วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 12:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2011, 16:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2011, 16:21
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue :b53:
จรรยาบรรณคู่สังคมไทยทางด้านการเป็นผู้บริหารที่ดี (บทความวิชาการ) โดย นายฑีพัตรยศ สุดลาภา
การที่มนุษย์เราจะประสบผลสำเร็จในชีวิตทางด้านการงานถึงขั้นผู้บริหารนั้น คนจะต้องผ่านกระบวนการในขั้นตอนของสังคมที่มีการปูรากฐาน ไว้เพื่อให้เป็นไปตามแบบแผน ตามหลักเกณฑ์ บรรทัดฐาน ความเข้าใจทางสังคม รวมทั้งรูปแบบทางสังคม เพื่อให้คนๆนั้นได้เป็นผู้ประสบผลสำเร็จในชีวิตทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและถาวร รวมทั้งการมีจิตใต้สำนึกที่ดีและสามารถบริหารงานนั้นๆได้ประสบผลสำเร็จได้ตามมาตรากรของสังคม เราเรียกสิ่งๆนี้ว่า จรรยาบรรณ
จรรยาบรรณ ในที่นี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องชี้วัดตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติของสังคม หรืออาจเป็นกติกาทางสังคมที่มนุษย์เราที่ต้องพึงปฏิบัติเพื่อให้สังคมรอบข้างได้รับรู้ และยึดเป็นแนวทางปฎิบัติรวมไปถึงการสื่อให้เห็นว่าเป็นเครื่องหมายในองค์กรของตน(ผู้บริหาร) ทำให้ผู้ที่มีส่วนร่วมทำธุรกรรมหรือองค์กรอื่นๆเกิดความเข้าใจในองค์กรของเราได้ง่าย และสะดวกต่อการเข้าถึง
ผู้บริหารที่ดีควรมีจรรยาบรรณทางด้านการบริหาร เพื่อให้ลูกน้อง หรือพนักงาน หรือผู้ที่อยู่ใต้คำบังคับบัญชายึดถือตามแบบอย่างที่ดีทางสังคมควบคู่กันไปด้วย
จรรยาบรรณกับการพัฒนาองค์กร
จรรยาบรรณกับจริยธรรม นั้นถือเป็นสิ่งที่ควรมีควบคู่กันไปกับการพัฒนาองค์กร จรรยาบรรณนั้นตามวิถีแห่งการพัฒนาทั่วไป ได้แยก แขนงเอาข้อสำคัญหลักต่างๆของจริยธรรมมาประยุกต์ใช้เป็นแบบอย่างจึงเรียกว่า จรรยาบรรณ ถ้าองค์กรใดขาดจรรยาบรรณทางด้านการพัฒนาองค์กรแล้วนั้น ถือว่าองค์กรนั้นเป็นสิ่งที่มิน่าเอาเป็นแบบอย่างในการบริหาร และอาจก่อให้เกิดการผิดพลาดทางด้านสังคมองค์กรสู่องค์กรอื่นๆอีกด้วย จรรยาบรรณจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดเป็นอันอับที่1 ที่องค์กรควรมียึดถือเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อให้องค์กรของตนเป็นที่ยอมรับทางสังคมในทุกแขนง จรรยาบรรณจึงมิได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ซื่อสัตย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังควบคุมไปถึงกฎเกณฑ์ และมารยาท ความมิแบ่งแยก อำนาจ ความยั่งยืน เสถียรภาพทางสังคม ที่สถาบันสังคมอื่นๆ เช่น สถาบันทางครอบครัว หรือสังคมที่ขาดความรู้ความเข้าใจในจรรยาบรรณ สถาบันทางสังคมอื่นๆ เช่น ประชาชนทั่วไป พ่อค้า แม่ค้า หาบแร่ แผงลอย ควรที่จะเรียนรู้และทำการศึกษามาก่อนที่จะก้าวเข้ามาบริหาร จรรยาบรรณจะดำรงอยู่ได้อีกต่อไปในโลกอนาคตอย่างมิมีวันหยุดนิ่งถ้ามนุษย์ได้รับการปลูกฝัง และเข้าใจ พัฒนา และไม่ทุจริตในจรรยาบรรณในองค์กรและนอกองค์กรของตนเอง จรรยาบรรณจะอยู่ควบคู่กับนักบริหารได้อย่างมั่นคงเป็นเอกเทศ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการดำรงคงอยู่เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีภาพลักษณ์ในเรื่องการจัดการบริหาร ดำเนินการ ทั้งภายในและภายนององค์กร
จรรยาบรรณกับเจตคติ
จรรยาบรรณเป็นลักษณะแบบโครงสร้างที่มีภาพพจน์ที่ค่อนข้างบ่งชี้ หรือมีอำนาจรวมอยู่ในตัวตนขององค์กรนั้นๆ เมื่อสัมพันธ์กันกับเจตคติในแง่บวกทางด้านการบริหารงานการเป็นผู้นำจะทำให้เกิดความมั่นคงและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นวัฎจักรคล้ายดังห่วงโซ่ ( Valu Chang Develop Continuously) ส่วนเจตคติ คือ นามนิยม ที่สามารถตั้งวางไว้ในฐานะอันเหมาะสม สมควร เมื่อใช้จรรยาบรรณควบคู่กับเจตคติก็จะก่อให้เกิดผลดีอันยาวนาน และเป็นการพัฒนาจรรยาบรรณควบคู่กันไปได้โดยในตนเอง นอกจากนั้นจรรยาบรรณยังเรียกได้อีก คือ มาตรากรที่เป็นไปตามโครงสร้างของความดีที่สุดแห่งการบริหารโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกองค์กร และรวมไปถึงด้านการบริการองค์กร ความมั่นคงขององค์กร และด้านองค์รวมขององค์กร นั้นล้วนคือปัจเจกใหญ่ที่สำคัญที่มีผลทำให้จรรยาบรรณจึงต้องมีอยุ่คู่กับองค์กรเสมอ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
จรรยาบรรณ ในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต กับการมีสามัญสำนึกที่ดี และอีกทั้งการรักษาจรรยาบรรณที่มีมานานแล้วซึ่งอดีตมีการปลูกฝังให้มนุษย์ได้รักษาจรรยาบรรณในตนเอง ในครอบครัว ในที่นี้จะเห็นได้ว่ามีในเรื่องของหลักธรรมคือศีล 5 เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในเรื่องของการพัฒนาความรู้ทางกระบวนการต่างๆเริ่มตั้งแต่ทักษะรวมไปถึงการปฏิบัติตนตามกฎเกณฑ์ ถ้าผู้บริหารมีจิตใต้สำนึกที่ดี และมีกฎของจรรยาบรรณ การพัฒนากระบวนการทั้งหลายเหล่านี้ จะมีการพัฒนาต่อไปได้อีกในทุกๆ แขนงสาขา ทางด้านการบริหารต่างๆอย่างมิมีวันหมดไป ถือเป็นการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างรู้ค่า และถูกต้องตามสายงานนั้นๆ และตามกาลเวลาที่ไม่เคยหยุดรอใคร ผู้บริหารที่ดีควรตระหนักถึงจรรยาบรรณ และมิควรที่จะเพิกเฉยในองค์กรของตนเอง และในปัจจุบันก็ยังมีการ พัฒนา กลยุทธวิธี อีกทั้งธำรงรักษาจรรยาบรรณอย่างสุดล้น เพื่อให้ในอนาคตจะได้มิขาดในเรื่องของจรรยาบรรณ และให้ผู้ที่บริหารควรใช้สามัญสำนึกอย่างถูกต้องเพื่อให้คงสภาพที่ดีของจรรยาบรรณ มิให้สูญสลายหรือขาดหายในการบริหารงานในสังคมไทยอีกนานเท่านาน


บทความโดย นาย ฑีพัตรยศ สุดลาภา 7 /10 / 25553


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร