วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 04:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2010, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




thumbnail_vv.php.jpeg
thumbnail_vv.php.jpeg [ 9.91 KiB | เปิดดู 1372 ครั้ง ]
การเผยแผ่ศาสนาพุทธในปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์มักจะมีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา ผ่านการเผยแผ่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่แต่ละภิกษุรูปสร้างสรรค์ขึ้น โดยเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ประชาชนส่วนใหญ่ล้วนยอมรับแนวทางการเผยแผ่ศาสนาในรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ทางอินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ดังอย่างเฟซบุ๊ก



พระ ไพศาล วิสาโล พระภิกษุในวัย 53 ปี เจ้าอาวาสแห่งวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ หนึ่งในพระภิกษุสงฆ์ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในทางธรรม ซึ่งท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่เผยแผ่ศาสนาผ่านสื่อหลายรูปแบบ ไปพร้อม ๆ กับการช่วยเหลือผู้คน และที่สำคัญพระไพศาล คือภิกษุผู้เป็นนักเขียนที่มีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง ในแนวคิดสันติวิธี




พระไพศาล ในวัยเยาว์

ด.ช.ไพศาล วงศ์วรวิสุทธิ์ หรือ อั้งยี่ ชื่อที่คนในครอบครัวเรียกกัน เติบโตมาในครอบครัวระดับกลาง มีพี่น้อง 5 คน ซึ่ง ด.ช.ไพศาล เป็นคนที่ 4 บิดาของเขาเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ แต่ทว่ากลับเลือกที่จะทำธุรกิจเป็นเจ้าของสถานบันเทิง จนทำให้มีภรรยาน้อย และติดการพนันด้วย ด.ช.ไพศาล จึงเติบโตมาท่ามกลางความขัดแย้งของครอบครัว และสถานะการเงินที่ไม่ค่อยดีนัก



ด.ช.ไพศาล เรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โดยมีบุคลิกเป็นนักเรียนที่เรียนดี ตั้งใจเรียน และไม่เคยเกเร ยิ่งตอนเรียนอยู่ชั้น ม.2 เขาลองตรึกตรองดูแล้วพบว่า การเรียนไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเรียนเพื่อให้ได้คะแนนเท่านั้น แต่มันคือการเรียนเพื่อให้ได้ความรู้ต่างหาก ด.ช.ไพศาล จึงตั้งอกตั้งใจเรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และทำคะแนนดียิ่งขึ้น ท่ามกลางความหวังของครอบครัวในยุคนั้นว่า เขาจะต้องเป็นหมอ หรือวิศวกร จากนั้นเป็นต้นมาด.ช.ไพศาล ก็เริ่มแสวงหาความรู้ด้วยตัวเองจากห้องสมุด อ่านหนังสือหลายต่อหลายเล่ม เรียกได้ว่าอยากรู้เรื่องอะไร ก็อ่านเรื่องนั้น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ชื่นชอบมาก และตั้งใจว่าเขาจะเป็นวิศวกรให้ได้





แต่ แล้วชีวิตก็ต้องเปลี่ยนไปเมื่อได้อ่าน หนังสือสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับภัยเหลืองต่อต้านจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น ที่เขาอ่านแล้วรู้สึกว่าประเทศไทยถูกเอาเปรียบจากญี่ปุ่น จึงทำให้เขาสนใจในด้านการเมืองมากขึ้น อีกทั้งยังชอบช่วยเหลือชุมชน เขาจึงเข้าร่วมชมรมอาสาพัฒนาของอัสสัมชัญ จนกลายเป็นเด็กกิจกรรมที่มักโดดเรียนเพื่อไปทำกิจกรรมอยู่เสมอประจวบ กับขณะนั้นกระแสการเมืองช่วง 14 ตุลา แรงมาก นักศึกษาส่วนใหญ่ก่อตัวกับแนวคิดทางการเมือง ความคิดที่จะเป็นวิศวกรของเขาจึงถูกโยนทิ้งไป และเบนเข็มมามุ่งหมายจะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แทน โดยเขาตัดสินใจย้ายแผนการเรียน จาก มศ.4 สายวิทย์ ไปเป็น มศ.5 สายศิลป์ ตั้งแต่นั้นมา



พระไพศาล กับ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

ความ มุ่งมั่นที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่มีอุดมการณ์ทางด้านการเมืองแรงกล้า ทำให้นายไพศาล ในขณะนั้นเข้าเป็นนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ เอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดังหวัง เพราะในช่วงเวลานั้น เริ่มมีการศึกษาประวัติศาสตร์ในรูปแบบใหม่ ๆ แบบที่นายไพศาลสนใจ เขาจึงเลือกเรียนเอกประวัติศาสตร์ ในระหว่างกำลังศึกษาอยู่ เขาทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย รวมถึงการตัดสินใจเลือกข้างว่าเขาจะเป็น "ฝ่ายซ้าย" เช่นเดียวกับเหล่านักศึกษาส่วนใหญ่ที่นั่น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นายไพศาลในเวลานั้น ไม่ได้เป็นซ้ายจัดเหมือนกับคนอื่น ๆ เขาเป็นเพียงฝ่ายซ้ายแบบอหิงสา หรือวิธีการสันติวิธี โดยร่วมก๊วนกันกับกลุ่มเพื่อนรวมตัวกันที่ชมรมพุทธศาสตร์ และเป็นกองบรรณาธิการ วารสารปาจารยสาร ที่ให้ความสำคัญกับการใช้สันติวิธี อหิงสา มากกว่าการปฏิรูปการศึกษา




ใน ที่สุดเหตุการณ์ปะทะครั้งยิ่งใหญ่ระหว่าง นักศึกษากับรัฐบาลก็มาถึง เมื่อเหล่านักศึกษาพยายามรวมตัวกันขับไล่ จอมพลถนอม กิตติขจร ให้ออกนอกประเทศจนกลายเป็นความบาดหมางครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งใน ขณะนั้นกลุ่มของนายไพศาลเอง ก็มีการประกาศอดอาหารประท้วง เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขเรื่องดังกล่าว อย่างอหิงสา แต่เรื่องราวกลับไม่ได้เป็นดังใจคาดหมาย เมื่อกลุ่มของนายไพศาล 5 คน ที่อดอาหารประท้วงอยู่บริเวณสนามฟุตบอลภายในมหาวิทยาลัย ถูกกลุ่มตชด. บุกเข้ามาในมหาวิทยาลัย และจับตัวไปเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทั้ง ๆ ที่พวกเขา เพียงอดอาหารอยู่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนองเลือดใด ๆ นาย ไพศาลและเพื่อน ๆ ถูกควบคุมตัวอยู่ 3 วัน จากนั้นจึงถูกปล่อยตัวให้กลับบ้านได้ ท่ามกลางความหวั่นใจของพ่อแม่ที่ออกตามหาตัวเขาจนทั่ว เพราะกลัวว่าเขาจะเป็นหนึ่งในหลายศพที่เสียชีวิต



แต่ หลังจากนั้น นายไพศาลก็ถูกปล่อยตัวออกมา และเขาก็ได้มีโอกาสไปอบรมเรื่องมนุษยชน ที่สหรัฐอเมริกา และกลับมาร่วมทำงานกับกลุ่มประสานงานศาสนา เดินหน้าหาทางประกันตัวนักโทษจากเหตุการณ์ 6 ตุลา จนกระทั่ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ในขณะนั้น ได้ประกาศให้ปล่อยตัวนักโทษทั้งหมด

เมื่อ ถึงปี 2523 นายไพศาล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และความรุนแรงทางการเมืองก็เบาบางลง กลุ่มประสานงานศาสนาของเขา จึงหันมาช่วยเหลือเด็กยากไร้ที่ขาดแคลนอาหารในชนบท และเดินทางไปยังบ้านท่ามะไฟหวาน จ.ชัยภูมิ และที่นี่เองที่ทำให้เขาพบกับ หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ ที่ให้การช่วยเหลือและสอนหนังสือให้กับเด็ก ๆ ที่ขาดแคลนโอกาส ผู้ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เขา ในอีก 4 ปีต่อมา




พระไพศาล สู่เส้นทางธรรมะ

ความทุ่มเททั้งแรง กายและแรงใจเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น แม้จะทำให้เขาสุขใจที่ได้ทำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป นายไพศาลกลับมีเรื่องมากมายให้ต้องคิดฟุ้งซ่าน เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ค่อยได้ เขาคิดวนเวียนอยู่กับทุกเรื่อง และมันถูกเปลี่ยนแปลงเป็นความหงุดหงิด กระสับกระส่าย ทำอะไรก็ไม่มีความสุข ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เขามองเห็นทางที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ใจทั้งหลายทั้งปวง นั่นคือ การเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ด้วยความตั้งใจว่าอยากจะบวชสัก 3 เดือน เพื่อปรับปรุงจิตใจ แต่เมื่อเพื่อนคนหนึ่งแนะนำให้ไปบวชกับพระภิกษุสายกรรมฐานรูปหนึ่ง ที่ จ.ชัยภูมิ ชื่อหลวงพ่อคำเขียน เวลานั้นเองที่เรื่องราวในอดีตย้อนกลับมา เขาเคยรู้จักกับหลวงพ่อรูปนี้ เมื่อ 4 ปีก่อน ท่านมีความเมตตาและไม่เอาแต่ได้ เขาจึงตัดสินใจบวชกับท่านในที่สุด



แต่ เมื่อบวชไปได้สักระยะ หลวงพ่อคำเขียนท่านต้องไปจำพรรษาในที่กันดาร เกรงว่าพระใหม่อย่างหลวงพ่อไพศาล จะไม่มีผู้ดูแล จึงแนะนำให้ไปฝึกปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อเทียน ที่วัดสนามใน จ.นนทบุรี แทน ที่นั่นเองที่พระไพศาลต้องต่อสู้กับการเลิกอ่าน เลิกเขียนหนังสือ และใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองในรูปแบบของการปฏิบัติธรรม แต่ เมื่อมีความกดดันและความขัดแย้งในตนเองระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านไปในการปฏิบัติธรรมที่วัดสนามใน จึงเป็นเพียงการต่อสู้กับจิตใจของตนเองเท่านั้น โดยแทบไม่บรรลุผลใด ๆ จึงทำให้พระไพศาล ตัดสินใจยืดระยะเวลาการบวชออกไปจนครบปี ท่ามกลางการรอคอยของเพื่อนร่วมงาน และมิตรสหายว่าเมื่อใดพระภิกษุไพศาลจึงจะกลับไปทำงานตามปกติ

หลัง จากนั้น พระไพศาล เลือกที่จะเดินทางมาจำพรรษาที่วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ และได้พบกับพระอาจารย์คำเขียน สุวณฺโณ อีกครั้ง ซึ่งท่านก็มาจำพรรษาที่นี่เช่นเดียวกัน ในขณะนั้นวัดป่าสุคะโต เป็นวัดที่แร้นแค้นมาก มีพระจำพรรษาอยู่เพียง 9 รูป และถูกบูรณะเป็นวัดอย่างแท้จริง ในปี พ.ศ.2512 ท่ามกลางผืนป่าที่ถูกทำลายด้วยเงื้อมมือนายทุน แม้จะมีการขอบิณฑบาตจากพระภิกษุในวัด แต่ก็ไม่สามารถห้ามปรามได้
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron