วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 20:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




1096.jpg
1096.jpg [ 22.36 KiB | เปิดดู 2783 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

การใช้ความจริงกับชีวิตประจำวัน

ความทุกข์ใจทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาได้ เพราะเราปฏิบัติต่อกฎของความจริงผิดวิธี หรือเพราะไม่เข้าใจความเป็นจริง ความจริงหรือสัจธรรมนั้นมีอยู่ในชีวิตประจำวันตลอดเวลา มิใช่อยู่ในวัด ในวิหาร หรือออกมาจากปากของพระเจ้าที่ไหน ตัวชีวิตเองก็คือกฎของความเป็นจริง หรือความจริงที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าตลอดเวลา ที่เคลื่อนไหวไปในกฎของความจริงที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เข้าไปในเนื้อหานั้นอย่างจริงจัง เพียงแต่ความไม่รู้เข้าไปบดบัง และความไม่รู้นั่นเองที่สร้างปฏิกิริยาปรุงแต่งตอบสนองต่อกฎของความเป็นจริงอย่างผิดพลาด คลาดเคลื่อน หรือวิปลาส เช่น ทุกชีวิตต้องเปลี่ยนแปลง แต่หลงเข้าไปคิดปรุงแต่งว่า “เขาไม่น่าเปลี่ยนแปลงเลย” แล้วเกิดความทุกข์ใจขึ้นมาจากการหลงยึดกับความถลำเข้าไปในเนื้อหานั้นอย่างจริงจัง หรือคร่ำครวญต่อกันว่า “เดี๋ยวนี้คนนั้นเขาไม่เหมือนเดิมแล้ว” ทำให้รู้สึกช้ำใจ ผิดหวัง หดหู่ จากการคาดหวังที่ตรงข้ามกับกฎของความจริง เพราะไม่มีสักสิ่งหรือสักขณะเลย ในจักรวาลนี้ที่คงที่อยู่ได้

เพราะเหตุที่ว่า ทุกสิ่งในจักรวาลตั้งแต่โครงสร้างใหญ่ จนถึงโครงสร้างที่เล็กที่สุดในระดับอะตอมและเซลล์ ล้วนไม่มีสิ่งใดมีตัวตนด้วยตนเองเลย ต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นเป็นเหตุปัจจัย ล้วนแต่ไม่มีสภาวะใดคงที่ เฉกเช่นกาลเวลาในแต่ละขณะวินาที ตั้งแต่รุ่งอรุณถึงรัตติกาล ตั้งแต่แสงอาทิตย์ยามเช้า หมู่เมฆ ละอองน้ำในบรรยากาศ และสายลม ซึ่งไม่เคยทรงตัวอยู่กับที่ได้แม้สักขณะ เมื่อโครงสร้างใหญ่ในจักรวาลสัมพันธ์กับโครงสร้างย่อยที่เรียกว่าชีวิต สภาวะอันไม่คงที่นี้จึงปรากฏลักษณะให้เห็น ให้ได้รับรสชาติไม่คงที่อยู่ตลอดเวลา ไม่อาจหลีกเลี่ยง ปรากฎการณ์รอบตัวในชีวิตประจำวัน อันไม่อาจคาดคิดจึงเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ในลักษณะอันไม่คงที่ดังกล่าว การเตรียมพร้อมหรือตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาด้วยความไม่ประมาทต่อโอกาสของเหตุปัจจัย จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

การตื่นตัวอย่างตามรู้เท่าทันต่อปรากฎการณ์ของชีวิตจิตใจในปัจจุบันคือ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ การเห็นกระบวนการเหตุปัจจัยในชีวิตประจำวัน คือ การเห็นปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจจ์ ๔
ในเมื่อเหตุปัจจัยอันไม่คงที่และไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงอาจกล่าวได้เต็มปากว่า ธรรมกับชีวิตประจำวันเป็นสิ่งจำเป็น หรือธรรมนั่นละที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ถ้าเราไม่รู้จักวิธีปฏิบัติต่อกฎของธรรม (ปฏิจจสมุปบาท) นับเป็นความประมาทที่เปิดโอกาสให้อวิชชา หรือความไม่รู้ ปกปิด ไม่ให้ได้รับประโยชน์หรือความสุขที่ควรได้ แต่กลับไปได้รับในสิ่งที่ไม่ควรจะได้รับ คืออกุศล หรือถูกปกปิดไม่ให้รู้ ไม่ให้เห็นกระบวนการเหตุปัจจัยอย่างถูกวิธี ดังนั้นการกล่าวว่า “ไม่มีเวลาสนใจในธรรม” จึงเป็นคำพูดที่แย้งกับความเป็นจริง เหตุเพราะธรรมคือความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ต่อหน้าตลอดเวลา แล้วจะว่าไม่มีเวลาสนใจความจริง เพราะต้องใช้เวลาไปสนใจความเท็จกระนั้นหรือ แท้จริงแล้วการทำงานในชีวิตประจำวันนั่นแหละที่ทำให้เห็นกระบวนการเหตุปัจจัย (ธรรม) ของความจริงได้ง่าย และสามารถใช้เหตุปัจจัยไปในทางที่เป็นประโยชน์สุขต่อชีวิต อำนวยกุศลวิบากแก่ขันธ์ในสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น..... .... ... .. .
:b42: :b42: :b42:



สิ่งที่มีปฏิกิริยาปรากฏของรูปและนาม
เป็นเพียงมวลสนามพลังที่แผ่ไปในความว่าง
ปรากฏการณ์และสิ่งที่ไร้ปรากฏการณ์
สัมพันธ์อยู่ร่วมกันด้วยความไร้เจ้าของ

พลังแห่งความเคลื่อนไหวของรูป-นาม
เพียงเปิดเผยให้เห็นความเกิด-ดับอันมิรู้จักจบสิ้น
ช่องว่างแห่งความดับในชั่วขณะหนึ่งของทุกรอยต่อ
เปิดเผยให้เห็นความว่างอันนิรันดรอยู่ภายใต้นั้น

สัมพันธภาพของสิ่งที่ปรากฏและไม่ปรากฏ
เอื้อเฟื้อแก่กันและกันโดยไร้ความยึดถือและผลักไส
คือความงามที่ไร้มลทินใด อันไม่มีใครอาจครอง


(จากบางส่วน หนังสือ ความจริงไม่มีใครทุกข์...พระครูใบฎีกาอำนาจโอภาโส)

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 14:50
โพสต์: 69

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาด้วยครับ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: ขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ ท่านนิ๊งหน่อง :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




Lotus355.jpg
Lotus355.jpg [ 3.23 KiB | เปิดดู 2545 ครั้ง ]
:b43: ธรรมะกับชีวิตประจำวัน : ไม่เห็นแก่ตัว

เรื่องความเห็นแก่ตัวนี่ อาตมาพูดอยู่บ่อยๆพูดอะไรก็มักจะวกไปสู่เรื่องนั้นๆ เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเป็นฐานของสิ่งทั้งหลายทั้งด้านดีและด้านเสีย ถ้าพูดในด้านเสียแล้ว ความเห็นแก่ตัวนั่นแหละเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำคนให้คิดผิดไป ให้พูดผิดไปให้กระทำอะไรๆ ไปในทางที่ผิดที่เสียหายก็เพราะฐานที่มีความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นก่อน แต่ถ้าไม่มีความเห็นแก่ตัวมีความเห็นในด้านธรรมะจริงแล้ว เรื่องผิดมันก็คงจะไม่เกิด เพราะธรรมะนั้นจะช่วยให้เกิดความคิดนึกที่ถูกที่ชอบ ตรงตามเป้าหมายแต่พอมีตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ความคิดที่ผิดเกิดตามขึ้นมา


ตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ เช่นว่า นาย “ก” นี่เป็นอยู่กับใครคนหนึ่งแล้วคนคนนั้นไปกระทำอะไรเข้าสักอย่างหนึ่งซึ่งคนส่วนมากเขาก็เห็นว่ามันไม่ถูก ไม่เหมาะ ไม่ควรด้วยประการต่างๆแต่ว่านาย “ก” ไม่ได้คิดเช่นนั้น ไม่ได้มองเห็นในรูปเช่นนั้นกลับพูดว่าท่านผู้นั้นเป็นคนที่ดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ เช่นนาย “ก”ได้รับความอุปถัมภ์ค้ำชูจากคนนั้นในเรื่องต่างๆ นานา เจ็บไข้ได้ป่วยที่เขาช่วยรักษามารดาตาย เขาช่วยทำศพให้หรือว่ามีความทุกข์ความเดือดร้อนก็วิ่งไปหาให้ความช่วยเหลือความช่วยเหลือเกื้อฉันลต่างๆ นั้น เป็นเครื่องมัดจิตใจนาย “ก”ให้มีความรักความเคารพต่อบุคคลนั้น แต่ไม่ได้คิดไปถึงว่าสิ่งที่เราได้มันเป็นเรื่องของปัจเจกชน หรือเป็นเรื่องของมหาชนคิดแต่เพียงประการเดียวว่าเขาดีต่อฉันอย่างนั้นอย่างนี้ส่วนที่เขากระทำอะไรลงไปในเรื่องที่เป็นความผิดความเสียหายนั้นกลับมองไม่เห็น ทำไมจึงมองไม่เห็น ก็เพราะว่าอคติเข้าครอบงำใจ



อคติ คือ ความลำเอียง เกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ คือความลำเอียงเพราะรัก เรียกว่าฉันทาคติ, ความลำเอียงเพราะชัง เรียกว่าโทสาคติ, ความลำเอียงเพราะกลัว เรียกว่าภยาคติ, ความลำเอียงเพราะเขลา เรียกว่าโมหาคติ

อคติ 4 ประการนี้ ไม่ว่าตัวใดตัวหนึ่ง ถ้าเกิดขึ้นในใจของบุคคลใดแล้ว ทำให้บุคคลนั้นต้องตกต่ำลงไปเรื่อยๆทำไมจึงต้องตกต่ำ เพราะว่าความคิดมันผิด การพูดผิด การกระทำผิดการคบหาสมาคมก็จะพลอยผิดพลอยเสียไปด้วย เพราะอาศัยอคติ 4นี้เป็นฐานอยู่ในใจเรื่องอื่นที่มันจะเกิดขึ้นมันก็จะเอียงไปตามอคติที่มีอยู่ เช่นเรามีความรัก เราก็มองคนไปในแง่ดี มีประโยชน์แก่ตนใครมาบอกว่าไม่ดีนั้นไม่ยอมรับ


สมมติว่าชายหนุ่มหญิงสาวมีความรักกัน หญิงสาวมีความรักชายหนุ่มแต่ว่าคุณพ่อคุณแม่มองแล้วเห็นว่ามันไม่ได้ความไอ้เจ้าหนุ่มคนนั้นเป็นคนหยิบโหย่ง ไม่เอางานเอาการนิสัยไม่ค่อยดีไม่เรียบร้อย แล้วก็มาบอกกับลูกสาวว่าแม่พิจารณาดูแล้วว่าเจ้าหนุ่มคนนี้ที่เธอว่าเป็นแฟนนี่มันไม่ได้เรื่องอะไร ลูกสาวจะเชื่อไหม จะฟังไหม...ไม่เชื่อหรอกหาว่าคุณแม่รังเกียจอย่างนั้นรังเกียจอย่างนี้ไม่ชอบแล้วก็พูดอย่างนั้นอย่างนี้ด้วยประการต่างๆเขามองไม่เห็นความไม่ดีของคนที่เขารัก เพราะว่าเขารักมากเขาก็มีอคติมากหน่อย เรียกว่ามีอคติเข้าข้างคนนั้นมากหน่อยใครที่พูดว่าไม่ดีนั้นจะถูกหาว่าไม่ชอบอย่างนั้นอย่างนี้ล่ะแล้วมักจะเอาสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเป็นข้ออ้าง เช่น อ้างว่าเขาเป็นคนจนบ้างล่ะเขาไม่มึเทือกเถาเหล่ากอบ้างล่ะ ไม่ยอมรับความจริงที่คนอื่นมองเห็นเพราะว่าตาของตัวนั้นมันเป็นฝ้า มองอะไรมัวไปหมดไม่เห็นชัดตามสภาพที่เป็นจริง


หนุ่มก็เหมือนกันแหละ ถ้าไปรักหญิงสาวแล้ว ถ้าใครไม่ชอบไม่เห็นด้วยมาคัดค้านนี่ เขาก็ไม่ยอมท่าเดียว เขาจะต้องรักของเขาไปจนกระทั่งจะได้สมใจหรือว่าจนกระทั่งความเสียหายมันเกิดขึ้นแล้วจึงจะรู้ว่า อ้อ..มันหลงผิดไปแล้ว แต่ว่ามันหลงผิดไปแล้วมันขาดทุนไปตั้งเท่าไรก็ไม่รู้อันนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นง่ายๆว่า จะวินิจฉัยเรื่องอะไรนั้นอย่าวินิจฉัยโดยถือเอาตัวเป็นใหญ่ เพราะว่ามักจะเข้าตัวมีอคติเกิดขึ้นในใจ นี่เรียกว่าฉันทาคติ บางทีเกิดโทสาคติขึ้นเราไม่ชอบคนนั้น เมื่อไม่ชอบคนนั้นก็ลงมติว่า ไม่ได้ความ ใช้ไม่ได้ไม่ดีไม่งามด้วยประการทั้งปวง



การที่ลงมติไปในรูปเช่นนั้น ก็มีฐานมาจากว่าตัวไม่ชอบ ตัวไม่ชอบนั่นก็คือตัวความเห็นแก่ตัวอย่างหนึ่งเหมือนกันไอ้ความชอบนั่นก็คือความเห็นแก่ตัวเหมือนกันแหละตัวพอใจตัวพึงใจก็ว่าดี แต่เอาตัวเข้ามาเกี่ยวข้องอีกในรูปหนึ่งว่าฉันไม่ชอบ ฉันไม่พอใจ เขาทำอะไรๆ ไม่ถูกอารมณ์ของฉัน เราก็เกิดโทสาคติคือความลำเอียงเกิดขึ้นทันทีว่า คนนั้นใช้ไม่ได้การกระทำอย่างนั้นไม่ถูกต้อง แม้จะถูกก็ไม่ยอมว่าถูก แต่ถ้าผิดก็เอาเลยล่ะเรียกว่าได้ทีขี่แพะไล่เลยทีเดียว อันนี้มีอยู่เหมือนกันเรียกว่าลำเอียงเพราะชังกัน


ลำเอียงเพราะกลัว วินิจฉัยอะไรๆบางเรื่องนี่กลัวอิทธิพลเขากลัวพรรคพวกเขา กลัวอำนาจกลัวความเป็นใหญ่การวินิจฉัยนั้นก็มักจะเข้าไปในสิ่งที่ตัวกลัว เพื่อให้ตัวปลอดภัยก็ความเห็นแก่ตัวอีกเหมือนกัน เอาตัวเข้าไปใช้อีกแล้วก็วินิจฉัยในเรื่องอะไรๆ ต่างๆมันผิดไปไม่ตรงตามเรื่องที่เป็นความจริง นี่เรียกว่าลำเอียงเพราะความกลัว

ส่วนลำเอียงเพราะความหลงนั้น คือไม่รู้เรื่องอะไรเลย ไม่เข้าใจอะไรไม่มีปัญญาไม่มีเหตุไม่มีผล ได้ยินเขาว่าอย่างไรก็ว่าไปตามเขาอย่างนี้เขาเรียกว่าโมหาคติ คนเราถ้ามีอคติอย่างนี้แล้วมันก็เขวไปเท่านั้นเอง

ทีนี้คนนั้นเป็นใคร ก็มักจะใช้ความลำเอียงของตัวนั่นแหละไปทำในเรื่องนั้นเรื่องนี้ต่อไป ให้เกิดความเสียหายไปด้วยประการต่างๆการวินิจฉัยอะไรว่าดีว่าถูก ว่าชั่วว่าไม่ชั่ว จะเอาอคติมาใช้ไม่ได้เราจะต้องวิจิจฉัยด้วยความเป็นธรรมด้วยความเป็นธรรมนั้นต้องเอาอะไรหลายอย่าง เข้ามาประกอบเช่นเอาศีลทั้งห้าข้อมาวินิจฉัยกันก่อน การกระทำนั้นจะดีหรือชั่วจะเป็นความผิดความเสียหรือไม่ ศีลห้ามีอะไรบ้างโดยมากเราก็พอรู้กันอยู่คือการไม่ฆ่ากัน การไม่ลักของกัน การไม่ประพฤติล่วงเกินความรักความชอบใจกัน การไม่พูดจาโกหกหลอกลวงกันไม่เสพของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันนี้เป็นฐานเบื้องต้นที่เราจะเอามาวินิจฉัยว่าอะไรถูกอะไรผิด

(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรม วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐)

ที่มา :: ธรรมะกับชีวิตประจำวัน : ไม่เห็นแก่ตัว
ธรรมะ - ตรรกกะแห่งชีวิต

กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านค่ะ tongue tongue tongue

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร