วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 19:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเจดีย์ : ก็ความยินดีในกาม 5 พระอนาคามีละได้แล้วไม่ใช่หรือ ทำไมจึงมาเกี่ยวกับสังโยชน์เบื้องบนอีกเล่า?

พระอาจารย์มั่น :กามมี 2 ชั้น ไม่ใช่ชั้นเดียว ที่พระอนาคามีละได้นั้น เป็นส่วนกำหนัดในเมถุน ซึ่งเป็นคู่กับพยาบาท ส่วนความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับเมถุน จึงเป็นสังโยชน์เบื้องบน คือรูปราคะ ส่วนความยินดีในนามขันธ์ทั้ง 4 หรือสมถวิปัสสนาหรือมรรคผลชั้นต้นๆเหล่านี้ ชื่อว่าอรูปราคะ ซึ่งตรงกับความยินดีในธัมมารมณ์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ทั้งหลายเบื่อหน่ายในรูปขันธ์ หรือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ เป็นภายนอก จึงได้สิ้นไปแห่งรูปราคะสังโยชน์ และท่านเบื่อในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และสมถหรือวิปัสสนาะที่อาศัยขันธ์ เกิดขึ้นเมื่อท่านสิ้นความยินดีในนามขันธ์แล้ว แม้ธรรมทั้งหลายอาศัยขันธ์เกิดขึ้นท่านก็ไม่ยินดี ได้ชื่อว่าละความยินดีในธัมมารมณ์ซึ่งคู่กับความยินร้าย เพราะความยินดียินร้ายในนามรูปหมดแล้ว ท่านจึงเป็นผู้พ้นแล้วจากความยินดียินร้ายในอารมณ์ 6 จึงถึงพร้อมด้วยคุณ คือ ฉะลังคุเบกขา

พระธรรมเจดีย์ : แปลกมากยังไม่เคยได้ยินใครอธิบายอย่างนี้ ส่วนมานะสังโยชน์นั้น มีอาการอย่างไร?

พระอาจารย์มั่น : มานะสังโยชน์นั้นมีอาการให้วัด เช่นกับนึกถึงตัวของตัว ก็รู้สึกว่าเป็นเรา ส่วนคนอื่นก็เห็นว่าเป็นเขา แลเห็นว่าเราเสมอกับเขา หรือเราสูงกว่าเขา หรือเราต่ำกว่าเขา อาการที่วัดชนิดนี้แหละเป็นมานะสังโยชน์ ซึ่งเป็นคู่ปรับกับอนัตตา หรือ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา

พระธรรมเจดีย์ : ก็อุทธัจจสังโยชน์นั้นมีลักษณะอย่างไร เช่น พระอนาคามีละสังโยชน์เบื้องต่ำได้หมดแล้ว ส่วนอุทธัจจสังโยชน์จะฟุ้งไปทางไหน?

พระอาจารย์มั่น : ตามแบบท่านอธิบายไว้ว่า ฟุ้งไปในธรรม เพราะท่านยังไม่เสร็จกิจจึงได้ฝักใฝ่อยู่ในธรรม

พระธรรมเจดีย์ :อวิชชาสังโยชน์นั้นไม่รู้อะไร?

พระอาจารย์มั่น : ตามแบบท่านอธิบายไว้ว่า ไม่รู้ขันธ์ที่เป็นอดีต 1 อนาคต 1 ปัจจุบัน 1 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปาท 1 ความไม่รู้ในที่ 8 อย่างนี้แหละชื่อว่าอวิชชา

พระธรรมเจดีย์ : พระเสขบุคคลท่านก็รู้อริยสัจ 4 ด้วยกันทั้งนั้น ทำไมอวิชชาสังโยชน์จึงยังอยู่?

พระอาจารย์มั่น : อวิชชามีหลายชั้น เพราะฉะนั้นวิชชาก็หลายชั้น ส่วนพระเสขบุคคล มรรคแลผลชั้นใดที่ท่านได้บรรลุแล้ว ท่านก็รู้เป็นวิชชาขึ้น ชั้นใดยังไม่รู้ ก็ยังเป็นอวิชชาอยู่ เพราะฉะนั้นจึงหมดในขั้นที่สุด คือพระอรหันต์

พระธรรมเจดีย์ : พระเสขบุคคลท่านเห็นอริยสัจ แต่ละตัณหาไม่ได้ มิไม่ได้ทำกิจในอริยสัจหรือ?

พระอาจารย์มั่น : ท่านก็ทำทุกชั้นนั้นแหละ แต่ก็ทำตามกำลัง

พระธรรมเจดีย์ : ที่ว่าทำตามชั้นนั้นทำอย่างไร?

พระอาจารย์มั่น : เช่น พระโสดาบันได้เห็นปัญจขันธ์เกิดขึ้นดับไป ก็ชื่อว่าได้กำหนดรู้ทุกข์ และได้ละสังโยชน์ 3 หรือทุจริตส่วนหยาบๆ ก็เป็นอันละสมุทัย ความที่สังโยชน์ 3 สิ้นไปเป็นส่วนนิโรธตามชั้นของท่าน ส่วนมรรคท่านก็ได้เจริญมีกำลังพอละสังโยชน์ 3 ได้ แลท่านปิดอบายได้ ชื่อว่าท่านทำภพคือทุคติให้หมดไปที่ตามแบบเรียกว่า ขีณนิรโย มีนรกสิ้นแล้วส่วนพระสกิทาคามี ก็ได้กำหนดทุกข์ คือ ปัญจขันธ์แล้วละกามราคะ พยาบาทอย่างกลาง ได้ชื่อว่าละสมุทัยข้อที่ กามราคะ พยาบาท อย่างกลางหมดไป จึงเป็นนิโรธของท่าน ส่วนมรรคนั้นก็เจริญมาได้เพียงละกามราคะพยาบาทอย่างกลางนี่แหละ จึงได้ทำภพชาติให้น้อยลง ส่วนพระอนาคามีทุกข์ได้กำหนดแล้ว ละกามราคะพยาบาทส่วนละเอียดหมด ได้ชื่อว่าละสมุทัยกามราคะพยาบาทอย่างละเอียดนี่หมดไปจึงเป็นนิโรธของท่าน ส่วนมรรคนั้นก็เจริญมาเพียงละสังโยชน์ 5 ได้หมด แลได้สิ้นภพ คือ กามธาตุ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเจดีย์ : ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นโลกีย์กับโลกุตตรนั้น ต่างกันอย่างไร?

พระอาจารย์มั่น : ศีล สมาธิ ปัญญา ของผู้ปฏิบัติในภูมิกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร นี่แหละเป็นโลกีย์ที่เรียกว่าวัฏฏคามีกุศล เป็นกุศลที่วนอยู่ในโลก ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา ของท่านผู้ปฏิบัติตั้งแต่โสดาบันแล้วไป เรียกว่าวิวัฎฎคามีกุศล เป็นเครื่องข้ามขึ้นจากโลก นี่แหละเป็นโลกุตตร

พระธรรมเจดีย์ : ท่านที่บรรลุฌาณถึงอรูปสมาบัติแล้ว ก็ยังเป็นโลกีย์อยู่ ถ้าเช่นนั้นเราจะปฏิบัติให้เป็นโลกุตตรก็เห็นจะเหลือวิสัย?

พระอาจารย์มั่น : ไม่เหลือวิสัย พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงแสดงธรรมสั่งสอน ถ้าเหลือวิสัยพระองค์ก็คงไม่ทรงแสดง

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเราไม่ได้บรรลุฌาณชั้นสูงๆจะเจริญปัญญาเพื่อให้ถึงซึ่งมรรคแลผลจะได้ไหม?

พระอาจารย์มั่น : ได้เพราะวิธีที่เจริญปัญญาก็ต้องอาศัยสมาธิจริงอยู่ แต่ไม่ต้องถามถึงกับฌาณ อาศัยสงบจิตที่พ้นนิวรณ์ ก็พอเป็นบาทของวิปัสสนาได้

พระธรรมเจดีย์ : ความสงัดจากกามจากอกุศลของผู้ที่บรรลุฌาณโลกีย์ กับความสงัดจากกาม จากอกุศลของพระอนาคามีต่างกันอย่างไร?

พระอาจารย์มั่น : ต่างกันมาก ตรงกันข้ามทีเดียว

พระธรรมเจดีย์ : ทำไจึงได้ต่างกันถึงกับตรงกันข้ามทีเดียว

พระอาจารย์มั่น : ฌาณที่เป็นโลกีย์ ต้องอาศัยความเพียร มีสติคอยระวังละอกุศล และความเจริญกุศลให้เกิดขึ้น มีฌาณเป็นต้น และยังต้องทำกิจที่คอยรักษาฌาณนั้นไว้ไม่ให้เสื่อม ถึงแม้ว่าจะเป็นอรูปฌาณที่ว่าไม่เสื่อมในชาตินี้ ชาติหน้าต่อๆไปก็อาจจะเสื่อมได้ เพราะเป็นกุปปธรรม

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้น ส่วนความสงัดจากกามจากอกุศลของพระอนาคามีท่านไม่มีเวลาเสื่อมหรือ?

พระอาจารย์มั่น : พระอนาคามี ท่านละกามราคะสังโยชน์กับปฏิคะสังโยชน์ได้ขาด เพราะฉะนั้นความสงัดจากการจากอกุศลของท่านเป็นอัธยาศัย ที่เป็นเองอยู่เสมอโดยไม่ต้องอาศัยความเพียรเหมือนอย่างฌาณที่เป็นโลกีย์ ส่วนวิจิกิจฉาสังโยชน์นั้นหมดมาตั้งแต่เป็นโสดาบันแล้ว เพราะฉะนั้นอุทธัจจนิวรณ์ที่ฟุ้งไปหากามและพยาบาทก็ไม่มี ถึงถีนะมิทธนิวรณ์ก็ไม่มี เพราะเหตุนั้นความสงัดจากกามจากอกุศลของท่านจึงไม่เสื่อม เพราะเป็นเองไม่ใช่ทำเอาเหมือนอย่างฌาณโลกีย์

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นผู้ที่ได้บรรลุพระอนาคามี ความสงัดจากกามจากอกุศล ที่เป็นเองมิไม่มีหรือ?

พระอาจารย์มั่น : ถ้านึกถึงพระสกิทาคามี ที่ว่าทำสังโยชน์ทั้งสองให้น้อยเบาบาง น่าจะมีความสงัดจากการจากอกุศลที่เป็นเองอยู่บ้าง แต่ก็คงจะอ่อน

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเจดีย์ : ที่ว่าพระอนาคามีม่านเป็นสมาธิบริปูริการี บริบูรณ์ด้วยสมาธิ เห็นจะเป็นอย่างนี้เอง?

พระอาจารย์มั่น : ไม่ใช่เป็นสมาธิ เพราะว่าสมาธินั้นเป็นมรรคต้องอาศัยเจตนา เป็นส่วนภาเวตัพพธรรมส่วนของพระอนาคามีท่านเป็นเอง ไม่มีเจตนาเป็นสัจฉิกาตัพพธรรม เพราะฉะนั้นจึงได้ต่างกันกับฌาณที่เป็นโลกีย์

พระธรรมเจดีย์ : นิวรณ์แลสังโยชน์นั้น ข้าพเจ้าทำไมจึงไม่รู้จักอาการ คงรู้จักแต่ชื่อของนิวรณ์แลสังโยชน์?

พระอาจารย์มั่น : ตามแบบในมหาสติปัฏฐานพระพุทธเจ้าสอนสาวก ให้รู้จักนิวรณ์แลสังโยชน์พระสาวกของท่านตั้งใจกำหนดสังเกต ก็ละนิวรณ์แลสังโยชน์ได้หมดจนเป็นพระอรหันต์โดยมาก ส่วนท่านที่อินทรีย์อ่อน ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็เป็นพระเสขบุคคล ส่วนเราไม่ตั้งใจไม่สังเกตเป็นแต่จำว่านิวรณ์หรือสังโยชน์ แล้วก็ตั้งกองพูดแลคิดไปจึงไม่พบตัวจริงของนิวรณ์และสังโยชน์ เมื่ออาการของนิวรณ์แลสังโยชน์อย่างไรก็ไม่รู้จัก แล้วจะละอย่างไรได้

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นผู้ปฏิบัติทุกวันนี้ ที่รู้จักลักษณะแลอาการของนิวรณ์แลสังโยชน์จะมีบ้างไหม?

พระอาจารย์มั่น : มีถมไปชนิดที่เป็นสาวกตั้งใจรับคำสอนแลประพฤติปฏิบัติจริงๆ

พระธรรมเจดีย์ : นิวรณ์ 5 เวลาที่เกิดขึ้นในใจมีลักษณะอย่างไร จึงจะทราบได้ว่าอย่างนี้ คือ กามฉันท์ อย่างนี้คือพยาบาท หรือถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกุจจะ วิจิกิจฉา และมีชื่อเสียงเหมือนกับสังโยชน์ จะต่างกันกับสังโยชน์หรือว่าเหมือนกัน ขอท่านจงอธิบายลักษณะของนิวรณ์แลสังโยชน์ให้ข้าพเจ้าเข้าใจจะได้สังเกตถูก?

พระอาจารย์มั่น : กามฉันทนิวรณ์ คือ ความพอใจในกาม ส่วนกามนั้นแยกเป็นสอง คือ กิเลสกามหนึ่ง วัตถุกามอย่างหนึ่ง เช่น ความกำหนัดในเมถุนเป็นต้น ชื่อว่ากิเลสกาม ความกำหนัดในทรัพย์สมบัติเงินทองที่บ้านนาสวน และเครื่องใช้สอยหรือบุตรภรรยาพวกพ้อง และสัตว์เลี้ยงของเลี้ยงที่เรียกว่าวิญญาณกทรัพย์ อวิญญานกทรัพย์ เหล่านี้ ชื่อว่าวัตถุกาม ความคิดกำหนัดพอใจในส่วนทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่ากามฉันท์นิวรณ์ ส่วนพยาบาทนิวรณ์คือ ความโกรธเคือง หรือคิดแช่งสัตว์ให้พินาศ ชื่อว่าพยาบาทนิวรณ์ ความง่วงเหงาหาวนอน ชื่อว่า ถีนะมิทธนิวรณ์ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ชื่อว่า อุธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ความสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แลสงสัยในกรรมที่สัตว์ทำเป็น เป็นบาป หรือสงสัยในผลกรรมเหล่านี้ เป็นต้น ชื่อว่าวิจิกิจฉารวม 5 อย่างนี้ ชื่อว่านิวรณ์ เป็นเครื่องกั้นกางหนทางดี

พระธรรมเจีดีย์ : กามฉันทนิวรณ์ อธิบายเกี่ยวไปตลอดกระทั่งวิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณกทรัพย์ ว่าเป็นวัตถุกาม ถ้าเช่นนั้นผู้ที่ยังครองเรือน ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สมบัติอัฐฬสเงินทองพวก
พ้อง ญาติมิตร ก็จำเป็นจะต้องนึกถึงสิ่งเหล่านั้น เพราะเกี่ยวเนื่องกับตน ก็มิเป็นกามฉันทนิวรณ์ไปหมดหรือ?

พระอาจารย์มั่น : ถ้านึกตามธรรมดาโดยจำเป็นของผู้ที่ยังครองเรือนอยู่ โดยไม่ได้กำหนัดยินดีก็เป็นอัญญสมนา คือเป็นกลางๆ ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป ถ้าคิดถึงวัตถุกามเหล่านั้นเกิดความยินดีพอใจรักใคร่เป็นห่วง ยึดถือหมกมุ่นพัวพันอยู่ในวัตถุกามเหล่านั้น จึงจะเป็นกามฉันทนิวรณ์ สมด้วยพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า

น เต กามา ยานิ จิตฺรานิ โลเก อารมณ์ที่วิจิตรงดงามเหล่าใดในโลกอารมณ์เหล่านั้นมิได้เป็นกาม

สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม ความกำหนัดอันเกิดจากความดำริ นี้แหละเป็นกามของคน

ติฏฺฐนฺติ จิตฺรานิ ตเถว โลเก อารมณ์ที่วิจิตรงดงามในโลก ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเอง

อเถตฺถธีรา วินยนฺติ ฉนฺทํ เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้นักปราชญ์ทั้งหลายจึงทำลายเสียได้

ซึ่งความพอใจในกามนั้น นี่ก็ทำให้เห็นชัดเจนได้ว่า ถ้าฟังตามคาถาพระพุทธภาษิตนี้ ถ้านึกคิดถึงวัตถุกามตามธรรมดาก็ไม่เป็นกามฉันทนิวรณ์ ถ้าคิดนึกอะไรๆ ก็เอาเป็นนิวรณ์เสียหมด ก็คงจะหลีกไม่พ้นนรก เพราะนิวรณ์เป็นอกุศล

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 29 ก.ค. 2010, 22:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเจดีย์ : พยาบาทนิวรณ์นั้น หมายความโกรธเคือง ประทุษร้ายในคน ถ้าความกำหนัดในคน ก็เป็นกิเลสการถูกไหม?

พระอาจารย์มั่น : ถูกแล้ว

พระธรรมเจดีย์ : ความง่วงเหงาหาวนอน เป็นถีนะมิทธินิวรณ์ ถ้าเช่นนั้นเวลาที่เราหาวนอนมิเป็นนิวรณ์ทุกคราวไปหรือ?

พระอาจารย์มั่น : หาวนอนตามธรรมดา เป็นอาการร่างกายที่จะต้องพักผ่อน ไม่เป็นถีนะมิทธนิวรณ์ กามฉันทหรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วก็อ่อนกำลังลงไป หรือดับไปในสมัยนั้นมีอาการมัวซัวแลง่วงเหงาไม่สามารถจะระลึกถึงกุศลได้ จึงเป็นถีนะมิทธนิวรณ์ ถ้าหาวนอนตามธรรมดา เรายังดำรงสติสัมปชัญญะอยู่ได้จนกว่าจะหลับไป จึงไม่ใช่นิวรณ์ เพราะถีนะมิทธนิวรณ์เป็นอกุศล ถ้าจะเอาหาวนอนตามธรรมดาเป็นถีนมิทธแล้ว เราก็คงจะพ้นจากถีนะมิทธนิวรณ์ไม่ได้ เพราะต้องมีหาวนอนทุกวันด้วยกันทุกคน

พระธรรมเจดีย์ : ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ที่ว่าเป็อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์นั้น หมายฟุ้งไปในที่ใดบ้าง?

พระอาจารย์มั่น : ฟุ้งไปในกามฉันทบ้าง พยาบาทบ้าง แต่ในบาปธรรม 14 ท่านแยกเป็นสองอย่าง อุทธัจจะความฟุ้งซ่าน กุกกุจจ ความรำคาญใจ แต่ในนิวรณ์ 5 ท่านรวมไว้เป็นอย่างเดียวกัน

พระธรรมเจดีย์ : นิวรณ์ 5 เป็นจิตหรือเจตสิก?

พระอาจารย์มั่น : เป็นเจตสิกธรรมฝ่ายอกุศลประกอบกับจิตที่เป็นอกุศล

พระธรรมเจดีย์ : ประกอบอย่างไร?

พระอาจารย์มั่น : เช่นกามฉันทนิวรณ์ก็เกิดในจิต ที่เป็นพวกโลภะมูล พยาบาทกุกกุจจนิวรณ์ ก็เกิดในจิตที่เป็นโทสะมูล ถีนะมิทธอุทธัจจะ วิจิกิจฉา ก็เกิดในจิตที่เป็นโมหะมูล พระพุทธเจ้าทรงเปรียบนิวรณ์ทั้ง 5 มาในสามัญญผลสูตร ทีฆนิกายสีลักขันธวรรค หน้า 93 ว่า กามฉันทนิวรณ์ เหมือนคนเป็นหนี้, พยาบาทนิวรณ์ เหมือนคนไข้หนัก, ถีนมิทธนิวรณ์เหมืนอนคนติดในเรือนจำ, อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์เหมือนคนเป็นทาส, วิจิกิจฉานิวรณ์ เหมือนคนเดินทางกันดารมีภัยน่าหวาดเสียว เพราะฉะนั้น คนที่เขาพ้นหนี้ หรือหายเจ็บหนัก หรือออกจากเรือนจำ หรือพ้นจากทาส หรือได้เดินทางถึงที่ประสงค์พ้นภัยเกษมสำราญ เขาย่อมถึงความยินดีฉันใด ผู้ที่พ้นนิวรณ์ทั้ง 5 ก็ย่อมถึงความยินดีฉันนั้น แลในสังคารวสูตร ในปัจจกนิบาต อังคุตตรนิยาย หน้า 257 พระพุทธเจ้าทรงเปรียบนิวรณ์ด้วยน้ำ 5 อย่าง ว่าบุคคลจะส่องเงาหน้าก็ไม่เห็นฉันใด นิวรณ์ทั้ง 5 เมื่อเกิดขึ้นก็ไม่เห็นธรรมความดีความชอบฉันนั้น กามฉันทนิวรณ์ เหมือนน้ำที่ระคนด้วยสีต่างๆ เช่น สีครั่ง สีชมพู เป็นต้น พยาบาทนิวรณ์ เหมือนน้ำที่มีจอกแหนปิดเสียหมด อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์เหมือนน้ำที่คลื่นเป็นระลอก วิจิกิจฉานิวรณ์ เหมือนน้ำที่ขุ่นข้นเป็นโคลนตม เพราะฉะนั้นน้ำ 5 อย่างนี้ บุคคลไม่อาจส่งดูเงาหน้าของตนได้ฉันใด นิวรณ์ทั้ง 5 ที่เกิดขึ้นครอบงำใจของบุคคลไม่ให้เห็นธรรมความดีความชอบได้ก็ฉันนั้น

พระธรรมเจดีย์ : ทำไมคนเราเวลาไข้หนักใกล้จะตาย ก็ทำบาปกรรมความชั่วอะไรไม่ได้แล้วจะกล่าววจีทุจริต ปากก็พูดไม่ได้ จะล่วงทำกายทุจริต มือแลเท้าก็ไหวไม่ได้แล้ว ยังเหลือแต่ความคิด นึกทางใจนิดเดียวเท่านั้น ทำไมใจประกอบด้วยนิวรณ์ จึงไปทุคติได้ ดูไม่นาจะเป็นบาปกรรมโตใหญ่อะไรเลย ข้อนี้น่าอัศจรรย์นักขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ?

พระอาจารย์มั่น : กิเลสเป็นเหตุให้ก่อกรรมๆ เป็นเหตุให้ก่อวิบาก ที่เรียกว่าไตรวัฏนั้น เช่น อนุสัย หรือสังโยชน์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นชื่อว่ากิเลสวัฏ ผู้ที่ไม่เคยประพฤติปฏิบัติก็ทำในใจไม่แยบคาย ที่เรียกว่า อโยนิโส คิดต่อออกไป เป็นนิวรณ์ 5 หรืออุปกิเลส 16 จึงเป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป ถ้าดับจิตไปในสมัยนั้น จึงได้วิบากวัฏที่เป็นส่วนทุคติ เพราะกรรมวัฏฝ่ายบาปส่งให้อุปมาเหมือนคนปลูกต้นไม้ ไปนำพืชพันธุ์ของไม้ที่เบื่อเมามาปลูกไว้ ต้นแลใบที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็นของเบื่อเมา แม้ผลแลดอกที่ออกมา ก็เป็นของเบื่อเมาตามพืชพันธุ์เดิมซึ่งนำมาปลูกไว้นิดเดียว แต่ก็กลายเป็นต้นโตใหญ่ไปได้เหมือนกัน ข้อนี้ฉันใด จิตที่เศร้าหมองเวลาตาย ก็ไปทุคติได้ฉันนั้น แลเหมือนพืชพันธุ์แห่งผลไม้ที่ดี มีกลิ่นหอมมีรสหวาน บุคคลไปนำพืชพันธุ์มานิดเดียวปลูกไว้แม้ต้นแลใบก็เป็นไม้ที่ดีทั้งผลแลดอกที่ออกมา ก็ใช้แลรับประทานได้ตามความประสงค์ เพราะอาศัยพืชที่ดีซึ่งนำมานิดเดียวปลูกไว้ ข้อนี้ฉันใด จิตท่เป็นกุศลผ่องใสแล้วตายในเวลานั้นจึงไปสู่สุคติได้สมด้วยพระพุทธภาษิตที่ว่า
จิตฺเต สงฺกลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เวลาตายจิตเศร้าหมอง แล้วทุคติเป็นหวังได้
จิตฺเต อสงฺกิลิฎเฐ สุคติปาฏิกงฺขา จิตผ่องใสไม่เศร้าหมองเวลาตายสุคติเป็นหวังได้

พระธรรมเจดีย์ : อโยนิโสมสสิกาโร ความทำในใจไม่แยบคาย โยนิโสมนสิการโร ความทำในใจแยบคาย 2 อย่างนั้นคือ ทำอย่างไรชื่อว่าไม่แยบคาย ทำอย่างไรจึงชื่อว่าแยบคาย?

พระอาจารย์มั่น : ความทำสุภนิมิตไว้ในใจ กามฉันทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงาม ความทำปฏิฆะนิมิตไว้ในใจ พยาบาทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงามอย่างนี้ ชื่อว่าทำในใจไม่แยบคาย การทำอสุภสัญญาไว้ในใจ กามฉันทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป การทำเมตตาไว้ในใจ พยาบาทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป เช่นนี้เป็นตัวอย่าง หรือความทำในใจอย่างไรก็ตาม อกุศลที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงาม ก็ชื่อว่าทำในใจไม่แยบคาย หรือจะคิดนึกอย่างไรก็ตามกุศลที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็บริบูรณ์ อย่างนี้ชื่อว่าทำในใจแยบคาย สมด้วยสาวกภาษิตที่พระสารีบุตรแสดงไว้ในพระทสุตตรสูตรหมวด 2 ว่า โย จ เหตุ โย จ ปจฺจโย สตฺตานํ สงฺกิลสฺสาย ความไม่ทำในใจโดยอุบายอันแยบคายเป็นเหตุด้วยเป็นปัจจัยด้วย เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย 1 โย จ เหตุ โย จ ปจฺจโย สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ความทำในใจ โดยอุบายแยบคาย เป็นเหตุด้วยเป็นปัจจัยด้วย เพื่อจะได้บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเจดีย์ : ที่ว่า อนุสัยกับสังโยชน์เป็นกิเลสวัฏ ส่วนนิวรณ์หรืออุปกิเลส 16 ว่าเป็นกรรมวัฏเวลาที่เกิดขึ้นนั้น มีอาการต่างกันอย่างไร จึงจะทราบได้ว่า ประเภทนี้เป็นนิวรณ์ หรืออุปกิเลส 16?

พระอาจารย์มั่น : เช่น เวลาตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายถูกต้องโผฎฐัพพะ รู้ธัมมารมณ์ด้วยใจ 6 อย่างนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ดีนั้นเป็นอิฎฐารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ยินดีส่วนอารมณ์ 6 ที่ไม่ดีเป็นอนิฎฐารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความยินร้าย, ไม่ชอบ, โกรธเคือง ผู้ที่ยังไม่รู้ความจริงหรือไม่มีสติเวลาที่ตาเห็นรูปที่ดี ยังไม่ทันคิดว่ากระไรก็เกิดความยินดีกำหนัดพอใจขึ้น แค่นี้เป็นสังโยชน์ ถ้าคิดต่อมากออกไป ก็เป็นกามฉันทนิวรณ์ หรือเรียกว่ากามวิตกก็ได้ หรือเกิดความโลภอยากได้ที่ผิดธรรม ก็เป็น อภิชฺฌาวิสมโลโภที่อยู่ในอุปกิเลส 16 หรือใน มโนกรรม อกุศลกรรมบถ 10 ชนิดนี้ ประกอบด้วยเจตนา เป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป เวลาตาเห็นรูปที่ไม่ดีมไม่ทันคิดว่ากระไร เกิดความไม่ชอบ หรือเป็นโทมนัสปฏิฆะขึ้นไม่ประกอบด้วยเจตนาแค่นี้เป็นปฏิฆะสังโยชน์คือ กิเลสวัฏ ถ้าคิดต่อออกไปถึงโกรธเคืองประทุษร้ายก็เป็นพยาบาทนิวรณ์ หรือุปกิเลส หรืออกุศลกรรมบถ 10 ชนิดนี้ ก็เป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป เพราะประกอบด้วยเจตนา นี่ชี้ให้ฟังเป็นตัวอย่าง แม้กิเลสอื่นๆก็พึงตัดสินใจอย่างนี้ว่ากิเลสที่ไม่ตั้งใจให้เกิดก็เกิดขึ้นได้เอง พวกนี้เป็นอนุสัยหรือสังโยชน์ เป็นกิเลสวัฏ ถ้าประกอบด้วยเจตนา คือ ยืดยาวออกไปก็กรรมวัฏ

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นเราจะตัดกิเลสวัฏ จะตัดอย่างไร?

พระอาจารย์มั่น : ต้องตัดได้ด้วยอริยมรรค เพราะสังโยชน์ก็ไม่มีเจตนา อริยมรรคก็ไม่มีเจตนาเหมือนกัน จึงเป็นคู่ปรับสำหรับละกัน

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าการปฏิบัติของผู้ดำเนินยังอ่อนอยู่ ไม่สามารถจะตัดได้ สังโยชน์ก็ยังเกิดอยู่ แล้วก้เลยเป็นกรรมวัฏฝ่ายบาปต่อออกไป มิต้องได้วิบากวัฏที่เป็นส่วนทุคติเสียหรือ?

พระอาจารย์มั่น : เพราะอย่างนั้นน่ะซิ ผู้ที่ยังไม่ถึงโสดาบันจึงปิดอบายไม่ได้

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นใครจะไปสวรรค์ได้บ้างเล่า ในชั้นผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ถึงโสดาบัน?

พระอาจารย์มั่น : ไปได้เพราะอาศัยเปลี่ยนกรรม สังโยชน์ยังอยู่ก็จริง ถ้าประพฤติทุจริตกาย วาจา ใจ เวลาตายใจเศร้าหมองก็ต้องไปทุคติ ถ้ามาตั้งใจเว้นทุจริต อยู่ในสุจริตทางกาย วาจา ใจ แลเวลาตายก็ไม่เศร้าหมองก็มีสติสัมปชัญญะก็ไปสุคติได้ เพราะเจตนาเป็นตัวกรรม กรรมมี 2 อย่าง กณฺหํ เป็นกรรมดำ คือ ทุจริต กาย วาจา ใจ สุกฺกํ เป็นกรรมขาว คือ สุจริตกาย วาจา ใจ ย่อมให้ผลต่างกัน

พระธรรมเจดีย์ : ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ประพฤติสุจริต กาย วาจา ใจ เวลาตายใจเศร้าหมอง มิต้องไปทุคติเสียหรือ หรือผู้ที่ประพฤติทุจริต กาย วาจา ใจ แต่เวลาตายใจเป็นกุศล มิไปสุคติได้หรือ?

พระอาจารย์มั่น : ก็ไปได้น่ะซี ได้เคยฟังหนังสือของสมเด็จพระวันรัต (ทับ) วัดโสมนัสบ้างหรือเปล่า เวลาลงโบสถ์ท่านเคยแสดงให้พระเณรฟัง ภายหลังได้มาจัดพิมพ์กันขึ้น รวมกับข้ออื่นๆท่านเคยแสดงว่าภิกษุรักษาศีลบริสุทธิ์ เวลาจะตายห่วงในจีวร ตายไปเกิดเป็นเล็น แลภิกษุอีกองค์หนึ่งเวลาใกล้จะตายนึกขึ้นได้ว่าทำใบตะไคร่น้ำขาด มองหาเพื่อนภิกษุที่จะแสดงอาบัติก็ไม่มีใคร ใจก็กังวลอยู่อย่างนั้นแหละ ครั้นตายไปก็เกิดเป็นพญานาค แลอุบาสกอีกคนหนึ่ง เจริญกายคตาสติมาถึง 30 ปี ก็ไม่ได้บรรลุคุณวิเศษอย่างใด เกิดความสงสัยในพระธรรม ตายไปเกิดเป็นจระเข้ ด้วยโทษวิจิกิจฉานิวรณ์ ส่วนโตเยยะพราหมณ์นั้นไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ ห่วงทรัพย์ที่ฝังไว้ ตายไปเกิดเป็นลูกสุนัขอยู่ในบ้านของตนเองด้วยโทษกามฉันทนิวรณ์เหมือนกัน แลนายพรานผู้หนึ่งเคยฆ่าสัตว์มากเวลาใกล้จะตายพระสารีบุตรไปสอนให้รับไตรสรณคมน์ จิตก็ตั้งอยู่ในกุศลยังไม่ทันจะให้ศีลนายพรานก็ตายไปสู่สุคติ ด้วยจิตที่เป็นกุศล ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ นี่ก็เป็นตัวอย่างของผู้ที่ตายใจเศร้าหมองหรือบริสุทธิ์ กรรมของผู้ที่กระทำในเมื่อเวลาใกล้จะตายนั้น ชื่อว่าอาสันนกรรม ต้องให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ ท่านเปรียบว่า เหมือนโคอยู่ใกล้ประตูคอก แม้จะแก่กำลังน้อย ก็ต้องออกได้ก่อน ส่วนโคอื่นถึงจะมีกำลังมาก ที่อยู่ข้างใน ต้องออกทีหลัง ข้อนี้ฉันใด กรรมที่บุคคลทำเมื่อใกล้จะตายจึงต้องให้ผลก่อนฉันนั้น

พระธรรมเจดีย์ : ส่วนอนุสัยแลสังโยชน์เป็นกิเลสวัฏนิวรณ์ หรืออุปกิเลส 16 หรือ อกุศลกรรมบถ 10 ว่าเป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป ส่วนกรรมวัฏฝ่ายบุญจะได้แก่อะไร?

พระอาจารย์มั่น : กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล เหล่านี้ เป็นกรรมวัฏฝ่ายบุญส่งให้วิบากวัฏคือ มนุษยสมบัติบ้าง สวรรคสมบัติบ้าง พรหมโลกบ้าง พอเหมาะแก่กุศลกรรมที่ทำไว้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นกรรมทั้งหลาย ที่สัตว์ทำเป็นบุญก็ตาม เป็นบาปก็ตาม ย่อมให้ผลเหมือนเงาที่ไม่พรากไปจากตนฉะนั้นหรือ?

พระอาจารย์มั่น : ถูกแล้ว สมด้วยพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ในอภิณหปัจจเวกขณ์ว่า กมฺมสฺสโกมฺหิ เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆตน กมฺมทาโย เป็นผู้รับผลของกรรม กมฺมโยนิ เป็นผู้มีกรรมเป็นกำหนด กมฺมพนฺธุ เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กมฺมปฏิสรโณ เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ยํ กมฺมํ กริสฺสามิ เราจักทำกรรมอันใด กลฺยาณํ ว ปาปกํ วา ดีหรือชั่ว ตสํสา ทายาโท ภวิสฺสามิ เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

พระธรรมเจดีย์ : อนุสัยกับสังโยชน์ ใครจะละเอียดกว่ากัน?

พระอาจารย์มั่น : อนุสัยละเอียดกว่าสังโยชน์ เพราะสังโยชน์นั้น เวลาที่จะเกิดขึ้น อาศัยอายตนะภายในอายตนะภายนอกกระทบกันเข้าแล้วเกิดวิญญาณ 6 ชื่อว่าผัสสะ เมื่อผู้ที่ไม่มีสติ หรือไม่รู้ความจริง เช่นหูกับเสียงกระทบกันเข้า เกิดความรู้ขึ้น เสียงที่ดีก็ชอบ เกิดความยินดีพอใจ เสียงที่ไม่ดี ก็ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ ที่โลกเรียกกันว่าพื้นเสีย เช่นนี้แหละชื่อว่าสังโยชน์ จึงหยาบกว่าอนุสัย เพราะอนุสัยนั้นย่อมตามนอนในเวทนาทั้ง 3 เช่น สุขเวทนาเกิดขึ้น ผู้ที่ไม่เคยรู้ความจริง หรือไม่มีสติ ราคานุสัยจึงตามนอน ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ปฏิฆานุสัยย่อมตามนอน อุทกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น อวิชชานุสัยย่อมตามนอน เพราะฉะนั้นจึงละเอียดกว่าสังโยชน์ และมีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ใน มาลุงโกฺย วาทสูตร ว่าเด็กอ่อนที่นอนหงายอยู่ในผ้าอ้อม เพียงจะรู้จักว่านี่ตานี่รูป ก็ไม่มีในเด็กนั้น เพราะฉะนั้น สังโยชน์จึงไม่มีในเด็กที่นอนอยู่ในผ้าอ้อม แต่ว่าอนุสัยย่อมตามนอนในเด็กนั้นได้

พระธรรมเจดีย์ : อนุสัยนั้นมีประจำอยู่เสมอหรือ หรือมีมาเป็นครั้งเป็นคราว?

พระอาจารย์มั่น : มีมาเป็นครั้งคราว ถ้ามีประจำอยู่เสมอแล้วก็คงจะละไม่ได้ เช่นราคานุสัยก็เพิ่มมาตามนอนในสุขเวทนา หรือปฏิฆานุสัยก็เพิ่งมาตามนอนในทุกขเวทนา หรืออวิชชานุสัยก็เพิ่งมาตามนนในอทุกขมสุขเวทนา ตามนอนได้แต่ผู้ที่ไม่รู้ความจริง หรือมีสติก็ไม่ตามนอนได้ เรื่องนี้ได้อธิบายไว้ในเวทนาขันธ์แล้ว

พระธรรมเจดีย์ : แต่เดิมข้าพเจ้าเข้าใจว่าอนุสัยตามนอนอยู่ในสันดานเสมอทุกเมื่อไป เหมือนอย่างขี้ตะกอนที่นอนอยู่ก้นโอ่งน้ำ ถ้ายังไม่มีใครมาคน ก็ยังไม่ขุ่นขึ้น ถ้ามีใครมาคนก็ขุ่นขึ้นได้เวลาที่ได้รับอารมณ์ที่ดี เกิดความกำหนัดยินดีพอใจขึ้น หรือได้รับอารมณ์ที่ไม่ดีก็เกิดปฏิฆะหรือความโกรธขึ้น เข้าใจว่านี่แหละขุ่นขึ้นมา ความเข้าใจเก่าของข้าพเจ้ามิผิดไปหรือ?

พระอาจารย์มั่น : ก็ผิดน่ะซี เพราะเอานามไปเปรียบกับรูป คือโอ่งก็เป็นรูปที่ไม่มีวิญญาณ น้ำก็เป็นรูปที่ไม่มีวิญญาณ แลขี้ตะกอนก้นโอ่งก็เป็นรูปไม่มีวิญญาณเหมือนกัน จงขังกันอยู่ได้ ส่วนจิตเจตสิกของเรา เกิดขึ้นแล้วดับไป จะขังเอาอะไรไว้ได้ เพราะกิเลสเช่นอนุสัยหรือสังโยชน์ ก็อาศัยจิตเจตสิกเกิดขึ้นชั่วคราวหนึ่ง เมื่อจิตเจตสิกในคราวนั้นดับไปแล้ว อนุสัยหรือสังโยชน์จะตกค้างอยู่กับใคร ลองนึกดูเมื่อเรายังไม่มีความรัก ความรักนั้นอยู่ที่ไหน ก็มีขึ้นเมื่อเกิดความรักไม่ใช่หรือ หรือเมื่อความรักนั้นดับไปแล้ว ก็ไม่มีความรักไม่ใช่หรือ และความโกรธเมื่อยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่มีเหมือนกัน มีขึ้นเมื่อเวลาที่โกรธ เมื่อความโกรธดับแล้ว ก็ไม่มีเหมือนกัน เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดเพราะไปติดสัญญาที่จำไว้นานแล้วว่า อนุสัยนอนอยู่เหมือนขี้ตะกอนที่นอนอยู่ก้นโอ่ง

พระธรรมเจดีย์ : ก็อนุสัยกับสังโยชน์ไม่มีแล้ว บางคราวทำไมจึงมีขึ้นอีกได้เล่า ข้าพเจ้าฉงนนัก แล้วยังอาสวะอีกอย่างหนึ่งที่ว่าดองสันดานนั้น เป็นอย่างไร?

พระอาจารย์มั่น : ถ้าพูดถึงอนุสัยหรืออาสวะแล้ว เราควรเอาความว่า ความเคยตัวเคยใจ ที่เรียกว่ากิเลสกับวาสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าละได้ทั้ง 2 อย่าง ที่พระอรหันตสาวกละได้แต่กิเลสอย่างเดียววาสนาละไม่ได้ เราควรจะเอาความว่าอาสวะหรืออนุสัยกิเลสเหล่านี้เป็นความเคยใจ เช่นได้รับอารมณ์ที่ดี เคยเกิดความกำหนัดพอใจ ได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี เคยไม่ชอบไม่ถูกใจ เช่นนี้เป็นต้น เหล่านี้แหละควรรู้สึกว่าเป็นเหล่าอนุสัย หรืออาสวะเพราะความคุ้นเคยของใจ ส่วนวาสนานั้น คือความคุ้นเคยของ กาย วาจา ที่ติดต่อมาจากเคยแห่งอนุสัย เช่น คนราคะจริตมีมรรยาทเรียบร้อย หรือเป็นคนโทสะจริตมีมรรยาทไม่เรียบร้อย ส่วนราคะแลโทสะนั้นเป็นลักษณะของกิเลส กิริยามารยาทที่เรียบร้อยแลไม่เรียบร้อย นั่นเป็นลักษณะ
ของวาสนานี่ก็ควรจะรู้ไว้

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นเราจะละความคุ้นเคยของใจ ในเวลาที่ได้รับอารมณ์ที่ดีหรือไม่ดี จะควรประพฤติปฎิบัติอย่างไรดี?

พระอาจารย์มั่น : วิธีปฏิบัติที่จะละความคุ้นเคยอย่างเก่า คืออนุสัยแลสังโยชน์ ก็ต้องมาฝึกหัดให้คุ้นเคยในศีลแลสมถวิปัสสนาขึ้นใหม่ จะได้ถ่ายถอนความคุ้นเคยเก่า เช่นเหล่าอนุสัยหรือสังโยชน์ให้หมดไปจากสันดาน

พระธรรมเจดีย์ : ส่วนอนุสัยกับสังโยชน์ ข้าพเจ้าเข้าใจดีแล้ว แต่ส่วนอาสวะนั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ 3 อย่างนั้นเป็นเครื่องดองสันดาน ถ้าฟังดูตามชื่อ ก็ไม่น่าจะมีเวลาว่าง ดูเหมือนดองอยู่กับจิตเสมอไปหรือไม่ได้ดองอยู่เสมอ แต่ส่วนตัวข้าพเจ้าเข้าใจไว้แต่เดิมสำคัญว่าดองอยู่เสมอข้อนี้เป็นอย่างไร ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ?

พระอาจารย์มั่น : ไม่รู้ว่าเอาอะไรมาซอกแซกถาม ได้ตอบไว้พร้อมกับอนุสัยแลสังโยชน์แล้ว จะให้ตอบอีกก็ต้องอธิบายกันใหญ่ คำที่ว่าอาสวะเป็นเครื่องดองนั้น ก็ต้องหมายความถึงรูปอีกนั่นแหละ เช่นกับเขาดองฝักก็ต้องมีภาชนะ เช่นผักอย่างหนึ่งหรือชามอย่างหนึ่งและน้ำอย่างหนึ่ง รวมกัน 3 อย่าง สำหรับเช่นกันหรือของที่เขาทำเป็นแช่อิ่มก็ต้องมีขวดโหลหรือน้ำเชื่อมสำหรับแช่ของ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นรูปจึงแช่แลดองกันอยู่ได้ ส่วนอาสวะนั้นอาศัยนามธรรมเกิดขึ้น นามธรรมก็เป็นสิ่งที่ไม่มีตัว อาสวะก็เป็นสิ่งที่ไม่มีตัว จะแช่แลดองกันอยู่อย่างไรได้ นั่นเป็นพระอุปมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นไว้ว่า อาสวะเครื่องดองสันดาน คือ กิเลสมีประเภท 3 อย่าง เราก็เลยเข้าใจผิดถือมั่นเป็นอภินิเวส เห็นเป็นแช่แลดองเป็นของจริงๆจังๆไปได้ ความจริงก็ไม่มีอะไร นามและรูปเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป อะไรจะมาแช่แลดองกันอยู่ได้ เพราะฉะนั้นขอให้เปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ที่ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นจริงเป็นจังเสียให้ได้ ให้หมดทุกสิ่งที่ได้เข้าใจไว้แต่เก่าๆแล้ว ก็ตั้งใจศึกษาเสียใหม่ให้ตรงกับความจริง ซึ่งเป็นสัมมาปฏิบัติ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเจดีย์ : จะทำความเห็นอย่างไรจึงจะตรงกับความจริง?

พระอาจารย์มั่น : ทำความเห็นว่าไม่มีอะไร มีแต่สมมติแลบัญญัติ ถ้าถอนสมมติแลบัญญัติออกเสียแล้วก็ไม่มีอะไร หาคำพูดไม่ได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ขันธ์ 5 อายตนะ 6 ธาตุ 6 นามรูป เหล่านี้ก็เพื่อจะให้รู้เรื่องกันเท่านั้น ส่วนขันธ์แลอายตนะ ธาตุ นามรูป ผู้ปฏิบัติควรกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ ส่วนอนุสัยหรือสังโยชน์ อาสวะ โยคะ โอฆะ นิวรณ์ อุปกิเลสเป็นสมุทัย อาศัยขันธ์หรืออายตนะหรือนามรูปเกิดขึ้นนั้นเป็นสมุทัยเป็นส่วนหนึ่งที่ควรละ มรรคมีองค์ 8 ย่นเข้าคือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นส่วนที่ควรเจริญ ความสิ้นไปแห่งกิเลส คือ อนุสัยหรือสังโยชน์ ชื่อว่านิโรธ เป็นส่วนควรทำให้แจ้งเหล่านี้แหละเป็นความจริง ความรู้ความเห็นใน 4 อริยสัจนี้แหละเป็นความจริง ความรู้ความเห็นใน 4 อริยสัจนี้แหละคือเห็นความจริงละ

พระธรรมเจดีย์ : สาธุ ข้าพเจ้าเข้าใจแจ่มแจ้งทีเดียว แต่เมื่ออาสวะไม่ได้ดองอยู่เสมอ แล้วทำไมท่านจึงกล่าวว่า เวลาที่พระอรหันต์สำเร็จขึ้นใหม่ๆ โดยมากแล้วที่ได้ฟังมาในแบบท่านรู้ว่าจิตของท่านพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่าผู้ที่ยังไม่พ้นก็ต้องมีอาสวะประจำอยู่กับจิตเป็นนิตย์ไป ไม่มีเวลาว่าง กว่าจะพ้นได้ก็ต้องเป็นพระอรหันต์?

พระอาจารย์มั่น : ถ้าขืนทำความเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีเวลาพ้นจริงด้วย เมื่ออาสวะอยู่ประจำเป็นพื้นเพของจิตแล้วก็ใครจะละได้เล่า พระอรหันต์ก็คงไม่มีในโลกได้เหมือนกัน นี่ความจริงไม่ใช่เช่นนี้ จิตนั้นส่วนหนึ่งเป็นประเภททุกขสัจ อาสวะส่วนหนึ่งเป็นประเภทสมุทัย อาศัยจิตเกิดขึ้นชั่วคราว เมื่อจิตคราวนั้นดับไปแล้ว อาสวะประกอบกับจิตในคราวนั้นก็ดับไปด้วย ส่วนอาสวะที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆนั้น เพราะอาศัยการเพ่งโทษ ถ้าเราจักตั้งใจเพ่งโทษใครๆ อาสวะก็จะเกิดได้ด้วยยากเหมือนกัน สมด้วยพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า ปรวชฺชานุปสฺสํสฺส เมื่อบุคคลตามมองดู ซึ่งโทษของผู้อื่น นิจฺจํ อชฺฌาน สญฺญิโน เป็นบุคคลมีความหมายจะยกโทษเป็นนิตย์ อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญขึ้นแก่บุคคลนั้น อารา โส อาสวกฺขยา บุคคลนั้นเป็นผู้ห่างไกลจากธรรมที่สิ้นอาสวะ ถ้าฟังตามคาถาพระพุทธภาษิตนี้ก็จะทำให้เราเห็นชัดได้ว่าอาสวะนั้นมีมาในเวลาที่เพ่งโทษ เรายังไม่เพ่งโทษอาสวะก็ยังไม่มีมาหรือเมื่อจิตที่ประกอบด้วยอาสวะคราวนั้นดับไปแล้วอาสวะก็ดับไปด้วย ก็เป็นอันไม่เหมือนกัน การที่เห็นว่าอาสวะมีอยู่เสมอจึงเป็นความเห็นผิด

พระธรรมเจดีย์ : อาสวะ 3 นั้น กามาสวะเป็นกิเลสประเภทรัก อวิชชาสวะเป็นกิเลสประเภทไม่รู้ แต่ภวาสวะนั้นไม่ได้ความว่าเป็นกิเลสประเภทไหน เคยได้ฟังตามแบบท่านว่าเป็นภพๆอย่างไรข้าพเจ้าไม่เข้าใจ?

พระอาจารย์มั่น : ความไม่รู้ความจริงเป็นอวิชชาสวะ จึงได้เข้าไปชอบไว้ในอารมณ์ที่ดีมีกามเป็นต้นเป็นกามสวะ เมื่อไม่ชอบไว้ในที่ใด ก็เข้าไปยึดถือตั้งอยู่ในที่นั้น จึงเป็นภวาสวะนี่แหละ เข้าใจว่าเป็นภวาสวะ

พระธรรมเจดีย์ : ภวะท่านหมายว่าภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพไม่ใช่หรือ ทำไมภพถึงจะมาอยู่ในใจของเราได้เล่า?

พระอาจารย์มั่น : ภพที่ในใจนี่ละซีสำคัญนัก จึงได้ต่อให้ไปเกิดในภพข้างนอก ก็ลองสังเกตดู ตามแบบที่เราได้เคยฟังมาว่า พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีกิเลสประเภทรัก และไม่มีอวิชชาภวะตัณหาเข้าไปเป็นอยู่ในที่ใด แลไม่มีอุปาทานความชอบความยินดียึดถือในสิ่งทั้งปวง ภพข้างนอก คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ตลอดจนกระทั่งภพ คือ สุทธาวาสของท่านนั้นจึงไม่มี

พระธรรมเจดีย์ : อาสวะ 3 ไม่เห้นมีกิเลสประเภทโกรธ แต่ทำไมการเพ่งโทษนั้นเป็นกิเลสเกลียดชังขาดเมตตา กรุณา เพราะอะไรจึงได้มาทำให้อาสวะเกิดขึ้น?

พระอาจารย์มั่น : เพราะความเข้าไปชอบไปเป็นอยู่ในสิ่งใดที่ถูกใจของตน ครั้นเขามาทำที่ไม่ชอบไม่ถูกใจจึงได้เข้าไปเพ่งโทษ เพราะสาเหตุที่เข้าไปชอบไปถูกใจเป็นอยู่ในสิ่งใดไว้ซึ่งเป็นสายชนวนเดียวกัน อาสวะทั้งหลายจึงได้เจริญแก่บุคคลนั้น

พระธรรมเจดีย์ : ความรู้นั้นมีหลายอย่าง เช่นกับวิญญาณ 6 คือ ความรู้ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือ ความรู้ในเรื่อง โลภ โกรธ หลง ริษยา พยาบาท หรือรู้ไปในเรื่องความอยากความต้องการ หรือคนที่หยิบเล็กหยิบน้อยนิดหน่อยก็โกรธ เขาก็ว่าเขารู้ทั้งนั้น ส่วนความรู้ในรูปฌาณหรืออรูปฌาณ ก็เป็นความรู้ชนิดหนึ่ง ส่วนปัญญาที่รู้เห็นไตรลักษณ์แลอริยสัจก็เป็นความรู้เหมือนกัน ส่วนวิชชา 3 หรือวิชชา 8 ก็เป็นความรู้พิเศษอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ควรจะแบ่งความรู้เหล่านี้เป็นประเภทไหนบ้าง ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าจะได้ไม่ปนกัน

พระอาจารย์มั่น : ควรแบ่งความรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็นประเภททุกขสัจ เป็นส่วนที่ควรกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ ส่วนความโลภ ความโกรธ ความหลง ริษยา พยาบาท ความอยากความต้องการเป็นสมุทัย เป็นส่วนควรละ ความรู้ในรูปฌาณแลอรูปฌาณ แลความรู้ในไตรลักษณ์ หรืออริยสัจเป็นมรรค เป็นส่วนที่ควรเจริญ วิชชา 3 หรือ วิชชา 8 นั้นเป็นนิโรธ เป็นส่วนที่ควรทำให้แจ้ง

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเจดีย์ : อะไรๆก็เอาเป็นอริยสัจ 4 เกือบจะไม่มีเรื่องอื่นพูดกัน?

พระอาจารย์มั่น : เพราะไม่รู้อริยสัจทั้ง 4 แลไม่ทำหน้าที่กำหนดทุกข์ ละสมุทัยแลทำนิโรธให้แจ้งแลเจริญมรรค จึงได้ร้อนใจกันไปทั่วโลก ท่านผู้ทำกิจถูกตามหน้าที่ของอริยสัจ 4 ท่านจึงไม่มีความร้อนใจ ที่พวกเราต้องกราบไหว้ทุกวัน ข้าพเจ้าจึงชอบพูดถึงอริยสัจ

พระธรรมเจดีย์ : ตามที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า สอุปาทิเสสนิพพานนั้น ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ อนุปาทิเสสนิพพานนั้นได้แก่พระอรหันต์ที่นิพพานแล้ว ถ้าเช่นนั้นท่านคงหมายความถึงเศษนามรูป เนื้อแลกระดูกที่เหลืออยู่นี่เอง?

พระอาจารย์มั่น : ไม่ใช่ ถ้าเศษเนื้อเศษกระดูกที่หมดแล้วว่าเป็นอนุปาทิเสสนิพพาน เช่นนั้นใครๆตายก็คงเป็นอนุปาทิเสสนิพพานได้เหมือนกัน เพราะเนื้อแลกระดูกชีวิตจิตใจก็ต้องหมดไปเหมือนกัน

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นนิพพานทั้ง 2 อย่างนี้จะเอาอย่างไหนเล่า?

พระอาจารย์มั่น : เรื่องนี้มีพระพุทธภาษิตตรัส สอุปาทิเสสสูตรแก่พระสารีบุตร ในอังคุตตรนิกาย นวกนิบาตหน้า 31 ความสังเขปว่า วันหนึ่งเป็นเวลาเช้าพระสารีบุตรไปเที่ยวบิณฑบาตร มีพวกปริพพาชกพูดกันว่า ผู้ที่ได้บรรลุสอุปาทิเสส ตายแล้วไม่พ้นนรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย อบายทุคติวินิบาต ครั้นพระสารีบุตรกลับจากบิณฑบาตรแล้วจึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลตามเนื้อความที่พวกปริพาชกเขาพูดกันอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สอุปาทิเสสบุคคล 9 จำพวกคือ พระอนาคามี 5 จำพวก พระสกิทาคามี จำพวกหนึ่งพระโสดาบัน 3 จำพวก ตายแล้วพ้นจากนรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย อบายทุคติวินิบาต ธรรมปริยายนี้ยังไม่แจ่มแจ้ง แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาเลย เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วจะประมาท แลธรรมปริยายนี้เราแสดงด้วยความประสงค์จะตอบปัญหาที่ถามในสอุปาทิเสสสูตรนี้ ไม่ได้ตรัสถึงอนุปาทิเสส แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่า อนุปาทิเสสคงเป็นส่วนของพระอรหันต์

พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นท่านก็หมายความถึงสังโยชน์ คือกิเลสที่ยังมีเศษเหลืออยู่ว่า เป็นสอุปาทิเสนิพพาน ส่วนสังโยชน์ที่หมดแล้วไม่มีส่วนเหลืออยู่ คือพระอรหัตผล ว่าเป็นอนุปาทิเสสนิพพาน?

พระอาจารย์มั่น : ถูกแล้ว พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเราพูดอย่างนี้ คงไม่มีใครเห็นด้วย คงว่าเราเข้าใจผิดไม่ตรงกับเขา เพราะเป็นแบบสั่งสอนกันอยู่โดยมากว่า สอุปาทิเสสนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ อนุปาทิเสสนิพพานของพระอรหันต์ที่นิพพานแล้ว?

พระอาจารย์มั่น : ข้าพเจ้าเห็นว่า จะเป็นอรรถกาที่ขบ พระพุทธภาษิตไม่แตกแล้ว ก็เลยถือตามกันมา จึงมีทางคัดค้านได้ไม่คมคายชัดเจน เหมือนที่ทรงแสดงแก่พระสารีบุตร ซึ่งจะไม่มีทางคัดค้านได้ หมายกิเลส นิพพานโดยตรง

พระธรรมเจดีย์ : สอุปาทิเสสสูตรนี้ ทำไมจึงได้ตรัสหลายอย่างนัก มีทั้งนรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย อบายทุคติวินิบาต ส่วนในพระสูตรอื่นๆ ถ้าตรัสถึงอบายก็ไม่ต้องกล่าวถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย อบายทุคติวินิบาต?

พระอาจารย์มั่น : เห็นจะเป็นด้วยพระสารีบุตรมากราบทูลถามหลายอย่าง ตามถ้อยคำของพวกปริพพาชกที่ได้ยินมา จึงตรัสตอบไปหลายอย่าง เพื่อให้ตรงกับคำถาม

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเจดีย์ : ข้างท้ายพระสูตรนี้ ทำไมจึงมีพุทธภาษิตตรัสว่า ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาเลย เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วจะประมาท แลธรรมปริยายนี้เราแสดงด้วยความประสงค์จะตอบปัญหาที่ถาม

พระอาจารย์มั่น : ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า เห็นจะเป็นด้วยพระพุทธประสงค์ คงมุ่งถึงพระเสขบุคคล ถ้าได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วจะได้ความอบอุ่นใจ ที่ไม่ต้องไปทุคติแลความเพียรเพื่อพระอรหันต์จะหย่อนไป ท่านจึงได้ตรัสอย่างนี้

พระธรมเจดีย์ : เห็นจะเป็นเช่นนี้เอง ท่านจึงตรัสว่าถ้าได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วจะประมาท?

พระอาจารย์มั่น : ตามแบบที่ได้ฟังมาโดยมาก พระพุทธประสงค์ ทรงเร่งพระสาวก ผู้ยังไม่พ้นอาสวะ ให้รีบทำความเพียรให้ถึงที่สุด คือพระอรหันต์

-จบ-
หมายเหตุ ท่านผู้รู้ได้ติงว่า บันทึกฉบับนี้ หาใช่ "วิสัชนา" ของพระอาจารย์มั่นไม่
ดังนั้นผู้อ่านกรุณาใช้วิจารณญาณด้วยครับ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบปัญหาชาวกรุงเทพ
โดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
หลังจากที่ท่านกลับจากเชียงใหม่ เข้าพักที่วัดบรมนิวาสกรุงเทพ ฯ
ตามคำสั่งของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสโส อ้วน ) ก่อนเดินทางไปอุดร ฯ
ในระยะที่ท่านพักอยู่ที่นั้นปรากฏว่ามีคนมาถามปัญหากับท่านมาก มีปัญหาของบางรายที่แปลกกว่าปัญหาทั้งหลาย ซึ่งมีดังนี้
( จาก"ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตโต"
โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน )
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์( ติสโส อ้วน )
วัดบรมนิวาส กรุงเทพ ฯ


ชาวกรุงเทพ
ได้ทราบว่าท่านรักษาศีลองค์เดียว มิได้รักษาถึง ๒๒๗ องค์ เหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช้ไหม

หลวงปู่มั่น
ใช่ อาตมารักษาเพียงอันเดียว

ชาวกรุงเทพ
ที่ท่านรักษาเพียงอันเดียวนั้นคืออะไร

หลวงปู่มั่น
คือใจ

ชาวกรุงเทพ
ส่วน ๒๒๗ นั้นท่านไม่ได้รักษาหรือ

หลวงปู่มั่น
อาตมารักษาใจไม่ให้คิดพูดทำในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ จะเป็น ๒๒๗ หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาที่เป็นข้อบัญญัติห้าม อาตมาก็เย็นใจว่า ตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗ หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิดจะพูดเอาตามความคิดของตน เฉพาะอาตมาได้รักษาใจอันเป็นประธานของกายวาจาอย่างเข้มงวดกวดขันตลอดมา นับแต่เริ่มอุปสมบท

ชาวกรุงเทพ
การรักษาศีลต้องรักษาใจด้วยหรือ

หลวงปู่มั่น
ถ้าไม่รักษาใจจะรักษาอะไรถึงจะเป็นศีลเป็นธรรมที่ดีงามได้ นอกจากคนที่ตายแล้วเท่านั้นจะไม่ต้องรักษาใจแม้กายวาจาก็ไม่จำต้องรักษา แต่ความเป็นเช่นนั้นของคนตายนักปราชญ์ท่านไม่ได้เรียกว่าเขามีศีล เพราะไม่มีเจตนาเป็นเครื่องส่องแสดงออก ถ้าเป็นศิลได้ควรเรียกได้เพียงว่าศีลคนตาย ซึ่งไม่สำเร็จประโยชน์ตามคำเรียกแต่อย่างใด ส่วนอาตมามิใช่คนตายจะรักษาศีลแบบคนตายนั้นไม่ได้ ต้องรักษาใจให้เป็นศีลเป็นธรรมสมกับใจเป็นผู้ทรงไว้ทั้งบุญทั้งบาปอย่างตายตัว

ชาวกรุงเทพ
ได้ยินในตำราว่าไว้ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยเรียกว่าศีล จึงเข้าใจว่าการรักษาศีลไม่จำเป็นต้องรักษาใจก็ได้ จึงได้เรียนถามอย่างนั้น

หลวงปู่มั่น
ที่ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยนั้นก็ถูก แต่กายวาจาจะเรียบร้อยเป็นศีลได้นั้นต้นเหตุมาจากอะไร ถ้าไม่เป็นมาจากใจผู้เป็นนายคอยบังคับกายวาจาให้เป็นไปในทางที่ถูก เมื่อเป็นมาจากใจ ใจจะควรปฏิบัติอย่างไรต่อตัวเองบ้าง จึงจะควรเป็นผู้ควบคุมกายวาจาให้เป็นศีลเป็นธรรมที่น่าอบอุ่นแก่ตัวเอง และน่าเคารพเลื่อมใสแก่ผู้อื่นได้ ไม่เพียงแต่ศีลธรรมที่จำเป็นต้องอาศัยใจเป็นผู้คอบควบคุมรักษาเลย แม้กิจการอื่น ๆ จำต้องอาศัยใจเป็นผู้ควบคุมดูแลโดยดี การงานนั้น ๆ จึงจะเป็นที่เรียบร้อยไม่ผิดพลาดและทรงคุณภาพโดยสมบูรณ์ตามชนิดของมัน การรักษาโรคเขายังค้นหาสมุฏฐานของมัน จะควรรักษาอย่างไรจึงจะหายได้เท่าที่ควร ไม่เป็นโรคเรื้อรังต่อไป การรักษาศีลธรรมไม่มีใจเป็นตัวประธานพาให้เป็นไป ผลก็คือความเป็นผู้มีศีลด่างพร้อย ศีลขาดศีลทะลุ ความเป็นผู้มีธรรมที่น่าสลดสังเวช ธรรมพาอยู่ธรรมพาไปอย่างไม่มีจุดหมาย ธรรมบอ ธรรมบ้า ธรรมแตก ซึ่งล้วนเป็นจุดที่ศาสนาจะพลอยได้รับเคราะห์กรรมไปด้วยอย่างแยกไม่ออก ไม่เป็นศีลธรรมอันน่าอบอุ่นแก่ผู้รักษา และไม่น่าเลื่อมใสแก่ผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องบ้างเลย อาตมาไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก บวชแล้วอาจารย์พาเที่ยวและอยู่ตามป่าตามเขา เรียนธรรมก็เรียนไปกับต้นไม้ใบหญ้า แม่น้ำลำธาร หินผาหน้าถ้ำ เรียนไปกับเสียงนกเสียงกา เสียงสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ตามทัศนียภามที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง ไม่ค่อยได้เรียนในคัมภีร์ใบลานพอจะมีความรู้สแตกฉานทางศีลธรรมการตอบปัญหาจึงเป็นไปตามนิสัยของผู้ศึกษาธรรมเถื่อน ๆ รู้สึกจนปัญญาที่ไม่สามารถค้นหาธรรมที่ไพเราะเหมาะสมมาอธิบายให้ท่านผู้สนใจฟังอย่างภูมิใจได้

ชาวกรุงเทพ
คำว่าศีลได้แก่สภาพเช่นไร และอะไรเป็นเป็นศีลอย่างแท้จริง

หลวงปู่มั่น
ความคิดในแง่ต่าง ๆ อันเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรคิดหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับกายวาจาใจให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษาในลักษณะดังกล่าวมาชื่อว่ามีสภาพปกติไม่คะนองทางกายวาจาใจให้เป็นกิริยาที่น่าเกลียด นอกจากความปกติดีงามทางกายวาจาใจของผู้มีศีลว่าเป็นศีลเป็นธรรมแล้ว ก็ยากจะเรียกให้ถูกได้ว่าอะไรเป็นศีลเป็นธรรมที่แท้จริง เพราะศีลกับผู้รักษาศีลแยกกันได้ยาก ไม่เหมือนตัวบ้านเรือนกับเจ้าของบ้านเรือนซึ่งเป็นคนละอย่าง ที่พอจะแยกกันออกได้ไม่ยากนัก ว่านั่นคือตัวบ้าน และนั่นคือเจ้าของบ้าน ส่วนศีลกับคนจะแยกจากกันอย่างนั้นเป็นการลำบากเฉพาะอาตมาแล้วแยกไม่ได้ แม้แต่ผลคือความเย็นใจที่เกิดจากการรักษาศีลก็แยกไม่ออก ถ้าแยกออกได้ศีลก็อาจหลายเป็นสินค้ามีเกลื่อนตลาดไปนานแล้ว และอาจจะมีโจรมาแอบขโมยศีลธรรมไปขายจนหมดเกลี้ยงจากตัวไปหลายรายแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ศีลธรรมก็จะกลายเป็นสาเหตุก่อความเดือดร้อนแก่เจ้าของเช่นเดียวกับสมบัติอื่น ๆ ทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความเอือมระอาที่จะแสวงหาศีลธรรมกัน เพราะได้มาก็ไม่ปลอดภัย ดังนั้น ความไม่รู้ว่า "อะไรเป็นศิลอย่างแท้จริง" จึงเป็นอุบายวิธีหลึกภัยอันอาจเกิดแก่ศีล และผู้มีศีลได้ทางหนึ่งอย่างแยบยลและเย็นใจ อาตมาจึงไม่คิดอยากแยกศีลออกจากตัวแม้แยกได้ เพราะระวังภัยยาก แยกไม่ได้อย่างนี้รู้สึกว่าอยู่สบาย ไปไหนมาไหนและอยู่ที่ใดไม่ต้องเป็นห่วงว่าศีลจะหาย ตัวจะตายจากศีล และกลับมาเป็นผีเฝ้ากองศีลเช่นเดียวกับคนเป็นห่วงสมบัติ ตายแล้วกลับมาเป็นผีเฝ้าทรัพย์ ไม่มีวันไปผุดไปเกิดได้ฉะนั้น.

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบปัญหาชาวโคราช
โดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ


ชาวโคราช
เท่าที่ท่านอาจารย์มาโคราชคราวนี้ เป็นการมาเพื่ออนุเคราะห์ประชาชนตามคำนิมนต์เพียงอย่างเดียว หรือยังมีหวังเพื่อมรรคผลนิพพานอยู่ด้วยในการมารับนิมนต์คราวนี้

หลวงปู่มั่น
อาตมาไม่หิว อาตมาไม่หลง จึงไม่หาอะไรให้ยุ่งไป อันเป็นการก่อทุกข์ใส่ตัว คนหิวอยู่เป็นปกติสุข ไม่ได้จึงวิ่งหาโน่นหานี่ เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่คำนึงว่าผิดหรือถูก ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็มาเผา ตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ อาตมาไม่หลงจึงไม่แสวงหาอะไร คนที่หลงจึงต้องแสวงหา ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา จะไปหาให้ลำบากทำไม อะไรๆก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้วจะตื่นเงาและตะครุบเงาไปทำไม

เพราะรู้แล้วว่าเงาไม่ใช่ตัวจริง ตัวจริงคือสัจจะทั้ง ๔ ก็มีอยู่ภายในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว และรู้อย่างหมดสิ้นแล้ว จะหาอะไรกันอีกถ้าไม่หลง ชีวิตลมหายใจยังมีและผู้มุ่งประโยชน์กับเรายังมี ก็สงเคราะห์กันไปอย่างนั้นเอง คนหาคนดีมีศีลธรรมในใจนั้นหายากยิ่งกว่าเพชรนิลจินดาเป็นไหนๆ ได้คนดีเพียงคนเดียวย่อมมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นล้านๆ เพราะเงินเป็นล้านๆไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ เหมือนได้ คนดีมาทำประโยชน์คนดีแม้เพียงคนเดียวยังสามารถทำความเย็นใจให้แก่โลกได้มากมายและยั่งยืน เช่น พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายเป็นตัวอย่าง

คนดีแต่ละคนมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นก่ายกองและเห็นคุณค่าแห่งความดีของตนที่จะทำต่อไปมากกว่าเงิน แม้จะจนก็ยอมจน ขอแต่ให้ตัวดีและโลกมีความสุข

แต่คนโง่ชอบเงินมากกว่าคนดีและความดี ขอแต่ได้เงินแม้ตัวจะเป็นอย่างไรไม่สนใจคิดถึงจะชั่วช้าลามกหรือแสนโสมมเพียงไรก็ตาม ขนาดนายยมบาลเกลียดกลัวไม่อยากนับเข้าบัญชีผู้ต้องหา กลัวจะไปทำลายสัตว์นรกด้วยกันให้เดือดร้อนชิปหายก็ไม่ว่า ขอแต่ได้เงินก็เป็นที่พอใจ ส่วนจะผิดถูกประการใด ถ้าบาปมีค่อยคิดบัญชีกันเองโดยเขาไม่ยุ่งเกี่ยวคนดดีกับคนชั่วและสมบัติเงินทองกับธรรม คือคุณงามความดีผิดกันอย่างนี้แล ใครมีหูมีตาก็รีบคิดเสียแต่บัดนี้ อย่าทำให้สายเกินไป จะหมดทางเลือกเฟ้น การให้ผลก็ต่างกันสุดแต่กรรมของตนจะอำนวย จะทักท้วงหรือคัดค้านไม่ได้ กรรมอำนวยให้อย่างใดต้องยอมรับเอาอย่างนั้น
ฉะนั้นสัตว์โลกจึงต่างกัน ทั้งภพกำเนิด รูปร่าง ลักษณะ จริต นิสัย สุข ทุกข์ อันเป็นสมบัติประจำตัวของแต่ละราย แบ่งเบาแบ่งหนักกันไม่ได้ ใครมีอย่างไรก็หอบหิ้วไปเอง ดีชั่ว สุขทุกข์ก็ยอมรับ ไม่มีอำนาจปฏิเสธได้ เพราะไม่ใช่แง่กฎหมาย แต่เป็นกฎของกรรม

ชาวโคราช
ขอประทานโทษพวกกระผมเคยได้ยินกิตติศัพท์กิติคุณท่านอาจารย์โด่งดังมานานแล้ว ไม่ว่าครูอาจารย์หรือพระเณรองค์ใดตลอด ฆราวาส ใครพูดถึงอาจารย์ล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อาจารย์มิใช่พระธรรมดาดังนี้ จึงกระหายอยากฟังเมตตาธรรมท่าน แล้วจะได้เรียนถามไปตามความอยากความหิว แต่ไม่มีความฉลาดรอบคอบในการถามซึ่งอาจจะทำความกระเทือนแก่ท่านอยู่บ้าง กระผมก็สนใจปฏิบัติมานานพอควร จิตใตนับว่าได้รับความร่มเย็นประจักษ์เรื่อยมา ไม่เสียชาติที่เกิดมาพบพระศาสนาและยังได้ กราบไหว้ครูอาจารย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์วเศษด้วยการปฏิบัติธรรม แม้ปัญหาธรรมที่เรียนถามวันนี้ก็ได้รับความแจ้งชัดเกินคาดหมาย วันนี้เป็นหายสงสัยเด็ดขาดตามภูมิของคนมีกิเลสที่ยังอยู่ก็ตัวเองเท่านั้นจะสามารถปฏิบัติให้ได้มากน้อยเพียงใด

หลวงปู่มั่น
โยมมาถามอย่างนั้นอาตมาก็ต้องตอบไปอย่างนั้น เพราะอาตามาไม่หิวไม่หลงจะให้อาตมาไปหาอะไรอีก อาตมาเคย หิวเคยหลง มาพอแล้ว ครั้งปฏิบัติที่ยังไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรโน้น อาตมาแทบตายอยู่ในป่าในเขาคนเดียวไม่มีใครไปเห็นจนพอลืมหูลืมตาได้ บ้าง จึงมีคนนั้นไปหาคนนี้ไปหา แล้วร่ำลือกันว่าวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ขณะอาตมาสลบสามหนรอดตายครั้งนั้นไม่เห็นใครทราบและร่ำลือบ้าง จนเลยขั้นสลบและขั้นตายมาแล้ว จึงมาเล่าลือกันหาประโยชน์อะไร อยากได้ของดีที่มีอยู่กับตัวเราทุกคน ก็พากันปฏิบัติเอาทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจึงพากันวุ่นวาย หานิมนต์พระมาให้บุญ กุสลามาติกา นั่นไม่ใช่เกาถูกที่คันนะจะว่าไม่บอก ต้องรีบเกาให้ถูกที่คันเสียบัดนี้ โรคคันจะได้หายคือเร่งทำความดีเสียแต่บัดนี้จะได้หายว่วงหายหวงกับอะไรอะไรที่เป็นสมบัติของโลกมิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา แต่พากันจับจองเอาแต่ชื่อของมันเปล่าๆตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล

สมบัติในโลกเราแสวงหามาเป็นความสุขก็พอหาได้ จะแสวงหามาเป็นไฟก็ทำให้ฉิบหายได้จริงๆข้อนี้ขึ้นอยุ่กับความฮลาดและความโง่เขลา ของผู้แสวงหาแต่ละรายท่านผู้พ้นทุกข์ไปด้วยความอุตส่าห์สร้างความดีใส่ตน จนกลายสรณะของพวกเราจะเข้าใจว่าท่านไม่เคยมีสมบัติเงินทอง เครื่องหวงแหนอย่างนั้นหรือ เข้าใจว่าเป็นคนร่ำรวยสวยงามเฉพาะสมัยพวกเราเท่านั้นหรือ จึงพากันรักพากันหวงพากันห่วงจนไม่รู้จักเป็นรู้จักตาย บ้านเมืองเราสมัยนี้ไม่มีป่าช้าสำหรับเผาหรือฝังคนตายอย่างนั้นหรือจึงสำคัญว่าตนจะไม่ตาย และพากันประมาทจนลืมเนื้อลืมตัว กลัวแต่จะไม่ได้กิน ไม่ได้นอนกลัวแต่จะไม่ได้เพลิดไม่ได้เพลิน ประหนึ่งโลกจะดับสูญไปเดี๋ยวนี้ จึงรีบพากันตักตวงเอาความไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว อันสิ่งเหล่านี้ แม้แต่สัตว์เขามีได้เหมือนมนุษย์เรา อย่าสำคัญว่าตนเก่งกาจสามารถฉลาดรู้ยิ่งกว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความืดมิดปิดตามทับถมตัวเองจนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ใครจะไปทราบได้ถ้าไม่เตรียมทราบไว้ตั้งแต่บัดนี้ อาตมาต้องขออภัยด้วยถ้าพูดหยาบคายไป แต่คำพูดที่สั่งสอนให้คนละชั่วทำดียีงจัดเป็นคำหยาบคายอยู่แล้ว โลกเราก็จะถึงคราวหมดสิ่นศาสนาเพราะไม่มีผู้ ยอมรับความจริง การทำบาปหยาบคายมีมาประจำแทบทุกคนทำให้ผลเป็นทุกข์ ตนยังไม่อาจรู้ได้ และตำหนิมันแต่กลับตำหนิคำสั่งสอนที่หยาบคายนับว่าเป็นโรคที่หมดหวัง

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบปัญหาพระมหาเถระ
โดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ


โอกาสว่างๆ ตอนที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่กรุงเทพ จะมีพระมหาเถระ(ไม่ปรากฏพระนาม)สั่งพระมาอาราธนานิมนต์ท่านไปหาเพื่อสัมโมทนียกถาเฉพาะ โดยปราศจากผู้คนพระเณรเข้าไปเกี่ยวข้อง

พระมหาเถระ
ท่านชอบอยู่ในป่าในเขา ไม่ชอบเกี่ยวข้องกังวลกับพระเณรตลอดฆราวาส เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาท่านไปศึกษากับใคร จึงจะผ่านปัญหานั้น ๆ ไปได้ แม้ผมเองอยู่ในพระนครที่เต็มไปด้วยนักปราชญ์เจ้าตำหรับตำราพอช่วยปัดเป่าข้อข้องใจได้บางคราวยังเกิดความงงงันอั้นตู้ไปได้ ไม่มีใครสามารถช่วยแก้ให้ตกไปได้ ยิ่งท่านอยู่เฉพาะองค์เดียวเป็นส่วนมากตามที่ทราบเรื่องตลอดมา เวลาเกิดปัญหาขึ้นมา ท่านศึกษาปรารภกับใคร หรือท่านจัดการกับปัญหานั้น ๆ ด้วยวิธีใด นิมนต์อธิบายให้ผมฟังด้วย

หลวงปู่มั่น
กราบเรียนด้วยความอาจหาญเต็มที่ไม่มีสะทกสะท้านเลย เพราะได้ศึกษาจากหลักธรรมชาติอย่างนั้น จึงกราบเรียนท่านว่าขอประทานโอกาส เกล้า ฯ ฟังธรรมและศึกษาธรรมอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนไม่มีอริยาบถต่าง ๆ นอกจากหลับไปเสียเท่านั้น พอตื่นขึ้นมาใจกับธรรมก็เข้าสัมผัสกันทันที ขึ้นชื่อว่าปัญหาแล้วกระผมไม่มีเวลาที่หัวใจจะว่างอยู่เปล่า ๆ เลย มีแต่การถกเถียงโต้ตอบกันอยู่ทำนองนั้น ปัญหาเก่าตกไปปัญหาใหม่เกิดขึ้นมา การถอดถอนกิเลสก็ไปในระยะเดียวกันกับปัญหาแต้ละข้อตกไปปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาก็เท่ากับรบกันกับกิเลสใหม่ ปัญหาทั้งใกล้ทั้งไกล ทั้งวงกว้างวงแคบทั้งวงในวงนอก ทั้งลึกทั้งตื้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด ล้วนเกิดขึ้นและปะทะกันที่หัวใจ ใจเป็นสถานที่รบข้าศึกทั้งมวล และเป็นที่ปลดเปลื้องกิเลสทั้งปวง ในขณะที่ปัญหาแต่ละข้อตกไปที่จะมีเวลาไปคิดว่าเมื่อปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเราจะไปศึกษาปรารภกับใครนั้นเกล้าฯ มิได้สนใจคิดให้เสียเวลานิ่งไปกว่าจะตั้งท่าฆ่าฟันห้ำหั่นกันกับปัญหา ซึ่งเป็นฉากของกิเลสแฝงมาพร้อมให้สะบั้นหั่นแหลกกันลงไปเป็นทอด ๆ และถอดถอนกิเลสออกได้เป็นพัก ๆ เท่านั้น จึงไม่วิตกกังวลกับหมู่คณะว่าจะมาช่วยแก้ไขปลดเปลื้องกิเลสออกจากใจได้รวดเร็ว ยิ่งกว่าสติปัญญาที่ผลิตและฝึกซ้อมอยู่ตลอดเวลา คำว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนั้น เกล้า ฯ ได้ประจักษ์ใจตัวเองขณะปัญหาแต่ละข้อเกิดขึ้น และสามารถแก้ไขกันลงได้ทันท่วงทีด้วยอุบายวิธีของสติปัญญาที่เกิดกับตนโดยเฉพาะ มิได้ไปเที่ยวคว้ามาจากตำราหรือคัมภีร์ใดในขณะนั้น แต่ธรรมคือสติปัญญาในหลักธรรมชาติ หากผุดออกรับออกรบและแก้ไขกันไปในตัว และผ่านพ้นไปได้โดยลำดับไม่อับจน แม้จะมีอยู่บ้างที่เป็นปัญหาลึกลับและสลับซับซ้อนที่จำต้องพิจารณากันอย่างละเอียดลออและกินเวลานานหน่อย แต่ก็ไม่พ้นกำลังของสติปัญญาที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วไปได้ จำต้องทลายลงในเวลาหนึ่งจนได้ ด้วยเหตุดังที่กราบเรียนมา เกล้า ฯ จึงมิได้สนใจใผ่ฝันในการอยู่กับหมู่คณะ เพื่ออาศัยเวลาเกิดปัญหาจะได้ช่วยแก้ไขแต่สนใจ

ไยดีต่อการอยู่คนเดียว ความเป็นผู้เดียวเปลี่ยวกายเปลี่ยวใจเป็นสิ่งที่พอใจแล้วสำหรับเกล้า ฯ ผู้มีวาสนาน้อย แม้ถึงคราวเป็นคราวตายก็อยู่ง่ายตายสะดวก ไม่พะรุงพะรังห่วงหน้าห่วงหลัง สิ้นลมแล้วก็สิ้นเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ต้องขอประทานโทษที่เรียนตามความโง่ของตนจนเกินไป ไม่มีความแยบคายแสดงออกพอเป็นที่น่าฟังบ้างเลย

พระมหาเถระ
ฟังท่านกราบเรียนอย่างสนใจและเลื่อมใสในธรรมที่เล่าถวายเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกับอนุโมทนาว่า เป็นผู้สามารถสมกับชอบอยู่ในป่าในเขาคนเดียวจริง ๆ ธรรมที่แสดงออก ท่านว่าจะไปเที่ยวค้นดูในคัมภีร์ไม่มีวันเจอ เพราะธรรมในคัมภีร์กับธรรมที่เกิดจากใจอันเป็นธรรมในหลักธรรมชาติต่างกันอยู่มาก แม้ธรรมในคัมภีร์ที่จารึกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าว่าเป็นธรรมบริสุทธิ์ เพราะผู้จารึกเป็นคนจริงคือเป็นผู้บริสุทธิ์เหมือนพระองค์ แต่พอตกมานาน ๆ ผู้จารึกต่อ ๆ มาอาจไม่เป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริงเหมือนรุ่นแรก ธรรมจึงอาจมีทางลดคุณภาพลงตามส่วนของผู้จารึกพาให้เป็นไป ฉะนั้น ธรรมในคัมภีร์กับธรรมที่เกิดขึ้นจากใจอย่างสด ๆ ร้อน ๆ จึงน่าจะต่างกันแม้ธรรมด้วยกัน ผมหายสงสัยในข้อที่ถามท่านด้วยความโง่ของตนแล้ว

แต่ความโง่ชนิดนี้ทำให้เกิดประโบชน์ได้ดี เพราะถ้าไม่ถามโง่ ๆ ก็จะไม่ได้ฟังอุบายแบบฉลาดแหลมคมจากท่าน วันนี้ผมจึงเป็นทั้งฝ่ายขายทั้งความโง่และซื้อทั้งความฉลาด หรือจะเรียกว่าถ่ายความโง่เขลาออกไปไล่ความฉลาดเข้ามาก็ไม่ผิด ผมยังสงสัยอยู่อีกเป็นบางข้อ คือที่ว่าพระสาวกท่านทูลลาพระศาสดาออกไปบำเพ็ญอยู่ในที่ต่าง ๆ เวลาเกิดปัญหาขึ้นมาก็กลับมาเฝ้าทูลถาม เพื่อทรงช่วยชี้แจงปัญหานั้น ๆ จนเป็นที่เข้าใจ แล้วทูลลาไปบำเพ็ญตามอัธยาศัย นั้นเป็นปัญหาประเภทใด พระสาวกจึงไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ต้องมาทูลถามให้พระองค์ทรงช่วยชี้แจงแก้ไข

หลวงปู่มั่น
เมื่อมีผู้ช่วยให้เกิดผลรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลานาน นิสัยคนเราที่ชอบหวังพึ่งผู้อื่นย่อมจะต้องดำเนินตามทางลัด ด้วยความแน่ใจว่าต้องดีกว่าตัวเองพยายามไปโดยลำพัง นอกจากทางไกลไปมาลำบากจริง ๆ ก็จำต้องตะเกียกตะกายไปด้วยสติปัญญาของตน แม้จะช้าบ้างก็ทนเอา เพราะพระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้เห็นโดยตลอดทั่วถึงทรงแก้ปัญหาข้อข้องใจ ย่อมทำให้เกิดความกระจ่างแจ้งชัด และได้ผลรวดเร็วผิดกับที่แก้ไขโดยลำพังเป็นไหน ๆ ดังนั้น บรรดาสาวกที่มีปัญหาข้องใจจึงต้องมาทูลถามให้ทรงพระเมตตาแก้ไขเพื่อผ่านไปได้อย่างรวดเร็วสมปรารถนา แม้กระผมเองถ้าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ และอยู่ในฐานะจะพอไปเฝ้าได้ก็ต้องไป และทูลถามปัญหาให้สมใจที่หิวกระหายมานาน ไม่ต้องมาถูไถคืบคลานให้ลำบากและเสียเวลาดังที่เป็นมา เพราะการวินิจฉัยโดยลำพังตัวเองเป็นการลำบากมาก แต่ต้องทำเพราะไม่มีที่พึ่งนอกจากตัวต้องเป็นที่พึ่งของตัวดังที่เรียนแล้ว ความมีครูอาจารย์สั่งสอนดยถูกต้องแม่นยำ คอยให้อุบายทำให้ผู้ปฏิบัติตามดำเนินไปโดยสะดวกราบรื่นและถึงเร็ว ผิดกับการดำเนินไปแบบสุ่มเดาโดยลำพังตนเองอยู่มาก ทั้งนี้เกล้า ฯ เห็นโทษในตัวเกล้า ฯ เองแต่ก็จำเป็นเพราะไม่มีอาจารย์คอยให้อุบายสั่งสอนในสมัยนั้น
ทำไปแบบด้นเดาและล้มลุกคลุกคลาน ผิดมากกว่าถูก แต่สำคัญที่ความหมายมั่นปั่นมือเป็นเจตนาที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก ไม่ยอมลดละล่าถอยจึงพอมีทางทำให้สิ่งที่เคยขรุขระมาโดยลำดับค่อย ๆ กลับกลายคลายตัวออกทีละเล็กละน้อยพอให้ความราบรื่นชื่นใจ ได้มีโอกาสคืบคลานและเดินได้เป็นลำดับมา พอได้ลืมตาดูโลกดูธรรมได้เต็มใจดังที่เรียนให้ทราบตลอดมา.

(จาก"ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น" โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2010, 02:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางคำถาม บางคำตอบ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ



ถาม
เรายังกังวลอยู่ด้วยธุรกิจการงานเป็นส่วนตัวและของผู้อื่นบ้าง การที่จะประพฤติปฏิบัติในจรณะ ๑๕ กลัวจะไม่สมบูรณ์ หรือจะต้องหลีกไปในที่สงัด แต่ในเวลานี้ก็ยังไม่มีโอกาสที่หลีกไปได้ ข้าพเจ้าตั้งใจปฏิบัติจริง ๆ ท่านจงช่วงบอกอุบายให้ข้าพเจ้าด้วย
ตอบ
ที่หลีกไปในที่สงัดนั้นเป็นการสะดวกมาก แต่เมื่อยังไม่มีโอกาสที่จะหลีกไปได้ เราอยู่ที่ไหนก็ต้องตั้งใจปฏิบัติที่นั่น ที่สงัดมี ๓ คือ ป่า ๑ โคนไม้ ๑ เรือนว่างเปล่า ๑ ตามสะดวก จะคอยให้ได้ที่สงัด เช่น ป่านั้นก็ยังไปไม่ได้ ถ้าความตายมาถึงเข้าจะเสียที

ถาม
ขาพเจ้ายังมีกังวลด้วยกิจการงาน และยังไม่มีโอกาสจะหลีกไปในที่สงัด เราจะประพฤติปฏิบัติในจรณะ ๑๕ ให้บริบูรณ์ได้ไหม
ตอบ
ได้ ตามกำลังใจของผู้ปฏิบัติ ส่วนกังวลที่จะต้องละนั้นคือ ราคกิญฺจนํ กังวลเพราะความกำหนัดยินดีหรือหมกมุ่นติดอยู่ในกาม โทสกิญฺจนํ กังวลเพราะความประทุษร้ายหรือโกรธเคืองและริษยาพยาบาท เกลียดชัง ตลอดกระทั่งความเพ่งโทษใคร ๆ หรือปฏิฆะอรติ โมหกิญฺจนํ กังวลเพราะความหลง หรืออุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน และวิจิกิจฉา ความสงสัย ความกังวลเพราะอกุศลทั้งหลายเหล่านี้ นี่แหละเป็นส่วนควรละ

ถาม
กังวลที่จะต้องละนั้นมีเท่านี้หรือ หรือยังมีอย่างอื่นอีก ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ
ตอบ
ไม่ใช่เท่านี้ ยังมีอีกมาก แต่ยากที่จะบรรยายให้สิ้นเชิง ข้าพเจ้าจะกล่าวโดยย่อพอให้ท่านเข้าใจคือ สังโยชน์ ๑๐ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อนุสัย ๗ อาสวะ ๓ ตัณหา ๓
อุปาทาน ๔ นิวรณ์ ๕ อุปกิเลส ๑๖ อกุศลกรรมบถ ๑ กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ นี่แหละกังวลเป็นส่วนควรละ

ถาม
กิเลสทั้งหลายที่ท่านบรรยายให้ข้าพเจ้าฟังนี้ ต้องละให้หมดทั้งสิ้นหรือ หรือเหลืออยู่บ้างนิดหน่อยก็ได้
ตอบ
กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคสอนให้ละให้หมด มิให้มีส่วนเหลือไว้ เพราะเป็นปัจจัยทำให้เกิดภพชาติ ไม่ให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ละกิเลสอาสวะทั้งหลายเหล่านี้สิ้นเชิง ไม่มีส่วนเหลือจึงถึงซึ่งอนุปาทิเสสนิพพาน

ถาม
ควรทำในใจอย่างไร กิเลสทั้งหลายเหล่านี้จึงมีได้มาก ข้าพเจ้าอยากทราบ จะได้ตัดกำลังกิเลสเสียแต่ต้นทีเดียว
ตอบ
เช่น เวลาตาเห็นรูปที่ดี ก็ไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่รู้จักตา ไม่รู้จักรูป ไม่รู้จักจักขุวิญญาณ ตามความเป็นจริงเกิดความยินดีขึ้น แต่ไม่ประกอบด้วยเจตนา จึงเป็นกามราคสังโยชน์ ไม่รู้ว่าเป็นโทษ ก็มิได้ละ ปล่อยให้ดับไปเองภายหลังมานึกคิดถึงรูปที่ได้เห็นไว้ จึงเป็นรูปสัญญาปรากฏขึ้นทางใจ ก็ไม่รู้จักใจ ไม่รู้จักธัมมารมณ์ ไม่รู้จักมโนวิญญาณตามความเป็นจริง จึงเกิดความยินดีทางใจขึ้น ไม่ประกอบด้วยเจตนา จึงเป็นกามราคสังโยชน์ ไม่รู้ว่าเป็นโทษมิได้ละความยินดีทางใจ ปล่อยให้ดับไปเอง ภายหลังมานึกคิดถึงรูปที่เข้าไปชอบ ได้ติดกำหนัดยินดีพัวพันอยู่นั้นและทำในใจไม่แยบคาย ประกอบด้วยเจตนา คิดยืดยาวออกไปจึงเป็นกามวิตก คือมโนกรรมฝ่ายอกุศล.....

ถาม
สังโยชน์เกิดขึ้นก็ไม่รู้ว่าเป็นโทษ ก็มิได้ละ ปล่อยให้ดับไปเอง นี่อย่างหนึ่งสังโยชน์เกิดขึ้น ก็รู้ว่าเป็นโทษและละเสีย ไม่ปล่อยให้ครอบงำใจ นี่อย่างหนึ่ง สองอย่างนี้จะต่างกันอย่างไร
ตอบ
ต่างกันมาก ตรงกันข้ามทีเดียว สังโยชน์เกิดขึ้นก็ไม่รู้ว่าเป็นโทษ ก็มิได้ละ ปล่อยให้ดับไปเองชนิดนี้ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ ไม่ได้มีส่วนปหานะ เหมือนพระจันทร์ในปักษ์ข้างแรม มีแต่จะมืดไปทุกทีและเป็นปัจจัยให้เกิดมโนกรรมฝ่ายบาป หรือเลยไปถึงกายทุจริต วจีทุจริต ก็ยิ่งร้ายใหญ่ นรกจึงเป็นบ้านอยู่อู่นอนของคนเช่นนั้น สังโยชน์เกิดขึ้นก็รู้ จึงละเสีย ไม่ปล่อยให้ครอบงำใจ นี่เป็นผู้ปฏิบัติ มีส่วนปหานะอย่างดีทีเดียว นับว่าควรสรรเสริญ เพราะไม่ปล่อยให้เลยไปถึงกรรมวัฏฝ่ายบาปเหมือนพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้นมีแต่จะแจ่มใสขึ้นทุกที แม้จะเป็นโลกีย์ก็ยังดี เมื่ออบรมให้แก่ขึ้นก็เป็นปัจจัยให้ถึงโลกุตตระได้

ถาม
อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ กระทบกันเข้า เช่น เห็นรูป ฟังเสียที่ดี หรือที่ไม่ดี ก็มีสติระวังไว้ไม่ให้ความยินดียินร้ายเกิดขึ้นครอบงำใจได้ แต่ไม่มีปัญญาที่รู้เห็นความจริง คือ ไตรลักษณ์ แต่ความยินดียินร้ายก็ไม่เกิดขึ้นในใจได้เช่นนี้ จะชื่อว่า เป็นการละกิเลสได้ไหม
ตอบ
ไม่ได้ละ เป็นแต่กั้นกิเลสเอาไว้ด้วยอำนาจอธิจิตอย่างอ่อน ๆ ที่เรียกว่าอินทรีย์สังวร เป็นข้อปฏิบัติที่ต่อจากศีล ควรสงเคราะห์เข้าไว้ในกองสมาธิ แต่ก็เป็นข้อปฏิบัตินับเข้าในจรณะ ๑๕ ด้วย

ถาม
เช่นเวลาตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงที่ดีหรือไม่ดี ก็รู้ว่าความยินดียินร้ายนั้นเป็นโทษ แต่ทำไมจึงคอยจะเข้าไปยินดียินร้ายได้บ่อย ๆ ต้องคอระวังไว้เสมอ แต่ถึงเช่นนั้น เวลาตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงที่ดีหรือไม่ดี พอเผลอไปเวลาใด ความยินดียินร้ายเกิดขึ้นในใจได้ทีเดียว ท่านจงบอกอุบายให้ข้าพเจ้าด้วย
ตอบ
เช่น เวลาตาเห็นรูปที่ดี ควรทำใจใจว่า รูปมาปรากฏกับตาแล้ว เราจะเข้าไปกำหนัดยินดีรูปที่ดี รูปนี้ก็ได้เห็นแล้ว หรือจะไม่กำหนัดยินดีในรูปที่ดี รูปนี้ก็ได้เห็นแล้ว เพราะฉะนั้น ความเข้าไปกำหนัดยินดีในรูปที่ดี จึงเป็นการเติมกิเลส เข้าไปเปล่า ๆหรือได้ฟังเสียงที่ไม่ดี ควรทำในใจว่าเสียงที่ไม่ดีซึ่งเราได้ฟังนี้ เราจะเข้าไปมีปฏิฆะ หรือ โทสะ เสียงที่ไม่ดีเราก็ได้ฟังแล้ว เราจะไม่ให้เกิดปฏิฆะหรือโทสะ เสียงที่ไม่ดีเราก็ได้ฟังแล้ว เพราะฉะนั้นการปล่อยให้ปฏิฆะหรือโทสะเกิดขึ้น จึงเป็นการเติมกิเลสเข้าไปเปล่า ๆ อารมณ์ ๖ ที่ดี คือ อิฏฐารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี อารมณ์ ๖ ส่วนที่ไม่ดี คือ อนิฏฐารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความยินร้าย ไม่ชอบ โกรธเคืองควรทำในใจแยบคาย เช่นนี้ทุก ๆ อารมณ์หมายเหตุ

คัดลอกบางตอนมาจาก ปฏิปัตติวิภาค โดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
ในหนังสือ จิตตภาวนา มรดกล้ำค่าทางพุทธศาสนา
กราบ กราบ กราบ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 15:09
โพสต์: 122

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




.gif
.gif [ 77.59 KiB | เปิดดู 2630 ครั้ง ]
ขออนุโมทนาครับ
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 58 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร