วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 15:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 12:21
โพสต์: 637

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




lotus.jpg
lotus.jpg [ 37.14 KiB | เปิดดู 1448 ครั้ง ]
ในชีวิตของคนคนหนึ่ง มีหน้าที่การงานที่ต้องทำอยู่เสมอ หน้าที่ของนักเรียนต้องเรียนหนังสือ ชาวนาต้องทำนา เป็นต้น ปราชญ์ชาวพุทธ ที่สำคัญ ท่านหนึ่ง คือ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้สอนว่า ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะ ท่านได้บอกว่า การทำหน้าที่อย่างถูกต้องเป็นการปฏิบัติธรรมะ คำสอนสั้นๆของท่านมีดังนี้

“ หน้าที่คือธรรมะ ท่านทั้งหลายทุกคนทำหน้าที่ทุกอย่าง ตามหน้าที่ของตนๆ กันอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ไม่เคยสำนึกเลยว่า หน้าที่นั่นแหละคือธรรมะ มันก็เลยไม่บูชาหน้าที่ ไม่ชื่นใจในการทำหน้าที่ มันก็กลายเป็นทนทำหน้าที่ มันก็ตกนรกทุกอิริยาบถ ” พุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาส ยังได้ขยายความว่า การทำหน้าที่ต่าง โดยไม่ยึดมั่นว่า มีตัวเราของเรา ยิ่งเป็นการปฏิบัติธรรมชั้นสูง เช่น เป็นภารโรง กวาดพื้นอยู่ โดยไม่คิดว่า มีตัวเราของเรา คิดแต่จะกวาดให้สะอาดตามหน้าที่ ตอนนั้นเป็นการปฏิบัติธรรม

คำสอนของท่านพุทธทาส ได้มาจากการสรุปประมวลแก่นแท้ทางพระพุทธศาสนา ถ้าเราไปค้น อาจจะพบว่า หน้าที่คือธรรมะ ไม่เห็นเคยพบเห็นตรงๆ ที่ไหน แต่ความจริงแล้ว เป็นธรรมะจริงๆ ยังประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่าง ที่เราเรียกว่า การทำงานชอบ หรือ ความหมาย คือ การทำงานอย่างถูกต้อง

การทำงานอย่างถูกต้อง เป็นการปฎิบัติธรรมที่แท้จริง พระพุทธองค์ทรงสอนความจริงสี่ประการ ประการแรก คือ โลกนี้มีความทุกข์เสมอ และทุกคนต้องประสบ นี้คือ ทุกข์ ประการที่สอง ทรงสอนว่า สาเหตุของทุกข์ นั้นมีอยู่จริง เรียกว่า สมุทัย ประการที่สาม ภาวะแห่งความพ้นทุกข์ ก็มีได้จริง เรียกว่า นิโรธ และประการที่สี่ คือสุดท้าย วิธีการพ้นทุกข์ ก็มีจริง วิธีนี้เรียกว่า มรรค คือหนทางแปดประการนั่นเอง 1

เมื่อเราปฏิบัติ ในมรรค เรียกว่า เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างสูง และก้าวเดินไปสู่การพ้นทุกข์
การงาน ที่ถูกต้อง จะอยู่ในหัวข้อ มรรค หลายประการ การงานที่ถูกต้อง จึงเป็นการปฏิบัติธรรมชั้นสูงไปในตัวเช่นกัน และเมื่อประกอบไปด้วย องค์มรรคอื่นๆ ก็นำไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง

หน้าที่การงาน ในชีวิต ของเราซึ่งเป็นผู้ครองเรือนทั่วไป ต้องอยู่ในหัวข้อของมรรค อยู่อย่างน้อย สามประการคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ถ้าเรามีสามอย่างนี้ในการงานของเรา นี้เป็นการงานที่ถูกต้อง มีแต่ความเจริญทั้งทางโลก และทางธรรม

สัมมาวาจา คืออย่างไร สัมมาวาจา แปลว่า เจรจาชอบ คือ การเจรจา หรือพูดจาอย่างถูกต้อง ได้แก่ การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ1

สัมมากัมมันะตะ คืออย่างไร สัมมากัมมันตะ แปลว่า การกระทำชอบได้แก่ การงดเว้นจากการล้างผลาญชีวิต งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม1

สัมมาอาชีวะ คืออย่างไร สัมมาอาชีวะ แปลว่า การเลี้ยงชีพชอบ คือ เว้นขาดจากการ โกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด และการโกงด้วยการรับสินบน การหลอกลวงและตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและกรรโชก 1,2

ยังมีคำสอนอีกว่า อุบาสก คือ ผู้ที่ถือว่าตนมีพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ไม่ควร ทำการค้าขายห้าประการคือ ค้าขายศาตรา ค้าขายสัตว์ ค้าขายเนื้อสัตว์ ค้าขายน้ำเมา ค้าขายยาพิษ3

เมื่อเราทำการงาน ที่ประกอบด้วยลักษณะอย่างนี้ ไม่หลอกลวงใคร ไม่มีเล่ห์กล ฉ้อฉล พูดความจริง และ เนื้อหาในงาน ไม่มีข้อผิด ข้อห้าม ข้อไม่ควรทำ ถ้าเป็นเช่นนี้ นี้คือ การงานที่ถูกต้อง ให้ภูมิใจได้เลยว่า นี้เป็นงานที่พึงกระทำ อยู่ในร่องรอยที่แท้จริง ของการปฏิบัติธรรม มีแต่ความก้าวหน้า นับเป็นบุญ และเป็นโชค อันประเสริฐ ที่เราได้มีการงานเช่นนี้กระทำ

ถ้าเรายังมีการงานที่ไม่ถูกต้อง ก็จะนำมาซึ่งความทุกข์ บาป เคราะห์กรรม เป็นอันมาก ถ้ามีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยที่แท้จริง ก็ควรเลี่ยง ควรเปลี่ยน ไม่ทำงาน เช่นนั้น ถ้าเราไม่สามารถทำได้ ควรทราบได้เลยว่า เป็น คราวเคราะห์ ของเราแล้ว ที่ต้องทำงานเช่นนี้ เป็นหายนะ ของชีวิตในชาตินี้ของเรา จะนำมาซึ่งบาปเคราะห์กรรม อันมากมายทั้งในชาตินี้และ ภพชาติต่อๆไป นั่นเอง ดังเช่น หลอกลวง พูดเท็จ ก็เป็นมิจฉาวาจา มีพระพุทธพนจ์ตรัสสอนไว้ชัดเจนดังนี้

“ ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวาจาเห็นปานใด เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก... ” 4

สุดท้าย หวังว่า บทความนี้ จะยังประโยชน์ให้แก่ทุกท่าน ขอให้มีการงานที่ถูกต้อง ทำงานอย่างเป็นสุข เจริญทั้งทางโลก และทางธรรมนะครับ

เอกสารอ้างอิง
1. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ๔/๑๔
2. ลักขณสูตร ๑๑/๑๗๐
3. วณิชชสูตร ๒๒/๑๗๗
4. ทุศีลยสูตร ๑๙/๑๕๕๖
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร