วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 19:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 11:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 11:17
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาเหตุแห่งความโกรธ

อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะสามารถละความโกรธได้ทุกครั้งที่เผชิญกับปัญหา แต่อย่างน้อยหากเราสามารถทำได้ 70 -80 % ก็จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หรือในบางสถานการณ์เราอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์โกรธออกมาได้ (แกล้งทำเป็นโกรธ) ก็ขอให้เราเป็นคน “โกรธแบบเข้าใจ” หรือ “โกรธแล้วรู้จักให้อภัย” หากท่านยังไม่เข้าใจ ยามเกิดความโกรธก็ขอให้พิจารณาตามลำดับข้อดังต่อไปนี้

๑.พิจารณาถึงขนาดของความโกรธ อย่าให้การทำข้าวหกเม็ดเดียวเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องใดก็ตามที่แค่เป็นเรื่องหงุดหงิดกวนใจเล็กๆน้อยๆ ก็ไม่ควรเก็บมาใส่ใจ เขาพลาดพลั้งได้ วันหนึ่งท่านก็พลั้งเผลอได้เช่นกัน

๒.พิจารณาถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริง บางครั้งเราอยากให้การช่วยเหลือใครสักคนหนึ่ง แต่เขาอาจจะไม่ค่อยสนใจเรา ก็ขอให้นึกถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของเราว่า เราต้องการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้อยู่รอดไม่ใช่หรือ

๓.พิจารณาถึงโทษของความโกรธ เวลาโกรธเรามักจะตามืดบอดคิดว่าตัวเราเป็นใหญ่ มีอำนาจมากกว่าคนอื่น คิดจะด่าทอต่อว่า หรือทำร้ายอะไรใครก็ได้ แต่พอถึงเวลาคนที่ท่านไปโกรธไปโมโหไว้ เขาอาจย้อนกลับมาตอบสนองความโกรธของท่านในภายหลัง

๔.พิจารณาถึงวัยและวุฒิภาวะภายนอก คนที่ทำให้เราโกรธเพราะไม่รู้กาลเทศะ บางครั้งมีผลมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ยังอยู่ในวัยเด็ก ประสบการณ์ชีวิตยังมีไม่มาก จึงยังไม่รู้ว่าอะไรควรมิควร หรือบางคนมีการศึกษาน้อย ทำงานอาชีพที่มีเกียรติน้อย การเข้าใจมารยาทในสังคมจึงอาจมีไม่มากนัก

๕.พิจารณาถึงการเรียนรู้ของมนุษย์ เหตุแห่งความโกรธบางอย่างที่พัดเข้ามา อาจมาเพื่อต้องการทดสอบจิตใจของท่านว่า ท่านพร้อมที่จะเป็นผู้รู้ที่แท้จริงแล้วหรือยัง

๖.พิจารณาถึงกงล้อแห่งโชคชะตา พอเวลาเราได้อะไรแล้วมีคนมาตัดหน้าแย่งไป บางครั้งอาจเป็นเพราะยังไม่ใช่เวลาของเรา สิ่งที่ดีกว่าอาจรอคอยอยู่ก็ได้

๗.พิจารณาถึงส่วนดีที่เหลืออยู่ บางคนเป็นคนพูดจาขวานผ่าซาก ไม่น่าฟัง แต่ก็เป็นคนดีมีน้ำใจ หรืออย่างน้อยที่สุด แม้ชีวิตจะหาอะไรดีมิได้เลย มนุษย์ก็ยังรักและดูแลบุพการี ครอบครัวของตน

๘.พิจารณาถึงคุณค่าของตนเองว่าต่างจากผู้อื่นตรงไหน เวลามีเหตุการณ์ที่ทำให้เราโกรธ เราก็คิดอยากจะแก้แค้นเอาคืน โดยวิธีเอาความผิดพลาดของผู้อื่นไปประจานบ้าง ป่าวประกาศให้ผู้อื่นรู้บ้าง ก็ทำให้คุณค่าของตนเองลดลง เพราะเราก็ไม่มีดีอะไรต่างจากเขา

๙.พิจารณาถึงธรรมชาติของเพศ ธรรมชาติสร้างเพศมนุษย์ให้แตกต่างกันเพียงสองเพศ เพราะต้องการให้สะท้อนถึงความแตกต่างของแต่ละฝ่ายออกมา อย่างสตรีเป็นเพศที่อ่อนแอ จึงชอบเอาใจตนเป็นหลัก บุรุษมักผิดศีลเรื่องกาเมฯ เพราะด้วยแรงขับดันทางเพศที่มากกว่า

๑๐.พิจารณาถึงอานิสงค์ของความเมตตา คนที่เขาโกรธเรา เขาคิดร้ายอยู่ก่อนหน้านี้ แต่เราไม่โกรธให้อภัยทาน ให้ความเมตตา เขาก็ไม่อยากประสงค์ร้าย ท่านก็รอดพ้นจากภัยพิบัติ เพราะอานิสงค์ของความเมตตา

๑๑.พิจารณาถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มนุษย์เกิดมาไม่เพียงแต่ต่างกันที่รูปลักษณ์ภายนอก แต่อาจต่างกันที่ระดับสติปัญญา การคิดได้บ้างไม่ได้บ้าง ความใส่ใจก็ต่างกัน หรือไม่เคยประสบกับตนเองจึงไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร

๑๒.พิจารณาถึงเหตุจำเป็นของแต่บุคคล หากเราโกรธเพราะไม่ได้รับข้อไขความกระจ่าง ไม่มีอะไรดีไปกว่า.การเข้าใจ เพราะทุกคนมักมีเหตุผลส่วนตัว และอาจด้วยความกลัวที่ผู้อื่นจะไม่เข้าใจ ท่านเองก็เช่นกัน

๑๓.พิจารณาถึงกรรมเก่าที่ต้องได้รับการสะสาง ตราบใดที่เกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมยังไม่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร เพราะฉะนั้นหนี้กรรมยังคงมีติดค้างกันอยู่ และความยุติธรรมย่อมเกิดขึ้นเสมอ และถ้าหากไม่ต้องการให้มีหนี้กรรมติดพัวพันก็ต่อไปอีก ก็จงรู้จักอโหสิกรรมต่อกัน

๑๔.พิจารณาถึงเหตุที่เขาสมควรโกรธ บางทีเราลืมไปว่า ที่เขาโกรธเรา เขาสมควรโกรธหรือเปล่า เราผิดจริงตามที่เขาโกรธไหม ตนเองทำถูกต้องสมควรไหม หรือบางทีท่านไปโกรธเขาแต่ท่านก็ไม่ใช่ฝ่ายถูก

๑๕.พิจารณาถึงความโกรธเป็นสิ่งลวงตา ความโกรธและความฟุ้งซ่านมักมาพร้อมกัน ทำให้จิตใต้สำนึกมักคิดไปเองว่า ความโกรธเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมความกันได้ ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสสั่งสอนไว้เสมอว่า ความโกรธนั้นเป็นเพียงลมปาก ไม่นานก็พัดผ่านหายไป ไม่มีผู้ใดที่จะเก็บลมนั้นไว้ได้ตลอด ผู้ที่มีสติย่อมไม่นำลมนั้นมาเบียดเบียนตนเอง

แนวทางการสร้างกุศลทาน

๑.เลือกคุณภาพอาหารและเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์

๒.ทำบุญกับคนขอทาน ผู้ยากไร้ ให้อาหารที่ประณีต หรือปัจจัยสี่ช่วยเหลือ

๓.รู้จักพอในกาลสมควร ไม่อยากได้ในสิ่งที่ตนยังไม่พร้อม

๔.ไม่จำเป็นต้องให้เฉพาะของที่ใช้แล้ว ของดี ของใหม่ ก็สามารถสละให้ได้เช่นเดียวกัน

๕.สร้างหนังสือดีเป็นธรรมทาน

๖.ถวายสังฆทานด้วยความประณีต ไม่จำเป็นต้องถวายถังเหลืองสำเร็จรูป

๗.นั่งสมาธิ สวดมนต์ หรือเข้าวัด อย่างน้อยให้ได้อาทิตย์ละ ๑ ครั้ง

๘.ออมเงินเพื่อการทำทาน อย่างน้อยวันละ ๕ บาท

๙.สนับสนุนทุนการศึกษา ไม่จำเป็นต้องบริจาคตามมูลนิธิ

๑๐.การให้อภัยทาน ไม่เสียดายกับสิ่งของที่พังเสียหายไปแล้ว

๑๑.การเป็นคนตรงในจิตใจ ไม่ใช่ตรงแต่วาจาขวานผ่าซาก

๑๒.จงเป็นผู้ที่มีสติอยู่เสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างกรรมโดยไม่รู้ตัว


สำนักพิมพ์ญาณธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร