วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2011, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะที่ ๔ ของพระพุทธศาสนา เป็นกรรมวาท กิริยวาท วิริยวาท

ลักษณะที่ ๔ พระพุทธศาสนานั้นมีชื่ออย่างหนึ่งว่า เป็นกรรมวาท หรือ กรรมวาที

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2011, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านใช้คำว่าทั้งหลาย คือไม่เฉพาะพระพุทธเจ้าองค์

เดียวเท่านั้น แต่ทุกองค์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตก็ตาม ในอนาคตก็ตาม

แม้องค์ที่อยู่ในยุคปัจจุบันก็ตาม ล้วนเป็นกรรมวาทะ เป็นกิริยวาทะ และเป็นวิริยวาทะ หรือเป็น

กรรมวาที และกิริยวาที

(เวลาใช้วาที ท่านมีแค่สอง คือกรรมวาที และกิริยวาที แต่เมื่อเป็นวาทะมีสาม คือ เป็นกรรมวาทะ กิริยวาทะ และวิริยวาทะ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2011, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการนี้หมายความว่า พระพุทธศาสนานั้นสอนหลักกรรม สอนว่าการกระทำมีจริง เป็นกรรมวาทะ

สอนว่าทำแล้วเป็นอันทำ

เป็นกิริยวาทะ สอนว่าความเพียรพยายามมีผลจริง ให้ทำการด้วยความเพียรพยายาม

เป็นวิริยวาทะ ให้ความสำคัญแก่ความเพียร เป็นศาสนาแห่งการกระทำ เป็นศาสนาแห่งการเพียร

พยายาม ไม่ใช่ศาสนาแห่งการหยุดนิ่งเฉยแห่งความเฉื่อยชาเกียจคร้าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2011, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะของหลักกรรมนี้ เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา เพราะกรรมเป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนา จะต้อง

มีการเน้นอยู่เสมอ

หลักการของศาสนานั้น ก็เหมือนกับหลักการปฏิบัติทั่วไป ในหมู่มนุษย์ เมื่อเผยแพร่ไปในหมู่มนุษย์

วงกว้าง ซึ่งมีระดับสติปัญญาต่างกัน มีความเอาใจใส่ต่างกัน มีพื้นเพภูมิหลังต่างๆ กัน นานๆ เข้า ก็

มีการคลาดเคลื่อนเลือนลางไปได้ จึงจะต้องมีการทำความเข้าใจกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ เรื่องกรรมนี้

ก็เหมือนกัน เมื่อเผยแพร่ไปในหมู่ชนจำนวนมากเข้า ก็มีอาการที่เรียกว่า เกิดความคลาดเคลื่อน มีการ

เฉไฉ ไขว้เขว ไปได้ ทั้งในการปฏิบัติและความเข้าใจ



หลักกรรมในพระพุทธศาสนานี้ ท่านสอนไว้เพื่ออะไร ที่เราเห็นชัดก็คือ เพื่อไม่ให้แบ่งคนโดยชาติ

กำเนิด ให้แบ่งโดยความประพฤติโดยการกระทำ นี่เป็นประการแรก

ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ คนไม่ใช่ต่ำทราม

เพราะชาติกำเนิด แต่คนจะเป็นคนต่ำทราม ก็เพราะกรรมคือการกระทำ คนมิใช่พราหมณ์เพราะชาติ

กำเนิด แต่เป็นพราหมณ์ คือผู้บริสุทธิ์ คือคนดี คนประเสริฐ ก็เพราะกรรมคือการกระทำ

ตามหลักการนี้ พระพุทธศาสนายึดเอาการกระทำ หรือความประพฤติมาเป็นเครื่องแบ่งแยกมนุษย์ ใน

แง่ของความประเสริฐ หรือความเลวทราม ไม่ให้แบ่งแยกโดยชาติกำเนิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2011, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความมุ่งหมายในการเข้าใจหลักกรรมประการที่สอง ที่ท่านเน้น ก็คือการรับผิดชอบต่อตนเอง คนเรา

นั้น มักจะซัดทอดสิ่งภายนอก ซัดทอดปัจจัยภายนอก ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง

เวลามองหาความผิด ต้องมองไปที่ผู้อื่นก่อน มองที่สิ่งภายนอกก่อน แม้แต่เดินเตะกระโถนก็

ต้องบอกว่าใครเอากระโถนมาวางซุ่มซ่าม ไม่ว่าตนเดินซุ่มซ่าม เพราะฉะนั้น จึงเป็นลักษณะของคน

ที่ชอบซัดทอดปัจจัยภายนอก

แต่พระพุทธศาสนาสอนให้รับผิดชอบการกระทำของตนเอง ให้มีการสำรวจตนเองเป็นเบื้องแรกก่อน

ประการต่อไป ท่านสอนหลักกรรมเพื่อให้รู้จักพึ่งตนเอง ไม่ฝากโชคชะตาไว้กับปัจจัยภายนอก ไม่ให้

หวังผลจากการอ้อนวอนนอนคอยโชค ให้หวังผลจากการกระทำ

หลักกรรมในพระพุทธศาสนาสอนว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นจากการกระทำตามทางของเหตุผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2011, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง หลักกรรมของเรานี้ ต้องแยกให้ดีจากลัทธิ ๓ ลัทธิในพระไตรปิฎก ท่านกล่าวไว้หลายแห่งเกี่ยวกับ

ลัทธิที่ถือว่าผิด ซึ่งต้องถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะเมื่อพูดไปไม่ชัดเจนพอก็อาจจะทำให้เกิด

ความเข้าใจผิด ลัทธิที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าผิดหลักกรรมมีอยู่ ๓ ลัทธิ



ลัทธิที่ ๑ คือ ปุพเพกตวาท ลัทธิกรรมเก่า

ลัทธิที่ ๒ คือ อิศวรนิรมิตวาท ลัทธิที่ถือว่า พระผู้เป็นเจ้าบันดาล หรือเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่บันดาล

ลัทธิที่ ๓ คือ อเหตุวาท ถือว่าความเป็นไปต่างๆ ไม่มีเหตุปัจจัย แล้วแต่โชคชะตา



๓ ลัทธินี้ พระพุทธศาสนาถือว่า ไม่ทำให้คนมีความเพียรพยายาม เพราะถ้าทุกสิ่งทุกอย่างที่คน

เราได้รับ สุขและทุกข์ทั้งหลายที่เราได้ประสบ เป็นเพราะกรรมเก่าบันดาลแล้ว เราก็นอนรอแต่กรรม

เก่า จะทำอะไรก็ไม่ได้ผล จะแก้ไขอะไรไปก็ไม่มีประโยชน์ หรือถ้าเชื่อว่าเป็นเพราะอิศวร คือ

เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่บันดาล ก็อ้อนวอนเอาสิ ไม่ต้องทำอะไร หรือถ้าถือว่าไม่มีเหตุปัจจัย มัน

บังเอิญเป็นไปเองแล้วแต่โชคชะตา ผลที่สุดสามหลักสามลัทธินี้ ไม่ทำให้คนมีการกระทำ ไม่ทำ

ให้คนมีฉันทะมีความเพียรพยายามในการกระทำเหตุต่างๆ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นลัทธิที่ผิด

โดยเฉพาะลัทธิที่หนึ่ง คือ ปุพเพกตวาท ลัทธิกรรมเก่านั้นเป็นลัทธิของนิครนถ์ มีพระสูตรหนึ่งที่พูด

ถึงเรื่องนี้ไว้ยาวหน่อย คือ เทวทหสูตร ในพระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ ท่านพูดถึง

เรื่องกรรมเก่า ซึ่งเป็นลัทธิของนิครนถ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2011, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธศาสนาก็สอนเรื่องกรรมเหมือนกัน มีทั้งกรรมเก่า กรรมปัจจุบัน และกรรมที่จะทำต่อไปใน

อนาคต

พร้อมกันนั้น ก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นกระบวนการแห่งเหตุผลด้านที่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์

เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัย กระบวนการแห่งปัจจัยนั้น มันสืบเนื่องดำเนินอยู่

เสมอ เป็นไปตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง ไม่ใช่ว่าเป็นไปเพราะกรรมเก่าอย่างเดียว

เพราะฉะนั้น จะต้องระวังให้ดี ให้แยกหลักกรรมของพระพุทธศาสนาออกจากลัทธิกรรมเก่าให้ได้

นอกจากลัทธิกรรมเก่าแล้ว ก็มีเรื่องอิศวรนิรมิตวาท และอเหตุอปัจจัยด้วย

ที่พูดมานี้ โดยสาระสำคัญก็มุ่งให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นกรรมวาทะ


แต่หลักกรรมในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไรแน่ ในเมื่อเป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนิกชนก็จะต้องระวัง ตั้งใจคอยศึกษาให้แม่นยำอยู่เสมอ เพื่อให้รู้เข้าใจ และจับความ

หมายให้ชัดเจน อย่าให้ไขว้เขวผิดไปนับถือเอาลัทธิของนิครนถ์เข้า แล้วเราจะกลายเป็นนิครนถ์ไป

โดยไม่รู้ตัว ทั้งๆ ที่ว่ารูปแบบเรายังเป็นพุทธ แต่เนื้อหาของเราอาจจะกลายเป็นนิครนถ์ไปก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร