วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 01:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2011, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 19:06
โพสต์: 57


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง วิธีการสืบต่อความไม่ประมาทของอริยสาวก
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๔๖๒

นันทิยะ! อริยสาวก เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า?

นันทิยะ! ในกรณีนี้คือ อริยสาวก เป็นผู้ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าอย่างไม่หวั่นไหว (พุทธอเวจจัปปสาทะ) ดังนี้ว่า
“แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.
อริยสาวกนั้น ไม่มีความพอใจหยุดอยู่ เพียงแค่ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าอย่างไม่หวั่นไหว
แต่ พยายามให้ยิ่งขึ้นไป คือเพื่อความวิเวกในกลางวัน เพื่อความหลีกเร้นในกลางคืน.

เมื่ออริยสาวกนั้น เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้, ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ย่อมเกิดขึ้น;
เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติ (ความอิ่มใจ) ย่อมเกิดขึ้น;
เมื่อมีใจปีติ กายก็สงบระงับ;
ผู้มีกายสงบระงับ ย่อมรู้สึกเป็นสุข;
จิตของผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ);
เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรม (ที่ยังไม่เคยปรากฏ) ย่อมปรากฏ;
เพราะความปรากฏแห่งธรรม อริยสาวกนั้น ย่อมถึงซึ่งการนับได้ว่า
เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้.

นันทิยะ! อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่า เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท.


:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

อธิบายความโดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

อันนี้ท่านก็บอกสอนในเรื่องของความไม่ประมาทว่า มีการกระทำแค่ไหนที่จะชื่อว่า
เป็นผู้ไม่ประมาท และจะสืบต่อความไม่ประมาทนั้นให้พัฒนาขึ้นได้อย่างไร?

ในความไม่ประมาทนั้นท่านบอกว่า ถ้าเรามีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
อันนี้เรียกว่าเราเป็นผู้ที่ไม่ประมาทแล้ว เพราะการเลื่อมใสองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ก็เป็นเหตุให้เราเข้าไปรับฟังคำสอนของท่าน และจะนำคำสอนของท่าน มาประพฤติปฏิบัติ
มาใคร่ครวญพิจารณาซึ่งก็จะได้ความต่อเนื่องมา

ตัวศรัทธาตรงนี้ จึงเป็นเครื่องวัดภูมิธรรมของความเป็นพระโสดาบันเหมือนกัน
ที่ท่านบอกว่าไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่หวั่นไหวในพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ ท่านเรียกว่า โสตาปัตติยังคะ๔
เมื่อมีความไม่หวั่นไหวแล้ว
เราก็จะมีศรัทธานำสิ่งที่ท่านบอกสอนมาประพฤติปฏิบัติ มาใคร่ครวญพิจารณา

สิ่งที่ท่านให้ทำต่อไปก็คือ ให้หาความวิเวกในเวลากลางวันและพยายามหลีกเร้นในเวลากลางคืน
ความวิเวก ถ้าลงละเอียดไปก็จะเป็น ความวิเวกภายในจิต
ให้จิตวิเวกด้วยการที่ไม่ให้จิตเข้าไปแสวงหาอารมณ์
ด้วยการที่เราพยายามละความเพลินแล้วมาตั้งอยู่กับอารมณ์กรรมฐานของเรา


จะเป็นลมหายใจก็ตาม จะเป็นการรู้อิริยาบถความเคลื่อนไหวของกายก็ตาม
หรือเป็นการรู้การทำงานในปัจจุบัน เรากวาดบ้านถูบ้าน เราขับรถ เราทำอะไรอยู่ กิจการงานใดอยู่
ก็ให้รู้ในกิจการงานนั้นๆ แต่ถ้าจิตหลุดออกจากกิจการงานนั้นๆ หรือว่าอารมณ์ที่เราตั้งอยู่
ก็ให้มีความรู้ตัว แล้วดึงกลับมาสู่ความเป็นปัจจุบัน พระพุทธเจ้าบอกว่า อย่าไปอยู่กับ อดีต อนาคต
อนาคตเป็นของไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงได้ตลอด อดีตก็เป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ ให้เราทำปัจจุบันนี้ให้ดีที่สุด อันนี้มันจะเป็นเหตุให้อนาคตเราดีเอง
ส่วนอดีตนั้น ถ้าเราทำปัจจุบันให้ดี เราสามารถพัฒนากาย วาจา ใจ ในปัจจุบัน
ที่เรากำลังทำนี้ ให้หลุดพ้นจากกรรมทั้งหลายในอดีตได้ เหมือนอย่าง องคุลีมาลฆ่าคนมาเยอะแยะ
ก็มาฝึกฝนกาย วาจา ใจ ของท่านใหม่จนกระทั่งสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้

พระพุทธเจ้าจึงให้คำนึงภาวะในปัจจุบันให้มาก ให้ความสำคัญอยู่ที่ตรงนี้
คนเราสามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง พัฒนา กาย วาจา ใจ ของเราให้ดีขึ้นได้
จนกระทั่งหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในรูปในนามทั้งหลาย อันนี้ตัวมรรคมีองค์ ๘ จึงเป็นหนทาง
เป็นเครื่องมือที่เราจะใช้ประพฤติปฏิบัติ ฝึกกาย วาจา ใจของเรา ฝึกอย่างไร?
ก็อาศัยองค์ มรรคมีองค์ ๘ นี่แหละเป็นหนทาง เป็นเครื่องนำทาง ปฏิบัติกายให้ได้อย่างนั้น
ปฏิบัติวาจาให้ได้อย่างนั้น ปฏิบัติจิตให้ได้อย่างนั้น ให้ได้อย่างนั้น
ก็จะเป็นเหตุให้เราเข้าถึงความพ้นทุกข์ได้.

ที่มา
http://www.watnapahpong.org/UserFiles/BudhaQuote-Media/พุทธวัจน์ยามเช้าและอธิบาย%20๑%20(๓)/พุทธวัจน์ยามเช้าและอธิบาย%20๑%20(๓).pdf
http://truthoflife.fix.gs/index.php?top ... 7#msg12107

.....................................................
ดาวน์โหลดหนังสือพุทธวจน-mp3-VDO ศูนย์มัลติมีเดีย วัดนาป่าพง
http://media.watnapahpong.org/
http://watnapp.com/

แจกหนังสือพุทธวจน-ซีดี-วีดีโอ (กลุ่มพุทธโอษฐ์)
http://sites.google.com/site/buddhaottha/home

ตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน บนเว็บไซต์
http://etipitaka.com/search

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ (รวมเสียงธรรม ดาวน์โหลด mp3)
http://truthoflife.fix.gs/index.php?board=117.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2011, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 19:06
โพสต์: 57


 ข้อมูลส่วนตัว


ดาวน์โหลด+ฟัง
เสียงอ่านและเสียงธรรมบรรยาย

102. ๖ ตค. ๕๐ อริย.ป.๑๔๖๒ วิธีการสืบต่อความไม่ประมาทของอริยสาวก

Download






http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=7626.0
http://truthoflife.fix.gs/index.php?top ... 1#msg12061

.....................................................
ดาวน์โหลดหนังสือพุทธวจน-mp3-VDO ศูนย์มัลติมีเดีย วัดนาป่าพง
http://media.watnapahpong.org/
http://watnapp.com/

แจกหนังสือพุทธวจน-ซีดี-วีดีโอ (กลุ่มพุทธโอษฐ์)
http://sites.google.com/site/buddhaottha/home

ตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน บนเว็บไซต์
http://etipitaka.com/search

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ (รวมเสียงธรรม ดาวน์โหลด mp3)
http://truthoflife.fix.gs/index.php?board=117.0


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร