วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 05:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.ที่สุดของการถือสา......
เคยมีคนกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ถ้าหากจะย่อหลักธรรมของพระองค์ให้เหลือเพียงสั้นๆ ทว่าครอบคลุมใจความทั้งหมดแห่งพระพุทธศาสนา จะสรุปได้ว่าอะไร พระองค์ตรัสว่า หากจะให้สรุปเช่นนั้น ก็ขอสรุปว่าใจความแห่งคำสอนของพระองค์ขึ้นอยู่กับประโยคที่ว่า ‘ สัพเพ ธัมมานาลัง อะภินิเวสายะ ใดใดในโลกอันบุคคลไม่ควรยึดติดถือมั่น ’ ทำไมจึงไม่ควรยึดติดถือมั่น เพราะที่ใดมีความถือมั่น ที่นั่นก็มีความทุกข์ ความทุกข์ขยายตัวตามระดับความเข้มข้นของความยึดติด ยึดมาก ติดมาก จึงทุกข์มาก ไม่ยึด ไม่ติด จึงไม่ทุกข์ ความไม่ยึดติดถือมั่น กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ‘ การปล่อยวาง ’
ทำไมจึงต้องปล่อยวาง เพราะทุกอย่าง ‘ มีความว่าง ’ มาแต่เดิม คนที่หลงกอด ‘ ความว่าง ’ โดยคิดว่าเป็น ‘ ความมี ’ ทำไมจะไม่ทุกข์ล่ะ หลายคนชอบกอดไว้หมดทุกเรื่อง ทุกปัญหา ทุกคน แล้วยกขึ้นไปแบกไว้บนบ่า จากนั้นก็มานั่งเป็นทุกข์ว่าทำไมชีวิตถึงได้เหนื่อยล้าขนาดนี้ หมดเรี่ยวหมดแรงเหมือนโลกทั้งโลกกำลังกดทับ ก็เล่นถือเอาทุกเรื่องเป็นเรื่องของตัวหมดเลยนี่ ถ้าไม่แบกเอาไว้ก็คงไม่หนัก ถ้าไม่ถือเอาไว้ก็คงไม่เหนื่อย แต่ก็นั่นแหล่ะ บางคน ‘ วาง ’ ไม่เป็น มีจิตฟุ้งซ่านต้องการจะเป็นธุระไปเสียทั้งหมด ก็ต้องแลกเอากับผลลัพธ์ที่ทำให้เหน็ดเหนื่อย

มีเรื่องเล่าชวนคิดเรื่องหนึ่งว่า
พระบวชใหม่รูปหนึ่งเดินบิณฑบาตผ่านชุมชนแห่งหนึ่งซึ่งมีผู้คนจอแจ ขณะเดินสำรวมก้มหน้าแต่พอประมาณเพื่อเดินผ่านชุมชนไปอย่างช้าๆ นั่นเอง จู่ๆ มีชายผู้หนึ่งใส่สูท ผูกเนคไท สวมแว่นตาดำ เดินเข้ามาหาท่าน พร้อมชี้หน้าด่าท่านอย่างสาดเสียเทเสีย พระรูปนั้นตกตะลึง รีบเดินหนี แต่แม้ท่านจะเดินหนีชายคนนั้นพ้นแล้ว แต่เสียงด่าทอของเขายังก้องอยู่ในโสตประสาทของท่านอย่างชัดถ้อยชัดคำ เมื่อกลับมาถึงวัด พลันที่คิดถึงเหตุการณ์ที่ตนถูกชี้หน้าด่ากลางฝูงชน พระหนุ่มก็รู้สึกโกรธจนหน้าแดงก่ำ ยิ่งคิดต่อไปว่าชายคนนั้นมาชี้หน้าด่าตนซึ่งเป็นพระ และตนก็จำได้ว่าตั้งแต่บวชเข้ามาในพระธรรมวินัย ก็ยังไม่เคยทำอะไรผิด คิดมาถึงขั้นว่าตนไม่ผิด แต่ทำไมตนต้องถูกด่า ยิ่งเจ็บ ยิ่งแค้น วันที่ท่านถูกด่ากลางชุมชนนั้นเป็นวันศุกร์ แต่ตกถึงเช้าวันจันทร์ท่านก็ยังไม่หายโกรธ
เช้าวันจันทร์นั้น พระบวชใหม่ประคองบาตรเดินผ่านชุมชนนั้นเหมือนเดิม ท่านพยายามสอดส่ายสายตามองหาชายคนเดิม ตั้งใจว่าวันนี้จะต้องถามให้รู้เรื่องว่าเหตุใดจึงมาชี้หน้าด่าตนเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ยิ่งพยายามค้นหา กลับยิ่งไม่พบ ท่านจึงเดินสำรวจรับอาหารบิณฑบาตต่อไป จนได้อาหารเต็มบาตรแล้วจึงเดินกลับวัด
ระหว่างทางกลับวัด โดยไม่คาดฝัน พระหนุ่มทอดสายตาไปพบกับชายคนหนึ่ง สวมสูท ผูกเนคไท ใส่แว่นตาดำ ท่านอุทานในใจว่า
“ อ๋อ เจ้าคนนี้เองที่ด่าฉันเมื่อวันศุกร์ ”
ภาพที่เห็นคือ ชายแต่งตัวดีคนนั้น นอนหลับหมดสติอยู่ข้างศาลเจ้าแม่แห่งหนึ่ง ข้างๆ ตัวเขามีขวดเหล้าล้มกลิ้งอยู่ พอท่านพยายามเดินเข้าไปมองใกล้ๆ เขาจึงเริ่มรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา พอเห็นท่านเท้านั้นชายคนนั้นก็ร้องขึ้นมาว่า
“ ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้าฯ บัดนี้พระองค์ทรงกลับมาครองพาราณสีอีกครั้งหนึ่งแล้วกระนั้นหรือ …” ว่าแล้วก็ลุกขึ้นรำเฉิบๆ พลันที่ท่านประเมินได้ว่าชายแต่งตัวดี คนที่ชี้หน้าด่าท่านเมื่อวันศุกร์ที่แล้วเป็นคนบ้าที่มาในร่างของคนแต่งตัวดีเท่านั้น ความโกรธที่ก่อตัวเป็นเมฆดำทะมึนอยู่ในใจของท่านมานานถึงสามวันก็อันตรธานไปอย่างง่ายดายชนิดไร้ร่องรอย
ทำไมเราจึงปล่อยวางต่อคนบ้าได้ง่ายดายเหลือเกิน แต่กับคนปกติ ทำไมเราจึงมีความรู้สึกว่าต้อง...เอาเรื่องราว...ให้...ถึงที่สุด... เราบ้าหรือเปล่า ?


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร