วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 14:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ ตรัสวางแนวการปฏิบัติธรรมใว้ชัดเจน คือ ให้เรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องก่อน จากผู้ที่รู้แล้วปฏิบัติมาจนได้ผลแล้ว แล้วถึงจะปฏิบัติถูก ผลก็ออกมาถูกตามที่ต้องการ คือ ดับทุกข์ได้

สิ่งที่จะเอาไปดับทุกข์ หรือ ที่เรากเรียกว่า ปัญญา หรือธีรา ซึ่งหมายถึง ความรู้ ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ จำแนก คิด เข้าไปเห็น ความรู้สึกตัว เห็นแจ้ง เจาะแทง เห็นชัด ความไม่หลง ฯ

ความรู้ที่ท่านหมายถึง คือ ความรู้เรื่องความจริงของโลกและชีวิต หรือ การรู้จักธรรมชาติตามความเป็นจริงที่แท้จริง ซึ่งท่านได้สรุปออกมาเป็นกฏธรรมชาติ ๒ กฏ คือ กฏไตรลักษณ์ และกฏของเหตุปัจจัย

อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีความรู้ในขันธ์ มีความรู้ในธาตุ มีความรู้ในอายตนะ มีความรู้ในปฏิจจสมุปบาท มีความรู้ในสติปัฏฐาน มีความรู้ในสัมมัปปธาน มีความรู้ในอิทธิบาท มีความรู้ในอินทรีย์ มีความรู้ในพละ มีความรู้ในโพชฌงค์ มีความรู้ในมรรค มีความรู้ในผล มีความรู้ในนิพพาน ก็ได้ชื่อว่า ธีรา

จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติ นั้นเพื่อละความยึดถือ ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเรา ด้วยตัณหา ความยึดถือว่าของเราด้วยความเห็น(ทิฏฐิ);

ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา คือ กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้น ว่าสิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตลอดถึงตัณหาวิปริต ๑๐๘

ส่วนความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐

เมื่อเห็นเป็นโทษนั้นแล้ว พึงเป็นผู้ไม่ยึดถือว่าของเรา พึงละความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิแล้วไม่ยึดถือว่าของเรา ซึ่งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ไม่ยึดถือว่าของเรา คือไม่ถือ ไม่ถือมั่น ไม่ยึดมั่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

วิธีการ ก็คือ ให้กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่เป็นผู้ตามติดใจ หรือการวิปัสสนาภาวนา

ผัสสะหรือการกระทบสัมผัส อันได้แก่ ตาเห็นรูป (จักขุสัมผัส) หู้ได้ยินเสียง (โสตสัมผัส) จมูกได้กลิ่น (ฆานสัมผัส) ลิ้นรับรส (ชิวหาสัมผัส) กายสัมผัส ใจคิดนึก (มโนสัมผัส) อธิวจนสัมผัส (สัมผัส ทางนามคือใจ) ปฏิฆสัมผัส (สัมผัสทางรูป) สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา (หรืออุเบกขาเวทนา)

ในระดับที่ละเอียดขึ้น ยังมี ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ ผัสสะเป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็นโลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีตผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน

การกำหนดรู้ผัสสะ คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะโดยปริญญา ๓ ประการ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา

ญาตปริญญา หรือปริยัติ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่าความทุกข์เกิดกับเรา ๖ ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อเกิดการกระทบสัมผัส นอกจาก ๖ ทางนี้ ไม่มีทุกข์เกิดกับเราได้ จะละก็ต้องละ ๖ ทั้งทาง จะดับก้ต้องดับทั้ง ๖ ทางนี้ (จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา สัมผัสเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกุศลจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอกุศลจิต ผัสสะ อันสัมปยุตด้วยอัพยากตจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยกามาวจรจิต ผัสสะอันสัมปยุตด้วยรูปาวจรจิตนี้ผัสสะอันสัมปยุตด้วยอรูปาวจรจิต ผัสสะเป็นสุญญตะ ผัสสะเป็นอนิมิตตะ ผัสสะเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะเป็นโลกิยะ ผัสสะเป็นโลกุตตระ ผัสสะเป็นอดีต ผัสสะเป็นอนาคต ผัสสะเป็นปัจจุบัน)

ตีรณปริญญา หรือการปฏิบัติ คือ การพิจารณารูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิด โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของ ลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของไม่มีอำนาจ เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อมาร เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรม เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็น ของชวนให้แช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ

และสุดท้าย จะทำให้ได้ ปหานปริญญา หรือเกิดปฏิเวธ คือ การละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะในผัสสะ

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฉันทราคะในผัสสะใด ท่านทั้งหลายจงละฉันทราคะนั้น ฉันทราคะนั้นจักเป็นของอันท่านทั้งหลายละแล้ว มีมูลรากอันตัดขาดแล้ว ทำให้ไม่มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภาย หลัง มีความไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นธรรมดา โดยประการอย่างนี้. นี้เรียกว่า ปหานปริญญา

คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว คือ กำหนดรู้ซึ่งผัสสะด้วยปริญญา ๓ นี้. คำว่า ไม่เป็นผู้ตามติดใจ มีความว่า ตัณหาเรียกว่าความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. ความติดใจนั้นอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ(ความรู้หรือปัญญา) บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นผู้ไม่ติดใจ

บุคคลนั้นไม่ติดใจ คือ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่นในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ อดีตกาล อนาคตกาล ปัจจุบันกาล ทิฏฐธรรม สุตธรรม มุตธรรม วิญญาตัพพธรรม คือ เป็นผู้คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละ สละคืนความติดใจแล้ว คลาย ปราศจาก สละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืน ความกำหนัดแล้ว หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยความสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ตามติดใจ.

ปัญญา เรียกว่าโธนา เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกว่าโธนา. เพราะปัญญานั้น เป็นเครื่องกำจัดล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อภิสังขารคืออกุศลธรรมทั้งปวง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร