วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


ความเห็น


แก่นคำสอนของรินไซ


ก่อนจะทำความเข้าใจกับคำสอนของรินไซ ควรทำความเข้าใจธรรมลักษณะ
2 ประการก่อนคือ

ก. สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่ขึ้นอยู่
กับกฏไตรลักษณ์ และอยู่ในวัฏจักรของปฏิจจสมุปบาท มีลักษณะอันเป็นธรรมดา
คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ความเสื่อมปรากฏ ความแปรปรวนปรากฏ เป็นสิ่งที่มี
เหตุปัจจัยปรุงแต่ง ต้องเปลี่ยนแปลง ตั้งอยู่ไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ได้แก่ มนุษย์ สัตว์
วัตถุ สรรพสิ่งทั้งหลาย รวมทั้ง กายและจิตของมนุษย์ก็นับว่าเป็นสังขตธรรม


ข. อสังขตธรรม คือ ธรรมอันไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นธรรมที่ไม่ขึ้นอยู่กับ
กฏไตรลักษณ์และหลักปฏิจจสมุปบาท ไม่มีเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องปลาย
ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความเสื่อม ไม่มีความแปรปรวน เป็นธรรมที่ไม่เปลี่ยน
แปลงและคงอยู่ตลอดไป

รินไซ ได้สอนเกี่ยวกับธรรมลักษณะ 2 ประการนี้ ด้วยภาษาและวิธีการของท่าน
เอง ซึ่งสรุปแก่นคำสอนของท่านได้เป็น 2 ข้อคือ

1. จิตหนึ่ง จิตเดิมแท้ ธรรม พุทธะ
2. การตรัสรู้ การรู้แจ้ง การเข้าถึงธรรม

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
ภาพประกอบ เว่ยหลางฉีกคัมภีร์

๑. จิตหนึ่ง จิตเดิมแท้ ธรรม พุทธะ


1. รินไซได้กล่าวถึงสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นสังขตธรรมอย่างชัดเจนหลายตอนเช่น

" อย่าได้ถูกหลอกลวงอักต่อไป ทั้งข้างในและข้างนอกโลก ไม่มีสิ่งใดที่มีธรรมชาติ
ของตัวตน หรือธรรมชาติที่เป็นผลผลิตของอัตตา ทั้งหมดเป็นเพียงชื่อที่ว่างเปล่า
ตัวหนังสือทุก ๆ ตัวก็ว่างเปล่าด้วย "

" สรรพสิ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งในอาณาจักรของการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องกัน "

" อะไรคือสิ่งที่เจ้าแสวงหา ในอาณาจักรแห่งการพึ่งพิงอาศัยความเปลี่ยนแปลง "


" ทุกสิ่งโดยตัวมันเองล้วนว่างเปล่า "

" ในแง่วัตถุเจ้าถูกสร้างขึ้นด้วย ธาตุดิน น้ำ ไฟ และลม ในแง่จิตเจ้าถูกจำกัด
โดยสภาวะทั้ง 4 ที่ผสมผสานกันอยู่คือ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเปลี่ยนแปลง
และการดับไป "

" ทั้งหมดเป็นเพียงผลผลิตจากสาเหตุที่สัมพันธ์กัน "

" ปีศาจแห่งความเปลี่ยนแปลง บินไปในท้องฟ้าที่ว่างเปล่า ทำไมเจ้าต้องเหนื่อย
กับการพยายามที่จะจับมัน "

สิ่งที่ว่างเปล่า เปลี่ยนแปลง และต้องพึ่งสิ่งอื่น ที่รินไซพูดถึง ก็คือสังขตธรรม
นั่นเอง ซึ่งท่านได้บ่งชื่อไว้บ้าง เช่น กาย จิต โลกภายใน โลกภายนอก มนุษย์
สิ่งแวดล้อม พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ พระสังฆปรินายก คัมภีร์
ตัวอักษร คำพูด เป็นต้น

เราควรทำความเข้าใจคำว่า " ว่างเปล่า " ที่มักที่มักจะพบบ่อย ๆ ในพุทธปรัชญา
นิกายเซน การเรียกเช่นนี้เป็นการเรียกแบบง่าย ๆ หมายถึงคำว่า " อนัตตา " นั่นเอง
อย่าได้เข้าใจปะปนกับคำว่า " ว่างเปล่า " ของลัทธิสูญวาทหรืออุจเฉททิฐิ ที่ใช้
คำว่า " ว่างเปล่า " หมายถึงความว่างเปล่าอย่างสิ้นเชิง สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนไม่มี
อยู่จริง สัจจะไม่มี มายาไม่มี กรรมดีไม่มี กรรมชั่วไม่มี มันสูญเปล่าหมด ทัศนะ
เช่นนี้ มิใช่ความหมายของคำว่า " ว่างเปล่า " ในพุทธปรัชญา และในคำสอน
ของรินไซ ท่านได้แสดงความวิตกที่ศิษย์บางคนอาจจะเข้าใจผิดในเรื่องความ
ว่างเปล่า

อนัตตา คือ ความว่างเปล่าจากตัวตนที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็น วัตถุ กาย จิต
มันมีอยู่ แต่มีอยู่อย่างไม่เที่ยงแท้ คือต้องแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา สืบเนื่อง
กันไปอย่างไม่หยุดหย่อน ตามเหตุปัจจัยที่สั่งสมกันมา ดังนั้นตัวตนหรืออัตตา
ที่แท้จริงจึงไม่มี สัญลักษณ์ที่รินไซใช้แทนสังขตธรรมก็คือ คำว่า " เปลือกนอก "
และ " จีวร "


1.1 รินไซได้กล่าวถึงสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นสังขตธรรมอย่างชัดเจนหลายตอน

1.2 รินไซพูดถึงอสังขตธรรม ด้วยการเรียกชื่อว่า จิตหนึ่ง จิตเดิมแท้ พุทธะ ธรรม
แต่ก็เน้นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงชื่อที่ใช้เรียก " สิ่งนั้น " อีกที่หนึ่งมิใช่ความหมาย
ของมันโดยตรง ดังนั้นการเข้าใจธรรมนี้ในแง่กายภาพเป็นไปไม่ได้เลย จะต้อง
เข้าใจด้วยจิตโดยตรง แต่รินไซก็ได้พยายามอธิบายลักษณะของมันไว้หลายตอน เช่น


" พุทธะ เป็นแสงบริสุทธิ์ ปราศจากความแตกต่างแบ่งแยก ปราศจากความ
หลงผิดที่มีอยู่ในจิต "



" ธรรมแห่งจิตไม่มีรูปแบบ แผ่กระจายไปทั่วสิบทิศ "



" ธรรมคือกฏแห่งจิตเดิมแท้ซึ่งปราศจากรูปและแผ่กระจายอยู่ทุกหนทุกแห่ง
สามารถรับรู้ได้ มีอยู่ในตัวเอง "



" จิตหนึ่ง ยืนอยู่โดดเดี่ยวอย่างชัดแจ้ง และมีอยู่ต่อหน้าต่อตาของเจ้า จิตหนึ่ง
มิได้ถูกปิดบัง มิได้ถูกซ่อนเร้น จิตหนึ่งหยั่งทะลุไปทุกหนแห่งและเคลื่อนไหว
อย่างอิสระในไตรภูมิ ผ่านเข้าไปยังทุกสถานการณ์ แต่ไม่เคยถูกครอบงำโดย
สรรพสิ่งใด ๆ "



" จิตเดิมแท้เป็นนามธรรม ไม่มีรูป ไม่มีที่อยู่ "



" พุทธะ คือจิตใจในความบริสุทธิ์ของตัวเอง รัศมีของมันแทงทะลุตลอด
ระนาบของสรรพสิ่ง "



" พุทธธรรมมิได้เผยตัวเองออกมา หมายความว่า พุทธะมิได้เกิดแต่แรกเริ่ม
ธรรมจึงมิอาจถูกทำลายได้ตั้งแต่แรกเริ่ม "



" พุทธะ และธรรมมิได้เผยตัวเองให้ปรากฏ แต่ก็มิได้สูญหายไปใหน "



" พูดถึงมันราวกับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ปัญหาสิ้นไป "




อาจสรุปลักษณะของธรรมที่รินไซกล่าวถึงอย่างสั้น ๆ ได้ดังนี้


" เป็นนามธรรม ที่บริสุทธิ์ ปราศจากความแตกต่างแบ่งแยก ปราศจากความหลงผิด
ที่มีอยู่ในจิต และแผ่กระจายไปทุกหนแห่ง แต่จะกล่าวถึงสถานที่อยู่อย่างเจาะจง
ไม่ได้ เพราะธรรมนี้ไม่มีรูป ไม่มีที่อยู่เฉพาะ ธรรมนี้ไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลาย .....
ธรรมนี้ทำให้ปัญหาทั้งปวงสิ้นไป "


จะเห็นได้ว่า เป็นลักษณะของอสังขตธรรมนั่นเอง




การอธิบายความหมายถึงสิ่งนามธรรมเป็นเรื่องยาก ดังนั้นรินไซจึงพยามชี้ให้เห็น
ข้อจำกัดและข้อบกพร่องของ ภาษา คำพูด หรือ การอ่านคัมภีร์เพื่อเข้าใจธรรม
พยายามกระตุ้นให้ศิษย์เข้าใจธรรมด้วยใจตรง


สำหรับผู้ที่เข้าใจธรรมได้ด้วยจิตโดยตรง ปัญหาต่าง ๆ จะหมดสิ้นไป ดังที่รินไซ
ได้กล่าวว่า " พูดถึงมันราวกับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ปัญหาสิ้นไป " แต่สำหรับผู้ที่ยัง
ไม่สามารถเข้าใจธรรมนี้ก็คงจะต้องเกิดความสงสัยขึ้นไม่มากก็น้อย เช่น สงสัยว่า



" จิตเดิมแท้ กับจิตมนุษย์ เป็นจิคเดียวกันหรือไม่ "
" จิตเดิมแท้มีความสามารถ " รู้ " ตัวเองหรือไม่ "


ปัญหาทำนองนี้ พุทธปรัชญาไม่ให้ความสนใจ เพราะเห็นว่า ถึงแม้จะได้คำตอบ
ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร เพราะสำหรับผู้ที่รู้แจ้ง ภายในจิตปราศจากความ
ขัดแย้ง ไม่มีความสงสัยความอยากรู้ในสิ่งที่ไร้ค่าไม่มีหลงเหลือ ดังนั้นผู้ที่ปรารถนา
ความหลุดพ้น ปรารถนาเข้าใจธรรมตามแนวเซน ก็ไม่ควรให้ความสงสัยเกิดขึ้น
เพราะ ความสงสัยไม่อาจนำไปสู่ธรรมได้ เซนมีวิธีการของตัวเอง ดังจะกล่าว
ในตอนต่อไป




สำหรับข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า จิตเดิมแท้ ที่รินไซกล่าวถึง ไม่แตกต่างจากจิตอันผ่องใส
ที่กล่าวไว้ใน เอกนิบาต อังคุตรนิกาย ดังนี้


" ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา "


" ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส ก็แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา "
ดังคำกล่าวว่า " จิตธรรมดา ๆ นี่แหละ คือ มรรค " มรรคนั้นวิถีที่นำไปสู่จิตเดิมแท้หรือ
ธรรม ดังนั้นรินไซจึงกล่าวว่า " ไม่มีสิ่งใดภายนอกที่จะต้องแสวงหา "

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
ภาพประกอบ ท่านโพธิธรรม


การตรัสรู้ การรู้แจ้ง การเข้าถึงธรรม



การรู้แจ้งตามคำสอนของรินไซนั้นอาจสรุปได้ดังนี้



2.1 การตรัสรู้ ต้องเกิดจากตัวเอง มิได้เกิดจากการพึ่งพาคนอื่นหรือสิ่งอื่นมิได้เกิดจาก
ความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นที่สั่งสมกันมา เช่น การฝึกฝน การทำสมาธิ แต่เป็นการเกิดขึ้น
อย่างฉับพลัน ทันที เป็นการรู้แจ้งด้วยปัญญาแห่งจิตของตัวเองโดยตรง



" จงก้าวข้ามอาสนะสมาธิของผู้อื่น แล้วจงนั่งลงบนอาสนะสมาธิของตัวเอง "




2.2 การตรัสรู้ เกิดจากการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย และการทำจิตใจให้สงบ ในข้อแรก
คือการใช้แสงแห่งปัญญานั่นเอง ชีวิตที่เรียบง่าย คือชีวิตที่มีศีล และจิตใจที่สงบ
คือจิตใจที่มีสมาธิ รินไซเพียงแต่ปฏิเสธ รูปแบบภายนอกและชื่อเก่า ๆ ที่ยึดถือ
กันมา แต่แท้จริงรินไซเป็นผู้ที่มี ปัญญา ศีลและสมาธิ พร้อมมูล อย่าเข้าใจผิดว่า
ท่านไม่เห็นความสำคัญของศีลและสมาธิ จะเห็นได้จากคำสอนของท่านบางตอน
เช่น



" จงชำระจิตใจให้สะอาดหมดจด ไม่ยึดมั่นกับสิ่งใดทั้งในโลกภายนอกและ โลก
ภายในจะเกิดความเห็นอย่างชัดแจ้ง และปราศจากความสงสัย "



" เมื่อจิตทั้งหมดของคน ๆ หนึ่งมาถึงจุดสงบนิ่ง คน ๆ นั้นก็จะเป็นอิสระ ณ จุด
ที่เขายืนอยู่ "



" ถ้าไม่มีใครปล่อยให้ความคิดฟุ้งซ่านเกิดขึ้น เขาก็จะได้ปีนต้นโพธิ ( ตรัสรู้ ) ทันที "

" ถ้าเจ้าสามารถทำใจให้สงบรำงับ นี่คืออาณาจักรแห่งกายบริสุทธิ์ "



รินไซชี้ให้เห็นว่า จิตจะสงบได้ก็ด้วยการขจัดความคิดฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย
ในจิตใจให้หมดสิ้นไป และต้องมีศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม ท่านได้พูดถึงกองแห่งอกุศล
นั่นเอง ซึ่งเป็นตัวขัดขวางมิให้จิตผ่องแผ้ว ( นิวรณ์ 5 คือ ความพอใจในกาม ความ
คิดปองร้าย ความหดหู่ง่วงงุ่น ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความลังเลสงสัย )



2.3 การตรัสรู้ เกิดจากการขจัดความหลงผิด รินไซมองเห็นคต้นตอสำคัญซึ่งเป็น
อุปสรรคกีดกั้นมิให้เข้าถึงพุทธภาวะ นั่นคือ อวิชชา ความไม่รู้ ความหลงผิด เช่น
ไม่สามารถแยกแยะธรรมจากมายา แก่นแท้ออกจากเปลือก หรือหลงคิดว่าเปลือก
คือแก่นแท้ อวิชชาเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้วัฏจักรแห่งปฏิจจสมุปบาทหมุนเวียน
ต่อไปได้ ถ้ากำจัดอวิชชาให้หมดสิ้นไปได้ โซ่แห่งปฏิจจสมุปบาทก็จะถูกตัดขาด
สะบั้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องกีดกั้น เป็นกิเลสที่ดองสันดาน ทำให้จิตเศร้า
หมอง ( ได้แก่ อาสวะ 4 คือ กาม ภพ ทิฐิ อวิชชา ) ถ้าขจัดอาสวะเหล่านี้ไปได้
ความหลงผิดก็จะพลอยสูญสลายไปด้วย จิตก็จะพบกับความผ่องแผ้ว หลุดพ้น
จากพันธนาการ พบกับอิสระภาพที่แท้จริง



2.4 การตรัสรู้เกิดจากการทำลายความยึดมั่นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นความคิด
ที่เด่นมากของรินไซ เพราะคำสอนส่วนมากเน้นถึงการไม่ยึดมั่นในสรรพสิ่งทั้ง
หลาย รินไซสอนให้ทำลายความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ เพราะมันทำให้จิตวุ่น ลืม
จิตเดิมแท้ของตนเอง ความยึดมั่นต่าง ๆ ที่ต้องขจัดมีดังนี้



ก. ตัวบุคคล เช่น พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ พระสังฆปรินายก
รินไซกล่าวไว้ว่า " นักศึกษามรรคที่แท้จริง ย่อมไม่ยึดมั่นกับ พระพุทธเจ้า และ
พระโพธิสัตว์ หรือพระอรหันต์ ไม่ยึดมั่นทุกสิ่ง ... "



ข. พระโตรปิฏกและคัมภีร์ต่าง ๆ รินไซได้กล่าวถึงคัมภีร์ต่าง ๆ ไว้ว่า
" ทั้งหมดเป็นเพียงยาที่เหมาะกับการระงับความเจ็บปวดไข้ทางโลก เป็นเพียง
ทฤษฎีที่ไม่สมบูรณ์ความคิดหนึ่งเกิดขึ้นทันที อาตมาสละทิ้งคัมภีร์ทั้งหมด "


ค. คำพูด ความหมายจากถ้อยคำและตัวอักษร ท่านได้กล่าวไว้ว่า
" คำพูด ไม่สามารถเป็นองค์ประกอบของความเข้าใจได้ "
" เจ้าแสวงหาน้ำหวานอะไรในกระดูกแห้ง ๆ นั่น "
" อย่าวางใจแล้วยึดถือคำพูดที่อาตมากำลังพูด "



ง. ความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ความข้องเกี่ยวหรือต้องขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นหรือความไม่เป็น
อิสระ หรือ ภาวะที่ถูกพันธนาการ



รินไซได้ชี้ให้เห็นธรรมชาติหนึ่งของมนุษย์ คือต้องถูกพันธนาการด้วยสิ่งแวดล้อม
ต้องเกี่ยวข้องผูกพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ทำให้ตัวมนุษย์เองไร้อิสรภาพ ความสัมพันธ์
นั้นก็คือวัฏจักรแห่งปฏิจจสมุปบาทที่เกิดขึ้นในตัวมนุษย์ ตราบเท่าที่มนุษย์ ยังอยู่
ในวัฏฏะนี้ ก็ไม่มีทางที่จะพบกับอิสรภาพ นอกจากทำลายวัฏฏะนี้ได้ อิสรภาพ
และความหลุดพ้นก็จะเกิดขึ้นรินไซกล่าวไว้ว่า



" ถ้าเจ้าพบความสัมพันธ์ของเจ้ากับสรรพสิ่งต่าง ๆ จงฆ่าความสัมพันธ์ให้สิ้น
แล้วเจ้าจะเห็นอย่างชัดแจ้งเป็นครั้งแรก และถ้าเจ้าไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ อีก
ต่อไป ความหลุดพ้นและอิสรภาพก็จะเกิดขึ้น "


ความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ หมายรวมถึง การฝึกฝนตนเอง การปฏิบัติด้วยจริยาวัตร
อันเคร่งครัด ( ศีล ) และการฝึกสมาธิ ด้วยความยึดติดว่าเหล่านี้เป็นวิถีที่จะนำไปสู่
พุทธะหรือความหลุดพ้น รินไซเห็นว่านี่เป็นเพียงรูปแบบภายนอกมิใช่แก่นแท้
ท่านจึงกล่าว่า


" ทั้งหมดก่อให้เกิดกรรม "
" ทั้งหมดเป็นรูปแบบของการกระทำ "




จ. ความขัดแย้งในจิต ความแบ่งแยก การยึดธรรมเป็นคู่


การจัดธรรมเป็นคู่ เป็นเพียงการให้ชื่อแก่ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาทำให้เรา
มองเห็นสรรพสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน แต่ก็ไม่สามารถเข้าถึงธรรมที่แท้จริงได้
เพราะธรรมที่แท้จริงปราศจากภาวะขัดแย้ง ฉะนั้นการยึดมั่น ธรรมคู่ เช่น ความดี
ความชั่ว ความบริสุทธิ์ มลทิน เป็นต้น ไม่สามารถทำให้จิตเข้าถึงธรรมได้ รินไซ
กล่าวไว้ว่า



" ถ้าเจ้ารักชีวิตทางโลกุตระ และเกลียดชีวิตทางโลกียะ เจ้าจะต้องท่องเที่ยว
ต่อไป ลอยและจมในมหาสมุทรแห่งการเกิดและการตาย "



" อย่าทำให้ตนเองต้องเบื่อหน่าย ด้วยการสร้างความแบ่งแยก จงเป็นไปตาม
ธรรมชาติด้วยตัวมันเอง "


รินไซเห็นว่าผู้ปราศจากความขัดแย้งในใจ คือผู้ที่หลุดพ้นและมีอิสรภาพอย่างแท้จริง




ฉ. ธรรม แม้ในธรรมเองก็ไม่ควรยึดมั่น รินไซได้กล่าวไว้ว่า


" ไม่มีพุทธะที่จะต้องแสวงหา ไม่มีมรรคจะต้องปฏิบัติให้สำเร็จ ไม่มีธรรมที่จะต้อง
เข้าถึง " การพูดเช่นนี้เป็นวิธีที่จะทำลายความยึดมั่น ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรเลย


" พุทธะ ธรรม มรรค เป็นหนึ่งเดียว แต่เป็นเพียงชื่อที่ว่างเปล่า และไม่มีอยู่จริง "


" พุทธะมิได้มีเพื่อถูกเข้าถึง ตรียานและธรรมชาติทั้ง 5 เป็นคำสอนที่สมบูรณ์และ
ฉับพลัน เป็นเพียงแนวทาง ทั้งหมดเป็นเพียงความหมายที่เหมาะสมกับการรักษา
โรคชั่วคราว ไม่มีธรรมที่แท้จริง ทั้งหมดเป็นการแสดงของเปลือกนอก เสมือน
ตัวหนังสือที่เขียนไว้บนแผ่นไม้ เพื่อบอกหนทาง "


คำว่า " ธรรม " หรือ " พุทธะ " ก็เป็นเพียงชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งหนึ่ง จึงมิใช่ธรรม
ที่แท้จริง ถ้าจิตมัวแต่คิดอยากจะเข้าถึงธรรมอยู่ตลอดเวลา จิตก็ดิ้นรน ไม่สงบ


คำสอนของรินไซในข้อนี้อาจสรุปได้ด้วยธรรมกถาสั้น ๆ ว่า



" สพ.เพ ธม.มา นาล อภินิเวสาย "
" สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น "

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


วิธีการ เครื่องมือ และอุบาย ในการสอนของรินไซ




นอกจากการสอนแบบธรรมดาซึ่งเป็นการสอนด้วยการชี้แจงโดยตรง รินไซยังมี
วิธีการพิเศษเฉพาะตัว ที่มุ่งทำลายความจำกัดของภาษา และให้ศิษย์ใช้จิตเข้าใจ
ธรรมโดยตรง วิธีการของท่านมีดังนี้



1. การเปล่งเสียงกัตสุ
2. การตี การตบ
3. การเปรียบเทียบ
4. การใช้ภาษาพูดที่ขัดแย้ง
5. การใช้สัญลักษณ์



1. การเปล่งเสียงกัตสุ มีต้นกำเนิดมาจากท่าน บาโซ โดอิสุ ท่านได้เปล่งกัตสุ
กับศิษย์ชื่อ ฮยากุโย เอไก ซึ่งทำให้ฮยากุโยได้ยินเสียงนี้ก้องหูสนั่นหวั่นไหว
อยู่ถึง 3 วัน


กัตสุ ( Kutsu ) ในสำเนียงจีนออกเสียงว่า กวาตซึ ( Kwatz ) เป็นเสียงอุทานหรือ
เสียงตะคอก ที่ไม่มีความหมาย อาจารย์เซนผู้ยิ่งใหญ่ เช่น รินไซ มักใช้มันเสมอ
เสียงนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้ปลุกสำนึกแห่งจิตของศิษย์หรือคู่สนทนา เป็นการปลุก
ให้ตื่นจากความหลง เป็นการข่มอัตตาอย่างฉับพลัน ให้สลัดทิ้ง ความคิด ทิฐิ
และความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงที่มีอยู่ในขณะนั้นให้หมดสิ้น บางครั้งด้วยการใช้วิธี
นี้ศิษย์บางคนก็สามารถพบกับความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน


" รินไซได้กล่าวถึงคุณค่าของกัตสุไว้ ด้วยการใช้คำเปรียบเทียบดังนี้ "


" บางครั้งกัตสุเป็นเหมือนดาบวิเศษอันล้ำค่าของวัชรราชา
บางครั้งกัตสุเป็นเหมือนราชสีห์ผิวทองคำซึ่งหมอบอยู่ที่พื้น
บางครั้งกัตสุเป็นเหมือนเบ็ดตกปลาซึ่งเกี่ยวด้วยหญ้า เพื่อขจัดความมืด
บางครั้งกัตสุก็มิได้ใช้เป็นกัตสุ "


ก. ดาบวิเศษของวัชรราชา เป็นสัญลักษณ์ของปัญญา เป็นดาบที่คมกริบแข็งแกร่ง
และทนทาน ใช้สำหรับตัดโซ่แห่งความคิด และตัดวัฏจักรปฏิจจสมุปบาทให้ขาด
สะบั้น


ข. ราชสีห์ผิวทองคำ หมายถึง ความมีอำนาจ ความเข้มแข็ง แม้มันเพียง แม้มัน
เพียงหมอบอยู่อย่างสงบนิ่ง สัตว์ทั้งหลายอันได้แก่ อวิชชา ความลวง ความหลง
ก็มิอาจกล้ำกลายเข้ามา ข้อนี้จึงใช่สำหรับการไล่เพิดอวิชชา และความลวงต่าง ๆ
ให้หมดสิ้นไป


ค. เบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อด้วยหญ้า หมายถึง เครื่องทดสอบ " ปลา " ว่าปลาตัวใดมัน
หลงผิด ไม่ทันระวังตัว คิดว่าหญ้าเป็นเหยื่อ มันก็จะเข้ามางับเบ็ดนั้น แต่ถ้าปลา
บางตัวเห็นชัดว่าเหยื่อนั้นเป็นเพียงหญ้า มันก็จะไม่หลงมางับเหยื่อนั้น นี่คือการ
ทดสอบปัญญาของศิษย์ และการกระตุ้นให้ศิษย์ใช้ปัญญาขจัดความมืด คืออวิชชา
หรือความหลงผิด


ในข้อนี้ มีการเปรียบเทียบแตกต่างกันไปบ้าง ในฉบับภาษาอังกฤษ ในหนังสือ
ประสบการณ์เซน ( The Zen Experience ) ของ โทมัส ฮูฟเวอร์ ( Thomas Hoover )
เปรียบไว้ตรงกับฉบับของเอียมการ์ด ( Irmgrad ) แต่ในพจนานุกรมเซน ของ
เอิร์นเนสต์ วูด ( Zen Dictionary , Ernest Wood ) ได้เปรียบไว้ว่า


" เหมือนเสียงที่เกิดจากการผิวขลุ่ย หรือเสียงที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไผ่
และเหมือนไม้ที่ใช้สำหรับเคาะ "


แต่ก็อธิบายความหมายไว้ไกล้เคียงกัน คือใช้สำหรับทดสอบความเข้าใจของ
คู่สนทนาธรรมว่ามีความเข้าใจลึกซึ้งเพียงใด


ง. กัตสุมิได้ใช้เป็นดังกัตสุ หมายถึง กัตสุ ที่มิได้ใช้เป็นเครื่องมืออีกต่อไปแต่เป็น
การระเบิดโพล่งอกมาของพระพุทธะหรือความรู้แจ้ง เป็นการตื่นอย่างฉับพลัน
เป็นอุทานแห่งความปลื้มปิติในความรู้แจ้ง





2. การตี การตบ รินไซมักจะตีและตบศิษย์ และแม้แต่ใช้กับท่านโอบากุ ( ฮวงโป )
นี่มิใช่ความเจ้าอารมณ์ หรือความดุร้ายมักโกรธ ในกรณีที่ใช้กับศิษย์เป็นการปลุก
หรือกระตุ้นให้ศิษย์ทิ้งความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง ทิ้งความฟุ้งซ่านและความสงสัย
อันไม่สิ้นสุด เป็นการดึงจิตของศิษย์ที่ท่องไปไกลเพื่อแสวงหาธรรมให้กลับมายัง
ขอบเขตของตัวเอง ( เช่น โจสะ โย รู้แจ้งอย่างฉับพลัน เพราะถูกตบเพียงฉาดเดียว )



มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านรินไซได้ชกท่านโอบากุ ( ฮวงโป ) จนล้มลง ในกรณีนี้ไม่เหมือน
ในกรณีแรก ถ้ามองกันตามธรรมดา ศิษย์ชกอาจารย์ เป็นเรื่องที่ผิดมหันต์ เป็นการ
ลบหลู่อาจารย์ที่ต้องถูกลงโทษ แต่โอบากุ( ฮวงโป ) ก็มิได้แสดงความโกรธออกมา
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของท่านทั้งสองว่าอยู่เหนือกฏเกณฑ์ทางโลกหรือ
สังคม โอบากุ( ฮวงโป ) ทราบดีว่า รินไซจะเป็นผู้ที่สืบทอดประทีปแห่งฌานต่อ
จากท่าน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพียงการล้อเล่นของผู้รู้แจ้งทั้งสอง



รินไซได้กล่าวในตอนท้ายว่า



" การเผาศพเป็นพิธีกรรมที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ที่นี่ อาตมาฝังศพเป็น ๆ
ด้วยการชกเพียงหมัดเดียว "



นี่เป็นคำพูดที่ดูน่าเกรงขาม และทำให้คิดว่าผู้พูดเป็นคนหยิ่งผยอง แต่เปล่าเลย
รินไซเพียงต้องการประกาสว่า ตัวตนแบบเก่า ๆ ของท่าน ( คือตัวตนที่ต้องขึ้น
อยู่กับสิ่งต่าง ๆ เช่น กฏเกณฑ์ สังคม เหตุผล อารมณ์ ) ได้ตายและถูกฝัง
ไปแล้ว มีแต่ตัวตนที่แท้จริงเท่านั้นซึ่งกำลังยืนประกาศตัวเองอยู่ เป็นความตาย
ที่เกิดขึ้นก่อนสังขารจะแตกดับ ( ตัวตนที่แท้จริงหมายถึงจิตเดิมแท้ มิใช่อาตมัน )



3. การใช้คำเปรียบเทียบ เพื่อใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปใน
สมัยของมท่าน นำมาเปรียบเทียบถึงสิ่งนามธรรม เป็นการชักนำศิษย์ให้เข้าใกล้
ธรรมยิ่งขึ้น เช่น นายอำเภอหวังพูดว่า



" แม้ว่าผงทองคำจะมีค่ามาก แต่ถ้ามันอยู่ในดวงตา มันก็เหมือนหมอกควัน
หรือฝุ่นธุลีที่บดบังการเห็น "



หมายถึง การศึกษาพระคัมภีร์ การฝึกฝนตน ( ศีล ) การฝึกสมาธิ มีคุณ
ประโยชน์แต่ถ้าปฏิบัติด้วยความยึดมั่นและความหลง ก็จะกลายเป็นอุปสรรค
ขวางกั้นมิให้เข้าถึงพุทธะ


" อะไรคือวัวขาวในทุ่งโล่ง " หมายถึง จิตเดิมแท้ในจิตอันผ่องแผ้วของมนุษย์
" อาตมาเพียงสาดน้ำสกปรกมากมายที่ไม่ใช่ของดั้งเดิมทิ้งเสียเท่านั้น " หมายถึง
การขจัดอวิชชา ความหลงทั้งหลาย ของดั้งเดิมหมายถึงจิตเดิมแท้ และบางครั้ง
เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ตรงกับคำถาม เพื่อเป็นการตัดรอน ความยึดมั่นในการ
หาความหมายจากตัวอักษรหรือคำพูด



ซุยโอ ถามว่า " บอกให้อาตมาฟังซิ พูดให้กระจ่างหน่อย "
อาจารย์ตอบว่า " ลูกศรวิ่งฉิวลิ่วสู่ท้องฟ้าตะวันตก "




4. การใช้ภาษาที่ขัดแย้ง ประโยชน์โดยตรงก็คือ ก็ให้เกิดความฉงนใจอย่างฉับพลัน
และมองเห็นว่าคำพูดมีขอบเขตจำกัด ไม่สามารถทำให้เข้าใจธรรมได้ ทำให้หันมา
ใช้แสงแห่งปัญญาโดยตรง หรือใช้จิตเข้าใจธรรมโดยตรง ประโยชน์ทางอ้อมก็คือ
อาจมีความหมายที่แฝงอยู่เพื่อเป็นสื่อหรือเครื่องมือที่ก่อให้เกิดความเข้าใจได้ในระดับ
หนึ่ง ซึ่งข้อนี้อาจไม่ใช่ความประสงค์ของรินไซก็ได้ แต่เป็นความพยายามจะเข้าใจ
ของชนรุ่นหลังมากว่า



คำที่มักพูดให้ขัดกันเช่น ตนเองกับสิ่งแวดล้อม โลกภายในกับโลกภายนอก
จิตกับวัตถุ เป็นต้น ซาซากิ เห็นว่าวิธีนี้เป็นจุดสำคัญที่รินไซมักใช้สอนศิษย์
ของเขา เช่น พูดถึงมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม โดยย่อว่า



" บางครั้งอาตมาหนีจากมนุษย์ แต่ไม่หนีสิ่งแวดล้อม
บางครั้งอาตมาหนีจากสิ่งแวดล้อม แต่ไม่หนีมนุษย์
บางครั้งอาตมาหนีทั้ง สิ่งแวดล้อม และมนุษย์
บางครั้งอาตมาไม่หนีทั้งมนุษย์ และ สิ่งแวดล้อม "


ชาง ชุง หยวน ( Chang Chung Yuan ) ให้ความเห็นไว้ดังนี้

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 16:10
โพสต์: 190

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


ก. หนีจากมนุษย์ ไม่หนีสิ่งแวดล้อม หมายถึง การสลัดทิ้งหรือหนีจากการแปล
ความหมายทั้งหมด และมีประสบการณ์ต่อโลกภายนอกโดยปราศจากความสัมพันธ์
กับมัน เป็นวิธีการเข้าใจสิ่งแวดล้อมด้วยความเรียบง่าย ( เช่นเดียยกับลักษณะของ
ไฮกุ ใช้คำง่าย ๆ ตรงไปตรงมาหลีกเลี่ยงการแปลความหมาย )



ข. จอห์น วู ( John Wu ) ให้ความเห็นว่า คนทั่วไป ตามปกติย่อมมองเห็น
ภูเขาเป็นภูเขา เห็นแม่น้ำเป็นแม่น้ำ และจำเป็นต้องเตือนตัวเองว่า จิตมีส่วน
เกี่ยวข้องกับการรับรู้ต่อโลกภายนอก และปรากฏการต่าง ๆ โลกภายนอกและ
โลกภายในจึงเป็นหนึ่งเดียวกัน นี่คือความหายของหนีจากสิ่งแวดล้อม แต่ไม่
หนีจากมนุษย์



ผู้ที่มีความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน รู้ชัดถึงโลกภายใน เป็นผู้เริ่มเข้าสู่ขั้นที่ 1 ของ
ฌาน เมื่อเขาเริ่มเห็นว่า ภูเขาไม่เป็นภูเขา และแม่น้ำไม่เป็นแม่น้ำอีกต่อไป
นี่เป็นการพูดที่พบบ่อย ๆ ของฌาน ซึ่งหมายถึง การไม่ผูกติดกับภายนอก
ปลดปล่อยอัตตาของตนจากเครื่องพันธนาการ จากโลกภายนอกและนำไป
สู่การตรัสรู้



เดาเมาลิน ( Doumoulin ) อธิบายอย่างง่าย ๆ ว่า ในข้อ ก. มายาทำให้แยกจาก
โลกภายใน และข้อ ข. มายาทำให้แยกจากโลกภายนอก และเกาะติดอยู่กับ
ผัสสะและปัญญาภายใน โลกภายนอกเป็นผู้พ่ายแพ้



ค. ชาง ชุง หยวน ให้ความเห็นว่า หนีทั้งสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ หมายถึง
ผู้มีอิสรภาพจากการยึดมั่นทั้งในโลกภายในและโลกภายนอก การเปล่งกัตสุ
อันลือลั่นของรินไซก็ใช้ในกรณีนี้ ไม่มีสิ่งใดจะต้องเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นโลก
ภายในหรือโลกภายนอก



ง.ไม่หนีทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาวะของโลกภายในและโลก
ภายนอกที่ถึงจุดหนึ่งที่สงบนิ่ง เป็นจุดที่ปัญญาใด ๆ ไม่สามารถเข้าใจได้ กลับ
กลายเป็นโลกธรรมดา ๆ ตามเดิม



เดาเมาลิน กล่าวถึงการเข้าถึงความจริงนี้ว่า



" ก่อนศึกษาเซน เห็นภูเขาเป็นภูเขา เห็นแม่น้ำเป็นแม่น้ำ
ขณะศึกษาเซน เห็นภูเขาไม่ใช่ภูเขา เห็นแม่น้ำไม่ใช่แม่น้ำ
แต่เมื่อรู้แจ้งแล้ว ก็กลับมาเห็นภูเขาเป็นภูเขา เห็นแม่น้ำเป็นแม่น้ำอีกครั้งหนึ่ง


การเผชิญหน้ากับโลกภายในและโลกภายนอก ถูกเลิกล้มไปสิ้น เข้าสู่โลก
ที่ไร้ชื่ออย่างแท้จริง "




5. การใช้สัญลักษณ์ เช่นเดียวกับคำเปรียบเทียบ สัญลักษณ์ที่รินไซใช้ เป็นที่ทราบ
กันดีในสมัยของท่าน สัญลักษณ์ที่อาจารย์เซนทั้งหลายรวมทั้งท่านรินไซชอบใช้ เช่น
เจ้าบ้านและอาคันตุกะ ส่วนสัญลักษณ์ที่รินไซใช้เฉพาะตัวเช่น จีวร โลงศพ จอบ
หัวขโมย เป็นต้น



ตามทัศนะของ จอห์นวู จอบเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องมือที่ใช้ สำหรับชี้ไปสู่สัจธรรม
คือ จิตเดิมแท้ โอบากุ ( ฮวงโป ) ชูจอบของตนขึ้น หมายถึง โอบากุแสดงจิตเดิมแท้
ของตน รินไซแย่งจอบมาถือไว้ เป็นการบอกว่าท่านก็มีจิตเดิมแท้เหมือนกัน นี่เป็นการ
แสดงพฤติกรรมอันลึกซึ้งของโอบากุที่ตัดสินใจส่งมอบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ
ทั้งหมดมาให้แก่รินไซ เป็นการประกาศว่า รินไซ คือผู้สืบทอดธรรมแห่งนิกายฌาน
ต่อจากท่าน



และถ้ามองอย่างธรรมดาที่สุด จอบ ก็คือจอบธรรมดาที่ใช้สำหรับการทำงาน ขุดดิน
ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ รินไซจงใจแย่งจอบจากโอบากุ ก็เพื่อจะได้ใช้ทำหน้าที่ของตน
ให้สมบูรณ์ต่อไป



ที่ค่ายทหาร รินไซใช้กำปั้นทุบที่เสาไม้ต้นหนึ่งและกล่าวว่า


" เจ้าจะพูดอะไรอกไป เสานี้ก็ยังเป็นเสาไม้ต้นหนึ่ง "





รินไซ ชี้ให้เห็นความไร้สาระของคำพูดและอธิบายความหมาย เพราะอย่างไร
ก็ตามความจริงหรือ ธรรม ก็มิใช่สิ่งเดียวกับคำพูดหรือความหมายที่กล่าวออกมา
เสาไม้จึงเป็นสัญลักษณ์ของธรรมซึ่งมีอยู่แต่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูดโดยตรง


รินไซใช้คำว่า


ก. อาคันตุกะเห็นเจ้าบ้าน
ข. เจ้าบ้านเห็นอาคันตุกะ
ค. เจ้าบ้านเห็นเจ้าบ้าน
ง. อาคันตุกะเห็นอาคันตุกะ



อาคันตุกะ เป็นสัญลักษณ์ อวิชชา อัตตา มายา ความไม่รู้ ความยึดติดในอารมณ์
เหตุผล ความหลง หรือความไม่รู้แจ้ง



เจ้าบ้าน เป็นสัญลักษณ์ของ จิตเดิมแท้ หรือ ความรู้แจ้ง


ชาง ชุง หยวน ได้ให้ความเห็นสั้น ๆ ว่า



ก. อัตตา พบกับ จิตเดิมแท้ หรือ อาจารย์ผู้รู้แจ้ง พบกับ ศิษย์ไม่รู้แจ้ง
ข. จิตเดิมแท้ พบกับ อัตตา หรือ ศิษย์ผู้รู้แจ้ง พบกับ อาจารย์ผู้ไม่รู้แจ้ง
ค. จิตเดิมแท้ พบกับ จิตเดิมแท้ หรือ อาจารย์ผู้รู้แจ้ง พบกับ ศิษย์ผู้รู้แจ้ง
ง. อัตตา พบกับ อัตตา หรือ ศิษย์ผู้ไม่รู้แจ้ง พบกับ ศิษย์ผู้ไม่รู้แจ้ง



และในข้อนี้ ได้ใช้ ขื่อสวมคอและโซ่ตรวน เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึง
เครื่องพันธนาการ เช่นความยึดมั่น หลงผิด ที่ได้ผูกผัดผู้ที่ไม่รู้แจ้งอยู่



อาจารย์ถามฟูเกะว่าเป็นคนทึ่มหรือคนฉลาด ฟูเกะให้รินไซถามตัวเอง รินไซ
จึงบอกว่า ฟูเกะเป็นขโมย ฟูเกะจึงร้องว่า " หัวขโมย ๆ " ไปตลอดทาง


ฟูเกะมักจะล้อเล่นกับรินไซ ในกรณีนี้ แสดงความคิดที่ลึกซึ้ง เกี่ยวกับเรื่อง
ความเห็นหรือทัศนะที่เรามองคนอื่น ซึ่งทัศนะต่าง ๆ ก็ย่อมเป็นเพียงทัศนะ
หรือความเห็นของแต่ละบุคคล ฟูเกะ ตัวจริงก็ยังคงเป็นฟูเกะ มิใช่ฟูเกะใน
สายตาของคนอื่นที่มองอย่างจำกัด ด้วยการแบ่งแยก หรือเปรียบเทียบ เช่น ดี
ชั่ว ทึ่ม ฉลาด ฟูเกะไม่ตกเป็นเหยื่อของการแบ่งแยกเช่นนี้จึงกลับย้อนถาม
รินไซ และรินไซก็ไม่ตกเป็นเหยื่อของความแบ่งแยกนี้เช่นเดียวกัน มีแต่ความ
เข้าใจในสหายจึงล้อฟูเกะว่าเป็นขโมย ซึ่งน่าจะเป็นสัญลักษณ์ ของผู้รู้เท่าทัน
อวิชชาความลวงต่าง ๆ เช่น การแบ่งแยก ประดุจหัวขโมยชั้นเยี่ยมที่สามารถ
พบและช่วงชิงสมบัติล้ำค่า ( จิตเดิมแท้ ) ที่ถูกซ่อนเร้นไว้อย่างมิชิดโดยอวิชชา
มาได้



รินไซ เป็นผู้สืบทอดพุทธธรรมเมื่อกาลล่วงเลยจากสมัยพุทธกาลมาถึง 1,400
ปี ท่านก็เป็นผู้หนึ่งที่เพียรพยายามเผยแพร่พุทธธรรมในสมัยของท่าน แม้ในยุคนั้น
จะมีอุปสรรคมากมายท่านก็ไม่เคยท้อถอย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ พุทธศาสนา นิกาย
เซน สาขา รินไซ ก็ยังคงอยู่



แม้ว่าพวกเรา อยู่ต่างเวลา ต่างสิ่งแวดล้อม ต่างนิกาย ก็มิได้เป็นอุปสรรค
ขวางกั้นต่อความเข้าใจในธรรม ซึ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างไปจากเดิม



ท่ามกลางความวุ่นวายร้อนรนของโลกและสังคมมนุษย์ พุทธธรรมก็ยังคง
ฉายแสงเจิดจ้าเป็นแสงแห่งความร่มเย็นเป็นศานติสุข ให้ผู้ศรัทธาได้พักพิง
ตลอดไป ...



จาก ทอดตามองสายน้ำ บันทึกคำสอนเรื่องเซน ของ ของ รินไซ ( ลินชิ )
ศิษย์โอบากุ ( ฮวงโป ) โดย จงชัย เจนหัตถการกิจ

http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=5178

.....................................................
สิ่งหนึ่งแตกออกเป็นหลายสิ่ง หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
สุดท้ายไม่มีอะไรเลยสักสิ่ง จงทำความดีในความรู้สึกที่ว่า
ไม่ควรได้อะไรจากสิ่งที่ทำเถิด

http://www.tairomdham.net/

http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

http://www.buddhayan.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร