพสัตว์ไปด้วย
เมื่อมันกลืนกินเรา เพื่อให้ประโยชน์คุ้มกัน
เราก็กลืนกินมันบ้าง
นี่แหละคือการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
หรือรู้จักบริโภคเวลา การใช้เวลาก็คือการบริโภคเวลา
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้จักใช้เวลาก็คือ รู้จักบริโภคเวลา

:b51: :b52: :b53:


:b8: นำมาจากบอร์ดเก่า โพสต์โดย คุณลูกโป่ง สาธุค่ะ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6226


:b44: รวมคำสอน “หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44758

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร