ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ทำอย่างไรให้ใจเย็น (พระไพศาล วิสาโล)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=38470
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลูกโป่ง [ 08 มิ.ย. 2011, 22:54 ]
หัวข้อกระทู้:  ทำอย่างไรให้ใจเย็น (พระไพศาล วิสาโล)

รูปภาพ

พระไพศาล วิสาโล

“ทำอย่างไรให้ใจเย็น”

:b41: Ying Pathitta - มนัสการพระอาจารย์ค่ะ เรียนถามท่านค่ะ
คือเป็นคนใจร้อนมากมาย แต่ไม่เคยคิดร้ายกับใคร
แต่จะโดนคนคิดร้ายตลอด
โดยที่ตัวเราพิจารณาตัวเองแล้วไม่ได้ไปทำอะไรเค้าเลย
มีวิธีใดช่วยในการฝึกให้เราใจนิ่ง ใจเย็น ลงบ้างค่ะ


:b44: พระไพศาล วิสาโล - อย่างแรกที่น่าจะทำคือ
ระวังแต่อย่าระแวง เพราะถ้าระแวงแล้วก็จะเห็นคนอื่นแต่ในแง่ร้าย
ซึ่งทำให้ตนเองยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้น
อย่างไรก็ตามอาตมาขอชื่นชมที่คุณพยายามหันมาแก้ไขตนเอง
แทนที่จะเพ่งโทษที่ภายนอก
ความที่คุณเป็นคนใจร้อน
จึงอาจพูดหรือทำอะไรด้วยความหุนหันไม่ทันยั้งคิด
จึงทำให้ผู้อื่นไม่พอใจหรือโกรธคุณ
(หลายคนคงไม่ถึงกับคิดร้ายต่อคุณ)
เมื่อรู้เช่นนี้ก็ควรทำอะไรให้ช้าลง
ทั้งการพูดและการกระทำ
ซึ่งต้องอาศัยทั้งขันติคือความอดกลั้นต่ออารมณ์
(ทั้งของคุณเองและของผู้อื่น)
ที่สำคัญคือมีสติ เพราะจะช่วยให้รู้ทันอารมณ์
ช่วยให้ไม่ทำอะไรไปตามอารมณ์

สติยังช่วยให้คุณอยู่กับปัจจุบันได้ดีขึ้น
คนใจร้อนนั้นขณะที่ทำอย่างหนึ่ง
ก็นึกไปถึงอีกอย่างหนึ่งแล้ว
กำลังกินข้าวอยู่ ก็นึกถึงการล้างจาน
กำลังล้างจานอยู่ ก็นึกไปถึงการขับรถไปทำงาน
จึงทำให้รีบร้อนตลอดเวลาและหงุดหงิดได้ง่าย
ถ้าคุณมีสติจะช่วยให้หายร้อนรน
รวมทั้งทำให้หายใจร้อน
ด้วย ความนิ่งและสงบก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย


ที่มา... fb พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo

:b48: :b8: :b48:

เจ้าของ:  ฟ้าใสใส [ 05 ก.ค. 2011, 13:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: "ทำอย่างไรให้ใจเย็น" (พระไพศาล วิสาโล)

ธรรมประจำใจอันประเสริฐ (พรหมวิหาร 4)

ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ , ธรรมประจำใจอันประเสริฐ , หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ , ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ จึงจะชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ

เมตตา ความรัก ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า

กรุณา ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือนร้อนของปวงสัตว์

มุทิตา ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรก้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป

อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือ มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมควรกับความรับผิดชอบของตน

ผู้ดำรงในพรหมวิหาร ย่อมช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตากรุณา และย่อมรักษาธรรมไว้ได้ด้วยอุเบกขา ดังนั้น แม้จะมีกรุณาที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์แต่ก็ต้องมีอุเบกขาด้วยที่จะมิให้เสียธรรม

พรหมวิหารนี้ บางทีแปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมเครื่องอยู่อย่างพรหม, ธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอด้วยพรหม หรือธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่

พรหมวิหาร 4 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัปปมัญญา 4 เพราะแผ่สม่ำเสมอโดยทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่มีจำกัดขอบเขต

พรหมวิหารมีในผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นประพฤติปฏิบัติเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ด้วยสังคหวัตถุ เป็นต้น


ขอบคุณที่มา :: Budda 4u

:b44: กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/